โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ระบบรับความรู้สึกทางกายและสภาพพลาสติกข้ามระบบประสาท

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ระบบรับความรู้สึกทางกายและสภาพพลาสติกข้ามระบบประสาท

ระบบรับความรู้สึกทางกาย vs. สภาพพลาสติกข้ามระบบประสาท

การเห็นบกพร่อง สัมผัสเป็นประสาทสัมผัสที่สำคัญเพื่อรับรู้สิ่งแวดล้อม ระบบรับความรู้สึกทางกาย"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ somato-gnosis ว่า "ความรู้สึก-ทางกาย" และของ sensory ว่า "-รับความรู้สึก" แต่สิ่งที่ตีพิมพ์ในวรรณกรรมมักใช้คำอังกฤษว่า somatosensory system โดยไม่แปล (somatosensory system) เป็นส่วนของระบบรับความรู้สึกที่สามารถรับรู้อย่างหลายหลาก ประกอบด้วยตัวรับความรู้สึก/ปลายประสาทรับความรู้สึก (sensory receptor) ที่ระบบประสาทนอกส่วนกลาง และศูนย์ประมวลผลต่าง ๆ ที่ระบบประสาทกลางมากมาย ทำให้รับรู้ตัวกระตุ้นได้หลายแบบรวมทั้งสัมผัส อุณหภูมิ อากัปกิริยา และโนซิเซ็ปชั่น (ซึ่งอาจให้เกิดความเจ็บปวด) ตัวรับความรู้สึกมีอยู่ที่ผิวหนัง เนื้อเยื่อบุผิว กล้ามเนื้อโครงร่าง กระดูก ข้อต่อ อวัยวะภายใน และระบบหัวใจและหลอดเลือด ถึงแม้จะสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งโบราณว่า สัมผัสเป็นความรู้สึกอย่างหนึ่งในทวารทั้ง 5 (เช่น "โผฏฐัพพะ" ในพระพุทธศาสนา) แต่ความจริงแล้ว "สัมผัส" เป็นความรู้สึกต่าง ๆ หลายแบบ ดังนั้น การแพทย์จึงมักจะใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "somatic senses (ความรู้สึกทางกาย)" แทนศัพท์ว่า "touch (สัมผัส)" เพื่อให้ครอบคลุมกลไกความรู้สึกทางกายทั้งหมด ความรู้สึกทางกายบางครั้งเรียกว่า "somesthetic senses" โดยที่คำว่า "somesthesis" นั้น รวมการรับรู้สัมผัส (touch) การรับรู้อากัปกิริยา และในบางที่ การรับรู้วัตถุโดยสัมผัส (haptic perception) ระบบรับความรู้สึกทางกายมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งเร้ามากมายหลายแบบ โดยอาศัยตัวรับความรู้สึกประเภทต่าง ๆ รวมทั้งตัวรับอุณหภูมิ โนซิเซ็ปเตอร์ ตัวรับแรงกล และตัวรับรู้สารเคมี ข้อมูลความรู้สึกจะส่งไปจากตัวรับความรู้สึกผ่านเส้นประสาทรับความรู้สึก (sensory nerve) ผ่านลำเส้นใยประสาทในไขสันหลัง ตรงเข้าไปยังสมอง การประมวลผลโดยหลักเกิดขึ้นที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) ในสมองกลีบข้าง cortical homunculus ที่แสดงไว้โดยไวล์เดอร์ เพ็นฟิลด์ กล่าวอย่างง่าย ๆ ที่สุด ระบบรับความรู้สึกทางกายจะเริ่มทำงานเมื่อตัวรับความรู้สึกที่กายเขตหนึ่งเริ่มทำงาน โดยถ่ายโอนคุณสมบัติของตัวกระตุ้นบางอย่างเช่นความร้อนไปเป็นสัญญาณประสาท ซึ่งในที่สุดก็จะเดินทางไปถึงเขตสมองที่มีหน้าที่เฉพาะเจาะจงต่อเขตกายนั้น และเพราะเฉพาะเจาะจงอย่างนี้ จึงสามารถระบุเขตกายที่เกิดความรู้สึกโดยเฉพาะซึ่งเป็นผลแปลของสมอง ความสัมพันธ์จุดต่อจุดเช่นนี้ปรากฏเป็นแผนที่ผิวกายในสมองที่เรียกว่า homunculus แปลว่า "มนุษย์ตัวเล็ก ๆ" และเป็นส่วนสำคัญในการรับรู้ความรู้สึกที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แต่แผนที่ในสมองเช่นนี้ ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ และจริง ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างน่าทึ่งใจ เพื่อตอบสนองต่อโรคหลอดเลือดสมองหรือความบาดเจ็บอื่น. ลาสติกข้ามระบบประสาทสามารถก่อให้เกิดการจัดระเบียบใหม่ในการเชื่อมต่อกันระหว่างกลีบสมองหลักทั้ง 4 กลีบ เป็นการตอบสนองที่เกิดขึ้นจากการสูญเสียความรู้สึกทางประสาทสัมผัส สภาพพลาสติกข้ามระบบประสาท"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ plasticity ว่า "สภาพพลาสติก" (cross modal plasticity) หรือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงข้ามระบบประสาท เป็นการเปลี่ยนการจัดระเบียบของนิวรอนเพื่อรวมส่วนของระบบประสาทรับความรู้สึกหลายระบบมาทำหน้าที่เดียวกัน เป็นสภาพพลาสติกของระบบประสาท (neuroplasticity) ประเภทหนึ่งที่มักเกิดขึ้นเมื่อระบบประสาทขาดข้อมูลความรู้สึกที่มีเหตุจากโรคหรือความเสียหายในสมอง การจัดระเบียบใหม่ของเครือข่ายนิวรอนอยู่ในระดับที่สูงสุดถ้าภาวะขาดความรู้สึกเป็นแบบระยะยาว เช่นความบอดแต่กำเนิด หรือความหนวกก่อนรู้ภาษา ในกรณีเช่นนี้ สภาพพลาสติกข้ามระบบประสาทเป็นเหตุให้ระบบประสาทอื่นที่ไม่เสียหายเช่นการเห็นและ/หรือการได้ยิน มีสมรรถภาพเพิ่มขึ้นทดแทนระบบประสาทที่เสียหาย การเพิ่มสมรรถภาพอย่างนี้เกิดจากการเชื่อมต่อทางประสาทใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นเชื่อมคอร์เทกซ์ที่ขาดข้อมูลความรู้สึกของตนไป.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ระบบรับความรู้สึกทางกายและสภาพพลาสติกข้ามระบบประสาท

ระบบรับความรู้สึกทางกายและสภาพพลาสติกข้ามระบบประสาท มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): รอยนูนหลังร่องกลางระบบการเห็นระบบรับความรู้สึกทาลามัสตัวกระตุ้นประสาทสัมผัสปลอกไมอีลินแกนประสาทนำออกไฮโปทาลามัสเซลล์ประสาทเปลือกสมอง

รอยนูนหลังร่องกลาง

หวของรอยนูนหลังร่องกลาง รอยนูนหลังร่องกลาง (postcentral gyrus, gyrus postcentralis) ด้านข้างของสมอง เป็นโครงสร้างที่โดดเด่นในสมองกลีบข้างของมนุษย์ และเป็นจุดสังเกตที่สำคัญ เป็นที่อยู่ของคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) เป็นเขตรับสัญญาณความรู้สึกหลักของระบบรับความรู้สึกทางกาย (somatosensory system) และเหมือนกับเขตรับความรู้สึกอื่น ๆ เขตนี้มีแผนที่ปริภูมิของความรู้สึกซึ่งเรียกว่า "cortical homunculus"Cortical homunculus เป็นแผนที่ภูมิลักษณ์ของส่วนต่าง ๆ ในร่างกายในคอร์เทกซ์สั่งการหลักและคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ คือส่วนในสมองของมนุษย์ที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหว และการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างระบบสั่งการและระบบรับรู้ความรู้สึก คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิในยุคต้น ๆ มีขอบเขตที่กำหนดโดยงานวิจัยกระตุ้นผิวสมองของไวล์เดอร์ เพ็นฟิลด์ และงานวิจัยศักย์ผิวสมองของบาร์ด วูลซีย์ กับมาร์แชลล์ ที่เป็นไปในช่วงเวลาเดียวกัน แม้ว่าในเบื้องต้นจะกำหนดอย่างคร่าว ๆ ว่าเป็นส่วนเดียวกับเขตบร็อดแมนน์ 3-1-2 งานวิจัยในภายหลังของจอน คาสส์ เสนอว่า เพื่อความเหมือนกันกับเขตรับรู้ความรู้สึกอื่น ๆ ควรที่จะกล่าวเขตบร็อดแมนน์ 3 ว่าเป็นคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ เนื่องจากว่าเขตนั้นได้รับสัญญาณมากที่สุดจาก thalamocortical radiations (วิถีประสาททาลามัส-คอร์เทกซ์) ซึ่งมาจากลานสัญญาณที่รับรู้การสัมผั.

รอยนูนหลังร่องกลางและระบบรับความรู้สึกทางกาย · รอยนูนหลังร่องกลางและสภาพพลาสติกข้ามระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการเห็น

ังไม่มี เผื่ออนาคต mammalian visual systemsEye -refined.svg||thumb|200px|ระบบการเห็นประกอบด้วตา และ วิถีประสาทที่เชื่อมตากับpostscript.

ระบบการเห็นและระบบรับความรู้สึกทางกาย · ระบบการเห็นและสภาพพลาสติกข้ามระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ระบบรับความรู้สึก

ระบบรับความรู้สึก (sensory system, organa sensuum) เป็นส่วนประกอบของระบบประสาทมีหน้าที่ประมวลข้อมูลความรู้สึก โดยหลัก ประกอบด้วยตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) วิถีประสาท (neural pathway) และส่วนอื่น ๆ ของสมองที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความรู้สึก ระบบรับความรู้สึกที่รู้จักกันดีประกอบด้วยระบบการเห็น ระบบการได้ยิน ระบบรับความรู้สึกทางกาย (somatosensory system) ระบบการลิ้มรส ระบบการได้กลิ่น และระบบการทรงตัว (vestibular system) โดยหน้าที่ ระบบรับความรู้สึก.

ระบบรับความรู้สึกและระบบรับความรู้สึกทางกาย · ระบบรับความรู้สึกและสภาพพลาสติกข้ามระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ทาลามัส

ทาลามัส (Thalamus) เป็นศูนย์รวมกระแสที่ผ่านเข้าออก และแยกกระแสประสาทไปยังสมองที่เกี่ยวกับประสาทนั้น หรืออาจเรียกว่าเป็นสถานีถ่ายถอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปยังจุดต่างๆ ในสมอง และยังทำหน้าที่ในการรับรู้ความเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการ และแสดงออกด้านพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด ทาลามัสอยู่เป็นคู่ตั้งอยู่ใจกลางสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังรวมทั้งมนุษย์ด้วย ทาลามัสอยู่ระหว่างเปลือกสมองใหญ่ (Cerebral Cortex) กับสมองส่วนกลาง (Mid brain) ที่ตั้งอยู่ใจกลาง และเป็นศูนย์ศูนย์รวมประสาทสั่งการ มีหน้าที่ส่งผ่านกระแสประสาท ประสาทสัมผัสจำเพาะ(Special Sense)และส่งผ่านไปยัง(Cerebral Cortex)หรือเปลือกสมองใหญ่ เป็นไปตามภาวะปกติของความมีสติ (Conciousness) ในยามหลับและยามตื่น ทาลามัสจะห้อมล้อมรอบๆ เซอด เวนตริเคิล (Third Ventricle) มันเป็นผลผลิตหลักของเอ็มบริโอนิค ไดเอนซีฟาโลน (Cmbryonic Diencephalon) หรือตัวอ่อนของสมองส่วนกลางทาลามัสเป็นโครงสร้างใหญ่สุดของสมองส่วนกลาง ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่ตั้งอยู่ระหว่างสมองส่วนกลาง (Mid brain) มีเซนซีฟาโลน และสมองส่วนหน้า เทเลซีฟาโลน (Telecephalon) ในมนุษย์ ครึ่งหนึ่งของทาลามัสแต่ละอันมีรูปร่างเหมือนจุกยางกลมๆคล้ายปลายเทอร์โมมิเตอร์ สามารถบีบและคลายตัวได้.

ทาลามัสและระบบรับความรู้สึกทางกาย · ทาลามัสและสภาพพลาสติกข้ามระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ตัวกระตุ้น

ในสรีรวิทยา ตัวกระตุ้น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ stimulus ว่า "ตัวกระตุ้น" หรือ "สิ่งเร้า" หรือ ตัวเร้า หรือ สิ่งเร้า หรือ สิ่งกระตุ้น (stimulus, พหูพจน์ stimuli) เป็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ตรวจจับได้โดยสิ่งมีชีวิตหรืออวัยวะรับรู้ความรู้สึก โดยปกติ เมื่อตัวกระตุ้นปรากฏกับตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ก็จะก่อให้เกิด หรือมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ของเซลล์ ผ่านกระบวนการถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) ตัวรับความรู้สึกเหล่านี้สามารถรับข้อมูลทั้งจากภายนอกร่างกาย เช่นตัวรับสัมผัส (touch receptor) ในผิวหนัง หรือตัวรับแสงในตา และทั้งจากภายในร่างกาย เช่น ตัวรับสารเคมี (chemoreceptors) และตัวรับแรงกล (mechanoreceptors) ตัวกระตุ้นภายในมักจะเป็นองค์ประกอบของระบบการธำรงดุล (homeostaticภาวะธำรงดุล (Homeostasis) เป็นคุณสมบัติของระบบหนึ่ง ๆ ที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในของระบบ และมักจะดำรงสภาวะที่สม่ำเสมอและค่อนข้างจะคงที่ขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด control system) ของร่างกาย ส่วนตัวกระตุ้นภายนอกสามารถก่อให้เกิดการตอบสนองแบบทั่วระบบของร่างกาย เช่นการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight-or-flight response) การจะตรวจพบตัวกระตุ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับของตัวกระตุ้น คือต้องเกินระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน (absolute thresholdในประสาทวิทยาและจิตฟิสิกส์ ระดับขีดเริ่มเปลี่ยนสัมบูรณ์ (absolute threshold) เป็นระดับที่ต่ำสุดของตัวกระตุ้นที่จะตรวจพบได้ แต่ว่า ในระดับนี้ สัตว์ทดลองบางครั้งก็ตรวจพบตัวกระตุ้น บางครั้งก็ไม่พบ ดังนั้น การจำกัดความอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระดับของตัวกระตุ้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถตรวจพบได้ 50% ในโอกาสทั้งหมดที่ตรวจ) ถ้าสัญญาณนั้นถึงระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน ก็จะมีการส่งสัญญาณนั้นไปยังระบบประสาทกลาง ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมสัญญาณต่าง ๆ และตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอย่างไร แม้ว่าร่างกายโดยสามัญจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น แต่จริง ๆ แล้ว ระบบประสาทกลางเป็นผู้ตัดสินใจในที่สุดว่า จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นนั้นหรือไม.

ตัวกระตุ้นและระบบรับความรู้สึกทางกาย · ตัวกระตุ้นและสภาพพลาสติกข้ามระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ประสาทสัมผัส

ประสาทสัมผัส (Sense)"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" ให้ความหมายของ sense ว่า ความรู้สึก, การรับรู้, การกำหนดรู้, ประสาทสัมผัส เป็นสมรรถภาพในสรีระของสิ่งมีชีวิตที่ให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการรับรู้ (perception) มีการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับการทำงาน การจำแนกประเภท และทฤษฎีของประสาทสัมผัส ในวิชาหลายสาขา โดยเฉพาะในวิทยาศาสตร์ประสาท จิตวิทยาปริชาน (หรือประชานศาสตร์) และปรัชญาแห่งการรับรู้ (philosophy of perception) ระบบประสาทของสัตว์นั้นมีระบบรับความรู้สึกหรืออวัยวะรับความรู้สึก สำหรับความรู้สึกแต่ละอย่าง มนุษย์เองก็มีประสาทสัมผัสหลายอย่าง การเห็น การได้ยิน การลิ้มรส การได้กลิ่น การถูกต้องสัมผัส เป็นประสาทสัมผัสห้าทางที่รู้จักกันมาตั้งแต่โบราณ แต่ว่า ความสามารถในการตรวจจับตัวกระตุ้นอื่น ๆ นอกเหนือจากนั้นก็ยังมีอยู่ รวมทั้ง อุณหภูมิ ความรู้สึกเกี่ยวกับเคลื่อนไหว (proprioception) ความเจ็บปวด (nociception) ความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว และความรู้สึกเกี่ยวกับตัวกระตุ้นภายในต่าง ๆ (เช่นมีเซลล์รับความรู้สึกเชิงเคมี คือ chemoreceptor ที่ตรวจจับระดับความเข้มข้นของเกลือและคาร์บอนไดออกไซด์ ที่อยู่ในเลือด) และความสามารถต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเรียกว่าเป็นประสาทสัมผัสโดยต่างหากได้เพียงไม่กี่อย่าง เพราะว่า ประเด็นว่า อะไรเรียกว่า ประสาทสัมผัส (sense) ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทำให้ยากที่จะนิยามความหมายของคำว่า ประสาทสัมผัส อย่างแม่นยำ สัตว์ต่าง ๆ มีตัวรับความรู้สึกเพื่อที่จะสัมผัสโลกรอบ ๆ ตัว มีระดับความสามารถที่ต่าง ๆ กันไปแล้วแต่สปีชีส์ เมื่อเทียบกันแล้ว มนุษย์มีประสาทสัมผัสทางจมูกที่ไม่ดี และสัตว์เหล่าอื่นก็อาจจะไม่มีประสาทสัมผัส 5 ทางที่กล่าวถึงไปแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตว์บางอย่างอาจจะรับข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นและแปลผลข้อมูลเหล่านั้นต่างไปจากมนุษย์ และสัตว์บางชนิดก็สามารถสัมผัสโลกโดยวิธีที่มนุษย์ไม่สามารถ เช่นมีสัตว์บางชนิดสามารถสัมผัสสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก สามารถสัมผัสแรงดันน้ำและกระแสน้ำ.

ประสาทสัมผัสและระบบรับความรู้สึกทางกาย · ประสาทสัมผัสและสภาพพลาสติกข้ามระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ปลอกไมอีลิน

ตำแหน่งที่อยู่ของเยื่อไมอีลิน ไมอีลิน (Myelin sheath) เป็นเยื่อหุ้มแอกซอน (Axon) ของเซลล์ประสาท เป็นฉนวนไฟฟ้าช่วยทำให้กระแสประสาทผ่านไปได้เร็วขึ้น โดยเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเฉลี่ย 120 เมตรต่อวินาที ในระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ถูกสร้างจากเซลล์เกลีย และชวานน์เซลล์ในระบบประสาทรอบนอก (PNS) ได้รับการค้นพบโดยรูดอล์ฟ เวอร์โชฟ เมื่อเยื่อไมอีลินมีการชำรุดเสียหาย ก็จะทำให้การส่งต่อสัญญาณประสาทเกิดการติดขัดได้.

ปลอกไมอีลินและระบบรับความรู้สึกทางกาย · ปลอกไมอีลินและสภาพพลาสติกข้ามระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

แกนประสาทนำออก

แกนประสาท หรือ แอกซอน หรือ ใยประสาท (axon มาจากภาษากรีกคำว่า ἄξων คือ áxōn แปลว่า แกน) เป็นเส้นใยเรียวยาวที่ยื่นออกจากเซลล์ประสาทหรือนิวรอน และปกติจะส่งกระแสประสาทหรือคำสั่งออกจากตัวเซลล์เพื่อสื่อสารกับเซลล์อื่น ๆ หน้าที่ของมันก็เพื่อส่งข้อมูลไปยังนิวรอน กล้ามเนื้อ และต่อมต่าง ๆ ในเซลล์ประสาทรับความรู้สึกบางอย่างซึ่งมีรูปร่างเป็น pseudounipolar neuron (เซลล์ประสาทขั้วเดียวเทียม) เช่นที่รับความรู้สึกสัมผัสและอุณหภูมิ กระแสประสาทจะวิ่งไปตามแอกซอนจากส่วนปลายเข้าไปยังตัวเซลล์ แล้วก็จะวิ่งออกจากตัวเซลล์ไปยังไขสันหลังตามสาขาอีกสาขาของแอกซอนเดียวกัน ความผิดปกติของแอกซอนอาจเป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติทางประสาทซึ่งมีผลต่อทั้งเซลล์ประสาทในส่วนนอกและส่วนกลาง ใยประสาทสามารถจัดเป็นสามหมวดคือ ใยประสาทกลุ่มเอเด็ลตา (A delta) กลุ่มบี (B) และกลุ่มซี (C) โดยกลุ่มเอและบีจะมีปลอกไมอีลินในขณะที่กลุ่มซีจะไร้ปลอก แอกซอนเป็นส่วนยื่นที่ประกอบด้วยโพรโทพลาสซึมอย่างหนึ่งในสองอย่างที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ประสาท ส่วนยื่นอีกอย่างเรียกว่า ใยประสาทนำเข้า/เดนไดรต์ (dendrite) แอกซอนจะต่างจากเดนไดรต์หลายอย่าง รวมทั้งรูปร่าง (เดนไดรต์มักจะเรียวลงเทียบกับแอกซอนที่จะคงขนาด) ความยาว (เดนไดรต์มักจะจำกัดอยู่ในปริภูมิเล็ก ๆ รอบ ๆ ตัวเซลล์ ในขณะที่แอกซอนอาจยาวกว่ามาก) และหน้าที่ (เดนไดรต์เป็นส่วนรับสัญญาณในขณะที่แอกซอนจะเป็นส่วนส่งสัญญาณ) แต่ลักษณะที่ว่านี้ทั้งหมดล้วนแต่มีข้อยกเว้น แอกซอนจะหุ้มด้วยเยื่อที่เรียกว่า axolemma ไซโทพลาซึมของแอกซอนมีชื่อโดยเฉพาะว่าแอกโซพลาซึม (axoplasm) ส่วนสุดของแอกซอนที่แตกเป็นสาขา ๆ เรียกว่า telodendron/telodendria ส่วนสุดของ telodendron ซึ่งป่องเรียกว่าปลายแอกซอน (axon terminal) ซึ่งเชื่อมกับ dendron หรือตัวเซลล์ของนิวรอนอีกตัวหนึ่ง จุดเชื่อที่ว่านี้เรียกว่าจุดประสานประสาท/ไซแนปส์ นิวรอนบางอย่างไม่มีแอกซอนและจะส่งสัญญาณผ่านเดนไดรต์ ไม่มีนิวรอนใด ๆ ที่มีแอกซอนมากกว่าหนึ่งอัน แต่ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นแมลงและปลิง แอกซอนบางครั้งจะมีส่วนต่าง ๆ ที่ทำงานแทบเป็นอิสระต่อกันและกัน แอกซอนโดยมากจะแตกสาขา และในบางกรณีจะมีสาขาจำนวนมหาศาล แอกซอนจะเชื่อมกับเซลล์อื่น ๆ โดยปกติกับนิวรอนอื่น ๆ แต่บางครั้งก็เชื่อมกับกล้ามเนื้อหรือเซลล์ต่อม ผ่านจุดต่อที่เรียกว่า จุดประสานประสาท/ไซแนปส์ ที่ไซแนปส์ เยื่อหุ้มเซลล์ของแอกซอนจะเข้าไปเกือบชิดกับเยื่อหุ้มของเซลล์เป้าหมาย และโครงสร้างพิเศษระดับโมเลกุลจะเป็นตัวส่งสัญญาณไฟฟ้าหรือเคมี-ไฟฟ้าข้ามช่อง ยังมีไซแนปส์ในระหว่างอื่น ๆ ของแอกซอนซึ่งไม่ใช่ส่วนปลาย โดยเรียกว่า en passant synapse หรือ in passing synapse ไซแนปส์อื่น ๆ จะอยู่ที่ปลายสาขาต่าง ๆ ของแอกซอน แอกซอนหนึ่งใยพร้อมกับสาขาทั้งหมดรวม ๆ กัน อาจเชื่อมกับส่วนต่าง ๆ ในสมองและมีจุดเชื่อมคือไซแนปส์เป็นพัน.

ระบบรับความรู้สึกทางกายและแกนประสาทนำออก · สภาพพลาสติกข้ามระบบประสาทและแกนประสาทนำออก · ดูเพิ่มเติม »

ไฮโปทาลามัส

ปทาลามัส มาจากภาษากรีซ ὑποθαλαμος แปลว่า ใต้ทาลามัส เป็นโครงสร้างของสมองที่อยู่ใต้ทาลามัส (thalamus) แต่เหนือก้านสมอง (brain stem) ทำหน้าที่เชื่อมโยงการทำงานของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ โครงสร้างนี้เป็นโครงสร้างหลักที่อยู่ด้านล่างของไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) พบในสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทุกชนิด ในมนุษย์มีขนาดประมาณเมล็ดอัลมอนด์ ไฮโปทาลามัสทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการเมแทบอลิซึมบางอย่าง และหน้าที่อื่นๆ ของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) ไฮโปทาลามัสทำหน้าที่สังเคราะห์และหลั่งฮอร์โมนประสาท (neurohormones) ซึ่งมักเรียกว่า hypothalamic-releasing hormones ซึ่งทำหน้าที่ในการกระตุ้นหรือยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (pituitary gland) ไฮโปทาลามัสทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย, ความหิว, ความกระหายน้ำ, ความเหนื่อยล้า, ความโกรธ และจังหวะรอบวัน (Circadian rhythm) ไฮโปทาลามัสเป็นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การเต้นของหัวใจ ความดันเลือด ความหิว การนอนหลับ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ การหลั่งน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร ความสมดุลของน้ำในร่างกายและการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก.

ระบบรับความรู้สึกทางกายและไฮโปทาลามัส · สภาพพลาสติกข้ามระบบประสาทและไฮโปทาลามัส · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ประสาท

ซลล์ประสาท หรือ นิวรอน (neuron,, หรือ) เป็นเซลล์เร้าได้ด้วยพลัง ของเซลล์อสุจิที่ทำหน้าที่ประมวลและส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไฟฟ้าและเคมี โดยส่งผ่านจุดประสานประสาท (synapse) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อโดยเฉพาะกับเซลล์อื่น ๆ นิวรอนอาจเชื่อมกันเป็นโครงข่ายประสาท (neural network) และเป็นองค์ประกอบหลักของสมองกับไขสันหลังในระบบประสาทกลาง (CNS) และของปมประสาท (ganglia) ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง (PNS) นิวรอนที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง.

ระบบรับความรู้สึกทางกายและเซลล์ประสาท · สภาพพลาสติกข้ามระบบประสาทและเซลล์ประสาท · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมอง

ปลือกสมอง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑"หรือ ส่วนนอกของสมองใหญ่ หรือ คอร์เทกซ์สมองใหญ่"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ cerebral ว่า "-สมองใหญ่" หรือ "-สมอง" หรือ เซรีบรัลคอร์เทกซ์ หรือบางครั้งเรียกสั้น ๆ เพียงแค่ว่า คอร์เทกซ์ (แต่คำว่า คอร์เทกซ์ สามารถหมายถึงส่วนย่อยส่วนหนึ่ง ๆ ในเปลือกสมองด้วย) (Cerebral cortex, cortex, Cortex cerebri) เป็นชั้นเนื้อเยื่อเซลล์ประสาทชั้นนอกสุดของซีรีบรัม (หรือเรียกว่าเทเลนฟาลอน) ที่เป็นส่วนของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังบางพวก เป็นส่วนที่ปกคลุมทั้งซีรีบรัมทั้งซีรีเบลลัม มีอยู่ทั้งซีกซ้ายซีกขวาของสมอง เปลือกสมองมีบทบาทสำคัญในระบบความจำ ความใส่ใจ ความตระหนัก (awareness) ความคิด ภาษา และการรับรู้ (consciousness) เปลือกสมองมี 6 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเซลล์ประสาทต่าง ๆ กัน และการเชื่อมต่อกับสมองส่วนอื่น ๆ ที่ไม่เหมือนกัน เปลือกสมองของมนุษย์มีความหนา 2-4 มิลลิเมตร ในสมองดอง เปลือกสมองมีสีเทา ดังนั้น จึงมีชื่อว่าเนื้อเทา มีสีดังนั้นก็เพราะประกอบด้วยเซลล์ประสาทและแอกซอนที่ไม่มีปลอกไมอีลิน เปรียบเทียบกับเนื้อขาว (white matter) ที่อยู่ใต้เนื้อเทา ซึ่งประกอบด้วยแอกซอนที่โดยมากมีปลอกไมอีลิน ที่เชื่อมโยงกับเซลล์ประสาทในเขตต่าง ๆ ของเปลือกสมองและในเขตอื่น ๆ ของระบบประสาทกลาง ผิวของเปลือกสมองดำรงอยู่เป็นส่วนพับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งว่า ผิวเปลือกสมองของมนุษย์มากกว่าสองในสามส่วน อยู่ใต้ช่องที่เรียกว่า "ร่อง" (sulci) ส่วนใหม่ที่สุดของเปลือกสมองตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์ ก็คือ คอร์เทกซ์ใหม่ (neocortex) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไอโซคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 6 ชั้น ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดก็คือฮิปโปแคมปัส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาร์คิคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 3 ชั้นเป็นอย่างมาก และแบ่งเขตออกเป็นฟิลด์ย่อยของฮิปโปแคมปัส (Hippocampal subfields) เซลล์ในชั้นต่าง ๆ ของเปลือกสมองเชื่อมต่อกันเป็นแนวตั้ง รวมตัวกันเป็นวงจรประสาทขนาดเล็กที่เรียกว่า "คอลัมน์ในคอร์เทกซ์" (cortical columns) เขตต่าง ๆ ในคอร์เทกซ์ใหม่ สามารถแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ที่เรียกว่า เขตบร็อดแมนน์ (Brodmann areas) แต่ละเขตมีลักษณะต่าง ๆ กันเป็นต้นว่า ความหนา ชนิดของเซลล์โดยมาก และตัวบ่งชี้สารเคมีประสาท (neurochemical markers).

ระบบรับความรู้สึกทางกายและเปลือกสมอง · สภาพพลาสติกข้ามระบบประสาทและเปลือกสมอง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ระบบรับความรู้สึกทางกายและสภาพพลาสติกข้ามระบบประสาท

ระบบรับความรู้สึกทางกาย มี 80 ความสัมพันธ์ขณะที่ สภาพพลาสติกข้ามระบบประสาท มี 31 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 9.91% = 11 / (80 + 31)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ระบบรับความรู้สึกทางกายและสภาพพลาสติกข้ามระบบประสาท หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »