ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ยืนยง โอภากุลและเวิลด์ โฟล์คเซน
ยืนยง โอภากุลและเวิลด์ โฟล์คเซน มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2534ทอดด์ ลาเวลล์คาราบาวโนพลอมแพลมเพลงเพื่อชีวิตเวิลด์ โฟล์คเซนเทียรี่ เมฆวัฒนา
พ.ศ. 2534
ทธศักราช 2534 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1991 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.
พ.ศ. 2534และยืนยง โอภากุล · พ.ศ. 2534และเวิลด์ โฟล์คเซน ·
ทอดด์ ลาเวลล์
ทอดด์ ทองดี มีชื่อจริงว่า โทมัส เจมส์ ลาเวลล์ (อังกฤษ: Thomas James Lavelle) เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2506 เป็นนักร้อง นักแต่งเพลง นักดนตรีชาวอเมริกันที่มาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยนานหลายปี ปัจจุบันเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ คุณพระช่วย ร่วมกับภาณุพันธ์ ครุฑโต และพงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ ทอดด์ ทองดี เกิดที่สแครนตัน เพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา มีเชื้อสายเยอรมันจากบิดา และไอริช-อเมริกันผิวสีจากมารดา ทอดด์เป็นบุตรคนที่ 3 จาก 6 คนของโทมัส ลาเวลล์ (เสียชีวิตแล้ว) และเชอร์ลีย์ ลาเวลล์ จบปริญญาตรีชีววิทยาและเอเชียศึกษาจากมหาวิทยาลัยสแครนตัน ในปี..
ทอดด์ ลาเวลล์และยืนยง โอภากุล · ทอดด์ ลาเวลล์และเวิลด์ โฟล์คเซน ·
คาราบาว
ราบาว (Carabao) เป็นวงดนตรีเพื่อชีวิตและยังเป็นตำนานเพลงเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงโด่งดังและยังเป็นวงที่อมตะตลอดกาลของประเทศไทย โดยมี ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด) เป็นหัวหน้าวง.
คาราบาวและยืนยง โอภากุล · คาราบาวและเวิลด์ โฟล์คเซน ·
โนพลอมแพลม
นพลอมแพลม เป็นคำล้อเลียน "โนพร็อบเบลม" (No Problem, ไม่มีปัญหา) คำพูดติดปาก พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เมื่อให้สัมภาษณ์นักข่าว เป็นสตูดิโออัลบั้มเดี่ยวชุดที่ 4 ของ ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว แต่เป็นชุดแรกที่ใช้ชื่อจริงคือ ยืนยง โอภากุล ปรากฏบนปกเทป เดิมแอ๊ดกำหนดวางจำหน่ายอัลบั้มในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2533 แต่ติดเงื่อนไขที่มีเพลงซึ่งไม่ผ่านการเห็นชอบจาก คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ หรือ กบว.
ยืนยง โอภากุลและโนพลอมแพลม · เวิลด์ โฟล์คเซนและโนพลอมแพลม ·
เพลงเพื่อชีวิต
การแสดงดนตรีของวงคาราวานในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรครั้งที่ 3 เพลงเพื่อชีวิต ถือกำเนิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แต่แรกเริ่มหมายถึงเพลงที่มีเนื้อหากล่าวถึงชีวิตของคน โดยเฉพาะคนชนชั้นล่าง กล่าวถึงความยากลำบากในการใช้ชีวิต การถูกเอารัดเอาเปรียบ เพลงในแนวเพื่อชีวิตในยุคนี้โดยมากจะเป็นเพลงลูกทุ่ง เช่น เพลง กลิ่นโคนสาบควาย ของคำรณ สัมบุญณานนท์, จักรยานคนจน ของยอดรัก สลักใจ, น้ำมันแพง ของสรวง สันติ, น้ำตาอีสาน แต่งโดยชลธี ธารทอง และขับร้องโดยสายัณห์ สัญญา เป็นต้น เพลงเพื่อชีวิตในประเทศไทยเริ่มเฟื่องฟูเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางโดยแพร่หลายช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยเนื้อหาของเพลงไม่จำกัดเฉพาะชีวิตของคนชั้นล่างอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการเรียกร้องประชาธิปไตยและการเหน็บแนมการเมืองอีกด้วย และแนวดนตรีได้เปิดกว้างขึ้นเป็นแนวอคูสสติกหรือร็อก โดยได้รับอิทธิพลและแรงบันดาลใจจากศิลปินต่างประเทศ เช่น บ็อบ ดิลลัน, บ็อบ มาร์เลย์, นีล ยัง, ไซมอน แอนด์ การ์ฟังเกล เป็นต้น เทียบได้กับโปรเทสต์ซองของสหรัฐอเมริกา โดยคำว่า "เพลงเพื่อชีวิต" นั้น มาจากคำว่าศิลปะเพื่อชีวิต หรือวรรณกรรมเพื่อชีวิต ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่ว่าถึงชีวิตและการต่อสู้ของมนุษย์ในสังคม ในยุคนี้เพลงเพื่อชีวิตเฟื่องฟูมาก จนอาจกล่าวได้ว่าเป็น "เพชรเม็ดงามของวรรณกรรมเพื่อชีวิต" เพลงเพื่อชีวิตมักจะรวมเอาองค์ประกอบของดนตรีตะวันตกเหมือนกันเช่นเพลงบัลลาด และเพิ่มเป็นจังหวะของดนตรีไทยเซ่น สามช่า หมอลำ และลูกทุ่ง และมีองค์ประกอบของดนตรีคลาสสิกไทยบ้างเช่นกัน เพลงเพื่อชีวิตในยุคแรกจะเป็นดนตรีโฟล์กตะวันตกพร้อมกับการใช้เครื่องดนตรีอคูสติก ซึ่งต่อมาได้เพิ่มดนตรีร็อกพร้อมกับกีตาร์ไฟฟ้า เบส และกลองชุด บางศิลปินยังได้รับอิทธิพลของเร้กเก้ สกา และเพลงละตินบ้างและบางศิลปินยังใช้เครื่องดนตรีไทยเซ่น พิณ ขลุ่ย และซออู้ โดยวงดนตรีเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียง ได้แก่ คาราวาน, แฮมเมอร์, โคมฉาย เป็นต้น ความนิยมในเพลงเพื่อชีวิตไม่ได้เป็นเพียงกระแสในห้วงเวลานั้น หากแต่ยังได้รับความนิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีวงดนตรีและนักร้องเพลงเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน เช่น คาราบาว, พงษ์สิทธิ์ คำภีร์, พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ, อินโดจีน, คนด่านเกวียน, มาลีฮวนน่า, โฮป, ซูซู, ตีฆอลาซู เป็นต้น อีกทั้งยังมีศิลปินบางคนหรือบางกลุ่มที่ไม่ได้เป็นเพื่อชีวิตอย่างเต็มตัว แต่เนื้อหาของเพลงหลายเพลงมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกับเพื่อชีวิตหรือจัดให้อยู่ประเภทเพื่อชีวิตได้ เช่น จรัล มโนเพ็ชร, เสกสรร ทองวัฒนา, ธนพล อินทฤทธิ์, หนู มิเตอร์, นิค นิรนาม, พลพล พลกองเส็ง, กะท้อน, ศุ บุญเลี้ยง, สิบล้อ เป็นต้น.
ยืนยง โอภากุลและเพลงเพื่อชีวิต · เพลงเพื่อชีวิตและเวิลด์ โฟล์คเซน ·
เวิลด์ โฟล์คเซน
วิลด์ โฟล์คเซน "เซน" ในชื่ออัลบั้ม มาจากนิกายสาขาหนึ่งในพระพุทธศาสนา ว่าด้วยปรัชญาในการดำรงชีวิต อีกนัยหนึ่งมาจากชื่อเล่นลูกสาวคนโตของ แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล นั่นเอง เป็นสตูดิโออัลบั้มเดี่ยวลำดับที่ 5 ของแอ๊ด - ยืนยง โอภากุล หัวหน้าวงดนตรีเพื่อชีวิต คาราบาว โดยชุดนี้ออกมาในแนวดนตรีโฟล์ก มีนักดนตรีบรรเลงหลักในการบันทึกเสียงเพียง 1 - 2 คน อีกทั้งยังได้นักดนตรีรับเชิญ อาทิ เทียรี่ เมฆวัฒนา มาร้องร่วมในเพลง เพื่อเมืองไทย และ ทอดด์ ทองดี ที่มาช่วยแต่งและร้องท่อนภาษาอังกฤษในชุดนี้ถึง 3 เพลง คือ ยืนยงอย่างเนลยัง, World และ แสงดาว เพลงต่างๆ ในอัลบั้ม ยืนยงยังคงตีแผ่ประเด็นต่างๆ ทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับ สังคม สิ่งแวดล้อม บันทึกเหตุการณ์สำคัญ ตลอดจนการกล่าวถึงบุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจ แต่ไม่มีเรื่องการเมืองเช่นอัลบั้มชุดที่แล้ว โดยลดโทนเนื้อหาและดนตรีให้ฟังสบายๆ เรียบง่าย เพลงที่พอเป็นที่จดจำและมีการเผยแพร่เรื่อยมา ได้แก่ บ้า, หลวงพ่อประจักษ์ และ เพื่อเมืองไทย ซึ่งเป็นฉบับขยายจากเดิมที่ใช้ประกอบภาพยนตร์โฆษณาเครื่องดื่มโค้ก.
ยืนยง โอภากุลและเวิลด์ โฟล์คเซน · เวิลด์ โฟล์คเซนและเวิลด์ โฟล์คเซน ·
เทียรี่ เมฆวัฒนา
ทียรี่ เมฆวัฒนา นักร้องและนักดนตรีชาวไทย สมาชิกวงคาราบาว มีชื่อจริงว่า เทียรี่ สุทธิยงค์ เมฆวัฒนา เกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2501 ที่ประเทศลาว โดยมีพ่อเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนชื่อ เอนก เมฆวัฒนา แม่เป็นชาวสวิตเซอร์แลนด์ จากผู้จัดการออนไลน.
ยืนยง โอภากุลและเทียรี่ เมฆวัฒนา · เทียรี่ เมฆวัฒนาและเวิลด์ โฟล์คเซน ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ยืนยง โอภากุลและเวิลด์ โฟล์คเซน มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ยืนยง โอภากุลและเวิลด์ โฟล์คเซน
การเปรียบเทียบระหว่าง ยืนยง โอภากุลและเวิลด์ โฟล์คเซน
ยืนยง โอภากุล มี 161 ความสัมพันธ์ขณะที่ เวิลด์ โฟล์คเซน มี 16 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 3.95% = 7 / (161 + 16)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ยืนยง โอภากุลและเวิลด์ โฟล์คเซน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: