เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ยูโรไมดานและวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญรัสเซีย พ.ศ. 2536

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ยูโรไมดานและวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญรัสเซีย พ.ศ. 2536

ยูโรไมดาน vs. วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญรัสเซีย พ.ศ. 2536

ูโรไมดาน (Euromaidan, Євромайдан, Yevromaidan ความหมายตามอักษร "จัตุรัสยูโร") เป็นคลื่นการเดินขบวนและการก่อความไม่สงบที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศยูเครน เริ่มตั้งแต่คืนวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 ด้วยการประท้วงในที่สาธารณะเพื่อเรียกร้องให้มีบูรณาการยุโรปใกล้ชิดยิ่งขึ้น นับแต่นั้นขอบเขตการประท้วงวิวัฒนาขึ้น โดยมีการเรียกร้องให้ประธานาธิบดียานูคอวิชและรัฐบาลลาออกจำนวนมาก, Reuters (12 December 2013) ผู้ประท้วงยังประกาศว่าพวกตนเข้าร่วมเพราะการขับไล่ผู้ประท้วงอย่างรุนแรงเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน และ "ความประสงค์เปลี่ยนแปลงชีวิตในยูเครน" จนถึงวันที่ 25 มกราคม 2557 การประท้วงได้มีเชื้อจากความเข้าใจการฉ้อราษฎร์บังหลวงของรัฐบาล การละเมิดอำนาจและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางในยูเครน, Radio Free Europe/Radio Liberty (25 January 2014) การเดินขบวนเริ่มขึ้นในคืนวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 เมื่อมีการประท้วงอุบัติขึ้นหลายแห่งพร้อมกันในเคียฟ เมืองหลวงของประเทศ หลังรัฐบาลยูเครนระงับการเตรียมลงนามความตกลงการสมาคม (Association Agreement) และความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป โดยสนับสนุนการพึ่งพาประเทศรัสเซียทางเศรษฐกิจมากขึ้น ประธานาธิบดีได้ร้องขอเงินกู้และเงินอุดหนุน 20,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ สหภาพยุโรปเต็มใจให้เงินกู้ 610 ล้านยูโร (838 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ทว่า รัสเซียเต็มใจเสนอเงินกู้ 15,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ รัสเซียยังเสนอราคาแก๊สแก่ยูเครนในราคาที่ถูกลง นอกเหนือจากเงินแล้ว สหภาพยุโรปยังกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบและกฎหมายในยูเครนอย่างมาก แต่รัสเซียไม่มีการกำหนดดังกล่าว วันที่ 24 พฤศจิกายน 2556 เริ่มมีการปะทะระหว่างผู้ประท้วงและตำรวจ ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาและกระบอง ส่วนผู้ประท้วงใช้แก๊สน้ำตาและประทัด โดยตำรวจรายงานว่าผู้ประท้วงเป็นฝ่ายใช้ก่อน หลังการเดินขบวนไม่กี่วันให้หลัง มีจำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยเข้าร่วมการประท้วงมากขึ้น แม้การเรียกร้องให้รื้อฟื้นบูรณาการยูเครน-สหภาพยุโรปจะยังไม่ได้รับการสนองตราบจนปัจจุบัน แต่ยูโรไมดานได้แสดงลักษณะเป็นเหตุการณ์สัญลักษณ์นิยมทางการเมืองสำคัญแก่สหภาพยุโรปซ้ำ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็น "การเดินขบวนนิยมยุโรปครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์" การประท้วงยังดำเนินอยู่แม้จะมีตำรวจอยู่เป็นจำนวนมาก, Kyiv Post (27, 28 & 29 November 2013), Euronews (27 November 2013) อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งและหิมะเป็นปกติ ความรุนแรงทวีขึ้นในเช้าวันที่ 30 พฤศจิกายน จากกำลังฝ่ายรัฐบาลได้ทำให้ระดับการประท้วงยกสูงขึ้น โดยมีผู้ประท้วง 400,000–800,000 คนเดินขบวนในเคียฟในวันสุดสัปดาห์ 1 ธันวาคมและ 8 ธันวาคม หลายสัปดาห์นับจากนั้น ผู้เข้าร่วมการประท้วงอยู่ในช่วงระหว่าง 50,000 ถึง 200,000 คนระหว่างการชุมนุมที่มีการจัดตั้ง, Reuters (12 January 2014) เหตุจลาจลรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม และวันที่ 19 ถึง 25 มกราคมเพื่อสนองต่อความทารุณของตำรวจ (police brutality) และการปราบปรามของรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม อาคารผู้ว่าการหลายแห่งและสภาภูมิภาคหลายแห่งในทางตะวันตกของประเทศถูกยึดในการก่อการกำเริบโดยนักเคลื่อนไหวยูโรไมดาน, Aljazeera.com (26 January 2014) ตามการสำรวจความคิดเห็นเมื่อเดือนธันวาคม 2556 (จัดทำโดยผู้สำรวจสามแห่ง) ผลปรากฏว่า ชาวยูเครนระหว่าง 45% และกว่า 50% สนับสนุนยูโรไมดาน ขณะที่มีผู้คัดค้านระหว่าง 42% ถึง 50%, Research & Branding Group (10 December 2013), Interfax-Ukraine (30 December 2013) พบว่าผู้สนับสนุนการประท้วงมากที่สุดอยู่ในเคียฟ (ราว 75%) และยูเครนตะวันตก (กว่า 80%), Financial Times (29 December 2013) ในการสำรวจความคิดเห็นเมื่อวันที่ 7 และ 8 ธันวาคม ผู้ประท้วง 73% ตั้งใจว่าจะประท้วงต่อไปในเคียฟนานจนกว่าข้อเรียกร้องของพวกตนจะได้รับการตอบสนอง การสำรวจความคิดเห็นยังแสดงว่าประชาชนต่างวัยมีความเห็นแตกต่างกัน ขณะที่คนหนุ่มสาวส่วนมากสนับสนุนสหภาพยุโรป คนสูงวัย (กว่า 50 ปี) มักสนับสนุนสหภาพศุลกากรเบลารุส คาซัคสถานและรัสเซียมากกว่า จุดเปลี่ยนมาถึงเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2557 เมื่อสมาชิกพรรคของประธานาธิบดีที่หลบหนีหรือแปรพักตร์มีจำนวนมากพอกระทั่งพรรคเสียเสียงข้างมากในรัฐสภายูเครน ส่งผลให้ฝ่ายค้านครองเสียงข้างมาก และมีองค์ประชุมเพียงพอในที่สุด ทำให้รัฐสภาสามารถผ่านชุดกฎหมายซึ่งถอนตำรวจออกจากเคียฟ ยกเลิกปฏิบัติการต่อต้านการประท้วง ฟื้นฟูรัฐธรรมนูญปี 2547 ปล่อยตัวนักโทษการเมือง และถอดถอนประธานาธิบดียานูโควิช ต่อมา ยานูโควิชหลบหนีไปยังเมืองคาร์คิฟ เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ และปฏิเสธไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของรัฐสภา รัฐสภากำหนดการเลือกตั้งล่วงหน้าในเดือนพฤษภาคม 2557. วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญ..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ยูโรไมดานและวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญรัสเซีย พ.ศ. 2536

ยูโรไมดานและวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญรัสเซีย พ.ศ. 2536 มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ประเทศรัสเซีย

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ประเทศรัสเซียและยูโรไมดาน · ประเทศรัสเซียและวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญรัสเซีย พ.ศ. 2536 · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ยูโรไมดานและวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญรัสเซีย พ.ศ. 2536

ยูโรไมดาน มี 10 ความสัมพันธ์ขณะที่ วิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญรัสเซีย พ.ศ. 2536 มี 7 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 5.88% = 1 / (10 + 7)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ยูโรไมดานและวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญรัสเซีย พ.ศ. 2536 หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: