รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ vs. อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (Islamic State of Iraq and the Levant, ย่อ: ISIL) หรือเรียก รัฐอิสลามอิรักและซีเรีย (Islamic State of Iraq and Syria; ย่อ: ISIS), รัฐอิสลามอิรักและอัชชาม (Islamic State of Iraq and ash-Sham) หรือรัฐอิสลาม (Islamic State; ย่อ: IS) เป็นกลุ่มนักรบสุดโต่งวะฮาบีย์/ญิฮัดสะละฟีย์ซึ่งตั้งตนเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์และรัฐอิสลาม กลุ่มนี้มีชาวอาหรับนิกายซุนนีย์จากประเทศอิรักและซีเรียเป็นผู้นำและเป็นส่วนใหญ่ ในเดือนมีนาคม 2558 กลุ่มควบคุมดินแดนที่มีประชากร 10 ล้านคนในประเทศอิรักและซีเรีย และควบคุมเหนือดินแดนขนาดเล็กในประเทศลิเบีย ไนจีเรียและอัฟกานิถสานผ่านกลุ่มท้องถิ่นที่ภักดี กลุ่มนี้ยังปฏิบัติการหรือมีสาขาในส่วนอื่นของโลก รวมถึงแอฟริกาเหนือและเอเชียใต้ วันที่ 29 มิถุนายน กลุ่มตั้งต้นเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ทั่วโลก โดยมีอะบู บักร์ อัลบัฆดาดีเป็นเคาะลีฟะฮ์ และเปลี่ยนชื่อเป็นอัดเดาละฮ์ อัลอิสลามิยะฮ์ (الدولة الإسلامية, ad-Dawlah al-Islāmiyah "รัฐอิสลาม") ด้วยเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ กลุ่มนี้อ้างอำนาจทางศาสนา การเมืองและทหารเหนือมุสลิมทุกคนทั่วโลก และว่า "ความชอบด้วยกฎหมายของทุก ๆ เอมิเรต กลุ่ม รัฐและองค์การเป็นโมฆะโดยการแผ่ขยายอำนาจของเคาะลีฟะฮ์และทหารของรัฐเคาะลีฟะฮ์มาถึงพื้นที่ของสิ่งเหล่านี้" สหประชาชาติถือว่า ISIL รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและอาชญากรรมสงคราม และองค์การนิรโทษกรรมสากลรายงานการล้างชาติพันธุ์ของกลุ่มใน "ขนาดที่ไม่เคยมีมาก่อน" สหประชาชาติ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ อินเดียและรัสเซียประกาศให้กลุ่มนี้เป็นองค์การก่อการร้าย กว่า 60 ประเทศกำลังทำสงครามโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อ ISIL กลุ่มนี้กำเนิดเป็น "จามาต ตอฮิด วัล ญิฮัด" (Jama'at al-Tawhid wal-Jihad) ในปี 2542 ซึ่งสวามิภักดิ์ต่ออัลกออิดะฮ์ในปี 2547 กลุ่มนี้เข้าร่วมการก่อการกำเริบอิรักให้หลังการบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546 โดยกำลังตะวันตก ในเดือนมกราคม 2549 กลุ่มนี้เข้ากับกลุ่มก่อการกำเริบซุนนีย์อื่นตั้งเป็นสภาชูรามุญาฮิดีน (Mujahideen Shura Council) ซึ่งประกาศตั้งรัฐอิสลามอิรัก (ISI) ในเดือนตุลาคม 2549 หลังสงครามกลางเมืองซีเรียอุบัติในเดือนมีนาคม 2554 ISI โดยมีอัลบัฆดาดีเป็นผู้นำ ส่งผู้แทนไปซีเรียในเดือนสิงหาคม 2554 นักรบเหล่านี้ตั้งชื่อตัวเองเป็นญับฮะตุลนุศเราะฮฺลิอะห์ลิอัชชาม (Jabhat an-Nuṣrah li-Ahli ash-Shām) หรือแนวอัลนุสรา (al-Nusra Front) และเข้าไปในอยู่ในพื้นที่ของซีเรียซึ่งมีมุสลิมซุนนีย์เป็นส่วนใหญ่จำนวนมาก ในผู้ว่าราชการอัรร็อกเกาะฮ์ อิดลิบ เดอีร์เอซซอร์ และอะเลปโป ในเดือนเมษายน 2556 อัลบัฆดาดีประกาศรวม ISI กับแนวร่วมอัลนุสราแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ISIL) อย่างไรก็ดี อะบู มุฮัมมัด อัลจูลานี (Abu Mohammad al-Julani) และอัยมัน อัซเซาะวาฮิรี ผู้นำของอัลนุสราและอัลกออิดะฮ์ตามลำดับ ปฏิเสธการรวมดังกล่าว วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 หลังการแย่งอำนาจนานแปดเดือน อัลกออิดะฮ์เรียกกลุ่มนี้ว่า "สุดโต่งเกิน" และตัดความสัมพันธ์ทั้งหมดกับ ISIL โดยอ้างว่าไม่สามารถปรึกษาได้และไม่ยอมอ่อนข้ออย่างเปิดเผย" ในประเทศซีเรีย กลุ่มนี้ดำเนินการโจมตีภาคพื้นดินต่อทั้งกำลังรัฐบาลและกลุ่มแยกกบฏในสงครามกลางเมืองซีเรีย กลุ่มนี้มีความสำคัญหลังขับกำลังรัฐบาลอิรักออกจากนครสำคัญในภาคตะวันตกของอิรักในการรุกที่เริ่มเมื่อต้นปี 2557 การเสียดินแดนของอิรักแทบทำให้รัฐบาลอิรักล่มและทำให้สหรัฐรื้อฟื้นการปฏิบัติทางทหารใหม่ในอิรัก. อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (crime against humanity) เป็นการซึ่งกระทำลงโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีอย่างเป็นระบบหรือเป็นวงกว้าง หรือการโจมตีแบบเอกเทศ ต่อบุคคลพลเรือนคนใด ๆ หรือต่อกลุ่มคนที่ระบุตัวได้ในหมู่ประชากรพลเรือน การดำเนินคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติเกิดขึ้นครั้งแรกในคดีเนือร์นแบร์ก และนับแต่นั้น การดำเนินคดีอาชญากรรมดังกล่าวก็กลายเป็นหน้าที่ของศาลระหว่างประเทศ เช่น ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ, คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวีย, และศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่การดำเนินคดีโดยศาลในประเทศก็มีบ้าง กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมต่อมนุษยชาตินั้นพัฒนาขึ้นผ่านวิวัฒนาการของกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ อาชญากรรมต่าง ๆ ที่กระทำต่อมนุษยชาตินั้นยังไม่มีประมวลไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศฉบับใด ๆ แต่องค์การระหว่างประเทศ ซึ่งมีโครงการริเริ่มกฎหมายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (Crimes Against Humanity Initiative) เป็นโต้โผ พยายามที่จะสร้างกฎหมายดังกล่าวให้ได้ในเร็ววัน อาชญากรรมต่อมนุษยชาติต่างจากอาชญากรรมสงครามตรงที่อาชญากรรมต่อมนุษยชาติจะเกิดในยามสงครามหรือในเวลาอื่นก็ได้ แต่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองหรือเกิดนานทีปีหน หากแต่เป็นเหตุการณ์ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของรัฐ หรือเป็นส่วนหนึ่งของความโหดร้ายป่าเถื่อนที่กระทำเป็นวงกว้าง แล้วรัฐเพิกเฉยหรือไม่เอาโทษ ความผิดอาญา อย่างเช่น อาชญากรรมสงคราม, การฆ่าคน, การสังหารหมู่, การลดความเป็นมนุษย์, การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, การกวาดล้างชาติพันธุ์, การเนรเทศ, การทดลองมนุษย์โดยผิดจรรยาบรรณ, วิสามัญฆาตกรรม, การประหารแบบรวบรัด, การใช้อาวุธทำลายล้างสูง, การก่อการร้ายของรัฐ, การก่อการร้ายที่รัฐสนับสนุน, การใช้หมู่สังหาร, การลักพา, การบังคับให้บุคคลสูญหาย, การใช้เด็กทางทหาร, การกักกัน, การเอาคนลงเป็นทาส, การกินเนื้อมนุษย์, การทรมาน, การข่มขืนกระทำชำเรา, การเบียดเบียนทางการเมือง, การเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเชื้อชาติ, และการละเมิดสิทธิมนุษยชน อาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำอย่างเป็นระบบหรือเป็นวงกว้าง.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อาชญากรรมสงคราม
อาชญากรรมสงคราม (war crime) คือ การกระทำอันฝ่าฝืนกฎหมายสงครามอย่างร้ายแรง ทำให้ผู้กระทำต้องรับผิดทางอาญาเป็นการเฉพาะตัว เช่น การฆ่าพลเรือนหรือนักโทษโดยเจตนา, การทรมาน, การทำลายทรัพย์สินพลเรือน, การจับเป็นตัวประกัน, การล่อลวง, การข่มขืนกระทำชำเรา, การใช้เด็กทางทหาร, การปล้นทรัพย์, การไม่ไว้ชีวิต, และการละเมิดอย่างร้ายแรงซึ่งหลักการแยกแยะและหลักความได้สัดส่วน เป็นต้นว่า การทำลายประชากรพลเรือนด้วยระเบิดยุทธศาสตร์ แนวคิดเรื่องอาชญากรรมสงครามปรากฏขึ้นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการประมวลกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศที่ใช้บังคับได้สำหรับการทำสงครามระหว่างรัฐอธิปไตย การประมวลกฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้นในระดับชาติ เช่น การเผยแพร่ประมวลกฎหมายลีแบร์ในสหรัฐเมื่อ..
รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์และอาชญากรรมสงคราม · อาชญากรรมต่อมนุษยชาติและอาชญากรรมสงคราม · ดูเพิ่มเติม »
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
การเปรียบเทียบระหว่าง รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ มี 26 ความสัมพันธ์ขณะที่ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 2.44% = 1 / (26 + 15)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: