โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รถดีเซลราง

ดัชนี รถดีเซลราง

วนรถนำเที่ยวที่ 987 กรุงเทพ - สวนนงนุช ในชานชาลารางที่ 5 สถานีรถไฟกรุงเทพ ขบวนรถท้องถิ่นที่ 428/427 อุบลราชธานี - นครราชสีมา - อุบลราชธานี ขณะจอดเทียบที่ชานชาลารางที่ 1 สถานีรถไฟนครราชสีมา ขบวนรถท้องถิ่นที่ 428 อุบลราชธานี - นครราชสีมาช ขณะจอดเทียบที่ชานชาลารางที่ 1 สถานีรถไฟบุรีรัมย์ รถดีเซลราง (diesel railcar) เป็นรถโดยสารที่มีเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องด้วยตนเอง เดิมทีการรถไฟได้นำรถชนิดนี้มาใช้งานในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2470 ซึ่งเป็นเครื่องกลไอน้ำ สร้างโดย บริษัทบอลด์วิน สหรัฐอเมริกา รถดีเซลรางรุ่นแรก ๆ ที่นำมาใช้บริการรับส่งผู้โดยสารชานเมืองในปี พ.ศ. 2475 นั้น มีหมายเลข 11 ถึง 16 เป็นรถที่ประกอบด้วยรถกำลัง 1 คัน และรถพ่วงสำหรับผู้โดยสารล้วนอีก 1 คัน ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง รถดีเซลรางรุ่นใหม่ ๆ ได้รับการพัฒนาให้มีสมรรถนะสูง มีความคล่องตัวในการใช้งาน และสามารถพ่วงต่อกันคราวละหลายชุดได้ โดยแต่ละชุดเครื่องยนต์ทำงานพร้อมกับคันที่มีคนควบคุมที่ต้นขบวน รถดีเซลรางมีคุณสมบัติที่เหนือกว่าขบวนรถซึ่งใช้รถลากจูงหลายประการ คือ ขบวนการดีเซลรางเร่งความเร็ว และหยุดได้เร็วกว่า จึงทำให้ใช้เวลาในการเดินทางน้อยกว่า และเมื่อถึงปลายทาง พนักงานขับรถเปลี่ยนไปขับท้ายขบวนก็สามารถออกรถได้ทันที ไม่ต้องเปลี่ยนตั้งหัวขบวนใหม่เช่นการใช้รถจักร นอกจากนั้นยังสามารถพ่วงติดต่อกันได้ไม่จำกัด เพราะรถทุกชุดขับเคลื่อนด้วยตัวเอง รถที่เป็นตัวกำลังจะทำงานสัมพันธ์กันทุกเครื่องยนต์ ทำให้เฉลี่ยกำลังขับเคลื่อนออกไปตลอดขบวนขึ้นทางลาดชันได้ดีกว่า นอกจากความคล่องตัวแล้ว รถดีเซลรางยังสะดวกในการจัดทำขบวนรถสั้น ๆ เพียงชุดเดียว (2 คัน) ให้พอเหมาะกับสภาพการโดยสาร (รถคันกำลัง จุที่นั่ง 78 คน ยืน 35 คน และคันพ่วงมี 84 ที่นั่ง ยืน 35 คน) ในแง่ความปลอดภัยของผู้โดยสาร รถทุกคันมีประตูขึ้นลง เปิดปิดโดยระบบอัตโนมัติที่พนักงานขับรถจะเป็นผู้ควบคุม.

30 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2470พ.ศ. 2475พ.ศ. 2514พ.ศ. 2526พ.ศ. 2528พ.ศ. 2534พ.ศ. 2538พ.ศ. 2539พ.ศ. 2553พ.ศ. 2554กรุงเทพการรถไฟแห่งประเทศไทยรถจักรดีเซลไฟฟ้าในประเทศไทยสหรัฐสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่สถานีรถไฟพิชัยสถานีรถไฟมาบกะเบาสถานีรถไฟศิลาอาสน์สถานีรถไฟหัวหินสถานีรถไฟอยุธยาสงครามโลกครั้งที่สองสปรินเทอร์ทีเอชเอ็นประเทศไทยปาดังเบซาร์ (เมือง)แดวู (รถราง)เอทีอาร์ (รถราง)เอ็นเคเอฟเครื่องยนต์ดีเซล11 มิถุนายน

พ.ศ. 2470

ทธศักราช 2470 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1927 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและพ.ศ. 2470 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2475

ทธศักราช 2475 ตรงกั.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและพ.ศ. 2475 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2514

ทธศักราช 2514 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1971 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและพ.ศ. 2514 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2526

ทธศักราช 2526 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1983 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและพ.ศ. 2526 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2528

ทธศักราช 2528 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1985 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและพ.ศ. 2528 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2534

ทธศักราช 2534 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1991 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและพ.ศ. 2534 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2538

ทธศักราช 2538 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1995 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและพ.ศ. 2538 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2539

ทธศักราช 2539 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1996 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและพ.ศ. 2539 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2553

ทธศักราช 2553 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2010 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีแรกในคริสต์ทศวรรษที่ 2010.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและพ.ศ. 2553 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2554

ทธศักราช 2554 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2011 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและพ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพ

กรุงเทพ อาจหมายถึง; ดินแดนและการปกครอง.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

การรถไฟแห่งประเทศไทย

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและการรถไฟแห่งประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

รถจักรดีเซลไฟฟ้าในประเทศไทย

รถจักรดีเซลไฟฟ้า เป็นรถจักรที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเป็นต้นกำลัง โดยใช้กำลังจากเครื่องดีเซลไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประธาน แล้วนำกระแสไฟฟ้าที่ได้มาไปหมุนมอเตอร์ขับเคลื่อนรถจักรต่อไป ปัจจุบันการรถไฟไทยมีรถจักรดีเซลไฟฟ้าที่ใช้งานอยู่ 7 รุ่น รถจักรดีเซลไฟฟ้า คือรถจักรที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่มีต้นกำลังจากเครื่องยนต์ดีเซล โดยที่เครื่องยนต์ดีเซลจะหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าไปจ่ายให้มอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อทำขับเคลื่อนเพลาให้รถเคลื่อนที่ต่อไป ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่นำรถจักรดีเซลไฟฟ้ามาใช้ในปี..

ใหม่!!: รถดีเซลรางและรถจักรดีเซลไฟฟ้าในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: รถดีเซลรางและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่

นีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ ตั้งอยู่บนถนนรถไฟ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นสถานีรถไฟ ระดับ 1 ของทางรถไฟสายใต้ โดยจากจุดนี้ทางรถไฟจะแยกออกเป็นสองสาย คือ.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟพิชัย

นีรถไฟพิชัย ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ สถานีรถไฟระดับ 2 ระยะทางจากกรุงเทพถึงสถานีพิชัย คือ 447.55 กิโลเมตร.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและสถานีรถไฟพิชัย · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟมาบกะเบา

นีรถไฟมาบกะเบา เป็นสถานีรถไฟชั้น 2 ตั้งอยู่ในเขตตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ตั้งอยู่ใกล้กับย่านขนถ่ายสินค้าของโรงงานปูนซีเมนต์นครหลวง สร้างขึ้นใช้งานแทนสถานีรถไฟทับกวาง ที่ลดระดับเป็นที่หยุดรถไฟเพราะเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 134 กิโลเมตร.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและสถานีรถไฟมาบกะเบา · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟศิลาอาสน์

นีรถไฟศิลาอาสน์ ตั้งอยู่ที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1045 (ถนนย่านศิลาอาสน์) ตำบลท่าเสา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นสถานีรถไฟระดับ 1 อาคารสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ สถานีรถไฟศิลาอาสน์เป็นย่านสถานีรถไฟที่สำคัญของภาคเหนือ และศูนย์คอนเทนเนอร์ของรถไฟสายเหนือ ระยะทางจากกรุงเทพถึงสถานีศิลาอาสน์ คือ 487.52 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7ชั่วโมง สถานีรถไฟศิลาอาสน์ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี..

ใหม่!!: รถดีเซลรางและสถานีรถไฟศิลาอาสน์ · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟหัวหิน

นีรถไฟหัวหิน ตั้งอยู่ถนนพระปกเกล้า ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายใต้ ทางด้านอาคารสถาปัตยกรรมได้รับยกย่องเป็นอาคารอนุรักษ์ อาคารหลังแรกก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2454 แต่อาคารที่เห็นในปัจจุบัน สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2469 โดยพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาการรถไฟ แห่งกรุงสยาม ซึ่งได้จากการยกอาคารไม้ที่จะใช้ในงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมีแผนจะจัดที่สวนลุมพินีเมื่อปลายปี พ.ศ. 2468 แต่ไม่ได้มีการจัดจริงเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต และ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสให้เลิกจัดงานดังกล่าว เมื่อ 2 มกราคม พ.ศ. 2468 (นับอย่างปัจจุบันต้องปี พ.ศ. 2469 เพราะอยู่ในปี ค.ศ. 1926) อาคารสถานีรถไฟหัวหินเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ อิทธิพลจากสถาปัตยกรรมวิคทอเรียเช่นเดียวกับโรงแรมรถไฟหัวหิน มีราย ละเอียดสวยงามประดับเสา ค้ำยัน และอื่นๆ ภาพสถานีรถไฟหัวหิน อาคารหลังนี้สร้างราว พ.ศ. 2453 เดิมเป็นอาคารสถานีรถไฟหลวงพระราชวังสนามจันทร์ (ปัจจุบันคือ ที่หยุดรถไฟพระราชวังสนามจันทร์) และย้ายมาอยู่ที่สถานีรถไฟหัวหิน.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและสถานีรถไฟหัวหิน · ดูเพิ่มเติม »

สถานีรถไฟอยุธยา

นีรถไฟอยุธยา เป็นสถานีรถไฟประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตัวอาคารเดิมสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นอาคารไม้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2464 จึงเปลี่ยนเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังจากเปลี่ยนชื่อจาก "สถานีกรุงเก่า" เป็น "สถานีอยุธยา" ตามพระบรมราชวินิจฉัยในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2460 สถานีรถไฟอยุธยาตั้งอยู่นอกเกาะเมืองฝั่งตะวันออก ริมแม่น้ำป่าสัก เป็นสถานีระดับที่ 1 ขบวนรถไฟทุกขบวน จะจอดรับส่งที่สถานีนี้.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและสถานีรถไฟอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สปรินเทอร์

รถไฟสปรินเทอร์ที่สถานีรถไฟเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร สปรินเทอร์ เป็นยี่ห้อรถไฟดีเซลรางประเภทหนึ่ง ใช้งานหลักในสหราชอาณาจักร สร้างในทศวรรษที่ 1980 - 1990 โดยบริษัท เบรล, เมโทร แคมเมล และ บริติช เลย์แลนด์ ตัวรถไฟใช้เครื่องยนต์คัมมินส์และเกียร์แบบวออ์ท (แต่คลาส 158 ได้เปลี่ยาใช้เครื่องยนต์เพอร์กินส์แทน) สปรินเทอร์ เป็นรถดีเซลรางของเจ้าของกิจการรถไฟต่างๆ มากมาย ได้แก่ การรถไฟอังกฤษเหนือ การรถไฟเกรทอังกฤษตะวันตก การรถไฟเกรทเทอร์แองเกลีย การรถไฟเวลส์ การรถไฟอังกฤษใต้และตะวันตก การรถไฟอังกฤษตะวันออกกลาง การรถไฟลอนดอน การรถไฟสกอตแลนด์ และ การรถไฟแห่งประเทศไท.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและสปรินเทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทีเอชเอ็น

้านข้างของรถดีเซลรางทีเอชเอ็น ทีเอชเอ็น (THN) เป็นรถดีเซลรางชนิดมีห้องขับ ประเภทรถพัดลม ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นรถดีเซลรางที่นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและทีเอชเอ็น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปาดังเบซาร์ (เมือง)

ปาดังเบอซาร์ (Padang Besar) หรือ ปาดัง เป็นเมืองบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย ตั้งอยู่ในรัฐปะลิส ห่างจากเมืองกางาร์ 35 กิโลเมตร และนครหาดใหญ่ 57 กิโลเมตร อยู่ใกล้กับตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลาของไท.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและปาดังเบซาร์ (เมือง) · ดูเพิ่มเติม »

แดวู (รถราง)

รถดีเซลรางแดวู (Daewoo Diesel Railcar) เป็นรถดีเซลรางประเภทปรับอากาศของการรถไฟแห่งประเทศไทย และเป็นรถดีเซลรางที่มีความเร็วสูงสุดในประเทศไทย มีจำนวนรถรวมทุกรุ่นย่อยทั้งสิ้น 40 คัน.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและแดวู (รถราง) · ดูเพิ่มเติม »

เอทีอาร์ (รถราง)

อทีอาร์ (ATR) หรือ เอทีซี (ATC) เป็นรถดีเซลรางปรับอากาศไม่มีห้องขับ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่นำเข้ามาใช้งานจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2528.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและเอทีอาร์ (รถราง) · ดูเพิ่มเติม »

เอ็นเคเอฟ

้านข้างของรถดีเซลรางเอ็นเคเอฟ เอ็นเคเอฟ (NKF) เป็นรถดีเซลรางชนิดมีห้องขับ ประเภทรถพัดลม ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นรถไฟที่ถูกขนส่งมาจากประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะคล้ายกับรถดีเซลรางทีเอชเอ็น เพียงแต่ภายในเป็นเก้าอี้พลาสติกแข็ง.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและเอ็นเคเอฟ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องยนต์ดีเซล

250px เครื่องยนต์ดีเซล (diesel engine) เป็นเครื่องยนต์ประเภทหนึ่ง คิดค้นโดย นายรูดอล์ฟ ดีเซล (Rudolf Diesel) วิศวกรชาวเยอรมัน ในปี..

ใหม่!!: รถดีเซลรางและเครื่องยนต์ดีเซล · ดูเพิ่มเติม »

11 มิถุนายน

วันที่ 11 มิถุนายน เป็นวันที่ 162 ของปี (วันที่ 163 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 203 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: รถดีเซลรางและ11 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ดีเซลราง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »