เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

มุขมณฑลและสภาปกครองโรมัน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มุขมณฑลและสภาปกครองโรมัน

มุขมณฑล vs. สภาปกครองโรมัน

มุขมณฑลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 139 (diocese) คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกว่า สังฆมณฑล ในประเทศไทยกรมการศาสนาเรียกว่า เขตมิสซังกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 เป็นเขตการปกครองของคริสตจักรซึ่งมีมุขนายกเป็นประมุข แต่ละมุขมณฑลจะแบ่งออกเป็นเขตแพริช ในกรณีที่เป็นมุขมณฑลขนาดใหญ่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากกว่ามุขมณฑลอื่นที่อยู่รอบ ๆ มุขมณฑลนั้นจะถูกยกสถานะขึ้นเป็นอัครมุขมณฑล โดยมีอัครมุขนายกเป็นประมุข อัครมุขนายกมีสถานะเป็นมุขนายกมหานคร มีอำนาจสูงกว่ามุขนายกปริมุขมณฑลซึ่งเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลอื่น ๆ ในภาคคริสตจักรเดียวกัน โครงสร้างการปกครองคริสตจักรแบบนี้เรียกว่า การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล มุขมณฑลยังอาจหมายถึง เขตมุขนายก (bishopric) หรือ อิปิสโคปัลซี (Episcopal see) แต่คำว่าอิปิสโคปัลซีมักใช้หมายถึงอาณาเขตที่ปกครองโดยบิชอป ขณะที่ bishopric อาจหมายถึงตำแหน่งบิชอปก็ได้. ตราอาร์มของสันตะสำนัก สภาปกครองโรมันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 405 (Curia Romana กูเรียโรมานา) เป็นองค์การปกครองของสันตะสำนัก ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารงานในคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมดร่วมกับพระสันตะปาปา คำว่า กูเรีย ในภาษาละตินแปลว่า ราชสำนัก ดังนั้น กูเรียโรมานา จึงแปลตามตัวอักษรว่า ราชสำนักโรม ซึ่งหมายถึงสำนักสันตะปาปา และมีหน้าที่ช่วยเหลือพระสันตะปาปาในการบริหารปกครองศาสนจักร จึงมีลักษณะคล้ายกับรัฐบาลในฝ่ายอาณาจักร และมีสมณะกระทรวงทำหน้าที่คล้ายกระทรวง สภาปกครองโรมันประกอบด้วยองค์กรในระดับต่าง ๆ ดังนี้;สำนักเลขาธิการแห่งรัฐวาติกัน สำนักเลขาธิการแห่งรัฐวาติกัน (The Secretariat of State) เป็นองค์กรที่เก่าแก่ที่สุดในสภาปกครองโรมัน ก่อตั้งมาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถือเป็นรัฐบาลของคริสตจักรโรมันคาทอลิก มีพระคาร์ดินัลเลขาธิการแห่งรัฐเป็นหัวหน้า มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับบทบาททางการเมืองและการทูตของสันตะสำนัก;สมณะกระทรวง สมณะกระทรวง (Congregations) เป็นองค์การปกครองส่วนกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิก มีสมณมนตรีซึ่งล้วนแต่มีสมณศักดิ์เป็นพระคาร์ดินัลเป็นหัวหน้า;ศาลชำนัญพิเศษ ศาลชำนัญพิเศษ (Tribunals) ของสันตะสำนักประกอบด้วย สมณทัณฑสถาน โรมันโรตา และศาลชำนัญพิเศษสูงสุดแห่งพระสมณนาม;สมณะทบวง สมณะทบวง (Pontifical Councils) คือกลุ่มตัวแทน ซึ่งรวมเป็นองค์กรขนาดกลางช่วยเหลือพระสันตะปาปาในการจัดการด้านต่าง ๆ แต่ละสมณะทบวงมีพระคาร์ดินัลหรืออัครมุขนายกเป็นประธาน;สมัชชามุขนายก สมัชชามุขนายก (Synod of Bishops) ก่อตั้งขึ้นสมัยสังคายนาวาติกันครั้งที่สอง ถือเป็นคณะที่ปรึกษาของพระสันตะปาปาในการตัดสินใจ สมาชิกของสมัชชาคัดเลือกมาจากมุขนายกจากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมีพระสันตะปาปาดำรงตำแหน่งประธานสมัชชา;สำนักงาน สำนักงาน (Offices) มีอยู่ 3 สำนักงาน ทำหน้าที่ดูแลการเงินและทรัพย์สินของศาสนจักร;สมณะกรรมาธิการ สมณะกรรมาธิการ (Pontifical Commissions) คือคณะกรรมาธิการที่พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งขึ้นจากชาวคาทอลิกผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน;องครักษ์สวิส องครักษ์สวิส (Swiss Guard) เป็นทหารชาวสวิสที่ทำนหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้กับพระสันตะปาปาและศาสนพิธีต่าง ๆ;สำนักงานแรงงานแห่งสันตะสำนัก สำนักงานแรงงานแห่งสันตะสำนัก (Labour Office of the Apostolic See) เป็นหน่วยงานที่สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ทรงตั้งขึ้น มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องแรงงานสัมพันธ์ระหว่างสันตะสำนักกับเหล่าลูกจ้าง;สมณบัณฑิตยสถาน สมณบัณฑิตยสถาน (Pontifical Academies) เป็นสมาคมผู้คงแก่เรียนที่ก่อตั้งโดยสันตะสำนัก ปัจจุบันมีสมณบัณฑิตยสถานอยู่ทั้งสิ้น 11 แห่ง ตั้งอยู่ภายในนครรัฐวาติกัน กรุงโรม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มุขมณฑลและสภาปกครองโรมัน

มุขมณฑลและสภาปกครองโรมัน มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มุขนายกอัครมุขนายกคริสตจักรโรมันคาทอลิก

มุขนายก

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายก บิชอป (Bishop) กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถานบางครั้งให้เรียกว่ามุขนายก เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต.

มุขนายกและมุขมณฑล · มุขนายกและสภาปกครองโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

อัครมุขนายก

2553. อาร์ชบิชอป (Archbishop) หรืออัครมุขนายก ชาวไทยคาทอลิกเรียกว่าพระอัครสังฆราช เป็นตำแหน่งการปกครองระดับสูงในบางคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก ออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน ถือว่ามีสถานะเหนือกว่ามุขนายกกรมการศาสนา, รายงานการศาสนา ประจำปี ๒๕๔๓, กรมการศาสนา, 2543, หน้า 194-6 (bishop) การเป็นอัครมุขนายกหมายถึงการได้ปกครองอัครมุขมณฑล (archdiocese) ซึ่งเป็นมุขมณฑลที่มีความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ หรือในกรณีของแองกลิคันคอมมิวเนียนจะหมายถึงกลุ่มมุขมณฑลที่รวมกันเป็นภาคคริสตจักร เช่น ภาคแคนเทอร์เบอรีที่ปกครองโดยอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป “อัครมุขนายก” มีฐานะเท่าเทียมกับมุขนายกในด้านการศาสนา แต่มีอภิสิทธิ์บางอย่างมากกว่า ฉะนั้นถ้าผู้ที่เป็นมุขนายกอยู่แล้วได้รับการแต่งตั้ง (appointment) เป็นอัครมุขนายกก็ไม่จำเป็นต้องรับการอภิเษก (consecration) อีก มีแต่พิธีเข้ารับตำแหน่ง (installation) แต่ถ้าผู้ที่ได้รับตำแหน่งไม่ได้เป็นมุขนายกมาก่อน ผู้นั้นก็ต้องเข้าพิธีอภิเษกเพื่อรับศีลอนุกรมเสียก่อนที่จะทำหน้าที่เป็นอัครมุขนายก คำว่า “Archbishop” มาจากภาษากรีกว่า “αρχι” ที่แปลว่า “ที่หนึ่ง” หรือ “หัวหน้า” และคำว่า “επισκοπος” ที่แปลว่า “ปกครองดูแล” “อัครมุขนายก” ปกครอง “อัครมุขมณฑล” หรือภาคคริสตจักร ถ้าเป็นในสมัยโบราณโดยเฉพาะในสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อัครมุขนายกก็จะปกครอง “รัฐอัครมุขนายก” เช่น อาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์ (Archbishop of Mainz) ผู้ปกครอง “ราชรัฐอัครมุขนายกไมนซ์” (Archbishopric of Mainz).

มุขมณฑลและอัครมุขนายก · สภาปกครองโรมันและอัครมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักร

ริสตจักร (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระศาสนจักร (ศัพท์คาทอลิก) (Christian Church; The Church) คือประชาคมของผู้เชื่อและยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่มนุษย์จากบาปราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 152 ประชาคมนี้ถือเป็นหนึ่งเดียวกัน หากเปรียบเป็นร่างกาย พระเยซูคือศีรษะ และคริสตจักรคือร่างกายส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่งคือคริสตชนทุกคนเปรียบเหมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเดียวกัน โดยมีพระเยซูทรงเป็นหลัก และคริสตชนทุกคนจะร่วมกันปฏิบัติพันธกิจคือการประกาศข่าวดีว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาป มนุษย์ทุกคนที่เชื่อจะพ้นจากบาป และเชื่อว่าจะได้รับความรอดและบำเหน็จจากพระเป็นเจ้าในการพิพากษาครั้งสุดท้.

คริสตจักรและมุขมณฑล · คริสตจักรและสภาปกครองโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

มุขมณฑลและโรมันคาทอลิก · สภาปกครองโรมันและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มุขมณฑลและสภาปกครองโรมัน

มุขมณฑล มี 26 ความสัมพันธ์ขณะที่ สภาปกครองโรมัน มี 18 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 9.09% = 4 / (26 + 18)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มุขมณฑลและสภาปกครองโรมัน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: