โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ระบอบเก่าและราชาธิปไตย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ระบอบเก่าและราชาธิปไตย

ระบอบเก่า vs. ราชาธิปไตย

ระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในฐานะ “พระสุริยเทพ” ระบอบเก่า หรือ อองเซียงเรฌีม (Ancien Régime) โดยทั่วไปหมายถึงระบบแบบราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตย สังคม และการเมืองที่ใช้ในฝรั่งเศสภายใต้ราชวงศ์วาลัวและราชวงศ์บูร์บงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึง 18 โครงสร้างทางการบริหารและทางการสังคมของระบอบเก่าเป็นผลมาจากระบบการบริหารของสถาบันพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในสมัยกลางที่สิ้นสุดในการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. 1789 ระบอบเก่าของประเทศอื่น ๆ ในยุโรปก็มีประวัติความเป็นมาคล้ายคลึงกัน แต่มีผลบั้นปลายที่แตกต่างกันบางประเทศก็สิ้นสุดลงด้วยระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางประเทศก็แตกแยกออกไปจากสงครามและการปฏิวัติ อำนาจระบอบเก่าอยู่บนพื้นฐานสามประการ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ นักบวช และชนชั้นขุนนาง ฐานันดรแห่งราชอาณาจักร (Estates of the realm) ก็แบ่งออกเป็นสามเช่นกัน คือ ฐานันดรที่หนึ่ง (First Estate) คือนักบวชโรมันคาทอลิก, ฐานันดรที่สอง (Second Estate) คือชนชั้นขุนนาง และ ฐานันดรที่สาม (Third Estate) คือสามัญชน โดยทั่วไปแล้วระบอบเก่าหมายถึงระบอบการปกครองใดใดที่มีลักษณะตามที่กล่าวแล้ว ระบอบเก่ารักษาลักษณะหลายประการของระบบเจ้าขุนมูลนายที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8 โดยเฉพาะในการใช้อภิสิทธิ์ของขุนนางและชนชั้นเจ้านายที่สนับสนุนโดยปรัชญาเทวสิทธิราชย์ ความแตกต่างอยู่ตรงที่อำนาจการปกครองที่เคยเป็นของเจ้าครองนครต่างๆ มาก่อนกลายเป็นอำนาจของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เพิ่มมากขึ้น วลีนี้ใช้มาตั้งแต่ยุคเรืองปัญญา (พบในเอกสารครั้งแรกในภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1794) ในความหมายในทางลบ เช่นเดียวกับการใช้คำว่า ยุคมืด ที่กลายมาเรียกกันว่า สมัยกลาง แนวคิดของการใช้คำว่าระบอบเก่าเป็นการแฝงความหมายเป็นนัยยะว่าเป็นระบอบที่ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติ และควรจะเปลี่ยนแปลงไปเป็น ระบอบใหม่ (New Order) คำว่า ระบอบเก่า คิดขึ้นโดยนักปฏิวัติฝรั่งเศสเพื่อเผยแพร่สร้างความเชื่อถือในเหตุผลของการปฏิวัติและทำลายชื่อเสียงของระบอบการปกครองที่เป็นอยู่ ซึ่งเป็นการใช้ในทางที่มีอคติในการบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ สำหรับนักประพันธ์บางคนคำนี้เป็นคำที่ทำให้เกิดความรำลึกถึงเหตุการณ์บางอย่าง เช่นที่ตาล์ลีย์รองด์ (Talleyrand) กล่าวว่า: ภาษาสเปนใช้คำว่า “Antiguo Régimen” แต่แม้ว่าสเปนจะได้รับผลกระทบกระเทือนจากการปฏิวัติฝรั่งเศสและผลที่ตามต่อมาแต่ความเปลี่ยนแปลงในสเปนไม่รุนแรงเท่ากับการเปลี่ยนแปลงในฝรั่ง. ราชาธิปไตย คือ การที่มีประมุขของรัฐเป็นกษัตริย์ แบ่งออกตามขอบเขต พระราชอำนาจเป็น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ระบอบเก่าและราชาธิปไตย

ระบอบเก่าและราชาธิปไตย มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญสมบูรณาญาสิทธิราชย์เทวสิทธิราชย์

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของ (constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule), excerpted from การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) สาธารณรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary monarchy) นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบกฮอต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ นับแต่เดือนกรกฎาคม..

ระบอบเก่าและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ราชาธิปไตยและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

สมบูรณาญาสิทธิราชย์

มบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย กล่าวคือ ที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คำสั่ง ความต้องการต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมายอมร รักษาสัตย์, กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ โดยไม่มีกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใด ๆ จะห้ามปรามได้ แม้องค์กรทางศาสนาอาจทัดทานกษัตริย์จากการกระทำบางอย่างและองค์รัฏฐาธิปัตย์ (กษัตริย์) นั้นจะถูกคาดหวังว่าจะปฏิบัติตามธรรมเนียม แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด ๆ ที่จะอยู่เหนือกว่าคำชี้ขาดของรัฏฐาธิปัตย์ ตามทฤษฎีพลเมืองนั้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มอบความไว้วางใจทั้งหมดให้กับพระเจ้าแผ่นดินที่ดีพร้อมทางสายเลือดและได้รับการเลี้ยงดูฝึกฝนมาอย่างดีตั้งแต่เกิด ในทางทฤษฎี กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะมีอำนาจทั้งหมดเหนือประชาชนและแผ่นดิน รวมทั้งเหนืออภิชนและบางครั้งก็เหนือคณะสงฆ์ด้วย ส่วนในทางปฏิบัติ กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มักจะถูกจำกัดอำนาจ โดยทั่วไปโดยกลุ่มที่กล่าวมาหรือกลุ่มอื่น กษัตริย์บางพระองค์ (เช่นจักรวรรดิเยอรมนี ค.ศ. 1871–1918) มีรัฐสภาที่ไม่มีอำนาจหรือเป็นเพียงสัญลักษณ์ และมีองค์กรบริหารอื่น ๆ ที่กษัตริย์สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยุบเลิกได้ตามต้องการ แม้จะมีผลเท่ากับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่โดยทางเทคนิคที่เป็นไปได้แล้ว นี่คือราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) เนื่องจากการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายพื้นฐานของประเทศ ประเทศที่ใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบันคือ ซาอุดีอาระเบีย บรูไน โอมาน สวาซิแลนด์ กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมทั้ง นครรัฐวาติกัน ด้ว.

ระบอบเก่าและสมบูรณาญาสิทธิราชย์ · ราชาธิปไตยและสมบูรณาญาสิทธิราชย์ · ดูเพิ่มเติม »

เทวสิทธิราชย์

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ในเครื่องทรงพระอาทิตย์ เทวสิทธิราชย์ (Divine Right of Kings) เป็นหลักความเชื่อทางการเมืองและทางศาสนาของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ว่าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงอยู่ภายใต้อำนาจใดภายในโลกียวิสัยเพราะทรงเป็นผู้ที่ได้รับอำนาจโดยตรงจากพระเจ้า ฉะนั้นพระมหากษัตริย์จึงไม่ทรงอยู่ภายใต้อำนาจของประชาชน ขุนนาง หรือสถาบันใดใดทั้งสิ้น (ทั้งนี้ผู้นับถือนิกายโปรแตสแตนท์ส่วนมากเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ไม่อยู่ใต้อำนาจพระศาสนจักรอีกด้วย ส่วนผู้นับถือนิกายคาทอลิกถือว่าพระศาสนจักรไม่ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์) หลักความเชื่ออันนี้เป็นนัยว่าความพยายามในการโค่นล้มราชบัลลังก์หรือความพยายามในการจำกัดสิทธิของพระมหากษัตริย์เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง และเป็นการขัดต่อพระประสงค์ของพระเจ้า มีผลด้านการเมืองคือทำให้ประชาชนเข้าใจว่าผู้ทำพยายามกระทำการดังกล่าวเป็นพวกนอกรีต หลักความเชื่อนี้มีมาตั้งแต่ยุคกลางที่กล่าวว่าพระเจ้าทรงมอบอำนาจทางโลกให้แก่พระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับที่ทรงมอบอำนาจทางธรรมให้แก่สถาบันศาสนาโดยมีประมุขเป็นพระสันตะปาปา ผู้ประพันธ์ทฤษฎีนี้คือฌอง โบแดง (Jean Bodin) ผู้เขียนจากการตีความหมายของกฎหมายโรมัน เมื่อการขยายตัวของรัฐอิสระต่างๆ และการปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์มีอิทธิพลมากขึ้น ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ก็กลายมาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสนับสนุนในการให้เหตุผลในเอกสิทธิ์ในการปกครองของพระมหากษัตริย์ทั้งในด้านการเมืองและทางด้านศาสนา ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” ที่สนับสนุนโดยสถาบันโรมันคาทอลิกมามีบทบาทสำคัญระหว่างรัชสมัยการปกครองของสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ (ค.ศ. 1603–1625) และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1643–1715) ทฤษฎี “เทวสิทธิ์” มาเริ่มลดความสำคัญลงในระหว่างสมัยการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ของอังกฤษระหว่างปี..

ระบอบเก่าและเทวสิทธิราชย์ · ราชาธิปไตยและเทวสิทธิราชย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ระบอบเก่าและราชาธิปไตย

ระบอบเก่า มี 18 ความสัมพันธ์ขณะที่ ราชาธิปไตย มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 11.11% = 3 / (18 + 9)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ระบอบเก่าและราชาธิปไตย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »