ยานอวกาศและโอไรออน (ยานอวกาศ)
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง ยานอวกาศและโอไรออน (ยานอวกาศ)
ยานอวกาศ vs. โอไรออน (ยานอวกาศ)
นอวกาศที่มีคนขับ Soyuz ของรัสเซีย(รุ่นที่แสดงเป็นรุ่น TMA)ได้บินมาแล้วมากกว่า 100 ครั้งตั้งแต่ปี 1967, แต่เดิมถูกใช้สำหรับโครงการดวงจันทร์ที่มีคนขับของโซเวียต, แต่ปัจจุบันให้การสนับสนุนสถานีอวกาศนานาชาติ Spacelab), สถานีอวกาศเมียร์และสถานีอวกาศนานาชาติ (ภาพแสดงการยิงขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกของยาน"โคลัมเบีย") ยานอวกาศ คือยานพาหนะ, ยานหรือเครื่องยนต์ที่ออกแบบมาเ'''พื่'''อบินไปในอวกาศ ยานอวกาศถูกนำมาใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย, รวมถึงการสื่อสารโทรคมนาคม, การสังเกตโลก, การอุตุนิยมวิทยา, การนำทาง, การสำรวจดาวเคราะห์และการขนส่งมนุษย์และสินค้า ในการบินในอวกาศแบบวงโคจรย่อย) ยานอวกาศเข้าสู่อวกาศด้านนอก จากนั้นก็กลับมายังพื้นผิวโลกโดยไม่ได้ขึ้นไปสู่วงโคจรหลัก. แต่สำหรับการบินในอวกาศแบบวงโคจรหลัก (orbital spaceflight) ยานอวกาศเข้าสู่วงโคจรปิดรอบโลกหรือรอบวัตถุนอกโลกหรือดวงดาวอื่นๆ ยานอวกาศที่ใช้สำหรับการบินของมนุษย์จะบรรทุกลูกเรือหรือผู้โดยสารบนยานจากจุดเริ่มต้นหรือสถานีอวกาศในวงโคจรเท่านั้น ในขณะที่ ยานที่ใช้สำหรับภารกิจหุ่นยนต์อวกาศจะทำงานด้วยตนเองหรือจากระยะไกลอย่างใดอย่างหนึ่ง ยานอวกาศหุ่นยนต์ที่ใช้เพื่อสนับสนุนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นยานสำรวจอวกาศ ยานอวกาศหุ่นยนต์ที่ยังคงอยู่ในวงโคจรรอบโลกเป็นดาวเทียม มีเพียงยานสำรวจระหว่างดวงดาวไม่กี่ลำเช่นไพโอเนียร์ 10 และ 11, Voyager 1 และ 2, และ New Horizons ที่ปัจจุบันยังอยู่ในวงโคจรที่หลุดออกจากระบบสุริยะของเร่า ยานอวกาศที่อยู่ในวงโคจรอาจจะสามารถกู้คืนได้แต่บางทีก็ไม่ได้. โดยวิธีการย้อนกลับไปยังโลก พวกมันอาจจะถูกแบ่งออกเป็นแคปซูลที่ไม่มีปีกหรือเครี่องบินอวกาศที่มีปีก ปัจจุบันมนุษย์ได้ประสบความสำเร็จในการบินในอวกาศ แต่มีเพียงยี่สิบสี่ประเทศเท่านั้นที่มีเทคโนโลยีอวกาศเช่น รัสเซีย (Roscosmos, กองกำลังอวกาศรัสเซีย), สหรัฐอเมริกา (นาซ่า, กองทัพอากาศสหรัฐและอีกหลายบริษัทการบินอวกาศเชิงพาณิชย์), รัฐสมาชิกขององค์การอวกาศยุโรป, สาธารณรัฐประชาชนจีน (องค์การบริหารอทวกาศแห่งชาติจีน), ญี่ปุ่น (สำนักงานสำรวจอวกาศญี่ปุ่น) และอินเดีย (องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย). นลูกเรืออเนกประสงค์โอไรออน (Orion Multi-Purpose Crew Vehicle, MPCV) เป็นยานอวกาศซึ่งตั้งใจบรรทุกลูกเรือนักบินอวกาศสูงสุดสี่คนไปเป้าหมายที่หรือพ้นวงโคจรต่ำของโลก (LEO) นาซากำลังพัฒนาเพื่อปล่อยบนระบบปล่อยอวกาศ ปัจจุบัน ตั้งใจให้โอไรออนอำนวยความสะดวกการสำรวจดาวเคราะห์น้อยและดาวอังคารของมนุษย์ ตลอดจนให้ลูกเรือและขีดความสามารถการขนส่งสัมภาระไปและกลับจากสถานีอวกาศนานาชาติ นาซาประกาศ MCOV เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2554 การออกแบบอาศัยยานสำรวจลูกเรือโอไรออนจากโครงการคอนสตัลเลชัน (Constellation program) ที่ถูกยกเลิก มีสองมอดูลหลัก ล็อกฮีดมาร์ตินกำลังสร้างมอดูลสั่งการโอไรออนที่ศูนย์ประกอบมีชู (Michoud Assembly Facility) ในนิวออร์ลีนส์ ส่วนแอร์บัสกลาโหมและอวกาศกำลังสร้างมอดูลบริการโอไรออน จัดโดยองค์การอวกาศยุโรป เที่ยวบินทดสอบแรกของ MPCV เรียก การทดสอบการบินสำรวจ 1 (EFT-1) ถูกปล่อยบนจรวดเดลตา 4 เฮฟวีเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2557 บนเที่ยวบินนาน 4 ชั่วโมง 24 นาที ลงจอดที่เป้าหมายในมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อเวลา 10:29 เซ็นทรัล (ล่าช้าจากวันก่อนเพราะปัญหาเทคนิค) ภารกิจบรรทุกนักบินอวกาศแรกคาดว่ายังไม่เกิดจนปี 2559.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ยานอวกาศและโอไรออน (ยานอวกาศ)
ยานอวกาศและโอไรออน (ยานอวกาศ) มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ยานอวกาศและโอไรออน (ยานอวกาศ) มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ยานอวกาศและโอไรออน (ยานอวกาศ)
การเปรียบเทียบระหว่าง ยานอวกาศและโอไรออน (ยานอวกาศ)
ยานอวกาศ มี 2 ความสัมพันธ์ขณะที่ โอไรออน (ยานอวกาศ) มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (2 + 11)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ยานอวกาศและโอไรออน (ยานอวกาศ) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: