โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ระเบียงเหนือทางเดินข้างและอาสนวิหารแม็ส

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ระเบียงเหนือทางเดินข้างและอาสนวิหารแม็ส

ระเบียงเหนือทางเดินข้าง vs. อาสนวิหารแม็ส

ระเบียงเหนือทางเดินข้างเหนือซุ้มโค้งชั้นล่างและภายใต้ช่องรับแสงที่แอบบีมาล์มสบรีในวิลท์เชอร์ในอังกฤษ เป็นระเบียงที่มีซุ้มโค้งแต่งด้วยโค้งหยักแบบนอร์มัน ภายในโค้งใหญ่ก็มีซุ้มโค้งเล็กรับอีกสี่ซุ้ม แอบบีมาล์มสบรีมองจากด้านนอกแสดงตำแหน่งของระเบียงแคบระหว่างลูกศรที่อยู่เหนือช่องทางเดินข้างและช่องรับแสง ระเบียงเหนือทางเดินข้างผนังเป็นกระจกที่มหาวิหารโคโลญสองข้างช่องตกแต่งเป็นภาพวาดเทวดา ระเบียงเหนือทางเดินข้าง หรือ ระเบียงแนบ (triforiumBritannia.com: triforium) คือระเบียงแคบที่สร้างภายในความหนาของผนังด้านในที่ตั้งอยู่ทางผนังด้านข้างเหนือบริเวณกลางโบสถ์หรือมุขข้างโบสถ์ของคริสต์ศาสนสถาน ตำแหน่งอาจจะเป็นระดับเดียวกับช่องรับแสงหรือเป็นชั้นที่แยกออกมาเป็นชั้นต่างหากอยู่ใต้ช่องรับแสง ระเบียงเหนือทางเดินข้างอาจจะมีผนังเป็นแก้วแทนที่จะเป็นหิน ที่มาของคำว่า “ระเบียงเหนือทางเดินข้าง” ที่มาจากภาษาอังกฤษ “Triforium” ไม่เป็นที่ทราบแต่สันนิษฐานว่าอาจจะมาจากคำว่า “thoroughfarum” เพราะเป็นทางเดินจากหัวตึกไปถึงท้ายตึก อาจจะเป็นคำที่แผลงมาจากภาษาละตินว่า “tres” ที่แปลว่า “สาม” และ “foris” ที่แปลว่า “ประตู” หรือ “ทางเข้า” อาจจะเป็นได้ว่าทางผ่านอาจจะเคยเป็นลักษณะสามเหลี่ยมตามรูปทรงของหลังคาที่ลาดลงมาด้านหนึ่ง (ดูรูประหว่างลูกศร) ตัวอย่างแรกของระเบียงเหนือทางเดินข้างพบในบาซิลิกาของผู้นอกศาสนาที่เป็นระเบียงชั้นบนสำหรับการสนทนาหรือการดำเนินธุรกิจ ในสมัยคริสเตียนยุคแรกและในคริสต์ศาสนสถานของอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ระเบียงเหนือทางเดินข้างมักจะใช้สำหรับสตรี ในสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และสถาปัตยกรรมกอธิคระเบียงเหนือทางเดินข้างอาจจะเป็นระเบียงกว้างบนผนังด้านข้างของช่องทางเดินข้างหรืออาจจะเป็นเพียงกว้างเกือบเท่ากับความหนาของผนัง ระเบียงเหนือทางเดินข้างเป็นองค์ประกอบสำคัญของบริเวณกลางโบสถ์ของมหาวิหารหรือคริสต์ศาสนสถานที่เพิ่มความสำคัญให้แก่ซุ้มบริเวณกลางโบสถ์ชั้นล่าง ในด้านการตกแต่งก็อาจจะมีการใช้บัวตกแต่งรอบโค้งหรือรูปแกะสลัก โดยเฉพาะการตกแต่งช่องตกแต่ง (Spandrel) ของส่วนที่เป็นสามเหลี่ยมสองข้างโค้ง เช่นในการตกแต่งระเบียงเหนือทางเดินข้างของมหาวิหารลิงคอล์น ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 รูปทรงของหลังคาเหนือช่องทางเดินข้างแบนราบขึ้นที่ทำให้การสร้างระเบียงเหนือทางเดินข้างที่ต้องใช้ความสูงหายไป ระเบียงเหนือทางเดินข้างอาจจะใช้เป็นทางเดินหรือสำหรับผู้สังเกตการณ์ในพิธีที่เกิดขึ้นในมหาวิหาร หรืออาจจะใช้โดยนักบวชในการทำงานที่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้าง บางครั้งระเบียงแคบก็มีประโยชน์ในทางโครงสร้างของสถาปัตยกรรมเมื่อมีการใช้ค้ำยันแบบปีกที่ช่วยดึงหรือแบ่งเบาน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างจากผนังที่สร้างผ่านระเบียงแคบและกางออกไปจากตัวสิ่งก่อสร้าง. อาสนวิหารแม็ส (Cathédrale de Metz) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญสเทเฟนแห่งแม็ส (Cathédrale Saint Étienne de Metz) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลแม็ส ตั้งอยู่ที่เมืองแม็ส จังหวัดมอแซล แคว้นกร็องแต็สต์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญสำคัญคือนักบุญสเทเฟน ห้องเก็บสมบัติของอาสนวิหารได้สะสมของมีค่ามานานนับพันปี โดยเป็นของสะสมของมุขมณฑลแม็สที่รวมถึงผ้าคลุมแท่นบูชาและสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ อาสนวิหารแม็สถือเป็นหนึ่งในอาสนวิหารที่มีโถงทางเดินโบสถ์ที่สูงที่สุดแห่งหนี่งของโลก และยังมีชื่อเล่นว่า "โคมไฟแห่งพระผู้เป็นเจ้า" (La Lanterne du Bon Dieu) อันเนื่องมาจากมีโครงสร้างหน้าต่างที่เป็นงานกระจกสีมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกJolin J.L. (2001) La lanterne du Bon Dieu.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ระเบียงเหนือทางเดินข้างและอาสนวิหารแม็ส

ระเบียงเหนือทางเดินข้างและอาสนวิหารแม็ส มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บริเวณกลางโบสถ์ช่องทางเดินมหาวิหาร (ศาสนาคริสต์)มุขข้างโบสถ์สถาปัตยกรรมกอทิกผังอาสนวิหาร

บริเวณกลางโบสถ์

ริเวณกลางโบสถ์แบบกอธิคมองไปสู่บริเวณพิธีทางมุขตะวันออกภายในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์และเซนต์พอลแห่งนองซ์ในประเทศฝรั่งเศส แผนผังแสดงส่วนที่เป็น “บริเวณกลางโบสถ์” ที่เป็นสีชมพู บริเวณกลางโบสถ์ยุคต้นเรอเนสซองซ์ในบาซิลิกาซานโลเร็นโซโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี - คริสต์ทศวรรษ 1420 บริเวณกลางโบสถ์ (nave) คือช่องทางเดิน (aisle) ที่ตั้งอยู่กลางคริสต์ศาสนสถานที่เริ่มตั้งแต่จากประตูทางเข้าไปสู่บริเวณพิธีและแท่นบูชาเอก ที่บางครั้งก็อาจจะขนาบด้วยช่องทางเดินข้างซ้ายขวาข้างละช่องหรืออาจจะมากกว่าก็ได้ถ้าเป็นวัดใหญ่ๆ เช่นมหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์กที่มีช่องทางเดินทั้งหมดห้าช่องที่ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ที่ขนาบด้วยช่องทางเดินข้างๆ ละสองช่อง.

บริเวณกลางโบสถ์และระเบียงเหนือทางเดินข้าง · บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารแม็ส · ดูเพิ่มเติม »

ช่องทางเดิน

“ช่องทางเดิน” ของกุดังเก็บสินค้าคอสท์โคที่ซานฟรานซิสโก ช่องทางเดิน (aisle) โดยทั่วไปหมายถึงช่องว่างที่ใช้เป็นทางเดินระหว่างแนวที่นั่ง, ผนัง, แนวแสดงหรือเก็บสินค้า หรืออื่นๆ ช่องทางเดินอาจจะปรากฏในสถาปัตยกรรมเช่นคริสต์ศาสนสถาน (เช่นในมหาวิหาร), โรงละคร, ห้องประชุม, ห้องเรียน, ศาล, ซูเปอร์มาร์เก็ต, ตลาด, โรงงาน, รถประจำทาง และอื่นๆ ในกุดังเก็บสินค้าหรือโรงงานสองข้างของช่องทางเดินอาจจะเป็นชั้นที่ต่อขึ้นสูงสองข้างสำหรับเก็บสินค้า การจัดวางองค์ประกอบภายในอาคารที่วางสิ่งของหรือเครื่องมือเป็นแนวโดยมีช่องว่างระหว่างแนวที่ใช้เป็นทางเดิน ช่องนี้จะเรียกว่า “ช่องทางเดิน” เช่นในสถานที่สำหรับออกกำลังกายที่จัดเครื่องออกกำลังเป็นแนวแยกกันโดย ช่องทางเดิน “ช่องทางเดิน” ต่างจาก “ระเบียงทางเดิน” (corridor) หรือโถงทางเดิน (hallway), “ทางเท้า” (footpath/pavement/sidewalk), “ทางเดินนอกสถานที่” (trail) และ “ทาง” (path) หรือ โถงภายในอาคาร (enclosed หรือ open area).

ช่องทางเดินและระเบียงเหนือทางเดินข้าง · ช่องทางเดินและอาสนวิหารแม็ส · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหาร (ศาสนาคริสต์)

มหาวิหาร (basilica) คำว่า “basilica” มาจากภาษากรีก “Stoa Basileios” ที่เดิมใช้ในการบรรยายสิ่งก่อสร้างสาธารณะในโรมโบราณ (เช่นในกรีซที่ส่วนใหญ่เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการศาล) ที่มักจะตั้งอยู่ในจัตุรัส (Roman forum) ของเมืองโรมัน ในเมืองกรีกมหาวิหารสาธารณะเริ่มสร้างกันราวสองร้อยปีก่อนคริสต์ศักราช นอกจากนั้น “มหาวิหาร” ก็ยังมีความหมายทางศาสนา ซากมหาวิหารตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ก็มีการพบมหาวิหารนีโอไพธากอเรียนที่ปอร์ตามัจโจเร (Porta Maggiore) ในปี..

มหาวิหาร (ศาสนาคริสต์)และระเบียงเหนือทางเดินข้าง · มหาวิหาร (ศาสนาคริสต์)และอาสนวิหารแม็ส · ดูเพิ่มเติม »

มุขข้างโบสถ์

มุขข้างโบสถ์ หรือ แขนกางเขน (transept) คือเป็นบริเวณทางขวางที่ตัดกับทางเดินกลางของสิ่งก่อสร้างที่มีผังทรงกางเขนในคริสต์ศาสนสถานที่เป็นสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และกอธิค มุขข้างโบสถ์แยกทางเดินกลางจากบริเวณศักดิ์สิทธิ์ที่รวมทั้งมุขตะวันออก บริเวณร้องเพลงสวด ชาเปลดาวกระจาย และบริเวณสงฆ์ มุขข้างโบสถ์ตัดกับทางเดินกลางตรงจุดตัด ที่อาจจะเป็นที่ตั้งของหอสูงเช่นที่มหาวิหารซอลส์บรีหรือโดม.

มุขข้างโบสถ์และระเบียงเหนือทางเดินข้าง · มุขข้างโบสถ์และอาสนวิหารแม็ส · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ระเบียงเหนือทางเดินข้างและสถาปัตยกรรมกอทิก · สถาปัตยกรรมกอทิกและอาสนวิหารแม็ส · ดูเพิ่มเติม »

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

ผังอาสนวิหารและระเบียงเหนือทางเดินข้าง · ผังอาสนวิหารและอาสนวิหารแม็ส · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ระเบียงเหนือทางเดินข้างและอาสนวิหารแม็ส

ระเบียงเหนือทางเดินข้าง มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ อาสนวิหารแม็ส มี 50 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 9.23% = 6 / (15 + 50)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ระเบียงเหนือทางเดินข้างและอาสนวิหารแม็ส หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »