โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ราชวงศ์ชิงและสงครามฝิ่นครั้งที่สอง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ราชวงศ์ชิงและสงครามฝิ่นครั้งที่สอง

ราชวงศ์ชิง vs. สงครามฝิ่นครั้งที่สอง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต.. งครามฝิ่นครั้งที่สอง (ตี้เอ้อร์ยาเพี่ยนจ้านเจิง; Second Opium War) เป็นสงครามระหว่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ กับ ราชวงศ์ชิง ฝิ่นเป็นยาเสพติดที่ชาวจีนติดกันอย่างมากและติดกันมานาน ในรัชกาลจักรพรรดิหย่งเจิ้น (雍正) เคยมีดำริที่จะทำการปราบปรามฝิ่นแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ชาวจีนส่วนใหญ่ยังติดฝิ่นเรื่อยมา จนถึงรัชสมัยของจักรพรรดิเต้ากวง (道光) ปีที่ 19 พระองค์มีเจตนารมณ์อย่างแรงกล้าที่จะทำการปราบฝิ่น ทรงแต่งตั้งหลินเจ๋อสวี เป็นผู้ตรวจราชการสองมณฑล ขึ้นเป็นผู้นำในการกวาดล้างฝิ่นจากแผ่นดินจีน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ราชวงศ์ชิงและสงครามฝิ่นครั้งที่สอง

ราชวงศ์ชิงและสงครามฝิ่นครั้งที่สอง มี 12 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2441พ.ศ. 2443ฝิ่นราชวงศ์ชิงลัทธิอาณานิคมสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรสหรัฐสงครามฝิ่นจักรพรรดิกวังซฺวี่จักรพรรดิยงเจิ้งจักรพรรดิเสียนเฟิงจักรพรรดิเต้ากวัง

พ.ศ. 2441

ทธศักราช 2441 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1898 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

พ.ศ. 2441และราชวงศ์ชิง · พ.ศ. 2441และสงครามฝิ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2443

ทธศักราช 2443 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1900 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

พ.ศ. 2443และราชวงศ์ชิง · พ.ศ. 2443และสงครามฝิ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ฝิ่น

ผลฝิ่น ฝิ่น (Opium) เป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากยางของผลฝิ่น ในเนื้อฝิ่นมีสารเคมีผสมอยู่มากมายประกอบด้วย โปรตีน เกลือแร่ ยางและกรดอินทรีย์เป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นสารเสพติดให้โทษร้ายแรง ออกฤทธิ์กดระบบประสาท จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ..

ฝิ่นและราชวงศ์ชิง · ฝิ่นและสงครามฝิ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

ราชวงศ์ชิงและราชวงศ์ชิง · ราชวงศ์ชิงและสงครามฝิ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอาณานิคม

ลัทธิอาณานิคม (colonialism) เป็นการสถาปนา แสวงหาประโยชน์จากพื้นที่อื่น ธำรงรักษา ได้มาซึ่งและขยายอาณานิคมในดินแดนหนึ่งจากประชากรอีกดินแดนหนึ่ง ลัทธิอาณานิคมเป็นชุดความสัมพันธ์ไม่เท่ากันระหว่างเจ้าอาณานิคมและอาณานิคม และมักระหว่างผู้อยู่ในนิคมและประชากรพื้นเมือง สมัยอาณานิคมยุโรปอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อชาติยุโรปหลายชาติสถาปนาอาณานิคมในทวีปเอเชีย แอฟริกาและอเมริกา ทีแรก ประเทศต่าง ๆ ดำเนินนโยบายลัทธิพาณิชยนิยมซึ่งออกแบบมาเพื่อเสริมเศรษฐกิจของประเทศแม่โดยแลกกับเศรษฐกิจของคู่แข่ง ฉะนั้น ปกติอาณานิคมจึงได้รับอนุญาตให้ค้าขายเฉพาะกับประเทศแม่เท่านั้น ทว่า เมื่อถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิอังกฤษยกเลิกลัทธิพาณิชยนิยมและการจำกัดการค้า และเริ่มใช้หลักการค้าเสรี โดยมีการจำกัดหรือภาษีศุลกากรน้อ.

ราชวงศ์ชิงและลัทธิอาณานิคม · ลัทธิอาณานิคมและสงครามฝิ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในช่วงระหว่าง 20 มิถุนายน..

ราชวงศ์ชิงและสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร · สงครามฝิ่นครั้งที่สองและสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ราชวงศ์ชิงและสหรัฐ · สงครามฝิ่นครั้งที่สองและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามฝิ่น

รือ เอชอีไอซี เนเมซิส ทำลายเรือสำเภาของจีนระหว่างยุทธนาวีชุนปิครั้งที่สอง วันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1841 การปะทะที่กว่างโจวระหว่างสงครามฝิ่นครั้งที่สองสงครามฝิ่น (Opium Wars; 鸦片战争) เป็นสงครามสองครั้งในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทอังกฤษ-จีนในเรื่องการค้าของบริเตนในจีนและเอกราชของจีน ข้อพิพาทนี้มีสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1839–1842) และสงครามฝิ่นครั้งที่สอง (ค.ศ. 1856–1860) สงครามและเหตุการณ์ระหว่างสงครามบั่นทอนกำลังของราชวงศ์ชิงและลดการแยกตัวของจีนจากส่วนอื่นของโลก.

ราชวงศ์ชิงและสงครามฝิ่น · สงครามฝิ่นและสงครามฝิ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิกวังซฺวี่

ระฉายาลักษณ์สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี้ จักรพรรดิกวังซฺวี่ พระนามเดิมว่า อ้ายซินเจว๋หลัว ไจ้เถียน (14 สิงหาคม 2414-14 พฤศจิกายน 2451) เป็นพระโอรสในองค์ชายอี้ซวน ซึ่งเป็นพระอนุชาในสมเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิง พระราชชนนีคือพระขนิษฐาในพระนางซูสีไทเฮา ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมพรรษา 3 พรรษา การขึ้นครองราชย์ของพระองค์เป็นการผิดกฎมณเฑียรบาล เพราะสมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อก่อนสวรรคตได้ทรงแต่งตั้งเจ้าชายไจ้ซู่พระญาติให้เป็นรัชทายาท แต่ในเมื่อพระนางซูสีไทเฮาต้องการให้องค์กวังซฺวี่ขึ้นครองราชย์ก็ไม่มีใครกล้าคัดค้าน.

จักรพรรดิกวังซฺวี่และราชวงศ์ชิง · จักรพรรดิกวังซฺวี่และสงครามฝิ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิยงเจิ้ง

มเด็จพระจักรพรรดิยงเจิ้ง ทรงพระราชสมภพเมื่อ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2221 (คังซีปีที่ 17) เป็นพระโอรสลำดับที่ 4 ในจักรพรรดิคังซี มีพระนามเดิมว่า อิ้นเจิน, อิ้นเจวิน (ภาษาจีน: 胤禛) เล่ากันว่า พระองค์ร่วมวางแผนกับหลงเคอตัว ปลอมแปลงลายพระหัตถ์ของจักรพรรดิคังซีจากคำว่าองค์ชาย 14 (十四) เป็นคำว่าให้กับองค์ชาย 4 (于四) องค์ชาย 4 ขึ้นครองราชย์สืบต่อ อันเนื่องจากเหตุการณ์ความวุ่นวายในการแย่งชิงราชสมบัติกันเองระหว่างพี่น้อง ปลายรัชสมัยจักรพรรดิคังซี แต่เรื่องนี้เป็นเพียงความเชื่อที่บอกต่อกันมา ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันแต่ประการใด แต่นั่นก็ทำให้พระองค์ได้ฉายาว่าเป็น "จักรพรรดิบัลลังก์เลือด" หรือ "จักรพรรดิทรราช" (ซึ่งความตรงนี้นักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันมีความเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะพินัยกรรมของจักรพรรดิคังซีแม้จะเปลี่ยนแปลงก็เปลี่ยนได้เฉพาะฉบับที่เป็นตัวอักษรฮั่นเท่านั้น แต่ฉบับอักษรแมนจูที่มีการเขียนคู่กันด้วยไม่สามารถแก้ไขได้ อีกทั้งอักษร 于 นั้นเป็นการเขียนอย่างย่อ ซึ่งปกติจะไม่ใช้ในเอกสารราชการ) เมื่อจักรพรรดิยงเจิ้งขึ้นครองราชย์ สิ่งแรกที่พระองค์กระทำคือ การเปลี่ยนแปลงวิธีการแต่งตั้งองค์รัชทายาทจากการแต่งตั้งโดยเปิดเผยอันเป็นสิ่งปฏิบัติมาแต่อดีตเป็นแต่งตั้งโดยเป็นความลับโดยเงยพระพักตร์ขึ้นทอดพระเนตรเพดานท้องพระโรงและจารึกพระนามขององค์รัชทายาทใช้หลังป้ายแผ่นหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า เจิ้งต้ากวางหมิง (正大光明) 2 ชุด ชุดแรกเก็บไว้กับตัวพระองค์เองอีกชุดนึงเก็บไว้ซึ่งเก็บไว้ในหีบลับปิดผนึกแล้ววางไว้ที่ป้ายโลหะหน้าท้องพระโรง และให้เปิดทั้ง 2 ป้ายนี้อ่านพร้อมกันเมื่อพระองค์สวรรคตแต่ในระหว่างที่ครองราชย์ต้องพบกับปัญหากบฏหลายต่อหลายครั้งจากบรรดาขุนนางและเหล่าองค์ชายทั้งหลายที่เป็นพี่น้องด้วยกันยงเจิ้งนับว่าเป็นจักรพรรดิที่ขยันขันแข็งมากและได้ปฏิรูปรูปแบบการปกครองการบริหารเอาไว้หลายด้านกิจวัตรของพระองค์ที่ปฏิบัติเป็นประจำคือ ตื่นบรรทมแต่ก่อนรุ่ง เข้าบรรทมในยามดึกเพราะอ่านฎีกาจนดึกดื่น รวบอำนาจ จัดสรรระบบภาษี การเงินการคลัง และขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวงจนถือว่าเป็นช่วงสืบทอดยุคความรุ่งเรืองต่อมาใน 3 รัชกาลนี้ (คังซี-ยงเจิ้ง-เฉียนหลง) จนสามารถยังผลให้ประเทศจีนรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคของจักรพรรดิเฉียนหลง พระโอรสของพระองค์ที่ครองราชสมบัติต่อ ซึ่งในส่วนของเหตุการณ์แย่งชิงราชสมบัติระหว่างพี่น้องด้วยกันเองนั้น ที่เรียกกันว่า "ศึกสายเลือด" ได้ถูกเล่าขานสืบมาจนปัจจุบัน และนำไปเสริมเติมแต่งเพื่อสร้างเป็นละครโทรทัศน์หรือภาพยนตร์หลายต่อหลายครั้ง จักรพรรดิย่งเจิ้งสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2278 ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน โดยมีสาเหตุคล้ายกับการสิ้นพระชนม์ของจิ๋นซีอ่องเต้ รัชทายาทที่สืบทอดบัลลังก์ต่อ คือ องค์ชายลำดับที่ 4 คือ เจ้าชายหงลี่ ซึ่งพระนามเมื่อครั้งขึ้นครองราชย์ คือ จักรพรรดิเฉียนหลง.

จักรพรรดิยงเจิ้งและราชวงศ์ชิง · จักรพรรดิยงเจิ้งและสงครามฝิ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเสียนเฟิง

มเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิงขณะทรงแก้ไขพระราชกิจ สมเด็จพระจักรพรรดิเสียนฟงขณะทรงพักผ่อนพระอิริยาบถ จักรพรรดิเสียนเฟิง พงศาวดารไทยเรียก สมเด็จพระเจ้าฮำหอง เป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 9 (นับจากจักรพรรดินู่เอ๋อร์ฮาชื่อ) แห่งราชวงศ์ชิง เป็นราชโอรสองศ์ที่ 4 ของจักรพรรดิเต้ากวง มีนามเดิมว่า อ้ายซินเจว๋หลัว อี้จู่ หรือองค์ชาย อี้จู่ ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2374 (ค.ศ. 1831) ขึ้นครองราชย์ได้ทั้ง ๆ ที่มิใช่รัชทายาทองค์เอกที่วางตัวไว้ แต่ว่าพระองค์สามารถเอาชนะใจพระราชบิดาได้ด้วยการออกล่าสัตว์ และพระองค์ไม่สังหารสัตว์ที่มีลูกอ่อน นอกจากนี้ยังมีคนกล่าวกันว่าพระราชวรกายของพระองค์อ่อนแอมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์แล้ว จึงมักประชวรบ่อย ๆ ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) ทันทีที่จักรพรรดิเต้ากวงสวรรคต ด้วยพระชนมายุ 19 พรรษา ซึ่งในระหว่างที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ใหม่ ๆ พระราชประเพณีจีนห้ามจักรพรรดิองค์ใหม่มีมเหสีหรือพระสนม และต้องไว้ทุกข์เป็นเวลานานถึง 27 เดือน แต่ก่อนที่จักรพรรดิเต้ากวงจะสวรรคตมีพระมเหสีองค์แรกแล้ว คือ พระชายาสะโกตา ซึ่งสิ้นพระชนม์ก่อนที่จักรพรรดิเต้ากวงจะสวรรคต เมื่อจักรพรรดิเสียนเฟิงครองราชย์แล้วทรงสถาปนานางสะโกตะเป็น สมเด็จพระจักรพรรดินีเสี่ยวเต๋อเซียน เมื่อผ่านช่วงไว้ทุกข์ไปแล้ว จึงมีการเลือกพระสนม โดยองค์ประธาน คือ พระนางคังฉินไท่เฟย(康慈皇贵太妃) พระมเหสีองค์หนึ่งของสมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง ที่ทรงดูพระราชวังหลัง ซึ่งพระอัครมเหสีองค์แรกของสมเด็จพระจักรพรรดิเสียงเฟิง คือ พระอัครมเหสีหนิวฮู่ลู่ หรือ ซูอันไทเฮา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก พระนางคังฉินไท่เฟย ในสมัยพระองค์เกิดสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ซึ่งส่งผลให้เกาะฮ่องกงตกเป็นของจักรวรรดิอังกฤษโดยสมบูรณ์ และมาเก๊าตกเป็นของโปรตุเกส และกบฏไท่ผิง โดย หง ซิ่วฉวน ซึ่งล้วนแต่ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศและราชวงศ์ จักรพรรดิเสียนเฟิง มีพระมเหสีองค์รองอีกหนึ่งพระองค์ ที่ต่อมามีบทบาทอย่างมากในประวัติศาสตร์ภายหลัง คือ พระมเหสีเย่เฮ่อนาลา หรือ ซูสีไทเฮา พระองค์สวรรคตในปี พ.ศ. 2440 (ค.ศ. 1861) ด้วยพระชนมายุเพียง 30 พรรษา ด้วยพระโรคที่รุมเร้าจากทรงกลัดกลุ้มในปัญหาของบ้านเมือง และจักรพรรดิองค์ใหม่ คือ องค์ชายไจ้ฉุน หรือพระนามตอนขึ้นครองราชย์ คือ จักรพรรดิถงจื้อ.

จักรพรรดิเสียนเฟิงและราชวงศ์ชิง · จักรพรรดิเสียนเฟิงและสงครามฝิ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเต้ากวัง

ักรพรรดิเต้ากวัง พงศาวดารไทยเรียก สมเด็จพระเจ้าเตากวาง เป็นองค์ชายรองในจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง เดิมมีพระนามว่า เหมียนหนิง (綿寧) (แปลว่า อาทิตย์อัสดง) แต่ได้เปลี่ยนพระนามใหม่ภายหลังขึ้นครองราชย์ว่า หมิ่นหนิง (旻宁) (แปลว่า ท้องฟ้า หรือ จักรวาล) จักรพรรดิเต้ากวัง ประสูติจากมเหสีที่มีชื่อว่า จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย(孝淑皇后) แต่พระมารดาได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่พระองค์ยังเยาว์วัย จักรพรรดิเจี่ยชิงพระราชบิดาจึงได้สถาปนาพระมเหสีองค์ใหม่ขึ้นเป็นจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย (孝和皇后) ซึ่งเป็นบุตรสาวของอูนาลา ขุนนางพวกเดียวกับเหอเซิน ที่ทรงไม่ไว้วางพระทัย แต่ทรงทำไปด้วยด้วยเหตุผลทางการเมือง นั่นทำให้จักรพรรดิเต้ากวังเมื่อยังทรงพระเยาว์ก็ไม่โปรดในตัวพระนางด้วยเช่นกัน แม้จะมีศักดิ์เป็นพระมารดาเลี้ยงก็ตาม แต่ได้ทรงเปลี่ยนทัศนะที่มีต่อพระนางใหม่ เมื่อครั้งหนึ่งที่ได้เสด็จไปไหว้บรรพกษัตริย์ที่สุสานราชวงศ์ชิงด้วยกัน และได้มีโจรกบฏกลุ่มหนึ่งมาจับตัวพระองค์และพระนางไปพร้อมกับสามัญชนกลุ่มหนึ่ง พวกกบฏบังคับให้พระองค์และพระนางบอกว่าใครเป็นใคร หากเงียบ ก็จะให้จ้วงแทงพระนางด้วยมีด พระนางก็ปิดปากเงียบไม่ยอมบอก นั่นจึงทำให้พระองค์ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระนางเสี้ยวเหอมากและยอมรับพระนางในที่สุด จักรพรรดิเต้ากวัง ขึ้นครองราชย์ภายหลังการสวรรคตอย่างกะทันหันของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานหลบร้อนไปยังเมืองเฉิงเต๋อ ซึ่งได้มีพระราชโองการแต่งตั้งไว้ในพินัยกรรม แต่เนื่องจากการที่สวรรคตในที่ห่างไกลเมืองหลวง จึงทำให้ องค์ชายสี่ เหมี่ยนซิน พระโอรสองค์เล็กพระนางเสี้ยวเหอของคัดค้านว่า เป็นพินัยกรรมปลอม และเตรียมการจะก่อกบฏ พระองค์จึงทรงวางแผนโยนไปให้พระนางเสี้ยวเหอตัดสินและได้ขอกำลังทหารส่วนหนึ่งมาคุ้มกัน ซึ่งพระนางเสี้ยวเหอได้ยอมรับว่า พินัยกรรมนั้นเป็นของจริง และได้พระราชทานอภัยโทษประหารองค์ชายเหมี่ยนซินไว้ ในรัชสมัยจักรพรรดิเต้ากวัง ได้ทรงหาทางกำจัดขุนนางกังฉินและบรรดาขุนนางที่ไม่เอาการเอางาน จึงทำให้เหล่าขุนนางลับหลังจะนินทาพระองค์อยู่เสมอ ๆ และทำให้ขุนนางแบ่งแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่ายต่างก็สนับสนุนพระโอรสอันเกิดจากพระมารดาที่เป็นชนเผ่าเดียวกับตน แต่พระองค์ก็ได้หาทางบริหารประเทศอย่างเต็มที่ ในรัชสมัยของพระองค์ประเทศเป็นปึกแผ่น ดูเหมือนเข้มแข็ง แต่ภายในอ่อนแออันเกิดจากการฉ้อราฎร์บังหลวงที่เป็นระบบกันมานานแต่สมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ในรัชสมัยนี้พระองค์ได้ออกนโยบายให้ทุกคนในวังประหยัด โดยมีพระองค์เป็นแบบอย่าง และเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดคือ สงครามฝิ่นกับอังกฤษในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) และ พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) ยุคล่าอาณานิคม ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และนำมาสู่การสูญเสียเกาะฮ่องกงและการล่มสลายของราชวงศ์ชิงในภายหลัง จักรพรรดิเต้ากวังมีอุปนิสัยส่วนพระองค์คือ โปรดปรานปืนเป็นพิเศษ ได้สวรรคตในปี พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) และผู้ครองราชย์สืบไปคือ องค์ชายอี้จู่ภายหลังขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า จักรพรรดิเสียนเฟิง.

จักรพรรดิเต้ากวังและราชวงศ์ชิง · จักรพรรดิเต้ากวังและสงครามฝิ่นครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ราชวงศ์ชิงและสงครามฝิ่นครั้งที่สอง

ราชวงศ์ชิง มี 210 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงครามฝิ่นครั้งที่สอง มี 28 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 12, ดัชนี Jaccard คือ 5.04% = 12 / (210 + 28)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ราชวงศ์ชิงและสงครามฝิ่นครั้งที่สอง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »