เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ระบบธนาคารกลางสหรัฐและวอชิงตัน ดี.ซี.

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ระบบธนาคารกลางสหรัฐและวอชิงตัน ดี.ซี.

ระบบธนาคารกลางสหรัฐ vs. วอชิงตัน ดี.ซี.

ระบบธนาคารกลางสหรัฐ (Federal Reserve (System) หรือ Fed) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 1913 ด้วยการตรารัฐบัญญัติธนาคารกลาง หลังเกิดวิกฤตการเงินขึ้นหลายครั้ง (โดยเฉพาะวิกฤตการเงินปี 1907) นำให้มีความต้องการควบคุมกลางซึ่งระบบการเงินเพื่อบรรเทาวิกฤตการเงิน เหตุการณ์ในเวลาต่อมาอย่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในคริสต์ทศวรรษ 1930 และภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ในคริสต์ทศวรรษ 2000 นำสู่การขยายบทบาทและความรับผิดชอบของระบบธนาคารกลาง รัฐสภาสหรัฐตั้งวัตถุประสงค์สำคัญสามข้อสำหรับนโยบายการเงินในรัฐบัญญัติธนาคารกลาง ได้แก่ การเพิ่มการจ้างงานให้สูงสุด การรักษาเสถียรภาพราคา และการรักษาอัตราดอกเบี้ยระยะยาว วัตถุประสงค์สองข้อแรกบางทีเรียก อาณัติคู่ของธนาคารกลาง หน้าที่ของธนาคารฯ ขยายขึ้นตามเวลา และในปี 2009 ยังรวมถึงการควบคุมดูแลและการวางระเบียบธนาคาร การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน และให้บริการทางการเงินแก่สถาบันรับฝาก รัฐบาลสหรัฐและสถาบันราชการของต่างประเทศ ระบบธนาคารกลางวิจัยเศรษฐกิจและให้สิ่งพิมพ์เผยแพร่ต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือเบจ (Beige Book) และฐานข้อมูลเฟรด ระบบธนาคารกลางประกอบด้วยหลายชั้น มีคณะกรรมการผู้ว่าการธนาคารหรือคณะกรรมการระบบธนาคารกลางซึ่งมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดีเป็นผู้บริหาร ธนาคารระบบธนาคารกลางภูมิภาคสิบสองแห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในนครต่าง ๆ ทั่วประเทศ ควบคุมดูแลธนาคารสมาชิกของสหรัฐที่เอกชนเป็นเจ้าของ กฎหมายกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตระดับชาติถือครองหลักทรัพย์ในธนาคารระบบธนาคารกลางในภูมิภาคของตน ซึ่งทำให้ธนาคารเหล่านั้นมีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกคณะกรรมการบางส่วนได้ คณะกรรมการตลาดเสรีกลาง (Federal Open Market Committee) กำหนดนโยบายการเงิน ประกอบด้วยสมาชิกคณะกรรมการผู้ว่าการทั้งเจ็ดคน และประธานธนาคารภูมิภาคสิบสองคน แม้ครั้งหนึ่ง ๆ ประธานธนาคารเพียงห้าคนเท่านั้นที่สามารถออกเสียงลงคะแนนได้ ได้แก่ ประธานระบบธนาคารกลางนิวยอร์กหนึ่งคนและประธานธนาคารอื่นอีกสี่คนหมุนเวียนกันโดยมีวาระละ 1 ปี นอกจากนี้ ยังมีสภาที่ปรึกษาต่าง ๆ ฉะนั้น ระบบธนาคารกลางสหรัฐจึงมีทั้งส่วนภาครัฐและเอกชน โครงสร้างดังกล่าวถือว่าเป็นเอกลักษณ์ต่างจากธนาคารกลางประเทศอื่น นอกจากนี้ ยังผิดปกติที่กระทรวงการคลังสหรัฐ ซึ่งเป็นหน่วยงานนอกธนาคารกลาง พิมพ์เงินตราที่หมุนเวียน แม้ระบบธนาคารกลางจะเป็นเครื่องมือหนึ่งของรัฐบาลสหรัฐ แต่ระบบธนาคารกลางถือตนว่าเป็น "ธนาคารกลางอิสระเพราะการตัดสินใจนโยบายการเงินไม่จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดีหรือบุคคลอื่นใดในอำนาจบริหารหรือสภานิติบัญญัติ ไม่ได้รับสนับสนุนเงินทุนจากรัฐสภา และวาระของสมาชิกคณะกรรมการผู้ว่าการกินเวลาหลายวาระของประธานาธิบดีและรัฐสภา" รัฐบาลกลางกำหนดเงินเดือนของผู้ว่าการทั้งเจ็ดคนของคณะกรรมการ รัฐบาลกลางได้รับกำไรประจำปีทั้งหมดของระบบ หักการจ่ายเงินปันผลตามกฎหมาย 6% แก่การลงทุนของธนาคารสมาชิก และคงบัญชีเกินดุลแล้ว ในปี 2015 ระบบธนาคารกลางฯ สร้างกำไร 100,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และโอน 97,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่กระทรวงการคลัง. กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (Washington, D.C) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตปกครองพิเศษโคลอมเบีย (District of Columbia) มักเรียกทั่วไปว่า กรุงวอชิงตัน (Washington) หรือ ดี.ซี (D.C.) เป็นเมืองหลวงของสหรัฐ ก่อตั้งขึ้นเมื่อภายหลังจากการปฏิวัติอเมริกา โดยชื่อ วอชิงตัน มาจากชื่อของจอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีสหรัฐคนแรก และบิดาผู้ก่อตั้งประเทศคนหนึ่ง วอชิงตันเป็นนครหลักนครหนึ่งของเขตมหานครวอชิงตัน (Washington Metropolitan Area) โดยมีประชากรที่อาศัยอยู่ในวอชิงตันจำนวนประมาณ 6,131,977 คน โดยวอชิงตันได้รับฉายาว่าเป็นเมืองหลวงทางการเมืองของโลก เนื่องจากเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลางสหรัฐและสถาบันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศจำนวนมากเช่น ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น กรุงวอชิงตันเป็นนครที่นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมมากที่สุดนครหนึ่งในโลก โดยในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมวอชิงตัน ปีละประมาณ 20 ล้านคน การลงนามรัฐบัญญัติที่ตั้งในสหรัฐ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ระบบธนาคารกลางสหรัฐและวอชิงตัน ดี.ซี.

ระบบธนาคารกลางสหรัฐและวอชิงตัน ดี.ซี. มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): รัฐสภาสหรัฐประธานาธิบดีสหรัฐ

รัฐสภาสหรัฐ

รัฐสภาสหรัฐ (United States Congress) เป็นสภานิติบัญญัติสูงสุดในระบบการปกครองสหรัฐ ซึ่งเป็นระบบสภาคู่ ที่ประกอบด้วย วุฒิสภา (Senate) และ สภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) สมาชิกของทั้งสองสภาได้รับเลือกจากประชาชนโดยตรง สมาชิก 435 คนของสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนจากเขตการปกครอง (district) และมีหน้าที่สองปี ผู้แทนราษฎรได้รับเลือกตั้งมาจากเขตการปกครองตามจำนวนประชากรที่ระบุไว้ในเขตการเลือกตั้งสหรัฐซึ่งเปลื่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ฉะนั้นทุกสองปีหนึ่งในสามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องได้รับเลือกตั้งใหม่ ส่วนสมาชิกวุฒิสภา 100 คนของวุฒิสภารับหน้าที่ครั้งละหกปี แต่ละมลรัฐมีสิทธิในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาสองคนไม่ว่าจะเป็นรัฐมีประชากรมากหรือน้อยเท่าใด รัฐธรรมนูญสหรัฐให้อำนาจในการออกกฎหมายแก่รัฐสภาทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจเท่ากันในกระบวนการออกกฎหมาย กฎหมายทุกฉบับที่นำมาปฏิบัติได้ต้องได้รับการอนุมัติจากทั้งสองสภา แต่รัฐธรรมนูญให้อำนาจพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์บางอย่างแก่ทั้งสองสภา เช่นวุฒิสภามีอำนาจในการอนุมัติสนธิสัญญา และ การแต่งตั้งตำแหน่งของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลที่เสนอโดยประธานาธิบดี แต่กฎหมายเกี่ยวกับการหารายได้เพิ่มเป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรที่จะเสนอ นอกจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรก็ยังมีอำนาจฟ้องขับเจ้าหน้าที่ชั้นสูงออกจากตำแหน่ง (impeachment) ขณะที่วุฒิสภามีอำนาจในการพิจารณาฟ้องดังกล่าว ปัจจุบันเป็นสมัยประชุมที่ 115 เริ่มเมื่อวันที่ 3 มกราคม..

ระบบธนาคารกลางสหรัฐและรัฐสภาสหรัฐ · รัฐสภาสหรัฐและวอชิงตัน ดี.ซี. · ดูเพิ่มเติม »

ประธานาธิบดีสหรัฐ

ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (President of the United States; ย่อ: POTUS) เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลแห่งสหรัฐ เป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหาร และเป็นจอมทัพสหรัฐ รัฐธรรมนูญ มาตรา 2 บัญญัติว่า ประธานาธิบดีมีอำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายส่วนกลาง รับผิดชอบแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายบริหาร ข้าราชการทูต ข้าราชการประจำ และข้าราชการตุลาการในส่วนกลาง ทั้งมีอำนาจทำสนธิสัญญาเมื่อได้รับคำแนะนำและยินยอมของวุฒิสภา นอกจากนี้ ประธานาธิบดีมีอำนาจอภัยโทษ ลดโทษ เปลี่ยนโทษ เรียกและเลื่อนประชุมสมัยวิสามัญแห่งสภาทั้งสองของรัฐสภา นับแต่สถาปนาประเทศเป็นต้นมา ประธานาธิบดีและรัฐบาลกลางมีอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และแม้ปัจจุบันไม่มีอำนาจนิติบัญญัติอย่างเป็นทางการนอกเหนือไปจากการลงนามและยับยั้งร่างกฎหมายที่รัฐสภาอนุมัติ แต่ประธานาธิบดีก็แบกรับความรับผิดชอบขนานใหญ่ในการกำหนดวาระประชุมพรรค รวมถึงกำหนดนโยบายการต่างประเทศและการในประเทศด้วย ประธานาธิบดีสหรัฐนั้นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านทางคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปีและสามารถอยู่ในดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระซึ่งบัญญัติไว้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 22 ที่ได้รับการอนุมัติในปี..

ประธานาธิบดีสหรัฐและระบบธนาคารกลางสหรัฐ · ประธานาธิบดีสหรัฐและวอชิงตัน ดี.ซี. · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ระบบธนาคารกลางสหรัฐและวอชิงตัน ดี.ซี.

ระบบธนาคารกลางสหรัฐ มี 8 ความสัมพันธ์ขณะที่ วอชิงตัน ดี.ซี. มี 58 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 3.03% = 2 / (8 + 58)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ระบบธนาคารกลางสหรัฐและวอชิงตัน ดี.ซี. หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: