ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ราชวงศ์ถังและหลี่จิ้ง (ขุนศึก)
ราชวงศ์ถังและหลี่จิ้ง (ขุนศึก) มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ราชวงศ์สุยจักรพรรดิสุยหยางจักรพรรดิถังไท่จงจักรพรรดิถังเกาจู่ฉางอาน
ราชวงศ์สุย
ราชวงศ์สุย (Sui Dynasty, ค.ศ. 581 – ค.ศ. 618) (37 ปี) เป็นราชวงศ์ที่ทรงอำนาจทางการทหารแต่มีระยะเวลาการปกครองที่ค่อนข้างสั้น สถาปนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 581 ภายหลังจากยุคสามก๊ก โดยจักรพรรดิสุยเหวินตี้(หยางเจียน) อดีตแม่ทัพแห่งราชวงศ์โจวเหนือ โดยในรัชกาลของพระองค์ทรงสามารถรวบรวมแผ่นดินจีนให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้ง แต่ราชวงศ์สุยมีอันต้องล่มสลายลงในปี ค.ศ. 617 ในรัชกาลจักรพรรดิสุยหยางตี้(หยางกว่าง) พระราชโอรสองค์รองของสุยเหวินตี้ ฮ่องเต้หยางเจียน ทรงดำเนินนโยบายอย่างแยบยล โดยการหล่อหลอมเอาวัฒนธรรมแต่ละแคว้นเข้าด้วยกัน เพื่อผสมผสานให้แต่ละแคว้นมีความเป็นปึกแผ่น หลังจากที่แตกสลายหลังสิ้นสุดราชวงศ์ฮั่น โดยมีการผสมผสานหลักการของศาสนาพุทธที่หยางเจียนนับถือ เข้ากับลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า แล้วนำมาพัฒนาเป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่กฎหมายของราชวงศ์ โดยแม้ต่อมา ราชวงศ์ถังจะสถาปนาขึ้น ก็ยังรับเอาวัฒนธรรมการหล่อหลอมคำสอนศาสนามาใช้ต่อเนื่อง หลังจากนั้น ทรงดำเนินนโยบายให้ขุนนางในราชสำนักรวมไปถึงเชื้อพระวงศ์ได้แต่งงานกับชนเผ่าต่าง ๆ เพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรี เพราะโดยพื้นเพเดิมนั้น ทั้งหยางเจียนและพระมเหสี ก็ทรงเป็นตระกูลจีนแท้ผสมกับชนเผ่าเติร์กอยู่แล้ว หยางเจียนทรงดำเนินนโยบาย ขุดคลองต้ายุ่นเหอขนาดมหึมา ยาวกว่า 1,800 กิโลเมตร เชื่อมต่อกรุงปักกิ่ง ซึ่งอยู่ในจีนซีกเหนือ กับเมืองหางโจว ซึ่งเป็นจีนซีกใต้ เพื่อเป็นการเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซีเกียง เพื่อผูกขาดเศรษฐกิจของจีนให้เป็นหนึ่งเดียว รวมไปถึง การสร้างยุ้งฉางกักตุนสินค้าขนาดใหญ่โต เพื่อรองรับสินค้าเกือบตลอดแนวคลอง มีการริเริ่มการสอบจอหงวน เป็นครั้งแรก ทั่วราชอาณาจักร เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถเข้ามารับราชการในตำแหน่งขุนนาง ทำให้แต่เดิม ที่ขุนนางจะมีเพียงแต่ชนชั้นสูงที่สืบทอดสกุลต่อกันมา ทำให้อาจจะมีแต่ตำแหน่งแต่ไร้ความสามารถ จึงได้ผู้ที่มีฝีมือและความรู้อย่างแท้จริง ซ้ำยังทำให้ประชาชนได้มีโอกาสมารับราชการในราชวัง นับว่าเป็นการลดการเหลื่อมล้ำทางสังคมอีกด้วย แต่ต่อมา เมื่อหยางกว่างขึ้นครองราชย์ ทรงประกาศสงครามกับชนเผ่าต่าง ๆ ทำให้ทรงขยายพื้นที่ทางด้านตะวันตกได้พอสมควร ซ้ำยังยกทัพไปบุกเกาหลีและแมนจู แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะด้วยประสบกับความหนาวเหน็บ ซ้ำยังไม่มีการควบคุมทัพที่ดีพอ ทำให้พ่ายศึก ตามพงศาวดารกล่าวไว้ว่า ซึ่งสุยหยางตี้บัญชาให้ยกทัพขนาดมหึมานี้ ถึง 4 ครั้ง ทำให้ราชวงศ์สุย เสียหายอย่างหนัก ด้วยเหตุนี้ จึงการการก่อจลาจลทั่วทุกหัวระแหง ที่ใหญ่ ๆ มี 3 กลุ่ม อันได้แก่ กองกำลังหวากัง นำโดยใจ๋หยางและหลี่มี่ กองกำลังเจียงไหว นำโดยตู้ฝูเว่ย และกองกำลังเหอเป่ย นำโดยโต้วเจี้ยนเต๋อ รวมไปถึงการก่อกบฏในราชสำนักเองอีกด้วย สุดท้าย สุยหยางตี้ถูกลอบปลงพระชนม์โดยพระประยูรฐาติของพระองค์ นำโดยอวี้เหวินฮั่วจี๋ ราชวงศ์สุยถึงกาลอาวสาน เมื่อปีพ.ศ. 1161.
ราชวงศ์ถังและราชวงศ์สุย · ราชวงศ์สุยและหลี่จิ้ง (ขุนศึก) ·
จักรพรรดิสุยหยาง
มเด็จพระจักรพรรดิสุยหยางตี้ (楊廣, Emperor Sui-Yangdi) (ค.ศ. 600-618,1143-1161) ประสูติเมื่อปี..
จักรพรรดิสุยหยางและราชวงศ์ถัง · จักรพรรดิสุยหยางและหลี่จิ้ง (ขุนศึก) ·
จักรพรรดิถังไท่จง
มเด็จพระจักรพรรดิถังไท่จง (1170-1186) พระนามเดิม หลี่ซื่อหมิน จักรพรรดิองค์ที่สองแห่งราชวงศ์ถังของประเทศจีน (ราว 1,600 ปี) ได้ยึดถือหลักคำสอนเรื่องนี้ของบรมครูขงจื่อในการ ปกครองประเทศจีน และทำให้ประเทศจีนในยุคที่พระองค์ทรงปกครองรุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ 5 เป็นประเทศมหาอำนาจของโลกในยุคสมัยของพระองค์ราชวงศ์ถังนั้นยิ่งใหญ่มากมายนั้นเลยก็ว่าได้ แม้ว่าพระองค์มีพระราชอำนาจสูงสุด สามารถตัดสินพระทัยสั่งการใด ๆ ก็ได้ พระองค์ก็ทรงมิได้ปฏิบัติเช่นนั้น พระองค์จะไต่ถามความเห็นของเหล่าเสนาบดี และที่ปรึกษาของพระองค์ก่อนที่จะตัดสินพระทัยเสมอ โดยเฉพาะที่ปรึกษาท่านหนึ่ง นาม เว่ยเจิง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาของพี่ชายพระองค์ที่เป็นรัชทายาท และได้แนะนำให้พี่ชายของพระองค์ วางแผนสังหารพระองค์ เนื่องจากที่ปรึกษาท่านนี้มองเห็นว่า พระองค์จะเป็นภัยก่อการขบถยึดราชบัลลังก์ของพี่ชาย เนื่องจากถังไท่จงเหนือชั้นกว่า จึงวางแผนซ้อนแผน แทนที่พระองค์จะถูกสังหาร พี่ชายของพระองค์กลับถูกปลิดพระชนม์ชีพแทน แต่ถังไท่จงรับสั่งมิให้ทหารของพระองค์ทำร้ายที่ปรึกษาผู้นั้น นอกจากไม่ทำร้ายแล้ว พระองค์ยังทรงแต่งตั้งเขาขึ้นเป็นประธานที่ปรึกษา เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดาอีก ด้วยเหตุผลก็คือ พระองค์ท่านจะได้มีที่ปรึกษาอย่างน้อยหนึ่งท่านที่คิดแตกต่าง หรือไม่เหมือนกับที่พระองค์คิด กล้าคัดค้านพระองค์อย่างตรงไปตรงมาโดยไม่เกรงกลัว หรือหวาดหวั่นต่อพระราชอำนาจ จักรพรรดิถังไท่จงได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์ให้เป็นมหาจักรพรรดิของจีนเพราะพระองค์แตกต่างจากจักรพรรดิทั้งปวง กล่าวคือ ไม่ว่าเชื้อพระวงศ์ก็ดี หรือเสนาบดีก็ดี หรือที่ปรึกษาก็ดีไปแอบนินทา ให้ร้ายพระองค์ลับหลัง พระองค์ก็จะทรงลงพระอาญา เพราะถือว่า พระองค์ทรงให้โอกาสวิพากษ์วิจารณ์อย่างเปิดเผย และถูกต้องแล้วบุคคลเหล่านี้กลับไม่ทำ หรือไม่ใช้โอกาสดังกล่าว กลับมาแอบทำลับหลังพระองค์ จึงต้องถูกลงโทษให้เป็นเยี่ยงอย่าง ส่วนผู้ที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ หรือคัดค้านพระองค์ต่อหน้าพระพักตร์อย่างชนิดตรงไปตรงมา อย่างเช่น อดีตที่ปรึกษาของพระเชษฐาขององค์จักรพรรดิถังไท่จงก็ทรงปูนบำเหน็จรางวัลให้เพื่อให้บรรดาเหล่าขุนนาง หรือข้าราชบริพารมีความกล้าที่จะใช้โอกาสดังกล่าวคัดค้านพระองค์ด้วยเหตุด้วยผล ไม่ใช่ไปแอบทำข้างหลัง นอกจากนั้นพระองค์ก็ทรงปลอมเป็นสามัญชนไปกับประธานที่ปรึกษาออกตระเวนเยี่ยมประชาชนของพระองค์ และตรวจงานการปฏิบัติราชการของ เหล่าข้าราชบริพารเป็นประจำทุกปี เพื่อจะได้ทรงทราบว่า บรรดารายงานของข้าราชการที่ส่งไปให้พระองค์ทรงอ่านที่เมืองหลวงนั้นมีความถูกต้อง สอดคล้องกับความเป็นจริงมากเพียงใด ไม่ใช่ทรงอยู่แต่ในวังหลวงพึ่งพารายงานจากข้าราชการอย่างเดียว บางครั้ง หากพระองค์ประชวร พระองค์ก็จะทรงส่งประธานที่ปรึกษาของพระองค์ออกทำงานแทนพระองค์ จักรพรรดิถังไท่จงถือว่าประชาชนมีความสำคัญกว่าพระองค์ และพระราชวงศ์ เวลาพระองค์จะตัดสินพระทัยทำอะไร ก็มักจะมองไปที่ผลประโยชน์ของประชาชนก่อนเสมอ ก่อนที่จะขึ้นครองราชย์นั้น พระองค์มีพระนามว่า "หลี ซื่อ หมิน" ประสูติเมื่อ..
จักรพรรดิถังไท่จงและราชวงศ์ถัง · จักรพรรดิถังไท่จงและหลี่จิ้ง (ขุนศึก) ·
จักรพรรดิถังเกาจู่
มเด็จพระจักรพรรดิถังเกาจู่ มีพระนามเดิมว่า หลี่ยวน (李淵) ประสูติเมื่อปี..
จักรพรรดิถังเกาจู่และราชวงศ์ถัง · จักรพรรดิถังเกาจู่และหลี่จิ้ง (ขุนศึก) ·
ฉางอาน
ฉางอาน ตามสำเนียงกลาง หรือ เตียงฮัน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (Chang'an) เป็นเมืองหลวงเก่าของประเทศจีน โดยมีราชวงศ์ 13 ราชวงศ์ที่เลือกนครฉางอานเป็นเมืองหลวง ปัจจุบันคือเมืองซีอาน ซึ่งเปลี่ยนชื่อในสมัยราชวงศ์ชิง ชื่อ ฉางอาน มีความหมายว่า "ความสงบสุขชั่วนิรันดร์" (Perpetual Peace) สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์สุย ในยุคนั้นเรียกว่าเมืองต้าซิง เมื่อถึงราชวงศ์ถังจึงเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองฉางอาน เมืองนี้ใช้ระยะเวลาในการสร้างเกือบ 100 ปี แต่ความใหญ่โตมโหฬารกลับปรากฏในตอนท้าย เมืองฉางอานในยุคนั้นเมื่อเทียบกับเมืองซีอานในอดีตแล้วยังนับว่าใหญ่กว่า 10 เท่า ถือว่าเป็นเมืองระดับนานาชาติเลยก็ว่าได้ พื้นที่ส่วนหนึ่งของฉางอาน ภายในเมืองฉางอานมีพระราชวังเป็นที่ประทับขององค์พระมหากษัตริย์และเป็นที่บริหารราชภารแผ่นดิน ทางทิศใต้ของเขตพระราชวังใช้เป็นที่ทำงานของขุนนางทั้งหลาย ถนนหนทางภายในตัวเมืองฉางอานและที่พักอาศัย ถูกออกแบบคล้ายกระดานหมายรุก เป็นระเบียบเรียบร้อย ถนนหลายสายภายในเมืองมีความกว้างกว่า 100 เมตร หนึ่งในนั้น ถนน "จูเชว่" ถือได้ว่าเป็นถนนที่กว้างมากที่สุด สิ่งเหล่านี้แสดงถึงความรุ่งเรืองของบ้านเมือง เมื่อเข้าสู่ราชวงศ์หมิงและชิงก็ได้นำเอาแบบอย่างการสร้างเมืองฉางอานไปใช้ในการสร้างเมืองปักกิ่ง เมืองฉางอานมีส่วนที่ใช้เป็นที่พักอาศัยและส่วนที่ใช้ทำมาค้าขาย แบ่งเป็นสัดส่วน ภายในส่วนที่ใช้ทำมาค้าขาย มีร้านค้ามากมาย เรียกร้านค้าเหล่านี้ว่า "ห้าง" อาทิ ห้างขายเนื้อ ห้างขายปลา ห้างขายยา ห้างผ้า ห้างเหล็ก ห้างเงินทอง ฯลฯ ว่ากันว่าแค่เพียงส่วนค้าขายทางตะวันออก ก็มีร้านค้ากว่า 200 แห่ง สิ่งของหายากจากทั่วทุกสารทิศ สามารถหาซื้อได้ในเมืองฉางอาน เมืองฉางอานยังเป็นเมืองศูนย์กลางทางวัฒนธรรม มีกิจกรรมความบันเทิงต่าง ๆ มากมาย อาทิ การร้องรำทำเพลง การแข่งขันชนไก่ ชักเย่อ โล้ชิงช้า ฯลฯ จิตกร นักอักษรศิลป์ กวีที่มีชื่อเสียงต่างก็พักอาศัยอยู่ในเมืองฉางอาน ผลงานของผู้คนเหล่านี้ทำให้เมืองฉางอานมีสีสันมากขึ้น เมืองฉางอานยังเป็นเมืองที่วัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกมาบรรจบกัน ในยุคนั้นประเทศต่าง ๆ กว่า 70 ประเทศ ได้มาเจริญสัมพันธไมตรีกับราชวงศ์ถัง เส้นทางสายไหมมีความเจริญสูงสุด ประเทศญี่ปุ่น สยาม และประเทศอื่น ๆ อีกมากมาย ต่างส่งคนมาศึกษาเล่าเรียน พ่อค้าจากเปอร์เซีย (อิหร่านปัจจุบัน) กับทาจิกส์ (ส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกกลาง) ต่างมุ่งหน้ามาทำการค้าขายที่เมืองฉางอาน ในเวลานั้นเมืองฉางอานมีประชากรถึง 1 ล้านคน รวมกับชาวต่างชาติที่ย้ายมาพำนักอีกว่าหมื่นคน เมืองฉางอานไม่เพียงแต่เป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม แต่ยังกลายเป็นเมืองระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียงเมืองหนึ่งอีกด้ว.
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ราชวงศ์ถังและหลี่จิ้ง (ขุนศึก) มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ราชวงศ์ถังและหลี่จิ้ง (ขุนศึก)
การเปรียบเทียบระหว่าง ราชวงศ์ถังและหลี่จิ้ง (ขุนศึก)
ราชวงศ์ถัง มี 44 ความสัมพันธ์ขณะที่ หลี่จิ้ง (ขุนศึก) มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 9.09% = 5 / (44 + 11)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ราชวงศ์ถังและหลี่จิ้ง (ขุนศึก) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: