เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

รางวัลปาล์มทองคำและสงคราม ความหวัง บัลลังก์ เกียรติยศ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง รางวัลปาล์มทองคำและสงคราม ความหวัง บัลลังก์ เกียรติยศ

รางวัลปาล์มทองคำ vs. สงคราม ความหวัง บัลลังก์ เกียรติยศ

รางวัลปาล์มทองคำ (Palme d'Or) เป็นรางวัลสูงสุดในการประกวดภาพยนตร์ของเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ มีครั้งแรกในปี.. งคราม ความหวัง บัลลังก์ เกียรติยศ (The Pianist) เป็นภาพยนตร์ร่วมระหว่างประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ และโปแลนด์ ผลงานการกำกับโดย โรมัน โปลันสกี้ นำแสดงโดย เอเดรียน โบรดี ออกฉายครั้งแรก ในวันที่ 24 พฤษภาคม ปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง รางวัลปาล์มทองคำและสงคราม ความหวัง บัลลังก์ เกียรติยศ

รางวัลปาล์มทองคำและสงคราม ความหวัง บัลลังก์ เกียรติยศ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สงครามโลกครั้งที่สองโรมัน โปลันสกี

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

รางวัลปาล์มทองคำและสงครามโลกครั้งที่สอง · สงคราม ความหวัง บัลลังก์ เกียรติยศและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

โรมัน โปลันสกี

รมัน เรย์มอนด์ โปลันสกี (Roman Rajmund Polański) ผู้กำกับ นักเขียนบท และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวโปแลนด์ ภาพยนตร์ที่เขากำกับได้รับความชื่นชมทั้งด้านศิลปะ และประสบความสำเร็จด้านรายได้ โปลันสกีเกิดที่ฝรั่งเศส ในครอบครัวชาวยิวที่อพยพมาจากโปแลนด์ ต่อมาครอบครัวของเขาย้ายกลับไปอยู่ที่เมืองคราคุฟ ประเทศโปแลนด์ และต้องตกเป็นเชลยในค่ายกักกันชาวยิวในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และสูญเสียมารดาไปที่ค่ายกักกันเอาสชวิทซ์ หลังสงคราม โปลันสกีได้เข้าเรียนในโรงเรียนภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงของโปแลนด์-ลูดซ์ และผลงานเรื่องที่สี่ เป็นภาพยนตร์สั้นเรื่อง Dwaj ludzie z szafą (Two Men and a Wardrobe ปี 1958) ได้รับ 5 รางวัลจากการประกวดภาพยนตร์ระดับนานาชาติ ผลงานสำคัญของโปลันสกี ได้แก่ Nóż w wodzie (Knife in the Water ปี 1962) ผลงานกำกับเรื่องยาวชิ้นแรก ซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยี่ยม, Repulsion ในปี 1965 นำแสดงโดยแคเทอรีน เดอเนิฟ, Rosemary's Baby ปี 1968 นำแสดงโดยมีอา ฟาร์โรว์, Chinatown ในปี 1974 นำแสดงโดยแจ็ก นิโคลสันและเฟย์ ดันอะเวย์, Le Locataire (The Tenant ปี 1976) ภาพยนตร์ฝรั่งเศสที่เขาแสดงนำคู่กับอิซาเบล อัดจานี, Tess ปี 1979 นำแสดงโดยนาสตาสชา คินสกี, Frantic ปี 1988 นำแสดงโดยแฮริสัน ฟอร์ด และล่าสุดเรื่อง The Pianist ปี 2002 ที่เขาได้รับรางวัลออสการ์สาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม แต่ไม่ได้เดินทางไปรับรางวัล เนื่องจากถูกหมายจับจากทางการสหรัฐตั้งแต่ปี 1977 ในปี 1977 โปลันสกีถูกจับในคดีข่มขืนเด็กหญิงวัย 13 ปี หลังจากงานปาร์ตีที่บ้านของแจ็ก นิโคลสันในฮอลลีวูด และถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหามีเพศสัมพันธ์กับผู้เยาว์ เขาหลบหนีไปฝรั่งเศส และถูกหมายจับจากทางการสหรัฐ จึงหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีข้อตกลงการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับสหรัฐอเมริกา มาตั้งแต่นั้น โรมัน โปลันสกีถูกตำรวจสวิตเซอร์แลนด์จับกุมตัวเมื่อเดือนกันยายน..

รางวัลปาล์มทองคำและโรมัน โปลันสกี · สงคราม ความหวัง บัลลังก์ เกียรติยศและโรมัน โปลันสกี · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง รางวัลปาล์มทองคำและสงคราม ความหวัง บัลลังก์ เกียรติยศ

รางวัลปาล์มทองคำ มี 31 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงคราม ความหวัง บัลลังก์ เกียรติยศ มี 21 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 3.85% = 2 / (31 + 21)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง รางวัลปาล์มทองคำและสงคราม ความหวัง บัลลังก์ เกียรติยศ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: