โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุทธนาวีที่ซาลามิส

ดัชนี ยุทธนาวีที่ซาลามิส

การรุกรานครั้งที่ 2 ของเปอร์เซีย ยุทธนาวีที่ซาลามิส (Ναυμαχία τῆς Σαλαμῖνος, เนามาเคีย แตส ซาลามินอส) เป็นยุทธนาวีระหว่างฝ่ายพันธมิตรนครรัฐกรีก ภายใต้การนำของเธมิสโตคลีส กับจักรวรรดิเปอร์เซีย ภายใต้จักรพรรดิเซอร์ซีสมหาราช เมื่อ ปีที่ 480 ก่อนคริสต์ศักราช โดยฝ่ายกรีกที่จำนวนเรือรบน้อยกว่าได้รับชัยชนะแบบเด็ดขาด ยุทธนาวีนี้เกิดขึ้นที่ช่องแคบระหว่างดินแดนใหญ่ของกรีซ กับเกาะซาลามิสในอ่าวซาโรนิค ใกล้กรุงเอเธนส์ และถือเป็นจุดสูงสุดของการบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย ในการทัพรุกรานกรีกครั้งที่ 2 ของเปอร์เซีย กองกำลังเล็กๆของกรีก นำโดยทหารสปาร์ตา เข้าขวางทางเดินทัพของเปอร์เซียที่ช่องเขาเทอร์มอพิลี (Thermopylae) ในขณะที่กองกำลังพันธมิตรทางนาวี ประกอบด้วยกองเรือของเอเธนส์เป็นหลัก เข้าปะทะกองเรือเปอร์เซียน ที่ช่องแคบอาร์เตมีเซียม (Artemisium) ห่างออกไปไม่ไกล กองกำลังระวังหลังของกรีกถูกสังหารหมดสิ้นในยุทธการที่เทอร์มอพิลี ในขณะที่ฝ่ายพันธมิตรกรีกในยุทธนาวีที่อาร์เตมีเซียม ก็ได้รับความเสียหายหนัก และต้องถอยกลับไปเมื่อช่องเขาเทอร์มอพิลีเสียให้แก่ข้าศึก ทัพเปอร์เซียจึงสามารถเข้ายึดครองบีโอเชีย (Boeotia, Βοιωτία, บอยยอเทีย) และแอตทิกาได้ เมืองเอเธนส์ถูกกองทัพเปอร์เชียเผาราบ ประชาชนต้องอพยพทิ้งเมือง แต่กำลังฝ่ายพันธมิตรกรีกสามารถเข้าป้องกันคอคอดคอรินท์ ซึ่งเชื่อมแอตทิกากับเพโลพอนนีสไว้ได้ ระหว่างนั้นทัพเรือของกรีกถูกถอยไปใช้เกาะซาลามิสเป็นฐานปฏิบัติการ แม้ว่ากำลังทางนาวีของกรีกจะน้อยกว่าเปอร์เซียมาก แต่เธมิสโตคลีสแม่ทัพชาวเอเธนส์ สามารถหว่างล้อมให้กองกำลังพันธมิตรเข้าทำศึกกับทัพเรือเปอร์เซียอีกครั้ง โดยหวังว่าชัยชนะจะป้องกันคาบสมุทรเพโลพอนนีสอันเป็นแผ่นดินใหญของกรีกไว้ได้ พระเจ้าเซอร์ซีสกษัตริย์เปอร์เซีย ทรงกระหายจะได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดเช่นกัน ทำให้ติดกับแผนลวงพรางของเธมิสโตคลีส ซึ่งล่อทัพเรือของเปอร์เซียให้ออกมาปิดกั้นทางเข้า-ออกของช่องแคบซาลามิส แต่ด้วยสภาพที่คับแคบของพื้นที่ ทัพเรือใหญ่ของเปอร์เซียไม่อาจแปรขบวนได้และตกอยู่ในสภาพขาดระเบียบ กองเรือพันธมิตรกรีกฉวยโอกาสจัดแถวเป็นแนวประจัญบานเข้าโจมตีและได้รับชัยชนะแบบพลิกความคาดหมาย ยุทธนาวีที่ซาลามิสกลายเป็นการรบที่มีความสำคัญต่ออารยธรรมกรีกในระดับเดียวกับ ยุทธการที่มาราธอน และยุทธการที่เทอมอพิลี โดยเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามกรีก-เปอร์เซีย หลังยุทธการซาลามิส คาบสมุทรเพโลพอนนีสและอารยธรรมกรีก ก็ปลอดภัยจากการรุกรานของเปอร์เซีย ในขณะที่อาณาจักรเปอร์เซียต้องสูญเสียทรัพยากรมหาศาล ขวัญกำลังใจตกต่ำ และเสียความน่าเกรงขาม หลังการศึกในยุทธการที่พลาตีอา (Πλάταια) และยุทธการที่มิกาลี (Μυκάλη) ทัพของเปอร์เซียก็ไม่เป็นภัยคุกคามอีกต่อไป ฝ่ายพันธมิตรกรีกจึงรุกกลับได้ และยังส่งผลให้อาณาจักรมาเซดอนลุกฮือเพื่อปลดแอกตนเองจากการปกครองของเปอร์เซีย โดยเธรซ หมู่เกาะในทะเลอีเจียน และไอโอเนีย จะทยอยหลุดจากความควบคุมของเปอร์เซียในอีกสามสิบปีต่อมา เนื่องจากการเกิดขึ้นของสันนิบาตดีเลียนภายใต้การนำโดยเอเธนส์ Achilleas Vasileiou ยุทธนาวีที่ซาลามิสจึงนับว่าเป็นการเปลี่ยนสมการของอำนาจให้มาอยู่ที่ฝ่ายกรีก โดยลดอำนาจของจักรวรรดิเปอร์เซียในทะเลอีเจียนลงอย่างเฉียบพลัน พร้อมๆกับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแห่งความมั่งคั่ง และความเป็นมหาอำนาจทางทะเลของจักรวรรดิเอเธน.

18 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 64พลูทาร์กการบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียราชอาณาจักรมาเกโดนีอาสงครามกรีก-เปอร์เซียสปาร์ตาจักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราชจักรวรรดิอะคีเมนิดทะเลอีเจียนคอคอดคอรินท์คัลซีสนครรัฐโกรโตเนไอโอเนียเพโลพอนนีสเอเธนส์เธมิสโตคลีสเธรซ

พ.ศ. 64

ทธศักราช 64 ใกล้เคียงกับ ก่อน คริสต์ศักราช 480.

ใหม่!!: ยุทธนาวีที่ซาลามิสและพ.ศ. 64 · ดูเพิ่มเติม »

พลูทาร์ก

ลูทาร์ก (Plutarch) เมื่อเกิดมีชื่อว่า ปลูตาร์โคส (Πλούταρχος) ต่อมาเมื่อเป็นพลเมืองโรมันได้เปลี่ยนชื่อเป็น ลูกิอุส แม็สตริอุส ปลูตาร์คุส (Lvcivs Mestrivs Plvtarchvs; ราว ค.ศ. 46 – ราว ค.ศ. 120) เป็นนักประวัติศาสตร์ นักเขียนชีวประวัติ นักเขียนบทความ และนักปรัชญาเพลโตชาวชาวโรมันเชื้อสายกรีกผู้เป็นผู้เชี่ยวชาญในการเขียนชีวประวัติและสาขาวิชาต่าง ๆ ''Moralia'', 1531 งานเขียนที่สำคัญของพลูทาร์กก็คือ ชีวิตของชาวกรีกและโรมันชนชั้นขุนนาง (Parallel Lives) และ โมราเลีย (Moralia) พลูทาร์กเกิดในครอบครัวจากตระกูลสูงในเคโรเนียที่อยู่ทางตะวันออกของเดลฟีราว 20 ไมล.

ใหม่!!: ยุทธนาวีที่ซาลามิสและพลูทาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย

การบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย เกิดขึ้นในช่วงสงครามกรีก-เปอร์เซีย ระหว่างปีที่ 480–479 ก่อนคริสตกาล โดยจักรพรรดิเซอร์ซีสมหาราชต้องการพิชิตกรีซทั้งหมด หลังความพยายามครั้งแรกของจักรพรรดิดาไรอัสมหาราช พระราชบิดา ในการบุกกรีซล้มเหลว เมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเซอร์ซีสใช้เวลาหลายปีในการวางแผนและรวบรวมกำลังพล ส่วนฝ่ายกรีกนำทัพโดยเอเธนส์และสปาร์ตา ร่วมด้วยนครรัฐอื่น ๆ กว่า 70 แห่ง อย่างไรก็ตาม นครรัฐกรีกส่วนใหญ่วางตัวเป็นกลางหรือสวามิภักดิ์ต่อฝ่ายเปอร์เซีย การบุกครองเริ่มในฤดูใบไม้ผลิของปีที่ 480 ก่อนคริสตกาล ทัพเปอร์เซียข้ามช่องแคบเฮลเลสปอนต์ (ช่องแคบดาร์ดะเนลส์ในปัจจุบัน) ผ่านเธรซ มาซิดอนและเธสซาลี ก่อนจะพบกับกองทัพกรีก นำโดยพระเจ้าลีออนิดัสที่ 1 ที่ช่องเขาเทอร์มอพิลี ในขณะที่ทัพเรือเปอร์เซียถูกทัพเรือกรีกปิดกั้นไว้ที่ช่องแคบอาร์เตมิเซียม ทัพของพระเจ้าลีออนิดัสต้านทานทัพเปอร์เซียได้นาน 7 วันก่อนจะพ่ายแพ้ ส่วนทัพเรือกรีกต้านทานทัพเรือเปอร์เซียได้นาน 2 วัน ก่อนจะล่าถอยไปที่เกาะซาลามิส เมื่อทราบข่าวความพ่ายแพ้ที่เทอร์มอพิลี ชัยชนะที่เทอร์มอพิลีทำให้บีโอเชียและแอตติกาตกเป็นของเปอร์เซีย ทัพเปอร์เซียยกไปถึงเอเธนส์และเผาเมือง ในขณะที่ทัพกรีกวางกำลังที่คอคอดคอรินท์เพื่อปกป้องคาบสมุทรเพโลพอนนีส เธมิสโตคลีส แม่ทัพชาวเอเธนส์ล่อทัพเรือเปอร์เซียให้เข้ามาในช่องแคบแซลามิสก่อนจะให้ทัพเรือกรีกโจมตี ชัยชนะของฝ่ายกรีกในยุทธนาวีที่ซาลามิสทำให้การบุกครองของเปอร์เซียชะงัก จักรพรรดิเซอร์ซีสสั่งถอนทัพกลับเอเชีย โดยปล่อยให้แม่ทัพมาร์โดเนียสและทหารฝีมือดีทำสงครามต่อ ในปีที่ 479 ก่อนคริสตกาล ชาวกรีกรวบรวมทัพฮอปไลต์จำนวนมากที่สุดแล้วยกทัพขึ้นเหนือ ทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่เมืองพลาเทีย โดยทัพกรีกเป็นฝ่ายชนะ สังหารแม่ทัพมาร์โดเนียสและปลดปล่อยบีโอเชียและแอตติกา ในวันเดียวกัน ทัพเรือกรีกทำลายกองเรือเปอร์เซียในยุทธนาวีที่มิเคลี ชัยชนะสองครั้งในวันเดียวทำให้การบุกครองสิ้นสุด ส่งผลให้อำนาจของเปอร์เซียในทะเลอีเจียนลดน้อยลง ต่อมาทัพกรีกได้โต้กลับและขับไล่เปอร์เซียออกจากหมู่เกาะอีเจียนและไอโอเนีย ระหว่างปีที่ 479–478 ก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ยุทธนาวีที่ซาลามิสและการบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรมาเกโดนีอา

มาเกโดนีอา (Μακεδονία) หรือ มาซิโดเนีย (Macedonia) เป็นราชอาณาจักรในกรีซโบราณที่มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรกรีซ มาเกโดนีอาดินแดนของชนมาเกโดนีอาโบราณมีเขตแดนติดกับราชอาณาจักรอิไพรัส (Epirus) ทางตะวันตก, ราชอาณาจักรไพโอเนีย (Paionia) ทางตอนเหนือ, เทรซทางตะวันออก และเทสซาลี (Thessaly) ทางด้านใต้ ในช่วงระยะเวลาอันสั้นหลังจากการพิชิตดินแดนต่างๆ ของอเล็กซานเดอร์มหาราชราชอาณาจักรมาเกโดนีอาก็เป็นราชอาณาจักรที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกที่มีดินแดนที่ครอบคลุมกรีซทั้งหมดไปจนถึงอินเดีย ซึ่งเป็นการเริ่มต้นยุคประวัติศาสตร์ที่เรียกว่าสมัยเฮเลนนิสต.

ใหม่!!: ยุทธนาวีที่ซาลามิสและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกรีก-เปอร์เซีย

งครามกรีก-เปอร์เซีย (Greco-Persian Wars) หรือ สงครามเปอร์เซีย เป็นชุดความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิอะคีเมนิด (เปอร์เซีย) กับนครรัฐกรีก เกิดขึ้นระหว่างปีที่ 499–449 ก่อนคริสตกาล จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งเกิดจากการพิชิตภูมิภาคไอโอเนียของพระเจ้าไซรัสมหาราชในปีที่ 547 ก่อนคริสตกาลและต่อมาแต่งตั้งทรราชขึ้นปกครอง ต่อมาในปีที่ 499 ก่อนคริสตกาล อริสตาโกรัส ผู้ปกครองไมลีตัสที่มีเปอร์เซียหนุนหลัง นำกำลังเข้ายึดเกาะนักซอสแต่ล้มเหลว อริสตาโกรัสจึงปลุกปั่นให้ชาวกรีกในเอเชียน้อยก่อกบฏต่อเปอร์เซียและนำไปสู่การกบฏไอโอเนีย นอกจากนี้อริสตาโกรัสยังร่วมมือกับเอเธนส์และอีรีเทรียเผาเมืองซาร์ดิส เมืองหลวงของภูมิภาคของเปอร์เซียในปีที่ 498 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิดาไรอัสมหาราชจึงส่งกองทัพเข้าสู้รบจนในปีที่ 494 ก่อนคริสตกาล ฝ่ายเปอร์เซียรบชนะฝ่ายกบฏที่ยุทธการที่ลาเด ฝ่ายกบฏถูกปราบลงในปีต่อมา เพื่อป้องกันการกบฏครั้งใหม่และการแทรกแซง รวมถึงลงโทษการกระทำของเอเธนส์และอีรีเทรีย จักรพรรดิดาไรอัสจึงทำสงครามต่อเพื่อพิชิตกรีซทั้งหมด ฝ่ายเปอร์เซียเริ่มบุกกรีซในปีที่ 492 ก่อนคริสตกาล และประสบความสำเร็จในการยึดเธรซและมาซิดอน ต่อมาในปีที่ 490 ก่อนคริสตกาล กองทัพเปอร์เซียข้ามทะเลอีเจียน ยึดซิคละดีสและทำลายอีรีเทรีย แต่พ่ายแพ้ให้กับกองทัพเอเธนส์ในยุทธการที่มาราธอน เมื่อจักรพรรดิดาไรอัสเสด็จสวรรคตในปีที่ 486 ก่อนคริสตกาล เซอร์ซีส พระราชโอรส ได้นำกำลังบุกกรีซอีกครั้ง ชัยชนะที่ช่องเขาเทอร์มอพิลีทำให้ฝ่ายเปอร์เซียสามารถยึดและเผาทำลายเอเธนส์ อย่างไรก็ตาม กองเรือเปอร์เซียพ่ายแพ้อย่างหนักในยุทธนาวีที่ซาลามิส และปีต่อมาพ่ายแพ้ในยุทธการที่พลาตีอา จึงเป็นการสิ้นสุดการบุกครองของฝ่ายเปอร์เซีย หลังจากนั้นกองทัพกรีกฉวยโอกาสนำกองเรือเข้าโจมตีฝ่ายเปอร์เซียต่อในยุทธนาวีที่มิเคลีและขับไล่ทหารเปอร์เซียออกจากเซสทอสและบิแซนเทียม การกระทำของแม่ทัพพอสซาเนียสในยุทธการที่บิแซนเทียมทำให้เกิดความบาดหมางในหมู่นครรัฐกรีกและสปาร์ตาและก่อให้เกิด "สันนิบาตดีเลียน" ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรต่อต้านฝ่ายเปอร์เซียที่นำโดยเอเธนส์ ฝ่ายสันนิบาตทำสงครามกับฝ่ายเปอร์เซียต่อเป็นเวลา 30 ปี หลังชัยชนะที่แม่น้ำยูรีมีดอนในปีที่ 466 ก่อนคริสตกาล เมืองในภูมิภาคไอโอเนียก็เป็นอิสระจากเปอร์เซีย แต่ความพ่ายแพ้ของฝ่ายสันนิบาตในการกบฏที่อียิปต์ทำให้การสงครามกับเปอร์เซียหยุดชะงัก การรบครั้งต่อ ๆ มาประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย หลักฐานทางประวัติศาสตร์บางแห่งชี้ว่าในปีที่ 449 ก่อนคริสตกาล ทั้งสองฝ่ายได้ทำสนธิสัญญาสันติภาพคัลลิอัส ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามกรีก-เปอร์เซี.

ใหม่!!: ยุทธนาวีที่ซาลามิสและสงครามกรีก-เปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

สปาร์ตา

แผนที่สปาร์ตาโบราณ สปาร์ตา (Doric: Spártā, Attic: Spártē) เป็นชื่อเรียกของรัฐอิสระ ของชาวดอเรียน ซึ่งเป็นหนึ่งในชนเผ่าที่สำคัญของกรีกในยุคโบราณ สปาร์ตามีศูนย์กลางอยู่ที่ลาโอเนีย และมีจุดเด่นที่เน้นการฝึกทหาร จนอาจจะกล่าวได้ว่าสปาร์ตาเป็นรัฐทางทหาร ที่เป็นที่เข้มแข็งที่สุดในประวัติศาสตร์ของกรีกโบราณ โดยกองทัพสปาร์ตาสามารถมีชัยเหนือจักรวรรดิเปอร์เซีย และ จักรวรรดิเอเธนเนียน และได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ปกป้องรัฐอื่น ๆ ในกรีก พวกสปาร์ตาสามารถตั้งนครรัฐของตนและยึดครองดินแดนต่าง ๆ ได้ด้วยการทำสงคราม ดั้งนั้นจึงให้ความสำคัญกับระบบทหาร หมวดหมู่:กรีซโบราณ หมวดหมู่:นครรัฐในกรีซโบราณ.

ใหม่!!: ยุทธนาวีที่ซาลามิสและสปาร์ตา · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราช

ักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราช (Xerxes the Great) หรือ จักรพรรดิเซิร์กซีสที่ 1 (Xerxes I; 519 – 465 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิดาไรอัสมหาราช เมื่อพระราชบิดาสวรรคตเมื่อ 485 ปีก่อน..

ใหม่!!: ยุทธนาวีที่ซาลามิสและจักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอะคีเมนิด

ักรวรรดิอะคีเมนียะห์ หรือ จักรวรรดิเปอร์เชียอะคีเมนียะห์ (Achaemenid Empire หรือ Achaemenid Persian Empire, هخامنشیان) (550–330 ก.ค.ศ.) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิแรกของจักรวรรดิเปอร์เชียที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของเกรตเตอร์อิหร่านที่ตามมาจากจักรวรรดิมีเดีย ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิอะคีเมนียะห์มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7.5 ล้านตารางกิโลเมตร ที่ทำให้เป็นจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และเป็นจักรวรรดิที่วางรากฐานของระบบการปกครองจากศูนย์กลางSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty) จักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชครอบคลุมอาณาบริเวณสามทวีปที่รวมทั้งดินแดนในอัฟกานิสถาน และ ปากีสถาน, บางส่วนของเอเชียกลาง, อานาโตเลีย, เธรซ, บริเวณริมฝั่งทะเลดำส่วนใหญ่, อิรัก, ตอนเหนือของซาอุดีอาระเบีย, จอร์แดน, ปาเลสไตน์, เลบานอน, ซีเรีย และอียิปต์ไปจนถึงลิเบีย จักรวรรดิอะคีเมนียะห์เป็นศัตรูของนครรัฐกรีกในสงครามกรีซ-เปอร์เชีย เพราะไปปล่อยชาวยิวจากบาบิโลเนีย และในการก่อตั้งให้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษาราชการ และพ่ายแพ้ต่ออเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 330 ก่อนคริสต์ศักราช ความสำคัญทางประวัติศาสตร์โลกของจักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชก็คือกาวางรากฐานที่ได้รับความสำเร็จของระบบการบริหารการปกครองจากศูนย์กลาง และของรัฐบาลที่มีปรัชญาในการสร้างประโยชน์ให้แก่มวลชนSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty).

ใหม่!!: ยุทธนาวีที่ซาลามิสและจักรวรรดิอะคีเมนิด · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลอีเจียน

แผนที่ตำแหน่งทะเลอีเจียน ทะเลอีเจียน (Aegean Sea) เป็นทะเลที่ติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อยู่ระหว่างประเทศกรีซกับตุรกี ทางด้านตะวันออกของกรีก เป็นแหล่งอารยธรรมของโลกสมัยหนึ่ง.

ใหม่!!: ยุทธนาวีที่ซาลามิสและทะเลอีเจียน · ดูเพิ่มเติม »

คอคอดคอรินท์

ณะแล่นเรือทะลุคอคอดคอรินท์ โดยใช้คลองคอรินท์ คอคอดคอรินท์ (Isthmus of Corinth) เป็นผืนดินแคบ ๆ ซึ่งเชื่อมระหว่างเพโลพอนนีสและส่วนที่เหลือของกรีซแผ่นดินใหญ่ ใกล้กับเมืองคอรินท์ มีอาณาเขตติดต่อกับอ่าวคอรินท์ทางตะวันตก และอ่าวซาโรนิกทางตะวันออก นับตั้งแต..

ใหม่!!: ยุทธนาวีที่ซาลามิสและคอคอดคอรินท์ · ดูเพิ่มเติม »

คัลซีส

มืองคัลซีส คัลซีส หรือ คัลคิดา (กรีกสมัยใหม่: Χαλκίδα; Chalcis, Chalkida) เป็นเมืองบนเกาะยูบีอา ในจังหวัดยูบีอา ประเทศกรีซ ตั้งอยู่ริมช่องแคบเอวรีพอส เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญตั้งแต่ประมาณ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นส่วนหนึ่งของกรีซตั้งแต..

ใหม่!!: ยุทธนาวีที่ซาลามิสและคัลซีส · ดูเพิ่มเติม »

นครรัฐ

โมนาโก ถือเป็นนครรัฐแห่งหนึ่ง นครรัฐ (city state) คือภูมิภาคที่ควบคุมโดยสมบูรณ์โดยเมืองเพียงเมืองเดียว ส่วนใหญ่จะมีเอกราช โดยประวัติศาสตร์แล้ว นครรัฐมักจะเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่ใหญ่กว่า ดังเช่นนครรัฐในกรีกโบราณ (เช่น เอเธนส์ สปาร์ตา และโครินธ์) เมืองในเอเชียกลางตามเส้นทางสายไหม นครรัฐในอิตาลีเหนือ (โดยเฉพาะ ฟลอเรนซ์และเวนิซ) ปัจจุบันประเทศที่เป็นนครรัฐมีอยู่ทั้งหมด 3 ประเทศ คือ สาธารณรัฐสิงคโปร์, ราชรัฐโมนาโก และนครรัฐวาติกัน แต่บางแห่งก็ถูกจัดว่าเป็นนครรัฐด้วย อาทิ สาธารณรัฐมอลตา สาธารณรัฐซานมารีโนMogens, Hansen.

ใหม่!!: ยุทธนาวีที่ซาลามิสและนครรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

โกรโตเน

กรโตเน (Crotone) เป็นเมืองในแคว้นคาลาเบรีย ประเทศอิตาลี ริมอ่าวตารันโต ทะเลไอโอเนียน ก่อตั้งเมื่อประมาณ 710 ปีก่อนคริสต์ศักราช เริ่มแรกเป็นอาณานิคมที่ก่อตั้งขึ้นโดยพวกกรีก หรือชาวอะเคียน (Achaeans) ชาวกรีกโบราณเรียกเมืองนี้ว่า "โครตอน" Κρότων เริ่มใช้ชื่อโกโตรเนตั้งแต่ยุคกลาง จนถึงปี..

ใหม่!!: ยุทธนาวีที่ซาลามิสและโกรโตเน · ดูเพิ่มเติม »

ไอโอเนีย

อโอเนีย (ภาษากรีกโบราณ: Ἰωνία หรือ Ἰωνίη, Ionia) หรือเยาวนะ เป็นภูมิภาคโบราณที่ตั้งอยู่ทางตอนกลางของฝั่งทะเลอานาโตเลียในประเทศตุรกีปัจจุบัน ไอโอเนียเป็นภูมิภาคที่ตั้งอยู่ติดกับอิซเมียร์ที่เดิมคือสเมอร์น.

ใหม่!!: ยุทธนาวีที่ซาลามิสและไอโอเนีย · ดูเพิ่มเติม »

เพโลพอนนีส

มุทรเพโลพอนนีส เพโลพอนนีส (Πελοπόννησος, Peloponnese หรือ Peloponnesus) เดิมเรียกว่า "มอเรีย" เป็นคาบสมุทรใหญ่ (หรือเกาะ หลังจากการตัดคลองคอรินท์ ซึ่งแยกเพโลพอนนีสออกจากส่วนที่เหลือของกรีซแผ่นดินใหญ่) ทางตอนใต้ของประเทศกรีซทางตอนใต้ของอ่าวคอรินท์ ที่มีเนื้อที่ทั้งหมดราว 21,549 ตารางกิโลเมตร คาบสมุทรเพโลโพนีสแบ่งเป็นเขตการปกครองสามเขต (periphery) เขตเพโลโพนีส ส่วนหนึ่งของกรีซตะวันตก และเขตอัตติกา เมื่อขุดคลองคอรินท์ในปี ค.ศ. 1893 แล้วคาบสมุทรเพโลโพนีสก็ถูกแยกออกจากแผ่นดินใหญ่แต่มิได้ถือว่าเป็น “เกาะ”.

ใหม่!!: ยุทธนาวีที่ซาลามิสและเพโลพอนนีส · ดูเพิ่มเติม »

เอเธนส์

อเธนส์ (Athens; Αθήνα อธีนา) เป็นเมืองหลวงของประเทศกรีซ และยังเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศกรีซ ใช้ชื่อตามพระเจ้าอะธีนาในปุราณวิทยา เป็นหนี่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดนกินช่วงระยะเวลามากกว่า 3,400 ปี และมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ประมาณช่วงสหัสวรรษที่ 11 และ 7 ก่อนคริสตกาล ในช่วงยุคคลาสสิกของกรีซ หรือประมาณปีที่ 508-322 ก่อนคริสต์ศักราช เอเธนส์ขึ้นสู่จุดสูงสุดของอำนาจ และเป็นนครรัฐที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุคนั้น อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางของศิลปะ การเรียนรู้ และปรัชญา เมืองเอเธนส์ยังได้รับการอ้างอิงอย่างกว้างขวางว่าเป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตก และเป็นที่ที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก ปัจจุบันเอเธนส์เป็นเมืองนานาชาติที่ทันสมัย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน อุตสาหกรรม การเมือง และชีวิตทางวัฒนธรรมในกรีซ และภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป เป็นที่ตั้งของท่าเรือไพรีอัส ซึ่งเป็นท่าเรือผู้โดยสารที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เอเธนส์ถูกจัดอันดับให้เป็นเมืองที่รวยที่สุดอันดับที่ 39 ของโลก ในปี 2012 ประชากรในเขตเทศบาลเมือง บนขนาดพื้นที่ มีประมาณ 655,442 คน (796,442 คน ณ ปี ค.ศ. 2004) ส่วนประชากรในเขตเมือง (urban area) ทั้งหมด บนขนาดพื้นที่ มี 3,090,508 คน ตามสถิติเมื่อปี..

ใหม่!!: ยุทธนาวีที่ซาลามิสและเอเธนส์ · ดูเพิ่มเติม »

เธมิสโตคลีส

มิสโตคลีส หรือ เธมิสโตเคลส (Themistocles; Θεμιστοκλῆς เธ-มิส-ตอ-แคลส; "ชัยชนะแห่งกฎหมาย") c. 524–459 BC) เป็นนักการเมืองและแม่ทัพชาวเอเธนส์ เธมิสโตคลีสเป็นนักการเมืองสายพันธ์ใหม่ของเอเธนส์ในยุคที่ประชาธิปไตยก่อตัว โดยไม่ได้มาจากครอบครัวชนชั้นสูง โดยเขาเป็นหนึ่งในนักการเมืองประชานิยมที่มีฐานเสียงเป็นพลเมืองชั้นล่างของเอเธนส์ และมักขัดแย้งกับอภิสิทธิชนในเอเธนส์ เธมิสโตคลีสถูกเลือกให้เป็น อาร์คอน (กรีก: ἄρχων) หรือตำแหน่งผู้ปกครองสูงสุดของเมือง ในปี 493 ก่อนคริสตกาล เขามีทัศนะวิสัยเห็นว่าเอเธนส์มีศักยภาพทางภูมิศาสตร์ที่จะเป็นมหาอำนาจทางทะเลได้ และเกลี้ยกล่อมให้สภาของเอเธนส์เพิ่มกำลังรบทางเรือ ในระหว่างการบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย เธมิสโตคลีสเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพกรีกที่สมรภูมิมาราธอน และน่าเชื่อว่าคงจะเป็นหนึ่งในสิบนายพลของเอเธนส์ หรือ สตราเตกอส ในยุทธการนั้น หลังจากกลายเป็นฮีโร่ของยุทธการที่มาราธอน จนถึงการรุกรานครั้งที่สองของเปอร์เซีย ระหว่างปีที่ 480-490 กอ่นคริสตศักราช เธมิสโตคลีสกลายเป็นแม่ทัพที่โดดเด่นที่สุดของเอเธนส์ และยังคงสนับสนุนให้เอเธนส์จัดหากำลังทางน้ำเพิ่ม โดยในปีที่ 483 กอ่นคริสตศักราช เขาอ้างคำทำนายของเทพพยากรณ์เดลฟี ซึ่งแนะนำให้ชาวเอเธนส์สร้าง "กำแพงไม้" (wooden wall) และโน้มน้าวให้ชาวเมืองอนุมัติทุนเพื่อสร้างกองเรือไม้ ไตรรีม (triremes) สองร้อยลำ สำหรับต้านทานการบุกรุกของกองทัพเปอร์เซียที่กำลังจะมาถึง; เธมิสโตคลีสนำทัพเรือเอเธนส์และพันธมิตรกรีก เข้าสู้ทัพเรือของเปอร์เซียในยุทธนาวีที่อาร์เตมีเซียม และที่ซาลามิส ในปีที่ 480 BC. โดยการล่อทัพเรือเปอร์เซียให้เข้ามาในช่องแคบซาลามิส ชัยชนะของทัพเรือกรีกในยุทธนาวีที่ซาลามิส เป็นจุดเปลี่ยนของสงครามและในไปสู่ความพ่ายแพ้ของทัพเปอร์เซียในยุทธการที่พลาตีอา (Battle of Plataea) หลังสงครามสงบ เธมิสโตคลีสกลายเป็นรัฐบุรุษที่ดดเด่นในสังคมเอเธนส์ ชัยชนะทางยุทธนาวีของฝ่ายพันธมิตรกรีก นำไปสู่การก่อตั้งสันนิบาตดีเลียน ในปีที่ 478 BC และทำให้เอเธนส์ผงาดขึ้นในฐานะมหาอำนาจทางทะเล (thalassocratic empire) แต่นโยบายที่หยิ่งยะโสของเธมิสโตคลีส เช่นการสั่งให้สร้างป้อมปราการรอบเอเธนส์ เป็นการยั่วยุให้สปาร์ตาขุ่นเคือง ชาวเมืองเอเธนส์เองก็เบื่อหน่ายในความหยิ่งยะโสของเธมิสโตคลีส เขาโดนสปาร์ต้าวางแผนใส่ร้ายข้อหากบฏ ในปี 478 และถูกประชาชนลงเสียงขับไล่ (ostracise) ออกจากเมืองในปีที่ 471 และไปเสียชีวิตที่แม็กนีเซีย ในปีที่ 459 ก่อนคริสตศักราช เธมิสโตคลีสยังคงเป็นที่จดจำในฐานะบุรุษผู้กู้อารยธรรมกรีกจากอำนาจของจักรวรรดิเปอร์เซีย นโยบายการสั่งสมกำลังทางทะเลของเขาเป็นจุกเริ่มต้นของความยิ่งใหญ่ของนครรัฐเอเธนส์ในศตวรรษที่ 5 เพราะอำนาจทางทะเลเป็นหลักศิลาของจักรวรรดิเอเธนส์ ทิวซิดิดีสกล่าวว่าเธมิสโตคลีสเป็น "ผู้ที่เปล่งประกายของอัจฉริยภาพโดยอย่างไม่ต้องสงสัย".

ใหม่!!: ยุทธนาวีที่ซาลามิสและเธมิสโตคลีส · ดูเพิ่มเติม »

เธรซ

ในที่บรรจุศพ เธรซ (Thrace, Тракия, Trakiya, Θράκη, Thráki, Trakya) เป็นบริเวณประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป ในปัจจุบันเธรซหมายถึงบริเวณที่ครอบคลุม ตอนใต้ของบัลแกเรีย (เธรซเหนือ), ทางตะวันออกเฉียงเหนือของGreece (เธรซตะวันตก), และตุรกีในยุโรป (เธรซตะวันออก) พรมแดนเธรซติดกับทะเลสามทะเล: ทะเลดำ, ทะเลอีเจียน และทะเลมาร์มารา บางครั้งเธรซก็เรียกว่า “รูเมเลีย” (Rumelia) หรือ “ดินแดนของโรมัน”.

ใหม่!!: ยุทธนาวีที่ซาลามิสและเธรซ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »