รางวัลแกรมมีและเดอะเฟมมอนสเตอร์
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง รางวัลแกรมมีและเดอะเฟมมอนสเตอร์
รางวัลแกรมมี vs. เดอะเฟมมอนสเตอร์
รางวัลแกรมมี รางวัลแกรมมี (Grammy Award) มีชื่อเต็มว่า Gramophone Awards เป็นรางวัลทางดนตรี และศิลปิน ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก จัดขึ้นโดยสถาบันศิลปะวิทยาการการบันทึกเสียงแห่งสหรัฐอเมริกา (National Academy of Recording Arts and Sciences:NARAS) เป็นรายการแจกรางวัลให้ผู้มีผลงานโดดเด่นในอุตสาหกรรมการดนตรี จัดขึ้นเป็นประจำปีในสหรัฐอเมริกา โดยมากจะจัดในเดือนกุมภาพันธ์ มีสาขารางวัลถึง 108 สาขา ใน 30 แนวเพลง เป็นการโหวดโดยคณะกรรมการใน NARAS(คณะกรรมการที่เคยโหวดเช่น จอน บอน โจวี, ปริ้นซ์, Anand Bhatt, พอล ไซม่อน, เป็นต้น) รางวัลแกรมมีเริ่มมีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 โดยเริ่มถ่ายทอดสดในปี 1971. อะเฟมมอนสเตอร์ (The Fame Monster) เป็นอีพีลำดับที่สามของศิลปินหญิงชาวอเมริกัน เลดี้ กาก้า วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2009 ในตอนแรก 8 แทร็คจากอัลบั้มนี้ตั้งใจที่จะเป็นเพิ่มลงในอัลบั้มชุดแรก The Fame แต่ต่อมาเธอประกาศว่าเพลงใหม่ทั้งหมดนี้จะถูกวางจำหน่ายแบบอัลบั้มเดี่ยว เนื่องจากการทำเพิ่มเพลงลงอัลบั้มเดิมมีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป และเนื้อหาในอัลบั้มใหม่มีเนื้อหาที่แตกต่างจากอัลบั้ม The Fame และไม่มีความจำเป็นต้องใช้เพลงจากอัลบั้มแรกมาสนับสนุน 5 สัปดาห์ต่อมาในวันที่ 15 ธันวาคม 2009 ได้มีการวางจำหน่ายอัลบั้มเดอะเฟมมอนสเตอร์ รุ่นดีลักซ์ที่มี 2 ซีดีจากเดอะเฟมมอนสเตอร์และ The Fame ที่มาในรูปแบบโบนัสดิสก์ เดอะเฟมมอนสเตอร์มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับด้านมืดของความโด่งดังที่เลดี้กาก้าพบเจอจากประสบการณ์จริงระหว่างทัวร์คอนเสิร์ตปี 2008-2009 ผ่านคำเปรียบเทียบ "Monster-ปีศาจ" และเปรียบเทียบความรู้สึกต่อเดอะเฟมมอนสเตอร์กับ The Fame ว่าต่างกันเหมือนกับหยินหยาง เธอรบเร้าให้ต้นสังกัดอนุญาตให้เธอถ่ายภาพปกอัลบั้มในสไตล์โกธิคที่มืดหม่น โดยมีเฮดิ ซลิมาน เป็นช่างภาพ เพลงในอัลบั้มได้รับอิทธิพลจากเพลงโกธิคและแฟชั่นโชว์ เพลง Bad Romance, Telephone และ Dance in the Dark ต่างเป็นเพลงที่ได้รับคำวิจารณ์ในทางบวก บางประเทศอีพีนี้ขึ้นชาร์ตคู่กับอัลบั้ม The Fame ยกเว้นสหรัฐอเมริกา, แคนาดา และญี่ปุ่นที่ขึ้นชาร์ตเป็นอัลบั้มเดี่ยวเท่านั้น เดอะเฟมมอนสเตอร์ขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งในออสเตรเลีย เยอรมนี ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ โปแลนด์ และสหราชอาณาจักร Bad Romance ถูกปล่อยเป็นซิงเกิลแรก และสามารถขึ้นชาร์ตอัลบั้มขายดีที่อันดับหนึ่งในประเทศแคนาดา สหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์ ติดชาร์ตอันดับที่ 2 ของออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และสวีเดน ซิงเกิลต่อมาคือ Telephone และ Alejandro ก็สามารถติดชาร์ตหนึ่งในสิบอันดับแรกของสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2009 4 วันหลังประกาศจำหน่ายอัลบั้มใหม่ เลดี้กาก้าประกาศทัวร์คอนเสิร์ตครั้งที่สองของเธอในชื่อว่า The Monster Ball Tour และจะสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม 2011 นี้ เดอะเฟมมอนสเตอร์ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่อวอร์ดทั้งสิ้น 6 สาขารางวัล 2 ใน 6 รางวัลที่เข้าชิง ได้แก่รางวัลอัลบั้มแห่งปีและรางวัลอัลบั้มเพลงป็อบยอดเยี่ยม.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง รางวัลแกรมมีและเดอะเฟมมอนสเตอร์
รางวัลแกรมมีและเดอะเฟมมอนสเตอร์ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ รางวัลแกรมมีและเดอะเฟมมอนสเตอร์ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง รางวัลแกรมมีและเดอะเฟมมอนสเตอร์
การเปรียบเทียบระหว่าง รางวัลแกรมมีและเดอะเฟมมอนสเตอร์
รางวัลแกรมมี มี 19 ความสัมพันธ์ขณะที่ เดอะเฟมมอนสเตอร์ มี 57 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (19 + 57)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง รางวัลแกรมมีและเดอะเฟมมอนสเตอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: