รางวัลแกรมมีและวิลลี เนลสัน
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง รางวัลแกรมมีและวิลลี เนลสัน
รางวัลแกรมมี vs. วิลลี เนลสัน
รางวัลแกรมมี รางวัลแกรมมี (Grammy Award) มีชื่อเต็มว่า Gramophone Awards เป็นรางวัลทางดนตรี และศิลปิน ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก จัดขึ้นโดยสถาบันศิลปะวิทยาการการบันทึกเสียงแห่งสหรัฐอเมริกา (National Academy of Recording Arts and Sciences:NARAS) เป็นรายการแจกรางวัลให้ผู้มีผลงานโดดเด่นในอุตสาหกรรมการดนตรี จัดขึ้นเป็นประจำปีในสหรัฐอเมริกา โดยมากจะจัดในเดือนกุมภาพันธ์ มีสาขารางวัลถึง 108 สาขา ใน 30 แนวเพลง เป็นการโหวดโดยคณะกรรมการใน NARAS(คณะกรรมการที่เคยโหวดเช่น จอน บอน โจวี, ปริ้นซ์, Anand Bhatt, พอล ไซม่อน, เป็นต้น) รางวัลแกรมมีเริ่มมีการมอบรางวัลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 โดยเริ่มถ่ายทอดสดในปี 1971. วิลลี ฮักห์ เนลสัน (Willie Hugh Nelson) (เกิด 29 เมษายน 1933 -) เป็นศิลปินนักร้องคันทรี นักแสดง นักดนตรี นักประพันธ์ กวี นักกิจกรรมชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงจากอัลบั้ม "ช็อตกันวิลลี" (Shotgun Willie) (1973) ตามมาด้วยอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จอย่างมากอย่าง "เรดเฮดสเตรงเจอร์" (Red Headed Stranger) (1975) และ "สตาร์ดัสท์" (Stardust) (1978) จากอัลบั้มนี้เองทำให้ชื่อวิลลี เนลสัน ได้รับการจดจำในฐานะศิลปินแนวคันทรีที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่ง เขายังถือเป็นศิลปินคนสำคัญของแนวย่อยคันทรีในช่วงปลายยุค 60 ที่เรียกว่า "เอาต์ลอว์คันทรี" (Outlaw country) ซึ่งเป็นมาตราฐานจารีตแบบแผนดั้งเดิมของเสียงร้องจากแนชวิลล์ เนลสันยังเป็นนักแสดง ซึ่งเขาเคยแสดงภาพยนตร์มามากกว่า 30 เรื่อง เป็นผู้ร่วมแต่งหนังสือหลายเล่ม และยังเป็นนักกิจกรรมในการณรงค์ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ และผลักดันกฎหมายเกี่ยวกับกัญชาอีกด้วย เนลสันเกิดในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ภายใต้การเลี้ยงดูจากปู่ย่าตายายของเขา เนลสันแต่งเพลงแรกในชีวิตของเขาเมื่ออายุได้เพียง 7 ขวบและเข้าร่วมวงดนตรีตอนอายุ 10 ขวบ ในช่วงเรียนมัธยม เขาได้ร่วมทัวร์กับวงโบฮีเมียนพอลคา (Bohemian Polka) ในตำแหน่งร้องนำและมือกีตาร์ ภายหลังจบจากโรงเรียนมัธยม ในปี 1950 เขาได้เข้าร่วมกองทัพอากาศของสหรัฐ แต่ต่อมาก็ถูกปลดออกจากปัญหาที่ตามทีหลัง หลังจากนั้นเขากลับไปศึกษาต่อยัง มหาวิทยาลัยเบย์เลอร์ เรียนได้ 2 ปีก็ดรอปเพราะประสบความสำเร็จในด้านดนตรี ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เขาได้ใช้ชีวิตในการทำงานเป็นผู้จัดรายการในสถานีวิทยุเท็กซัส และเป็นนักร้องตามบาร์ต่างๆ เนลสันได้ย้ายไปอยู่ที่แวนคูเวอร์, วอชิงตัน ที่ซึ่งเขาได้แต่งหนังสือ "Family Bible" และบันทึกเสียง "Lumberjack ในปี 1956 ในปี 1958 เขาย้ายไปฮิวสตัน, เท็กซัส ภายหลังจากเซนต์สัญญากับค่ายเพลงดี (D Records) เขาได้ร้องเพลงที่บาร์ Esquire Ballroom ในทุกสัปดาห์และทำงานเป็นผู้จัดรายการควบคู่ไป ในช่วงเวลานี้เขายังได้แต่งเพลงที่เป็นมาตราฐานคันทรีของเขา เช่น "Funny How Time Slips Away" "Hello Walls" "Pretty Paper" และ "Crazy" ในปี 1960 เขาได้ย้ายไปแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี และต่อมาก็ไปเซนต์สัญญากับเปเปอร์มิวสิก (Pamper Music) ซึ่งอนุญาตให้เขาร่วมวงของเรย์ ไพรซ์ ในตำแหน่งมือเบส ในปี 1962 เขาบันทึกอัลบั้มแรกของเขา "...แอนเดนไอรอต" (...And Then I Wrote) จากผลลัพธ์ที่ออกมาดี ส่งผลให้เนลสันเซนต์สัญญาในปี 1964 กับอาร์ซีเอวิคเตอร์ (RCA Victor) และได้ร่วมรายการคอนเสิร์ตรายสัปดาห์ที่ Grand Ole Opry ในปีต่อมา หลังจากยุครุ่งเรืองของเขาในช่วงปลายยุค 60 และต้นยุค 70 เนลสันได้เกษียณตัวเองในปี 1972 และย้ายไปอยู่ที่อัสติน รัฐเท็กซัส ที่ซึ่งเขายังคงเล่นดนตรีต่อไป โดยมักจะแสดงสดที่ไนท์คลับเดอะดิลโล (The 'Dillo) บ่อยๆ ในปี 1973 ภายหลังเซนต์สัญญากับแอนแลนติก เนลสันเปลี่ยนมาเป็นศิลปินเอาต์ลอว์คันทรี โดยการออกอัลบั้มเช่น "Shotgun Willie" และ "Phases and Stages" ในปี 1975 เขาทำสัญญากับค่ายเพลงโคลัมเบีย จนได้ออกอัลบั้ม "Red Headed Stranger" ที่โด่งดังออกมา ในปีเดียวกันนั้นเองเขายังได้บันทึกเสียงแนวเอาต์ลอว์คันทรีลงอัลบั้มอื่นอีกคือ "Wanted! The Outlaws" เช่นเดียวกับศิลปินร่วมแนวเช่น เวย์ลอน เจนนิงส์, เจสซี คอลเตอร์ และทอมพาลล์ เกลเซอร์ ในช่วงกลางยุค 80 ในขณะที่ออกอัลบั้มฮิตอย่าง "like Honeysuckle Rose" และซิงเกิลฮิตเช่น "On the Road Again", "To All the Girls I've Loved Before", และ "Pancho and Lefty" เขาได้เข้าร่วมวงคันทรีรวมศิลปินระดับตำนานในคันทรีอีก 3 คน ในชื่อว่า "เดอะไฮเวย์เมน" ซึ่งประกอบด้วย จอห์นนี แคช, คริส คริสตอฟเฟอร์สัน และเมิร์ล ฮักการ์ด ในช่วงระหว่างปี 1990 และ 2000 เนลสันไม่หยุดทัวร์คอนเสิร์ต เขาได้ปล่อยอัลบั้มออกทุกๆปี มีการแสดงความคิดเห็นต่อเขาตั้งแต่บวกจนถึงหลากหลาย เขาเป็นผู้บุกเบิกแนวเพลงหลากหลายทั้ง เรกเก บลูส์ แจ๊ส และโฟล์ค เนลสันสร้างภาพยนตร์ของเขาครั้งแรกคือเรื่อง "The Electric Horseman" ปี 1979 ตามมาด้วยภาพยนตร์อื่นๆและบนโทรทัศน์อีกมากมาย เนลสันยังเป็นแกนหลักด้านรณรงค์กิจกรรมและเป็นประธานร่วมการปฏิรูปองค์กรด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชา นอกจากนี้ในด้านสิ่งแวดล้อมเขายังเจ้าของไบโอดีเซลล์ ฉลาก Willie Nelson Biodiesel อีกด้วย ซึ่งน้ำมันเขาทำมาจากน้ำมันพืช เนลสันยังได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาบอร์ดของโครงการดนตรีเท็กซัส ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลทางดนตรีของรัฐเท็กซัส วิลลี เนลสัน ได้รับการสรรเสริญอย่างกว้างขวางที่ถูกจดจำในฐานะ "อเมริกันไอคอน" คนหนึ่งของสหรัฐ เขายังได้รับการบรรจุเข้าสู่คันทรีมิวสิกฮอลล์ออฟเฟม ในปี 1993 และได้รับรางวัลจาก Kennedy Center Honors ซึ่งถือเป็นรางวัลทางการแสดงที่ให้สำหรับศิลปินในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้เขายังถูกติดอันดับในนิยสารโรลลิงสโตนส์ ในหัวข้อ "100 นักร้องที่ยิ่งใหญ่ที่สุด" และ "100 นักกีตาร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด".
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง รางวัลแกรมมีและวิลลี เนลสัน
รางวัลแกรมมีและวิลลี เนลสัน มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): จอห์นนี แคช
อห์นนี แคช (Johnny Cash) (26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1932 – 12 กันยายน ค.ศ. 2003) เป็นนักร้อง-นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน และเป็นหนึ่งในนักดนตรีที่มีอิทธิพลมากที่สุดในศตวรรษที่ 20 โดยหลักแล้วเป็นศิลปินในแนวคันทรี เพลงและดนตรีของเขามีหลากหลายแนวเพลง อย่างร็อกอะบิลลี และร็อกแอนด์โรล (โดยเฉพาะในช่วงเริ่มแรกของอาชีพเขา) เช่นเดียวกับแนวบลูส์, โฟล์ก และกอสเปล แคชเป็นที่รู้จักในเรื่อง มีนำเสียงเด่นชัดในโทนเบส-แบริโทน และเสียงขบวนรถไฟจากวงแบ็กอัปของเขาที่ชื่อ เทนเนสซีทรี เขามักแต่งกายสีเข้ม โดยเขามีชื่อลำลองว่า "ผู้ชายในชุดดำ" เขามักจะเริ่มต้นแนะนำตัวเองในคอนเสิร์ตด้วยคำว่า "เฮลโล, ผมจอห์นนี แคช" เพลงโดยมากของแคช โดยเฉพาะในยุคหลัง จะสะท้อนถึงความเศร้าโศก ความทุกข์ของจิตใจและการไถ่บาป เพลงประจำตัวของเขาเช่น "I Walk the Line", "Folsom Prison Blues", "Ring of Fire", "Get Rhythm" และ "Man in Black" เขายังมีเพลงตลกขบขันอย่าง "One Piece at a Time" และ "A Boy Named Sue" และเพลงเกี่ยวกับรถไฟอย่าง "Hey Porter" และ "Rock Island Line".
จอห์นนี แคชและรางวัลแกรมมี · จอห์นนี แคชและวิลลี เนลสัน · ดูเพิ่มเติม »
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ รางวัลแกรมมีและวิลลี เนลสัน มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง รางวัลแกรมมีและวิลลี เนลสัน
การเปรียบเทียบระหว่าง รางวัลแกรมมีและวิลลี เนลสัน
รางวัลแกรมมี มี 19 ความสัมพันธ์ขณะที่ วิลลี เนลสัน มี 24 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 2.33% = 1 / (19 + 24)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง รางวัลแกรมมีและวิลลี เนลสัน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: