เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ระยะฟักและโรคหัดเยอรมัน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ระยะฟักและโรคหัดเยอรมัน

ระยะฟัก vs. โรคหัดเยอรมัน

ระยะฟักตัวคือช่วงเวลาระหว่างการสัมผัสสิ่งที่ทำให้เกิดโรค (เช่น เชื้อก่อโรค สารเคมี หรือรังสี เป็นต้น) กับการปรากฏอาการของโรค ในกรณีโรคติดเชื้อ ระยะฟักตัวคือระยะเวลาที่เชื้อเพิ่มจำนวนจนถึงจุดที่จะทำให้เกิดอาการในผู้ป่วยได้. รคหัดเยอรมัน หรือโรคเหือด (Rubella, German measles) หรือโรคหัดสามวัน (three-day measles) เป็นการติดเชื้อเกิดจากไวรัสหัดเยอรมัน โรคนี้มักไม่ร้ายแรงโดยผู้ป่วยครึ่งหนึ่งไม่รู้สึกตัวว่าป่วย ผื่นอาจเริ่มมีราวสองสัปดาห์หลังสัมผัสเชื้อและอยู่นานสามวัน ปกติเริ่มบนหน้าแล้วแพร่ไปร่างกายที่เหลือ ผื่นของโรคหัดเยอรมันสีไม่สดเท่าผื่นของโรคหัดและบ้างคัน พบปุ่มน้ำเหลืองบวมได้ทั่วไปและอาจอยู่นานหลายสัปดาห์ นอกจากนี้ อาจมีไข้ เจ็บคอและความล้า ในผู้ใหญ่ อาการปวดข้อพบได้บ่อย อาการแทรกซ้อนอาจรวมปัญหาเลือดออก อัณฑะบวม และการอักเสบของเส้นประสาท การติดเชื้อระหว่างช่วงต้นของการตั้งครรภ์อาจส่งผลให้เด็กเกิดมามีกลุ่มอาการโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิด (CRS) หรือแท้ง อาการของ CRS มีปัญหาเกี่ยวกับตา เช่น ต้อกระจก หู เช่น หูหนวก หัวใจและสมอง พบปัญหาน้อยหลังสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ โรคหัดเยอรมันปกติแพร่ผ่านอากาศโดยทางการไอของผู้ที่ติดเชื้อ บุคคลแพร่เชื้อได้ระหว่างหนึ่งสัปดาห์ก่อนและหลังผื่นปรากฏ ทารกที่เป็น CRS อาจแพร่ไวรัสได้กว่าหนึ่งปี มีเฉพาะมนุษย์ที่ติดเชื้อ แมลงไม่แพร่โรค เมื่อฟื้นตัวแล้ว บุคคลจะมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อในอนาคต มีการทดสอบซึ่งสามารถพิสูจน์ยืนยันภูมิคุ้มกันได้ ยืนยันการวินิจฉัยโดยการพบไวรัสในเลือด คอหรือปัสสาวะ การทดสอบเลือดหาแอนติบอดีอาจเป็นประโยชน์ด้วย โรคหัดเยอรมันป้องกันได้ด้วยวัคซีนโรคหัดเยอรมันเพียงขนาดยาเดี่ยว - วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ระยะฟักและโรคหัดเยอรมัน

ระยะฟักและโรคหัดเยอรมัน มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): โรคหัด

โรคหัด

รคหัด (measles) เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่งที่ติดต่อกันได้ง่ายมาก เกิดจากเชื้อไวรัสหัด ในระยะแรกผู้ป่วยจะมีไข้ ซึ่งมักเป็นไข้สูง (>40 องศาเซลเซียส) ไอ น้ำมูกไหลจากเยื่อจมูกอักเสบ และตาแดงจากเยื่อตาอักเสบ ในวันที่ 2-3 จะเริ่มมีจุดสีขาวขึ้นในปาก เรียกว่าจุดของคอปลิก จากนั้นในวันที่ 3-5 จะเริ่มมีผื่นเป็นผื่นแดงแบน เริ่มขึ้นที่ใบหน้า จากนั้นจึงลามไปทั่วตัว อาการมักเริ่มเป็น 10-12 หลังจากรับเชื้อ และมักเป็นอยู่ 7-10 วันสามารถพบภาวะแทรกซ้อนได้ราว 30% ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้แก่ ท้องร่วง ตาบอด สมองอักเสบ ปอดอักเสบ และอื่นๆ โรคนี้เป็นคนละโรคกับโรคหัดเยอรมันและหัดกุหลาบ โรคหัดติดต่อทางอากาศ เชื้อหัดจะออกมาพร้อมกับการไอและการจามของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังอาจติดต่อผ่านการสัมผัสน้ำลายหรือน้ำมูกของผู้ป่วยได้ด้วย หากมีผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันและอยู่ในที่เดียวกันกับผู้ติดเชื้อ จะเกิดการติดเชื้อถึงเก้าในสิบ ผู้ติดเชื้อจะสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ตั้งแต่ 4 วันก่อนมีอาการ ไปจนถึง 4 วัน หลังเริ่มมีผื่น.

ระยะฟักและโรคหัด · โรคหัดและโรคหัดเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ระยะฟักและโรคหัดเยอรมัน

ระยะฟัก มี 22 ความสัมพันธ์ขณะที่ โรคหัดเยอรมัน มี 12 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 2.94% = 1 / (22 + 12)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ระยะฟักและโรคหัดเยอรมัน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: