เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460)และสงครามดอกกุหลาบ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460)และสงครามดอกกุหลาบ

ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460) vs. สงครามดอกกุหลาบ

ทธการนอร์ทแธมป์ตัน (ค.ศ. 1460) (Battle of Northampton (1460)) เป็นยุทธการในสงครามดอกกุหลาบ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1460 ที่เมืองนอร์ทแธมป์ตันในนอร์ทแธมป์ตันเชอร์ในอังกฤษ เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพของฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ที่นำโดยพระเจ้าเฮนรีที่ 6 และฮัมฟรีย์ สตาฟฟอร์ด ดยุคแห่งบัคคิงแฮมที่ 1 และฝ่ายราชวงศ์ยอร์คที่นำโดยริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 ผลของยุทธการครั้งนี้ฝ่ายยอร์คได้รับชัยชนะ ในด้านความเสียหายฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์มีผู้เสียชีวิต 300 คน ส่วนฝ่ายราชวงศ์ยอร์คไม่ทราบจำนวน. ที่ตั้งสำคัญในสงครามดอกกุหลาบ สงครามดอกกุหลาบ (Wars of the Roses) เป็นชุดสงครามราชวงศ์ที่ผู้สนับสนุนราชวงศ์แพลนแทเจเนตสองสายที่เป็นคู่แข่งชิงราชบัลลังก์อังกฤษกัน ได้แก่ ราชวงศ์แลงแคสเตอร์และราชวงศ์ยอร์ก (ซึ่งสัญลักษณ์ตราประจำตระกูล คือ ดอกกุหลาบสีแดงและสีขาวตามลำดับ) ทั้งสองฝ่ายรบกันเป็นช่วงห่าง ๆ กันระหว่างปี 1455 ถึง 1485 แม้จะมีการสู้รบที่เกี่ยวข้องอีกทั้งก่อนหน้าและหลังช่วงนี้ สงครามดังกล่าวเป็นผลจากปัญหาทางสังคมและการเงินหลังสงครามร้อยปี ชัยชนะบั้นปลายเป็นของผู้เรียกร้องเชื้อสายแลงแคสเตอร์ค่อนข้างห่าง เฮนรี ทิวดอร์ ผู้กำราบพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ยอร์ก และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมสองราชวงศ์ หลังจากนั้น ราชวงศ์ทิวดอร์ปกครองอังกฤษและเวลส์เป็นเวลา 117 ปี เฮนรีแห่งโบลิงโบรกทรงก่อตั้งราชวงศ์แลงแคสเตอร์ขณะทรงราชย์ในปี 1399 เมื่อทรงถอดพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 พระภราดร (ลูกพี่ลูกน้อง) จากราชสมบัติ พระราชโอรส พระเจ้าเฮนรีที่ 5 ยังทรงรักษาการอยู่ในราชสมบัติของตระกูลไว้ได้ แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปี 1422 พระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทายาทของพระองค์ เป็นทารก การอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ของราชวงศ์แลงแคสเตอร์สืบมาจากจอห์นแห่งกอนต์ ดยุกที่ 1 แห่งแลงแคสเตอร์ พระราชโอรสที่ยังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สามในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 สิทธิในราชบัลลังก์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ถูกริชาร์ด ดยุคแห่งยอร์คคัดค้าน ผู้สามารถอ้างว่าสืบเชื้อสายจากไลโอเนลแห่งแอนต์เวิร์ป และเอ็ดมันด์แห่งแลงลีย์ ดยุกที่ 1 แห่งยอร์กพระราชโอรสที่ยังมียังมีพระชนมชีพพระองค์ที่สองและสี่ในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ริชาร์ดแห่งยอร์ค ผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญของรัฐหลายตำแหน่ง ทะเลาะกับราชวงศ์แลงแคสเตอร์สำคัญ ๆ ในราชสำนักและกับมาร์กาเรตแห่งอ็องฌู พระมเหสีในพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แม้เคยเกิดการปะทะกันด้วยอาวุธระหว่างผู้สนับสนุนราชวงศ์ยอร์กและแลงแคสเตอร์มาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่การสู้รบเปิดเผยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1455 ที่ยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 1 ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คนที่โดดเด่นหลายคนเสียชีวิต แต่ทายาทที่เหลือยังพยาบาทกับริชาร์ด แม้จะมีการฟื้นฟูสันติภาพชั่วคราว มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู ดลให้ราชวงศ์แลงแคสเตอร์คัดค้านอิทธิพลของเอิร์ลแห่งยอร์ค การสู้รบดำเนินต่ออย่างรุนแรงขึ้นในปี 1459 เอิร์ลแห่งยอร์คและผู้สนับสนุนของพระองค์ถูกบีบให้หนีออกนอกประเทศ แต่ผู้สนับสนุนที่โดดเด่นที่สุดของพระองค์คนหนึ่ง เอิร์ลแห่งวอริก บุกครองอังกฤษจากกาเลและสามารถจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้ที่ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน เอิร์ลแห่งยอร์คเสด็จกลับประเทศและเป็นผู้พิทักษ์อังกฤษ (Protector of England) แต่ทรงถูกปรามมิให้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ มาร์กาเร็ตและอภิชนแลงแคสเตอร์ผู้ไม่ยอมปรองดองประชุมกำลังทางเหนือของอังกฤษ และเมื่อเอิร์ลแห่งยอร์คเคลื่อนทัพขึ้นเหนือไปปราบ พระองค์กับเอ็ดเวิร์ด พระราชโอรสพระองค์ที่สอง ถูกปลงพระชนม์ทั้งคู่ที่ยุทธการเวคฟีลด์ในเดือนธันวาคม 1460 กองทัพแลงแคสเตอร์รุกลงใต้และจับพระเจ้าเฮนรีเป็นเชลยได้อีกในยุทธการที่เซนต์ออลบันส์ครั้งที่ 2 แต่ไม่สามารถยึดครองกรุงลอนดอนไว้ได้ และถอยกลับไปทางเหนือในเวลาต่อมา พระราชโอรสองค์โตของเอิร์ลแห่งยอร์ค เอ็ดเวิร์ด เอิร์ลแห่งมาร์ช ได้รับการประกาศเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 พระองค์ระดมกองทัพราชวงศ์ยอร์คและได้ชัยเด็ดขาดที่ยุทธการที่โทว์ทันเมื่อเดือนมีนาคม 1461 หลังการลุกขึ้นต่อต้านของแลงแคสเตอร์ทางเหนือถูกกำราบในปี 1464 และพระเจ้าเฮนรีถูกจับเป็นเชลยอีกครั้ง พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทะเลาะกับเอิร์ลแห่งวอริก สมญา "ผู้สร้างกษัตริย์" (Kingmaker) ผู้สนับสนุนและที่ปรึกษาหลักของพระองค์ และยังแตกแยกกับพระสหายหลายคน และกระทั่งพระบรมวงศานุวงศ์ โดยทรงสนับสนุนตระกูลของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ซึ่งมีอำนาจขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งพระองค์ทรงอภิเษกสมรสด้วยอย่างลับ ๆ ทีแรก เอิร์ลแห่งวอริกพยายามยกน้องชาย จอร์จ ดยุกแห่งแคลเรนซ์ เป็นพระมหากษัตริย์ แล้วจึงฟื้นฟูพระเจ้าเฮนรีที่ 6 กลับสู่ราชสมบัติ จากนั้นสองปี พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ทรงได้รับชัยชนะสมบูรณ์อีกครั้งที่บาร์เนต (เมษายน 1471) ที่ซึ่งเอิร์ลแห่งวอริกถูกสังหาร และทูกสบรี (พฤษภาคม 1471) ที่ซึ่งเอ็ดเวิร์ดแห่งเวสต์มินสเตอร์ ทายาทแลงแคสเตอร์ ถูกประหารชีวิตหลังยุทธการ พระเจ้าเฮนรีถูกปลงพระชนม์ในหอคอยลอนดอนหลายวันจากนั้น ยุติลำดับการสืบราชสันตติวงศ์โดยตรงของแลงแคสเตอร์ จากนั้น บ้านเมืองค่อนข้างสงบอยู่พักหนึ่ง จนพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเสด็จสวรรคตกะทันหันในปี 1483 ริชาร์ด ดยุกแห่งกลอสเตอร์ พระอนุชาที่ยังมีพระชนมชีพของพระองค์ ทีแรกเคลื่อนไหวเพื่อกันมิให้ตระกูลวูดวิลล์ที่ไม่เป็นที่นิยมของพระมเหสีหม้ายของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเข้าร่วมในรัฐบาลระหว่างที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 พระราชโอรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ยังทรงพระเยาว์ จึงยึดราชบัลลังก์เป็นของตน โดยอ้างว่า การสมรสของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เฮนรี ทิวดอร์ พระญาติห่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์แลงแคสเตอร์ผู้รับสืบทอดการอ้างสิทธิ์มาด้วย ชนะพระเจ้าริชาร์ดที่บอสเวิร์ธฟิลด์ในปี 1485 พระองค์ราชาภิเษกเป็นพระเจ้าเฮนรีที่ 7 และอภิเษกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งยอร์ก พระราชธิดาในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เพื่อรวมและประสานราชวงศ์ทั้งสอง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460)และสงครามดอกกุหลาบ

ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460)และสงครามดอกกุหลาบ มี 15 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2003พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษมาร์กาเรตแห่งอ็องฌู สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษราชวงศ์ยอร์กราชวงศ์แลงคัสเตอร์ริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์กริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 16 แห่งวอริกริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 5 แห่งซอลส์บรีวิลเลียม เนวิลล์ เอิร์ลที่ 1 แห่งเคนต์สงครามกลางเมืองคอเวนทรีประเทศอังกฤษเฮนรี โบฟอร์ต ดยุกที่ 3 แห่งซัมเมอร์เซตเคนต์

พ.ศ. 2003

ทธศักราช 2003 ใกล้เคียงกั.

พ.ศ. 2003และยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460) · พ.ศ. 2003และสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ (Edward IV of England) (28 เมษายน ค.ศ. 1442 – 9 เมษายน ค.ศ. 1483) เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและลอร์ดแห่งไอร์แลนด์ในราชวงศ์ยอร์ก พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1442 – 9 เมษายน ที่รูออง ในประเทศฝรั่งเศส เป็นบุตรคนที่ 2 ของริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์กและเซซิลี เนวิลล์ ดัชเชสแห่งยอร์ก ได้อภิเษกกสมรสกับเอลิซาเบธ วูดวิลล์ และครองราชย์ครั้งแรกระหว่างวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1461 – 2 ตุลาคม ค.ศ. 1470 และอีกครั้งหนึ่งระหว่างวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1471 จนสวรรคตเมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1483 ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ในประเทศอังกฤษ พระบรมศพอยู่ที่เซนต์จอร์จส์แชเปิล ใน พระราชวังวินด์เซอร.

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษและยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460) · พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษและสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ (Henry VI of England) (6 ธันวาคม ค.ศ. 1421 – 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1471) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์แลงคาสเตอร์ของราชอาณาจักรอังกฤษและฝรั่งเศส สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม..

พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษและยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460) · พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษและสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

มาร์กาเร็ตแห่งอองชู สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ (อังกฤษ: Margaret of Anjou) (23 มีนาคม ค.ศ. 1430 – 25 สิงหาคม ค.ศ. 1482) มาร์กาเร็ตแห่งอองชูประสูติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1430 ที่ปองต์-อา-มูซองในแคว้นลอร์แรนในประเทศฝรั่งเศส เป็นพระธิดาของ เรอเนแห่งอองชู และ อิสซาเบลลาดัชเชสแห่งลอร์แรน (Isabella, Duchess of Lorraine) มาร์กาเร็ตแห่งอองชูทรงเสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ และทรงได้รับการราชาภิเษกเป็นพระราชินีเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1445 ทรงดำรงพระราชอิศริยยศเป็นพระราชินีระหว่างวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1445 ถึงวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1461 และอีกครั้งหนึ่งระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1470 ถึงวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1471 มาร์กาเร็ตแห่งอองชูสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1482 ที่อองชูในประเทศฝรั่งเศส มาร์กาเร็ตทรงเป็นผู้นำกองทัพของแลงคาสเตอร์ในสงครามดอกกุหลาบหลายครั้ง; และเพราะการที่พระสวามีมีพระอาการเหมือนคนเสียสติเป็นพัก ๆ มาร์กาเร็ตจึงแทบจะกลายเป็นผู้ปกครองราชอาณาจักรในนามของพระสวามี ในเดือนพฤษภารมปี..

มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษและยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460) · มาร์กาเรตแห่งอ็องฌู สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษและสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ยอร์ก

อกกุหลาบขาว สัญลักษณ์ราชวงศ์ยอร์คWarsoftheroses.com, Wars of the Roses - http://www.warsoftheroses.com/york.cfmhttp://www.warsoftheroses.com/york.cfm ราชวงศ์ยอร์ค (House of York) เป็นสาขาหนึ่งของ ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท ของ อังกฤษ ราชวงศ์ยอร์คเป็นฝ่ายตรงข้ามของ ราชวงศ์แลงคาสเตอร์ ใน สงครามดอกกุหลาบ ซึ่งเป็น สงครามกลางเมือง ในการแย่ง ราชบัลลังก์อังกฤษ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อ ราชอาณาจักรอังกฤษ และ ราชอาณาจักรเวลส์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชื่อของราชวงศ์ตั้งตามชื่อ เอ็ดมันด์ แลงลีย์ พระราชโอรสองค์ที่สี่ใน พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ผู้มีตำแหน่งเป็นดยุคแห่งยอร์ค สัญลักษณ์ของราชวงศ์แลงคาสเตอร์คือดอกกุหลาบขาวแห่งยอร์ค พระเจ้าเฮนรีที่ 7 ทรงยุติการแย่งราชบัลลังก์ใน สงครามดอกกุหลาบ ระหว่างราชวงศ์แลงคาสเตอร์กับราชวงศ์ยอร์คโดยการเสกสมรสกับ เอลิซาเบธ แห่งยอร์ค พระราชธิดาของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และตั้งราชวงศ์ใหม่ที่เรียกว่า “ราชวงศ์ทิวดอร์” กษัตริย์ราชวงศ์ยอร์ค ของอังกฤษ.

ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460)และราชวงศ์ยอร์ก · ราชวงศ์ยอร์กและสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์แลงคัสเตอร์

'''ราชวงศ์แลงคัสเตอร์'''Warsoftheroses.com, Wars of the Roses - House of Lancasterhttp://www.warsoftheroses.com/lancaster.cfm ราชวงศ์แลงคัสเตอร์ (House of Lancaster) เป็นสาขาหนึ่งของราชวงศ์แพลนทาเจเน็ทของอังกฤษ ราชวงศ์แลงคัสเตอร์เป็นฝ่ายหนึ่งในสงครามดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นสงครามกลางเมืองในการแย่งราชบัลลังก์อังกฤษ และมีผลกระทบกระเทือนต่อราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรเวลส์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชื่อของราชวงศ์ตั้งตามชื่อจอห์นแห่งกอนท์ พระราชโอรสของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ผู้มีตำแหน่งเป็นดยุคแห่งแลงคัสเตอร์ สัญลักษณ์ของราชวงศ์แลงคัสเตอร์คือ ดอกกุหลาบแดงแห่งแลงคัสเตอร์ ศัตรูของราชวงศ์แลงคัสเตอร์คือราชวงศ์ยอร์ค ความเป็นคู่แข่งระหว่างแลงคัสเตอร์กับยอร์ค ซึ่งกลายมาเป็นมลฑลสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ แต่อย่างไม่เป็นทางการ เช่น การแข่งกีฬาประจำปีระหว่างสองมหาวิทยาลัยแลงคัสเตอร์ และ มหาวิทยาลัยยอร์ค ที่เรียกว่า “การแข่งขันกีฬาดอกกุหลาบ” (Roses Tournament) ราชวงศ์แลงคัสเตอร์มาสิ้นสุดลงในศึกทูคสบรี (Battle of Tewkesbury) ในปี..

ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460)และราชวงศ์แลงคัสเตอร์ · ราชวงศ์แลงคัสเตอร์และสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์ก

ริชาร์ด แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งยอร์คที่ 3 (Richard Plantagenet, 3rd Duke of York) (21 กันยายน ค.ศ. 1411 - 30 ธันวาคม ค.ศ. 1460) ริชาร์ด แพลนทาเจเน็ทเป็นสมาชิกในราชวงศ์ยอร์คผู้มีตำแหน่งหน้าที่ระดับสูงในฝรั่งเศสในปลายสงครามร้อยปีและในอังกฤษในระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรีที่ 6 ความขัดแย้งของดยุคแห่งยอร์คกับพระเจ้าเฮนรีเป็นสาเหตุที่ทำความปั่นป่วนทางการเมืองในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสงครามดอกกุหลาบ แม้ว่าริชาร์ด แพลนทาเจเน็ทจะมิได้เป็นพระมหากษัตริย์แต่ก็เป็นบิดาของพระเจ้าแผ่นดินสองพระองค์ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4และพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ริชาร์ด แพลนทาเจเน็ทปกครองอังกฤษในฐานะผู้พิทักษ์แห่งอังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1453 ถึงปี ค.ศ. 1454 ซึ่งทำให้ถือกันว่าเป็นขุนนางที่มีอำนาจและอิทธิพลมากที่สุดที่ไม่ได้รับการสวมมงกุฏ ริชาร์ด แพลนทาเจเน็ทเกิดเมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1411 เป็นบุตรของริชาร์ดแห่งโคนิสเบิร์ก เอิร์ลแห่งเคมบริดจ์ที่ 3 และแอนน์เดอมอร์ติเมอร์ ต่อมาสมรสกับซิซิลิ เนวิลล์และมีบุตรธิดาด้วยกันหลายคนที่รวมทั้งพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4และพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ริชาร์ดเสียชีวิตในสนามรบในยุทธการเวคฟิลด์ (Battle of Wakefield).

ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460)และริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์ก · ริชาร์ด แพลนแทเจเนต ดยุกที่ 3 แห่งยอร์กและสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 16 แห่งวอริก

ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 และ เอิร์ลแห่งซอลสบรี (Richard Neville, 16th Earl of Warwick) (22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1428 - 14 เมษายน ค.ศ. 1471) ริชาร์ด เนวิลล์เป็นขุนนาง, นักการบริหาร และนักการทหารชาวอังกฤษ ริชาร์ด เนวิลล์เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1428 เป็นบุตรของริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งซอลสบรีที่ 5 (Richard Neville, 5th Earl of Salisbury) และแอนน์ เนวิลล์ เคานเทสแห่งซอลสบรีที่ 5 และเป็นขุนนางสืบตระกูลผู้ที่มีร่ำรวยที่สุดและมีอำนาจมากที่สุดในยุคนั้น ผู้มีเส้นสายทางการเมืองไม่แต่ในอังกฤษ ริชาร์ดมีบทบาทสำคัญในสงครามดอกกุหลาบ และเป็นผู้ปลดพระเจ้าแผ่นดินสองพระองค์จากราชบัลลังก์ซึ่งทำให้ได้รับสมญาว่า “ผู้สร้างพระเจ้าแผ่นดิน” (the Kingmaker) จากความมั่งคั่งที่ได้มาจากการแต่งงานและมรดกที่ได้รับวอริคมีบทบาทสำคัญในทางการเมืองของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษ 1450 เดิมวอริคสนับสนุนพระเจ้าเฮนรีที่ 6 แต่เมื่อมีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับที่ดินกับเอ็ดมันด์ โบฟอร์ท ดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 1 วอริคก็หันไปร่วมมือกับดยุคแห่งยอร์คที่ 3 ในการต่อต้านพระเจ้าเฮนรี จากความขัดแย้งครั้งนี้วอริคได้ที่มั่นสำคัญในฐานะกัปตันแห่งคาเลส์ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เป็นประโยชน์อีกหลายปีต่อมา ความขัดแย้งในที่สุดก็กลายเป็นการปฏิวัติเต็มตัว บุตรชายของดยุคแห่งยอร์คด้วยความช่วยเหลือของวอริคได้รับชัยชนะและขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 เมื่อขึ้นครองราชย์ใหม่ๆ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงปกครองโดยมีวอริคเป็นผู้ช่วย แต่ก็มาผิดใจกันในด้านนโยบายการต่างประเทศและการเลือกผู้เสกสมรสของพระองค์ หลังจากที่พยายามร่วมมือกันโค่นราชบัลลังก์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดและยกจอร์จ แพลนทาเจเน็ท ดยุคแห่งแคลเรนซ์ที่ 1 พระอนุชาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดขึ้นครองราชย์ไม่สำเร็จ วอริคก็หันไปยึดราชบัลลังก์คืนให้แก่พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แทนที่ แต่ก็เป็นชัยชนะเพียงระยะเวลาสั้น ในปี..

ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460)และริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 16 แห่งวอริก · ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 16 แห่งวอริกและสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 5 แห่งซอลส์บรี

ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 5 แห่งซอลส์บรี (Richard Neville, 5th Earl of Salisbury) (ค.ศ. 1400 - 31 ธันวาคม ค.ศ. 1460) ริชาร์ด เนวิลล์เป็นขุนนางชาวอังกฤษที่มีบทบาทสำคัญในฐานะแม่ทัพฝ่ายราชวงศ์ยอร์คในตอนต้นของสงครามดอกกุหลาบ ริชาร์ด เนวิลล์เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1400 ในมณฑลเดอแรม แม้ว่าจะเป็นบุตรคนที่สามของราล์ฟ เนวิลล์ เอิร์ลแห่งเวสต์มอร์แลนด์ที่ 1 (Ralph Neville, 1st Earl of Westmorland) แต่เป็นบุตรคนแรกที่เกิดกับกับภรรยาคนที่สองโจน โบฟอร์ท ผู้เป็นพี่น้องกับริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 5 แห่งซอลส์บรี และซิซิลิ เนวิลล์ผู้เป็นพระมารดาของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 ดินแดนของตระกูลเนวิลล์ส่วนใหญ่อยู่ในมณฑลเดอแรมและมณฑลยอร์คเชอร์ แต่ทั้งสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 และสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 4 พบว่าตระกูลเนวิลล์เป็นผู้ที่สร้างความสมดุลทางอำนาจต่อตระกูลเพอร์ซีย์ในบริเวณเขตแดนสกอตแลนด์ ฉะนั้นเอิร์ลราล์ฟจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ในปี..

ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460)และริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 5 แห่งซอลส์บรี · ริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลที่ 5 แห่งซอลส์บรีและสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เนวิลล์ เอิร์ลที่ 1 แห่งเคนต์

วิลเลียม เนวิลล์ เอิร์ลแห่งเค้นท์ที่ 1 (William Neville, 1st Earl of Kent) (ราว ค.ศ. 1410 - ค.ศ. 1463) ริชาร์ด เนวิลล์เป็นขุนนางและนายทหารชาวอังกฤษที่มีบทบาทในสงครามดอกกุหลาบ วิลเลียม เนวิลล์เกิดเมื่อราวปี ค.ศ. 1410 เป็นบุตรคนที่สองของราล์ฟ เนวิลล์ เอิร์ลแห่งเวสต์มอร์แลนด์ที่ 1 (Ralph Neville, 1st Earl of Westmorland) กับภรรยาคนที่สองโจน โบฟอร์ท ผู้เป็นบุตรีของจอห์นแห่งกอนท์ ดยุคแห่งแลงคาสเตอร์ที่ 1 และแคทเธอริน สวินฟอร์ด (Katherine Swynford) โจน โบฟอร์ท เป็นพี่น้องกับริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งซอลสบรีที่ 5 และซิซิลิ เนวิลล์ผู้เป็นพระมารดาของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 และสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 จอห์นแห่งกอนท์เป็นโอรสองค์ที่สามในพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 ฉะนั้นวิลเลียมจึงเป็นพระนัดดาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แต่ตระกูลโบฟอร์ทถูกระบุว่าไม่มีสิทธิในการขึ้นครองราชบัลลังก์ วิลเลียมเป็นสมาชิกในตระกูลเนวิลล์อีกคนหนึ่งที่แต่งงานดี วิลเลียมแต่งงานกับทายาทของฟอคอนเบิร์กและได้รับตำแหน่งเป็นลอร์ดฟอคอนเบิร์ก — ขณะที่หลานริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 ไปแต่งงานกับทายาทของวอริคและได้รับแต่งตั้งให้เป็นเอิร์ลแห่งวอริค วิลเลียมแต่งงานก่อนปี..

ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460)และวิลเลียม เนวิลล์ เอิร์ลที่ 1 แห่งเคนต์ · วิลเลียม เนวิลล์ เอิร์ลที่ 1 แห่งเคนต์และสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมือง

งครามกลางเมือง (civil war) เป็นสงครามภายในกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรม, สัญชาติ หรือสังคมแบบเดียวกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อแย่งชิงอำนาจหรือดินแดน สงครามกลางเมืองอาจนับเป็นการปฏิวัติ (Revolution) ได้ในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่ภายในสังคมนั้นหลังจากสิ้นสุดสงคราม นักประวัติศาสตร์บางกลุ่มยังได้นับรวมเอาการจลาจล (Insurgency) เป็นสงครามกลางเมืองประเภทหนึ่งด้วยถ้ามีการสู้รบระหว่างกองทัพอย่างเต็มรูปแบบ ปัจจุบันความแตกต่างระหว่าง "สงครามกลางเมือง", "การปฏิวัติ" และ "การจลาจล" นั้นไม่ชัดเจนนัก ขึ้นอยู่กับบริบทในการใช้งาน สงครามกลางเมืองที่สำคัญ.

ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460)และสงครามกลางเมือง · สงครามกลางเมืองและสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

คอเวนทรี

ทิวทัศน์เมืองคอเวนทรี คอเวนทรี (Coventry) เป็นนครที่ตั้งอยู่ที่ ในเวสต์มิดแลนด์สในอังกฤษที่มีประชากรทั้งสิ้นราว 306,000 คน (ค.ศ. 2007) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดลำดับที่ 9 ในอังกฤษ, ลำดับที่ 11 ในสหราชอาณาจักร และลำดับที่ 2 เวสต์มิดแลนด์สรองจากเบอร์มิงแฮม.

คอเวนทรีและยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460) · คอเวนทรีและสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ประเทศอังกฤษและยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460) · ประเทศอังกฤษและสงครามดอกกุหลาบ · ดูเพิ่มเติม »

เฮนรี โบฟอร์ต ดยุกที่ 3 แห่งซัมเมอร์เซต

นรี โบฟอร์ท ดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 3 (Henry Beaufort, 3rd Duke of Somerset) (26 มกราคม ค.ศ. 1436 - 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1464) เฮนรี โบฟอร์ท ดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ทเป็นขุนนางชาวอังกฤษที่มีบทบาทสำคัญในฐานะแม่ทัพฝ่ายราชวงศ์แลงคาสเตอร์ในสงครามดอกกุหลาบ เฮนรี โบฟอร์ทเป็นบุตรของเอ็ดมันด์ โบฟอร์ท ดยุคแห่งซัมเมอร์เซ็ทที่ 2 และเอเลเนอร์ โบแชมพ์บุตรีของริชาร์ด โบแชมพ์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 13 ที่ทำให้เฮนรีเป็นลูกพี่ลูกน้องของเลดี้ มาร์กาเร็ต โบฟอร์ด (Lady Margaret Beaufort) และริชาร์ด เนวิลล์ เอิร์ลแห่งวอริคที่ 16 และเป็นลุงของเฮนรี สตาฟฟอร์ด ดยุคแห่งบัคคิงแฮมที่ 2 (Henry Stafford, 2nd Duke of Buckingham) เฮนรี โบฟอร์ทถูกประหารชีวิตในปี..

ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460)และเฮนรี โบฟอร์ต ดยุกที่ 3 แห่งซัมเมอร์เซต · สงครามดอกกุหลาบและเฮนรี โบฟอร์ต ดยุกที่ 3 แห่งซัมเมอร์เซต · ดูเพิ่มเติม »

เคนต์

นต์ (Kent) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร และเป็นหนึ่งใน “มณฑลรอบนครลอนดอน” (Home Counties) เคนต์มีเขตแดนติดกับอีสต์ซัสเซ็กซ์, เซอร์รีย์ และนครลอนดอนและปริมณฑล และมีปากแม่น้ำเทมส์ขวางกับเอสเซ็กซ์ มณฑลภูมิศาสตร์เคนต์ประกอบด้วยเทศบาลมณฑลเคนต์ และรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวของเมดเวย์ เคนต์ตั้งอยู่ไม่ไกลจากฝรั่งเศสที่แยกโดยช่องแคบอังกฤษและครึ่งทางระหว่างอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษl เคนต์แบ่งการปกครองเป็นสิบสามแขวง: เซเวนโอกส์, ดาร์ทฟอร์ด, เกรฟแชม, ทันบริดจ์และมอลลิง, เมดเวย์, เมดสตัน, ทันบริดจ์เวลล์ส, สเวล, แอชฟอร์ด, แคนเตอร์บรี, เชปเวย์, เธนเน็ต และ โดเวอร์โดยมีเมืองหลวงของมณฑลอยู่ที่ เมดสตัน เดิมโรเชสเตอร์ และแคนเตอร์บรี เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครแต่ปัจจุบันเมืองหลังเท่านั้นที่ยังเป็นนคร ที่ตั้งของเคนต์ระหว่างลอนดอนและแผ่นดินใหญ่ยุโรปทำให้เป็นมณฑลหน้าด่านและเป็นยุทธภูมิในความขัดแย้งหลายครั้งเช่นในระหว่างยุทธการแห่งบริเตนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เคนต์ตะวันออกได้ชื่อว่าเป็น “Hell Fire Corner” ระหว่างความขัดแย้ง ระหว่าง 800 ปีที่ผ่านมาอังกฤษพึ่งเคนต์ในด้านกองเรือ ท่าเรือซิงก์ (Cinque Ports) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 14 และอู่เรือแช็ทแธมในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 20 มีความสำคัญต่อความปลอดภัยและความมั่นคงของอังกฤษ ฝั่งทะเลฝรั่งเศสสามารถมองเห็นได้จากไวท์คลิฟฟ์สที่โดเวอร์ ในวันที่อากาศแจ่มใส เคนต์เป็นอาณาบริเวณที่มีการเกษตรกรรมในด้านสวนผลไม้และการปลูกฮอปที่ใช้ในการทำเบียร์ เคนต์ได้ชื่อว่าเป็น “สวนแห่งอังกฤษ” The Guardian 1 June 2006 BBC 1 June 2006 อุตสาหกรรมหลักของเคนต์ก็ได้แก่การทำซีเมนต์ สินค้ากระดาษ และการสร้างเรือบินแต่ความสำคัญของอุตสาหกรรมเหล่านี้ลดถอยลง ทางด้านใต้และตะวันออกขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการเกษตรกรรม.

ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460)และเคนต์ · สงครามดอกกุหลาบและเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460)และสงครามดอกกุหลาบ

ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460) มี 25 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงครามดอกกุหลาบ มี 143 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 15, ดัชนี Jaccard คือ 8.93% = 15 / (25 + 143)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ยุทธการที่นอร์แธมป์ตัน (ค.ศ. 1460)และสงครามดอกกุหลาบ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: