เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ยุทธการที่เทอร์มอพิลีและสงครามกรีก-เปอร์เซีย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ยุทธการที่เทอร์มอพิลีและสงครามกรีก-เปอร์เซีย

ยุทธการที่เทอร์มอพิลี vs. สงครามกรีก-เปอร์เซีย

ทธการที่เทอร์มอพิลี (Battle of Thermopylae; Greek: Μάχη τῶν Θερμοπυλῶν, มาแค ตอน แธมอปูลอน) เกิดขึ้นในปี 480 ปีก่อนคริสตกาล พันธมิตรรัฐกรีกตั้งรับการรุกรานของจักรวรรดิเปอร์เซีย ณ ช่องเขาเทอร์มอพิลีในกรีซตอนกลาง กองทัพกรีกเสียเปรียบด้านจำนวนอย่างมหาศาล แต่ก็ยังสามารถยันกองทัพเปอร์เซียได้เป็นเวลาสามวัน ยุทธการดังกล่าวเป็นหนึ่งในการรบจนตัวตายที่โด่งดังที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ กองทัพกรีกขนาดเล็กนำโดยกษัตริย์ลีออนิดัสที่ 1 แห่งสปาร์ตา ได้เข้าปิดช่องเขาเล็ก ๆ ซึ่งขัดขวางกองทัพมหึมาของจักรวรรดิเปอร์เซีย ภายใต้การนำของจักรพรรดิเซอร์ซีสที่ 1 ไว้ หลังจากการรบสามวัน เฮโรโดตุสเชื่อว่ามีคนทรยศที่บอกเส้นทางให้กับกองทัพเปอร์เซียซึ่งนำไปสู่ด้านหลังของกองทัพสปาร์ต้า และในวันที่สาม กองทัพกรีกได้ถอนตัวออกไปราว 2,300 นาย หลังเที่ยงวันของวันที่สาม กองทัพเปอร์เซียสามารถเจาะผ่านแนวกรีกได้ แต่ก็ต้องประสบกับความสูญเสียอย่างมหาศาลเมื่อเทียบกับความสูญเสียของกองทัพกรีก การต้านทานอย่างบ้าระห่ำของกองทัพกรีกได้ซื้อเวลาอันหาค่ามิได้ในการเตรียมกองทัพเรือ ซึ่งอาจตัดสินผลแพ้ชนะของสงคราม The 1913 edition (same page numbers) สามารถดาวน์โหลดได้ที่ Google Books,. งครามกรีก-เปอร์เซีย (Greco-Persian Wars) หรือ สงครามเปอร์เซีย เป็นชุดความขัดแย้งระหว่างจักรวรรดิอะคีเมนิด (เปอร์เซีย) กับนครรัฐกรีก เกิดขึ้นระหว่างปีที่ 499–449 ก่อนคริสตกาล จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งเกิดจากการพิชิตภูมิภาคไอโอเนียของพระเจ้าไซรัสมหาราชในปีที่ 547 ก่อนคริสตกาลและต่อมาแต่งตั้งทรราชขึ้นปกครอง ต่อมาในปีที่ 499 ก่อนคริสตกาล อริสตาโกรัส ผู้ปกครองไมลีตัสที่มีเปอร์เซียหนุนหลัง นำกำลังเข้ายึดเกาะนักซอสแต่ล้มเหลว อริสตาโกรัสจึงปลุกปั่นให้ชาวกรีกในเอเชียน้อยก่อกบฏต่อเปอร์เซียและนำไปสู่การกบฏไอโอเนีย นอกจากนี้อริสตาโกรัสยังร่วมมือกับเอเธนส์และอีรีเทรียเผาเมืองซาร์ดิส เมืองหลวงของภูมิภาคของเปอร์เซียในปีที่ 498 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิดาไรอัสมหาราชจึงส่งกองทัพเข้าสู้รบจนในปีที่ 494 ก่อนคริสตกาล ฝ่ายเปอร์เซียรบชนะฝ่ายกบฏที่ยุทธการที่ลาเด ฝ่ายกบฏถูกปราบลงในปีต่อมา เพื่อป้องกันการกบฏครั้งใหม่และการแทรกแซง รวมถึงลงโทษการกระทำของเอเธนส์และอีรีเทรีย จักรพรรดิดาไรอัสจึงทำสงครามต่อเพื่อพิชิตกรีซทั้งหมด ฝ่ายเปอร์เซียเริ่มบุกกรีซในปีที่ 492 ก่อนคริสตกาล และประสบความสำเร็จในการยึดเธรซและมาซิดอน ต่อมาในปีที่ 490 ก่อนคริสตกาล กองทัพเปอร์เซียข้ามทะเลอีเจียน ยึดซิคละดีสและทำลายอีรีเทรีย แต่พ่ายแพ้ให้กับกองทัพเอเธนส์ในยุทธการที่มาราธอน เมื่อจักรพรรดิดาไรอัสเสด็จสวรรคตในปีที่ 486 ก่อนคริสตกาล เซอร์ซีส พระราชโอรส ได้นำกำลังบุกกรีซอีกครั้ง ชัยชนะที่ช่องเขาเทอร์มอพิลีทำให้ฝ่ายเปอร์เซียสามารถยึดและเผาทำลายเอเธนส์ อย่างไรก็ตาม กองเรือเปอร์เซียพ่ายแพ้อย่างหนักในยุทธนาวีที่ซาลามิส และปีต่อมาพ่ายแพ้ในยุทธการที่พลาตีอา จึงเป็นการสิ้นสุดการบุกครองของฝ่ายเปอร์เซีย หลังจากนั้นกองทัพกรีกฉวยโอกาสนำกองเรือเข้าโจมตีฝ่ายเปอร์เซียต่อในยุทธนาวีที่มิเคลีและขับไล่ทหารเปอร์เซียออกจากเซสทอสและบิแซนเทียม การกระทำของแม่ทัพพอสซาเนียสในยุทธการที่บิแซนเทียมทำให้เกิดความบาดหมางในหมู่นครรัฐกรีกและสปาร์ตาและก่อให้เกิด "สันนิบาตดีเลียน" ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรต่อต้านฝ่ายเปอร์เซียที่นำโดยเอเธนส์ ฝ่ายสันนิบาตทำสงครามกับฝ่ายเปอร์เซียต่อเป็นเวลา 30 ปี หลังชัยชนะที่แม่น้ำยูรีมีดอนในปีที่ 466 ก่อนคริสตกาล เมืองในภูมิภาคไอโอเนียก็เป็นอิสระจากเปอร์เซีย แต่ความพ่ายแพ้ของฝ่ายสันนิบาตในการกบฏที่อียิปต์ทำให้การสงครามกับเปอร์เซียหยุดชะงัก การรบครั้งต่อ ๆ มาประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย หลักฐานทางประวัติศาสตร์บางแห่งชี้ว่าในปีที่ 449 ก่อนคริสตกาล ทั้งสองฝ่ายได้ทำสนธิสัญญาสันติภาพคัลลิอัส ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามกรีก-เปอร์เซี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ยุทธการที่เทอร์มอพิลีและสงครามกรีก-เปอร์เซีย

ยุทธการที่เทอร์มอพิลีและสงครามกรีก-เปอร์เซีย มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระเจ้าลีออนิดัสที่ 1กรีซโบราณสปาร์ตาอานาโตเลียจักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราชเธมิสโตคลีส

พระเจ้าลีออนิดัสที่ 1

พระเจ้าลีออนิดัสที่ 1 (Leonidas I; Doric Λεωνίδᾱς, Leōnídās; Ionic และ Attic: Λεωνίδης, เล-ออ-นี-แดส), สวรรคต 480 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นพระมหากษัตริย์นักรบกล้าหาญแห่งนครรัฐกรีกสปาร์ตา พระองค์ทรงนำกำลังทัพสปาร์ต้าระหว่างการบุกครองกรีซครั้งที่สองของเปอร์เซียและทรงเป็นที่จดจำสำหรับการสวรรคตที่ยุทธการที่เทอร์มอพิลี หมวดหมู่:ชาวกรีก.

พระเจ้าลีออนิดัสที่ 1และยุทธการที่เทอร์มอพิลี · พระเจ้าลีออนิดัสที่ 1และสงครามกรีก-เปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

กรีซโบราณและยุทธการที่เทอร์มอพิลี · กรีซโบราณและสงครามกรีก-เปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

สปาร์ตา

แผนที่สปาร์ตาโบราณ สปาร์ตา (Doric: Spártā, Attic: Spártē) เป็นชื่อเรียกของรัฐอิสระ ของชาวดอเรียน ซึ่งเป็นหนึ่งในชนเผ่าที่สำคัญของกรีกในยุคโบราณ สปาร์ตามีศูนย์กลางอยู่ที่ลาโอเนีย และมีจุดเด่นที่เน้นการฝึกทหาร จนอาจจะกล่าวได้ว่าสปาร์ตาเป็นรัฐทางทหาร ที่เป็นที่เข้มแข็งที่สุดในประวัติศาสตร์ของกรีกโบราณ โดยกองทัพสปาร์ตาสามารถมีชัยเหนือจักรวรรดิเปอร์เซีย และ จักรวรรดิเอเธนเนียน และได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ปกป้องรัฐอื่น ๆ ในกรีก พวกสปาร์ตาสามารถตั้งนครรัฐของตนและยึดครองดินแดนต่าง ๆ ได้ด้วยการทำสงคราม ดั้งนั้นจึงให้ความสำคัญกับระบบทหาร หมวดหมู่:กรีซโบราณ หมวดหมู่:นครรัฐในกรีซโบราณ.

ยุทธการที่เทอร์มอพิลีและสปาร์ตา · สงครามกรีก-เปอร์เซียและสปาร์ตา · ดูเพิ่มเติม »

อานาโตเลีย

อานาโตเลีย (อังกฤษ: (Anatolia), กรีก: ανατολή หมายถึง "อาทิตย์อุทัย" หรือ "ตะวันออก") นิยมเรียกในภาษาละตินว่า เอเชียน้อย อีกด้วย เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป คาบสมุทรอานาโตเลียมีพื้นที่ประมาณ 757,000 ตร.กม.

ยุทธการที่เทอร์มอพิลีและอานาโตเลีย · สงครามกรีก-เปอร์เซียและอานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราช

ักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราช (Xerxes the Great) หรือ จักรพรรดิเซิร์กซีสที่ 1 (Xerxes I; 519 – 465 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิดาไรอัสมหาราช เมื่อพระราชบิดาสวรรคตเมื่อ 485 ปีก่อน..

จักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราชและยุทธการที่เทอร์มอพิลี · จักรพรรดิเซิร์กซีสมหาราชและสงครามกรีก-เปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

เธมิสโตคลีส

มิสโตคลีส หรือ เธมิสโตเคลส (Themistocles; Θεμιστοκλῆς เธ-มิส-ตอ-แคลส; "ชัยชนะแห่งกฎหมาย") c. 524–459 BC) เป็นนักการเมืองและแม่ทัพชาวเอเธนส์ เธมิสโตคลีสเป็นนักการเมืองสายพันธ์ใหม่ของเอเธนส์ในยุคที่ประชาธิปไตยก่อตัว โดยไม่ได้มาจากครอบครัวชนชั้นสูง โดยเขาเป็นหนึ่งในนักการเมืองประชานิยมที่มีฐานเสียงเป็นพลเมืองชั้นล่างของเอเธนส์ และมักขัดแย้งกับอภิสิทธิชนในเอเธนส์ เธมิสโตคลีสถูกเลือกให้เป็น อาร์คอน (กรีก: ἄρχων) หรือตำแหน่งผู้ปกครองสูงสุดของเมือง ในปี 493 ก่อนคริสตกาล เขามีทัศนะวิสัยเห็นว่าเอเธนส์มีศักยภาพทางภูมิศาสตร์ที่จะเป็นมหาอำนาจทางทะเลได้ และเกลี้ยกล่อมให้สภาของเอเธนส์เพิ่มกำลังรบทางเรือ ในระหว่างการบุกครองกรีซครั้งที่หนึ่งของเปอร์เซีย เธมิสโตคลีสเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพกรีกที่สมรภูมิมาราธอน และน่าเชื่อว่าคงจะเป็นหนึ่งในสิบนายพลของเอเธนส์ หรือ สตราเตกอส ในยุทธการนั้น หลังจากกลายเป็นฮีโร่ของยุทธการที่มาราธอน จนถึงการรุกรานครั้งที่สองของเปอร์เซีย ระหว่างปีที่ 480-490 กอ่นคริสตศักราช เธมิสโตคลีสกลายเป็นแม่ทัพที่โดดเด่นที่สุดของเอเธนส์ และยังคงสนับสนุนให้เอเธนส์จัดหากำลังทางน้ำเพิ่ม โดยในปีที่ 483 กอ่นคริสตศักราช เขาอ้างคำทำนายของเทพพยากรณ์เดลฟี ซึ่งแนะนำให้ชาวเอเธนส์สร้าง "กำแพงไม้" (wooden wall) และโน้มน้าวให้ชาวเมืองอนุมัติทุนเพื่อสร้างกองเรือไม้ ไตรรีม (triremes) สองร้อยลำ สำหรับต้านทานการบุกรุกของกองทัพเปอร์เซียที่กำลังจะมาถึง; เธมิสโตคลีสนำทัพเรือเอเธนส์และพันธมิตรกรีก เข้าสู้ทัพเรือของเปอร์เซียในยุทธนาวีที่อาร์เตมีเซียม และที่ซาลามิส ในปีที่ 480 BC. โดยการล่อทัพเรือเปอร์เซียให้เข้ามาในช่องแคบซาลามิส ชัยชนะของทัพเรือกรีกในยุทธนาวีที่ซาลามิส เป็นจุดเปลี่ยนของสงครามและในไปสู่ความพ่ายแพ้ของทัพเปอร์เซียในยุทธการที่พลาตีอา (Battle of Plataea) หลังสงครามสงบ เธมิสโตคลีสกลายเป็นรัฐบุรุษที่ดดเด่นในสังคมเอเธนส์ ชัยชนะทางยุทธนาวีของฝ่ายพันธมิตรกรีก นำไปสู่การก่อตั้งสันนิบาตดีเลียน ในปีที่ 478 BC และทำให้เอเธนส์ผงาดขึ้นในฐานะมหาอำนาจทางทะเล (thalassocratic empire) แต่นโยบายที่หยิ่งยะโสของเธมิสโตคลีส เช่นการสั่งให้สร้างป้อมปราการรอบเอเธนส์ เป็นการยั่วยุให้สปาร์ตาขุ่นเคือง ชาวเมืองเอเธนส์เองก็เบื่อหน่ายในความหยิ่งยะโสของเธมิสโตคลีส เขาโดนสปาร์ต้าวางแผนใส่ร้ายข้อหากบฏ ในปี 478 และถูกประชาชนลงเสียงขับไล่ (ostracise) ออกจากเมืองในปีที่ 471 และไปเสียชีวิตที่แม็กนีเซีย ในปีที่ 459 ก่อนคริสตศักราช เธมิสโตคลีสยังคงเป็นที่จดจำในฐานะบุรุษผู้กู้อารยธรรมกรีกจากอำนาจของจักรวรรดิเปอร์เซีย นโยบายการสั่งสมกำลังทางทะเลของเขาเป็นจุกเริ่มต้นของความยิ่งใหญ่ของนครรัฐเอเธนส์ในศตวรรษที่ 5 เพราะอำนาจทางทะเลเป็นหลักศิลาของจักรวรรดิเอเธนส์ ทิวซิดิดีสกล่าวว่าเธมิสโตคลีสเป็น "ผู้ที่เปล่งประกายของอัจฉริยภาพโดยอย่างไม่ต้องสงสัย".

ยุทธการที่เทอร์มอพิลีและเธมิสโตคลีส · สงครามกรีก-เปอร์เซียและเธมิสโตคลีส · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ยุทธการที่เทอร์มอพิลีและสงครามกรีก-เปอร์เซีย

ยุทธการที่เทอร์มอพิลี มี 19 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงครามกรีก-เปอร์เซีย มี 29 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 12.50% = 6 / (19 + 29)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ยุทธการที่เทอร์มอพิลีและสงครามกรีก-เปอร์เซีย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: