ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ยุคที่สี่แห่งอาร์ดาและอาร์นอร์
ยุคที่สี่แห่งอาร์ดาและอาร์นอร์ มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กอนดอร์มิดเดิลเอิร์ธมนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)นูเมนอร์เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเซารอน
กอนดอร์
กษาขาว ดาวเจ็ดดวง และมงกุฎปีก กอนดอร์ (Gondor) คือชื่ออาณาจักรมนุษย์แห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในนวนิยายแฟนตาซีเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ก่อตั้งโดย อิซิลดูร์ และ อนาริออน โอรสของ เอเลนดิล เมื่อปีที่ 3320 ของยุคที่สองเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน.
กอนดอร์และยุคที่สี่แห่งอาร์ดา · กอนดอร์และอาร์นอร์ ·
มิดเดิลเอิร์ธ
แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อันเป็นฉากหลังของเรื่องราวตำนานทั้งหลายในงานเขียนของโทลคีน ปกรณัมของโทลคีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมและครอบครองโลก (ในตำนานเรียกว่า "อาร์ดา") ซึ่งมีทวีปหลักชื่อว่า "มิดเดิลเอิร์ธ" เป็นที่อยู่อาศัยของพวก 'มรรตัยชน' (คือมนุษย์ที่รู้ตาย) เป็นสถานที่ตรงข้ามกับ "อามัน" หรือ 'แดนอมตะ' อันเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกวาลาร์ กับพวกเอลฟ์ คำนี้มีรากมาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า middel-erde ซึ่งพัฒนามาจากคำในภาษาอังกฤษเก่าว่า middangeard แก่นสำคัญของงานเขียนของโทลคีนคือเรื่องของการช่วงชิง ควบคุม และครอบครองอำนาจหรือของวิเศษ ทำให้เกิดสงครามขึ้นบนมิดเดิลเอิร์ธหลายครั้งหลายหน คือสงครามระหว่างเหล่าเทพวาลาร์ เอลฟ์ และพันธมิตรชาวมนุษย์ฝ่ายหนึ่ง กับเทพอสูรเมลคอร์กับบริวาร ได้แก่พวกออร์ค มังกร และมนุษย์ที่เป็นทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในตำนานยุคหลัง เมื่อเมลคอร์สิ้นอำนาจและถูกขับไล่ออกไปจากอาร์ดาแล้ว บทบาทการช่วงชิงนี้ก็ตกไปอยู่กับเซารอน สมุนเอกของเขา เหล่าเทพวาลาร์ได้ยุติบทบาทของตนลงหลังจากที่เมลคอร์สิ้นอำนาจ เพราะการสงครามระหว่างพวกพระองค์ครั้งนั้นได้ทำให้โลกพินาศเสียหายไปมาก อย่างไรก็ดีพวกพระองค์ก็ยังส่ง อิสตาริ หรือเหล่าพ่อมด เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการต่อต้านอำนาจของเซารอน อิสตาริที่มีบทบาทมากคือ แกนดัล์ฟพ่อมดเทา และซารูมานพ่อมดขาว แกนดัล์ฟได้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี โดยได้ช่วยเหลือชาวมิดเดิลเอิร์ธอย่างถึงที่สุดเพื่อโค่นอำนาจเซารอนลงให้ได้ แต่ซารูมานกลับพ่ายแพ้ต่อความคิดฉ้อฉลแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ ช่วงชิงอำนาจบนมิดเดิลเอิร์ธแข่งกับเซารอนเสียเอง สำหรับพลเมืองชาวมิดเดิลเอิร์ธพวกอื่นๆ ได้แก่ คนแคระ เอนท์ และฮอบบิท อันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในการสร้างสรรค์งานของโทลคีน เขาได้จัดทำแผนที่ของมิดเดิลเอิร์ธขึ้นเป็นจำนวนมาก แสดงถึงดินแดนและสถานที่ต่างๆ ที่ตำนานของเขาเอ่ยถึง แผนที่บางส่วนได้รับการตีพิมพ์ในช่วงชีวิตของเขา แต่ก็ยังมีแผนที่อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ตีพิมพ์เลยจนกระทั่งเขาเสียชีวิตไปแล้ว แผนที่ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในยุคที่หนึ่งเกิดขึ้นบนดินแดนที่เรียกชื่อว่า เบเลริอันด์ ดินแดนนี้ต่อมาได้จมลงสู่ทะเลหลังสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเทพวาลาร์กับเมลคอร์ คงเหลือแต่เทือกเขาสีน้ำเงินที่ปรากฏอยู่ทางขวาสุดของแผนที่ เป็นจุดเชื่อมต่อเดียวกันกับเทือกเขาสีน้ำเงินที่อยู่ทางด้านซ้ายสุดของแผนที่ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ดินแดนทางด้านตะวันออกของเทือกเขาสีน้ำเงินเป็นที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่สองและสาม โทลคีนบอกว่ามิดเดิ้ลเอิร์ธนั้นคือโลกของเรา เพียงแต่เป็นช่วงเวลาในอดีต โดยประมาณว่าปลายยุคที่สามคือช่วงระยะประมาณ 6,000 ปีก่อนยุคของโทลคีน เขายังบรรยายเขตแดนที่ฮอบบิทอาศัยว่าอยู่ที่ "ตะวันตกเฉียงเหนือของโลกเก่า ทางตะวันออกของทะเลใหญ่",เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์, บทนำ, หน้า 2 ซึ่งอ้างอิงถึงอังกฤษและเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปอย่างชัดเจน ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน ถูกแบ่งออกเป็นหลายยุค เรื่องราวที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และเรื่องราวใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เกิดขึ้นในราวปลายยุคที่สาม และนำไปสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่สี่ ในขณะที่เรื่องราวใน ซิลมาริลลิออน ซึ่งเป็นงานเขียนของโทลคีนเกี่ยวกับมิดเดิลเอิร์ธที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ยุคสร้างโลกและยุคที่หนึ่งเป็นส่วนใหญ.
มิดเดิลเอิร์ธและยุคที่สี่แห่งอาร์ดา · มิดเดิลเอิร์ธและอาร์นอร์ ·
มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)
มนุษย์ ตามความหมายในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ โดยสร้างขึ้นภายหลังเผ่าพันธุ์เอลฟ์ จึงได้ชื่อว่าเป็น บุตรคนเล็กแห่งอิลูวาทาร์ เหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นเหตุการณ์ในตอนท้ายของยุคสมัยอันรุ่งเรืองของพวกเอลฟ์ เมื่อพ้นจากยุคของเอลฟ์แล้ว เผ่าพันธุ์มนุษย์จึงรุ่งเรืองขึ้นและได้ครอบครองโลกทั้งหมดดังเช่นปัจจุบัน.
มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)และยุคที่สี่แห่งอาร์ดา · มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)และอาร์นอร์ ·
นูเมนอร์
นูเมนอร์ (Númenor) เป็นชื่อเกาะแห่งหนึ่งในโลกจินตนาการของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นแผ่นดินที่แยกต่างหากออกมาจาก มิดเดิลเอิร์ธ มีแนวคิดในการประพันธ์มาจากแผ่นดินจมสมุทรแอตแลนติส ชื่อนูเมนอร์มาจากภาษาเควนยา ว่า Númenórë ซึ่งมีความหมายว่า แผ่นดินตะวันตก โทลคีนเขียนไว้ว่า เมื่อแปลงจากคำภาษาเควนยาเป็นภาษานูเมนอเรียน ชื่อนี้ออกเสียงเป็น อนาดูเน (Anadûnê).
นูเมนอร์และยุคที่สี่แห่งอาร์ดา · นูเมนอร์และอาร์นอร์ ·
เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)
อลฟ์ (elf) ตามความหมายในจินตนิยายชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ มีชีวิตยืนยาวเท่ากับอายุของโลก จึงเสมือนหนึ่งว่าเป็นอมตะ คำว่า 'เอลฟ์' (Elf) เป็นคำที่โทลคีนเลือกมาจากตำนานโบราณเพื่อใช้แทนคำศัพท์แท้จริงอันเป็นชื่อของชนเผ่านี้ คือ เอลดาร์ (Eldar) ซึ่งเป็นคำในภาษาเควนยา หมายถึง 'ประชากรแห่งแสงดาว'.
ยุคที่สี่แห่งอาร์ดาและเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · อาร์นอร์และเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) ·
เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน
. อาร.
ยุคที่สี่แห่งอาร์ดาและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · อาร์นอร์และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ·
เซารอน
ซารอน (Sauron) เป็นตัวละครหลักฝ่ายอธรรมในนิยายเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เดิมเป็นเทพไมอา ซึ่งทำงานรับใช้จอมมารมอร์กอธ ภายหลังตั้งตัวเป็นใหญ่ เซารอนเป็นผู้หลอมสร้างแหวนเอก ซึ่งบรรจุพลังอำนาจมหาศาลเอาไว้ภายใน และสามารถบังคับควบคุมใครก็ตามที่สวมแหวนแห่งอำนาจวงอื่น.
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ยุคที่สี่แห่งอาร์ดาและอาร์นอร์ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ยุคที่สี่แห่งอาร์ดาและอาร์นอร์
การเปรียบเทียบระหว่าง ยุคที่สี่แห่งอาร์ดาและอาร์นอร์
ยุคที่สี่แห่งอาร์ดา มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ อาร์นอร์ มี 30 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 15.56% = 7 / (15 + 30)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ยุคที่สี่แห่งอาร์ดาและอาร์นอร์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: