เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ระบบภูมิคุ้มกันและแอนาฟิแล็กซิส

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ระบบภูมิคุ้มกันและแอนาฟิแล็กซิส

ระบบภูมิคุ้มกัน vs. แอนาฟิแล็กซิส

ระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) คือระบบที่คอยปกป้องร่างกายของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะจุลชีพก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้ ฯลฯ สิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายตรวจจับได้เรียกว่า แอนติเจน (antigen) แอนติเจนที่กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเรียกว่า อิมมูโนเจน (immunogen) สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ส่วนใหญ่จุลินทรีย์ที่อยู่รอบตัวเหล่านี้ไม่ใช่เชื้อก่อโรคแต่ประการใด แต่ก็มีจุลินทรีย์อีกมากมายที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ เรียกว่าเชื้อโรค (pathogen) เพื่อป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคเหล่านี้ มนุษย์มีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่อย่างทรงประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคออกไป หากภูมิคุ้มกันบกพร่อง แม้จะพัฒนายาต้านจุลชีพที่ดีเลิศเพียงใด ก็อาจจะไม่สามารถรักษาชีวิตคนเราจากโรคติดเชื้อไว้ได้ เพราะการที่จะหายจากโรคติดเชื้อได้นั้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายเป็นผู้ช่วยตัวสำคัญที. แอนาฟิแล็กซิส หรือปฏิกิริยาการแพ้รุนแรงเป็นภาวะ ภูมิแพ้ อย่างหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงจนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ส่วนใหญ่ทำให้มีอาการ เช่น ผื่นคัน ปากคอบวม และ ความดันเลือดต่ำ สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ แมลงกัดต่อย อาหาร และยา ในระดับ พยาธิสรีรวิทยา นั้นแอนาฟิแล็กซิสนี้เกิดจากการที่เซลล์ เม็ดเลือดขาว บางชนิดปล่อยสารตัวกลางออกมาจากการกระตุ้นโดยภูมิคุ้มกัน หรือกระบวนการอื่นที่ไม่ใช่กระบวนการของภูมิคุ้มกัน การวินิจฉัยทำได้โดยอาศัยอาการและอาการแสดงที่ปรากฏ การรักษาหลักคือการใช้ อีพิเนฟริน ร่วมกับวิธีการอื่น ๆ ประมาณเอาไว้ว่า 0.05-2% ของประชากรทั่วโลกจะเกิดแอนาฟิแล็กซิสขึ้นครั้งหนึ่งในชีวิต และตัวเลขอุบัติการณ์นี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คำนี้มีที่มาจากภาษากรีก ἀνά ana, ต่อต้าน และ φύλαξις phylaxis,ป้องกัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ระบบภูมิคุ้มกันและแอนาฟิแล็กซิส

ระบบภูมิคุ้มกันและแอนาฟิแล็กซิส มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ช็อกวัคซีนแมสต์เซลล์แอนติเจนเบโซฟิลเม็ดเลือดขาว

ช็อก

วะช็อก (shock, circulatory shock) เป็นภาวะทางการแพทย์ซึ่งอันตรายและมีอันตรายถึงชีวิต เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในระยะแรกส่วนใหญ่ทำให้มีระดับออกซิเจนในเนื้อเยื่อต่างๆ ไม่เพียงพอ ทำให้เนื้อเยื่อเหล่านี้ทำงานได้ไม่ปกติKumar, Vinay; Abbas, Abul K.; Fausto, Nelson; & Mitchell, Richard N. (2007).

ช็อกและระบบภูมิคุ้มกัน · ช็อกและแอนาฟิแล็กซิส · ดูเพิ่มเติม »

วัคซีน

็กกำลังรับวัคซีนโปลิโอชนิดหยอด วัคซีน (Vaccine) เป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์หรือส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งจะมีกลไกชักนำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้น ๆ กล่าวคือมีฤทธิ์ชักนำการสร้างภูมิคุ้มกันอันจำเพาะกับโรค วัคซีนโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค (แอนติเจน) ซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง, ตาย หรือการใช้ส่วนที่เป็นพิษที่อ่อนฤทธิ์ลง (toxoid) โดยวัคซีนจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและสามารถจดจำได้ว่าเป็นสารก่อโรคซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป คุณสมบัติการจดจำแอนติเจนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ร่างกายสามารถกำจัดแอนติเจนหากเมื่อได้รับอีกในภายหลังได้รวดเร็วยิ่งขึ้น วัคซีนเริ่มมีการพัฒนาในราวคริสต์ทศวรรษที่ 1770 โดยเอดเวิร์ด เจนเนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ประสบความสำเร็จในการสกัดเชื้อ cowpox เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ (small pox) ในมนุษย์ได้ วัคซีนในระยะเริ่มแรกเป็นการนำเชื้อมาทำให้ตายหรือการใช้เชื้อที่อ่อนฤทธิ์เท่านั้น จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีรีคอมบีแนนต์มาช่วยในการพัฒนาโดยอาศัยความรู้ทางชีววิทยาระดับโมเลกุล และมีความพยายามพัฒนาวัคซีนโดยการสังเคราะห์แอนติเจนในการผลิตซับยูนิตวัคซีน (subunit vaccine) อีกด้วย คำว่า "วัคซีน" (vaccine) ได้มาจากครั้งที่เอ็ดวาร์ดให้เชื้อ cowpox แก่มนุษย์ โดยคำว่า variolæ vaccinæ มาจากคำว่า vaccīn-us หรือ vacca ซึ่งแปลว่า cow หรือวัวซึ่งมีความสัมพันธ์กับเชื้อ cowpox.

ระบบภูมิคุ้มกันและวัคซีน · วัคซีนและแอนาฟิแล็กซิส · ดูเพิ่มเติม »

แมสต์เซลล์

แมสต์เซลล์ (Mastocyte หรือ Labrocyte) เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างกลมหรือรี ในไซโทรพลาสซึมมีแกรนูลที่บรรจุสาร histamine และ heparin เอาไว้ โดยแมสต์เซลล์มีลักษณะใกล้เคียงกับเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีชื่อว่าเบโซฟิลมากจึงเคยถูกเข้าใจว่าเป็นเบโซฟิลที่ออกมาจากหลอดเลือด แต่จากการศึกษาภายหลังพบว่าทั้งสองเซลล์ไม่ใช่เซลล์ชนิดเดียวกัน ทั้งนี้ในแกรนูลของเซลล์ทั้งสองชนิดบรรจุ histamine และ heparin รวมทั้ง anticoagulant เช่นเดียวกัน โดย heparin เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดคือ ช่วยไม่ให้เลือดแข็งตัว และ histamine เป็นสารที่เกี่ยวข้องกับการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และการขยายหลอดเลือด หมวดหมู่:ชีววิทยาของเซลล์.

ระบบภูมิคุ้มกันและแมสต์เซลล์ · แมสต์เซลล์และแอนาฟิแล็กซิส · ดูเพิ่มเติม »

แอนติเจน

255px ในวิทยาภูมิคุ้มกัน แอนติเจน หรือ สารก่อภูมิต้านทาน คือสารใด ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบปรับตัว (adaptive immune response) แอนติเจนมักเป็นสารที่แปลกปลอมหรือเป็นพิษต่อร่างกาย (เช่น ตัวเชื้อแบคทีเรีย) ซึ่งเมื่อเข้ามาในร่างกายแล้วจะถูกจับโดยแอนติบอดีที่มีความจำเพาะ แอนติบอดีแต่ละชนิดถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองกับแอนติเจนชนิดหนึ่ง ๆ เนื่องจากมีความแตกต่างอย่างจำเพาะในส่วนจับคอมพลีเมนท์ (complementary determining region) ของแอนติบอดีนั้น ๆ (มักเปรียบเทียบว่าเหมือนการจับคู่กันได้พอดีของลูกกุญแจกับแม่กุญแจ) ผู้เสนอให้ใช้คำว่าแอนติเจนคือ ลาสโล เดเทอร์ (László Detre) ซึ่งใช้ครั้งแรกในบทความวิชาการที่เขียนร่วมกับอีลี เมตช์นิคอฟ (Élie Metchnikoff) ในปี..

ระบบภูมิคุ้มกันและแอนติเจน · แอนติเจนและแอนาฟิแล็กซิส · ดูเพิ่มเติม »

เบโซฟิล

ลักษณะของ Basophil เบโซฟิล (Basophil) เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล มีขนาดประมาณ 10-14 ไมครอน ปกติจะมีนิวเคลียส 2 lobe แต่อาจจะมองไม่เห็น เนื่องจากถูกแกรนูลบังไว้ แกรนูลนั้นจะมีขนาดที่ไม่เท่ากัน โดยมีขนาดประมาณ 0.2-1 ไมครอน ซึ่งจะติดสีม่วงอมดำเมื่อมองจากฟิล์มเลือด ภายในแกรนูลนั้นจะมีสาร histamine ซึ่งจะตอบสนองต่อโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ โดยปกติเราสามารถพบ Basophil ในไขกระดูกประมาณ 0-1 เปอร์เซนต์ และในกระแสเลือด ประมาณ 0-2 เปอร์เซนต์ต่อเม็ดเลือดขาวทั้งหมด หรือประมาณ 0-216 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิลิตร Basophil สร้างจากไขกระดูกโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 7 ชั่วโมง ก่อนที่จะเคลื่อนที่ไปยังกระแสเลือด และเนื้อเยื่อ ตามลำดับ หน้าที่ของ basophil จะเกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อการแพ้ต่าง ๆ โดยการหลั่งสารพวก histamine เป็นต้น โดยเราสามารถพบภาวะที่ basophil สูงขึ้นจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น Hypersensitivity reactions หรือพวก Myeoloproliferative disorder เป็นต้น.

ระบบภูมิคุ้มกันและเบโซฟิล · เบโซฟิลและแอนาฟิแล็กซิส · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดเลือดขาว

A scanning electron microscope image of normal circulating human blood. In addition to the irregularly shaped leukocytes, both red blood cells and many small disc-shaped platelets are visible เม็ดเลือดขาว (White blood cells - leukocytes) เป็นเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งคอยป้องกันร่างกายจากทั้งเชื้อก่อโรคและสารแปลกปลอมต่างๆ เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด ทั้งหมดเจริญมาจาก pluripotent cell ในไขกระดูกที่ชื่อว่า hematopoietic stem cell เซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นเซลล์ที่พบได้ทั่วไปในร่างกาย รวมไปถึงในเลือดและในระบบน้ำเหลือง จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดมักใช้เป็นข้อบ่งชี้ของโรคและการดำเนินไปของโรค โดยปกติแล้วในเลือดหนึ่งลิตรจะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวอยู่ประมาณ 4×109 ถึง 11×109 เซลล์ รวมเป็นเซลล์ประมาณ 1% ในเลือดของคนปกติ ในบางสภาวะ เช่น ลูคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว) จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวจะมีปริมาณได้มากกว่าปกติ หรือในภาวะ leukopenia จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวก็จะน้อยกว่าปกติ คุณสมบัติทางกายภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาว เช่น ปริมาตร conductivity และ granularity อาจเปลี่ยนแปลงไประหว่างการกระตุ้นเซลล์ การเจริญของเซลล์ หรือการมีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว.

ระบบภูมิคุ้มกันและเม็ดเลือดขาว · เม็ดเลือดขาวและแอนาฟิแล็กซิส · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ระบบภูมิคุ้มกันและแอนาฟิแล็กซิส

ระบบภูมิคุ้มกัน มี 62 ความสัมพันธ์ขณะที่ แอนาฟิแล็กซิส มี 47 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 5.50% = 6 / (62 + 47)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ระบบภูมิคุ้มกันและแอนาฟิแล็กซิส หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: