เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ยุทธการที่บริเตนและเรือลาดตระเวน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ยุทธการที่บริเตนและเรือลาดตระเวน

ยุทธการที่บริเตน vs. เรือลาดตระเวน

ยุทธการบริเตน (Battle of Britain) คือการรบทางอากาศที่กองทัพอากาศเยอรมันหรือลุฟท์วัฟเฟอ (Luftwaffe) เปิดการโจมตีทางอากาศเพื่อชิงความได้เปรียบกับกองทัพอากาศหลวงของสหราชอาณาจักร ก่อนที่จะดำเนินการบุกทางทะเลและการทิ้งทหารพลร่มจากอากาศในปฏิบัติการสิงโตทะเล (Unternehmen Seelöwe) ที่ทางเยอรมันได้วางแผนไว้ก่อนหน้า ต้นเหตุของการรบครั้งนี้มาจากความคิดของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และนายทหารในกองทัพบกเยอรมันที่เชื่อว่าการบุกหมู่เกาะบริเตนข้ามทะเลจะไม่สามารถทำได้โดยง่ายถ้ากองทัพอากาศหลวงไม่ถูกทำลายเสียก่อน เป้าหมายหลักของลุฟวาฟเฟิลในการเปิดศึกทางอากาศคือเพื่อบั่นทอนหรือทำลายกองกำลังทางอากาศของอังกฤษจนอ่อนแอกว่าที่จะยับยั้งการบุกได้ ส่วนเป้าหมายรองก็คือทำลายโรงงานผลิตเครื่องบินและสาธารณูปโภคต่างๆ รวมทั้งทิ้งระเบิดใส่พื้นที่ที่มีความสำคัญทางการเมือง เพื่อข่มขู่ชาวบริเตนให้ยอมแพ้หรือยอมสงบศึกด้วย กระนั้น แม้เยอรมนีจะมีเครื่องบินรบที่ดีกว่าและนักบินที่มีประสบการณ์มากกว่า (สืบเนื่องจากการบุกครองโปแลนด์ก่อนหน้านี้) แต่ความเด็ดขาดของกองทัพอากาศหลวงและจำนวนเครื่องบินที่มากกว่า ทำให้ฝ่ายเยอรมันประสบกับความล้มเหลวในการทำลาย หรือแม้แต่จะบั่นทอนกำลังของกองทัพอากาศหลวงของอังกฤษ (หรือแม้แต่จะทำลายขวัญกำลังใจของชาวบริเตน)และพ่ายแพ้ไปในที่สุดซึ่งความพ่ายแพ้ครั้งนี้ของเยอรมันถือเป็นหนึ่งในความพ่ายแพ่ครั้งสำคัญของเยอรมันที่จะนำไปสู่ชัยชนะเหนือฝ่ายอักษะของฝ่ายสัมพันธมิตรในที่สุดเพราะเวลาต่อมานาซีเยอรมันได้หันเหไปโจมตีสหภาพโซเวียตแทนทำให้อังกฤษสามารถตั้งตัวได้และได้พันธมิตรใหม่เข้าร่วมต่อสู้กับนาซีเยอรมันคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ยุทธการบริเตนถือเป็นการรบครั้งแรกที่สู้กันทางอากาศตลอดทั้งศึก รวมถึงเป็นศึกที่มีปฏิบัติการณ์ทิ้งระเบิดที่ยาวนานและสูญเสียมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นศึกที่มีการทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ (ที่มีจุดประสงค์เพื่อทำลายเศรษฐกิจ หรือการผลิตของศัตรู ไม่ใช่การทำลายข้าศึกโดยตรง) ที่ถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้จริง หมวดหมู่:แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง) หมวดหมู่:ยุทธการและปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:ปฏิบัติการและยุทธการทางอากาศ. รือ ยูเอสเอส พอร์ต รอยัล (CG 73) เรือลาดตระเวนชั้นติคอนเดอโรกา แห่งกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เรือลาดตระเวน (อังกฤษ: Cruiser) เป็นประเภทของเรือรบประเภทหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าเรือพิฆาตแต่จะมีขนาดเล็กกว่าเรือประจัญบาน เรือลาดตระเวนมีวัตุถุประสงค์หลักในการปฏิบัติการโจมตีและป้องกันภารกิจทางทะเลได้อย่างอิสระ มีความคล่องตัวสูง สามารถต่อตีเป้าหมายได้หลากหลายประเภท เช่น เรือดำน้ำ อากาศยาน และเรือรบผิวน้ำประเภทอื่นๆ เรือลาดตระเวนเริ่มมีบทบาทสำคัญในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนกระทั่งสงครามเย็นสงบลง ในอดีตนั้นเรือลาดตระเวนมิได้จัดเป็นหนึ่งในประเภทของเรือรบ หากแต่เป็นเรือฟริเกตที่ได้รับมอบหมายภารกิจในการลาดตระเวนอย่างอิสระออกจากกองเรือขนาดใหญ่ จึงจำต้องมีส่วนในการเข้าโจมตีเรือสินค้าของศัตรู จนกระทั่งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำว่า "เรือลาดตระเวน" กลายเป็นรูปแบบของเรือรบประเภทหนึ่งซึ่งออกแบบมาเพื่อภารกิจลาดตระเวนโดยเฉพาะ และจากปลายทศวรรษ 1890 ถึงทศวรรษที่ 1950 เรือลาดตระเวนจะหมายถึงเรือที่มีขนาดใหญ่กว่าเรือพิฆาตแต่จะมีขนาดเล็กกว่าเรือประจัญบาน ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภายหลังได้มีการปลดประจำการเรือประจัญบานจนหมดสิ้นแล้วนั้น ทำให้เรือลาดตระเวนกลายเป็นเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประสิทธิภาพที่สุดในการปฏิบัติการรบผิวน้ำ อย่างไรก็ตามก็ได้มีการพัฒนาให้เรือลาดตระเวนมีความสามารถในการป้องกันกองเรือจากภัยคุกคามทางอากาศ ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ประเภทของเรือลาดตระเวนกลายเป็นเรือรบผิวน้ำที่มีขนาดระวางขับน้ำมากที่สุดในกองทัพเรือ (ไม่นับเรือบรรทุกเครื่องบินและเรือช่วยรบอื่นๆ) อย่างไรก็ตามยังมีเรือพิฆาตติดอาวุธนำวิถีชั้นอาเลห์เบิร์ก ของสหรัฐอเมริกา และชั้นคองโง ของญี่ปุ่น ที่มีขนาดใหญ่ระดับเดียวกับเรือลาดตระเวน แต่ก็ไม่อาจใช้คำว่าเรือลาดตระเวนได้ เนื่องด้วยเหตุผลทางการเมือง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ยุทธการที่บริเตนและเรือลาดตระเวน

ยุทธการที่บริเตนและเรือลาดตระเวน มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สหรัฐ

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ยุทธการที่บริเตนและสหรัฐ · สหรัฐและเรือลาดตระเวน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ยุทธการที่บริเตนและเรือลาดตระเวน

ยุทธการที่บริเตน มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ เรือลาดตระเวน มี 17 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 3.12% = 1 / (15 + 17)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ยุทธการที่บริเตนและเรือลาดตระเวน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: