โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุคหินใหม่และโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ยุคหินใหม่และโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์

ยุคหินใหม่ vs. โบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์

หมู่บ้านในสมัยยุคหินใหม่ ในสกอตแลนด์ที่สมบูรณ์ที่สุดในทวีปยุโรป ยุคหินใหม่ (Neolithic หรือ New Stone Age) อยู่ในช่วงเวลาประมาณ 10200-4500/2000 ปีก่อนคริสตกาล โดยเป็นช่วงเวลาระหว่างยุคหินกลางกับยุคโลหะซึ่งมนุษย์ในยุคนี้อาศัยรวมกันอยู่เป็นหมู่บ้าน เริ่มรู้จักทำการเกษตรอย่างเป็นระบบ สามารถเพาะปลูกพืชและเก็บไว้เป็นอาหาร รู้จักทอผ้าและทำเครื่องปั้นดินเผา และเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูกได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์จากสังคมล่าสัตว์มาเป็นสังคมเกษตรกรรม ที่ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง มีการสร้างที่พักอาศัยถาวรเป็นกระท่อมดินเหนียวและตั้งหลักแหล่งตามบริเวณลุ่มน้ำ ยุคหินใหม่เป็นยุคเกษตรกรรม พืชเพาะปลูกที่สำคัญ คือ ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ และพืชอื่นๆ รู้จักใช้เครื่องมือล่าสัตว์และทำภาชนะจากดินเหนียว สำหรับเก็บข้าวเปลือกและใส่อาหาร สัตว์เลี้ยง ได้แก่ สุนัข แพะ แกะ และยังคงล่าสัตว์ เช่น กวาง กระต่าย หมูป่า สภาพชีวิตมนุษย์ในยุคหินใหม่ เปลี่ยนแปลงชีวิตตามความเป็นอยู่จากที่สูงมาอยู่ที่ราบใกล้แหล่งน้ำ โดยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่บ้านบนเนิน และดำรงชีวิตตามเศรษฐกิจใหม่ ได้แก่ เกษตรกรรม และพบว่ามีผลิตผลมากกว่าที่จะบริโภค ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและการค้าขาย สมัยหินใหม่จัดเป็นการปฏิวัติครั้งแรกของมนุษย์ ที่ประสบความสำเร็จขั้นต้นในการปรับตัวให้เข้ากับข้อจำกัดของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องร่อนเร่ย้ายถิ่น และเป็นช่วงเวลา เริ่มต้นการรวมกลุ่มเป็นหลักแหล่ง ในบริเวณที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ยุคหลังจากยุคหินใหม่คือ ยุคทองแดง (Chalcolithic) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุคสำริด (Bronze Age). ราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ เป็นการศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์เริ่มต้นขึ้นโดยอาศัยระยะเวลายาวนานจากบรรพบุรุษของมนุษย์เมื่อราว 3 ล้านปีก่อน จนกระทั่งกลายมาเป็น Homo Sapeins sapiens ในปัจจุบัน ในประเทศไทยเอง วิวัฒนาการของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อาจสืบย้อนไปได้ราว 90,000 ปีที่ผ่านมาเท่านั้นเอง ในขณะที่นักโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติรวมถึงนักวิชาการสาขาอื่น ๆ ต่างก็พยายามค้นหามนุษย์ "โฮโม อีเรคตัส"ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์สกุลหนึ่งในประเทศไทย เหตุที่มีการพยายามตามหามนุษย์โฮโม อีเรคตัสในประเทศไทยนี้ สืบเนื่องมาจากทฤษฎีการแพร่กระจายของมนุษย์โดยการเคลื่อนย้ายออกจากแอฟริกา (Out of Africa)โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกระจายตัวออกไปไกลเกินทวีปยุโรปเมื่อราว 1.6 ล้านปีมาแล้ว การแพร่กระจายมายังเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้มีหลักฐานปรากฏโด่งดังที่สุดได้แก่ "มนุษย์ปักกิ่ง" ที่พบจากการขุดค้นที่ถ้ำโจวโข่วเถี้ยนในประเทศจีนและ "มนุษย์ชวา" ที่พบในอินโดนีเซีย สัณฐานของโครงกระดูกทั้งสองนี้บ่งชี้ว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์genusโฮโม species อีเรคตัส จะเห็นว่าพื้นที่ที่เป็นรอยต่อระหว่างจีนกับอินโดนีเซียได้แก่ภาคพื้นทวีปอุษาคเนย์นี่เอง สภาพแวดล้อมเขตร้อนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นจุดที่เหมาะแก่การอยู่อาศัยในช่วงไพลสโตซีนตอนต้น (Early Pleistocene 1.8 - 0.73 MA) แบ่งตามการแบ่งยุคสมัยทางธรณีวิทยาของ ดร.รัศมี ชูทรงเดช ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า ดินแดนประเทศไทยในปัจจุบันเป็น missing link ดังกล่าว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ยุคหินใหม่และโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์

ยุคหินใหม่และโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ยุคหินใหม่และโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์

ยุคหินใหม่ มี 12 ความสัมพันธ์ขณะที่ โบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ มี 3 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (12 + 3)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ยุคหินใหม่และโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »