โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รถไฟใต้ดินไทเปและไทเป

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง รถไฟใต้ดินไทเปและไทเป

รถไฟใต้ดินไทเป vs. ไทเป

รถไฟใต้ดินไทเป หรือ MRT หรือ Taipei Rapid Transit System เป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ในกรุงไทเป ประเทศไต้หวัน ก่อสร้างโดย Department of Rapid Transit Systems (DORTS) ดำเนินการโดย Taipei Rapid Transit Corporation (TRTC) มีจำนวน 99 สถานี ระยะทาง ผู้โดยสาร 1.78 คนต่อวัน (ธันวาคม 2012) เป็นระบบขนส่งมวลชนแห่งแรกของประเทศ เริ่มดำเนินการในปี ค.ศ. 1996 ช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดในนคร. right แผนที่แสดงที่ตั้งของกรุงไทเปบนเกาะไต้หวัน นครไทเป (ไถเป่ย์ชื่อ) เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไต้หวัน มีประชากรในปี ค.ศ. 2005 จำนวน 2,619,022 คน (ไม่รวมประชากรในเขตนครซินเป่ย์ซึ่งนครซินเป่ย์มีประชากรมากกว่า) นครไทเปเป็นศูนย์กลางการค้าและวัฒนธรรมของไต้หวัน เป็นที่ตั้งรัฐบาล และยังเป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ เครื่องหนัง จักรยานยนต์ และยังเป็นอู่ต่อเรือด้วย นครไทเปเป็นเขตปกครองตนเองขึ้นตรงต่อรัฐบาลสาธารณรัฐจีน เช่นเดียวกับกรุงเทพมหานครและพัทยาของประเทศไทย นครไทเปอยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยนครซินเป่ย์ แต่มิใช่ส่วนหนึ่งของนครซินเป่ย์ ไทเป.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง รถไฟใต้ดินไทเปและไทเป

รถไฟใต้ดินไทเปและไทเป มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ประเทศไต้หวันและรถไฟใต้ดินไทเป · ประเทศไต้หวันและไทเป · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง รถไฟใต้ดินไทเปและไทเป

รถไฟใต้ดินไทเป มี 12 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไทเป มี 6 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 5.56% = 1 / (12 + 6)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง รถไฟใต้ดินไทเปและไทเป หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »