โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐและสำนักงานสอบสวนกลาง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐและสำนักงานสอบสวนกลาง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐ vs. สำนักงานสอบสวนกลาง

รัฐมนตรีความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐอเมริกา เป็นผู้บังคับบัญชาและหัวหน้ากระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่ปกป้องดูแลพลเมืองชาวอเมริกันและประเทศชาติ รัฐมนตรีฯถือเป็นสมาชิกในคณะรัฐมนตรีสหรัฐ ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ หลังจากเกิดเหตุการณ์ วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544. ำนักงานสอบสวนกลาง ย่อว่า เอฟบีไอ ชื่อเดิม สำนักงานสอบสวน ย่อว่า บีโอไอ (Bureau of Investigation: BOI) เป็นหน่วยงานด้านข่าวกรองและความมั่นคงภายในของสหรัฐ และเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในระดับกลางของสหรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ภายในเขตอำนาจของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ทั้งเป็นสมาชิกของประชาคมข่าวกรองสหรัฐ รายงานตรงต่อทั้งอัยการสูงสุดสหรัฐและผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ อนึ่ง เอฟบีไอยังเป็นองค์การหลักของสหรัฐในการต่อต้านการก่อการร้าย การต่อต้านข่าวกรอง และการสืบสวนอาชญากรรม โดยมีเขตอำนาจเหนือการละเมิดกฎหมายในกลุ่มอาชญากรรมกลางกว่า 200 กลุ่ม แม้ว่าหน้าที่หลายอย่างของเอฟบีไอจะมีเอกลักษณ์เฉพาะ กิจกรรมของเอฟบีไอในการสนับสนุนงานด้านความมั่นคงแห่งชาตินั้นเทียบได้กับบทบาทของหน่วยงานเอ็มไอไฟฟ์ (MI5) ของบริเตน และเอฟเอสบี (FSB) ของรัสเซีย แต่ไม่เหมือนกับสำนักข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) เพราะซีไอเอไม่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย และเน้นการรวบรวมข่าวกรองจากต่างประเทศ ขณะที่เอฟบีไอเป็นหน่วยงานภายในประเทศ โดยมีสำนักงานภาคสนาม (field office) 56 แห่งในนครหลักทั่วสหรัฐ ทั้งสำนักงานประจำ (resident office) อีก 400 แห่งในนครเล็กและท้องที่อื่นทั่วประเทศ ที่สำนักงานภาคสนาม เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสจะทำหน้าที่เป็นผู้แทนผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติไปพร้อมกันด้วย แม้จะเน้นเรื่องภายในประเทศ เอฟบีไอก็ยังมีเขตบริการระหว่างประเทศ (international footprint) ที่สำคัญอยู่หนึ่งเขต ทำหน้าที่บริหารสำนักงานนิติกรทูต (Legal Attache office) 60 แห่ง กับสำนักงานย่อย (sub-office) อีก 15 แห่ง ซึ่งอยู่ในสถานทูตและกงสุลสหรัฐทั่วโลก สำนักงานต่างแดนเหล่านี้มีขึ้นเพื่อประสานงานกับหน่วยงานราชการด้านความมั่นคงในต่างประเทศเป็นหลัก และโดยปรกติแล้วจะไม่ปฏิบัติการฝ่ายเดียวภายในประเทศที่ตั้งสำนักงาน อนึ่ง เอฟบีไอยังสามารถดำเนินกิจกรรมลับในต่างประเทศ ซึ่งก็ได้ปฏิบัติในบางครั้ง ในทำนองเดียวกับที่ซีไอเอมีหน้าที่จำกัดในประเทศ กิจกรรมดังกล่าวโดยทั่วไปแล้วต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐหลายหน่วยงาน เอฟบีไอก่อตั้งขึ้นใน..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐและสำนักงานสอบสวนกลาง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐและสำนักงานสอบสวนกลาง มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): รัฐสภาสหรัฐวอชิงตัน ดี.ซี.สำนักข่าวกรองกลางอัยการสูงสุดสหรัฐ

รัฐสภาสหรัฐ

รัฐสภาสหรัฐ (United States Congress) เป็นสภานิติบัญญัติสูงสุดในระบบการปกครองสหรัฐ ซึ่งเป็นระบบสภาคู่ ที่ประกอบด้วย วุฒิสภา (Senate) และ สภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) สมาชิกของทั้งสองสภาได้รับเลือกจากประชาชนโดยตรง สมาชิก 435 คนของสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนจากเขตการปกครอง (district) และมีหน้าที่สองปี ผู้แทนราษฎรได้รับเลือกตั้งมาจากเขตการปกครองตามจำนวนประชากรที่ระบุไว้ในเขตการเลือกตั้งสหรัฐซึ่งเปลื่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ฉะนั้นทุกสองปีหนึ่งในสามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องได้รับเลือกตั้งใหม่ ส่วนสมาชิกวุฒิสภา 100 คนของวุฒิสภารับหน้าที่ครั้งละหกปี แต่ละมลรัฐมีสิทธิในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาสองคนไม่ว่าจะเป็นรัฐมีประชากรมากหรือน้อยเท่าใด รัฐธรรมนูญสหรัฐให้อำนาจในการออกกฎหมายแก่รัฐสภาทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจเท่ากันในกระบวนการออกกฎหมาย กฎหมายทุกฉบับที่นำมาปฏิบัติได้ต้องได้รับการอนุมัติจากทั้งสองสภา แต่รัฐธรรมนูญให้อำนาจพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์บางอย่างแก่ทั้งสองสภา เช่นวุฒิสภามีอำนาจในการอนุมัติสนธิสัญญา และ การแต่งตั้งตำแหน่งของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลที่เสนอโดยประธานาธิบดี แต่กฎหมายเกี่ยวกับการหารายได้เพิ่มเป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรที่จะเสนอ นอกจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรก็ยังมีอำนาจฟ้องขับเจ้าหน้าที่ชั้นสูงออกจากตำแหน่ง (impeachment) ขณะที่วุฒิสภามีอำนาจในการพิจารณาฟ้องดังกล่าว ปัจจุบันเป็นสมัยประชุมที่ 115 เริ่มเมื่อวันที่ 3 มกราคม..

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐและรัฐสภาสหรัฐ · รัฐสภาสหรัฐและสำนักงานสอบสวนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

วอชิงตัน ดี.ซี.

กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (Washington, D.C) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตปกครองพิเศษโคลอมเบีย (District of Columbia) มักเรียกทั่วไปว่า กรุงวอชิงตัน (Washington) หรือ ดี.ซี (D.C.) เป็นเมืองหลวงของสหรัฐ ก่อตั้งขึ้นเมื่อภายหลังจากการปฏิวัติอเมริกา โดยชื่อ วอชิงตัน มาจากชื่อของจอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีสหรัฐคนแรก และบิดาผู้ก่อตั้งประเทศคนหนึ่ง วอชิงตันเป็นนครหลักนครหนึ่งของเขตมหานครวอชิงตัน (Washington Metropolitan Area) โดยมีประชากรที่อาศัยอยู่ในวอชิงตันจำนวนประมาณ 6,131,977 คน โดยวอชิงตันได้รับฉายาว่าเป็นเมืองหลวงทางการเมืองของโลก เนื่องจากเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลางสหรัฐและสถาบันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศจำนวนมากเช่น ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น กรุงวอชิงตันเป็นนครที่นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมมากที่สุดนครหนึ่งในโลก โดยในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมวอชิงตัน ปีละประมาณ 20 ล้านคน การลงนามรัฐบัญญัติที่ตั้งในสหรัฐ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม..

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐและวอชิงตัน ดี.ซี. · วอชิงตัน ดี.ซี.และสำนักงานสอบสวนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สำนักข่าวกรองกลาง

ำนักข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency) หรือย่อว่า ซีไอเอ (CIA) เป็นหน่วยงานราชการด้านข่าวกรองต่างชาติพลเรือนของ รัฐบาลกลางสหรัฐ มีหน้าที่รวบรวม ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติจากทั่วโลก โดยผ่านการข่าวกรองทางมนุษย์ (Human Intelligence; HUMINT) เป็นส่วนใหญ่ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสมาชิกหลักของชุมชนข่าวกรองสหรัฐ (U.S. Intelligence Community; IC) สำนักข่าวกรองรายงานต่อผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ (Director of National Intelligence; DNI) และจะเน้นไปที่การหาข่าวกรองให้ ประธานาธิบดีสหรัฐ และ คณะรัฐมนตรีสหรัฐ เป็นหลัก ไม่เหมือนกับ สำนักงานสอบสวนกลาง ที่เป็นหน่วยงานราชการความมั่นคงภายใน สำนักข่าวกรองกลางไม่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและเน้นการรวบรวมข่าวกรองในต่างประเทศ โดยมีข้อจำกัดเฉพาะในการที่จะหาข่าวกรองจากในประเทศ อย่างไรก็ตามสำนักข่าวกรองกลางไม่ได้เป็นแค่หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯที่เชี่ยวชาญในด้านข่าวกรองทางมนุษย์เท่านั้น มันยังมีหน้าที่ในการเป็นผู้จัดการระดับชาติในการประสานงานกับหน่วนงานต่างๆที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการข่าวกรองทางมนุษย์ทั้งหมด ในชนชุมข่าวกรองสหรัฐฯ ยิ่งไปกว่านั้น สำนักข่าวกรองกลางเป็นหน่วยงานเดียวที่ได้รับอนุญาตโดยกฎหมาย ในการดำเนินการและดูแลการปฏิบัติการณ์ซ่อนเร้น (Covert Action/Operation) โดยคำสั่งประธานาธิบดี สำนักข่าวกรองกลางสามารถควบคุมอิทธิพลทางการเมืองของต่างประเทศได้โดยผ่านทางแผนกยุทธวิธีของตน อย่างเช่น แผนกปฏิบัติการณ์พิเศษ (Special Activities Division; SAD) ก่อนจะมีรัฐบัญญัติการปฏิรูปการข่าวกรองและการป้องกันการก่อการร้าย (Intelligence Reform and Terrorism Prevention Act) ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางยังทำหน้าที่ควบคู่ไปกับการเป็นหัวหน้าชุมชนข่าวกรองสหรัฐฯ แต่ปัจจุบันสำนักข่าวกรองถูกจัดระเบียบภายใต้ผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ แม้จะมีการถ่ายโอนอำนาจบางส่วนไปยังผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติก็ตาม สำนักข่าวกรองกลางได้มีขนาดเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจาก วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ในปี..

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐและสำนักข่าวกรองกลาง · สำนักข่าวกรองกลางและสำนักงานสอบสวนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

อัยการสูงสุดสหรัฐ

อัยการสูงสุดสหรัฐ (United States Attorney General) คือ เจ้ากระทรวงยุติธรรมแห่งสหรัฐอเมริกา เป็นข้าราชการการเมือง ไม่ใช่ข้าราชการประจำ (ตาม) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับนิติการ เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบังคับใช้กฎหมายและเป็นผู้นำทนายแผ่นดินของรัฐบาลสหรัฐ ทั้งเป็นสมาชิกคณะรัฐมนตรีของประธานาธิบดีด้วย โดยเป็นตำแหน่งเดียวในคณะรัฐมนตรีที่ไม่ใช้ชื่อว่า "รัฐมนตรี" (secretary) ประธานาธิบดีจะเลือกผู้ดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด และเสนอชื่อต่อวุฒิสภาเพื่อรับรอง เมื่อรับรองแล้ว อัยการสูงสุดก็เริ่มดำรงตำแหน่ง โดยต้องปฏิบัติหน้าที่ "ตามอัธยาศัยของประธานาธิบดี" (at the pleasure of the president) และประธานาธิบดีจะให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อไรก็ได้ นอกจากนี้ สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจฟ้องให้ขับอัยการสูงสุดออกจากตำแหน่งต่อวุฒิสภาในคดีอาญาฐาน "กบฏ เรียกรับสินบน ตลอดจนอาชญากรรมร้ายแรงและลหุโทษอย่างอื่น" รัฐสภาสหรัฐสถาปนาตำแหน่งอัยการสูงสุดนี้ขึ้นด้วยรัฐบัญญัติตุลาการ ค.ศ. 1789 (Judiciary Act of 1789) หน้าที่ดั้งเดิมของอัยการสูงสุด คือ "ฟ้องและดำเนินคดีทั้งปวงซึ่งเกี่ยวข้องกับสหรัฐต่อศาลสูงสุด กับทั้งให้คำแนะนำและความเห็นเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อประธานาธิบดีร้องขอ หรือเมื่อเจ้ากระทรวงใดร้องขอ" ต่อมาใน..

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐและอัยการสูงสุดสหรัฐ · สำนักงานสอบสวนกลางและอัยการสูงสุดสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐและสำนักงานสอบสวนกลาง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐ มี 19 ความสัมพันธ์ขณะที่ สำนักงานสอบสวนกลาง มี 18 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 10.81% = 4 / (19 + 18)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐและสำนักงานสอบสวนกลาง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »