เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

รางวัลภาพยนตร์เอเชียและหลิว เจียหลิง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง รางวัลภาพยนตร์เอเชียและหลิว เจียหลิง

รางวัลภาพยนตร์เอเชีย vs. หลิว เจียหลิง

รางวัลภาพยนตร์เอเชีย (Asian Film Awards) เป็นงานแจกรางวัลประกวดเกี่ยวกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี จากงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติฮ่องกง โดยเริ่มจัดครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2007 ที่ฮ่องกงคอนเวนชันแอนด์เอ็กซิบิชันเซ็นเตอร์ ในปีแรกมีสาขาที่มีการชิงรางวัล 10 สาขาคือ รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, รางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม, รางวัลนักแสดงชายยอดเยี่ยม, รางวัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยม, รางวัลเรียบเรียงภาพยนตร์ยอดเยี่ยม,รางวัลถ่ายภาพยอดเยี่ยม, รางวัลภาพยนตร์ศิลปะยอดเยี่ยม, รางวัลดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, รางวัลตัดต่อภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, รางวัลภาพยนตร์ลำดับภาพยอดเยี่ยม และยังมีรางวัลพิเศษเชิดชูเกียรติอีก ต่อมาในปี 2008 ได้มีการมอบรางวัลเพิ่มในสาขา นักแสดงสมทบชาย และนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม อีกด้วย สำหรับข้อวิจารณ์เกี่ยวกับการแจกรางวัล ผู้อำนวยการของสมาพันธ์ผู้สร้างภาพยนตร์แห่งเอเชีย และเป็นผู้ดำเนินงานเทศกาลภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิก คู่แข่งของงานนี้ให้ความเห็นว่า รางวัลภาพยนตร์เอเชีย ไม่อาจเป็นตัวแทน (เอเชีย) ได้อย่างแท้จริง เพราะเป็นงานที่จัดขึ้นด้วยการดำเนินงานของส่วนเดียว ไม่ใช่องค์กรระดับภูมิภาคจริงๆ ในขณะที่งานเทศกาลภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิกจะย้ายการจัดงานไปตามประเทศต่างๆ ในแต่ละปีและคัดเลือกคณะกรรมการตัดสินผลรางวัลจากประเทศสมาชิก ส่วนรางวัลภาพยนตร์เอเชียแม้จะจัดที่เดิมทุกปี แต่ก็มีการคัดเลือกคณะกรรมการมาจากประเทศต่างๆ หลายแห่งเช่นกัน เช่นเจ้าหน้าที่จากงานเทศกาลภาพยนตร์ต่างๆ ในโตเกียว ปูซาน คานส์และเบอร์ลิน. หล่า ก๊าเหล่ง หรือ หลิว เจียหลิง ในสำเนียงจีนกลาง (จีนตัวเต็ม: 劉嘉玲, จีนตัวย่อ: 刘嘉玲, พินอิน: Liú Jiālíng, อังกฤษ: Carina Lau, Carina Lau Kar-ling) เป็นนักแสดงหญิงชาวฮ่องกงที่มีชื่อเสียง เกิดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1965 ที่เมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศจีน หลิว เจียหลิงเป็นพี่สาวคนโตโดยมีน้องชายและน้องสาวอีกอย่างละหนึ่งคน ได้เดินทางเข้าสู่ฮ่องกงเมื่ออายุ 15 ปี จากการย้ายตามครอบครัวโดยพ่อเดินทางมาทำงานที่นี่ ซึ่งแรก ๆ เธอต้องฝึกเรียนภาษากวางตุ้ง จากที่เคยพูดแต่จีนกลางมาตลอด เข้าสู่วงการบันเทิงด้วยการเป็นนักเรียนโรงเรียนการแสดงของ TVB รุ่นที่ 12 โดยเธอมีความโดดเด่นเหนือกว่าเพื่อนร่วมชั้นคนอื่น ๆ จึงได้มีโอกาสแสดงครั้งแรกจากละครโทรทัศน์ชุด The Duke of Mount Deer หรือ อุ้ยเสี่ยวป้อ ประกบคู่กับ เหลียง เฉาเหว่ย และหลิว เต๋อหัว ที่เป็นพระเอก และตามมาด้วย Police Cadet '84 หรือ นักสู้ผู้พิทักษ์ ในปี ค.ศ. 1984 พร้อมกับมีชื่อเสียงขึ้นมา ต่อมาจึงได้แสดงนำในภาพยนตร์แอ๊คชั่นหลายเรื่อง เช่น Project A Part II ในปี ค.ศ. 1986 และ Armour of God ในปี ค.ศ. 1987 คู่กับ เฉินหลง นักแสดงระดับซูเปอร์สตาร์ทั้งสองเรื่อง ในส่วนของผลงานดราม่า ได้แก่ Days of Being Wild ร่วมกับนักแสดงชื่อดังของฮ่องกงหลายคน ในปี ค.ศ. 1991 จากการกำกับของหว่อง กาไว, The Eagle Shooting Heroes ในปี ค.ศ. 1993, Ashes of Time และC'est la vie, mon chéri ในปี ค.ศ. 1994 เป็นต้น ปัจจุบัน แม้หลิว เจียหลิงจะมีอายุมากขึ้น แต่เธอก็ยังคงรักษาสุขภาพร่างกายให้งดงามเสมอ จึงได้เป็นพรีเซ็นเตอร์ในโฆษณาผลิตภัณฑ์ประเภทบำรุงผิวหรือรักษาความงามเสมอ ๆ ด้านชีวิตส่วนตัว เมื่อปี ค.ศ. 2007 เธอตกเป็นข่าวฮือฮาเมื่อยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่าเมื่อปี ค.ศ. 1990 ได้ถูกแก๊งค์ยากูซ่าฉุดไปถ่ายรูปเปลือย ซึ่งในช่วงนั้นได้มีวิดีโอคลิปนี้ออกมา เธอสมรสกับ เหลียง เฉาเหว่ย นักแสดงชายชื่อดังอีกราย หลังจากที่คบหาและร่วมงานกันมากว่า 19 ปี ในกลางปี ค.ศ. 2008 ที่ประเทศภูฏาน ซึ่งทั้งคู่ได้เดินทางมาสู่ประเทศไทยด้วยกันก่อนหน้านั้นด้วย แต่ต่อมาในกลางปี ค.ศ. 2011 ก็ปรากฏภาพถ่ายของเธอกับนักแสดงรุ่นหลัง คือ เฉิน กวานซี ที่มีข่าวอื้อฉาวทำนองนี้ก่อนหน้านี้มาแล้วด้วย พร้อมกับยอมรับว่าชีวิตสมรสของเธอกับเหลียง เฉาเหว่ย กว่า 2 ปีนั้นเริ่มมีปัญหา ผลงานในระยะหลัง ๆ ได้แก่ Infernal Affairs II, Infernal Affairs III และ 2046 ในปี ค.ศ. 2003, และรับบท พระนางบูเช็คเทียน ในDetective Dee and the Mystery of the Phantom Flame จากการกำกับของ ฉีเคอะ ซึ่งเธอได้รับรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม และLet the Bullets Fly ในปี ค.ศ. 2010.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง รางวัลภาพยนตร์เอเชียและหลิว เจียหลิง

รางวัลภาพยนตร์เอเชียและหลิว เจียหลิง มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): หลิว เต๋อหัวประเทศจีนประเทศไทย

หลิว เต๋อหัว

ูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ หลิว เต๋อหัว (Lau4 Dak1-waa4 เหล่า ตั๊กหว่า) หรือ แอนดี้ เล่า (Andy Lau) เกิดวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) เป็นนักแสดง นักร้องชาวฮ่องกง.

รางวัลภาพยนตร์เอเชียและหลิว เต๋อหัว · หลิว เจียหลิงและหลิว เต๋อหัว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ประเทศจีนและรางวัลภาพยนตร์เอเชีย · ประเทศจีนและหลิว เจียหลิง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ประเทศไทยและรางวัลภาพยนตร์เอเชีย · ประเทศไทยและหลิว เจียหลิง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง รางวัลภาพยนตร์เอเชียและหลิว เจียหลิง

รางวัลภาพยนตร์เอเชีย มี 12 ความสัมพันธ์ขณะที่ หลิว เจียหลิง มี 52 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 4.69% = 3 / (12 + 52)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง รางวัลภาพยนตร์เอเชียและหลิว เจียหลิง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: