โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยอซีป บรอซ ตีโตและสมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ยอซีป บรอซ ตีโตและสมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย

ยอซีป บรอซ ตีโต vs. สมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย

อซีป บรอซ (Јосип Броз/Josip Broz) หรือ ตีโต (Тито/Tito, พ.ศ. 2435-2523) เป็นรัฐบุรุษและประธานาธิบดีของประเทศยูโกสลาเวีย (พ.ศ. 2496-2523) เกิดที่เมืองคุมรอเวตส์ อาณาจักรโครเอเชีย-สลาโวเนียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (ปัจจุบันเมืองนี้อยู่ในประเทศโครเอเชีย) คำว่า "ตีโต" แปลว่า "นั่น-นี่" เป็นสมญานามที่ได้มาจากการชอบสั่งนั่นสั่งนี่เป็นประจำของเขาเมื่อมีอำนาจ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ตีโตเข้าประจำการเป็นทหารในกองทัพบกออสเตรีย-ฮังการี ถูกจับเป็นเชลยโดยกองทัพรัสเซียและได้กลายเป็นคอมมิวนิสต์ในเวลาต่อมา ตีโตถูกจองจำเนื่องจากการสมรู้ร่วมคิดต่อต้านระบอบการปกครองในยูโกสลาเวีย (.. มเด็จพระราชาธิบดีปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย หรือทรงเป็นที่รู้จักในพระนาม พระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 คาราจอร์เจวิช (ภาษาเซอร์เบีย, ภาษาโครแอต, ภาษาบอสเนีย, ภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชีย: Petar II Karađorđević อักษรซีริลลิก: Петар II Карађорђевић) (6 กันยายน พ.ศ. 2466 - 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สามและองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ก่อนหน้านี้เรียกว่าราชอาณาจักรแห่งชาวเซิร์บ โครแอต และสโลวีนในช่วงก่อน พ.ศ. 2472 พระองค์เป็นพระโอรสพระองค์โตใน สมเด็จพระราชาธิบดีอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย กับ เจ้าหญิงมาเรียแห่งโรมาเนีย พระบิดามารดาอุปถัมภ์ของพระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร กับ สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ โบวส์-ลีออนแห่งสหราชอาณาจักร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ยอซีป บรอซ ตีโตและสมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย

ยอซีป บรอซ ตีโตและสมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชาวโครแอตชาวเซิร์บฝ่ายอักษะลัทธิคอมมิวนิสต์ประเทศเซอร์เบียนาซีเยอรมนีเบลเกรด

ชาวโครแอต

วโครแอต (Croats, Hrvati) เป็นกลุ่มเชื้อชาติสลาฟใต้ซึ่งส่วนใหญ่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในโครเอเชีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ตลอดจนประเทศใกล้เคียง มีชาวโครแอตอาศัยอยู่ในโครเอเชียราว 4 ล้านคน และอาศัยอยู่ในส่วนที่เหลือของโลกอีกมากถึง 4.5 ล้านคน, Croatian World Congress, "4.5 million Croats and people of Croatian heritage live outside of the Republic of Croatia and Bosnia and Herzegovina", also quoted เนื่องจากแรงกดดันทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ชาวโครแอตจำนวนมากจึงได้อพยพไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และเกิดเป็นชาวโครแอตพลัดถิ่นที่มีชื่อเสียง สหรัฐอเมริกา ชิลี อาร์เจนตินา เยอรมนี ออสเตรีย ออสเตรเลีย โบลิเวีย แคนาดา เซอร์เบีย นิวซีแลนด์และแอฟริกาใต้ ชาวโครแอตเป็นที่รู้จักจากวัฒนธรรมของพวกเขา ซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอันหลากหลายตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แต่อิทธิพลส่วนใหญ่นั้นมาจากยุโรปกลางและเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งในขณะเดียวกัน ชาวโครแอตเองก็ได้มีส่วนในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมเหล่านั้นด้วย ชาวโครแอตส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และพูดภาษาโครเอเชี.

ชาวโครแอตและยอซีป บรอซ ตีโต · ชาวโครแอตและสมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเซิร์บ

วเซิร์บ (Serbs, Срби) เป็นกลุ่มเชื้อชาติสลาฟใต้ในบอลข่านและตอนใต้ของยุโรปกลาง ชาวเซิร์บส่วนใหญ่มักพบอาศัยอยู่ในเซอร์เบีย มอนเตเนโกร และบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และเป็นชนกลุ่มน้อยในโครเอเชีย มาซิโดเนีย และสโลวีเนีย เช่นเดียวกัน ชาวเซิร์บยังได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการว่าเป็นชนกลุ่มน้อยในโรมาเนีย ฮังการี เช่นเดียวกับแอลเบเนีย สาธารณรัฐเช็ก และสโลวาเกียhttp://www.blic.rs/Vesti/Politika/175617/Srbi-u-Slovackoj-nacionalna-manjina นอกจากนี้ยังมีชาวเซิร์บพลัดถิ่นกลุ่มใหญ่ในยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยอรมนี สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย เช่นเดียวกับในฝรั่งเศสและอิตาลี ชาวเซิร์บมากกว่าหนึ่งล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศที่พูดภาษาเยอรมัน.

ชาวเซิร์บและยอซีป บรอซ ตีโต · ชาวเซิร์บและสมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายอักษะ

ฝ่ายอักษะ (Axis Powers; Achsenmächte; Potenze dell'Asse; Suujikukoku.) หรือชื่อ อักษะ โรม-เบอร์ลิน-โตเกียว (Rome-Berlin-Tokyo Axis) เป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางการทหารซึ่งสู้รบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ประกอบด้วยสามประเทศหลัก คือ นาซีเยอรมนี อิตาลีและจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสามร่วมลงนามกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อเดือนกันยายน..

ฝ่ายอักษะและยอซีป บรอซ ตีโต · ฝ่ายอักษะและสมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

ยอซีป บรอซ ตีโตและลัทธิคอมมิวนิสต์ · ลัทธิคอมมิวนิสต์และสมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเซอร์เบีย

ซอร์เบีย (Serbia; Србија, Srbija) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐเซอร์เบีย (Republic of Serbia; Република Србија, Republika Srbija) เป็นประเทศสาธารณรัฐตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป เมืองหลวงคือกรุงเบลเกรด เซอร์เบียมีอาณาเขตติดต่อกับฮังการีทางทิศเหนือ ติดต่อกับโรมาเนียและบัลแกเรียทางทิศตะวันออก ติดต่อกับมาซิโดเนียและแอลเบเนียทางทิศใต้ (พื้นที่ชายแดนทางด้านนี้กำลังมีปัญหาเรื่องการเรียกร้องเอกราชของคอซอวอ) และติดต่อกับมอนเตเนโกร โครเอเชีย และบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนาทางทิศตะวันตก.

ประเทศเซอร์เบียและยอซีป บรอซ ตีโต · ประเทศเซอร์เบียและสมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

นาซีเยอรมนีและยอซีป บรอซ ตีโต · นาซีเยอรมนีและสมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย · ดูเพิ่มเติม »

เบลเกรด

ลเกรด (Belgrade) หรือ เบออกรัด (Београд) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเซอร์เบีย มีการตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในบริเวณนี้ตั้งแต่สมัยก่อนยุคประวัติศาสตร์ เมื่อ 5,700-4,800 ปีก่อนคริสต์ศักราช จุดเริ่มต้นของเมืองถูกก่อตั้งโดยชาวเคลต์กลุ่ม Scordisci ในศตวรรษที่สามก่อนศริสตศักราช ก่อนจะกลายมาเป็นที่ตั้งของเมืองโรมันในนาม Singidunum นับแต่อดีตมาเบลเกรดเป็นป้อมปราการที่สำคัญให้แก่ชนกลุ่มต่างๆตลอดระยะเวลากว่าสองพันปี ถูกทำลายแล้วสร้างกลับขึ้นมาใหม่หลายสิบครั้ง ด้วยประชาการกว่า 1,600,000 คน ปัจจุบันนี้ เบลกราดก็ถือเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศที่อดีตเคยรวมตัวกันเป็นยูโกสลาเวีย เป็นที่ตั้งของสนามบินที่เพียงแห่งเดียวในการเดินทางเข้าสู่เซอร์เบีย นับได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา การคมนาคมและการท่องเที่ยวของประเท.

ยอซีป บรอซ ตีโตและเบลเกรด · สมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวียและเบลเกรด · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ยอซีป บรอซ ตีโตและสมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย

ยอซีป บรอซ ตีโต มี 33 ความสัมพันธ์ขณะที่ สมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย มี 55 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 7.95% = 7 / (33 + 55)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ยอซีป บรอซ ตีโตและสมเด็จพระเจ้าปีเตอร์ที่ 2 แห่งยูโกสลาเวีย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »