โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รัฐปาเลสไตน์

ดัชนี รัฐปาเลสไตน์

แผนการแบ่งดินแดนของสหประชาชาติ รัฐปาเลสไตน์ (دولة فلسطين‎ Dawlat Filasṭin) เป็นรัฐที่ประกาศเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 1988 โดยสภาแห่งชาติขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ที่พลัดถิ่นในกรุงแอลเจียร์ ซึ่งเห็นชอบคำประกาศอิสรภาพปาเลสไตน์ฝ่ายเดียว รัฐปาเลสไตน์อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนปาเลสไตน์ ซึ่งนิยามตามพรมแดนเมื่อปี 1967: "I would like to inform you that, before delivering this statement, I, in my capacity as President of the State of Palestine and Chairman of the Executive Committee of the Palestine Liberation Organization, submitted to H.E. Ban Ki-moon, Secretary-General of the United Nations, an application for the admission of Palestine on the basis of the 4 June 1967 borders, with Al-Kuds Al-Sharif as its capital, as a full member of the United Nations." และกำหนดเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวง พื้นที่ที่พรรณนาว่าจะประกอบเป็นรัฐปาเลสไตน์นั้นถูกอิสรเอลยึดครองตั้งแต่ปี 1967 การประชุดสุดยอดสันนิบาตอาหรับปี 1974 กำหนดให้องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็น "ผู้แทนชาวปาเลสไตน์โดยชอบด้วยกฎหมายแต่ผู้เดียว" และยืนยันอีกครั้งถึง "สิทธิของพวกเขาในการสถาปนารัฐที่มีเอกราชอย่างเร่งด่วน" องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ในสหประชาชาติเป็น "องค์การมิใช่รัฐ" (non-state entity) ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 1974 ซึ่งให้สิทธิพูดในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียง หลังคำประกาศอิสรภาพ สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ "รับรอง" คำประกาศดังกล่าวอย่างเป็นทางการ และออกเสียงให้ใช้ชื่อ "ปาเลสไตน์" แทน "องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์" เมื่อเอ่ยถึงผู้สังเกตการณ์ถาวรปาเลสไตน์Hillier, 1998, (via Google Books).

31 ความสัมพันธ์: ฟะตะห์ฟิดาอีพัน กี-มุนกองทัพอากาศกองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์ภาษาอาหรับรอมัลลอฮ์ระบบกึ่งประธานาธิบดีระบบรัฐสภารูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบลอสแอนเจลิสไทมส์สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติสงครามหกวันสงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948อะโดบี แอโครแบตอาณาจักรยูดาห์องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ฮะมาสทะเลเดดซีข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 67/19ดินแดนปาเลสไตน์ฉนวนกาซาประชาธิปไตยประเทศอิสราเอลแม่น้ำจอร์แดนแอลเจียร์เยรูซาเลมเยรูซาเลมตะวันออกเวสต์แบงก์.ps

ฟะตะห์

ฟะตะห์ หรือ ฟัตห์ (Fatah; فتح) เป็นพรรคการเมืองของปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นขั้วอำนาจปาเลสไตน์กับกลุ่มฮะมาส ได้สู้รบกันมาตลอด และต่อมาได้เจรจาหยุดยิงและมีการเลือกตั้งในปาเลสไตน์ 25 มกราคม พ.ศ. 2549 ร่วมตั้งรัฐบาลผสมกับพรรคฮะมาสที่ชนะการเลือกตั้ง ก่อนถูกประกาศยกเลิก เนื่องจากกลุ่มฮะมาสไม่เป็นที่ยอมรับของรัฐบาลหลายประเทศ หมวดหมู่:พรรคการเมืองปาเลสไตน์ หมวดหมู่:ขบวนการแบ่งแยกดินแดนปาเลสไตน์.

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และฟะตะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟิดาอี

ลงชาติของชาวปาเลสไตน์มีชื่อว่า "ฟิดาอี" (فِدَائِي‎) ซึ่งเป็นเพลงที่สภาแห่งชาติปาเลสไตน์ประกาศรับรองเป็นเพลงชาติเมื่อปี พ.ศ. 2539 เพื่อให้สอดคล้องตามคำประกาศเอกราชของชาวปาเลสไตน์ พ.ศ. 2531 มาตรา 31 ประพันธ์เนื้อร้องโดย ซาอิด อัล มูซายิน (Said Al Muzayin) (หรือที่รู้จักกันในชื่อ ฟาตา อัล ทอว์รา - Fata Al Thawra) ทำนองโดยอาลี อิสมาเอล (Ali Ismael) นักดนตรีชาวอียิปต์ เพลงนี้เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ "เพลงสรรเสริญการปฏิวัติปาเลสไตน์" ("Anthem of the Palestinian revolution") ก่อนหน้านี้นับตั้งแต่ พ.ศ. 2479 เป็นต้นมา ได้ถือกันว่าเพลงมอว์ตินี (مَوْطِنِي, Mawtini; แปลว่า "ถิ่นเกิดของข้า") เป็นเพลงประจำชนกลุ่มน้อยชาวปาเลสไตน์อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเพลงนี้ประพันธ์เนื้อร้องโดยอิบราฮิม ทอว์กาน (Ibrahim Towqan) ทำนองโดยมุฮัมมัด ฟลาอีเฟล (Mohammad Flaifel).

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และฟิดาอี · ดูเพิ่มเติม »

พัน กี-มุน

ัน กี-มุน (Ban Ki-moon;; เกิด 13 มิถุนายน พ.ศ. 2487) เป็นอดีตเลขาธิการสหประชาชาติ คนที่ 8 ต่อจากโคฟี แอนนัน โดยได้รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และพัน กี-มุน · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพอากาศ

กองทัพอากาศ คือกองกำลังติดอาวุธที่ปฏิบัติการในอากาศหรือเกี่ยวข้องกับอากาศ โดยใช้อากาศยานเป็นส่วนใหญ่ มีหน้าที่ปกป้องน่านฟ้าของประเทศนั้น.

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และกองทัพอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์

กองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestinian Liberation Army) เป็นกองกำลังทางทหารขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และกองทัพปลดปล่อยปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

รอมัลลอฮ์

ทัศนียภาพเมืองรอมัลลอฮ์ รอมัลลอฮ์ (رام الله) เป็นเมืองหลวงโดยพฤตินัยของประเทศปาเลสไตน์ มีประชากรราว 301,296 คน มีพื้นที่ 16.3 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเยรูซาเลม ไปทางเหนือ 10 กิโลเมตร เมืองนี้เป็นที่ตั้งของที่ทำการรัฐบาลรัฐปาเลสไตน์ หมวดหมู่:ปาเลสไตน์ หมวดหมู่:เมืองในเวสต์แบงก์.

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และรอมัลลอฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบกึ่งประธานาธิบดี

ระบอบกึ่งประธานาธิบดี หรือ ระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา หรือ ระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี (semi-presidential system) เป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งที่ประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหารโดยใช้อำนาจผ่านนายกรัฐมนตรี ระบบกึ่งประธานาธิบดีมีต้นกำเนิดในฝรั่ง.

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และระบบกึ่งประธานาธิบดี · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรัฐสภา

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ที่ไม่มีอำนาจในการปกครอง ระบบรัฐสภา เป็นกลไกการปกครอง ที่ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลมีที่มาจากรัฐสภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติ และมีความรับผิดชอบต่อสภา ในระบบรัฐสภา ตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ และตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลมักจะแยกออกจากกัน โดยหัวหน้ารัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ประมุขแห่งรัฐเป็นพระมหากษัตริย์ตามการสืบสันตติวงศ์ หรือประธานาธิบดีจากการเลือกตั้ง ระบบรัฐสภาสมัยใหม่มีต้นกำเนิดในอังกฤษใน ศตวรรษที่17 โดยมีประเทศที่ใช้ระบบสาธารณรัฐระบบรัฐสภาได้แก่ เยอรมนี อิตาลี อินเดีย ออสเตรีย ฮังการี ตุรกี อิรัก อิสราเอล ปากีสถาน สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ กรีซ เซอร์เบีย เช็กเกีย บัลแกเรีย เนปาล บังกลาเทศ เอธิโอเปีย ซูรินาม เป็นต้น ส่วนประเทศที่ใช้ระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญได้แก่ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ไทย กัมพูชา มาเลเซีย สเปน สวีเดน นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เดนมาร์ก แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ลักเซมเบิร์ก ลิกเตนสไตน์ โมนาโก อันดอร์รา เป็นต้น.

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และระบบรัฐสภา · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

ลอสแอนเจลิสไทมส์

ลอสแอนเจลิสไทมส์ (Los Angeles Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน ตีพิมพ์ในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และลอสแอนเจลิสไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ

มัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) เป็นองค์กรที่มีอำนาจมากที่สุดและเป็นหนึ่งในเสาหลักของสหประชาชาติ เป็นเพียงองค์กรเดียวของสหประชาชาติที่ตัวแทนของแต่ละประเทศสมาชิกมีสิทธิและฐานะเท่าเทียมกัน สมัชชาใหญ่มีหน้าที่ตรวจสอบงบประมาณและการใช้จ่ายในโครงการของสหประชาชาติ แต่งตั้งสมาชิกไม่ถาวรในคณะมนตรีความมั่นคง รับรายงานจากทั่วทุกมุมโลกเพื่ออภิปรายและให้ความเห็น ตลอดจนจัดตั้งองค์กรลูกต่างๆมากมายของสหประชาชาติ การประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งแรกมีขึ้นในวันที่ 10 มกราคม..

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามหกวัน

งครามหกวัน (Six-Day War., מלחמת ששת הימים) เป็นสงครามระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ หลังจากวิกฤตการณ์สุเอซ ญะมาล อับดุนนาศิร ประธานาธิบดีของประเทศอียิปต์ได้ขอให้สหประชาชาติถอนกำลังออกไปจากอียิปต์แล้ว กองทัพของอียิปต์ได้เคลื่อนที่เข้ายึดฉนวนกาซาและปิดล้อมอ่าวอะกาบา และห้ามไม่ให้เรือสินค้าของอิสราเอลผ่าน อิสราเอลจึงได้โจมตีอียิปต์ก่อน ทำให้เกิดสงครามระหว่างยิวกับอาหรับขึ้นเป็นครั้งที่ 3 โดยสงครามนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน ถึง 10 มิถุนายน..

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และสงครามหกวัน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948

งครามอาหรับ-อิสราเอล..

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และสงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948 · ดูเพิ่มเติม »

อะโดบี แอโครแบต

อะโดบี แอโครแบต (Adobe Acrobat) เป็นซอฟต์แวร์ของอะโดบีซิสเต็มส์ ในการจัดการไฟล์ในลักษณะพีดีเอฟ (PDF) โดยจะถูกกล่าวถึงในสองลักษณะคือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการอ่านไฟล์พีดีเอฟ ที่เรียกว่า แอโครแบตรีดเดอร์ (Acrobat Reader) ที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจากทางเว็บของอะโดบี และอีกตัวคือซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสร้างและแก้ไขไฟล์พีดีเอฟ ที่มีหลายรุ่นเช่น แอโครแบตโพรเฟชชันนอล (Acrobat Professional) และ แอโครแบต 3D (Acrobat 3D) ในปัจจุบันรุ่นล่าสุดคือ รุ่น 9.0 โดยรุ่นเหล่านี้ สามารถให้ผู้ใช้สร้างไฟล์พีดีเอฟจากเอกสารต่างๆ ได้รวมถึงใน ไมโครซอฟท์ เวิร์ด หรือ ออโตแคด หรือสร้างผ่านคำสั่งพิมพ์ผ่านไดรเวอร์ของแอโครแบตได้ แอโครแบตรุ่นแรก รุ่น 1 ออกใช้ครั้งแรกเมื่อ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2536 สำหรับ ดอส วินโดวส์ 3.1 และ แมคอินทอช โดยมีทั้งหมด 3 รุ่นคือ แอโครแบตรีดเดอร์ (สำหรับอ่าน) แอโครแบตเอกซ์เชนจ์ (สำหรับสร้างไฟล์ผ่านไดรเวอร์ปรินเตอร์) และ แอโครแบตดิสทิลเลอร์ (สำหรับสร้างไฟล์จากโพสต์สคริปต์).

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และอะโดบี แอโครแบต · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรยูดาห์

อาณาจักรยูดาห์ในช่วงศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล ภาพแสดงถึงพระราชาและทหารในอาณาจักรยูดาห์โบราณ ราชอาณาจักรยูดาห์ (ฮีบรู: מַמְלֶכֶת יְהוּדָה; มัมเลกเฮต เยฮูดาห์) คืออดีตรัฐยิวที่ก่อตั้งขึ้นบริเวณตอนใต้ของเขตลิแวนต์ในช่วงยุคเหล็ก มักถูกเรียกขานโดยทั่วไปว่า ราชอาณาจักรใต้ เพื่อที่จะไม่ให้สับสนกับราชอาณาจักรอิสราเอลที่อยู่ทางเหนือ ซึ่งทั้งสองอาณาจักรเคยมีสถานะเป็นรัฐเดียวกันมาก่อนในนามว่า สหราชอาณาจักรอิสราเอล ยูดาห์ถูกสันนิษฐานว่าน่าจะพัฒนากลายมาเป็นรัฐในช่วงหลังศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล แต่ก็ไม่มีหลักฐานใดที่สามารถยืนยันข้อสันนิษฐานนี้ได้ ในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรมีประชากรเพิ่มมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งมากกว่าประชากรของรัฐข้างเคียงมาก ต่อมาพวกอัสซีเรียเข้ารุกรานและควบคุมยูดาห์เนื่องจากต้องการทรัพยากรน้ำมันมะกอกอันล้ำค่าของยูดาห์ ยูดาห์จึงตกเป็นรัฐบริวารของอัสซีเรียThompson 1992, pp.

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และอาณาจักรยูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์

องค์การบริหารปาเลสไตน์ (السلطة الوطنية الفلسطينية‎ As-Sulṭah Al-Waṭaniyyah Al-Filasṭīniyyah) เป็นองค์การปกครองที่ตั้งขึ้นเพื่อปกครองเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา เป็นผลของข้อตกลงกรุงออสโลปี 2537 นับแต่สถาปนา ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ และในปี 2556 รัฐบาลฟาตาห์ที่นานาประเทศรับรองในเวสต์แบงก์เปลี่ยนชื่อตนเองเป็นรัฐปาเลสไตน์ หลังการเลือกตั้งในปี 2549 และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นตามมาระหว่างพรรคฟาตาห์และฮามาส อำนาจขององค์การฯ จึงขยายไปถึงเพียงเวสต์แบงก.

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์

องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestine Liberation Organization, ย่อ: PLO; منظمة التحرير الفلسطينية) เป็นองค์การซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2507 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรัฐปาเลสไตน์เอกราช กว่า 100 รัฐรับรององค์การฯ เป็น "ผู้แทนโดยชอบแต่ผู้เดียวของชาวปาเลสไตน์" ซึ่งองค์การฯ มีความสัมพันธ์ทางทูตด้วยMadiha Rashid al Madfai, Jordan, the United States and the Middle East Peace Process, 1974–1991, Cambridge Middle East Library, Cambridge University Press (1993).

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮะมาส

มาส (حماس) ย่อมาจาก ฮะเราะกะฮ์ อัลมุกอวะมะฮ์ อัลอิสลามียะฮ์ (حركة المقاومة الاسلامية) เป็นพรรคการเมืองหนึ่งของปาเลสไตน์ที่นับถือศาสนาอิสลามและมีกองกำลังติดอาวุธ มักถูกเรียกว่า กลุ่มหัวรุนแรงฮะมาส หรือ กลุ่มติดอาวุธฮะมาส ซึ่งมักก่อเหตุโจมตีกลุ่มฟะตะห์โดยใช้ระเบิดพลีชีพ อามาสเป็นขบวนการที่เป็นผลพวงของการต่อต้านอิสราเอลใน..

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และฮะมาส · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเดดซี

ทะเลเดดซีมุมมองจากฝั่งอิสราเอลมองข้ามไปยังจอร์แดน นักท่องเที่ยวสามารถลอยตัวในทะเลเดดซีเนื่องจากความเข้มข้นของเกลือสูง ทะเลเดดซี หรือ ทะเลมรณะ (Dead Sea; البَحْر المَيّت‎, อัลบะฮฺรุ อัลมัยยิต; יָם הַ‏‏מֶ‏ּ‏לַ‏ח‎, ยัม ฮาเมลาห์ (ทะเลเกลือ)) เป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่มีความเข้มข้นของเกลือสูงมาก อยู่ตรงเขตแดนประเทศจอร์แดน รัฐปาเลสไตน์ และอิสราเอล ระดับน้ำอยู่ต่ำที่สุด ทะเลเดดซีอยู่ระหว่างเทือกเขายูเดียที่ด้านเหนือ และที่ราบสูงทรานสจอร์แดนที่ด้านตะวันออก แม่น้ำจอร์แดนจะไหลจากทางเหนือมายังทะเลเดดซีนี้ ซึ่งมีความยาว 80 กิโลเมตร และมีความกว้างถึง 18 กิโลเมตร ส่วนพื้นที่นั้น 1,020 ตารางกิโลเมตร แหลมอัลลิซาน (แปลว่า ลิ้น) แบ่งทะเลสาบด้านตะวันออกเป็นสองส่วน ตอนเหนือใหญ่กว่า ล้อมรอบพื้นที่ 3/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนความลึกนั้นประมาณ 400 เมตร แอ่งตอนเหนือนั้นเล็ก และตื้น (ลึกประมาณ 3 เมตร) ในสมัยที่เขียนคัมภีร์ไบเบิล จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 พื้นที่บริเวณตอนเหนือเท่านั้นที่มีผู้อยู่อาศัย และระดับน้ำต่ำกว่าในปัจจุบัน 35 เมตร คนชาวอาหรับจะเรียกทะเลสาบเดดซีกันว่า "อัลบาห์รัลไมยิต” หมายความว่า ทะเลมรณะ เช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ ขณะที่ภาษาฮีบรูเรียกทะเลสาบนี้ว่า "ยัมฮาเมละฮ์" ซึ่งหมายความว่า "ทะเลเกลือ" เป็นทะเลที่เค็มที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เค็มกว่าทะเลอื่นถึง 4 เท่า มีความยาว 76 กิโลเมตร กว้างถึง 18 กิโลเมตร มีจุดที่ลึกที่สุดคือ 400 เมตร และอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลถึง 417.5 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นพื้นที่ ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลมากที่สุดในโลกอีกแห่งด้วย สำหรับทะเลสาบเดดซี เป็นจุดหมายปลายทางของผู้ชื่นชอบในการเดินทางไปในสถานที่ต่าง ๆ เป็นทะเลที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตอยู่เลย ยกเว้นแต่แบคทีเรียและเห็ดราบางชน.

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และทะเลเดดซี · ดูเพิ่มเติม »

ข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 67/19

้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 67/19 เป็นข้อมติที่ยกระดับปาเลสไตน์ขึ้นเป็นสถานะรัฐผู้สังเกตการณ์ที่มิใช่สมาชิกในสหประชาชาติ ข้อมติดังกล่าวได้รับมติเห็นชอบจากสมัยประชุมที่ 67 แห่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 67/19 · ดูเพิ่มเติม »

ดินแดนปาเลสไตน์

นแดนปาเลสไตน์หรือดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครองประกอบด้วยเวสต์แบงก์ (รวมเยรูซาเลมตะวันออก) และฉนวนกาซา ในปี 2536 ตามข้อตกลงออสโล ในทางการเมือง บางส่วนของดินแดนดังกล่าวอยู่ภายใต้เขตอำนาจขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (พื้นที่เอและบี) ในปี 2550 ฉนวนกาซาที่ฮามาสปกครองแยกจากองค์การบริหารปาเลไสตน์อย่างรุนแรง และปกครองพื้นที่กาซาเป็นอิสระนับแต่นั้น อิสราเอลยังควบคุมทางทหาร (military control) สมบูรณ์ และตามข้อตกลงออสโล ควบคุมทางพลเรือน (civil control) เหนือ 61% ของเวสต์แบงก์ (พื้นที่ซี) ในเดือนเมษายน 2554 ภาคีปาเลสไตน์ลงนามความตกลงปรองดอง แต่การนำไปปฏิบัติยังสะดุดอยู่หลังจากนั้น ความพยายามปรองดองต่อมาในปี 2555 ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน พื้นที่เวสต์แบงก์และฉนวนกาซาเป็นส่วนของดินแดนทางตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนในปาเลสไตน์ในอาณัติภายใต้การปกครองของอังกฤษ ซึ่งก่อตั้งในปี 2465 นับแต่สงครามอาหรับ–อิสราเอล ปี 2491 กระทั่งสงครามหกวัน ปี 2510 เวสต์แบงก์ถูกจอร์แดนยึดครองและผนวก (เฉพาะสหราชอาณาจักรและปากีสถานรับรองการผนวก) และฉนวนกาซาถูกอียิปต์ยึดครอง แม้รัฐบาลปาเลสไตน์ล้วน (All-Palestine Government) ใช้อำนาจอย่างจำกัดในกาซาตั้งแต่เดือนกันยายน 2491 ถึงปี 2502 ก็ตาม แนวพรมแดนซึ่งเป็นเรื่องของการเจรจาในอนาคต ประชาคมนานาชาติถือโดยทั่วไปว่านิยามโดยเส้นสีเขียวอันแทนเส้นการสงบศึกภายใต้ความตกลงการสงบศึกปี 2492 ซึ่งประกาศเส้นการสงบศึกอย่างชัดเจน มิใช่พรมแดนระหว่างประเทศ เนื่องจากอิสราเอลยึดดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาจากจอร์แดนและอียิปต์ตามลำดับในสงครามหกวัน ปี 2510 และได้รักษาการควบคุมดินแดนดังกล่าวนับแต่นั้น ประชาคมนานาชาติ รวมทั้งสหประชาชาติและองค์การกฎหมายระหว่างประเทศจึงมักเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า "ดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง" ในปี 2523 อิสราเอลผนวกเยรูซาเลมตะวันออกอย่างเป็นทางการ การผนวกดังกล่าวถูกนานาชาติประณามและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประกาศให้ "ไม่มีผลและเป็นโมฆะ" ขณะที่ชาติอิสราเอลมองว่า เยรูซาเลมทั้งหมดเป็นเมืองหลวงของประเทศ ในปี 2531 ด้วยองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์มีเจตนาประกาศรัฐปาเลสไตน์ จอร์แดนจึงยอมสละการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนเวสต์แบงก์ รวมเยรูซาเลมตะวันออก ตั้งแต่คำประกาศอิสรภาพปาเลสไตน์ในปี 2531 มีชาติสมาชิกสหประชาชาติประมาณ 130 ชาติรับรองรัฐปาเลสไตน์ อันประกอบด้วยดินแดนปาเลสไตน์ แต่อิสราเอลและชาติตะวันตกบางชาติ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ยังไม่รับรอง ทว่า ไม่นาน องค์การบริหารปาเลสไตน์ถูกตั้งขึ้นตามผลของข้อตกลงออสโล ปี 2536 โดยควบคุมเหนือบางส่วนของเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาอย่างจำกัด องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สหภาพยุโรป ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและกาชาดสากลถือว่าเยรูซาเลมตะวันออกเป็นส่วนหนึ่งของเวสต์แบงก์ และจึงเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนปาเลสไตน์ตามลำดับ ขณะที่อิสราเอลถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตนอันเป็นผลจากการผนวกในปี 2523 ตามศาลสูงสุดอิสราเอล อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สี่ ซึ่งห้ามการผนวกดินแดนที่ถูกยึดครองฝ่ายเดียว ใช้ไม่ได้กับเยรูซาเลมตะวันออก เพราะอิสราเอลและพันธมิตรไม่รับรอง "องค์อธิปัตย์ที่ชอบด้วยกฎหมาย" ที่เดิมเคยควบคุมดินแดนนั้น องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (ซึ่งล่าสุดเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐปาเลสไตน์ อันเป็นผลจากสหประชาชาติรับรองเอกราช) ซึ่งรักษาการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนเยรูซาเลมตะวันออก ไม่เคยใช้อำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ดังกล่าว ทว่า ไม่มีประเทศใดรับรองอำนาจอธิปไตยของอิสราเอล นับแต่การผนวกดินแดนที่ถูกยึดครองระหว่างสงครามฝ่ายเดียวโดยฝ่าฝืนอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สี่ ข้อตกลงออสโล (2538) สถาปนาการออกสู่ทะเลสำหรับกาซาภายใน 20 ไมล์ทะเลจากฝั่ง ข้อผูกมัดเบอร์ลินปี 2545 ลดเหลือ 19 กิโลเมตร ในเดือนตุลาคม 2549 อิสราเอลกำหนดขีดจำกัด 6 ไมล์ และผลของสงครามกาซาจำกัดการออกลงเหลือขีดจำกัด 3 ไมล์ทะเล ซึ่งเกินกว่านั้นมีเขตห้ามเข้า (no-go zone) ผลคือ ชาวประมงกว่า 3,000 คนถูกปฏิเสธการออกสู่ 85% ของพื้นที่ทะเลตามที่ตกลงกันในปี 2538 พื้นที่เดดซีส่วนใหญ่ถูกห้ามไม่ให้ชาวปาเลสไตน์ใช้ และชาวปาเลสไตน์ถูกห้ามไม่ให้ออกสู่แนวชายฝั่ง การยึดกาซาของฮามาสแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ทางการเมือง โดยฟาตาห์ของอับบาสส่วนใหญ่ปกครองเวสต์แบงก์ และนานาชาติรับรองเป็นองค์การบริหารปาเลสไตน์อย่างเป็นทางการ ฉนวนกาซาภายในพรมแดนถูกฮามาสปกครอง ขณะที่พื้นที่เวสต์แบงก์ส่วนมากปกครองโดยองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ซึ่งตั้งอยู่ที่รอมัลลอฮ์ ทว่า มีความตกลงเมื่อเดือนเมษายน 2557 ระหว่างสองกลุ่มการเมืองจะจัดการเลือกตั้งในปลายปี 2557 และตั้งรัฐบาลเอกภาพปรองดอง.

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และดินแดนปาเลสไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ฉนวนกาซา

ฉนวนกาซา (Gaza Strip; قطاع غزة; רצועת עזה‎) เป็นชื่อเรียกอาณาบริเวณแคบ ๆ ขนาด 360 ตร.กม. ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในตะวันออกกลาง โดยมีประชากรชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประมาณ 1.7 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากผู้อพยพลี้ภัย โดยในการสำรวจเมื่อเดือนมีนาคม ปี..

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และฉนวนกาซา · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิสราเอล

ประเทศอิสราเอล (Israel; יִשְׂרָאֵל; إِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (State of Israel; מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศThe Jerusalem Law states that "Jerusalem, complete and united, is the capital of Israel" and the city serves as the seat of the government, home to the President's residence, government offices, supreme court, and parliament.

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และประเทศอิสราเอล · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำจอร์แดน

แม่น้ำจอร์แดน (ฮิบรู: נהר הירדן Nehar haYarden, نهر الأردن Nahr al-Urdun) เป็นแม่น้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันตก มีความยาวทั้งสิ้น 251 กิโลเมตร ไหลลงสู่ทะเลเดดซี ปัจจุบันถือเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างอิสราเอลกับจอร์แดน ในความเชื่อของชาวคริสเตียนเชื่อว่าพระเยซูได้รับเข้าพิธีล้างจากนักบุญยอห์น แบปติสต์ ที่แม่น้ำแห่งนี้ อีกทั้งชื่อของราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดนก็มาจากชื่อแม่น้ำสายนี้เช่นกัน.

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และแม่น้ำจอร์แดน · ดูเพิ่มเติม »

แอลเจียร์

แอลเจียร์ (Algiers; الجزائر al-Jazā’ir) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศแอลจีเรีย และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคมาเกร็บ (รองจากเมืองกาซาบล็องกา) จากข้อมูลประชากรในปี..

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และแอลเจียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลม

รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลมตะวันออก

รูซาเลมตะวันออก เป็นส่วนหนึ่งของกรุงเยรูซาเลมที่มิได้เป็นส่วนหนึ่งของเยรูซาเลมตะวันตก โดยครอบคลุมเขตเมืองเก่าและสถานที่ศักดิสิทธิ์ที่สำคัญต่อศาสนาคริสต์ ศาสนายูดาห์ และศาสนาอิสลาม ได้แก่ เนินพระวิหาร, กำแพงโอดครวญ, โบสถ์พระคูหาศักดิ์สิทธิ์ มัสยิดอัลอักศอ และโดมแห่งศิลา ปัจจุบันเมืองนี้เป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการของรัฐปาเลสไตน์แม้ว่าที่ทำการรัฐบาลจะอยู่ที่รอมัลลอ.

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และเยรูซาเลมตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เวสต์แบงก์

แผนที่เขตเวสต์แบงก์ เวสต์แบงก์ (West Bank; الضفة الغربية; הגדה המערבית หรือ יהודה ושומרון ซึ่งแปลว่า "จูเดียและซาแมเรีย") เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์แห่งหนึ่งที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เวสต์แบงก์มีพรมแดนทางทิศตะวันตก ทิศเหนือ และทิศใต้ร่วมกับรัฐอิสราเอล ส่วนทางทิศตะวันออกข้ามแม่น้ำจอร์แดนไปจะเป็นอาณาเขตของราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน นอกจากนี้ เวสต์แบงก์ยังมีชายฝั่งทะเลตลอดแนวฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลเดดซีอีกด้วย เขตเวสต์แบงก์ (รวมนครเยรูซาเลมส่วนตะวันออก) มีเนื้อที่บนบก 5,640 ตารางกิโลเมตร และมีเนื้อที่พื้นน้ำ 220 ตารางกิโลเมตรซึ่งได้แก่ส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลเดดซี ประมาณการกันว่ามีจำนวนประชากร 2,622,544 คน ณ เดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และเวสต์แบงก์ · ดูเพิ่มเติม »

.ps

.ps เป็นโดเมนอินเทอร์เน็ตระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (ccTLD) สำหรับปาเลสไตน์ เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2543.

ใหม่!!: รัฐปาเลสไตน์และ.ps · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Palestinian regionบริเวณปาเลสไตน์ประเทศปาเลสไตน์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »