โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาติมียะห์และราชอาณาจักรเยรูซาเลม

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาติมียะห์และราชอาณาจักรเยรูซาเลม

รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาติมียะห์ vs. ราชอาณาจักรเยรูซาเลม

การปกครองฟาฏิมียะห์คือขบวนการปกครองที่เริ่มตนขึ้นเมื่อปี ๙๐๙ (ค.ศ)และทำการปกครองเป็นเวลาสองศตวรรษ(จนถึงปี ๑๑๗๑ ค.ศ)โดยปกครองภาคเหนือของแอฟริกาและเอเชียตะวันออกกลาง รวมถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผู้ปกครองฟาฏิมีคือผู้นำชีอะห์นิกายอิสมาอีลียะห์ และชื่อขบวนการของพวกเขาคือ ฟาฏิมี หมายถึงท่านหญิงฟาฏีมะห์(ซ)บุตรสาวของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) พวกเขาได้ก่อตั้งรัฐบาลขึ้นถึงมากกว่าสองศตวรรษในแถบตะวันออกกลางและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และมีความรักต่อวิชาความรู้และการค้าขายเป็นอย่างมาก ไคโรเมืองหลวงของประเทศอียิปต์ ถูกก่อตั้งโดย การปกครองฟาฏิมี คอลีฟะห์ การปกครองฟาฏิมี ถูกก่อตั้งเมื่อปี ๙๐๙ (ค.ศ) ณ แอฟริกาเหนือ และขยายตัวอย่างรวดเร็วสู่ ประเทศ ซิซิลี ปาเลสไตน์ อียิปต์ และ ซีเรีย และมีอิทธิพลมากที่สุดในยุคคอลีฟะห์คนที่แปด คือ อัลมุสตันศัร บิลลาฮ์ (เสียชีวิตเมื่อปี ๑๐๙๔)ในช่วงสองศตวรรษแห่งการปกครอง พวกเขาได้ทำการปกครองที่ราบรื่นสดใส่ บนรากฐานของสติปัญญา เศรษฐกิจที่สมบูร์ และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ฟาฏีมียอนคือกลุ่มชีอะห์นิการอิสมาอีลียะห์ ซึ่งเป็นผู้ที่คัดค้านการปกครองของอับบาซีโดยอ้างว่าพวกเขาคือผู้ปกครองที่เป็นธรรม การปกครองอันยาวนานของฟาฏิมีทำให้นิกายชีอะห์ถูกเผยแพร่อย่างกว้างขว้าง ในยุคดังกล่าวสถาบันการศึกษาอิสลามที่ยิ่งใหญ่ อาธิ ญาเมะอฺ อัลอัซฮัร ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่แนวทางอิสมาอีลียะห์ ซึ่งมีผลงานการเขียนมากมายเกี่ยวกับอิสมาอีลียะ กลุ่มฟาฏีมีมุ่งมั่นในการเผยแพร่จึงส่งทูตของตนไปยังประเทศ และ เมืองต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่แนวคิดของตนและสามารถขยายความเชื่ออิสมาอีลียะอย่างกว้างขว้างในประเทศ เยเมน อินเดีย และภาคตะวันออกของประเทศอิหร่าน ผู้นำของฟาฏีมี อัลมะฮ์ดี บิลลาฮ อะบูมุฮัมหมัด อุบัยดัลลอฮ               ปกครองเมื่อปี ๙๐๙ (ค.ศ) อัลกออิม บิอัมริลลาฮ อะบูกอเซ็มมุฮัมหมัด ปกครองเมื่อปี ๙๓๔(ค.ศ) อัลมันศูรบิลลาฮ อะบูฏอฮิรอิสมาอีล                              ปกครองเมื่อปี ๙๔๖(ค.ศ) อัลมุอิซ ลิดีนิลลาฮ์ อะบูตะมีม มุอิด                               ปกครองเมื่อปี ๙๕๓(ค.ศ) อัลอะซีซ บิลลาฮ์ อะบูมันศูร นิซาร์                                ปกครองเมื่อปี ๙๗๕ (ค.ศ) อัลฮากิม บิอัมริลลาฮ์ อะบูอาลีมันศูร                              ปกครองเมื่อปี ๙๙๖ (ค.ศ) อัซซอฮิร ลา อิรอซ ดีนิลลาฮ์ อะบูลฮะซัน อะลี           ปกครองเมื่อปี ๑๐๒๑ อัลมุซตันศิร บิลลาฮ์ อะบูตะมีม มุอิด                             ปกครองเมื่อปี ๑๐๓๖ อัลมุสตะอฺลี บิลลาฮ์ อะบูกอเซ็มอะห์หมัด                    ปกครองเมื่อปี ๑๐๙๔ อัลอัมร์ บิอะห์กามิลลาฮ์ อะบูอะลี มันศูร                      ปกครองเมื่อปี ๑๑๐๑ (ค.ศ) อัลฮาฟิซ ลิดีนิลลาฮ์ อะบูอัลมัยมูน อับดุลมะญีด         ปกครองเมื่อปี ๑๑๓๐(ค.ศ) อัลซิฟิร บิอัมริลลาฮ์ อะบูมันศูร อิสมาอีล                     ปกครองเมื่อปี ๑๑๔๙(ค.ศ) อัลฟาอิร บินัศริลลาฮ์ อะบูกอเซ็ม อีซา                          ปกครองเมื่อปี ๑๑๕๔(ค.ศ) อัลอาฎิด ลิดีนิลลาฮ์ อะบูมุฮัมหมัดอับดุลลอฮ              ปกครองเมื่อปี ๑๑๖๐-๑๑๗๑(ค.ศ)  . ราชอาณาจักรเยรูซาเลม หรือ ราชอาณาจักรละตินแห่งเยรูซาเลม (Kingdom of Jerusalem หรือ Latin Kingdom of Jerusalem) เป็นอาณาจักรคริสเตียนที่ก่อตั้งในบริเวณลว้าน (Levant) ในปี ค.ศ. 1099 หลังสงครามครูเสดครั้งที่ 1 และยืนยงต่อมาร่วมสองร้อยปีจนถึงปี ค.ศ. 1291 เมื่อเอเคอร์ดินแดนสุดท้ายที่เป็นของอาณาจักรถูกทำลายโดยมามลุค (Mamluk) ในระยะแรกราชอาณาจักรเป็นเพียงกลุ่มเมืองใหญ่และเล็กที่รวมตัวกันอย่างหลวมๆ ระหว่างสงครามครูเสด ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดอาณาบริเวณที่ปัจจุบันคืออิสราเอล และอาณาดินแดนปาเลสไตน์ (Palestinian territory) ที่ครอบคลุมตั้งแต่บริเวณเลบานอนปัจจุบันไปจนถึงทางเหนือของทะเลทรายไซนายทางด้านไต้ ไปยังจอร์แดน และซีเรียทางด้านตะวันออก ระหว่างนั้นก็มีการพยายามที่จะขยายดินแดนไปยังฟาติมิยะห์ (Fatimid) อียิปต์ นอกจากนั้นพระมหากษัตริย์ของราชอาณาจักรเยรูซาเลมก็ยังมีอำนาจบางอย่างเหนืออาณาจักรครูเสดอื่นๆ, ตริโปลี, อันติโอค, และเอเดสสา ประเพณีและระบบต่างที่ใช้ในอาณาจักรนำมาจากยุโรปตะวันตกกับนักการสงครามครูเสด ระบบการปกครองและความเกี่ยวดองกับยุโรปเป็นไปตลอดอายุของอาณาจักร แต่เมื่อเทียบกับอาณาจักรในยุโรปแล้วราชอาณาจักรเยรูซาเลมก็เป็นเพียงอาณาจักรที่ค่อนข้างเล็กและมักจะขาดการหนุนหลังทางด้านการเงินและทางการทหารจากยุโรป ราชอาณาจักรเยรูซาเลมมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราชอาณาจักรข้างเคียงมากกว่าเช่นราชอาณาจักรอาร์มิเนียแห่งซิลิเซีย (Armenian Kingdom of Cilicia) และจักรวรรดิไบแซนไทน์ ที่ได้รับอิทธิพลตะวันออกมา นอกจากนั้นก็ยังได้รับอิทธิพลจากระบบมุสลิม แต่ทางด้านสังคมแล้วผู้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรจากยุโรปตะวันตกแทบไม่มีการติดต่อกับมุสลิมหรือชนคริสเตียนท้องถิ่นที่ปกครองเลย ในระยะแรกฝ่ายมุสลิมไม่มีความสนใจกับราชอาณาจักรเยรูซาเลมเท่าใดนักจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่ออาณาจักรของมุสลิมเริ่มแข็งตัวขึ้นและเริ่มยึดดินแดนที่เสียไปคืนอย่างเป็นจริงเป็นจัง เยรูซาเลมเสียแก่ซาลาดินในปี ค.ศ. 1187 และเมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ดินแดนของราชอาณาจักรก็เหลือเพียงแถบตามแนวฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนพร้อมกับเมืองสำคัญๆ สองสามเมือง ในช่วงนี้ราชอาณาจักรที่บางครั้งก็เรียกว่า “ราชอาณาจักรเอเคอร์” ก็ปกครองโดยราชวงศ์ลูซิยัน (Lusignan) ของนักครูเสดจากราชอาณาจักรไซปรัส และมีความสัมพันธ์ดีกับทริโปลี, อันติออคและอาร์มีเนีย และได้รับอิทธิพลจากสาธารณรัฐเวนิส และสาธารณรัฐเจนัว และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ขณะเดียวกันอาณาจักรมุสลิมรอบข้างก็รวมตัวกันภายใต้ราชวงศ์อัยยูบิด (Ayyubid) และต่อมาราชวงศ์มามลุคของอียิปต์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลมจึงกลายเป็นเบี้ยประกันของการสงครามและการเมืองในบริเวณนั้น ที่ตามมาโดยการโจมตีโดย คแวเรซเมียน (Khwarezmians) และจักรวรรดิโมกุลราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 ในที่สุดก็ถูกมามลุคสุลต่านไบบาร์ส (Baibars) และอัล-อัชราฟ คาลิล (al-Ashraf Khalil) ยึดดินแดนที่เหลืออยู่ทั้งหมดได้ รวมทั้งการทำลายเอเคอร์ในปี ค.ศ. 1291.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาติมียะห์และราชอาณาจักรเยรูซาเลม

รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาติมียะห์และราชอาณาจักรเยรูซาเลม มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาติมียะห์และราชอาณาจักรเยรูซาเลม

รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาติมียะห์ มี 3 ความสัมพันธ์ขณะที่ ราชอาณาจักรเยรูซาเลม มี 34 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (3 + 34)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาติมียะห์และราชอาณาจักรเยรูซาเลม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »