โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ดัชนี รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1789 แต่ละรัฐที่เห็นเป็นสีต่าง ๆ ต่างก็มีสิทธิทางการปกครองและทางด้านการยุติธรรมที่ต่างกันไปตามแต่จะระบุโดยพระจักรพรรดิ รัฐของจักรวรรดิ (โรมันอันศักดิ์สิทธิ์) (Reichsstand หรือ Reichsstände; Imperial State/Estate) คือ “หน่วย” ที่เป็น “รัฐ” ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีสิทธิในการออกเสียงในสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ รัฐหลายรัฐไม่มีที่นั่งในจักรวรรดิ หรือเป็นรัฐที่มีที่นั่งแต่ไม่มีสิทธิออกเสียง หรือมีสิทธิในการเป็นปกครองตนเองภายใต้การกำกับของจักรพรรดิ รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แต่ละรัฐไม่ขึ้นต่อประมุขของรัฐของจักรวรรดิอื่น ๆ แต่ขึ้นตรงต่อสมเด็จพระจักรพรรดิ นอกจากนั้นประมุขของรัฐในจักรวรรดิก็ยังมีสิทธิและอภิสิทธิ์หลายอย่างที่รวมทั้งสิทธิในการปกครองดินแดนของตนเองบ้าง.

16 ความสัมพันธ์: พระมหากษัตริย์มาร์เกรฟมุขนายกราชรัฐอัครมุขนายกอิมพีเรียลแอบบีย์จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ดยุกแกรนด์ดยุกโบฮีเมียเสรีนครจักรวรรดิเจ้าเจ้าชายมุขนายกเทวาธิปไตยเครือราชรัฐเคานต์

พระมหากษัตริย์

กษัตริย์ หรือ พระมหากษัตริย์ คือประมุขหรือผู้ปกครองสูงสุดของรัฐ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือในราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีน้อยมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดเล็ก พระมหากษัตริย์เป็นได้ด้วยการสืบสันตติวงศ์หรือโดยการยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์พระองค์เดิมแล้วปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ การสืบสันตติวงศ์ของพระมหากษัตริย์จะสืบทอดต่อกันมาโดยเชื้อพระวงศ์ เรียกว่าพระราชวงศ์ เมื่อสิ้นสุดการสืบทอดโดยเชื้อพระวงศ์ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จะเป็นตันพระราชวงศ์ใหม่ หรือเป็นผู้สถาปนาพระราชวงศ์ พระมหากษัตริย์อาจมีคำเรียกแตกต่างกัน เช่น พระราชาธิบดี พระจักรพรรดิ พระราชา เจ้ามหาชีวิต เป็นต้น กษัตริย์ ในสังคมฮินดู ยังหมายถึงวรรณะที่ 2 จาก 4 วรรณะ คือวรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร.

ใหม่!!: รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และพระมหากษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

มาร์เกรฟ

มาร์เกรฟ (Margrave) หรือ มาร์คกราฟ (Markgraf เป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางสืบตระกูลที่ใช้กันในยุโรปที่ปกครองดินแดนที่เรียกว่ารัฐมาร์เกรฟ (Margraviate) ที่เป็นดินแดนชายแดนเช่นรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค มาร์เกรฟเป็นตำแหน่งที่ใช้ในยุคกลางที่ผู้ถือตำแหน่งมีหน้าที่รับผิดชอบทางการทหารในบริเวณชายแดนของราชอาณาจักร อาณาจักรชายแดนเป็นอาณาจักรที่ต้องเผชิญหน้ากับการรุกรานจากภายนอกก่อนดินแดนส่วนอื่นๆ ของราชอาณาจักรฉะนั้นมาร์เกรฟจึงมักจะมีกองกำลังภายใต้การปกครองที่มีขนาดใหญ่กว่าขุนนางดินแดนภายในอื่นๆ และมักจะมีดินแดนในปกครองที่มีเนื้อที่มากกว่าที่เป็นผลมาจากการขยายดินแดนของตนเอง ในยุคกลางมาร์เกรฟมักจะมีอำนาจที่เป็นของตนเองที่ได้รับพระราชทานเมื่อเทียบกับขุนนางสืบตระกูลตำแหน่งอื่น ๆ แต่เมื่อมาถึงปลายยุคกลางและต้นสมัยใหม่ ความมั่นคงในบริเวณชายแดนก็เพิ่มมากขึ้น อำนาจของมาร์เกรฟและขุนนางอื่นก็เริ่มลดถอยลง คำว่า “Margrave” (marchio) เป็นชื่อตำแหน่งในภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษของตำแหน่งเยอรมัน “Markgraf” ที่มาจากคำว่า “Mark” (อาณาจักรชายแดน) และคำว่า “Graf” (เคานต์) รวมกัน.

ใหม่!!: รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และมาร์เกรฟ · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายก

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายก บิชอป (Bishop) กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถานบางครั้งให้เรียกว่ามุขนายก เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต.

ใหม่!!: รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

ราชรัฐ

ราชรัฐ เป็นคำที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติขึ้นเพื่อใช้เรียกเขตการปกครองที่มีประมุขเป็นเจ้าซึ่งมีอิสริยยศต่ำกว่าพระมหากษัตริย์ ราชรัฐมี 4 ชั้น คือ.

ใหม่!!: รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และราชรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

อัครมุขนายก

2553. อาร์ชบิชอป (Archbishop) หรืออัครมุขนายก ชาวไทยคาทอลิกเรียกว่าพระอัครสังฆราช เป็นตำแหน่งการปกครองระดับสูงในบางคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน ถือว่ามีสถานะเหนือกว่ามุขนายกกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 (bishop) การเป็นอัครมุขนายกหมายถึงการได้ปกครองอัครมุขมณฑล (archdiocese) ซึ่งเป็นมุขมณฑลที่มีความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ หรือในกรณีของแองกลิคันคอมมิวเนียนจะหมายถึงกลุ่มมุขมณฑลที่รวมกันเป็นภาคคริสตจักร เช่น ภาคแคนเทอร์เบอรีที่ปกครองโดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป “อัครมุขนายก” มีฐานะเท่าเทียมกับมุขนายกในด้านการศาสนา แต่มีอภิสิทธิ์บางอย่างมากกว่า ฉะนั้นถ้าผู้ที่เป็นมุขนายกอยู่แล้วได้รับการแต่งตั้ง (appointment) เป็นอัครมุขนายกก็ไม่จำเป็นต้องรับการอภิเษก (consecration) อีก มีแต่พิธีเข้ารับตำแหน่ง (installation) แต่ถ้าผู้ที่ได้รับตำแหน่งไม่ได้เป็นมุขนายกมาก่อน ผู้นั้นก็ต้องเข้าพิธีอภิเษกเพื่อรับศีลอนุกรมเสียก่อนที่จะทำหน้าที่เป็นอัครมุขนายก คำว่า “Archbishop” มาจากภาษากรีกว่า “αρχι” ที่แปลว่า “ที่หนึ่ง” หรือ “หัวหน้า” และคำว่า “επισκοπος” ที่แปลว่า “ปกครองดูแล” “อัครมุขนายก” ปกครอง “อัครมุขมณฑล” หรือภาคคริสตจักร ถ้าเป็นในสมัยโบราณโดยเฉพาะในสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อัครมุขนายกก็จะปกครอง “รัฐอัครมุขนายก” เช่น อาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์ (Archbishop of Mainz) ผู้ปกครอง “ราชรัฐอัครมุขนายกไมนซ์” (Archbishopric of Mainz).

ใหม่!!: รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และอัครมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

อิมพีเรียลแอบบีย์

แอบบีอ็อตโตบวยเร็นได้รับฐานะเป็น “อิมพีเรียลแอบบี” ในปี ค.ศ. 1299 อิมพีเรียลแอบบี (Reichsabteien หรือ Reichsklöster หรือ Reichsstifte, Imperial abbeys) สังฆารามหลวง คือบ้านพักของนักบวชคาทอลิกในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้รับ “อิมพีเรียลอิมมีเดียซี” (Reichsunmittelbarkeit) เป็น “ดินแดนอธิปไตย” ที่ขึ้นตรงต่อสมเด็จพระจักรพรรดิ (ไม่ว่าจะมีขนาดเล็กเท่าใดก็ตาม) สิทธิที่ได้รับทำให้ได้รับผลประโยชน์ต่างๆ เช่นสิทธิในการเก็บภาษีต่าง ๆ และสิทธิในการมีศาลยุติธรรม ประมุขของอิมพีเรียลแอบบีมีตำแหน่งเป็น “อิมพีเรียลอธิการอาราม” (Imperial abbot) ถ้าเป็นระดับไพรออรีหรือโพรโวสต์ (Reichspropstei) ก็จะมีตำแหน่งเป็น “อิมพีเรียลไฟรเออร์” (Reichspropst) ถ้าอารามมีฐานะเป็นราชรัฐชั้นพรินซิพาลิตี (ecclesiastical principality) ก็จะปกครองโดย “เจ้าชายอธิการอาราม” (Fürstabt หรือ Fürstpropst) ที่เทียบเท่ากับตำแหน่ง “มุขนายกผู้ครองนคร” (Fürstbischof) แต่โดยทั่วไปแล้วบ้านพักนักบวชเหล่านี้จะมีขนาดเล็กมากที่เรียกว่า “อิมพีเรียลพรีเลต” (Imperial prelates หรือ Reichsprelaten) ที่รวมกันแล้วมีเพียงเสียงเดียวในการออกเสียงในสภานิติบัญญัติของจักรวรรดิ (Reichstag) ต่อมาในปี..

ใหม่!!: รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และอิมพีเรียลแอบบีย์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดยุก

ก (duke) หรือ ดุ๊ก หรือ แฮร์ซอก (Herzog) เป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางในทวีปยุโรป เป็นตำแหน่งทางปกครองที่เป็นรองจากกษัตริย์ซึ่งปกครองดินแดนที่เรียกว่า "ดัชชี" ส่วนตำแหน่งดยุกในหมู่เกาะอังกฤษเป็นเพียงตำแหน่งที่ตั้งไว้เป็นเกียรติยศเท่านั้น ไม่มีอำนาจในทางปกครองเหมือนในประเทศยุโรปอื่นๆ ปัจจุบันตำแหน่งดยุก(ที่ไม่ใช่ราชวงศ์)ปรากฏอยู่อย่างเป็นทางการเฉพาะในสหราชอาณาจักรเท่านั้น ภริยาของดยุกมีตำแหน่งเป็น ดัชเชส (Duchess) ตามสิทธิของคู่สมรส อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ดยุกมีแต่บุตรสาว บุตรสาวจะได้ขึ้นสืบตำแหน่งแทนเมื่อดยุกถึงแก่อสัญกรรม ซึ่งบุตรสาวที่ได้สืบตำแหน่งดยุกนี้จะมีตำแหน่งเป็น ดัชเชส ด้วยเช่นกันแต่เป็นดัชเชสจากการสืบตระกูล ในกรณีนี้ สิทธิของคู่สมรสจะไม่ส่งผ่านไปยังสามี ยกตัวอย่าง ดยุกที่ 1 แห่งมาร์ลบะระ มีเพียงธิดาเท่านั้น เมื่อเขาถึงแก่อสัญกรรม ธิดาของเขาจึงขึ้นสืบตำแหน่งต่อเป็น ดัชเชสที่ 2 แห่งมาร์ลบะระ อย่างไรก็ตาม สามีของนางจะไม่มีสิทธิหรือเกียรติยศใดๆในมาร์ลบะระ เมื่อนางถึงแก่อสัญกรรม บุตรชายของนางจึงสืบตำแหน่งต่อเป็นดยุกที่ 3 แห่งมาร์ลบะระ คำว่าดยุกมาจากภาษาละตินว่า dux ซึ่งมีความหมายว่า 'ผู้นำ' คำนี้ถูกใช้ในยุคสาธารณรัฐโรมันเพื่อสื่อถึงผู้นำทางทหารที่ไม่มียศอย่างเป็นทางการ และต่อมาก็ใช้สื่อถึงผู้บัญชาการทหารประจำมณฑล.

ใหม่!!: รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และดยุก · ดูเพิ่มเติม »

แกรนด์ดยุก

แกรนด์ดยุก หรือแกรนด์ดุ๊ก (grand duke) ถ้าเป็นสตรีเรียกว่าแกรนด์ดัชเชส เป็นฐานันดรศักดิ์ในยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเจอร์แมนิกเพื่อหมายถึงประมุขในระดับมณฑล มีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชาแต่สูงกว่าดยุก แกรนด์ดยุกยังใช้ในหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส เพื่อหมายถึงแกรนด์พรินซ์ เพราะภาษาเหล่านี้ใช้ศัพท์ prince หมายถึงทั้งเจ้าชายราชนิกุลและเจ้าผู้ครองนครเหมือนกัน ขณะที่ภาษาเยอรมันเรียกเจ้าชายราชนิกุลว่า Prinz และเรียกเจ้าชายผู้ครองนครว่า Fürst เขตปกครองของแกรนด์ดยุกเรียกว่าราชรัฐชั้นแกรนด์ดัชชี ซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในโลก คือ ราชรัฐลักเซมเบิร์กซึ่งมีแกรนด์ดยุคอ็องรีที่ 1 เป็นเจ้าผู้ครองราชรั.

ใหม่!!: รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และแกรนด์ดยุก · ดูเพิ่มเติม »

โบฮีเมีย

ีเมีย (Čechy; Bohemia; Czechy) เป็นดินแดนในประวัติศาสตร์ของยุโรปกลาง กินเนื้อที่สองในสามทางตะวันตกของดินแดนเช็ก ซึ่งปัจจุบันคือประเทศเช็กเกีย ในความหมายที่กว้างกว่านั้น ในบางครั้งยังใช้เรียกเขตแดนเช็กทั้งหมด รวมถึงมอเรเวียและเช็กไซลิเซีย โดยเฉพาะในบริบททางประวัติศาสตร์ เช่น ราชอาณาจักรโบฮีเมี.

ใหม่!!: รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และโบฮีเมีย · ดูเพิ่มเติม »

เสรีนครจักรวรรดิ

รีนครของจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 1648 เสรีนครจักรวรรดิ (Free imperial city; freie Reichsstadt) หมายถึงนครที่ปกครองโดยจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์โดยตรง ในขณะที่เมืองอื่น ๆ ที่มิใช่เสรีนครจะถูกปกครองโดย เฟือสท์ ที่อาจจะเป็นดยุก หรือเจ้าชายมุขนายก (prince-bishop) นอกจากนั้น เสรีนครยังมีตัวแทนในสภาไรช์ของจักรวรรดิอีกด้วย นอกจากนั้นก็ยังมีความแตกต่างระหว่าง "จักรพรรดินคร" (Reichsstädte) กับ "เสรีนคร" (freie Städte) เสรีนครคือนครที่เดิมปกครองโดยเจ้าชายมุขนายก แต่ต่อมาได้รับอิสระจากการปกครองของบิชอปช่วงกลางสมัยกลาง (High Middle Ages) เมืองเหล่านี้ก็ได้แก่ บาเซิล (ค.ศ. 1000) เวิร์มส (ค.ศ. 1074) ไมนซ์ (ค.ศ. 1244 เปลี่ยนฐานะ ค.ศ. 1462) เรเกนส์บูร์ก (ค.ศ. 1245) สทราซบูร์ (ค.ศ. 1272) โคโลญ (ค.ศ. 1288) และชไปเออร์ (ค.ศ. 1294) แม้ว่ารายละเอียดทางกฎหมายของแต่ละรัฐเหล่านี้จะต่างกันไปแต่ "เสรีนครจักรวรรดิ" เดิมมีอภิสิทธิ์และสิทธิพิเศษต่างมากกว่า "นครจักรวรรดิ" ตัวอย่างเช่นในกรณีที่เกิดสงครามครูเสด เสรีนครจักรวรรดิก็จะมีความรับผิดชอบแต่เพียงให้การสนับสนุนทางการทูตและยุทธปัจจัยแก่ราชสำนักจักรพรรดิ แต่นครจักรวรรดิต้องเสียภาษีให้แก่จักรพรรดิและต้องส่งกองทัพไปช่วยในการทัพด้ว.

ใหม่!!: รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และเสรีนครจักรวรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้า

้า ในพระยศเจ้านายไทย หมายถึง พระมหากษัตริย์หรือเชื้อสายของพระมหากษัตริย์นับตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป ในระบบบรรดาศักดิ์ยุโรป เจ้า (ทั้งเจ้าชายและเจ้าหญิง) ถือเป็นฐานันดรศักดิ์สืบตระกูลในราชวงศ์สำหรับพระราชโอรสธิดาและพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์ เช่น เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ พระราชโอรสในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ “เจ้า” ยังอาจหมายถึงประมุขของรัฐขนาดเล็กที่เรียกว่า เจ้าผู้ครองนคร ด้วย เช่น เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ในยุโรป เจ้าชาย ยังหมายถึงเจ้าผู้ครองราชรัฐชั้นพรินซิพาลิตี หากเป็นสตรีก็เรียกว่าเจ้าหญิง เช่น เจ้าชายอัลแบร์ที่ 2 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก ในปัจจุบันมีราชรัฐชั้นพรินซิพาลิตีเหลือเพียง 3 แห่งในโลก คือ ราชรัฐอันดอร์รา ราชรัฐโมนาโก และราชรัฐลิกเตนสไตน.

ใหม่!!: รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายมุขนายก

ันน์ ออทโท ฟอน เกมมิงเงิน เจ้าชายบิชอปแห่งเอาก์สบูร์กในบาวาเรีย เจ้าชายมุขนายก (Prince-Bishop) เป็นมุขนายกที่มีศักดิ์เป็นเจ้าชายแห่งคริสตจักรโดยมีราชรัฐในปกครองอย่างน้อยหนึ่งแห่ง ทำให้เขตปกครองของพระองค์ทั้งราชรัฐและมุขมณฑลมีลักษณะทับซ้อนกันในพื้นที่เดียว กรณีที่เป็นอัครมุขนายกปกครองราชรัฐก็เรียกว่า เจ้าชายอัครมุขนายก ถ้าเป็นนักพรตปกครองราชรัฐเรียกว่าเจ้าชายอธิการอาราม (prince-abbot) ในยุโรปตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 จักรพรรดิโรมันเริ่มสูญเสียพระราชอำนาจเพราะถูกคุกคามจากพวกอนารยชน ดังนั้นมุขนายกซึ่งเป็นผู้นำฝ่ายคริสตจักรจึงต้องขึ้นมาทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการฝ่ายอาณาจักรแทน บางครั้งก็ถึงกับต้องนำทัพเองด้วยถ้าจำเป็น ในจักรวรรดิไบเซนไทน์ จักรพรรดิก็นิยมแต่งตั้งหรือพระราชทานสิทธิและหน้าที่พิเศษให้มุขนายกบางองค์ปกครองรัฐในมุขมณฑลของตนได้ ซึ่งถือเป็นแนวพัฒนาการของลัทธิจักรพรรดิสันตะปาปานิยมที่จะให้คริสตจักรตะวันออกมาทำงานให้กับจักรวรรดิด้วย เช่น มีอัครบิดรสากลที่ทำหน้าที่คล้ายเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศาสนาให้กับองค์จักรพรรดิ จักรวรรดิรัสเซียมีการดำเนินการยิ่งกว่านี้อีก กล่าวคือยุบตำแหน่งอัครบิดรแล้วให้คริสตจักรอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของฝ่ายอาณาจักร คำว่า ฮอคชติฟท์ ในภาษาเยอรมันก็หมายถึงอำนาจหน้าที่ฝ่ายอาณาจักรที่มุขนายกสามารถว่าการปกครองราชรัฐของตนได้ ถ้าเป็นของอัครมุขนายก เรียกว่า แอร์ซชติฟท.

ใหม่!!: รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และเจ้าชายมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

เทวาธิปไตย

ทวาธิปไตย (Theocracy) คือระบอบการปกครองที่มีพระเจ้าหรือเทพเป็นประมุข หรือในความหมายกว้าง ๆ คือระบอบการปกครองที่รัฐปกครองโดยอำนาจจากเทพ (divine guidance) หรือโดยผู้ที่ถือกันว่าได้รับอำนาจหรือการดลใจโดยตรงจากเทพ ในภาษากรีกคอยนี (Koine Greek) หรือภาษากรีกสามัญคำว่า “theocracy” มาจากคำว่า “kra′tos” โดย “the.os” หรือ “ปกครองโดยพระเจ้า” สำหรับผู้มีความศรัทธาแล้วระบบนี้ก็เป็นระบอบการปกครองที่ใช้อำนาจจากเทพในการปกครองมวลมนุษย์ในโลก ไม่โดยผู้ที่เป็นเทพกลับชาติมาเกิด (incarnation) ก็มักจะโดยผู้แทนของศาสนจักรที่มีอำนาจเหนืออาณาจักร รัฐบาลที่ปกครองโดยระบบเทวาธิปไตยปกครองโดยเทพธรรมนูญ (theonomy) ระบอบเทวาธิปไตยควรจะแยกจากระบบการปกครองอื่น ๆ ที่มีศาสนาประจำชาติ (state religion) หรือรัฐบาลที่มีอิทธิพลจากเทวปรัชญาหรือศีลธรรม หรือระบบราชาธิปไตยที่ปกครอง “โดยพระคุณของพระเจ้า” (By the Grace of God) เทวาธิปไตยอาจจะเป็นระบบการปกครองเดี่ยวที่ฐานันดรระดับต่าง ๆ ของรัฐบาลที่ปกครองโดยฝ่ายอาณาจักรเป็นฐานันดรระดับเดียวกันกับที่ใช้ในการปกครองในศาสนจักร หรืออาจจะแบ่งเป็นสองระบบที่แยกฐานันดรระหว่างอาณาจักรและศาสนจักร การปกครองเทวาธิปไตยเป็นระบบที่ใช้ในหลายศาสนาที่ได้แก่ ศาสนาขงจื๊อ ศาสนายูดาห์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู พุทธศาสนาบางนิกายเช่นทะไลลามะ และ คริสต์ศาสนาบางนิกายที่รวมทั้งโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์ และมอร์มอน ตัวอย่างของการปกครองระบบเทวาธิปไตยของคริสต์ศาสนาก็ได้แก่การปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์ระหว่าง..

ใหม่!!: รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และเทวาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

เครือราชรัฐ

แผนที่เครือราชรัฐ ค.ศ. 1512 ดินแดนที่ไม่อยู่ในกลุ่มเป็นสีขาว เครือราชรัฐ หรือ เครือรัฐของจักรวรรดิ (Reichskreis ไรช์สไคร์ส) หมายถึงกลุ่มรัฐในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยในการจัดระบบบริหารของราชสภา, เพื่อเป็นการจัดกลุ่มที่มีความเหมาะสมในการใช้ระบบการป้องกันทางทหารร่วมกัน และในการเก็บภาษีของหลวง นอกจากนั้นก็เป็นการจัดระบบภายใน “ระบบศาลหลวงแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์” (Reichskammergericht) ด้วย แต่ละเครือราชรัฐมี "สภาเครือราชรัฐ" (Kreistag) แต่สมาชิกของสภาเครือราชรัฐเพียงบางคนเท่านั้นที่เป็นสมาชิกของ “ราชสภา”.

ใหม่!!: รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และเครือราชรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

เคานต์

นต์ (Count) หรือ กราฟ (Graf) เป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางที่ใช้กันในยุโรป ภริยาของเคานต์เรียกว่า เคาน์เตส (Countess) เคานต์ปกครองดินแดนที่มีศักดิ์เป็นเคาน์ตี อำนาจในทางปกครองของเคานต์จะเรียกว่า "countship" ชื่อตำแหน่งมาจากภาษาฝรั่งเศสว่า "comte" ที่มาจากภาษาลาติน "comes" ที่แปลว่าเพื่อน (companion) และต่อมาหมายถึง "สหายของจักรพรรดิ หรือผู้แทนของจักรพรรดิ" ในอังกฤษไม่ใช้ตำแหน่งเคานต์ แต่ใช้ตำแหน่งที่เท่าเทียมกันที่เรียกว่า "เอิร์ล" แต่ภริยาของเอิร์ลก็ยังคงเรียกว่าเคาน์เตส ตำแหน่งที่เท่ากับเคานต์ในประเทศอื่น เช่น กราฟ (Graf) ในเยอรมัน, ฮะกุชะกุ (伯爵)ในญี่ปุ่น พระราชวงศ์ยุโรปมักจะใช้ตำแหน่ง "เคานต์" เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์เพื่อพระราชทานแก่สมาชิกในพระราชวงศ์โดยเฉพาะ ตำแหน่งกิตติมศักดิ์นี้จะไม่มีอำนาจในทางปกครอง ในสหราชอาณาจักร "เอิร์ล" มักจะเป็นบรรดาศักดิ์ที่ได้แก่บุตรชายคนแรกของดยุก.

ใหม่!!: รัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และเคานต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Imperial StateImperial estateReichsständeราชรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ราชรัฐในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »