โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยูแคริโอต

ดัชนี ยูแคริโอต

ูแคริโอต (eukaryote) คือ สิ่งมีชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสและโครงสร้างอื่น (ออร์แกเนลล์) อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ยูแคริโอตเป็นหน่วยอนุกรมวิธาน ยูคาร์ยาหรือยูแคริโอตา อย่างเป็นทางการ เยื่อหุ้มนิวเคลียสเป็นโครงสร้างที่นิยามเซลล์ยูแคริโอตแยกจากเซลล์โปรแคริโอต โดยภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีสารพันธุกรรม การมีนิวเคลียสเป็นที่มาของชื่อยูแคริโอต ซึ่งมาจากภาษากรีก ευ (eu, "ดี") และ κάρυον (karyon, "ผลมีเมล็ดเดียว" หรือ "เมล็ด") เซลล์ยูแคริโอตส่วนใหญ่ยังมีออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มอื่นด้วย เช่น ไมโทคอนเดรียหรือกอลจิแอพพาราตัส นอกเหนือจากนี้ พืชและสาหร่ายยังมีคลอโรพลาสต์ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหลายชนิดเป็นยูแคริโอต เช่น โปรโตซัว แต่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ทุกชนิดเป็นยูแคริโอต ซึ่งได้แก่ สัตว์ พืชและเห็ดรา การแบ่งเซลล์ในยูแคริโอตแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีนิวเคลียส (โปรแคริโอต) มีกระบวนการแบ่งตัวสองประเภท คือ ไมโทซิสและไมโอซิส ไมโทซิสเป็นการที่เซลล์หนึ่งแบ่งตัวได้เซลล์ที่มีพันธุกรรมเหมือนกันสองเซลล์ ในไมโอซิสซึ่งจำเป็นในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เซลล์ดิพลอยด์หนึ่ง (ซึ่งมีโครโมโซมสองชุด ชุดหนึ่งมาจากพ่อ อีกชุดหนึ่งมาจากแม่) มีการจับคู่โครโมโซมจากพ่อแม่แต่ละคู่ใหม่ แล้วผ่านการแบ่งเซลล์อีกสองขั้นตอน จนได้เซลล์แฮพลอยด์สี่เซลล์ (เซลล์สืบพันธุ์) เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มีโครโมโซมชุดเดียว ซึ่งเป็นการผสมโครโมโซมจากพ่อแม่คู่เดียวกัน โดเมนยูแคริโอตาดูเหมือนมาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic) จึงเป็นหนึ่งในสามโดเมนของสิ่งมีชีวิต อีกสองโดเมน ได้แก่ แบคทีเรียและอาร์เคีย เป็นโปรแคริโอตและไม่มีคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น ยูแคริโอตเป็นสิ่งมีชีวิตส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ดี เนื่องจากยูแคริโอตมีขนาดใหญ่กว่ามาก มวลชีวภาพรวมทั่วโลกจึงประมาณว่าเท่ากับมวลชีวภาพของโปรแคริโอตWhitman, Coleman, and Wiebe,, Proc.

32 ความสัมพันธ์: บรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลกพืชกอลจิคอมเพล็กซ์การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศการแบ่งเซลล์ภาษากรีกยุคไรเอเซียนวงศ์วานวิวัฒนาการสัตว์สาหร่ายสิ่งมีชีวิตออร์แกเนลล์อาร์เคียอาณาจักร (ชีววิทยา)ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียวคลอโรพลาสต์นิวเคลียสแบคทีเรียโพรทิสต์โพรแคริโอตโพรโทซัวโอพิสโธคอนตาโครมาลวีโอลาตาโครโมโซมไมโอซิสไมโทคอนเดรียไมโทซิสเยื่อหุ้มนิวเคลียสเยื่อหุ้มเซลล์เห็ดราเซลล์ (ชีววิทยา)เซลล์สืบพันธุ์

บรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก

อาณาจักรและโดเมน สีม่วงคือแบคทีเรีย สีเทาเข้มคืออาร์เคีย สีน้ำตาลคือยูแคริโอต โดยยูแคริโอตยังแบ่งออกเป็น 5 อาณาจักรคือ สัตว์(แดง) ฟังไจ(น้ำเงิน) พืช(เขียว) โครมาลวีโอลาตา(น้ำทะเล) และ โพรทิสตา(เหลืองทอง) โดยมีจุดศูนย์กลางคือ บรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก (LUCA) บรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก (last universal common ancestor; ตัวย่อ: LUCA) หมายถึง สิ่งมีชีวิตรุ่นล่าสุด ที่เป็นบรรพบุรุษร่วมกันของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกนี้ คล้ายคลึงกับ บรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุด (MRCA) ซึ่งหมายความถึงสับเซตใดๆของ LUCA ขณะที่ LUCA เองมีความหมายครอบคลุมถึงทุกเซตทั้งหม.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและบรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก · ดูเพิ่มเติม »

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและพืช · ดูเพิ่มเติม »

กอลจิคอมเพล็กซ์

กอลจิ คอมเพล็กซ์ (Golgi complex) มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน หลายอย่าง คือ กอลจิ บอดี (Golgi body) กอลจิ แอพพาราตัส (Golgi apparatus) ดิกไทโอโซม (dictyosome) เป็นออร์แกเนลล์ ที่ตั้งขึ้นตามชื่อของ คามิลโล กอลจิ (camillo golgi) นักชีววิทยาชาวอิตาลี ซึ่งพบกอลจิ คอมเพล็กซ์ในปี พ.ศ. 2423 โดยการศึกษาจากเซลล์ประสาท และพบออร์แกเนลล์นี้ ต่อมาเมื่อมีการประดิษฐ์ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จึงพบและยืนยันว่าออร์แกเนลล์นี้มีจริง ในปี พ.ศ. 2499 กอลจิบอดี มีรูปร่างเป็นลักษณะคล้ายชามซึ่งเรียกว่า ซิสเทอร์นา (cisterna หรือ flattened sac) เป็นถุงแบนๆ หรือเป็นท่อเรียงซ้อนกัน เป็นชั้นๆ มีจำนวนไม่แน่นอน มีประมาณ 5-10 ชั้น มักพบ 2-8 อัน ตรงปลายของถุงมักโป่งออก ถุงเหล่านี้มีผนัง 2 ชั้น หรือยูนิตเมมเบรนเหมือนๆ กับเยื่อหุ้มนิวเคลียส และเยื่อหุ้มเซลล์ และมีโครงสร้างคล้าย SER ภายในถุงมีของเหลวบรรจุอยู่ โดยทั่วไป จะพบในเซลล์สัตว์ มีกระดูกสันหลัง มากกว่าสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง รูปร่างของกอลจิบอดี จะเปลี่ยนอยู่เสมอ เป็นเพราะบางส่วนเจริญเติบโต บางส่วนจะหด และหายไป ด้านที่มีการเจริญเติบโต จะสร้างตัวเองโดย มีการรวมตัวของเวสิเคล จากเอนโดพลาสมิก เรทิคิวลัม กับซิสเทอร์น่า ทำให้ขนาด ของซิสเทอร์น่า แต่ละอันเพิ่มขึ้น และในบริเวณช่องว่าง ของซิสเทอร์น่า จะเปลี่ยนแปลง รูปร่างของสารใหม่ต่างๆ ที่กอลจิบอดี ดูดซึมเอาไว้ให้เป็นสารอื่นได้ ที่ด้านตรงกันข้าม ของกอลจิบอดีเป็นด้านที่มีการปลดปล่อยสาร ส่วนเวสิเคิลอื่น ซึ่งมีสารใหม่ต่างๆ อยู่จะถูกขับออกมา บางส่วนของเวสิเคิล เหล่านี้จะรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์ ที่อยู่ติดกับผนังเซลล์ ทำให้ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิว ของเยื่อหุ้มเซลล์ ในเวสิเคลแต่ละอันนั้น จะมีสารประกอบ โพลีแซคคาไรด์ ซึ่งเป็นสารสนับสนุน การเจริญเติบโต ของผนังเซลล์และเยื่อหุ้มเซลล.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและกอลจิคอมเพล็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) คือการสืบพันธุ์ที่ต้องมีการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (สเปิร์ม) และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (ไข่) แล้วเกิดออกมาเป็นไซโกตและเจริญมาเป็นเอมบริโอในเวลาต่อม.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ · ดูเพิ่มเติม »

การแบ่งเซลล์

Three types of cell division การแบ่งเซลล์คือกระบวนการที่เซลล์ตั้งต้น (parent cell) แบ่งตัวออกเป็นเซลล์ลูก (daughter cell) จำนวนสองเซลล์ขึ้นไป ส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรเซลล์ หมวดหมู่:วัฏจักรเซลล์ หมวดหมู่:กระบวนการของเซลล์ หมวดหมู่:เทโลเมียร์.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและการแบ่งเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: ยูแคริโอตและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ยุคไรเอเซียน

รเอเชียน(Rhyacian)เป็นยุคที่สองแห่งมหายุคแพลีโอโพรเทอโรโซอิก อยู่ระหว่าง 2,300 ล้านปีมาแล้วถึง 2,050 ล้านปีมาแล้ว ในยุคนี้ยูแคริโอต ยุคแรกได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 2,100 ล้านปีก่อน จุดเด่นในยุคนี้คือสโตรมาโตไลต์และโพรแคริโอตโดยสโตรมาโตไลต์เป็นจุดเด่นในยุคนี้เป็นอย่างมาก เพราะว่าทำให้เกิดออกซิเจนในท้องทะเล ซึ่งทำให้เกิดสนิมในท้องทะเล.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและยุคไรเอเซียน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์วานวิวัฒนาการ

ในทางชีววิทยา วงศ์วานวิวัฒนาการ (Phylogenetics) (Greek: φυλή, φῦλον - phylé, phylon.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและวงศ์วานวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สาหร่าย

หร่ายทะเลที่เกาะอยู่ตามหินชายฝั่ง สาหร่าย เป็นชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตหลายชนิดในอาณาจักรโครมาลวีโอลาตา เอกซ์คาวาตา ไรซาเรีย มีลักษณะคล้ายพืช แต่ไม่มีส่วนที่เป็นราก ลำต้น และใบที่แท้จริง มีขนาดตั้งแต่เล็กมากมีเซลล์เดียว ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก อาจเป็นเส้นสายหรือมีลักษณะคล้ายพืชชั้นสูงก็มี การแบ่งพวกสาหร่ายแบ่งตามรูปร่างลักษณะภายนอกหรือดูตามสี จึงมีสาหร่ายสีเขียว เขียวแกมน้ำเงิน น้ำตาล และสีแดง สาหร่ายสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศก็มี อาศัยเพศก็มี อย่าสับสนกับสาหร่ายบางชนิด เช่น สาหร่ายหางม้า สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายข้าวเหนียว สาหร่ายเหล่านี้ คือพืชดอกไม่ใช่โพรทิสต์ แหล่งที่อยู่ของสาหร่ายมีต่าง ๆ กัน ส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม คุณค่าทางอาหารของสาหร่ายพบว่าไม่สูงมากนัก คาร์โบไฮเดรตที่มีอยู่เป็นพวกที่ย่อยยากในตัวคน โปรตีนก็มีน้อยแต่สิ่งที่ได้จากสาหร่าย คือ แร่ธาตุและวิตามินหลายชนิด นอกจากเป็นอาหารคน เช่น สาหร่ายอบกรอบ และปัจจุบันนำมาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แล้วยังใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นปุ๋ยและเป็นยา สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน สามารถจับไนโตรเจนในอากาศได้อย่างอิสระ (Nonsymbiotic Nitrogen Fixer) Anabaena, Oscillatoria, nostoc.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและสาหร่าย · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิต

งมีชีวิต จะมีคุณลักษณะ (properties) ที่ไม่พบในสิ่งไม่มีชีวิต อันได้แก่ความสามารถในการใช้สสารและพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกหรือบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตซึ่งถือกำเนิดมาบนโลกกว่า 4 พันล้านปี เมื่อผ่านการวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมากดังที่ปรากฏในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและสิ่งมีชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

ออร์แกเนลล์

นิวเคลียส, (3) ไรโบโซม, (4) เวสิเคิล, (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ, (6) กอลจิแอปพาราตัส, (7) ไซโทสเกลเลตอน, (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ, (9) ไมโทคอนเดรีย, (10) แวคิวโอล, (11) ไซโทพลาซึม, (12) ไลโซโซม, (13) เซนทริโอล ในชีววิทยาของเซลล์ ออร์แกเนลล์เป็นโครงสร้างย่อยๆ ภายในเซลล์ที่มีหน้าที่เฉพาะ และอยู่ภายในโครงสร้างปิดที่เป็นเยื่อลิพิดแบ่งออกเป็น1ชั้นและ2ชั้น คำว่า ออร์แกเนลล์ (organelle) มาจากแนวความคิดที่ว่า โครงสร้างเล็กๆ ในเซลล์นี้เปรียบเหมือนกับ อวัยวะ (organ) ของร่างกาย (โดยการเติมคำปัจจัย -elle: เป็นส่วนเล็กๆ) ออร์แกเนลล์มองเห็นได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ และแยกให้บริสุทธิ์ได้โดยวิธีการกระบวนการปั่นแยกเซลล์ (cell fractionation) ออร์แกเนลล์มีหลายชนิดโดยเฉพาะในเซลล์ยูแคริโอตของสัตว์ชั้นสูง เซลล์โปรแคริโอตในครั้งหนึ่งเคยคิดว่าไม่มีออร์แกเนลล์ แต่ว่ามีงานวิจัยที่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการเกิดขึ้นกับวัวและควายด้ว.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและออร์แกเนลล์ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เคีย

อาร์เคีย เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายแบคทีเรีย แต่เชื่อว่ามีวิวัฒนาการแยกมา เพราะมีเยื่อหุ้มเซลล์ที่แปลกออกไป เป็นโปรคาริโอตที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายและในมหาสมุทร ผนังเซลล์ไม่มีเปบทิโดไกลแคน กรดไขมันในเยื่อหุ้มแตกกิ่ง ไม่ไวต่อยาปฏิชีวนะ ยีนไม่มีอินทรอน RNA polymerase มีหลายชนิด บางส่วนเหมือนยูคาริโอต rRNA บางส่วนคล้ายกับของยูคาริโอตด้วยเช่นกัน กลุ่มของอาร์เคียที่สำคัญได้แก.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและอาร์เคีย · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักร (ชีววิทยา)

ในชีววิทยา, อาณาจักร เป็นระดับหรือหมู่ที่ใหญ่เกือบที่สุดของสิ่งมีชีวิต ใช้ในการการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิตในโลก นักอนุกรมวิธานมีความเห็นในการจัดหมวดหมู่แตกต่างกันไป เช่น แบ่งออกเป็น 5 อาณาจักร 6 อาณาจักร หรือ 8 อาณาจักร (แคมป์เบลล์, 1996) ซึ่งระบบที่เป็นที่นิยมใช้ในอดีตและปัจจุบันระบบหนึ่งคือระบบ 5 อาณาจักร ส่วนอีกระบบที่เริ่มแพร่หลายและคาดว่าจะได้รับความนิยมต่อไป คือระบบ 6 อาณาจักร 3 โดเมน.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและอาณาจักร (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว

ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว คือ ผลไม้ที่มีเปลือกแข็งห่อหุ้มเนื้อเยื่อ (เนื้อผลไม้) และเมล็ดพันธุ์ไว้ภายใน โดยเมื่อแบ่งตามชนิดของผลไม้ตามเปลือกและการแตกของผลแล้วได้ 2 ประเภท คือ ผลแห้งและผลไม่แตก เช่น มะพร้าว ทุเรียน เป็นต้น และอีกประเภทหนึ่ง คือ ผลสดที่มีเปลือกหนาและเหนียว เช่น แตงโม แคนตาลูป เป็นต้น.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว · ดูเพิ่มเติม »

คลอโรพลาสต์

องค์ประกอบภายในของคลอโรพลาสต์ คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) เป็นออร์แกแนลล์ภายในไซโทพลาสซึม ชนิดเยื่อยูนิตสองชั้น (Double unit membrane) ภายในเป็นของเหลวที่เรียกว่า (Stroma) ภายในสโตรมานี้มีชั้นที่พับไปมา เรียกว่ากรานูล บริเวณผิวของกรานูลนี้เรียกว่า ไทลาคอยด์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของสารสีสำหรับการสังเคราะสโตรมาห์ด้วยแสง ระหว่างกรานูลมีเยื่อที่เชื่อมโยงแต่ละกรานูลไว้ เรียกว่าสโตรมาลาเมลลา (Stroma lamella) คลอโรพลาสต์ (chloroplast) เป็นออร์แกแนลที่พบในพืช เป็นพลาสติด ที่มีสีเขียว พบเฉพาะในเซลล์พืช และสาหร่าย เกือบทุกชนิด พลาสติดมีเยื่อหุ้มสองชั้น ภายในโครงสร้างพลาสติด จะมีเม็ดสี หรือรงควัตถุบรรจุอยู่ ถ้ามีเม็ดสีคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ถ้ามีเม็ดสีชนิดอื่นๆ เช่น แคโรทีนอยด์ เรียกว่า โครโมพลาส พลาสติดไม่มีเม็ดสี เรียกว่า ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) ทำหน้าที่ เป็นแหล่งเก็บสะสมโปรตีน หรือเก็บสะสมแป้ง ที่เรียกว่า เม็ดสี (starch grains) เรียกว่า amyloplast ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารคลอโรฟิลล์ ภายในคลอโรพลาสต์ ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลว เรียกว่า สโตรมา (stroma) มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ไม่ต้องใช้แสง (dark reaction) มี DNA RNA และไรโบโซม และเอนไซม์อีกหลายชนิด ปะปนกันอยู่ ในของเหลวเป็นเยื่อลักษณะคล้ายเหรียญ ที่เรียงซ้อนกันอยู่ เรียกว่า กรานา (grana) ระหว่างกรานา จะมีเยื่อเมมเบรน เชื่อมให้กรานาติดต่อถึงกัน เรียกว่า อินเตอร์กรานา (intergrana) หน่วยย่อย ซึ่งเปรียบเสมือน เหรียญแต่ละอัน เรียกเหรียญแต่ละอันว่า กรานาลาเมลลา (grana lamella) หรือ กรานาไทลาคอยด์ (grana thylakoid) ไทลาคอยด์ในตั้งเดียวกัน ส่วนที่เชื่อมติดกัน เรียกว่า สโตรมา ไทลาคอยด์ (stroma thylakoid) ไม่มีทางติดต่อกันได้ แต่อาจติดกับไทลาคอยด์ในตั้งอื่น หรือกรานาอื่นได้ ทั้งกรานา และอินเตอร์กรานา เป็นที่อยู่ของคลอโรฟิลล์ รงควัตถุอื่นๆ และพวกเอนไซม์ ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ต้องใช้แสง (light reaction) บรรจุอยู่ หน้าที่สำคัญ ของคลอโรพลาส คือ การสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) โดยแสงสีแดง และแสงสีน้ำเงิน เหมาะสม ต่อการสังเคราะห์ ด้วยแสงมากที.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและคลอโรพลาสต์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวเคลียส

นิวเคลียส (nucleus, พหูพจน์: nucleuses หรือ nuclei (นิวคลีไอ) มีความหมายว่า ใจกลาง หรือส่วนที่อยู่ตรงกลาง โดยอาจมีความหมายถึงสิ่งต่อไปนี้ โดยคำว่า นิวเคลียส (Nucleus) เป็นคำศัพท์ภาษาละตินใหม่ (New Latin) มาจากคำศัพท์เดิม nux หมายถึง ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว (nut).

ใหม่!!: ยูแคริโอตและนิวเคลียส · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

โพรทิสต์

รทิสต์ (protist มาจากคำในภาษากรีกว่า protiston แปลว่า สิ่งแรกสุด) หมายถึงจุลชีพยูแคริโอตหลากหลายกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง ในอดีตกลุ่มโพรทิสต์มีสถานะเป็นอาณาจักร โพรทิสตา (Protista) ซึ่งรวมสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่ไม่สามารถจัดประเภทลงอาณาจักรอื่นได้เลย ซึ่งต่อมาก็ถูกคัดค้านในอนุกรมวิธานสมัยใหม่ มันอาจพิจารณาได้ว่าเป็นการรวมกลุ่มอย่างหลวม ๆ ของสิ่งมีชีวิต 30-40 ไฟลัมที่ผสมผสานกันต่าง ๆ นานาในเรื่องภาวะโภชนาการ กลไกของการเคลื่อนไหวเอง ผนังที่ห่อหุ้มเซลล์ และวงจรชีวิต คำศัพท์ โพรทิสตา ถูกใช้เป็นครั้งแรกโดย แอร์นสท์ เฮคเคิล (Ernst Haeckel) เมื่อ..

ใหม่!!: ยูแคริโอตและโพรทิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โพรแคริโอต

รงสร้างของเซลล์แบคทีเรีย โพรแคริโอต (prokaryote) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยออร์แกเนลที่ไม่มีเยื่อหุ้ม ไม่มีนิวเคลียส มักเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว คำว่า prokaryotes มาจาก ภาษากรีกโบราณ pro- ก่อน + karyon เมล็ด ซึ่งหมายถึงนิวเคลียส + ปัจจัย -otos, พหูพจน์ -otesCampbell, N. "Biology:Concepts & Connections".

ใหม่!!: ยูแคริโอตและโพรแคริโอต · ดูเพิ่มเติม »

โพรโทซัว

รโทซัว (protozoa) เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กที่จัดได้ว่ามีความสำคัญมากในระบบนิเวศ สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำจืด และน้ำเค็ม รวมทั้งบริเวณที่ชื้นแฉะ ยังพบว่าอาศัยอยู่ในร่างกายของสัตว์บกอีกหลายชนิด มีทั้งที่เป็นโทษและมีประโยชน์ โพรโทซัวนั้นมีทั้งที่สามารถสร้างอาหารได้เอง เช่น พวกที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ซึ่งมักจะสีเขียวของคลอโรฟิลล์ และพวกไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ การเพิ่มขึ้นของโพรโทซัวอย่างรวดเร็วหรือการบลูมขึ้นมา จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ red tide ซึ่งเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำบริเวณนั้น ความเป็นพิษเกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึม และถูกขับออกมาละลายอยู่ในน้ำ โดยพิษจะมีผลให้สัตว์น้ำเป็นอัมพาต.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและโพรโทซัว · ดูเพิ่มเติม »

โอพิสโธคอนตา

อพิสโธคอนตา (Opisthokonta) หรือ โอพิสโธคอนส์ เป็นกลุ่มขนาดใหญ่ของยูแคริโอต ประกอบไปด้วยทั้งอาณาจักรสัตว์และเห็ดรา และรวมกันกับจุลินทรีย์ยูแคริโอตขนาดเล็ก ซึ่งบางครั้งถูกจัดให้อยู่ในไฟลัมโคอาโนซัว (ถูกจัดอยู่ในอาณาจักรโพรทิสตา ตามอัตภาพ) กลุ่มโอพิสโธคอนตานี้ (บางครั้งถูกเรียกว่า "กลุ่มฟังไจ/เมตาซัว") ถูกยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียว.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและโอพิสโธคอนตา · ดูเพิ่มเติม »

โครมาลวีโอลาตา

หมวดหมู่:คอร์ติคาตา โครมาลวีโอลาตาเป็นสาหร่ายหรือสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและโครมาลวีโอลาตา · ดูเพิ่มเติม »

โครโมโซม

ซนโทรเมียร์ คือจุดที่โครมาทิดทั้งสองอันสัมผัสกัน, (3) แขนข้างสั้น และ (4) แขนข้างยาว โครโมโซมมนุษย์ โครโมโซม (chromosome) เป็นที่เก็บของหน่วยพันธุกรรม ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล เกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และสีผิว หน่วยพันธุกรรม หรือ ยีน (gene) ปรากฏอยู่บนโครโมโซม ประกอบด้วยดีเอ็นเอ ทำหน้าที่กำหนดลักษณะ ทางพันธุกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต หน่วยพันธุกรรมจะถูกถ่ายทอดจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อนหน้าสู่ลูกหลาน เช่น ควบคุมกระบวนการเกี่ยวกับกิจกรรมทั่วไปทางชีวเคมีภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต ไปจนถึงลักษณะปรากฏที่พบเห็นหรือสังเกตได้ด้วยตา เช่น รูปร่างหน้าตาของเด็กที่คล้ายพ่อแม่, สีสันของดอกไม้, รสชาติของอาหารนานาชนิด ล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะที่บันทึกอยู่ในหน่วยพันธุกรรมทั้งสิ้น.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและโครโมโซม · ดูเพิ่มเติม »

ไมโอซิส

แผนภาพการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (Meiosis) เป็นการแบ่งเซลล์ที่พบในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในยูคาริโอต การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสแบ่งเป็นระยะได้ 2 ระยะ ดังนี้.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและไมโอซิส · ดูเพิ่มเติม »

ไมโทคอนเดรีย

รงสร้างของไมโทคอนเดรีย ไมโทคอนเดรียน หรือมักเรียกว่า ไมโทคอนเดรีย (mitochondrion, พหูพจน์: mitochondria) ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ ถูกค้นพบครั้งแรกโดย คอลลิกเกอร์ ส่วนใหญ่มีรูปร่างกลมท่อนสั้น คล้ายไส้กรอก ยาว 5-7 ไมครอน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2-1 ไมครอน ประกอบไปด้วยโปรตีน 60-65% ลิพิด 35-40% มีเยื่อหุ้มสองชั้น (double unit membrane) ชั้นนอกเรียบหนา 60-80 อังสตรอม เยื่อชั้นในพับเข้าไปเป็นรอยหยักเรียก คริสตี้ (cristae) หนา 60-80 อังสตรอม ภายในบรรจุของเหลวประกอบไปด้วยสารหลายชนิดเรียก แมทริกซ์ (matrix) ภายในไมโทคอนเดรียสามารถพบ DNA ได้เช่นเดียวกับในนิวเคลียสและคลอโรพลาสต์ โดยเรียกว่า mtDNAhttp://www.mitochondrial.net/ มีการสันนิษฐานว่าไมโทคอนเดรียนั้นมีวิวัฒนาการร่วมกันกับเซลล์ยูคาริโอตมานานแล้ว โดยเริ่มแรกนั้นเซลล์สิ่งมีชีวิตชั้นสูงอาจไปกินเซลล์ที่มีขนาดเล็กกว่าเข้าไป ในเซลล์มนุษย์ DNA ภายในไมโทคอนเดรียมีลักษณะเป็นวงกลม โดยมียีนที่สร้างโปรตีนได้เพียงไม่กี่สิบยีนเท่านั้นมหัศจรรย์ดีเอ็นเอ.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและไมโทคอนเดรีย · ดูเพิ่มเติม »

ไมโทซิส

การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส ไมโทซิส (Mitosis) เป็นการแบ่งเซลล์แบบแบ่งตัวโดยตรง คือ นิวเคลียสค่อยๆ ยาวออกและเกิดคอดลงแล้วแบ่งไซโตพลาสซึมเป็น 2 ส่วนกลายเป็น 2 เซลล์ โดยทั้ง 2 เซลล์ต่างมีคุณสมบัติเหมือนเซลล์เดิม จำนวนโครโมโซม หลังการแบ่งจะเท่าเดิม (2n) เพราะไม่มีการแยกคู่ ของโฮโมโลกัสโครโมโซม การแบ่งเซลล์แบบนี้จะพบมากในสัตว์เซลล์เดียว.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและไมโทซิส · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มนิวเคลียส

นิวเคลียสของเซลล์มนุษย์ เยื่อหุ้มนิวเคลียสอยู่นอกสุด มีรูพรุน เยื่อหุ้มนิวเคลียส (Nuclear envelope, perinuclear envelope, nuclear membrane, nucleolemma หรือ karyotheca) เป็นชั้นของลิพิด ไบเลเยอร์ ที่ห่อหุ้มสารพันธุกรรมในเซลล์ยูคาริโอต ทำหน้าที่เป็นฉนวนทางชีวภาพ แยกส่วนของนิวเคลียสออกจากไซโตซอล ที่เยื่อหุ้มจะมีรูพรุน ที่ควบคุมการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม และสารอื่นๆระหว่างนิวเคลียสกับไซโทพลาสซึม ระหว่างเยื่อหุ้มทั้งสองด้านเป็นช่องว่าง (Perinuclear space) บนเยื่อหุ้มมีช่อง (Nuclear pore) เชื่อมต่อกับ RER ซึ่งมีบทบาทในการส่งต่อรหัสพันธุกรรมออกนอกนิวเคลียสเพื่อสร้างโปรตีน จำนวนช่องนี้ขึ้นกับกิจกรรมของนิวเคลียส เซลล์โอโอไซต์ของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมีมากถึง 70 ช่องต่อตารางไมครอน ในขณะที่เซลล์เม็ดเลือดขาวมีเพียง 3-4 ช่องต่อตารางไมครอน เยื่อหุ้มทั้งสองชั้นเป็นชั้นลิพิด ไบเลเยอร์ เยื่อชั้นนอกต่อเนื่องกับ RER ส่วนเยื่อหุ้มชั้นในมีโปรตีนชนิดต่างๆฝังตัวอยู่ url.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและเยื่อหุ้มนิวเคลียส · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มเซลล์

ื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ (plasma membrane) เป็นเยื่อหุ้มที่อยู่ชิดกับผนังเซลล์ อาจมีลักษณะเรียบ หรือพับไปมา เพื่อขยายขนาดเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในเซลล์ เรียกว่า มีโซโซม (mesosome) หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า "เซลล์คุม" มีหน้าที่ควบคุม การเข้าออกของน้ำ สารอาหาร และอิออนโลหะต่าง ๆ เป็นตัวแสดงขอบเขตของเซลล์ เซลล์ทุกชนิดต้องมีเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยสารประกอบสองชนิด คือ ไขมันชนิดฟอสโฟลิปิดกับโปรตีน โดยมีฟอสโฟลิปิดอยู่ตรงกลาง 2 ข้างเป็นโปรตีน โดยมีไขมันหนาประมาณ 35 อังสตรอม และโปรตีนข้างละ 20 อังสตรอม รวมทั้งหมดหนา 75 อังสตรอม ลักษณะที่แสดงส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์นี้ต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จึงจะเห็นได้ เยื่อหุ้มสามารถแตกตัวเป็นทรงกลมเล็ก ๆ เรียกเวสิเคิล (Vesicle) ซึ่งมีช่องว่างภายใน (Lumen) ที่บรรจุสารต่าง ๆ และสามารถเคลื่อนที่ไปหลอมรวมกับเยื่อหุ้มอื่น ๆ ได้ การเกิดเวสิเคิลนี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับการขนส่งสารระหว่างออร์แกแนลล์ และการขนส่งสารออกนอกเซลล์ที่เรียกเอกโซไซโทซิส (Exocytosis) ตัวอย่างเช่น การที่รากเจริญไปในดิน เซลล์รากจะสร้างมูซิเลจ (Mucilage) ซึ่งเป็นสารสำหรับหล่อลื่น เซลล์สร้างมูซิเลจบรรจุในเวสิเคิล จากนั้นจะส่งเวสิเคิลนั้นมาหลอมรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์เพื่อปล่อยมูสิเลจออกนอกเซลล์ ในกรณีที่มีความต้องการขนส่งสารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์จะเว้าเข้าไปด้านใน ก่อตัวเป็นเวสิเคิลหลุดเข้าไปในเซลล์ โดยมีสารที่ต้องการอยู่ภายในช่องว่างของเวสิเคิล การขนส่งแบบนี้เรียกเอ็นโดไซโตซิส (Endocytosis) นอกจากนั้น เยื่อหุ้มยังทำหน้าที่เป็นเยื่อเลือกผ่าน ยอมให้เฉพาะสารที่เซลล์ต้องการหรือจำเป็นต้องใช้เท่านั้นผ่านเข้าออกได้ การแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เกิดขึ้นได้ดีกับสารที่ละลายในไขมันได้ดี ส่วนสารอื่น ๆ เช่น ธาตุอาหาร เกลือ น้ำตาล ที่แพร่เข้าเซลล์ไม่ได้ จะใช้การขนส่งผ่านโปรตีนที่เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบที่ใช้และไม่ใช้พลังงาน.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและเยื่อหุ้มเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เห็ดรา

ห็ดรา (Fungus) คือสิ่งมีชีวิตใดๆ ในกลุ่มยูแคริโอต ซึ่งประกอบด้วยทั้งสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอย่างยีสต์และรา และสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่ออกผลคล้ายกับพืช เห็ด สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ถูกจัดลงอยู่ในอาณาจักรเห็ดรา ซึ่งแยกออกจากสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์กลุ่มอื่นๆ ที่เป็นพืชและสัตว์ ลักษณะเฉพาะที่จัดเห็ดราให้อยู่แยกในอาณาจักรอื่นจากพืช แบคทีเรีย และโพรทิสต์บางชนิด คือ ไคตินที่ผนังเซลล์ เห็ดราเหมือนกับสัตว์ตรงที่เป็นสิ่งมีชีวิตเฮเทโรทรอพ กล่าวคือเป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้รับอาหารโดยการย่อยโมเลกุลอาหารให้มีขนาดเล็กพอกับเซลล์ และไม่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้เช่นกัน การเติบโตของเห็ดราแสดงถึงการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน ยกเว้นสปอร์ ที่อาจจะลอยไปตามอากาศหรือน้ำ เห็ดราเป็นผู้ย่อยสลายหลักในระบบนิเวศ ตามปกติเห็ดราโดยทั่วไปที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน ที่ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนในอาณาจักรก็ตาม เรียกว่ายูเมโคตา (Eumycota) กลุ่มเห็ดรานี้แตกต่างจาก ไมเซโตซัว (ราเมือก) และโอไมซีต (ราน้ำ) ที่มีโครงสร้างคล้ายกัน การศึกษาเกี่ยวกับเห็ดรา เรียกว่า กิณวิทยา ในอดีตกิณวิทยาถูกจัดเป็นหนึ่งในสาขาของพฤกษศาสตร์ แม้ว่าทุกวันนี้จะเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า เห็ดรามีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับสัตว์มากกว่าพืช เห็ดราพบได้ทั่วโลก แต่ส่วนมากไม่มีความโดดเด่นเพราะมีขนาดเล็ก และมีการพรางตัวในดินหรือบนสิ่งที่ตายแล้ว เห็ดราบางชนิดยังมีการพึ่งพาอาศัยจากพืช สัตว์ เห็ดราประเภทอื่นหรือกระทั่งปรสิต พวกมันจะเริ่มเป็นที่สังเกตได้เมื่อออกผลแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเห็ดหรือราก็ตาม เห็ดรามีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายสารอินทรีย์และมีบทบาทโดยพื้นฐานในวัฏจักรสารอาหารและการแลกเปลี่ยนในธรรมชาติ พวกมันยังเป็นแหล่งอาหารโดยตรงมานานแล้ว ในรูปของเห็ด เป็นหัวเชื้อในการทำขนมปัง และในการหมักผลิตภัณฑ์หลายๆ อย่าง เช่น ไวน์ เบียร์ และซีอิ๊ว ตั้งแต่ช่วงคริสตทศวรรษที่ 1940 เห็ดราถูกนำมาใช้ในการแพทย์ เพื่อผลิตยาปฏิชีวนะ และล่าสุด นำมาใช้ผลิตเอนไซม์มากมาย ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมและในผงซักฟอก เห็ดรายังถูกใช้เป็นปราบแมลง โรคในพืช และวัชพืชต่างๆ สายพันธุ์มากมายของเห็ดราผลิตสารประกอบที่ออกฤทธิ์กับสิ่งมีชีวิต เรียกว่า ไมโซโทซิน เช่น อัลคาลอยด์และพอลิเคไทด์ ซึ่งเป็นพิษต่อสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ โครงสร้างในบางสายพันธุ์ประกอบด้วยสารประกอบที่ออกฤทธิ์ต่อประสาท และถูกใช้บริโภค หรือในพิธีกรรมทางศาสนาแบบดั้งเดิม เห็ดรายังสามารถทำลายโครงร่างของวัตถุดิบและสิ่งก่อสร้างได้ และกลายเป็นเชื้อโรคแก่มนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ การสูญเสียไร่เนื่องจากโรคทางเห็ดรา (เช่น โรคไหม้) หรืออาหารที่เน่าเสียสามารถมีผลกระทบขนาดใหญ่กับคลังอาหารของมนุษย์และระบบนิเวศโดยรอบ อาณาจักรเห็ดราประกอบไปด้วยความหลากหลายมากมายด้วยระบบนิเวศ การดำเนินชีวิต และสัณฐาน ตั้งแต่ไคทริดน้ำเซลล์เดียวไปจนถึงเห็ดขนาดใหญ่ ถึงกระนั้น ความหลากหลายทางชีวภาพที่แท้จริงของอาณาจักรเห็ดรายังไม่มีข้อมูลมากนัก ซึ่งได้มีการประมาณจำนวนสายพันธุ์ไว้ที่ 1.5 - 5 ล้านสายพันธุ์ โดยทีเพียง 5 % เท่านั้นที่ได้รับการจำแนกประเภทแล้ว นับตั้งแต่การสำรวจในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 โดยคาร์ล ลินเนียส คริสเตียน เฮนดริก เพอร์ซูน และเอเลียส แมกนัส ฟรีส์ เห็ดราได้ถูกจำแนกประเภทตามสัณฐาน (เช่นสีของสปอร์ หรือลักษณะในระดับเล็กๆ) หรือรูปร่าง ความก้าวหน้าในอณูพันธุศาสตร์ได้เปิดทางให้สำหรับการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ เพื่อจัดลำดับตามอนุกรมวิธาน ซึ่งบางครั้งได้ขัดแย้งกับกลุ่มพันธุ์ที่ได้จัดไว้ก่อนในอดีตแล้ว การศึกษาในไม่กี่คริสต์ศตวรรษที่ผ่านมาได้ช่วยให้มีการตรวจสอบการจัดจำแนกประเภทใหม่ภายในอาณาจักรเห็ดรา ซึ่งได้แบ่งออกเป็นหนึ่งอาณาจักรย่อย เจ็ดไฟลัม และสิบไฟลัมย่อ.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและเห็ดรา · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ (ชีววิทยา)

ทฤษฎีเซลล์ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) โดยแมตเทียส จาคอบ ชไลเดน (Matthias Jakob Schleiden) และ ทีโอดอร์ ชวานน์ (Theodor Schwann) ได้อธิบายว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดประกอบด้วยเซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า เซลล์ทั้งหมดมีกำเนิดมาจากเซลล์ที่มีมาก่อน (preexisting cells) ระบบการทำงานเพื่อความอยู่รอดของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเซลล์ และภายในเซลล์ยังประกอบด้วยข้อมูลทางพันธุกรรม (hereditary information) ซึ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมการทำงานของเซลล์ และการส่งต่อข้อมูลทางพันธุกรรมไปยังเซลล์รุ่นต่อไป คำว่าเซลล์ มาจากภาษาละตินที่ว่า cella ซึ่งมีความหมายว่า ห้องเล็กๆ ผู้ตั้งชื่อนี้คือโรเบิร์ต ฮุก (Robert Hooke) เมื่อเขาเปรียบเทียบเซลล์ของไม้คอร์กเหมือนกับห้องเล็ก.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและเซลล์ (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์สืบพันธุ์

เซลล์สืบพันธุ์ (gamete) เป็นผลสุดท้ายจากการเกิดเซลล์สืบพันธุ์ (gametogenesis) ในสิ่งมีชีวิตที่ขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ แกมีตจะรวมเข้ากับแกมีตอื่นในการปฏิสนธิ (fertilization) กลายเป็นไซโกต (zygote) จากนั้นไซโกตจึงเจริญเป็นเอ็มบริโอ (embryo) หรือตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตนั้น แกมีตในเพศผู้เรียกว่า สเปิร์ม (sperm) ส่วนแกมีตในเพศเมียเรียกว่า โอวุม (ovum) ซึ่งมีขนาดใหญ่ว่าแกมีตของเพศผู้มาก หมวดหมู่:พันธุศาสตร์คลาสสิก หมวดหมู่:เซลล์สืบพันธุ์ หมวดหมู่:วิวัฒนาการ หมวดหมู่:ระบบสืบพันธุ์.

ใหม่!!: ยูแคริโอตและเซลล์สืบพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

EukaryaEukaryotaEukaryoteEukaryoticยูคาริโอตยูคารีโอตโดเมนยูคาริโอตโดเมนยูแคริโอตเซลล์ยูคาริโอตเซลล์ยูคารีโอตเซลล์ยูแคริโอต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »