โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มุขข้างโบสถ์และอาสนวิหารโบแว

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มุขข้างโบสถ์และอาสนวิหารโบแว

มุขข้างโบสถ์ vs. อาสนวิหารโบแว

มุขข้างโบสถ์ หรือ แขนกางเขน (transept) คือเป็นบริเวณทางขวางที่ตัดกับทางเดินกลางของสิ่งก่อสร้างที่มีผังทรงกางเขนในคริสต์ศาสนสถานที่เป็นสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และกอธิค มุขข้างโบสถ์แยกทางเดินกลางจากบริเวณศักดิ์สิทธิ์ที่รวมทั้งมุขตะวันออก บริเวณร้องเพลงสวด ชาเปลดาวกระจาย และบริเวณสงฆ์ มุขข้างโบสถ์ตัดกับทางเดินกลางตรงจุดตัด ที่อาจจะเป็นที่ตั้งของหอสูงเช่นที่มหาวิหารซอลส์บรีหรือโดม. อาสนวิหารโบแว (Cathédrale de Beauvais) หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญเปโตรแห่งโบแว (Cathédrale Saint-Pierre de Beauvais) เป็นอาสนวิหารนิกายโรมันคาทอลิกและที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลโบแว นัวยง และซ็องลิส ตั้งอยู่ที่เมืองโบแว จังหวัดอวซ แคว้นโอดฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญเปโตร เป็นอาสนวิหารแบบกอธิกที่มีบริเวณร้องเพลงสวดที่สูงที่สุดในโลก (48.50 เมตร) อาสนวิหารแห่งนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็นสถานที่แบบสถาปัตยกรรมกอทิกแห่งหนึ่งที่แสดงถึงความสำเร็จสูงสุดและความกล้าหาญทางสถาปัตยกรรม โดยตัวอาคารมีเพียงแขนกางเขน (คริสต์ศตวรรษที่ 16) และบริเวณร้องเพลงสวด พร้อมทั้งมุขโค้งและชาเปลจำนวน 7 หลัง (คริสต์ศตวรรษที่ 13) ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากทางจรมุข นอกจากนี้ยังพบโบสถ์เล็กแบบสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์สร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 10 เรียกว่า "บาเซิฟวร์" (Basse Œuvre) ซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะจนอยู่ในสภาพดีตั้งอยู่บริเวณที่จะเป็นที่ตั้งของบริเวณกลางโบสถ์อีกด้วย อาสนวิหารโบแวได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1840.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มุขข้างโบสถ์และอาสนวิหารโบแว

มุขข้างโบสถ์และอาสนวิหารโบแว มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บริเวณกลางโบสถ์บริเวณร้องเพลงสวดมุขโค้งด้านสกัดสถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ผังอาสนวิหารโบสถ์น้อย

บริเวณกลางโบสถ์

ริเวณกลางโบสถ์แบบกอธิคมองไปสู่บริเวณพิธีทางมุขตะวันออกภายในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์และเซนต์พอลแห่งนองซ์ในประเทศฝรั่งเศส แผนผังแสดงส่วนที่เป็น “บริเวณกลางโบสถ์” ที่เป็นสีชมพู บริเวณกลางโบสถ์ยุคต้นเรอเนสซองซ์ในบาซิลิกาซานโลเร็นโซโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี - คริสต์ทศวรรษ 1420 บริเวณกลางโบสถ์ (nave) คือช่องทางเดิน (aisle) ที่ตั้งอยู่กลางคริสต์ศาสนสถานที่เริ่มตั้งแต่จากประตูทางเข้าไปสู่บริเวณพิธีและแท่นบูชาเอก ที่บางครั้งก็อาจจะขนาบด้วยช่องทางเดินข้างซ้ายขวาข้างละช่องหรืออาจจะมากกว่าก็ได้ถ้าเป็นวัดใหญ่ๆ เช่นมหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์กที่มีช่องทางเดินทั้งหมดห้าช่องที่ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ที่ขนาบด้วยช่องทางเดินข้างๆ ละสองช่อง.

บริเวณกลางโบสถ์และมุขข้างโบสถ์ · บริเวณกลางโบสถ์และอาสนวิหารโบแว · ดูเพิ่มเติม »

บริเวณร้องเพลงสวด

“บริเวณร้องเพลงสวด” ของมหาวิหารปาเล็นเซียในประเทศสเปน ภาพแสดงให้เห็นที่นั่งของนักบวชสองข้างหน้าแท่นบูชาเอกที่ทำด้วยไม้ที่สลักเสลาอย่างงดงามที่วัดในเมืองบาดชูสเซนรีด ที่เดิมเป็นสำนักสงฆ์ในประเทศเยอรมนี บริเวณร้องเพลงสวด (Choir หรือ quire) ในทางสถาปัตยกรรม “บริเวณร้องเพลงสวด” เป็นบริเวณภายใน คริสต์ศาสนสถาน หรือมหาวิหารที่มักจะตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของบริเวณพิธี (chancel) ระหว่างทางเดินกลาง (nave) และบริเวณศักดิ์สิทธิ์ (sanctuary) (ที่เป็นที่ตั้งแท่นบูชา) แต่บางครั้ง “บริเวณร้องเพลงสวด” ก็อาจจะตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของทางเดินกลาง ในวัดของสำนักสงฆ์บางแห่งบริเวณนี้ก็จะตั้งอยู่ทางตะวันตกของทางเดินกลางซึ่งเป็นการสมดุลกับบริเวณพิธีและบริเวณศักดิ์สิท.

บริเวณร้องเพลงสวดและมุขข้างโบสถ์ · บริเวณร้องเพลงสวดและอาสนวิหารโบแว · ดูเพิ่มเติม »

มุขโค้งด้านสกัด

ลักษณะโดยทั่วไปของมุขโค้งสมัยคริสเตียนตอนต้น/ไบแซนไทน์ที่เป็นโค้งครึ่งโดม มุขโค้งสามมุขด้านตะวันออกของบาซิลิกาซานตาจูเลียทางตอนเหนือของอิตาลี มุขด้านตะวันออกของแอบบีแซงต์อูน (Abbey church of Saint-Ouen) แสดงให้เห็น “ชาเปลดาวกระจาย”, รูออง มุขด้านตะวันออกของมหาวิหารมอนริอาเลในซิซิลีที่เต็มไปด้วยลวดลายตกแต่ง มุขโค้งด้านสกัด หรือ มุขตะวันออก (Apse หรือ Apsis) คือส่วนที่เป็นโค้งครึ่งวงกลมที่มีหลังคาครึ่งวงกลมหรือครึ่งโดมที่ยื่นออกมาจากสิ่งก่อสร้าง “มุขโค้งด้านสกัด” มาจากภาษาอังกฤษว่า “Apse” ที่มาจากภาษาละติน “absis” ที่แปลว่า “โค้ง” หรือ “เพดานโค้ง” ในสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์, สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์ และ สถาปัตยกรรมกอธิคของแอบบี, มหาวิหาร และคริสต์ศาสนสถานอื่นๆ คำนี้หมายถึงมุขครึ่งวงกลมหรือหลายเหลี่ยมที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของสิ่งก่อสร้างที่ภายในเป็นที่ตั้งของแท่นบูชาเอก และไม่ว่าหลังคาจะเป็นทรงใด: ราบ, ลาด, โดม หรือครึ่งวงกลม.

มุขข้างโบสถ์และมุขโค้งด้านสกัด · มุขโค้งด้านสกัดและอาสนวิหารโบแว · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

มุขข้างโบสถ์และสถาปัตยกรรมกอทิก · สถาปัตยกรรมกอทิกและอาสนวิหารโบแว · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์

มหาวิหารแซงต์ปิแยร์แห่งอองกูเล็ม ประเทศฝรั่งเศส สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคา/เพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกันศิลป พีระศรี, ประวัติศาสตร์และแบบอย่างศิลปะ, (แปลและเรียบเรียงโดย เขียน ยิ้มศิริ) (กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์, 2512) เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่น ซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade)) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อนเช่นสถาปัตยกรรมกอธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์จะพบในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารเป็นส่วนใหญ่ แต่จะมีบ้างที่ใช้ในการก่อสร้างปราสาทในสมัยนั้น คริสต์ศาสนสถานแบบโรมาเนสก์ยังคงมีหลงเหลืออยู่ และบางแห่งก็ยังใช้เป็นสถานที่สักการะตราบจนทุกวันนี้ Bannister Fletcher, “History of Architecture on the Comparative Method” (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมโดยการเปรียบเทียบ).

มุขข้างโบสถ์และสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ · สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และอาสนวิหารโบแว · ดูเพิ่มเติม »

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

ผังอาสนวิหารและมุขข้างโบสถ์ · ผังอาสนวิหารและอาสนวิหารโบแว · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์น้อย

น้อยในประเทศเบลเยียม โบสถ์น้อย หรือ วัดน้อย (chapel) เป็นสิ่งก่อสร้างอิสระหรือโครงสร้างภายในสิ่งก่อสร้างของคริสต์ศาสนสถาน ถ้าเป็นสิ่งก่อสร้างอิสระก็มีขนาดต่างๆ ตั้งแต่ใหญ่ขนาดมหาวิหารย่อย ๆ ไปจนถึงโบสถ์น้อยเล็ก ๆ ข้างทาง เช่นเดียวกับถ้าเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างขนาดก็ขึ้นอยู่กับฐานะของผู้สร้าง โบสถ์น้อยที่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิหาร, โบสถ์ใหญ่ ๆ, ปราสาท, วัง, คฤหาสน์, วิทยาลัย, โรงพยาบาล คุก หรือสุสาน บางครั้งโบสถ์น้อยที่สร้างในมหาวิหารจะสร้างเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น "โบสถ์น้อยแม่พระ" ที่มักจะสร้างเป็นโบสถ์น้อยที่อยู่ทางตะวันออกสุดของโบสถ์ หรือ "โบสถ์น้อยศีลศักดิ์สิทธิ์" ที่ตั้งติดกับโบสถ์และใช้เป็นที่เก็บไวน์ และขนมปังที่ใช้ในพิธีศีลมหาสนิท ถ้าโบสถ์น้อยมีขนาดค่อนข้างเล็กที่สร้างเป็นคูหาภายในทางด้านข้างหรือทางด้านหลังของมหาวิหารหรือโบสถ์ก็อาจจะเรียกว่า "คูหาสวดมนต์" ความหมายเป็นนัยยะของโบสถ์น้อยคือเป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นส่วนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่ใช่สถาบันศาสนา เช่น โบสถ์น้อยของปราสาท หรือโบสถ์น้อยส่วนตัวภายในมหาวิหารเป็นต้น.

มุขข้างโบสถ์และโบสถ์น้อย · อาสนวิหารโบแวและโบสถ์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มุขข้างโบสถ์และอาสนวิหารโบแว

มุขข้างโบสถ์ มี 11 ความสัมพันธ์ขณะที่ อาสนวิหารโบแว มี 40 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 13.73% = 7 / (11 + 40)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มุขข้างโบสถ์และอาสนวิหารโบแว หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »