เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ราชวงศ์ฟินเวและเฟอานอร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ราชวงศ์ฟินเวและเฟอานอร์

ราชวงศ์ฟินเว vs. เฟอานอร์

ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ราชวงศ์ฟินเว เป็นตระกูลกษัตริย์ของเอลฟ์ชาวโนลดอร์ โดยที่ต้นตระกูลคือ ฟินเว ซึ่งเป็นจอมกษัตริย์องค์แรกของชาวโนลดอร์ เป็นผู้นำประชาชนของเขาเดินทางออกจากมิดเดิ้ลเอิร์ธไปยังแผ่นดินอมตะหรือทวีปอามัน ชาวโนลดอร์ก่อตั้งนครของตนขึ้นที่ ทิริออน ร่วมกับเอลฟ์ชาววันยาร์ ฟินเวอภิเษกครั้งแรกกับมีริเอล ซึ่งสิ้นพระชนม์หลังให้กำเนิดโอรสองค์ใหญ่ คือ เฟอานอร์ หลังจากนั้นฟินเวอภิเษกอีกครั้งกับ อินดิส ชาววันยาร์ และมีโอรสอีกสององค์คือ ฟิงโกลฟิน และ ฟินาร์ฟิน กับธิดาอีกสององค์คือ ฟินดิส และ อีริเม. ฟอานอร์ (Fëanor) เป็นตัวละครสำคัญที่มีบทบาทอย่างยิ่งในจินตนิยายเรื่อง ซิลมาริลลิออน ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาเป็นผู้สร้างอัญมณี ซิลมาริล อันเป็นแก่นของตำนานเรื่องนั้น ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในหมู่ชาวเอลดาร์ และเป็นผู้ที่มีทักษะฝีมือช่างเป็นเลิศที่สุดใน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ราชวงศ์ฟินเวและเฟอานอร์

ราชวงศ์ฟินเวและเฟอานอร์ มี 15 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ฟิงโกลฟินฟินาร์ฟินฟินเวมอร์กอธมากลอร์มายดรอสมิดเดิลเอิร์ธอามันทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์ซิลมาริลประวัติศาสตร์อาร์ดาโนลดอร์เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเทเลริ

ฟิงโกลฟิน

ตามปกรณัมชุด ซิลมาริลลิออน ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ฟิงโกลฟิน (Fingolfin) เป็นกษัตริย์ของชาวโนลดอร์พลัดถิ่นบนมิดเดิ้ลเอิร์ธ พระองค์เป็นโอรสองค์ที่สองของกษัตริย์ฟินเวกับพระนางอินดิส มีพี่ชายต่างมารดาคือ เฟอานอร์ และน้องชายร่วมมารดาเดียวกันคือ ฟินาร์ฟิน ฟิงโกลฟินมีโอรสธิดารวมสี่องค์คือ ฟิงกอน ทัวร์กอน อาเรเดล และอาราคาโน (ไม่ได้เอ่ยถึงในปกรณัม) ในปกรณัมกล่าวถึงฟิงโกลฟินว่า เป็นผู้มีร่างกายกำยำแข็งแรง จิตใจห้าวหาญ บางแห่งยกย่องว่าพระองค์เป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาบุตรแห่งอิลูวาทาร์ทั้งปวง ชื่อของพระองค์ในภาษาเควนยา คือ โนโลฟินเว (Nolofinwë) ซึ่งมีความหมายว่า 'บุตรแห่งฟินเวผู้เฉลียวฉลาด' ฟิงโกลฟินและฟินาร์ฟิน เป็นโอรสของกษัตริย์ฟินเวกับพระนางอินดิส ซึ่งอภิเษกหลังจากมีริเอล พระชายาองค์แรกและมารดาของเฟอานอร์สิ้นพระชนม์ ดังนั้นจึงมักมีเรื่องขัดเคืองกันระหว่างเฟอานอร์กับฟิงโกลฟินเสมอๆ เพราะต่างก็เป็นโอรสองค์ใหญ่ เหตุแห่งความขัดเคืองกันส่วนใหญ่มาจากการยุแยงของเมลคอร์ เทพอสูรที่ริษยาในความรุ่งเรืองของเหล่าวาลาร์และพวกเอลฟ์ ครั้งหนึ่งเกิดการวิวาทกันจนเฟอานอร์ชักดาบออกต่อหน้าฟิงโกลฟิน จนเป็นเหตุให้เฟอานอร์ถูกลงโทษ ให้เนรเทศออกจากนครทิริออน ทว่าหลังจากนั้น มานเวเทพบดีได้จัดงานเลี้ยงและไกล่เกลี่ยให้พี่น้องทั้งสองกลับคืนดีกัน แต่เมลคอร์และอุงโกลิอันท์ก่อเหตุร้าย ทำลายทวิพฤกษา สังหารกษัตริย์ฟินเว แล้วชิงซิลมาริลของเฟอานอร์ไปเสียจากท้องพระคลังที่ฟอร์เมนอส หลบหนีไปยังมิดเดิ้ลเอิร์ธ เฟอานอร์ประกาศตามไล่ล่ามอร์กอธ (หรือเมลคอร์) ประชาชนชาวโนลดอร์ส่วนใหญ่ก็เคียดแค้นและจะตามไล่ล่ามอร์กอธด้วย ฟิงโกลฟินจึงเป็นผู้นำชาวโนลดอร์ส่วนใหญ่ที่ติดตามเฟอานอร์กลับมายังมิดเดิ้ลเอิร์ธ หลังจากเฟอานอร์สิ้นพระชนม์ มายดรอส โอรสองค์ใหญ่ของเฟอานอร์สละสิทธิ์ในราชสมบัติ ฟิงโกลฟินจึงขึ้นเป็นจอมกษัตริย์ของชาวโนลดอร์พลัดถิ่นบนมิดเดิ้ลเอิร์ธ เขาเป็นผู้นำในการสงครามต่อสู้กับมอร์กอธหลายครั้ง จนกระทั่งมอร์กอธตีโต้ด้วยไฟ ในสงครามดากอร์บราโกลลัค ทำให้ฝ่ายกองทัพเอลฟ์ได้รับความเสียหายยับเยิน รวมทั้งโอรสสององค์ของฟินาร์ฟิน คืออังกร็อดและอายก์นอร์ สิ้นพระชนม์ในการศึกครั้งนี้ด้วย ทำให้ฟิงโกลฟินลุแก่โทสะ บุกเพียงลำพังพระองค์เดียวเข้าไปถึงที่มั่นของมอร์กอธในอังก์บันด์ ฟิงโกลฟินได้สู้รบกับมอร์กอธตัวต่อตัว และสร้างบาดแผลแก่มอร์กอธได้ถึงเจ็ดแผล (จนทำให้มอร์กอธต้องเดินเขย่งขามานับแต่นั้น) แต่ไม่มีผู้ใดสามารถสังหารมอร์กอธซึ่งเป็นหนึ่งในเหล่าวาลาร์ได้ สุดท้ายฟิงโกลฟินจึงถูกมอร์กอธสังหาร โธรอนดอร์พญาอินทรี นำร่างของฟิงโกลฟินออกมา ไปไว้ยังเขตเทือกเขาของกอนโดลิน ทัวร์กอนได้สร้างหลุมพระศพของฟิงโกลฟินในที่นั้น.

ฟิงโกลฟินและราชวงศ์ฟินเว · ฟิงโกลฟินและเฟอานอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟินาร์ฟิน

ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ฟินาร์ฟิน (Finarfin) เป็นเจ้าชายเอลฟ์ ซึ่งภายหลังได้เป็นกษัตริย์ของชาวโนลดอร์ที่คงเหลืออยู่ในนครทิริออน บนแผ่นดินอมตะ พระองค์เป็นโอรสองค์เล็กของกษัตริย์ฟินเว กับพระนางอินดิส มีเชษฐาองค์ใหญ่ต่างมารดาคือ เฟอานอร์ ส่วนเชษฐาร่วมบิดามารดาเดียวกันคือ ฟิงโกลฟิน ฟินาร์ฟินมีเรือนผมสีทองแบบเดียวกับอินดิสพระมารดาซึ่งเป็นเอลฟ์ชาววันยาร์ สมาชิกในราชสกุลของพระองค์อีกหลายคนได้สืบทอดลักษณะอันงดงามนี้ของชาววันยาร์ไปด้วย พระองค์อภิเษกกับเจ้าหญิงเออาร์เวนแห่งอัลควาลอนเด ผู้มีเชื้อสายชาวเทเลริ ทรงมีโอรสธิดา 5 พระองค์ ได้แก่ ฟินร็อด โอโรเดร็ธ อังกร็อด อายก์นอร์ และกาลาเดรียล ฟินาร์ฟินได้ชื่อว่าเป็นเจ้าชายผู้มีสิริโฉม และเฉลียวฉลาดเป็นที่สุด ชื่อในภาษาเควนยาของฟินาร์ฟินคือ อาราฟินเว (Arafinwë) ซึ่งหมายถึง 'บุตรแห่งฟินเวผู้สูงศักดิ์'.

ฟินาร์ฟินและราชวงศ์ฟินเว · ฟินาร์ฟินและเฟอานอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟินเว

ฟินเว (Finwë) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมเรื่อง ซิลมาริลลิออน ของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาเป็นผู้นำของเอลฟ์ชาวโนลดอร์ ซึ่งได้เป็นตัวแทนไปเยือนทวีปอามัน แล้วกลับมาชักชวนพวกพ้องให้ยินยอมออกเดินทางจากมิดเดิลเอิร์ธไปสู่แผ่นดินอมตะ หลังจากชาวโนลดอร์เดินทางไปถึงอามันแล้ว ฟินเวได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ของชาวโนลดอร์ทั้งปวง ฟินเวเป็นจอมกษัตริย์แห่งโนลดอร์ พระองค์มีชายาองค์แรกนามว่า มีริเอล ทรงมีโอรสองค์หนึ่ง ชื่อว่า 'คูรูฟินเว' ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า 'เฟอานอร์' หลังจากเฟอานอร์ประสูติ มีริเอลก็สิ้นพระชนม์ ฟินเวจึงอภิเษกชายาอีกองค์หนึ่งนามว่า อินดิส ชาววันยาร์ มีโอรสธิดาสี่องค์คือ ฟิงโกลฟิน ฟินาร์ฟิน ฟินดิส และอิริเม เมื่อเมลคอร์พ้นจากการจองจำ เขาคิดแก้แค้นเหล่าวาลาร์และทำลายพวกเอลฟ์ ยุแยงจนทำให้เฟอานอร์ต้องถูกเนรเทศออกจากทิริออน เมืองหลวงของพวกเอลฟ์ ไปอยู่ที่นครฟอร์เมนอสทางเหนือของอามัน ฟินเวซึ่งรักลูกชายคนโตมากที่สุด จึงตามไปอยู่กับเฟอานอร์ที่นั่นด้วย แต่แล้วพระองค์ก็ถูกเมลคอร์สังหารที่ฟอร์เมนอส หลังจากที่เขาทำลายทวิพฤกษาและมาขโมยซิลมาริลที่นี่ ส่วนเอลฟ์คนอื่น ๆ ไปร่วมงานเลี้ยงที่ยอดเขาทานิเควทิลกันหมด การสิ้นพระชนม์ของฟินเวครั้งนี้เป็นเหตุผลสำคัญข้อหนึ่งที่ทำให้เฟอานอร์และชาวโนลดอร์จำนวนมากโกรธแค้นเมลคอร์ จนตั้งชื่อให้เขาใหม่ว่า 'มอร์กอธ' แล้วยกทัพออกตามล่าเขากลับมายังมิดเดิ้ลเอิร.

ฟินเวและราชวงศ์ฟินเว · ฟินเวและเฟอานอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มอร์กอธ

'''มอร์กอธ บาวเกลียร์''' มอร์กอธ บาวเกลียร์ (Morgoth Bauglir) เป็นตัวละครที่แต่งขึ้นโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในผลงานของโทลคีนเรื่อง ซิลมาริลลิออน และตำนานอื่นๆ ในยุคโบราณของปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ มอร์กอธเป็นชาวไอนัวร์ ซึ่งเป็นเทพเจ้าเฉกเช่นวาลาร์ ชื่อเดิมของเขาคือ เมลคอร์ แต่ต่อมาเป็นที่รู้จักทั่วไปในมิดเดิลเอิร์ธในชื่อของ มอร์กอธ หลังจากที่เจ้าชายเอลฟ์นามว่า เฟอานอร์ เป็นผู้ตั้งให้ ในประวัติศาสตร์ของมิดเดิลเอิร์ธ มอร์กอธมีบทบาทเป็นฝ่ายอธรรมผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่ง เซารอน เจ้าแห่งความมืดที่หลายคนรู้จักดีจากเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เคยเป็นข้ารับใช้ของเขา นาม มอร์กอธ บาวเกลียร์ ที่จริงแล้วเป็นชื่อฉายา ชื่อของเขาที่ปรากฏครั้งแรกในไอนูลินดาเล (เรื่องราวของการสร้างมิดเดิ้ลเอิร์ธ และเป็นบทแรกของ ซิลมาริลลิออน) มีชื่อว่า เมลคอร์ ซึ่งหมายถึง "ผู้ผงาดด้วยอำนาจ" ส่วนคำว่า มอร์กอธ สามารถแปลได้ว่า "ทรราชเจ้าแห่งความมืด" หรือ "ผู้กดขี่อันน่าสยดสยอง" คำนี้มีที่มาจากภาษาเควนยาซึ่งหมายถึง ศัตรูมืด หรือ ความมืดอันน่าหวาดหวั่น (รากศัพท์มาจาก มอร์ (mor) - สีดำ ความมืด เงามืด และ กอส/กอธ (goth) - น่ากลัวมาก ความสยองขวัญ) ส่วนคำว่า บาวเกลียร์ เป็นภาษาซินดาริน หมายถึง ทรราช หรือ ผู้กดขี่ (รากศัพท์ MBAW - บังคับ พลังอำนาจ กดขี่) ตัวละครนี้ไม่ได้ถูกเรียกว่ามอร์กอธจนกระทั่งเขาได้รับสมญานั้นจาก เฟอานอร์ แห่ง โนลดอร์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคที่หนึ่ง (First Age) หลังจากเมลคอร์หลบหนีออกจากวาลินอร์แล้ว และพวกเอลฟ์ก็เรียกแต่ชื่อนั้นของเขา แต่ก่อนหน้าเหตุการณ์นั้นเขาถูกเรียกเพียงว่า เมลคอร์ ระหว่างการพัฒนาการของตำนานของโทลคีน เขาได้เปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการแปรพักตร์ของไอนูองค์นี้ และเปลี่ยนชื่อของเขาด้วย นอกเหนือจากชื่อพิเศษของเขาซึ่งชาวโนลดอร์ตั้งให้ (มอร์กอธ) เขายังถูกเรียกในตำนานต่างๆ (ในหลากหลายรูปแบบ) ว่า'เมลโค' 'เบลคา' 'เมเลกอร์' และ 'เมเลโค' ชื่อของเขาในรูปซินดารินคือ 'เบเลกูร์' ซึ่งไม่เคยถูกใช้เลยนอกจากในคำที่แปลงรูปแล้วว่า 'เบเลกัวธ์' ซึ่งหมายถึง ’ความตายอันยิ่งใหญ่' หมวดหมู่:ตัวละครในซิลมาริลลิออน หมวดหมู่:ไอนัวร์.

มอร์กอธและราชวงศ์ฟินเว · มอร์กอธและเฟอานอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มากลอร์

มากลอร์ (Maglor) เป็นตัวละครในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในงานเขียนชุด ซิลมาริลลิออน เขาเป็นบุตรคนที่สองของเฟอานอร์ เจ้าชายเอลฟ์ชาวโนลดอร์ผู้รังสรรค์ดวงมณีซิลมาริล มากลอร์เป็นกวีและนักดนตรีที่เก่งฉกาจ ได้ชื่อว่าเป็นคีตกรผู้ยิ่งยงที่สุดแห่งมิดเดิลเอิร์ธไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยนที่สุดในบรรดาพี่น้องอันเป็นลักษณะของแนร์ดาเนลผู้เป็นมารดา มากลอร์ได้ให้คำสาบานต่อบิดาของตนเช่นเดียวกับพี่น้องคนอื่นๆ ในอันจะติดตามทวงคืนดวงมณีซิลมาริลมาให้ได้ ไม่ยอมให้ตกอยู่ในมือของผู้ใด คำสาบานนี้นำพาชะตากรรมสุดท้ายมาสู่ตัวเขากับพี่น้องและบรรดาผู้ติดตามทั้งหมด มากลอร์เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่พี่น้องฝาแฝด เอลรอนด์และเอลรอส ระหว่างที่กองกำลังของพวกเขาเข้าโจมตีที่มั่นสุดท้ายของพวกเอลฟ์ที่ปากแม่น้ำซิริออน ทำให้เด็กทั้งสองรอดชีวิตจากสงครามประหัตประหารญาติคราวนั้นมาได้.

มากลอร์และราชวงศ์ฟินเว · มากลอร์และเฟอานอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มายดรอส

มายดรอส (Maedhros) คือตัวละครในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในงานเขียนชุด ซิลมาริลลิออน Unfinished Tales และ ตำนานบุตรแห่งฮูริน มายดรอสเป็นตัวละครที่ทรหดอดทนมาก และเป็นแหล่งสร้างงานของศิลปินหลายคนเช่น เจนนี โดลเฟน และ อลัน ลี ตามปกรณัม มายดรอสเป็นโอรสองค์ใหญ่ของเฟอานอร์ เจ้าชายเอลฟ์ชาวโนลดอร์ผู้สร้างดวงมณีวิเศษซิลมาริลซึ่งเป็นแก่นหลักของตำนานแห่งมิดเดิลเอิร์ธ มายดรอสได้ให้คำสาบานต่อบิดาในการติดตามทวงคืนดวงมณีจากการช่วงชิงของผู้อื่น อันเป็นคำสาบานที่นำชะตากรรมมาสู่บุตรแห่งเฟอานอร์และผู้ให้คำสาบานทุกคน มายดรอสได้นำศึกเข้าต่อรบกับมอร์ก็อธหลายครั้ง ทั้งทำสงครามกับเอลฟ์ด้วยกันเองด้วยเพื่อชิงซิลมาริล ในที่สุดคำสาบานอันร้ายกาจก็นำความพินาศมาสู่ตัวเขาและน้องชายทุกคน.

มายดรอสและราชวงศ์ฟินเว · มายดรอสและเฟอานอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มิดเดิลเอิร์ธ

แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อันเป็นฉากหลังของเรื่องราวตำนานทั้งหลายในงานเขียนของโทลคีน ปกรณัมของโทลคีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมและครอบครองโลก (ในตำนานเรียกว่า "อาร์ดา") ซึ่งมีทวีปหลักชื่อว่า "มิดเดิลเอิร์ธ" เป็นที่อยู่อาศัยของพวก 'มรรตัยชน' (คือมนุษย์ที่รู้ตาย) เป็นสถานที่ตรงข้ามกับ "อามัน" หรือ 'แดนอมตะ' อันเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกวาลาร์ กับพวกเอลฟ์ คำนี้มีรากมาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า middel-erde ซึ่งพัฒนามาจากคำในภาษาอังกฤษเก่าว่า middangeard แก่นสำคัญของงานเขียนของโทลคีนคือเรื่องของการช่วงชิง ควบคุม และครอบครองอำนาจหรือของวิเศษ ทำให้เกิดสงครามขึ้นบนมิดเดิลเอิร์ธหลายครั้งหลายหน คือสงครามระหว่างเหล่าเทพวาลาร์ เอลฟ์ และพันธมิตรชาวมนุษย์ฝ่ายหนึ่ง กับเทพอสูรเมลคอร์กับบริวาร ได้แก่พวกออร์ค มังกร และมนุษย์ที่เป็นทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในตำนานยุคหลัง เมื่อเมลคอร์สิ้นอำนาจและถูกขับไล่ออกไปจากอาร์ดาแล้ว บทบาทการช่วงชิงนี้ก็ตกไปอยู่กับเซารอน สมุนเอกของเขา เหล่าเทพวาลาร์ได้ยุติบทบาทของตนลงหลังจากที่เมลคอร์สิ้นอำนาจ เพราะการสงครามระหว่างพวกพระองค์ครั้งนั้นได้ทำให้โลกพินาศเสียหายไปมาก อย่างไรก็ดีพวกพระองค์ก็ยังส่ง อิสตาริ หรือเหล่าพ่อมด เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการต่อต้านอำนาจของเซารอน อิสตาริที่มีบทบาทมากคือ แกนดัล์ฟพ่อมดเทา และซารูมานพ่อมดขาว แกนดัล์ฟได้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี โดยได้ช่วยเหลือชาวมิดเดิลเอิร์ธอย่างถึงที่สุดเพื่อโค่นอำนาจเซารอนลงให้ได้ แต่ซารูมานกลับพ่ายแพ้ต่อความคิดฉ้อฉลแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ ช่วงชิงอำนาจบนมิดเดิลเอิร์ธแข่งกับเซารอนเสียเอง สำหรับพลเมืองชาวมิดเดิลเอิร์ธพวกอื่นๆ ได้แก่ คนแคระ เอนท์ และฮอบบิท อันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในการสร้างสรรค์งานของโทลคีน เขาได้จัดทำแผนที่ของมิดเดิลเอิร์ธขึ้นเป็นจำนวนมาก แสดงถึงดินแดนและสถานที่ต่างๆ ที่ตำนานของเขาเอ่ยถึง แผนที่บางส่วนได้รับการตีพิมพ์ในช่วงชีวิตของเขา แต่ก็ยังมีแผนที่อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ตีพิมพ์เลยจนกระทั่งเขาเสียชีวิตไปแล้ว แผนที่ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในยุคที่หนึ่งเกิดขึ้นบนดินแดนที่เรียกชื่อว่า เบเลริอันด์ ดินแดนนี้ต่อมาได้จมลงสู่ทะเลหลังสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเทพวาลาร์กับเมลคอร์ คงเหลือแต่เทือกเขาสีน้ำเงินที่ปรากฏอยู่ทางขวาสุดของแผนที่ เป็นจุดเชื่อมต่อเดียวกันกับเทือกเขาสีน้ำเงินที่อยู่ทางด้านซ้ายสุดของแผนที่ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ดินแดนทางด้านตะวันออกของเทือกเขาสีน้ำเงินเป็นที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่สองและสาม โทลคีนบอกว่ามิดเดิ้ลเอิร์ธนั้นคือโลกของเรา เพียงแต่เป็นช่วงเวลาในอดีต โดยประมาณว่าปลายยุคที่สามคือช่วงระยะประมาณ 6,000 ปีก่อนยุคของโทลคีน เขายังบรรยายเขตแดนที่ฮอบบิทอาศัยว่าอยู่ที่ "ตะวันตกเฉียงเหนือของโลกเก่า ทางตะวันออกของทะเลใหญ่",เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์, บทนำ, หน้า 2 ซึ่งอ้างอิงถึงอังกฤษและเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปอย่างชัดเจน ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน ถูกแบ่งออกเป็นหลายยุค เรื่องราวที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และเรื่องราวใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เกิดขึ้นในราวปลายยุคที่สาม และนำไปสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่สี่ ในขณะที่เรื่องราวใน ซิลมาริลลิออน ซึ่งเป็นงานเขียนของโทลคีนเกี่ยวกับมิดเดิลเอิร์ธที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ยุคสร้างโลกและยุคที่หนึ่งเป็นส่วนใหญ.

มิดเดิลเอิร์ธและราชวงศ์ฟินเว · มิดเดิลเอิร์ธและเฟอานอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อามัน

อามัน (Aman) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งบนโลกอาร์ดา ในจินตนิยายชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น แผ่นดินอมตะ (Undying Lands) หรือ อาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ (Blessed Realm) เนื่องจากบนดินแดนแห่งนี้เป็นที่อยู่ของบรรดาอมตะชนทั้งสิ้น แต่เดิมโลกอาร์ดามีทวีปเดียว มีทะเลสาบกลางแผ่นดินและเกาะกลางทะเลสาบนั้นชื่อว่า อัลมาเรน เป็นที่ประทับของเหล่าพลังอำนาจ หรือปวงเทพ หรือคือเหล่าไอนัวร์ ที่จำแลงร่างลงมาอยู่ในโลก แต่หลังจากมอร์กอธทรยศและทำลายผืนพิภพจนวอดวาย แผ่นดินและผืนน้ำเปลี่ยนรูปทรงไปทั้งหมด จึงเกิดเป็นทวีปใหญ่น้อยมากมาย ทวีปอามันเกิดขึ้นจากเหตุการณ์นี้ โดยเป็นทวีปที่อยู่ทางฟากตะวันตกสุดของอาร์ดา คั่นตัวออกจากทวีปอื่นด้วยมหาสมุทรใหญ่ชื่อ เบเลกายร์ หลังจากนั้นปวงเทพก็ย้ายมาประทับอยู่บนทวีปนี้ ตั้งเมืองศูนย์กลางของปวงเทพขึ้นเรียกว่า วาลินอร์ ภูมิประเทศในใจกลางทวีปเป็นที่ราบ และผืนป่า ซึ่งเป็นไร่นาของเทพียาวันนา และเขตป่าของเทพโอโรเม ด้านตะวันตกจรดทะเลวัฏฏะ (เอคไคอา) ด้านตะวันออกจรดทะเลเบเลกายร์ โดยมีขุนเขาสูงใหญ่ขวางกั้นไว้ที่ชายทวีปด้านตะวันออก มีชื่อว่า เทือกเขาเพโลริ ยอดเขาสูงสุดของเพโลริคือ ทานิเควทิล อันเป็นที่ประทับของจอมกษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งปวง คือมานเวเทพบดี นครวาลินอร์ตั้งอยู่เชิงขุนเขาแห่งนี้ ด้านนอกนครเป็นเนินสูงใหญ่ชื่อ 'เอเซลโลฮาร์' บนเนินเป็นที่ตั้งของที่ประชุมมนตรีพิพากษา (คือที่ประชุมของปวงเทพวาลาร์ เมื่อต้องมีการพิจารณาเหตุการณ์สำคัญ) ใกล้เนินเอเซลโลฮาร์เป็นที่ตั้งของทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์ หลังจากชาวเอลดาร์เดินทางมายังอามัน ปวงเทพเห็นว่าพวกเขายังจำเป็นต้องได้รับกลิ่นไอจากมหาสมุทรใหญ่ และอากาศจากแผ่นดินเกิด จึงแหวกช่องเขาเพโลริให้แยกออกในช่วงกึ่งกลางของทวีป กลายเป็นช่องเขาคาลาเคียร์ยา ซึ่งเป็นที่ตั้งของนครทิริออน เมืองหลวงของพวกเอลฟ์ ชายหาดริมมหาสมุทรใหญ่ใกล้กับนครนี้ มีชื่อเรียกว่า อ่าวเอลดามาร์ หรืออ่าวนิวาสเอลฟ์ เป็นที่ตั้งของนครอัลควาลอนเด เมืองหลวงของชาวเทเลริ ในอ่าวเอลดามาร์มีเกาะใหญ่แห่งหนึ่งตั้งอยู่ เกาะนี้เดิมคือแผ่นดินใหญ่ที่เทพอุลโมใช้นำพาเหล่าเอลฟ์ออกจากทวีปมิดเดิลเอิร์ธมาสู่อามัน แต่เมื่อถึงการเดินทางครั้งสุดท้ายของเหล่าเทเลริ พวกเขาขอให้เทพอุลโมหยุดยั้งการเดินทาง พระองค์จึงหยั่งรากของเกาะลงยึดกับก้นมหาสมุทรกลายเป็นเกาะขนาดใหญ่ มีชื่อว่า 'โทลเอเรสเซอา' หรือเกาะเอกา (Lonely Isle) บางครั้งในปกรณัมเรียกชื่อว่า 'เอเรสเซอา' บนเกาะนี้เป็นที่ตั้งของนครอวัลโลเน พวกเอลฟ์โนลดอร์ที่ถูกเนรเทศไปยังมิดเดิลเอิร์ธ เมื่อได้รับอภัยโทษและกลับคืนสู่แผ่นดินอมตะ ก็จะมาได้เพียงเกาะโทลเอเรสเซอาแห่งนี้ อามันได้ชื่อว่าเป็นแผ่นดินอมตะ ก็เพราะผู้อยู่อาศัยบนแผ่นดินนั้นล้วนเป็นอมตะชน ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ไปอยู่บนนั้นจะมีชีวิตยืนยาว ตรงกันข้าม ถ้ามนุษย์ผู้ไม่ได้รับอนุญาตเหยียบลงบนแผ่นดินนั้น กลับจะยิ่งเสียชีวิตเร็วขึ้นเพราะไม่อาจทนรับสภาพอากาศของแผ่นดินอมตะได้ มนุษย์ผู้แรกที่ได้เหยียบย่างขึ้นบนแผ่นดินอมตะ คือ เออาเรนดิลจอมนาวิก ซึ่งเสี่ยงชีวิตเดินทางไปขออภัยต่อปวงเทพในฐานะตัวแทนของสองเผ่าพันธุ์ (เอลฟ์และมนุษย์) ในเหตุการณ์ตอนปลายของยุคที่หนึ่ง เขาได้รับพรพิเศษจากปวงเทพให้เลือกได้ว่าจะเป็นเอลฟ์หรือมนุษย์ เออาเรนดิลเลือกเป็นเอลฟ์ จึงได้รับมอบหมายให้อัญเชิญดวงมณีซิลมาริลไปบนนาวาวิงกิล็อท เพื่อส่องแสงสว่างแก่โลกตลอดไป เหตุนี้เขาจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เออาเรนดิลผู้ได้รับพร ในช่วงปลายยุคที่สอง อาร์-ฟาราโซน กษัตริย์นูเมนอร์ คิดเหิมเกริมด้วยถูกยุยงจากเซารอน หมายจะไปชิงความเป็นอมตะจากปวงเทพ จึงยกทัพเรือไปจะตีอามัน จากเหตุการณ์นี้องค์อิลูวาทาร์จึงบันดาลให้มหาสมุทรใหญ่เกิดหุบเหวลึก ดูดเอาเกาะนูเมนอร์จมสมุทร แล้วย้ายอามันออกไปจากพิภพอาร์ดา บันดาลให้โลกกลม ดังนั้นจึงไม่มีผู้ใดสามารถเดินทางไปถึงอามันได้อีกเลย นอกจากผู้ได้รับอนุญาติจากเหล่าเอลฟ์ เช่น บิลโบ และ โฟรโด ซึ่งเป็นผู้ถือแหวน ที่สามารถไปถึงได้โดยผ่านทาง เส้นทางมุ่งตรง เท่านั้น เพื่อไปใช้ชีวิตเป็นอมตะกับ ชาวอมตะที่เหลือ.

ราชวงศ์ฟินเวและอามัน · อามันและเฟอานอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์

"''Creation of the Two Trees''" ในปกรณัมของ เจ.อาร์.อาร์. โทลคีน ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์ (Two Trees of Valinor) เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นโดยเทพียาวันนา ได้แก่ เทลเพริออน (Telperion) และ เลาเรลิน (Laurelin) อันเป็นพฤกษาเงินและทองซึ่งนำแสงสว่างมาสู่ดินแดนของ วาลาร์ ในโบราณกาล พวกมันถูกทำลายโดย เมลคอร์ และ อุงโกเลียนท์ แต่วาลาร์นำดอกไม้และผลสุดท้ายของพวกมันไปสร้างเป็น ดวงจันทร์ และ ดวงอาทิต.

ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และราชวงศ์ฟินเว · ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์และเฟอานอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซิลมาริล

ในตำนานที่เขียนโดย เจ.อาร์.อาร์. โทลคีน ซิลมาริล (Silmaril) (มาจากภาษาเควนยา ว่า ซิลมาริลลิ) เป็นวัตถุศักดิ์สิทธิ์ในจินตนิยาย ประกอบด้วยอัญมณีสามชิ้นที่สุกสว่างดังดวงดาว ภายในบรรจุแสงอันบริสุทธิ์ของ ทวิพฤกษา ซิลมาริลทำมาจากวัสดุใสดังผลึกคริสตัลที่เรียกว่า ซิลิมา ประดิษฐ์โดย เฟอานอร์ เอลฟ์ชาวโนลดอร์ ในวาลินอร์ ในช่วงยุคแห่งพฤกษา งานเขียนชุด ซิลมาริลลิออน ของโทลคีน มีหัวใจหลักของเรื่องเกี่ยวข้องกับดวงมณีซิลมาริลนี้เอง ว่าด้วยเรื่องราวของผู้สร้าง การถูกช่วงชิง และการแก้แค้น ตลอดจนชะตากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้คนที่เกี่ยวข้องทั้งหม.

ซิลมาริลและราชวงศ์ฟินเว · ซิลมาริลและเฟอานอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อาร์ดา

ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อาร์ดา ซึ่งหมายถึงโลกและห้วงหาวที่ห่อหุ้มทั้งหมด เหตุการณ์นั้นเริ่มต้นตั้งแต่การสร้าง เออา หรือจักรวาลของโลก เหล่าไอนัวร์เข้ามายังอาร์ดา และเริ่มสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ใน ไอนูลินดาเล ระยะเวลาในช่วงนี้นับด้วยวาเลียนศก หลังจากนั้นประวัติศาสตร์ของอาร์ดาแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ ที่มีการนับระยะเวลาแตกต่างกัน เรียกชื่อยุคทั้งสามว่า ยุคแห่งชวาลา ยุคแห่งพฤกษา และยุคแห่งตะวัน นอกจากนี้ยังมีการแบ่งแยกการนับศักราชแยกออกมาอีกเป็น ยุคของบุตรแห่งอิลูวาทาร์ โดยที่ยุคที่หนึ่งเริ่มนับตั้งแต่แรกที่พวกเอลฟ์ตื่นขึ้นที่ทะเลสาบคุยวิเอเนนระหว่างยุคแห่งพฤกษา และเรื่อยไปอีกประมาณหกร้อยปีในยุคแห่งตะวัน ยุคของเหล่าบุตรหลังจากนั้นเกิดขึ้นในยุคแห่งตะวันทั้งหมด เรื่องราวต่างๆ ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธส่วนใหญ่เกิดขึ้นในระหว่างสามยุคแรกของเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร.

ประวัติศาสตร์อาร์ดาและราชวงศ์ฟินเว · ประวัติศาสตร์อาร์ดาและเฟอานอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โนลดอร์

ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน ชาวโนลดอร์ (Noldor) เป็นชื่อชนตระกูลหนึ่งในสามตระกูลใหญ่ของพวกเอลฟ์ ที่เดินทางไปยังทวีปอามัน ต้นตระกูลผู้รวบรวมผองชนโนลดอร์คือเอลฟ์ที่ตื่นขึ้นเป็นคนที่สองที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน นามว่า ตาตา (Tata) ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกชนเหล่านี้ว่า 'ตระกูลที่สองของเอลฟ์' หรือ 'ตาชาร์' (Tatyar) สำหรับเอลฟ์อีกสองตระกูลใหญ่คือ ชาววันยาร์ และชาวเทเลริ อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาเมื่อเทพโอโรเมชักชวนเหล่าเอลฟ์ให้ส่งผู้แทนไปเยือนวาลินอร์ ผู้แทนของชาวโนลดอร์คือ ฟินเว ผู้ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกษัตริย์ของชาวโนลดอร์ทั้งมวล และได้นำพวกเขาเดินทางอพยพไปสู่แผ่นดินอมตะ ชาวโนลดอร์มีรูปร่างสูงใหญ่ มักมีดวงตาสีเทา ผมสีเข้ม (ยกเว้นโนลดอร์บางคนในตระกูลที่วิวาห์กับชาววันยาร์ เช่นราชสกุลฟินาร์ฟิน จะมีผมสีทองแบบชาววันยาร์) พวกเขาพูดภาษาเควนยา แต่ชาวโนลดอร์ที่นิวัติมายังมิดเดิลเอิร์ธในยุคที่หนึ่ง จะใช้ภาษาซินดารินในการเจรจาประจำวัน.

ราชวงศ์ฟินเวและโนลดอร์ · เฟอานอร์และโนลดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)

อลฟ์ (elf) ตามความหมายในจินตนิยายชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ มีชีวิตยืนยาวเท่ากับอายุของโลก จึงเสมือนหนึ่งว่าเป็นอมตะ คำว่า 'เอลฟ์' (Elf) เป็นคำที่โทลคีนเลือกมาจากตำนานโบราณเพื่อใช้แทนคำศัพท์แท้จริงอันเป็นชื่อของชนเผ่านี้ คือ เอลดาร์ (Eldar) ซึ่งเป็นคำในภาษาเควนยา หมายถึง 'ประชากรแห่งแสงดาว'.

ราชวงศ์ฟินเวและเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · เฟอานอร์และเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

. อาร.

ราชวงศ์ฟินเวและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนและเฟอานอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เทเลริ

ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน ชาวเทเลริ (Teleri) เป็นชื่อชนตระกูลหนึ่งในสามตระกูลใหญ่ของพวกเอลฟ์ ที่เดินทางไปยังทวีปอามัน ต้นตระกูลผู้รวบรวมผองชนเทเลริคือเอลฟ์ที่ตื่นขึ้นเป็นคนที่สามที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน นามว่า เอเนล (Enel) เมื่อแรกชนเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า 'เนลยาร์' (Nelyar) ซึ่งหมายถึง 'ตระกูลที่สามของเอลฟ์' และต่อมาพวกเขาก็เรียกตนเองว่าชาว 'ลินได' หรือ 'ลินดาร์' อันแปลว่า 'นักร้อง' สำหรับเอลฟ์อีกสองตระกูลใหญ่คือ ชาววันยาร์ และชาวโนลดอร์ อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาเมื่อเทพโอโรเมชักชวนเหล่าเอลฟ์ให้ส่งผู้แทนไปเยือนวาลินอร์ ผู้แทนของชาวเทเลริคือ เอลเว ผู้ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกษัตริย์ของชาวเทเลริแห่งเบเลริอันด์ เอลเวผู้นี้มักเป็นที่รู้จักกันในชื่อของกษัตริย์ ธิงโกล อันเป็นชื่อฉายาซึ่งหมายถึง 'เสื้อคลุมเทา' ชาวเทเลริส่วนใหญ่มีผมสีเข้ม รูปร่างสูงโปร่ง แลผิวเผินจะคล้ายกับชาวโนลดอร์ มีบ้างประปรายที่มีเรือนผมสีอ่อน เป็นสีขาวหรือเงินยวง ซึ่งมักเป็นพวกที่มีเชื้อสายเป็นเครือญาติกับ เอลเว ชาวเทเลริมีความเชี่ยวชาญอย่างยิ่งในด้านการดนตรี และความรู้เกี่ยวกับสรรพสิ่งที่เจริญเติบโตบนพื้นพิภพ ชาวเทเลริในเบเลริอันด์พูดภาษาซินดาริน ส่วนชาวเทเลริกลุ่มอื่นๆ อาจมีภาษาต่างๆ ของตัวเอง เช่น ภาษาซิลวัน หรือภาษานันดอริน.

ราชวงศ์ฟินเวและเทเลริ · เทเลริและเฟอานอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ราชวงศ์ฟินเวและเฟอานอร์

ราชวงศ์ฟินเว มี 28 ความสัมพันธ์ขณะที่ เฟอานอร์ มี 21 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 15, ดัชนี Jaccard คือ 30.61% = 15 / (28 + 21)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ราชวงศ์ฟินเวและเฟอานอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: