โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ระบบภูมิคุ้มกัน

ดัชนี ระบบภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกัน (immune system) คือระบบที่คอยปกป้องร่างกายของสิ่งมีชีวิตจากสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะจุลชีพก่อโรค เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รา พยาธิ รวมถึงสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ เช่น เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตไปเป็นมะเร็ง อวัยวะของผู้อื่นที่ปลูกถ่ายเข้ามาในร่างกาย การได้รับเลือดผิดหมู่ สารก่อภูมิแพ้ ฯลฯ สิ่งแปลกปลอมที่ร่างกายตรวจจับได้เรียกว่า แอนติเจน (antigen) แอนติเจนที่กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเรียกว่า อิมมูโนเจน (immunogen) สิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกร่างกายเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ส่วนใหญ่จุลินทรีย์ที่อยู่รอบตัวเหล่านี้ไม่ใช่เชื้อก่อโรคแต่ประการใด แต่ก็มีจุลินทรีย์อีกมากมายที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อ เรียกว่าเชื้อโรค (pathogen) เพื่อป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคเหล่านี้ มนุษย์มีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่อย่างทรงประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคออกไป หากภูมิคุ้มกันบกพร่อง แม้จะพัฒนายาต้านจุลชีพที่ดีเลิศเพียงใด ก็อาจจะไม่สามารถรักษาชีวิตคนเราจากโรคติดเชื้อไว้ได้ เพราะการที่จะหายจากโรคติดเชื้อได้นั้น ภูมิคุ้มกันในร่างกายเป็นผู้ช่วยตัวสำคัญที.

62 ความสัมพันธ์: บาดทะยักช็อกพยาธิกรดแล็กติกกรดไขมันกลอบูลินกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงการปลูกถ่ายอวัยวะฝากล่องเสียงภาวะพิษเหตุติดเชื้อภูมิคุ้มกันบกพร่องมะเร็งมะเร็งเม็ดเลือดขาวยาชุดระบบหายใจราลิมโฟไซต์ลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่างวัณโรควัคซีนสมุนไพรสารภูมิต้านทานสเตอรอยด์ออกซิเจนอีโอซิโนฟิลจุลชีพก่อโรคจุลินทรีย์ทางเดินอาหารของมนุษย์ข้ออักเสบรูมาตอยด์คางทูมตับอักเสบ เอปรสิตปอดบวมนิวเคลียสน้ำเหลืองแบคทีเรียแกรนูโลไซต์แมสต์เซลล์แอนติเจนโพรโทซัวโมโนไซต์โรคพิษสุนัขบ้าโรคภูมิต้านตนเองโรคหัดโรคหัดเยอรมันโรคตับแข็งโรคติดเชื้อโรคไตเรื้อรังโลหิตจางไวรัส...ไวรัสตับอักเสบบีไขกระดูกไซโทพลาซึมเบาหวานเบโซฟิลเม็ดเลือดขาวเอชไอวีเอดส์เอนไซม์เซลล์บีเซลล์ทีเฮลเปอร์เซลล์ต้นกำเนิด ขยายดัชนี (12 มากกว่า) »

บาดทะยัก

ทะยักเป็นโรคติดเชื้ออย่างหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีอาการเด่นคืออาการกล้ามเนื้อเกร็ง ส่วนใหญ่การเกร็งจะเริ่มต้นที่กล้ามเนื้อกราม จากนั้นจึงลุกลามไปยังกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ การเกร็งแต่ละครั้งมักเป็นอยู่ไม่กี่นาที และเกิดขึ้นซ้ำๆ เป็นเวลา 3-4 สัปดาห์ การเกร็งอาจมีความรุนแรงมากจนทำให้กระดูกหักได้ อาการอื่นที่อาจพบร่วมได้แก่ ไข้ เหงื่อออก ปวดศีรษะ กลืนลำบาก ความดันเลือดสูง และหัวใจเต้นเร็ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการหลังจากติดเชื้อเป็นเวลา 3-21 วัน การรักษาอาจใช้เวลาหลายเดือน ผู้ป่วยประมาณ 10% จะเสียชีวิต บาดทะยักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Clostridium tetani ซึ่งพบได้ในดิน น้ำลาย ฝุ่น และปุ๋ยมูลสัตว์ เชื้อมักเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลเช่นแผลบาดหรือแผลตำที่เกิดจากวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อ เชื้อเหล่านี้ผลิตสารพิษที่รบกวนกระบวนการหดตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้มีอาการดังกล่าวข้างต้น การวินิจฉัยทำได้โดยการดูจากอาการและอาการแสดง โรคนี้ไม่ติดต่อจากคนสู่คน การป้องกันการติดเชื้อทำได้โดยการเสริมภูมิคุ้มกันด้วยการให้วัคซีนบาดทะยัก ผู้ที่มีบาดแผลที่เข้าข่ายจะติดเชื้อและได้รับวัคซีนมาไม่ถึง 3 ครั้ง ควรได้รับทั้งวัคซีนบาดทะยักและภูมิคุ้มกันบาดทะยักในรูปแบบของอิมมูโนกลอบูลิน ควรได้รับการล้างแผลและนำเอาเนื้อตายออก ผู้ป่วยที่มีอาการควรได้รับการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบาดทะยักแบบอิมมูโนกลอบูลิน หรืออาจรักษาด้วยอิมมูโนกลอบูลินแบบรวมได้ ยาคลายกล้ามเนื้ออาจช่วยควบคุมอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และหากผู้ป่วยมีปัญหาของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจร่วมด้วยอาจต้องใช้การช่วยหายใจผ่านเครื่องช่วยหายใจ บาดทะยักเป็นโรคที่พบได้ทั่วโลกแต่มักพบบ่อยในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นซึ่งมีดินและสารอินทรีย์อยู่มาก ในปี..

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและบาดทะยัก · ดูเพิ่มเติม »

ช็อก

วะช็อก (shock, circulatory shock) เป็นภาวะทางการแพทย์ซึ่งอันตรายและมีอันตรายถึงชีวิต เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในระยะแรกส่วนใหญ่ทำให้มีระดับออกซิเจนในเนื้อเยื่อต่างๆ ไม่เพียงพอ ทำให้เนื้อเยื่อเหล่านี้ทำงานได้ไม่ปกติKumar, Vinay; Abbas, Abul K.; Fausto, Nelson; & Mitchell, Richard N. (2007).

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและช็อก · ดูเพิ่มเติม »

พยาธิ

ปากขอ พยาธิ เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องอาศัยในร่างกายของสัตว์อื่นโดยเรียกว่า ปรสิต.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและพยาธิ · ดูเพิ่มเติม »

กรดแล็กติก

กรดแล็กติก หรือ กรดน้ำนม เป็นสารประกอบเคมีซึ่งมีบทบาทในกระบวนการทางชีวเคมีหลายอย่าง แยกได้ครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและกรดแล็กติก · ดูเพิ่มเติม »

กรดไขมัน

กรดบูไตริก, ห่วงโซ่กรดไขมันสั้น กรดไขมัน (Fatty acid) เป็นกรดคาร์บอกซิลิก (carboxylic acid) ซึ่งมีหางเป็นโซ่แบบ อะลิฟาติก (aliphatic) ยาวมีทั้งกรดไขมันอิ่มตัว (saturated) และกรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated) กรดไขมันจะมีคาร์บอน อย่างน้อย 8 อะตอม และส่วนใหญ่จะเป็นจำนวนเลขคู่ เพราะกระบวนการชีวสังเคราะห์ ของกรดไขมันจะเป็นการเพิมโมเลกุลของอะซิเตต ซึ่งมีคาร์บอน อยู่ 2 อะตอม ในอุตสาหกรรม กรดไขมันผลิตโดยการไฮโดรไลสิส (hydrolysis) เอสเตอร์ ลิงเกจส์ ในไขมัน หรือน้ำมันในรูปของ ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ด้วยการกำจัด กลีเซอรอล ออกไป ดู โอลีโอเคมิคอล (oleochemical).

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและกรดไขมัน · ดูเพิ่มเติม »

กลอบูลิน

กลอบูลิน (Globulin) คือสารประกอบโปรตีนในพลาสมา (น้ำเลือด) ช่วยในการสร้างแอนติบอดี้หรือภูมิคุ้มกันสิ่งแปลกปลอม หมวดหมู่:เลือด.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและกลอบูลิน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง

กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือรู้จักกันในชื่อ โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome; SARS) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้มี ไข้สูง ไอแห้ง หอบ หรือหายใจลำบาก.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและกลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง · ดูเพิ่มเติม »

การปลูกถ่ายอวัยวะ

Cosmas and Damian miraculously transplant the (black) leg of a Moor onto the (white) body of Justinian. Ditzingen, 16th century (Organ transplantation) เป็นการย้ายอวัยวะจากร่างหนึ่งไปสู่อีกร่างหนึ่ง หรือ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในผู้ป่วยคนเดียวกัน เพื่อแทนที่อวัยวะที่เสียหายหรือขาดไป การอุบัติขึ้นของ regenerative medicine ทำให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรสามารถสร้างหรือปลูกอวัยวะจากเซลล์ของคนไข้เอง (เซลล์ต้นกำเนิด หรือเซลล์ที่แยกมาจากอวัยวะที่เสื่อม) การปลูกถ่ายอวัยวะและ/หรือเนื้อเยื่อที่ถูกปลูกถ่ายลงในตัวของเจ้าของเองเรียกว่า การปลูกถ่ายด้วยออโทกราฟท์ (autotranplantation) การเปลี่ยนถ่ายที่กระทำจากคนสู่คนหรือสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันเรียกว่า การปลูกถ่ายด้วยแอลโลกราฟท์ (allotranplantation) การปลูกถ่ายด้วยอวัยวะจากสัตว์ชนิดอื่นเรียกว่า การปลูกถ่ายด้วยซีโนกราฟท์ (xenotransplantation) ในปัจจุบันอวัยวะที่สามารถปลูกถ่ายได้ ได้แก่ หัวใจ ไต ตา ตับ ปอด ตับอ่อน ลำไส้เล็ก และ ต่อมไทมัส เนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายได้ ได้แก่ กระดูก เอ็น กระจกตา ผิวหนัง ลิ้นหัวใจ และหลอดเลือดดำ ทั่วโลกมีการปลูกถ่ายไตมากที่สุด ตามมาด้วยตับและหัวใจ ส่วนเนื้อเยื่อ ได้แก่ กระจกตาและเนื้อเยื่อกระดูกและเอ็น อวัยวะบางอย่างเช่นสมองไม่สามารถปลูกถ่ายได้ ผู้บริจาคอวัยวะอาจมีชีวิตอยู่หรือสมองตายแล้ว เนื้อเยื่ออาจทำให้กลับคืนเหมือนเดิมได้ เช่นจากผู้บริจาคที่หัวใจตายมากว่า 24 ชั่วโมงนับจากหัวใจหยุดเต้น อวัยวะนั้นไม่เหมือนเนื้อเยื่อที่ส่วนใหญ่ (ยกเว้นกระจกตา) สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานสุดถึง 5 ปี นั่นหมายความว่าสามารถทำเป็นธนาคารอวัยวะได้ การปลูกถ่ายนำไปสู่ประเด็นทางจริยธรรมมากมายซึ่งรวมถึง การนิยามการตาย การอนุญาตให้ใช้อวัยวะเพื่อการปลูกถ่ายเมื่อไรและอย่างไร และการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับอวัยวะสำหรับปลูกถ่าย ยังมีประเด็นทางจริยธรรมอื่นๆอีกเช่น การทัวร์ปลูกถ่ายและประเด็นสังคมธุรกิจการค้าอวัยวะ ปัญหาเด่นๆได้แก่ การลักลอบค้าขายอวัยวะ การปลูกถ่ายอวัยวะหรือเนื้อเยื่อเป็นหนึ่งในสาขาวิชาการแพทย์สมัยใหม่ที่ซับซ้อนและท้าทาย กุญแจสำคัญคือปัญหาการปฏิเสธการปลูกถ่ายอวัยวะนั้นเนื่อจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งอาจนำไปสู่การปลูกถ่ายที่ล้มเหลวและจำเป็นต้องนำอวัยวะนั้นออกจากผู้รับโดยทันที การปฏิเสธการปลูกถ่ายอวัยวะนั้นสามารถลดได้โดยการจัดกลุ่มสายเชื้อ (serotyping) เพื่อหาผู้บริจาคและผู้รับที่เหมาะสมที่สุดและโดยการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressant drug).

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและการปลูกถ่ายอวัยวะ · ดูเพิ่มเติม »

ฝากล่องเสียง

ฝาปิดกล่องเสียง หรือ ลิ้นปิดกล่องเสียง เป็นแผ่นกระดูกอ่อนชนิดอิลาสติกคาร์ทิเลจ (elastic cartilage) ที่คลุมด้วยเยื่อเมือก (mucus membrane) ติดอยู่กับโคนของลิ้น มีลักษณะเป็นแผ่นฝาปิดที่ขยับขึ้นลงได้ ฝานี้จะยื่นเอียงขึ้นด้านบนหลังลิ้นและกระดูกไฮออยด์ (hyoid bone).

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและฝากล่องเสียง · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ

วะพิษเหตุติดเชื้อ ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและภาวะพิษเหตุติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ูมิคุ้มกันบกพร่อง (immunodeficiency หรือ immune deficiency) ในทางการแพทย์ถือว่า เป็นภาวะที่ความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับโรคติดเชื้อลดลงหรือขาดไป ซึ่งส่วนมากพบเป็นแบบทุติยภูมิ หรือเกิดขึ้นภายหลัง (acquired หรือ secondary) แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะนี้มาตั้งแต่กำเนิด หรือเรียกว่าภูมิคุ้มกันบกพร่องแบบปฐมภูมิ (primary immunodeficiency) ในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะจะได้รับยากดภูมิคุ้มกันเพื่อลดการต่อต้านอวัยวะปลูกถ่ายเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันมากเกินจนต่อต้านร่างกายตนเอง สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจะมีโอกาสติดเชื้อจากการติดเชื้อฉวยโอกาส (opportunistic infection) เพิ่มนอกเหนือไปจากการติดเชื้อทั่วไปที่เกิดขึ้นกับทุกคน.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและภูมิคุ้มกันบกพร่อง · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและมะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือที่นิยมเรียกกันว่า ลูคิเมีย (Leukemia, Leukeamia) เป็นมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือด ทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดชนิดผิดปกติออกมามากกว่าปกติ และจะไปรบกวนการสร้างเม็ดเลือดปกติ ทำให้จำนวนเม็ดเลือดที่ปกตินั้นมีจำนวนลดน้อยลง.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและมะเร็งเม็ดเลือดขาว · ดูเพิ่มเติม »

ยาชุด

หมายถึง ยาหลายๆ อย่างที่จัดใส่รวมไว้ในซองเดียวกันเพื่อรับประทานพร้อมกันตั้งแต่ 2 เม็ดขึ้นไป อาจเป็น ยาชุดสด ซึ่งหมายถึง ยาชุดที่ได้รับหลังจากผู้ขายซักถามอาการเจ็บป่วยผู้ซื้อแล้วจึงจัดตามอาการ หรือ ยาชุดแห้ง ซึ่งหมายถึง ยาชุดที่จัดเตรียมไว้แล้วเป็นซองๆ พร้อมจำหน่าย ยาชุดถูกใช้ทั้งในกลุ่มผู้ใหญ่และกลุ่มเด็ก โดยยาชุดที่จัดให้เด็กจะเป็นยาชนิดเดียวกับที่จัดให้กับผู้ใหญ่ แต่เพียงนำมาหักแบ่งเป็นเสี้ยว หรือบดเป็นผงรวมกันในซอง เนื่องจากยาที่นำมาจัดใส่เป็นชุด มักจะประกอบด้วยยาอันตรายและยาที่ต้องควบคุมเป็นพิเศษ เช่น ยาชุดแก้ปวดบางชุด ซึ่งอาจเรียกว่า ยาชุดคลายเส้น ยาชุดนวด ยาชุดประดงเส้น ยากลุ่มนี้มักจะประกอบด้วย Dipyrone, Aspirin, Phenylbutazone, Prednisolone หรือ Dexamethasone อีกตัวอย่างหนึ่ง ยาชุดที่ทำให้รู้สึกอยากอาหาร ที่เรียกว่า ยาชุดอ้วน จะประกอบด้วย Prednisolone หรือ Dexamethasone เป็นหลักเช่นกัน ปัจจุบัน ยาอันตรายหลายชนิดถูกห้ามผลิตแล้ว ถึงแม้ผู้ที่ใช้ยารู้สึกได้กับการลดอาการปวด และมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น แต่จากการสังเกตและสอบถามอาการ ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีอาการกระเพาะทะลุ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ติดตามมาภายหลัง.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและยาชุด · ดูเพิ่มเติม »

ระบบหายใจ

ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ ระบบทางเดินหายใจมีหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซให้กับสิ่งมีชีวิต ในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมระบบทางเดินหายใจประกอบไปด้วย จมูกหลอดลม ปอด และกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจ ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกแลกเปลี่ยนที่ปอดด้วยกระบวนการแพร่ สัตว์ประเภทอื่นๆ เช่น แมลงมีระบบทางเดินหายใจที่คล้ายคลึงกับมนุษย์แต่มีลักษณะทางกายวิภาคที่ง่ายกว่า ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำผิวหนังของสัตว์ก็ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซได้ด้วย พืชก็มีระบบทางเดินหายใจเช่นกัน แต่ทิศทางการแลกเปลี่ยนก๊าซเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับสัตว์ ระบบแลกเปลี่ยนก๊าซของพืชประกอบไปด้วยรูเล็กๆ ใต้ใบที่เรียกว่าปากใ.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและระบบหายใจ · ดูเพิ่มเติม »

รา

รา หรือ เชื้อรา เป็นสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรเห็ดราซึ่งโตในรูปของใยหลายเซลล์ที่เรียกว่า ไฮฟา ในทางตรงกันข้าม ราที่สามารถเติบโตในรูปแบบของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจะเรียกว่า ยีสต์ รามีความหลากหลายทางชีวภาพมาก ซึ่งการเติบโตของไฮฟา ทำให้เกิดรูปร่างที่ผิดแปลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนอาหาร รามีโครโมโซมเพียงชุดเดียว (haploid) มีผนังเซลล์ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยไคติน (chitin) ไม่มีคลอโรฟิลล์ ดำรงชีพแบบ saprophyte คือ หลั่งเอนไซม์ออกนอกเซลล์ เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และซับซ้อนให้ได้เป็นโมเลกุลที่เล็กที่สุดแล้วจึงดูดซับเข้าไปภายในเซลล์ ราถูกจัดให้เป็นจุลินทรีย์ และไม่ถูกจำแนกออกไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง แต่สามารถพบได้ในส่วนไซโกไมโคตาและอาสโกไมโคตา ในอดีต ราถูกจัดให้อยู่ภายในกลุ่มดิวเทอโรไมโคต.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและรา · ดูเพิ่มเติม »

ลิมโฟไซต์

ลิมโฟไซต์ (lymphocyte) เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์มีกระดูกสันหลัง รวมถึงมนุษย์ อาจแบ่งออกเป็นเซลล์เอ็นเค (natural killer/NK cell, ทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันแบบพื้นฐานและการทำลายเซลล์) เซลล์ที (ระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวและการทำลายเซลล์) และเซลล์บี (ระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัว ทำงานผ่านแอนติบอดี) เป็นเซลล์ที่พบเป็นส่วนใหญ่ในระบบน้ำเหลือง (lymph) จึงได้ชื่อว่าลิมโฟไซต์ ("เซลล์น้ำเหลือง") * หมวดหมู่:น้ำเหลือง หมวดหมู่:เนื้อเยื่อน้ำเหลือง หมวดหมู่:ระบบน้ำเหลือง หมวดหมู่:ระบบภูมิคุ้มกัน.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและลิมโฟไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

ลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง

ลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง หรือ เอสแอลอี (systemic lupus erythematosus, SLE, lupus) เป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่ง เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ จึงเข้าโจมตีเนื้อเยื่อปกติของร่างกายทำให้เกิดอาการป่วย ผู้ป่วยอาจมีอาการได้หลายแบบตั้งแต่เล็กน้อยแทบไม่มีอาการไปจนถึงรุนแรงอาจถึงแก่ชีวิต อาการที่พบบ่อยได้แก่ ข้ออักเสบ มีไข้ เจ็บหน้าอก ผมร่วง แผลในปาก ต่อมน้ำเหลืองโต อ่อนเพลีย และมีผื่นแดง ซึ่งมักพบที่บริเวณใบหน้า ผู้ป่วยมักมีระยะที่อาการเป็นมาก อาจเรียกว่าระยะกำเริบ และระยะที่อาการเป็นน้อย เรียกว่าระยะสงบ สาเหตุที่แท้จริงของเอสแอลอีนั้นยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นผลจากหลายปัจจัยทั้งจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ในแฝดไข่ใบเดียวกัน (แฝดเหมือน) จะพบว่าหากคนหนึ่งป่วยเอสแอลอี อีกคนหนึ่งจะมีโอกาสสูงถึง 24% ที่จะเป็นโรคด้วย ปัจจัยเสี่ยงที่พบว่าเพิ่มโอกาสการเป็นโรคได้แก่ ฮอร์โมนเพศหญิง แสงแดด การสูบบุหรี่ ภาวะพร่องวิตามินดี และโรคติดเชื้อบางชนิด กลไกหลักที่ทำให้เกิดอาการของโรคคือการเกิดแอนติบอดีต่อเนื้อเยื่อร่างกายตัวเอง เรียกว่า ออโตแอนดิบอดี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแอนติบอดีต่อนิวเคลียส ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบ การวินิจฉัยบางครั้งอาจทำได้ยาก ต้องใช้ทั้งอาการและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการประกอบกัน โรคอื่นๆ ในกลุ่มของโรคลูปัสมีอีกหลายโรค ซึ่งแต่ละโรคอาจมีอาการทั้งส่วนที่เหมือนและส่วนที่ต่างจากเอสแอลอี โรคเหล่านี้ เช่น ลูปัส อีริทีมาโตซัส ชนิดรูปคล้ายจาน, ลูปัส อีริทีมาโตซัส ที่ผิวหนังแบบกึ่งเฉียบพลัน และ ลูปัส อีริทีมาโตซัส ในทารกแรกเกิด เป็นต้น ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาเอสแอลอีให้หายขาด การรักษาจะเน้นไปที่การระงับอาการด้วยการลดการอักเสบ และลดกระบวนการภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยาที่ใช้ เช่น ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาสเตียรอยด์ ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ไฮดรอกซีคลอโรควิน และเมโทเทรกเซท ส่วนการแพทย์ทางเลือกนั้นยังไม่พบว่ามีวิธีใดที่รักษาแล้วเห็นผล ผู้ป่วยอาจมีอายุขัยสั้นกว่าคนปกติ โดยโรคนี้จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุด หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมผู้ป่วย 80% จะอยู่รอดได้นานกว่า 15 ปี หากผู้ป่วยหญิงเกิดตั้งครรภ์จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นไปอีก แต่ส่วนใหญ่จะสามารถมีลูกได้ ความชุกของเอสแอลอีมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ โดยอยู่ที่ 20-70 ต่อ 100,000 ประชากร ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์จะพบโรคนี้บ่อยที่สุดโดยพบถึง 9 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ชาย ช่วงอายุที่พบได้บ่อยอยู่ที่ 15-45 ปี แต่ก็พบในช่วงอายุอื่นๆ ได้เช่นกัน ชาวแอฟริกา แคริบเบียน และจีน มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนขาว ส่วนความชุกของโรคในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนานั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เนื่องจากผู้ป่วยอาจเข้าไม่ถึงระบบบริการสุขภาพ ชื่อภาษาอังกฤษของโรคนี้คือ ลูปัส (Lupus) เป็นภาษาลาตินที่แปลว่า หมาป่า ชื่อนี้มีที่มาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 13 โดยเชื่อว่ามาจากการที่ผื่นที่พบในผู้ป่วยมีลักษณะเหมือนถูกหมาป่ากัด คนไทยหลายคนรู้จักโรคนี้ในชื่อ "โรคพุ่มพวง" เนื่องจาก พุ่มพวง ดวงจันทร์ นักร้องลูกทุ่งชื่อดังได้เสียชีวิตจากโรคนี้.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง · ดูเพิ่มเติม »

วัณโรค

วัณโรค (Tuberculosis) หรือ MTB หรือ TB (ย่อจาก tubercle bacillus) เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อย และถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วยในหลายกรณี ที่เกิดจากไมโคแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ ตามปกติคือ Mycobacterium tuberculosis วัณโรคโดยปกติก่อให้เกิดอาการป่วยที่ปอด แต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นของร่างกายได้ วัณโรคแพร่ผ่านอากาศเมื่อผู้ที่มีการติดเชื้อ MTB มีฤทธิ์ไอ จาม หรือส่งผ่านน้ำลายผ่านอากาศ การติดเชื้อในมนุษย์ส่วนมากส่งผลให้เกิดไร้อาการโรค การติดเชื้อแฝง และราวหนึ่งในสิบของการติดเชื้อแฝงท้ายที่สุดพัฒนาไปเป็นโรคมีฤทธิ์ ซึ่ง หากไม่ได้รับการรักษา ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตมากกว่า 50% อาการตรงต้นแบบมีไอเรื้อรังร่วมกับเสมหะมีเลือดปน ไข้ เหงื่อออกกลางคืน และน้ำหนักลด การติดเชื้อในอวัยวะอื่นก่อให้เกิดอาการอีกมากมาย การวินิจฉัยต้องอาศัยรังสีวิทยา (โดยมากคือ การเอ็กซ์เรย์อก) การทดสอบโรคบนผิวหนัง การตรวจเลือด เช่นเดียวกับการตรวจโดยทางกล้องจุลทรรศน์และการเพาะเชื้อจุลชีววิทยาต่อของเหลวในร่างกาย การรักษานั้นยากและต้องอาศัยการปฏิชีวนะยาวหลายคอร์ส คาดกันว่าหนึ่งในสามของประชากรโลกติดเชื้อ M. tuberculosis และมีการติดเชื้อใหม่เกิดขึ้นในอัตราหนึ่งคนต่อวินาที ใน..

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและวัณโรค · ดูเพิ่มเติม »

วัคซีน

็กกำลังรับวัคซีนโปลิโอชนิดหยอด วัคซีน (Vaccine) เป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์หรือส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งจะมีกลไกชักนำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้น ๆ กล่าวคือมีฤทธิ์ชักนำการสร้างภูมิคุ้มกันอันจำเพาะกับโรค วัคซีนโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค (แอนติเจน) ซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง, ตาย หรือการใช้ส่วนที่เป็นพิษที่อ่อนฤทธิ์ลง (toxoid) โดยวัคซีนจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและสามารถจดจำได้ว่าเป็นสารก่อโรคซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป คุณสมบัติการจดจำแอนติเจนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ร่างกายสามารถกำจัดแอนติเจนหากเมื่อได้รับอีกในภายหลังได้รวดเร็วยิ่งขึ้น วัคซีนเริ่มมีการพัฒนาในราวคริสต์ทศวรรษที่ 1770 โดยเอดเวิร์ด เจนเนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ประสบความสำเร็จในการสกัดเชื้อ cowpox เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ (small pox) ในมนุษย์ได้ วัคซีนในระยะเริ่มแรกเป็นการนำเชื้อมาทำให้ตายหรือการใช้เชื้อที่อ่อนฤทธิ์เท่านั้น จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีรีคอมบีแนนต์มาช่วยในการพัฒนาโดยอาศัยความรู้ทางชีววิทยาระดับโมเลกุล และมีความพยายามพัฒนาวัคซีนโดยการสังเคราะห์แอนติเจนในการผลิตซับยูนิตวัคซีน (subunit vaccine) อีกด้วย คำว่า "วัคซีน" (vaccine) ได้มาจากครั้งที่เอ็ดวาร์ดให้เชื้อ cowpox แก่มนุษย์ โดยคำว่า variolæ vaccinæ มาจากคำว่า vaccīn-us หรือ vacca ซึ่งแปลว่า cow หรือวัวซึ่งมีความสัมพันธ์กับเชื้อ cowpox.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและวัคซีน · ดูเพิ่มเติม »

สมุนไพร

ต้นหอม สมุนไพรที่ใช้ในการปรุงอาหาร สมุนไพร หมายถึง "ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ" หากนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า ยา ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า เภสัชวัตถุ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและสมุนไพร · ดูเพิ่มเติม »

สารภูมิต้านทาน

รภูมิต้านทาน หรือ แอนติบอดี (antibody) หรือ อิมมิวโนโกลบูลิน (immunoglobulin) เป็นโปรตีนขนาดใหญ่ในระบบภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ สร้างขึ้นเพื่อตรวจจับและทำลายฤทธิ์ของสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย เช่น แบคทีเรีย และไวรัส แอนตีบอดีแต่ละชนิดจะจดจำโมเลกุลเป้าหมายที่จำเพาะของมันคือ แอนติเจน (antigen) แอนติบอดีส่วนใหญ่ถูกหลั่งออกมาจากเซลล์พลาสมา (plasma cell) ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดบีลิมโฟไซต์ (B lymphocyte) การกำจัดสิ่งแปลกปลอมโดยการสร้างแอนติบอดีเป็นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า humoral immune response การเพิ่มปริมาณแอนตีบอดีที่สนใจสามารถทำได้โดยฉีดโปรตีนหรือเส้นเพปไทด์ ซึ่งเราเรียกว่า "แอนติเจน" เข้าไปในสิ่งมีชีวิต เช่น หนู กระต่าย แพะ หรือ แกะ เป็นต้น แอนติเจนเป็นสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ ตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า เอปิโทป (epitope) ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันแบบสารน้ำ (humoral immune system) ของสัตว์เหล่านี้ก็จะสร้างแอนตีบอดีตอบสนองอย่างจำเพาะต่อแอนติเจนที่ฉีดเข้าไป.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและสารภูมิต้านทาน · ดูเพิ่มเติม »

สเตอรอยด์

ตอรอยด์ (อังกฤษ: steroid) เป็นลิพิดที่มีคุณสมบัติพิเศษ โดยที่โครงสร้างคาร์บอนจะเป็นวงแหวน 4 วงเชื่อมต่อกัน ความแตกต่างของชนิดสเตอรอยด์จะผันแปรไปตามฟังก์ชันนัลกรุป (functional group) ที่ติดอยู่กับวงแหวนเหล่านี้ มีสเตอรอยด์แตกต่างกันนับร้อยชนิดที่สามารถตรวจพบในพืชและสัตว์ ตัวอย่างบทบาทสำคัญของสเตอรอยด์ในสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่คือ ฮอร์โมน Steroid skeleton. Carbons 18 and above can be absent. ในสรีรวิทยาและการแพทย์ของมนุษย์ สารสเตอรอยด์ที่สำคัญส่วนใหญ่ คือ คอเลสเตอรอล, สเตอรอยด์, ฮอร์โมน และสารตั้งต้น (precursor) และเมแทบอไลต์ คอเลสเตอรอลเป็นสารประกอบประเภท สเตอรอยด์แอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ในสัตว์ แต่อย่างไรก็ดี ถ้ามันมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดโรค และภาวะผิดปกติมากมาย เช่น ภาวะผนังเส้นโลหิตแดงหนาและมีความยึดหยุ่นน้อยลง (atherosclerosis) สเตอรอยด์อื่นส่วนใหญ่ถูกสังเคราะห์จาก คอเลสเตอรอลฮอร์โมนต่าง ๆ เช่น ฮอร์โมนเพศของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrate) ก็เป็นสเตอรอยด์ที่สร้างจากคอเลสเตอรอล สเตอรอยด์แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและสเตอรอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

อีโอซิโนฟิล

ลักษณะของอีโอซิโนฟิล อีโอซิโนฟิล (Eosinophil) เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล โดยมีนิวเคลียสขนาดใหญ่ ปกติจะเห็นเป็น 2 lobe และสามารถเห็นแกรนูลชัดเจนโดยมีขนาดประมาณ 0.5 ไมครอน ซึ่งจะติดสีแดงอิฐเมื่อมองดูจากฟิล์มเลือด โดยปกติเราสามารถพบอีโอซิโนฟิลในไขกระดูกประมาณ 0-3 เปอร์เซนต์ และในกระแสเลือด ประมาณ 0-4 เปอร์เซนต์ต่อเม็ดเลือดขาวทั้งหมด หรือประมาณ 0-432 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิลิตร อีโอซิโนฟิลสร้างจากไขกระดูก โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 3-6 วัน หลังจากนั้น จะเข้าสู่กระแสเลือด ประมาณ 6-8 ชั่วโมง และจะกระจายไปตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยอีโอซิโนฟิลที่อยู่ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ อาจจะกลับเข้าไปสู่กระแสเลือดและไขกระดูกอีกก็ได้ นอกจากนี้ พบว่าอีโอซิโนฟิลสามารถเคลื่อนที่ไปยังเนื้อเยื่อที่เกิดการอักเสบอีกด้วย โดยปกติอีโอซิโนฟิลมีหน้าที่เกี่ยวข้องการตอบสนองต่อการติดเชื้อพยาธิ การแพ้ หรือ การอักเสบ โดยภาวะที่พบอีโอซิโนฟิลสูงนั้น อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น ร่างกายเกิดอาการแพ้ (Allergic disorders) การติดเชื้อพยาธิ โรคผิวหนังบางชนิด เป็นต้น.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและอีโอซิโนฟิล · ดูเพิ่มเติม »

จุลชีพก่อโรค

เชื้อก่อโรค (pathogen) โดยทั่วไปหมายถึงเชื้อที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย พรีออน เชื้อรา หรือจุลชีพอื่นๆ แต่เดิมคำว่า pathogen หมายถึงสิ่งที่ทำให้เกิดโรค อาจเป็นเชื้อหรือไม่ใช่เชื้อก็ได้ แต่ปัจจุบันนิยมใช้ในความหมายถึงเชื้อที่ทำให้เกิดโรคมากกว่า หมวดหมู่:โรคติดเชื้อ.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและจุลชีพก่อโรค · ดูเพิ่มเติม »

จุลินทรีย์

จุลินทรีย์ ''E coli'' ขนาด 10,000 เท่า จุลินทรีย์, จุลชีพ, จุลชีวัน หรือ จุลชีวิน (microorganism) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจึงจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ แบคทีเรีย อาร์เคีย รา และ ยีสต์ เป็นต้น เราสามารถพบจุลินทรีย์ได้ทุกสภาวะแวดล้อม แม้แต่ในสภาวะแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ไม่ได้ แต่จุลินทรีย์บางชนิดสามารถปรับตัวอาศัยอยู่ได้ เช่น ในน้ำพุร้อนบริเวณภูเขาไฟใต้ทะเลลึก หรือภูเขาไฟธรรมดา ใต้มหาสมุทรที่มีความกดดันของน้ำสูงๆ ในน้ำแข็งที่มีอุณหภูมิเย็นจัด บริเวณที่มีสภาพความเป็นกรดด่างสูง หรือแม้กระทั่งในบริเวณที่ไม่มีออกซิเจนส่วนใหญ่หมายถึงสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หรือหลายๆเซลล์ (เช่น เชื้อรา) หมวดหมู่:ชีววิทยา.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและจุลินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

ทางเดินอาหารของมนุษย์

right ระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal tract, GI tract, alimentary canal หรือ gut) ระบบทางเดินอาหาร อาจเรียกอีกอย่างว่าระบบย่อยอาหาร (digestive tract) ระบบอวัยวะนี้มีเฉพาะในสัตว์หลายเซลล์ (multicellular animals) ที่ต้องกินอาหารและย่อยอาหาร เพื่อรับสารอาหารและพลังงานและขับถ่ายของเสียออกไป.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและทางเดินอาหารของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ข้ออักเสบรูมาตอยด์

ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis, RA) เป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อข้อต่อของร่างกายเป็นหลัก ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดที่ข้อต่อ ร่วมกับอาการบวมและร้อน อาการเจ็บปวดและตึงเหล่านี้มักเป็นมากขึ้นหากข้อต่อนั้นได้พัก มักเป็นที่ข้อต่อของมือและข้อมือ และมักเป็นเหมือนกันทั้งสองข้าง นอกจากข้อต่อแล้วยังสามารถแสดงอาการที่ระบบอื่นของร่างกายได้อีก เช่น เม็ดเลือดแดงต่ำ ปอดอักเสบ หัวใจอักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้แล้วผู้ป่วยมักมีอาการไข้และอ่อนเพลียร่วมด้วย อาการเหล่านี้มักค่อยเป็นค่อยไปในระยะเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน หมวดหมู่:ข้ออักเสบ หมวดหมู่:โรคภูมิต้านตนเอง หมวดหมู่:โรคของฟาสเชีย หมวดหมู่:โรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและข้ออักเสบรูมาตอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

คางทูม

งทูมเป็นโรคติดเชื้อไวรัสอย่างหนึ่งเกิดกับมนุษย์ มีสาเหตุจากไวรัสคางทูม (mumps virus) เคยเป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กทั่วโลกก่อนที่จะมีการพัฒนาวัคซีนขึ้นใช้ ปัจจุบันยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศโลกที่สาม และมีการระบาดเป็นครั้งๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว อาการที่พบบ่อยที่สุดคือมีต่อมน้ำลายโตและเจ็บ ส่วนใหญ่เป็นต่อมน้ำลายพารอทิด (ต่อมน้ำลายหน้าหู) อาจพบมีอัณฑะอักเสบหรือผื่นได้ ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง ในขณะที่ถ้าผู้ป่วยเป็นวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่เพศชายอาจมีภาวะแทรกซ้อนเช่นเป็นหมันหรือมีบุตรยากได้ง่ายกว่าในเด็ก แต่โดยรวมก็ยังถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบน้อย ส่วนใหญ่โรคนี้เป็นแล้วหายได้เอง ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาจำเพาะที่นอกเหนือไปกว่าการบรรเทาอาการด้วยยาแก้ปวด อาการนำของคางทูมได้แก่ไข้และปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาการอื่นเช่น ปากแห้ง เจ็บหน้า เจ็บหู หรือหากเป็นรุนแรงอาจมีอาการเสียงแหบ ทั้งนี้ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสคางทูม เกือบ 20% ไม่มีอาการ จึงอาจแพร่เชื่อได้โดยไม่รู้ตัว.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและคางทูม · ดูเพิ่มเติม »

ตับอักเสบ เอ

รคไวรัสตับอักเสบ เอ (ชื่อเดิมคือ การติดเชื้อตับอักเสบ) เป็น โรคติดเชื้อ เฉียบพลัน ของ ตับ ซึ่งเกิดจากไวรัสตับอักเสบ (เอชเอวี) ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีอาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้มีอายุน้อย ในกลุ่มผู้ป่วยที่แสดงอาการของโรค ช่วงเวลาระหว่างการติดเชื้อและการเกิดอาการคือสองถึงหกสัปดาห์ เมื่อโรคแสดงอาการ มักเกิดขึ้นนานราวแปดสัปดาห์และอาการต่างๆ อาจได้แก่: การคลื่นไส้ การอาเจียน ท้องเสีย ผิวเหลือง เป็นไข้ และปวดท้อง ผู้ป่วยประมาณ 10–15% กลับมามีอาการอีกภายในหกเดือนหลังจากการติดเชื้อครั้งแรก ภาวะ ตับวายเฉียบพลัน พบได้น้อยมาก แต่พบบ่อยในผู้สูงอ.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและตับอักเสบ เอ · ดูเพิ่มเติม »

ปรสิต

ปรสิต (parasite) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่อาศัยผู้อื่นหรือเซลล์ชนิดอื่นเป็นที่พักอาศัยและแหล่งอาหาร และบางครั้งทำร้ายสิ่งมีชีวิตที่ใช้ประโยชน์นั้นหรือเซลล์ภายในจนเจ็บป่วยหรือถึงกับเสียชีวิต เช่น การอาศัยอยู่สิ่งมีชีวิตชั้นต่ำในร่างกายมนุษย์ ตัวอย่าง พยาธิ เป็นต้น.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและปรสิต · ดูเพิ่มเติม »

ปอดบวม

รคปอดบวม (pneumonia) หรือ โรคปอดอักเสบ (pneumonitis) เป็นโรคของระบบหายใจอย่างหนึ่งซึ่งมีการอักเสบของปอด โดยเฉพาะของถุงลม ทำให้มีไข้ มีอาการทางปอด มีการสูญเสียของพื้นที่แลกเปลี่ยนก๊าซ ซึ่งเห็นได้จากการเอกซเรย์ปอด ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือพยาธิ เชื้อแบคทีเรียชื่อ "นิวโมคอคคัส" (Pneumococcal Disease) เป็นสาเหตุหลัก http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/31524 แต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่นได้รับสารเคมีหรือการกระทบกระเทีอนทางกายภาพได้เช่นกัน ผู้ป่วยโรคปอดบวมจะมีอาการโดยทั่วไปได้แก่ ไอ เจ็บหน้าอก มีไข้สูง และหายใจหอบ การวินิจฉัยจะกระทำโดยการถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดและการตรวจเสมหะ ปอดบวมบางชนิดมีวัคซีนป้องกัน ส่วนวิธีการรักษาจะขึ้นกับสาเหตุของโรค เช่น โรคปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรียจะรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ ในอดีตปอดบวมเป็นโรคที่ร้ายแรงมากจนเคยมีคำกล่าวว่าปอดบวมเป็น "นายของสาเหตุการตายของมนุษย์" (ศตวรรษที่ 19 วิลเลียม ออสเลอร์) แต่หลังจากที่มีการคิดค้นการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและวัคซีนในศตวรรษที่ 20 ทำให้ผลการรักษาปอดบวมดีขึ้นมาก อย่างไรก็ดีปอดบวมยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยอายุน้อย และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยในโลกที่สามด้ว.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและปอดบวม · ดูเพิ่มเติม »

นิวเคลียส

นิวเคลียส (nucleus, พหูพจน์: nucleuses หรือ nuclei (นิวคลีไอ) มีความหมายว่า ใจกลาง หรือส่วนที่อยู่ตรงกลาง โดยอาจมีความหมายถึงสิ่งต่อไปนี้ โดยคำว่า นิวเคลียส (Nucleus) เป็นคำศัพท์ภาษาละตินใหม่ (New Latin) มาจากคำศัพท์เดิม nux หมายถึง ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว (nut).

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและนิวเคลียส · ดูเพิ่มเติม »

น้ำเหลือง

น้ำเหลือง (Lymph) คือของเหลวที่หมุนเวียนอยู่ในระบบน้ำเหลือง น้ำเหลืองเกิดขึ้นเมื่อสารน้ำแทรก (ของเหลวซึ่งมีอยู่ตามร่องของเนื้อเยื่อ) มารวมกันผ่านหลอดน้ำเหลืองฝอย แล้วถูกส่งต่อผ่านท่อน้ำเหลืองไปยังต่อมน้ำเหลืองก่อนที่ในท้ายที่สุดจะถูกผสมรวมกับเลือดที่บริเวณหลอดเลือดดำใต้กระดูกไหปลาร้าซ้ายหรือขวา องค์ประกอบของน้ำเหลืองจึงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ซึ่งทำให้เลือดและเซลล์ต่างๆสามารถแลกเปลี่ยนองค์ประกอบกับสารน้ำแทรก (ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายกับน้ำเลือดเพียงแต่ประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาว) ในกระบวนการแลกเปลี่ยนองค์ประกอบ น้ำเหลืองจะคืนโปรตีนและสารน้ำแทรกส่วนเกินไปยังกระแสเลือด น้ำเหลืองอาจจับพาแบคทีเรียไปยังต่อมน้ำเหลืองเพื่อกำจัด เซลล์มะเร็งเนื้อร้ายอาจถูกจับพาโดยน้ำเหลืองได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ น้ำเหลืองอาจจับพาไขมันจากทางเดินอาหารอีกด้ว.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและน้ำเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

แกรนูโลไซต์

อีโอซิโนฟิล เบโซฟิล แกรนูโลไซต์ (granulocyte) เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีแกรนูลอยู่ภายในเซลล์ แบ่งย่อยได้เป็น นิวโตรฟิล (neutrophil) มีแกรนูลขนาดเล็ก นิวเคลียสมี 2-5 พู มีหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอมด้วยวิธีฟาโกไซโตซิส อีโอซิโนฟิล (eosinophil) มีแกรนูลขนาดกลาง นิวเคลียสมี 2 พู มีหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอม และยับยั้งการสร้างสารก่อภูมิแพ้ เบโซฟิล (basophil) มีแกรนูลขนาดใหญ่ นิวเคลียสรูปร่างบิดเป็นรูป s หรือ m มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัว และหลั่งสารฮิสตามีน (histamine) ซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้ หมวดหมู่:เลือด หมวดหมู่:เม็ดเลือดขาว หมวดหมู่:เซลล์ หมวดหมู่:โลหิตวิทยา หมวดหมู่:เซลล์เม็ดเลือด หมวดหมู่:ชีววิทยาของเซลล์.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและแกรนูโลไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

แมสต์เซลล์

แมสต์เซลล์ (Mastocyte หรือ Labrocyte) เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างกลมหรือรี ในไซโทรพลาสซึมมีแกรนูลที่บรรจุสาร histamine และ heparin เอาไว้ โดยแมสต์เซลล์มีลักษณะใกล้เคียงกับเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีชื่อว่าเบโซฟิลมากจึงเคยถูกเข้าใจว่าเป็นเบโซฟิลที่ออกมาจากหลอดเลือด แต่จากการศึกษาภายหลังพบว่าทั้งสองเซลล์ไม่ใช่เซลล์ชนิดเดียวกัน ทั้งนี้ในแกรนูลของเซลล์ทั้งสองชนิดบรรจุ histamine และ heparin รวมทั้ง anticoagulant เช่นเดียวกัน โดย heparin เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดคือ ช่วยไม่ให้เลือดแข็งตัว และ histamine เป็นสารที่เกี่ยวข้องกับการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และการขยายหลอดเลือด หมวดหมู่:ชีววิทยาของเซลล์.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและแมสต์เซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

แอนติเจน

255px ในวิทยาภูมิคุ้มกัน แอนติเจน หรือ สารก่อภูมิต้านทาน คือสารใด ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบปรับตัว (adaptive immune response) แอนติเจนมักเป็นสารที่แปลกปลอมหรือเป็นพิษต่อร่างกาย (เช่น ตัวเชื้อแบคทีเรีย) ซึ่งเมื่อเข้ามาในร่างกายแล้วจะถูกจับโดยแอนติบอดีที่มีความจำเพาะ แอนติบอดีแต่ละชนิดถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองกับแอนติเจนชนิดหนึ่ง ๆ เนื่องจากมีความแตกต่างอย่างจำเพาะในส่วนจับคอมพลีเมนท์ (complementary determining region) ของแอนติบอดีนั้น ๆ (มักเปรียบเทียบว่าเหมือนการจับคู่กันได้พอดีของลูกกุญแจกับแม่กุญแจ) ผู้เสนอให้ใช้คำว่าแอนติเจนคือ ลาสโล เดเทอร์ (László Detre) ซึ่งใช้ครั้งแรกในบทความวิชาการที่เขียนร่วมกับอีลี เมตช์นิคอฟ (Élie Metchnikoff) ในปี..

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและแอนติเจน · ดูเพิ่มเติม »

โพรโทซัว

รโทซัว (protozoa) เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กที่จัดได้ว่ามีความสำคัญมากในระบบนิเวศ สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำจืด และน้ำเค็ม รวมทั้งบริเวณที่ชื้นแฉะ ยังพบว่าอาศัยอยู่ในร่างกายของสัตว์บกอีกหลายชนิด มีทั้งที่เป็นโทษและมีประโยชน์ โพรโทซัวนั้นมีทั้งที่สามารถสร้างอาหารได้เอง เช่น พวกที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ซึ่งมักจะสีเขียวของคลอโรฟิลล์ และพวกไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ การเพิ่มขึ้นของโพรโทซัวอย่างรวดเร็วหรือการบลูมขึ้นมา จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ red tide ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำบริเวณนั้น ความเป็นพิษเกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึม และถูกขับออกมาละลายอยู่ในน้ำ โดยพิษจะมีผลให้สัตว์น้ำเป็นอัมพาต.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและโพรโทซัว · ดูเพิ่มเติม »

โมโนไซต์

ภาพวาดของเม็ดเลือดขาวโมโนซัยต์ โมโนไซต์ (monocyte) เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง และเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ โมโนไซต์ปกติจะมีประมาณ 3 - 5 % มีอายุ 5 - 6 วัน ทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมด้วยวิธีฟาโกไซโตซิส มีความสามารถสูงพอๆกับ neutrophil และสร้าง antibody ต่อต้านเชื้อโรค หน้าที่ของโมโนไซต์ (monocyte) โมโนไซท์ มีหน้าที่ป้องร่างกายเช่นเดียวกับนิวโตรฟิล สามารถกินเชื้อจุลินทรีย์ เช่น บัคเตรี เชื้อรา ยีสต์ หรือแม้แต่เม็ดเลือดแดง โดยที่โมโนไซท์สามารถกินของใหญ่ ๆ ได้ บางทีจึงเรียกกันว่า มัค โครเฟจ (macrophage) เทียบกับนิวโตรฟิล ซึ่งเรียกว่า ไมโครเฟจ(microphage) โมโนไซท์มีชีวิตในกระแสโลหิตที่หมุนเวียนเพียงระยะสั้นเท่านั้น ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายเข้าสู่เนื้อเยื่อ แล้วเปลี่ยนรูปร่างกลายเป็น ฮิสติโอไซท์ (Histiocyte) หมวดหมู่:เม็ดเลือดขาว หมวดหมู่:เซลล์เม็ดเลือด หมวดหมู่:เซลล์ หมวดหมู่:ชีววิทยาของเซลล์.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและโมโนไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

โรคพิษสุนัขบ้า

รคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ (rabies, hydrophobia) เป็นโรคไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลันของสมองในมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นชนิดอื่น อาการเริ่มต้นมีไข้และอาการเป็นเหน็บ ณ ตำแหน่งสัมผัส อาการเหล่านี้ตามด้วยอาการต่อไปนี้อย่างหนึ่งหรือมากกว่า ได้แก่ การเคลื่อนไหวรุนแรง ความตื่นเต้นควบคุมไม่ได้ กลัวน้ำ ไม่สามารถขยับร่างกายบางส่วน สับสนและไม่รู้สึกตัว เมื่อเกิดอาการแล้ว จะลงเอยด้วยถึงแก่ชีวิตแทบทั้งสิ้น ช่วงเวลาระหว่างการติดต่อโรคและการเริ่มแสดงอาการนั้นปกติระหว่างหนึ่งถึงสามเดือน ทว่า ช่วงเวลานี้มีได้ตั้งแต่น้อยกว่าหนึ่งสัปดาห์จนถึงกว่าหนึ่งปี เวลานี้ขึ้นอยู่กับระยะทางที่ไวรัสเข้าระบบประสาทส่วนกลาง โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากลิสซาไวรัส (lyssavirus) ได้แก่ ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า (rabies virus) และลิสซาไวรัสค้างคาวออสเตรเลีย (Australian bat lyssavirus) โรคพิษสุนัขบ้าแพร่เมื่อสัตว์ที่ติดเชื้อข่วนหรือกัดสัตว์อื่นหรือมนุษย์ น้ำลายจากสัตว์ที่ติดเชื้อยังสามารถส่งผ่านโรคพิษสุนัขบ้าได้หากสัมผัสกับตา ปากหรือจมูก ทั่วโลก หมาเป็นสัตว์ที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้ากว่า 99% ในประเทศที่หมามีโรคเป็นปกติเกิดจากหมากัด ในทวีปอเมริกา ค้างคาวกัดเป็นแหล่งที่พบมากที่สุดของการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในมนุษย์ และผู้ป่วยน้อยกว่า 5% มาจากหมา สัตว์ฟันแทะติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าน้อยมาก ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าเดินทางไปสมองโดยตามประสาทส่วนปลาย โรคนี้สามารถวินิจฉัยได้หลังเริ่มแสดงอาการแล้วเท่านั้น โครงการควบคุมสัตว์และให้วัคซีนลดความเสี่ยงของโรคพิษสุนัขบ้าจากหมาในหลายภูมิภาคของโลก มีการแนะนำให้การสร้างภูมิคุ้มกันแก่บุคคลก่อนสัมผัสสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง กลุ่มเสี่ยงสูงมีผู้ที่ทำงานกับค้างคาวหรือผู้ที่ใช้เวลานานในพื้นที่ของโลกที่มีโรคพิษสุนัขบ้าเป็นปกติ ในผู้ที่สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าและบ้างทีอิมมูโนโกลบูลินโรคพิษสุนัขบ้ามีผลป้องกันโรคหากบุคคลได้รับการรักษาก่อนเริ่มมีอาการโรคพิษสุนัขบ้า การล้างแผลถูกกัดและข่วนด้วยน้ำสบู่ โพวิโดนไอโอดีนหรือสารชะล้างเป็นเวลา 15 นาทีอาจลดจำนวนอนุภาคไวรัสและอาจมีผลบ้างในการป้องกันการแพร่เชื้อ มีเพียงไม่กี่คนที่รอดชีวิตจากการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าหลังแสดงอาการ และได้รับการรักษาใหญ่ที่เรียก มิลวอกีโพรโทคอล (Milwaukee protocol) โรคพิษสุนัขบ้าเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 26,000 ถึง 55,000 คนต่อปี การเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้ากว่า 95% เกิดในทวีปแอฟริกาและเอเชีย โรคพิษสุนัขบ้าพบในกว่า 150 ประเทศและทุกทวีปยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา กว่า 3 พันล้านคนอาศัยอยู่ในบริเวณของโลกที่พบโรคพิษสุนัขบ้า หลายประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น สหรัฐและยุโรปตะวันตก ไม่มีโรคพิษสุนัขบ้าในหมา หลายประเทศเกาะขนาดเล็กไม่มีโรคพิษสุนัขบ้าเล.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและโรคพิษสุนัขบ้า · ดูเพิ่มเติม »

โรคภูมิต้านตนเอง

โรคภูมิต้านตนเอง (autoimmune disease) เกิดจากภาวะภูมิต้านตนเองที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายเกิดตอบสนองต่อสารหรือเนื้อเยื่อที่มีอยู่เป็นปกติในร่างกาย อาจเกิดกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง (เช่น ต่อมไทรอยด์อักเสบแบบภูมิต้านตนเอง) หรือเนื้อเยื่อประเภทหนึ่งๆ ในบริเวณต่างๆ (เช่น กลุ่มอาการกูดปาสเจอร์ ที่เกิดภูมิต้านตนเองต่อชั้น basement membrane ของปอดและไต) ก็ได้ หมวดหมู่:โรคภูมิต้านตนเอง.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและโรคภูมิต้านตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

โรคหัด

รคหัด (measles) เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่งที่ติดต่อกันได้ง่ายมาก เกิดจากเชื้อไวรัสหัด ในระยะแรกผู้ป่วยจะมีไข้ ซึ่งมักเป็นไข้สูง (>40 องศาเซลเซียส) ไอ น้ำมูกไหลจากเยื่อจมูกอักเสบ และตาแดงจากเยื่อตาอักเสบ ในวันที่ 2-3 จะเริ่มมีจุดสีขาวขึ้นในปาก เรียกว่าจุดของคอปลิก จากนั้นในวันที่ 3-5 จะเริ่มมีผื่นเป็นผื่นแดงแบน เริ่มขึ้นที่ใบหน้า จากนั้นจึงลามไปทั่วตัว อาการมักเริ่มเป็น 10-12 หลังจากรับเชื้อ และมักเป็นอยู่ 7-10 วันสามารถพบภาวะแทรกซ้อนได้ราว 30% ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้แก่ ท้องร่วง ตาบอด สมองอักเสบ ปอดอักเสบ และอื่นๆ โรคนี้เป็นคนละโรคกับโรคหัดเยอรมันและหัดกุหลาบ โรคหัดติดต่อทางอากาศ เชื้อหัดจะออกมาพร้อมกับการไอและการจามของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังอาจติดต่อผ่านการสัมผัสน้ำลายหรือน้ำมูกของผู้ป่วยได้ด้วย หากมีผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันและอยู่ในที่เดียวกันกับผู้ติดเชื้อ จะเกิดการติดเชื้อถึงเก้าในสิบ ผู้ติดเชื้อจะสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้ตั้งแต่ 4 วันก่อนมีอาการ ไปจนถึง 4 วัน หลังเริ่มมีผื่น.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและโรคหัด · ดูเพิ่มเติม »

โรคหัดเยอรมัน

รคหัดเยอรมัน หรือโรคเหือด (Rubella, German measles) หรือโรคหัดสามวัน (three-day measles) เป็นการติดเชื้อเกิดจากไวรัสหัดเยอรมัน โรคนี้มักไม่ร้ายแรงโดยผู้ป่วยครึ่งหนึ่งไม่รู้สึกตัวว่าป่วย ผื่นอาจเริ่มมีราวสองสัปดาห์หลังสัมผัสเชื้อและอยู่นานสามวัน ปกติเริ่มบนหน้าแล้วแพร่ไปร่างกายที่เหลือ ผื่นของโรคหัดเยอรมันสีไม่สดเท่าผื่นของโรคหัดและบ้างคัน พบปุ่มน้ำเหลืองบวมได้ทั่วไปและอาจอยู่นานหลายสัปดาห์ นอกจากนี้ อาจมีไข้ เจ็บคอและความล้า ในผู้ใหญ่ อาการปวดข้อพบได้บ่อย อาการแทรกซ้อนอาจรวมปัญหาเลือดออก อัณฑะบวม และการอักเสบของเส้นประสาท การติดเชื้อระหว่างช่วงต้นของการตั้งครรภ์อาจส่งผลให้เด็กเกิดมามีกลุ่มอาการโรคหัดเยอรมันแต่กำเนิด (CRS) หรือแท้ง อาการของ CRS มีปัญหาเกี่ยวกับตา เช่น ต้อกระจก หู เช่น หูหนวก หัวใจและสมอง พบปัญหาน้อยหลังสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ โรคหัดเยอรมันปกติแพร่ผ่านอากาศโดยทางการไอของผู้ที่ติดเชื้อ บุคคลแพร่เชื้อได้ระหว่างหนึ่งสัปดาห์ก่อนและหลังผื่นปรากฏ ทารกที่เป็น CRS อาจแพร่ไวรัสได้กว่าหนึ่งปี มีเฉพาะมนุษย์ที่ติดเชื้อ แมลงไม่แพร่โรค เมื่อฟื้นตัวแล้ว บุคคลจะมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อในอนาคต มีการทดสอบซึ่งสามารถพิสูจน์ยืนยันภูมิคุ้มกันได้ ยืนยันการวินิจฉัยโดยการพบไวรัสในเลือด คอหรือปัสสาวะ การทดสอบเลือดหาแอนติบอดีอาจเป็นประโยชน์ด้วย โรคหัดเยอรมันป้องกันได้ด้วยวัคซีนโรคหัดเยอรมันเพียงขนาดยาเดี่ยว - วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและโรคหัดเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

โรคตับแข็ง

รคตับแข็ง เป็นภาวะซึ่งเป็นผลจากโรคตับเรื้อรัง มีลักษณะเฉพาะคือการมีเนื้อเยื่อพังผืดเกิดขึ้นในเนื้อตับ ดึงรั้งเนื้อตับดีจนเป็นผิวตะปุ่มตะป่ำเรียกว่า regenerative nodule ทำให้ตับเสียการทำงานลงไป ตับแข็งมักเกิดขึ้นเป็นผลจากพิษสุราเรื้อรัง ตับอักเสบจากไวรัส (โดยเฉพาะจากไวรัสตับอักเสบบีและซี) และโรคตับคั่งไขมัน รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ภาวะแทรกซ้อนจากตับแข็งที่พบบ่อยคือภาวะท้องมาน ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างมากกับการสูญเสียคุณภาพชีวิต เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และผลเสียในระยะยาว ภาวะแทรกซ้อนอื่นที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตคือโรคสมองที่เกิดจากตับ (hepatic encephalopathy) และการมีเลือดออกจากหลอดเลือดขอดในหลอดอาหาร (esophageal varices) ตับแข็งนั้นเมื่อเกิดแล้วมักไม่สามารถกลับเป็นปกติได้ การรักษาจึงมักมุ่งไปที่การยับยั้งการดำเนินโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อน หากเป็นมากอาจมีทางเลือกในการรักษาเพียงทางเดียวคือการผ่าตัดเปลี่ยนตั.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและโรคตับแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

โรคติดเชื้อ

รคติดเชื้อ (Infectious disease) เป็นโรคซึ่งเป็นผลจากการมีเชื้อจุลชีพก่อโรค อาทิไวรัส แบคทีเรีย รา โพรโทซัว ปรสิต หรือแม้กระทั่งโปรตีนที่ผิดปกติเช่นพรีออน เชื้อดังกล่าวอาจก่อให้เกิดโรคในสัตว์หรือพืชได้ โรคติดเชื้อจัดเป็นโรคติดต่อ (Contagious diseases, Communicable diseases) เนื่องจากสามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่นหรือระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกัน การติดต่อของโรคติดเชื้ออาจเกิดได้มากกว่า 1 ทาง รวมถึงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง จุลชีพก่อโรคอาจถ่ายทอดไปโดยสารน้ำในร่างกาย อาหาร น้ำดื่ม วัตถุที่มีเชื้อปนเปื้อน ลมหายใจ หรือผ่านพาหะ"Infectious disease." McGraw-Hill Encyclopedia of Science and Technology.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและโรคติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

โรคไตเรื้อรัง

โรคไตเรื้อรังคือภาวะซึ่งมีค่อยๆ มีการเสื่อมของการทำงานของไตเป็นเวลานาน อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี อาการของการที่ไตทำงานเสื่อมลงนั้นเกือบทั้งหมดเป็นอาการซึ่งไม่มีความจำเพาะ อาจมีอาการเพียงความรู้สึกไม่สบายตัวหรือไม่รู้สึกอยากอาหารได้ ส่วนใหญ่การวินิจฉัยไตวายเรื้อรังจะพบจากการตรวจคัดกรองในผู้ที่มีความเสี่ยงของการเป็นโรคไต เช่น ผู้ป่วยความดันเลือดสูง เบาหวาน หรือผู้ที่มีญาติเป็นโรคไตเรื้อรัง นอกจากนี้ยังอาจตรวจพบเมื่อผู้ป่วยมีอาการจากภาวะแทรกซ้อนของโรคไต เช่น โรคของระบบหัวใจหลอดเลือด ซีด หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เป็นต้น.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและโรคไตเรื้อรัง · ดูเพิ่มเติม »

โลหิตจาง

ลหิตจาง หรือ ภาวะเลือดจาง ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและโลหิตจาง · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัส

วรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พรีออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899 ในปัจจุบันมีไวรัสกว่า 5,000 ชนิดที่ได้รับการบันทึกไว้ วิชาที่ศึกษาไวรัสเรียกว่าวิทยาไวรัส (virology) อันเป็นสาขาหนึ่งของจุลชีววิทยา (microbiology).

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบบี (hepatitis B virus, HBV) เป็นสปีชีส์ของไวรัสดีเอ็นเอสายคู่ชนิดหนึ่ง อยู่ในจีนัส Orthohepadnavirus แฟมิลี Hepadnaviridae ทำให้เกิดโรคตับอักเสบ บี หมวดหมู่:ไวรัส.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและไวรัสตับอักเสบบี · ดูเพิ่มเติม »

ไขกระดูก

กระดูก เป็นเนื้อเยื่อยืดหยุ่นที่พบได้ในกระดูกชั้นใน ไขกระดูกในกระดูกชิ้นใหญ่ของคนผลิตเม็ดเลือดแดงใหม่ โดยเฉลี่ยแล้วไขกระดูกมีน้ำหนักคิดเป็นร้อยละ 4 ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เช่นในผู้ใหญ่น้ำหนัก 65 กิโลกรัม จะมีไขกระดูกโดยประมาณ 2.6 กิโลกรัม ส่วนสร้างเม็ดเลือด (hematopoietic compartment) ของไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดง 500,000 ล้านเซลล์ต่อวันโดยประมาณ ซึ่งใช้ระบบไหลเวียนไขกระดูก (bone marrow vasculature) เป็นท่อสู่ระบบไหลเวียนของร่างกาย ไขกระดูกยังเป็นส่วนหลักของระบบน้ำเหลือง (lymphatic system) ที่ผลิตเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซท์ซึ่งช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างก.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและไขกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

ไซโทพลาซึม

ไซโทพลาซึม นี่คือภาพเซลล์โดยสัตว์ทั่วไป ประกอบด้วยออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ดังนี้ (1) นิวคลีโอลัส (2) นิวเคลียส (3) ไรโบโซม (4) เวสิเคิล (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ (6) กอลไจแอปพาราตัส (7) ไซโทสเกลเลตอน (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ (9) ไมโทคอนเดรีย (10) แวคิวโอล (11) ไซโทพลาซึม (12) ไลโซโซม (13) เซนทริโอล ไซโทพลาซึม (cytoplasm) คือส่วนประกอบของเซลล์ที่อยู่ภายใต้เยื่อหุ้มเซลล์ แต่อยู่นอกนิวเคลียส หรือเรียกได้ว่า ไซโทพลาซึมเป็นส่วนของโพรโทพลาสซึมที่อยู่นอกนิวเคลียส ไซโทพลาซึมประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นโครงสร้างย่อย ๆ ภายในเซลล์ เรียกว่าออร์แกเนลล์ (organelle) และส่วนที่เป็นของกึ่งเหลว เรียกว่าไซโทซอล (cytosol) องค์ประกอบประมาณ 80% ของไซโทพลาซึมเป็นน้ำ และมักไม่มีสี ในเซลล์โพรแคริโอต (ซึ่งไม่มีนิวเคลียส) เนื้อในของเซลล์ทั้งหมดจะอยู่ในไซโทพลาซึม สำหรับเซลล์ยูแคริโอต องค์ประกอบภายในนิวเคลียสจะแยกออกจากไซโทพลาซึม และมีชื่อเรียกแยกว่า '''นิวคลิโอพลาซึม''' กิจกรรมต่างๆ ในระดับเซลล์มักเกิดขึ้นในไซโทพลาซึม เช่น ไกลโคไลซิส และการแบ่งเซลล์ บริเวณเนื้อด้านในๆ ของไซโทพลาซึมเรียกว่า เอนโดพลาซึม (endoplasm) ส่วนเนื้อด้านนอกของไซโทพลาซึมที่อยู่ถัดจากเยื้อหุ้มเซลล์ลงมา เรียกว่า เอกโตพลาซึม หรือ เซลล์คอร์เทกซ์ (cell cortex) ในเซลล์ของพืช จะมีการไหลเวียนของไซโทพลาซึมภายในเซลล์เพื่อลำเลียงสารจากบริเวณหนึ่งของเซลล์ไปยังอีกบริเวณหนึ่ง เรียกการไหลเวียนนี้ว่า ไซโทพลาสมิก สตรีมมิ่ง (cytoplasmic streaming) หรือ ไซโคลซิส (cyclosis) หน้าที่ของไซโทพลาสซึม    • เป็นบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาเคมีของเซลล์     • สลายวัตถุดิบเพื่อให้ได้พลังงานและสิ่งที่จำเป็นสำหรับเซลล์     • สังเคราะห์สารที่จำเป็นสำหรับเซลล์    • เป็นที่เก็บสะสมวัตถุดิบสำหรับเซลล์     • เกี่ยวข้องกับกระบวนการขับถ่ายของเสียของเซลล์ หมวดหมู่:ชีววิทยาของเซลล์ หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์เซลล์.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและไซโทพลาซึม · ดูเพิ่มเติม »

เบาหวาน

รคเบาหวาน (Diabetes mellitus (DM) หรือทั่วไปว่า Diabetes) เป็นกลุ่มโรคเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหารซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน น้ำตาลในเลือดสูงก่อให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำและความหิวเพิ่มขึ้น หากไม่ได้รับการรักษา เบาหวานอาจก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนจำนวนมาก ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) และโคม่าเนื่องจากออสโมลาร์สูงที่ไม่ได้เกิดจากคีโตน (nonketotic hyperosmolar coma) ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวที่ร้ายแรงรวมถึงโรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง, ไตวาย, แผลที่เท้าและความเสียหายต่อตา เบาหวานเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอหรือเซลล์ร่างกายไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่ออินซูลินที่ผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง น้ำตาลที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจะถูกนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานโดยการควบคุมของอินซูลิน ในเมื่ออินซูลินมีปัญหา ทำให้ไม่สามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้ จึงมีน้ำตาลตกค้างในกระแสเลือดมาก ไตจึงขับของเสียออกมาทางปัสสาวะ อันเป็นเหตุให้ปัสสาวะหวานนั้นเอง เบาหวานมีสามชนิดหลัก ได้แก.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและเบาหวาน · ดูเพิ่มเติม »

เบโซฟิล

ลักษณะของ Basophil เบโซฟิล (Basophil) เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล มีขนาดประมาณ 10-14 ไมครอน ปกติจะมีนิวเคลียส 2 lobe แต่อาจจะมองไม่เห็น เนื่องจากถูกแกรนูลบังไว้ แกรนูลนั้นจะมีขนาดที่ไม่เท่ากัน โดยมีขนาดประมาณ 0.2-1 ไมครอน ซึ่งจะติดสีม่วงอมดำเมื่อมองจากฟิล์มเลือด ภายในแกรนูลนั้นจะมีสาร histamine ซึ่งจะตอบสนองต่อโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ โดยปกติเราสามารถพบ Basophil ในไขกระดูกประมาณ 0-1 เปอร์เซนต์ และในกระแสเลือด ประมาณ 0-2 เปอร์เซนต์ต่อเม็ดเลือดขาวทั้งหมด หรือประมาณ 0-216 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิลิตร Basophil สร้างจากไขกระดูกโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 7 ชั่วโมง ก่อนที่จะเคลื่อนที่ไปยังกระแสเลือด และเนื้อเยื่อ ตามลำดับ หน้าที่ของ basophil จะเกี่ยวข้องกับการตอบสนองต่อการแพ้ต่าง ๆ โดยการหลั่งสารพวก histamine เป็นต้น โดยเราสามารถพบภาวะที่ basophil สูงขึ้นจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น Hypersensitivity reactions หรือพวก Myeoloproliferative disorder เป็นต้น.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและเบโซฟิล · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดเลือดขาว

A scanning electron microscope image of normal circulating human blood. In addition to the irregularly shaped leukocytes, both red blood cells and many small disc-shaped platelets are visible เม็ดเลือดขาว (White blood cells - leukocytes) เป็นเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งคอยป้องกันร่างกายจากทั้งเชื้อก่อโรคและสารแปลกปลอมต่างๆ เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด ทั้งหมดเจริญมาจาก pluripotent cell ในไขกระดูกที่ชื่อว่า hematopoietic stem cell เซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นเซลล์ที่พบได้ทั่วไปในร่างกาย รวมไปถึงในเลือดและในระบบน้ำเหลือง จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดมักใช้เป็นข้อบ่งชี้ของโรคและการดำเนินไปของโรค โดยปกติแล้วในเลือดหนึ่งลิตรจะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวอยู่ประมาณ 4×109 ถึง 11×109 เซลล์ รวมเป็นเซลล์ประมาณ 1% ในเลือดของคนปกติ ในบางสภาวะ เช่น ลูคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว) จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวจะมีปริมาณได้มากกว่าปกติ หรือในภาวะ leukopenia จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวก็จะน้อยกว่าปกติ คุณสมบัติทางกายภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาว เช่น ปริมาตร conductivity และ granularity อาจเปลี่ยนแปลงไประหว่างการกระตุ้นเซลล์ การเจริญของเซลล์ หรือการมีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและเม็ดเลือดขาว · ดูเพิ่มเติม »

เอชไอวี

วามหมายอื่น: อัลบั้มเพลงของ ไฮ-ร็อก ดูที่ HIV เอชไอวี (Human immunodeficiency virus, HIV) ไวรัสตระกูล Retrovirus เป็นสาเหตุของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในกรณีของมนุษย์ จะทำให้ระบบภูมิต้านทานล้มเหลว และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ชื่อเดิมของไวรัสนี้ ได้แก่ human T-lymphotropic virus-III (HTLV-III), lymphadenopathy-associated virus (LAV), และ AIDS-associated retrovirus (ARV). เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อได้ทาง เลือด อสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด หรือน้ำนม ซึ่งภายในของเหลวที่ร่างกายสร้างขึ้นนี้ เชื้อเอชไอวีสามารถอยู่ได้ทั้งในสภาพอิสระในตัว และอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ สาเหตุใหญ่ของการแพร่กระจายเชื้อ คือ การมีเพศสัมพันธ์โดยทีไม่ได้ป้องกัน เข็มฉีดยาที่ปนเปิ้อน การติดเชิ้อจากแม่สู่ลูกผ่านทางการให้น้ำนม เลือดที่ปนเปิ้อนเชื้อไวรัสเอชไอวีจากการบริจาคให้ธนาคารเลือด ในขณะนี้การติดเชื้อเอชไอวี ในมนุษย์จัดได้ว่าเป็นโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2006 องค์กรความร่วมมือเกี่ยวกับ HIV/AIDS (UNAIDS) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการไว้ว่ามีผู้เสียชีวิตจากเอดส์มากกว่า 25 ล้านคนจากการตรวจพบในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1981 ทำให้เชื้อ HIV เป็นหนึ่งในการแพร่ระบาดที่เป็นสาเหตุการตายของมนุษย์ ที่ร้ายแรงที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์อีกเหตุการหนึ่ง นับจากภายหลังแบล็กเดธที่คร่าชีวิตประชากรยุโรปในสมัยกลางไปถึง 1 ใน 3 เชื้อ HIV ยังเป็นสาเหตุของการตายของมนุษย์ที่มีความเสียหายมากที่สุดในปี ค.ศ. 2005 มีการคาดการว่า มีผู้ติดเชื้อประมาณ 2.4 และ 3.3 ล้านคนที่ยังมีชีวิตอยู่ และจำนวนมากกว่า 570,000 คนเป็นเด็ก.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและเอชไอวี · ดูเพิ่มเติม »

เอดส์

หมวดหมู่:กลุ่มอาการ หมวดหมู่:โรคระบาดทั่ว หมวดหมู่:โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หมวดหมู่:ไวรัส หมวดหมู่:ภัยพิบัติทางการแพทย์ หมวดหมู่:ความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:โรคติดเชื้อไวรัส หมวดหมู่:วิทยาไวรัส หมวดหมู่:จุลชีววิทยา.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและเอดส์ · ดูเพิ่มเติม »

เอนไซม์

TIM. Factor D enzyme crystal prevents the immune system from inappropriately running out of control. เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีน 99 เปอร์เซนต์ เป็น ส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เป็นคำในภาษากรีก ένζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én ("ที่" หรือ "ใน") และ simo (":en:leaven" หรือ ":en:yeast") เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปกติ (malfunction) เช่น.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและเอนไซม์ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์บี

ี เซลล์ มีหน้าที่สังเคราะห์แอนติบอดี ที่ถูกกระตุ้นจากแอนติเจน บีเซลล์ (B lymphocyte, B cell) เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทลิมโฟไซต์ ซึ่งเมื่อถูกกระตุ้นด้วยสารแปลกปลอมหรือแอนติเจนจะพัฒนาเป็นพลาสมาเซลล์ที่มีหน้าที่หลั่งแอนติบอดีมาจับกับแอนติเจน บีเซลล์มีแหล่งกำเนิดในร่างกายจากสเต็มเซลล์ ที่ชื่อว่า "Haematopoietic Stem cell" ที่ไขกระดูก พบครั้งแรกที่ไขกระดูกบริเวณก้นกบของไก่ ที่ชื่อว่า Bursa of Fabricius จึงใช้ชื่อว่า "บีเซลล์" (บางแห่งอ้างว่า B ย่อมาจาก Bone Marrow หรือไขกระดูกซึ่งเป็นที่กำเนิดของบีเซลล์ แต่นี่เป็นเพียงความบังเอิญเท่านั้น) ในขณะที่ ลิมโฟไซต์อีกชนิด คือ ทีเซลล์ ถูกค้นพบครั้งแรกที่ไขกระดูกบริเวณไทมัส จึงใช้ชื่อว่า "ทีเซลล์" บีเซลล์เป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (Adaptive Immune System).

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและเซลล์บี · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ทีเฮลเปอร์

Antigen กระตุ้นให้ T cell เปลี่ยนเป็น "cytotoxic" CD8+ cell หรือ "helper" CD4+ cell เซลล์ทีเฮลเปอร์ เป็นชนิดย่อยชนิดหนึ่งของเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างและพัฒนาความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เซลล์เหล่านี้มักไม่มีบทบาทในการทำลายเซลล์อื่นหรือจับกินสิ่งแปลกปลอม ไม่สามารถฆ่าเซลล์เจ้าบ้านที่ติดเชื้อหรือฆ่าจุลชีพก่อโรคได้ และถ้าไม่มีเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ เซลล์ชนิดนี้อาจถูกมองว่าไม่มีประโยชน์ได้ เซลล์ทีเฮลเปอร์มีบทบาทในการกระตุ้นและชี้นำการทำงานของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ และถือว่ามีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน มีส่วนจำเป็นในการระบุการเปลี่ยนคลาสแอนติบอดีของเซลล์บี มีบทบาทในการกระตุ้นและการเจริญของเซลล์ทีไซโตท็อกซิก และมีบทบาทในการเพิ่มขีดความสามารถในการทำลายแบคทีเรียของฟาโกไซต์อย่างแมโครฟาจได้ บทบาทต่อเซลล์อื่นๆ เหล่านี้เองที่ทำให้เซลล์ชนิดนี้ถูกเรียกว่าเซลล์ทีเฮลเปอร์ เชื่อกันว่าเซลล์ทีเฮลเปอร์ที่เจริญเต็มที่จะมีโปรตีนผิวหน้า CD4 แสดงออกอยู่เสมอ เซลล์ทีที่แสดงออกถึง CD4 จะถูกเรียกว่า เซลล์ที CD4+ มักถือกันว่าเซลล์ที CD4+ เป็นเซลล์ก่อนหน้าที่จะถูกกำหนดบทบาทเป็นเซลล์ทีเฮลเปอร์ ถึงแม้จะมีข้อยกเว้นที่พบไม่บ่อยบางอย่างก็ตาม ตัวอย่างเช่น ยังมีชนิดย่อยอื่นๆ ของเซลล์ทีเรกูลาทอรี เซลล์ทีเอ็นเค และเซลล์ทีไซโตท็อกซิก ที่ปรากฏการแสดงออกของ CD4 ด้วยเช่นกัน เซลล์ที่กล่าวภายหลังเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็นเซลล์ทีเฮลเปอร์ และจะไม่ถูกกล่าวถึงอีกในบทความนี้ ความสำคัญของเซลล์ทีเฮลเปอร์เห็นได้จากการติดเชื้อเอชไอวี ไวรัสนี้จะติดเชื้อเซลล์ที่แสดงออกถึง CD4 รวมถึงเซลล์ทีเฮลเปอร์ด้วย ในช่วงท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี จำนวนของเซลล์ที CD4+ จะลดต่ำลง นำไปสู่ระยะแสดงอาการของการติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อเอดส์ นอกจากนี้ยังมีโรคที่พบไม่บ่อยอีกบางชนิดที่ทำให้เซลล์ที CD4+ หายไปหรือทำงานไม่เป็นปกติ โรคเหล่านี้ทำให้มีอาการคล้ายคลึงกัน และหลายโรคมีอันตรายถึงชีวิต หมวดหมู่:ลิมโฟไซต์ หมวดหมู่:วิทยาภูมิคุ้มกัน หมวดหมู่:เซลล์เม็ดเลือด หมวดหมู่:โลหิตวิทยา หมวดหมู่:เซลล์.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและเซลล์ทีเฮลเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ต้นกำเนิด

ซลล์ต้นกำเนิด หรือ เซลล์ต้นตอ (stem cell) เป็นเซลล์ไม่จำเพาะซึ่งสามารถเจริญ (differentiate) ไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะและสามารถแบ่งตัวแบบไมโทซิสเพื่อสร้างเซลล์ต้นกำเนิดเพิ่มได้ เซลล์ต้นกำเนิดพบในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แบ่งเซลล์ต้นกำเนิดออกกว้าง ๆ ได้เป็นสองชนิด คือ เซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน (embryonic stem cell) ซึ่งแยกจากมวลเซลล์ชั้นในของตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์ (blastocyst) และเซลล์ต้นกำเนิดเต็มวัย (adult stem cell) ซึ่งพบในเนื้อเยื่อหลายชนิด ในสิ่งมีชีวิตเต็มวัย เซลล์ต้นกำเนิดและโปรเจนิเตอร์เซลล์ (progenitor cell) ทำหน้าที่เป็นระบบซ่อมแซมของร่างกาย โดยทดแทนเนื้อเยื่อเต็มวัย ในตัวอ่อนที่กำลังเจริญ เซลล์ต้นกำเนิดสามารถเจริญไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะได้ทุกชนิด ทั้งเอ็กโทเดิร์ม เอ็นโดเดิร์มและเมโซเดิร์ม ทว่า ยังคงการหมุนเวียนปกติของอวัยวะที่สร้างใหม่ได้ (normal turnover of regenerative organ) เช่น เลือด ผิวหนังและเนื้อเยื่อลำไส้ได้อีกด้วย แหล่งที่เข้าถึงได้ของเซลล์ต้นกำเนิดเต็มวัยตัวเอง (autologous) ในมนุษย์มีสามแหล่ง คือ.

ใหม่!!: ระบบภูมิคุ้มกันและเซลล์ต้นกำเนิด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Immune systemภูมิคุ้มกัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »