โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มุทรา

ดัชนี มุทรา

มุทรา (मुद्रा mudrā) เป็นท่าทางแสดงสัญลักษณ์ทางพิธีกรรมในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ส่วนมากเน้นที่ลักษณะมือและนิ้ว มุทราแต่ละท่าจะแฝงนัยความหมายทางจิตวิญญาณแตกต่างกันไปตามประติมานวิทยาและการฝึกจิตที่พบในศาสนาแบบอินเดีย ในพิธีกรรมของลัทธิตันตระมีมุทรากำหนดไว้ถึง 108 ท่า ทางฝ่ายโยคะ การใช้มุทราจะควบคู่ไปกับการฝึกปราณายาม (การควบคุมลมหายใจ) มุทราที่สำคัญได้แก่ ปัทมาสนะ สุขาสนะ และวัชราสนะ ซึ่งแสดงท่านั่งแตกต่างกันไปเพื่อเสริมพลังปราณในร่างก.

14 ความสัมพันธ์: พระศรีอริยเมตไตรยพระทีปังกรพุทธเจ้าพระโคตมพุทธเจ้าพุทธประวัติยุคสามกัปสุดท้ายลัทธิอนุตตรธรรมศาสนาพุทธศาสนาฮินดูศาสนาแบบอินเดียสวรรค์สารานุกรมบริตานิกาประติมานวิทยาโยคะเต๋า

พระศรีอริยเมตไตรย

ระศรีอริยเมตไตรย หรือพระเมตไตรย (Metteyya เมตฺเตยฺย; मैत्रेय ไมเตฺรย) เป็นพระโพธิสัตว์ผู้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 5 และองค์สุดท้ายแห่งภัทรกัปนี้ พุทธศาสนิกชนเชื่อว่าเมื่อศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้าสิ้นสุดไปแล้ว โลกจะล่วงเข้าสู่ยุคแห่งความเสื่อมถอย อายุขัยของมนุษย์ลดลงจนเหลือ 10 ปี ก็เข้าสู่ยุคมิคสัญญี ผู้สลดใจกับความชั่วก็หันมารวมกลุ่มกันทำความดี จากนั้นอายุขัยเพิ่มขึ้นถึง 1 อสงไขยปี แล้วจึงลดลงอีกจนเหลือ 80,000 ปี ในยุคนี้จะมีพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีครบ 80 อสงไขยแสนมหากัป ลงมาตรัสรู้เป็น พระเมตไตรยพุทธเจ้.

ใหม่!!: มุทราและพระศรีอริยเมตไตรย · ดูเพิ่มเติม »

พระทีปังกรพุทธเจ้า

ระทีปังกรพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ในโลกเมื่อ 4 อสงไขยแสนกัปที่แล้ว.

ใหม่!!: มุทราและพระทีปังกรพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: มุทราและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พุทธประวัติ

ทธประวัติ คือ ประวัติ เรื่องราวต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้า ตลอดถึงเรื่องราวต่างของบุคคลและสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้ากระจุ้ พุทธประวัติที่เป็นหนังสือหรือตำรา นอกจากจะมีเนื้อหาที่ประวัติของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังมีเนื้อหาที่เป็นประวัติพระสาวก ประวัติสถานที่ เหตุการณ์และประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน พุทธประวัติรวบรวมได้จากพระไตรปิฎกโดยเก็บเนื้อหาซึ่งกระจายอยู่ในพระวินัยบ้าง พระสูตรบ้าง มาจัดลำดับให้เป็นเรื่องราวติดต่อกันไปตามเหตุการณ์จริง นำเนื้อหาจากคัมภีร์อรรกถาเข้ามาเสริมบ้างเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ขึ้น.

ใหม่!!: มุทราและพุทธประวัติ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสามกัปสุดท้าย

วิธีประสานมือเป็นลัญจกรรูปรากบัวประจำยุคขาวยุคสามกัปสุดท้าย (三期末劫) เป็นความเชื่อทางอันตวิทยาของลัทธิบัวขาว และได้สืบทอดมาจนกลายเป็นคำสอนหลักของลัทธิอนุตตรธรรมในปัจจุบัน ความเชื่อนี้ระบุว่าในช่วงปลายกัป พระแม่องค์ธรรมได้แบ่งธรรมกาล (陽) ออกเป็น 3 ยุค คือ คือยุคเขียวของพระทีปังกรพุทธเจ้า ยุคแดงของพระศากยมุนีพุทธเจ้า ซึ่งสิ้นสุดไปแล้ว และปัจจุบันคือยุคขาวของพระเมตไตรยพุทธเจ้.

ใหม่!!: มุทราและยุคสามกัปสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิอนุตตรธรรม

อักษร ''หมู่'' หมายถึง "พระแม่องค์ธรรม" พระเป็นเจ้าตามความเชื่อของลัทธิบัวขาว ลัทธิเซียนเทียนเต้า และลัทธิอื่น ๆ ที่แตกแขนงมาภายหลัง รวมทั้งลัทธิอนุตตรธรรม ลัทธิอนุตตรธรรม (一貫道 Yīguàn Dào อีก้วนเต้า) ในประเทศไทยเรียกว่า วิถีอนุตตรธรรม เป็นศาสนาที่หวัง เจฺว๋อี ก่อตั้งขึ้นในประเทศจีนสมัยราชวงศ์ชิงเมื่อปี..

ใหม่!!: มุทราและลัทธิอนุตตรธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: มุทราและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: มุทราและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาแบบอินเดีย

นาแบบอินเดีย (Indian religions) คือศาสนาที่มีต้นกำเนิดในอนุทวีปอินเดีย ได้แก่ ศาสนาฮินดู ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ และศาสนาซิกข์Adams, C. J.,, Encyclopædia Britannica, 2007.

ใหม่!!: มุทราและศาสนาแบบอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

สวรรค์

วรรค์ (स्वर्ग สฺวรฺค) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนายูดาห์ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามอันเป็นสถานที่ตอบแทนคุณงามความดีของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้.

ใหม่!!: มุทราและสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมบริตานิกา

รานุกรมบริตานิกา (Encyclopædia Britannica) เป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยบริษัท Encyclopædia Britannica, Inc.

ใหม่!!: มุทราและสารานุกรมบริตานิกา · ดูเพิ่มเติม »

ประติมานวิทยา

ประติมานวิทยา (Iconography) เป็นสาขาหนึ่งของประวัติศาสตร์ศิลป์ที่เป็นการศึกษาประวัติ, คำบรรยาย และ การตีความหมายของเนื้อหาของภาพ คำว่า “Iconography” แปลตรงตัวว่า “การเขียนรูปลักษณ์” (image writing) ที่มีรากมาจากภาษากรีกโบราณ “εἰκών” ที่แปลว่า “รูปลักษณ์” และคำว่า “γράφειν” ที่แปลว่า “เขียน” ความหมายรองลงมาคืองานประติมา (Icon) ในไบแซนไทน์และออร์โธด็อกซ์ของประเพณีนิยมคริสเตียน ในด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ประติมานวิทยาก็ยังอาจจะหมายถึงกรรมวิธีการแสดงหัวเรื่องในรูปแบบของการใช้รูปสัญลักษณ์ต่างๆ ในเนื้อหาของภาพที่ออกมาให้ผู้ชมได้เห็น นอกจากนั้นประติมานวิทยาก็ยังใช้ในด้านสาขาวิชาอื่นนอกไปจากประวัติศาสตร์ศิลป์เช่นในวิชาสัญญาณศาสตร์ และ media studies, และในการใช้โดยทั่วไปที่หมายถึงลักษณะรูปลักษณ์ที่ใช้กันเป็นสามัญของหัวเรื่องหรือความหมายในทำนองเดียวกัน.

ใหม่!!: มุทราและประติมานวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

โยคะ

(yoga) เป็น กลุ่มของการปฏิบัติหรือการประพฤติทางกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยมีต้นกำเนิดในประเทศอินเดียสมัยโบราณ โยคะมีอยู่ด้วยกันหลานสำหนักซึ่งมีการปฏิบัติและเป้าหมายต่างกันไป ทั้งในศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ และศาสนาเชนStuart Ray Sarbacker, Samādhi: The Numinous and Cessative in Indo-Tibetan Yoga.

ใหม่!!: มุทราและโยคะ · ดูเพิ่มเติม »

เต๋า

ปากว้า เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเต๋าและการก่อกำเนิดสรรพสิ่ง เต๋า (道. เต้า) มีความหมายตามตัวอักษรว่า วิถี หรือ วิธี ต่อมาคัมภีร์เต๋ายุคแรก ได้ใช้คำว่า เต๋า ในความหมายใหม่ว่า เป็นสัจภาวะสูงสุด เป็นอุตรภาพ อัพภันตรภาพ ซึ่งปราศจากรูปร่าง พ้นวิสัยภาษา ความคิด และความเข้าใจของมนุษย์ เชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดและจุดหมายปลายทางของสรรพสิ่ง แม้ความเชื่อนี้จะมีที่มาจากลัทธิเต๋า แต่ก็ได้แพร่หลายไปยังคตินิยมอื่น ๆ ด้วยทั้ง ลัทธิขงจื๊อ ตลอดจนศาสนาและปรัชญาตะวันออกโดยรวม.

ใหม่!!: มุทราและเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »