โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ระบอบสหพันธรัฐและสหพันธ์สาธารณรัฐ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ระบอบสหพันธรัฐและสหพันธ์สาธารณรัฐ

ระบอบสหพันธรัฐ vs. สหพันธ์สาธารณรัฐ

ระบอบสหพันธรัฐ (Federalism) เป็นแนวคิดการเมืองซึ่งกลุ่มสมาชิกผูกมัดเข้าด้วยกันโดยข้อตกลงร่วมกัน โดยมีหัวหน้าที่เป็นตัวแทนซึ่งมีสิทธิปกครอง คำว่า "ระบอบสหพันธรัฐ" ยังใช้อธิบายระบบของรัฐบาลซึ่งรัฐธรรมนูญได้แบ่งแยกอำนาจอธิปไตยระหว่างฝ่ายปกครองส่วนกลางกับหน่วยการเมืองที่เป็นองค์ประกอบ (เช่น รัฐหรือมณฑล) ระบอบสหพันธรัฐเป็นระบบซึ่งตั้งอยู่บนการปกครองแบบประชาธิปไตยและสถาบันซึ่งอำนาจในการปกครองนั้นแบ่งออกเป็นของรัฐบาลแห่งชาติและรัฐบาลระดับมณฑลหรือรัฐ ก่อให้เกิดเป็นสิ่งที่มักเรียกว่า สหพันธรัฐ ผู้เสนอมักถูกเรียกว่า ผู้สนับสนุนสหพันธ์ (federalist) ในยุโรป "ผู้สนับสนุนสหพันธ์" บ้างใช้อธิบายผู้ที่นิยมรัฐบาลสหพันธ์ร่วม โดยมีอำนาจกระจายสู่ระดับภูมิภาค ชาติและเหนือชาติ ผู้สนับสนุนสหพันธ์ยุโรปส่วนมากต้องการพัฒนาการนี้ให้ดำเนินต่อไปภายในสหภาพยุโรป ระบอบสหพันธรัฐยุโรปถือกำเนิดขึ้นในยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หนึ่งในการริเริ่มที่สำคัญกว่า คือ สุนทรพจน์ของวินสตัน เชอร์ชิลล์ในซูริค เมื่อ.. หพันธ์สาธารณรัฐเป็นสหพันธรัฐของรัฐที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย การใช้คำว่า "สาธารณรัฐ" ไม่คงเส้นคงวา ทว่า ณ ใจกลาง ความหมายตามอักษรของคำว่า "สาธารณรัฐ" เมื่อใช้อ้างอิงถึงระบอบการปกครองหมายถึง "รัฐซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนหรือผู้แทนประชาชน มิใช่พระมหากษัตริย์หรือจักรพรรดิ; ประเทศที่ไม่มีพระมหากษัตริย์" ในสหพันธ์สาธารณรัฐ มีการแยกใช้อำนาจระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลของเขตการปกครองย่อยหนึ่ง ๆ แม้ว่าสหพันธ์สาธารณรัฐแต่ละแห่งจัดการการแยกใช้อำนาจนี้ต่างกัน แต่ปัญหาร่วมที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและการป้องกันประเทศ และนโยบายการเงินปกติจัดการที่ระดับสหพันธรัฐ ขณะที่ปัญหาอย่างการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานและนโยบายการศึกษาปกติจัดการที่ระดับภูมิภาคหรือท้องถิ่น ทว่า มีความเห็นแตกต่างกันว่าปัญหาใดควรเป็นอำนาจหน้าที่ของสหพันธรัฐ และเขตการปกครองปกติมีอำนาจอธิปไตยในบางปัญหาซึ่งรัฐบาลกลางไม่มีเขตอำนาจ ฉะนั้น สหพันธ์สาธารณรัฐจึงนิยามขัดต่อสาธารณรัฐรัฐเดี่ยว (unitary republic) ดี่ที่สุด ซึ่งรัฐบาลกลางมีอำนาจอธิปไตยเต็มเหนือทุกส่วนของชีวิตการเมือง ข้อแตกต่างทางการเมืองระหว่างสหพันธ์สาธารณรัฐและสหพันธรัฐอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหพันธ์ราชาธิปไตย (federal monarchies) ซึ่งมีระบบการปกครองแบบรัฐสภา ส่วนใหญ่เป็นประเด็นของรูปแบบทางกฎหมายมากกว่าสาระทางการเมือง เพราะสหพันธรัฐส่วนมากมีการปฏิบัติหรือโครงสร้างเป็นแบบประชาธิปไตยอยู่แล้ว ทว่า ในบางสหพันธ์ราชาธิปไตย เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยึดหลักการอื่นนอกเหนือจากประชาธิปไต.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ระบอบสหพันธรัฐและสหพันธ์สาธารณรัฐ

ระบอบสหพันธรัฐและสหพันธ์สาธารณรัฐ มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สหพันธรัฐประชาธิปไตย

สหพันธรัฐ

แผนที่ประเทศสหพันธรัฐอย่างเป็นทางการ รัฐเดี่ยว สหพันธรัฐ (federation) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า รัฐสหพันธ์ เป็นรัฐอธิปไตยประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะของสหภาพรัฐหรือภูมิภาคที่ปกครองตนเองบางส่วน ที่รวมเข้าด้วยกันโดยรัฐบาลกลาง หรือรัฐบาลสหพันธ์ ในสหพันธรัฐ สถานะการปกครองตนเองของรัฐองค์ประกอบนั้นตามแบบได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยการตัดสินใจฝ่ายเดียวของรัฐบาลกลาง ระบอบการปกครองหรือโครงสร้างตามรัฐธรรมนูญที่พบในสหพันธรัฐนั้นทราบกันในชื่อ ระบอบสหพันธรัฐ เป็นระบอบการปกครองที่ตรงข้ามกับรูปแบบรัฐอีกประเภทหนึ่ง คือ รัฐเดี่ยว ตัวอย่างสหพันธรัฐ เช่น ประเทศเยอรมนี ซึ่งประกอบด้วยสิบหกรัฐ (Länder) ที่รวมเข้ากันเป็นสหพันธ์ สหพันธรัฐนั้นอาจประกอบไปด้วยประชาชนที่หลากหลายทางเชื้อชาติ และมีพื้นที่กว้างใหญ่ (ดังเช่น ความหลากหลายอย่างที่สุดในอินเดีย) แม้สหพันธรัฐจะไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยทั้งสองประการที่กล่าวมาก็ตาม สหพันธรัฐนั้นส่วนมากก่อตั้งขึ้นจากความตกลงแต่เดิมระหว่างรัฐอธิปไตยจำนวนหนึ่งโดยตั้งอยู่บนความกังวลหรือผลประโยชน์ร่วมกัน ความตกลงแรกเริ่มได้สร้างเสถียรภาพซึ่งเกื้อหนุนผลประโยชน์ร่วมกันข้ออื่น นำดินแดนที่แตกต่างกันสิ้นเชิงมาใกล้ชิดกัน และให้ดินแดนทั้งหมดมีหลักความเห็น (common ground) กว่าแต่ก่อน ในขณะเดียวกัน ความตกลงนี้ได้รับการรับรองและมีการจัดขบวนการเพื่อผสานรวมกันให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น แต่ก็มีบางช่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปัจจัยวัฒนธรรมร่วมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เชื้อชาติหรือภาษา บางขั้นตอนในแบบนี้ถูกเร่งให้เร็วขึ้นหรือบีบอัด องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศสหพันธรัฐ คือ องค์ประชุมกลุ่มประเทศสหพันธรัฐ (Forum of Federations) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงออตตาวา รัฐออนตาริโอ ประเทศแคนาดา ซึ่งมีจุดประสงค์ในการแบ่งปันแนวคิดและแนวปฏิบัติในการจัดการระบบการปกครองแบบสหพันธ์ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 9 ประเท.

ระบอบสหพันธรัฐและสหพันธรัฐ · สหพันธรัฐและสหพันธ์สาธารณรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ประชาธิปไตยและระบอบสหพันธรัฐ · ประชาธิปไตยและสหพันธ์สาธารณรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ระบอบสหพันธรัฐและสหพันธ์สาธารณรัฐ

ระบอบสหพันธรัฐ มี 12 ความสัมพันธ์ขณะที่ สหพันธ์สาธารณรัฐ มี 5 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 11.76% = 2 / (12 + 5)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ระบอบสหพันธรัฐและสหพันธ์สาธารณรัฐ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »