เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

รอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่างและศักยะงาน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง รอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่างและศักยะงาน

รอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่าง vs. ศักยะงาน

รอยนูนกลีบขมับส่วนล่าง (Inferior temporal gyrus, gyrus temporalis inferior) เป็นรอยนูนสมองที่ อยู่ใต้รอยนูนกลีบขมับส่วนกลาง (middle temporal gyrus), อยู่ข้างหน้ารอยนูนกลีบท้ายทอยส่วนล่าง (inferior occipital gyrus), และแผ่ขยายไปทางผิวด้านข้างของสมองกลีบขมับลงไปจรด inferior sulcus เป็นศูนย์ประมวลผลข้อมูลการเห็นในระดับสูงโดยเป็นส่วนสุดท้ายของทางสัญญาณด้านล่าง (ventral stream) มีหน้าที่เป็นตัวแทนของลักษณะที่ซับซ้อนของวัตถุที่เห็น และอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับรู้ใบหน้า กับการรู้จำวัตถุ (object recognition) ต่าง ๆ และกับการรู้จำตัวเลข (number recognition) รอยนูนกลีบขมับส่วนล่างเป็นส่วนล่างของสมองกลีบขมับ อยู่ใต้ร่องกลีบขมับกลาง (central temporal sulcus) สมองส่วนนี้ (ซึ่งเป็นส่วนของคอร์เทกซ์กลีบขมับส่วนล่าง) ทำหน้าที่แปลผลตัวกระตุ้นทางตา เป็นการรู้จำวัตถุ (object recognition) ที่เห็นทางตา และเป็นส่วนสุดท้ายของทางสัญญาณด้านล่างของระบบการเห็น (ดังที่แสดงไว้ในงานวิจัยเร็ว ๆ นี้) "คอร์เทกซ์กลีบขมับส่วนล่าง" (inferior temporal cortex ตัวย่อ ITC) ในมนุษย์เป็นส่วนเดียวกับ "รอยนูนกลีบขมับส่วนกลาง" (เขตบร็อดแมนน์ 21) รวมกับ "รอยนูนกลีบขมับส่วนล่าง" (เขตบร็อดแมนน์ 20) โดยที่ไม่เหมือนกับไพรเมตประเภทอื่น ๆ สมองเขตนี้แปลผลตัวกระตุ้นทางตาที่ปรากฏในลานสายตา ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเก็บและการเรียกคืนความทรงจำเกี่ยวกับวัตถุนั้น เพื่อประโยชน์ในการระบุวัตถุนั้น ทำหน้าแปลผลและรับรู้ข้อมูลที่เกิดจากตัวกระตุ้นทางตาที่ผ่านการแปลผลจากเขตสายตา V1, V2, V3, และ V4 ที่อยู่ในสมองกลีบท้ายทอย มาแล้ว คือทำหน้าที่แปลผลข้อมูลสีและรูปร่างของวัตถุที่อยู่ในลานสายตา (ซึ่งเป็นข้อมูลจากเขตสายตาก่อน ๆ) แล้วให้ข้อมูลว่าวัตถุที่เห็นนั้นคืออะไร ซึ่งก็คือการระบุวัตถุโดยใช้สีและรูปร่าง โดยเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้ประมวลแล้วกับข้อมูลความจำที่เก็บไว้เพื่อที่จะระบุวัตถุนั้น สมองเขตนี้ไม่ใช่มีความสำคัญในเรื่องเป็นส่วนของการแปลผลข้อมูลทางตาเพื่อการรู้จำวัตถุเท่านั้น แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแปลผลแบบง่าย ๆ อย่างอื่นของวัตถุในลานสายตา มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้และความเข้าใจทางปริภูมิของวัตถุที่อยู่รอบ ๆ ตัว และเป็นส่วนที่มีเซลล์ประสาทเดี่ยว ๆ ที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะซึ่งอาจจะอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคอร์เทกซ์นี้กับระบบความจำ. การเกิดกระแสประสาท ในวิชาสรีรวิทยา ศักยะงาน (action potential) เป็นเหตุการณ์ที่กินเวลาสั้น ๆ ซึ่งศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ (membrane potential) ไฟฟ้าของเซลล์เพิ่มและลดลงอย่างรวดเร็ว ตามด้วยแนววิถีต่อเนื่อง ศักยะงานเกิดขึ้นในเซลล์สัตว์หลายชนิด เรียกว่า เซลล์ที่เร้าได้ (excitable cell) ซึ่งรวมถึงเซลล์ประสาท เซลล์กล้ามเนื้อ และเซลล์ไร้ท่อ (endocrine cell) เช่นเดียวกับเซลล์พืชบางเซลล์ ในเซลล์ประสาท ศักยะงานมีบทบาทศูนย์กลางในการสื่อสารเซลล์ต่อเซลล์ ส่วนในเซลล์ประเภทอื่น หน้าที่หลักของศักยะงาน คือ กระตุ้นกระบวนการภายในเซลล์ ตัวอย่างเช่น ในเซลล์กล้ามเนื้อ ศักยะงานเป็นขั้นแรกในชุดเหตุการณ์ที่นำไปสู่การหดตัว ในเซลล์บีตาของตับอ่อน ศักยะงานทำให้เกิดการหลั่งอินซูลิน ศักยะงานในเซลล์ประสาทยังรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า "กระแสประสาท" หรือ "พลังประสาท" (nerve impulse) หรือ spike ศักยะงานสร้างโดยช่องไอออนที่ควบคุมด้วยศักย์ไฟฟ้า (voltage-gated ion channel) ชนิดพิเศษที่ฝังอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ ช่องเหล่านี้ถูกปิดเมื่อศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ใกล้กับศักยะพัก (resting potential) แต่จะเริ่มเปิดอย่างรวดเร็วหากศักย์เยื่อหุ้มเซลล์เพิ่มขึ้นถึงค่าระดับกั้น (threshold) ที่นิยามไว้อย่างแม่นยำ เมื่อช่องเปิด จะทำให้ไอออนโซเดียมไหลเข้ามาในเซลล์ประสาท ซึ่งเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้า (electrochemical gradient) การเปลี่ยนแปลงนี้ยิ่งเพิ่มศักย์เยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปอีก ทำให้ช่องเปิดมากขึ้น และเกิดกระแสไฟฟ้าแรงขึ้นตามลำดับ กระบวนการดังกล่าวดำเนินไปกระทั่งช่องไอออนที่มีอยู่เปิดออกทั้งหมด ทำให้ศักย์เยื่อหุ้มเซลล์แกว่งขึ้นอย่างมาก การไหล่เข้าอย่างรวดเร็วของไอออนโซเดียมทำให้สภาพขั้วของเยื่อหุ้มเซลล์กลายเป็นตรงข้าม และช่องไอออนจะหยุดทำงาน (inactivate) อย่างรวดเร็ว เมื่อช่องโซเดียมปิด ไอออนโซเดียมจะไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ประสาทได้อีกต่อไป และจะถูกลำเลียงแบบใช้พลังงานออกจากเยื่อหุ้มเซลล์ จากนั้น ช่องโปแทสเซียมจะทำงาน และมีกระแสไหลออกของไอออนโปแทสเซียม ซึ่งคืนประจุไฟฟ้ากลับสู่สถานะพัก หลังเกิดศักยะงานแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า ระยะดื้อ (refractory period) เนื่องจากกระแสโปแทสเซียมเพิ่มเติม กลไกนี้ป้องกันมิให้ศักยะงานเดินทางย้อนกลับ ในเซลล์สัตว์ มีศักยะงานอยู่สองประเภทหลัก ประเภทหนึ่งสร้างโดย ช่องโซเดียมที่ควบคุมด้วยศักย์ไฟฟ้า อีกประเภทหนึ่งโดยช่องแคลเซียมที่ควบคุมด้วยศักย์ไฟฟ้า ศักยะงานที่เกิดจากโซเดียมมักคงอยู่น้อยกว่าหนึ่งมิลลิวินาที ขณะที่ศักยะงานที่เกิดจากแคลเซียมอาจอยู่ได้นานถึง 100 มิลลิวินาทีหรือกว่านั้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง รอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่างและศักยะงาน

รอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่างและศักยะงาน มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): เซลล์ประสาท

เซลล์ประสาท

ซลล์ประสาท หรือ นิวรอน (neuron,, หรือ) เป็นเซลล์เร้าได้ด้วยพลัง ของเซลล์อสุจิที่ทำหน้าที่ประมวลและส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไฟฟ้าและเคมี โดยส่งผ่านจุดประสานประสาท (synapse) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อโดยเฉพาะกับเซลล์อื่น ๆ นิวรอนอาจเชื่อมกันเป็นโครงข่ายประสาท (neural network) และเป็นองค์ประกอบหลักของสมองกับไขสันหลังในระบบประสาทกลาง (CNS) และของปมประสาท (ganglia) ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง (PNS) นิวรอนที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง.

รอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่างและเซลล์ประสาท · ศักยะงานและเซลล์ประสาท · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง รอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่างและศักยะงาน

รอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่าง มี 47 ความสัมพันธ์ขณะที่ ศักยะงาน มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.72% = 1 / (47 + 11)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง รอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่างและศักยะงาน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: