โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มือ

ดัชนี มือ

มือ (Hand) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อแขน สำหรับจับ หยิบ สิ่งของต่าง.

55 ความสัมพันธ์: ฟังก์ชันตรีโกณมิติพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานกรรไกรกระดาษกระดูกพิสิฟอร์มกระดูกฝ่ามือกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 5กระดูกลูเนทกระดูกสแคฟฟอยด์กระดูกฮาเมตกระดูกทราพีซอยด์กระดูกทราพีเซียมกระดูกนิ้วมือท่อนกลางกระดูกนิ้วมือท่อนต้นกระดูกนิ้วมือท่อนปลายกระดูกแคปปิเตตกล้ามเนื้อกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัสกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิสกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิไต มินิไมกายภาพบำบัดการตั้งครรภ์การนวดการนวดแผนไทยการไหว้ภาษามือภูเขามือมนุษย์รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์หลอดเลือดแดงอัลนาหอยออกซิเจนคลื่นค้อนประเทศไทยปลายแขนนิ้วชี้นิ้วกลางนิ้วมือนิ้วหัวแม่มือนิ้วนางโรคมือ เท้า และปากโรคประสาท...โลกโครงกระดูกเส้นประสาทมีเดียนเต้านมเป่ายิ้งฉุบ ขยายดัชนี (5 มากกว่า) »

ฟังก์ชันตรีโกณมิติ

ฟังก์ชันตรีโกณมิติ (Trigonometric function) คือ ฟังก์ชันของมุม ซึ่งมีความสำคัญในการศึกษารูปสามเหลี่ยมและปรากฏการณ์ในลักษณะเป็นคาบ ฟังก์ชันอาจนิยามด้วยอัตราส่วนของด้าน 2 ด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก หรืออัตราส่วนของพิกัดของจุดบนวงกลมหนึ่งหน่วย หรือนิยามในรูปทั่วไปเช่น อนุกรมอนันต์ หรือสมการเชิงอนุพันธ์ รูปสามเหลี่ยมที่นำมาใช้จะอยู่ในระนาบแบบยุคลิด ดังนั้น ผลรวมของมุมทุกมุมจึงเท่ากับ 180° เสมอ ในปัจจุบัน มีฟังก์ชันตรีโกณมิติอยู่ 6 ฟังก์ชันที่นิยมใช้กันดังตารางข้างล่าง (สี่ฟังก์ชันสุดท้ายนิยามด้วยความสัมพันธ์กับฟังก์ชันอื่น แต่ก็สามารถนิยามด้วยเรขาคณิตได้) ความสัมพันธ์ระหว่างฟังก์ชันเหล่านี้ อยู่ในบทความเรื่อง เอกลักษณ์ตรีโกณมิต.

ใหม่!!: มือและฟังก์ชันตรีโกณมิติ · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ห้องประชุมภายในราชบัณฑิตยสถาน (ที่ทำการเดิม) หลังการประชุมชำระพจนานุกรม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นพจนานุกรมอธิบายศัพท์ภาษาไทยที่ราชบัณฑิตยสภา (หรือราชบัณฑิตยสถานเดิม) จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนหนังสือไทยให้เป็นระเบียบเดียวกัน ไม่ลักลั่น โดยมีการปรับปรุงแก้ไขตามลำดับเรื่อยมา เมื่อราชบัณฑิตยสภาจัดพิมพ์พจนานุกรมรุ่นหนึ่ง ๆ แล้วเสร็จ จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ออก ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระเบียบการใช้ตัวสะกด ให้หนังสือราชการและการศึกษาเล่าเรียนใช้ตัวสะกดตามพจนานุกรมรุ่นนั้น ๆ เสมอไป.

ใหม่!!: มือและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน · ดูเพิ่มเติม »

กรรไกร

กรรไกรในประเทศอิตาลี thumb กรรไกรแบบ shere กรรไกร (scissors) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัดวัสดุบาง ๆ โดยใช้แรงกดเล็กน้อย โดยใช้ตัดวัสดุเช่น กระดาษ กระดาษแข็ง แผ่นโลหะบาง พลาสติกบาง อาหารบางอย่าง ผ้า เชือก และสายไฟ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เพื่อตัดผมก็ได้ ส่วนกรรไกรขนาดใหญ่อาจใช้ตัดใบไม้และกิ่งไม้ ซึ่งมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ กรรไกรนั้นต่างจากมีด เพราะมีใบมีด 2 อัน ประกบกันโดยมีจุดหมุนร่วมกัน กรรไกรส่วนใหญ่จะไม่มีความคมมากนัก แต่อาศัยแรงฉีกระหว่างใบมีดสองด้าน กรรไกรของเด็กนั้นจะมีความคมน้อยมาก และมักมีพลาสติกหุ้มเอาไว้ ในภาษาไทย เรียก "กรรไกร", "กรรไตร" หรือ "ตะไกร" ส่วนในภาษาอังกฤษ โดยทั่วไปเรียกว่า "scissors" แต่ในอุตสาหกรรม เรียกกรรไกรที่มีความยาวมากกว่า 15 เซนติเมตร ว่า "shears" แต่ที่นิยมเรียกในประเทศไทยคือ กรรไกร ในทางกลศาสตร์ ถือว่ากรรไกรเป็นคานคู่ชั้น 1 (First-Class Lever) ซึ่งมีหมุดกลางทำหน้าที่เป็นจุดหมุน ส่วนการตัดวัสดุหนาหรือแข็งนั้น จะให้วัสดุอยู่ใกล้จุดหมุน เพื่อเพิ่มแรงกดให้มากที่สุด ตัวอย่างเช่นหากแรงที่ใช้ (นั่นคือ มือ) ห่างจากจุดหมุนเป็นสองเท่าของตำแหน่งที่ตัด (นั่นคือ ตำแหน่งกระดาษ) แรงที่กดบนขากรรไกรก็จะเป็นสองเท่าด้วย กรรไกรพิเศษ เช่น กรรไกรตัดเหล็ก (bolt cutters) สำหรับงานกู้ภัย จะมีปากสั้น และด้ามยาว เพื่อให้วัสดุที่ตัดอยู่ใกล้จุดหมุนมากที่สุดนั่นเอง กรรไกรตัดเหล็กเส้นก่อสร้าง (bar cutters) สำหรับงานก่อสร้าง โดยเฉพาะไซต์งานที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ทำงานโดยใช้แรงกล มีด้ามยาวสำหรับโยกหมุนเฟืองเพื่อดันใบมีดเข้าหากันเพื่อตัดเหล็ก เหมาะกับการใช้ตัดชิ้นงานหยาบ ไม่สามารถใช้กับงานที่ละเอียดได้ นอกจากนี้ยังมีกรรไกรตัดเหล็กที่ใช้สำหรับตัดเหล็กแผ่น เหล็กแบน เหล็กกลม (shearing machines) ซึ่งใช้กลวิธีการทำงานคือ โยกด้ามยาวที่ติดกับตัวขับที่เป็นฟันเหล็ก และเฟืองซึ่งทำจากเหล็กขึ้นรูปร้อน โดยตัวขับจะเป็นตัวส่งกำลังไปยังตัวเลื่อน เพื่อดันใบมีดตัวบนเข้ามาใบมีดตัวล่าง และมีสปริงค้ำคันโยก ซึ่งจะช่วยป้องกันคันมือโยกไม่ให้หล่นลงมา และยังเป็นตัวทำให้เกิดความสมดุลของน้ำหนักของตัวคันมือโยกอีกด้ว.

ใหม่!!: มือและกรรไกร · ดูเพิ่มเติม »

กระดาษ

กระดาษ กระดาษ เป็นวัสดุที่ผลิตขึ้นมาสำหรับการจดบันทึก มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เชื่อกันว่ามีการใช้กระดาษครั้งแรกๆ โดยชาวอียิปต์และชาวจีนโบราณ แต่กระดาษในยุคแรกๆ ล้วนผลิตขึ้นเพื่อการจดบันทึกด้วยกันทั้งสิ้น จึงกล่าวได้ว่าระบบการเขียนคือแรงผลักดันให้เกิดการผลิตกระดาษขึ้นในโลก ปัจจุบันกระดาษไม่ได้มีประโยชน์ในการใช้จดบันทึกตัวหนังสือ หรือข้อความ เท่านั้น ยังใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้มากมาย เช่น กระดาษชำระ กระดาษห่อของขวัญ กระดาษลูกฟูกสำหรับทำกล่อง เป็นต้น.

ใหม่!!: มือและกระดาษ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกพิสิฟอร์ม

กระดูกพิสิฟอร์ม (Pisiform bone) หรือ กระดูกเลนติฟอร์ม (Lentiform bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในข้อมือ มีขนาดเล็ก รูปร่างกลมคล้ายเมล็ดถั่วลันเตา กระดูกนี้เป็นกระดูกข้อมือแถวต้น อยู่บริเวณที่กระดูกอัลนา (ulna) เชื่อมกับกระดูกข้อมือ กระดูกนี้เกิดข้อต่อกับกระดูกไตรกีตรัล (triquetral) เท่านั้น กระดูกพิสิฟอร์มจัดเป็นกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ (sesamoid bone) รากศัพท์ของชื่อ พิสิฟอร์ม (pisiform) มาจากภาษาละตินว่า pīsum แปลว่า ถั่วลันเตา (pea).

ใหม่!!: มือและกระดูกพิสิฟอร์ม · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฝ่ามือ

กระดูกมือข้างซ้าย มุมมองจากด้านหลังมือ ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกฝ่ามือ (Metacarpal bones/Metacarpus) เป็นกลุ่มของกระดูกมือที่เชื่อมต่อระหว่างกระดูกข้อมือ (Carpus) และกระดูกนิ้วมือ (Phalanges) โดยจะมีจำนวน 5 ชิ้น เพื่อรองรับกระดูกนิ้วมือทั้ง 5.

ใหม่!!: มือและกระดูกฝ่ามือ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 หรือ กระดูกฝ่ามือของนิ้วหัวแม่มือ (First metacarpal bone; metacarpal bone of the thumb) เป็นกระดูกฝ่ามือ (metacarpal bones) ที่รองรับนิ้วหัวแม่มือ โดยลักษณะสำคัญคือจะสั้นและกว้างกว่ากระดูกฝ่ามือชิ้นอื่นเล็กน้อย และขอบด้านฝ่ามือมีความโค้งเข้าหาตัวฝ่ามือ ตัวกระดูกด้านหลังมือ (dorsal surface) มีลักษณะแบนและกว้าง และไม่มีสันเหมือนในกระดูกฝ่ามือชิ้นอื่นๆ พื้นผิวด้านฝ่ามือ (volar surface) เว้าจากบนลงล่าง ขอบทางด้านเรเดียส (ด้านนิ้วหัวแม่มือ) จะเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อออพโพเนนส์ พอลิซิส (Opponens pollicis muscle) ขณะที่ขอบทางด้านที่ติดกับนิ้วชี้จะให้เป็นจุดเกาะต้นของปลายจุดเกาะด้านข้าง (lateral head) กล้ามเนื้ออินเตอร์ออสเซียสด้านหลังมือ (Dorsal interosseus muscles) ที่ยึดระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ ทางด้านฐานกระดูกจะเป็นรอยเว้าที่รองรับกับกระดูกทราพีเซียม (greater multangular) ส่วนด้านข้างไม่มีหน้าประกบที่เกิดข้อต่อ แต่ด้านเรเดียล (ด้านนิ้วหัวแม่มือ) มีปุ่มกระดูกสำหรับจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส (Abductor pollicis longus) ขณะที่ทางด้านหัวกระดูกจะมีลักษณะโค้งนูนน้อยกว่ากระดูกฝ่ามือชิ้นอื่น และมีความกว้างในทางด้านข้างมากกว่าทางแนวหน้าหลัง พื้นผิวด้านฝ่ามือ (volar surface) มีส่วนนูนซึ่งเป็นข้อต่อ 2 อัน โดยอันที่อยู่ด้านข้างกว่ามีขนาดใหญ่กว่า ข้อต่อทั้งสองเกิดกับกระดูกในเอ็นกล้ามเนื้อ (sesamoid bone) 2 ชิ้นที่อยู่ในเอ็นกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส เบรวิส (flexor pollicis brevis muscle).

ใหม่!!: มือและกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 หรือ กระดูกฝ่ามือของนิ้วชี้ (Second metacarpal bone or Metacarpal bone of the index finger) เป็นกระดูกฝ่ามือซึ่งมีความยาวที่สุด รองรับนิ้วชี้ และที่ฐานมีขนาดใหญ่ที่สุดรองจากกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 ฐานของกระดูกนี้ยืดยาวไปทางด้านบนและด้านใกล้กลาง (medialward) เกิดเป็นสันนูนเด่น กระดูกนี้มีหน้าประกบซึ่งเป็นข้อต่อกับกระดูกชิ้นอื่น 4 หน้า โดย 3 หน้าอยู่ทางด้านบน และอีกด้านหนึ่งอยู่ด้านอัลนา (ด้านใกล้นิ้วกลาง) หน้าประกบที่อยู่ทางพื้นผิวด้านบน.

ใหม่!!: มือและกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3 หรือ กระดูกฝ่ามือของนิ้วกลาง (Third metacarpal bone or Metacarpal bone of the middle finger) เป็นกระดูกฝ่ามือชิ้นที่รองรับนิ้วกลาง และมีขนาดเล็กกว่ากระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 เล็กน้อย ที่พื้นผิวด้านหลังมือของฐานของกระดูกนี้จะมีส่วนที่ยื่นลงมาทางด้านเรเดียส (ด้านที่ติดกับนิ้วชี้) เรียกว่า สไตลอยด์ โพรเซส (styloid process) ซึ่งยื่นขึ้นมาประกอบกับทางด้านหลังของกระดูกแคปปิเตต (capitate) และด้านปลายของสไตลอยด์ โพรเซสมีพื้นผิวขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส (Extensor carpi radialis brevis muscle) หน้าประกบซึ่งเกิดข้อต่อด้านกระดูกข้อมือ (carpal) ด้านหลังมีลักษณะเว้า ด้านหน้าแบน เกิดเป็นข้อต่อกับกระดูกแคปปิเตต นอกจากนี้ที่ด้านเรเดียส (ด้านที่ติดนิ้วชี้) มีลักษณะเป็นหน้าประกบเรียบ เว้า ซึ่งเกิดข้อต่อกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 2 และ ด้านอัลนา (ด้านที่ติดนิ้วนาง) มีหน้าประกบรูปวงรีขนาดเล็ก 2 อันซึ่งเกิดข้อต่อกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4 ด้ว.

ใหม่!!: มือและกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3 · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4 หรือ กระดูกฝ่ามือของนิ้วนาง (Fourth metacarpal bone or Metacarpal bone of the ring finger) เป็นกระดูกฝ่ามือที่รองรับนิ้วนาง มีขนาดเล็กและสั้นกว่ากระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3 ที่ฐานของกระดูกมีขนาดเล็กและเป็นรูปสี่เหลี่ยม พื้นผิวด้านบนมีหน้าประกบ 2 หน้า อันที่ใหญ่กว่าอยู่ทางด้านใกล้กลาง (ด้านที่ติดกับนิ้วก้อย) จะเกิดข้อต่อกับกระดูกฮาเมต (hamate) ส่วนหน้าประกบอันเล็กกว่าซึ่งอยู่ทางด้านข้าง (ด้านที่ติดกับนิ้วกลาง) จะเกิดข้อต่อกับกระดูกแคปปิเตต (capitate) และทางด้านเรเดียส (ด้านติดกับนิ้วกลาง) ยังมีหน้าประกบรูปวงรีอีก 2 หน้า ซึ่งเกิดรอยต่อกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 3 (third metacarpal) และทางด้านอัลนา (ด้านติดกับนิ้วก้อย) ก็มีหน้าประกบเว้า ซึ่งเป็นข้อต่อกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 5 (fifth metacarpal) ด้ว.

ใหม่!!: มือและกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 5

กระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 5 หรือ กระดูกฝ่ามือของนิ้วก้อย (Fifth metacarpal bone or Metacarpal bone of the little finger) เป็นกระดูกฝ่ามือชิ้นที่อยู่ด้านข้างลำตัวที่สุด รองรับนิ้วก้อ.

ใหม่!!: มือและกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 5 · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกลูเนท

กระดูกลูเนท หรือ กระดูกรูปเสี้ยวพระจันทร์ (Lunate bone; Semilunar bone) เป็นกระดูกในที่อยู่ภายในมือของมนุษย์ มีลักษณะเด่นคือมีความเว้าและรูปร่างเหมือนพระจันทร์เสี้ยว ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของกระดูกข้อมือแถวต้น (proximal row) อยู่ระหว่างกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid) และกระดูกไตรกีตรัล (triangular bone) คำว่า ลูเนท (lunate) มาจากรากศัพท์ภาษาละตินคำว่า luna ที่แปลว่า ดวงจันทร.

ใหม่!!: มือและกระดูกลูเนท · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสแคฟฟอยด์

กระดูกสแคฟฟอยด์ (Scaphoid bone) อยู่บริเวณข้อมือ พบอยู่ทางด้านนิ้วหัวแม่มือภายในอนาโตมิคัล สนัฟฟ์ บอกซ์ (anatomical snuff-box) ลักษณะคล้ายกับเรือ ในอดีตจึงเรียกกระดูกนี้ว่า navicular (ซึ่งปัจจุบัน navicular หมายถึงกระดูกรูปเรือที่อยู่ในกระดูกข้อเท้า) ขนาดและรูปร่างของกระดูกนี้คล้ายกับเม็ดมะม่วงหิมพานต์ กระดูกสแคฟฟอยด์เป็นกระดูกที่ใหญ่ที่สุดในกระดูกข้อมือแถวต้น (proximal row) อยู่ที่ด้านเรเดียส (ด้านนิ้วหัวแม่มือ) แกนยาวของกระดูกวิ่งจากบนลงล่าง ไปทางด้านข้างและด้านหน้า คำว่า สแคฟฟอยด์ (scaphoid) มาจากภาษากรีกว่า skaphe แปลว่า "เรือ" และ eidos แปลว่า "รูปร่าง".

ใหม่!!: มือและกระดูกสแคฟฟอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกฮาเมต

กระดูกฮาเมต (hamate bone or unciform bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในข้อมือของมนุษย์ซึ่งมีลักษณะเด่นคือมีรูปร่างคล้ายลิ่ม และทีส่วนยื่นของกระดูกที่มีรูปร่างคล้ายตะขอออกมาจากพื้นผิวด้านฝ่ามือ กระดูกนี้เป็นกระดูกข้อมือ (carpus) ในแถวหลังที่วางตัวอยู่ทางด้านใกล้กลาง (ด้านนิ้วก้อย) ซึ่งมีฐานอยู่ด้านล่างติดกับกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 4 และ 5 ส่วนยอดชี้ขึ้นด้านบนและไปทางด้านข้างลำตัว รากศัพท์ของชื่อกระดูกมาจากภาษาละติน hamus แปลว่า ตะขอ.

ใหม่!!: มือและกระดูกฮาเมต · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกทราพีซอยด์

กระดูกทราพีซอยด์ (Trapezoid bone; lesser multangular bone) เป็นกระดูกข้อมือชิ้นหนึ่งในสัตว์สี่เท้า (tetrapod) รวมทั้งมนุษย์ มีขนาดเล็กที่สุดในกระดูกข้อมือแถวปลาย มีลักษณะเด่นคือมีรูปร่างเหมือนลิ่ม โดยมีปลายด้านหลังกว้าง และพื้นผิวด้านฝ่ามือแคบ กระดูกนี้มีหน้าประกบเกิดเป็นข้อต่อ 4 หน้าซึ่งแต่ละหน้าแยกกันด้วยขอบแหลมคม รากศัพท์ของ ทราพีซอยด์ (trapezoid) มาจากภาษากรีก trapezion แปลว่า สี่เหลี่ยมไม่สม่ำเสมอ ซึ่งมาจาก tra- แปลว่า สี่ และ peza แปลว่า เท้าหรือขอบ หากแปลตามตัวอักษรอาจแปลได้ว่า โต๊ะขนาดเล็ก มาจาก trapeza หมายถึง โต๊ะ และ -oeides หมายถึง รูปร่าง.

ใหม่!!: มือและกระดูกทราพีซอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกทราพีเซียม

กระดูกทราพีเซียม (Trapezium bone; Greater multangular bone) เป็นกระดูกข้อมือ (carpus) ในแถวปลาย อยู่ภายในข้อมือ กระดูกทราพีเซียมมีลักษณะเด่นคือจะมีร่องลึกทางด้านฝ่ามือ กระดูกชิ้นนี้จะตั้งอยู่ที่ด้านเรเดียส (ด้านนิ้วหัวแม่มือ) ของข้อมือ ระหว่างกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid) และกระดูกฝ่ามือชิ้นที่ 1 (first metacarpal bone) รากศัพท์ของชื่อกระดูกมาจากภาษากรีก trapezion ซึ่งหมายความตามตัวอักษรว่า รูปสี่เหลี่ยมไม่สม่ำเสมอ (irregular quadrilateral) หรือมาจาก trapeza หมายถึง โต๊ะ หรือมาจาก tra- แปลว่า สี่ และ peza แปลว่า เท้า หรือ ขอ.

ใหม่!!: มือและกระดูกทราพีเซียม · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกนิ้วมือท่อนกลาง

กระดูกมือของมนุษย์ กระดูกนิ้วมือท่อนกลาง (Intermediate phalanges) เป็นกระดูกที่พบในรยางค์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังส่วนใหญ่ ในมนุษย์กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกที่อยู่ที่ปล้องกลางระหว่างข้อนิ้วของนิ้วมือ สำหรับในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น กระดูกนิ้วมือท่อนต้นจะปรากฏในตำแหน่งที่คล้ายๆ กับมือของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในอุ้งเท้า, ปีก, กีบ, หรือครีบ กระดูกนิ้วมือท่อนกลางเป็นกระดูกนิ้วมืที่มีความยาวปานกลางเมื่อเทียบกับกระดูกนิ้วมือชิ้นอื่นๆ หมวดหมู่:กระดูกของรยางค์บน.

ใหม่!!: มือและกระดูกนิ้วมือท่อนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกนิ้วมือท่อนต้น

กระดูกมือของมนุษย์ กระดูกนิ้วมือท่อนต้น (Proximal phalanges) เป็นกระดูกที่พบในรยางค์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิด ในมนุษย์กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกที่อยู่ที่โคนของนิ้วมือ ซึ่งนูนออกมาสังเกตได้ชัด เรียกว่า ข้อนิ้วมือ หรือ มะเหงก (knuckle) สำหรับในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น กระดูกนิ้วมือท่อนต้นจะปรากฏในตำแหน่งที่คล้ายๆ กับมือของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในอุ้งเท้า, ปีก, หรือครีบ ในสัตว์หลายชนิด กระดูกนี้เป็นกระดูกนิ้วมือชิ้นที่ยาวที่สุด หมวดหมู่:กระดูกของรยางค์บน.

ใหม่!!: มือและกระดูกนิ้วมือท่อนต้น · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกนิ้วมือท่อนปลาย

กระดูกมือของมนุษย์ กระดูกนิ้วมือท่อนปลาย (Distal phalanges) เป็นกระดูกที่พบในรยางค์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังหลายชนิด ในมนุษย์กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกนิ้วมือที่อยู่ปลายสุดของนิ้วมือ สำหรับในสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น กระดูกนิ้วมือท่อนต้นจะปรากฏในตำแหน่งที่คล้ายๆ กับมือของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นในครีบของปลาวาฬหรือปีกของนก โดยทั่วไป กระดูกนิ้วมือท่อนปลายจะถูกต่อด้วยกรงเล็บ สำหรับในไพรเมต (primate) กระดูกนิ้วมือท่อนปลายถูกคลุมด้วยเล็บ กระดูกชิ้นนี้เป็นกระดูกนิ้วมือชิ้นที่เล็กที่สุด หมวดหมู่:กระดูกของรยางค์บน.

ใหม่!!: มือและกระดูกนิ้วมือท่อนปลาย · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกแคปปิเตต

กระดูกแคปปิเตต (Capitate bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในข้อมือของมนุษย์ กระดูกนี้นับว่าเป็นกระดูกข้อมือที่ใหญ่ที่สุดและตั้งอยู่ตรงกลางของข้อมือ ส่วนบนมีลักษณะเป็นหัวกระดูกกลม ซึ่งรับกับส่วนของกระดูกสแคฟฟอยด์ (scaphoid) และกระดูกลูเนท (lunate) และถัดลงมาเป็นส่วนคอดเรียกว่า คอกระดูก และด้านล่างเป็นตัวกระดูก รากศัพท์ของชื่อกระดูก มาจากภาษาละติน capitātus แปลว่า มีหัว มาจาก capit- แปลว่า หัว.

ใหม่!!: มือและกระดูกแคปปิเตต · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ใหม่!!: มือและกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส

กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส (Abductor pollicis longus) เป็นกล้ามเนื้อที่ทอดตัวอยู่ใต้กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์ (supinator) และบางครั้งอาจรวมเข้าอยู่ด้วยกัน.

ใหม่!!: มือและกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส

ในทางกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส (flexor digitorum profundus; FDP) เป็นกล้ามเนื้อในปลายแขนที่ทำหน้าที่งอนิ้วมือ จัดว่าเป็น extrinsic muscle เพราะว่าการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อนี้อยู่ที่ตำแหน่งที่แตกต่างจากตัวหลักของมัดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส ร่วมกับกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส (flexor digitorum superficialis) มีเอ็นกล้ามเนื้อยาวที่วิ่งลงตมาลอดปลายแขน ผ่านคาร์ปัล ทันเนล (carpal tunnel) และยึดเกาะกับด้านฝ่ามือของกระดูกนิ้วมือ กล้ามเนื้อนี้มีจุดเกาะต้นอยู่ที่ด้านหน้าของกระดูกอัลนา กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัสทอดตัวอยู่ใต้กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส แต่ว่าจะมีจุดเกาะปลายที่อยู่ด้านปลายมากกว่า โดยเอ็นของกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัสจะวิ่งผ่านช่องของเอ็นกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส เข้าไปเกาะกับกระดูกนิ้วมือท่อนปลาย (distal phalanx).

ใหม่!!: มือและกล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส (Extensor pollicis longus) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในปลายแขน มีขนาดใหญ่กว่ากล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส (Extensor pollicis brevis) จุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อบางส่วนถูกปกคลุมด้วยกล้ามเนื้ออื่น.

ใหม่!!: มือและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส (Extensor pollicis brevis) เป็นกล้ามเนื้อที่ทอดตัวอยู่ด้านใกล้กลางของกล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส (Abductor pollicis longus).

ใหม่!!: มือและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิไต มินิไม

กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิไต มินิไม (Extensor digiti minimi) หรือ กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิไต ควินไต โพรเพรียส (Extensor digiti quinti proprius; EDM) เป็นกล้ามเนื้อมัดผอมๆ อยู่ในปลายแขน (forearm) อยู่บนด้านใกล้กลางของกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม (Extensor digitorum) กล้ามเนื้อนี้มีจุดเกาะต้นของเอ็นคอมมอนเอกซ์เทนเซอร์ (common Extensor tendon) โดยแผ่นเอ็นบางๆ จากผนังกั้นอินเตอร์มัสคิวลาร์ (intermuscular septa) ที่กั้นระหว่างกล้ามเนื้อนี้และกล้ามเนื้อใกล้เคียง เอ็นกล้ามเนื้อนี้วิ่งผ่านช่องของเอ็นดอร์ซัล คาร์ปัล (dorsal carpal ligament) ด้านหลังต่อข้อต่อเรดิโออัลนาส่วนปลาย (distal radio-ulnar joint) แล้วจึงแบ่งออกเป็น 2 เอ็นเมื่อข้ามาถึงมือ และสุดท้ายไปร่วมกับเอ็นแผ่ของกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุมที่ด้านหลังของกระดูกนิ้วมือ (phalanx) ของนิ้วก้อ.

ใหม่!!: มือและกล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิไต มินิไม · ดูเพิ่มเติม »

กายภาพบำบัด

กายภาพบำบัด (physical therapy หรือ physiotherapy) เป็นวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน รักษา และจัดการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติ ที่เกิดขึ้นจากสภาพและภาวะของโรค ที่เกิดขึ้นในทุกช่วงของชีวิต กายภาพบำบัด จะกระทำโดย นักกายกายภาพบำบัด (Physical therapist หรือ Physiotherapist หรือย่อว่า PT) หรือผู้ช่วยนักกายภาพบำบัด (Physical Therapy Assistant) ภายใต้การดูแลและแนวทางของนักกายภาพบำบัด อย่างไรก็ตาม ได้มีการใช้การรักษาทางกายภาพบำบัดบางอย่างโดยผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพอื่นๆ เช่น ไคโรแพรคเตอร์, แพทย์ทางด้านการจัดกระดูก และโปรแกรมการรักษาทางกายภาพบำบัด ยังเกี่ยวข้องกับผู้ให้บริการสาธารณสุขอื่นๆอีกด้วย นักกายภาพบำบัด จะใช้ประวัติทางการรักษา และข้อมูลจากการตรวจร่างกาย เพื่อประกอบการให้การบำบัด ถ้าหากว่าจำเป็น นักกายภาพบำบัดอาจจะใช้ผลจากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และการศึกษาภาพถ่ายทางรังสี ประกอบการบำบัดรักษาด้วย เป็นต้น นักกายภาพบำบัด ปฏิบัติงานในหลายลักษณะงาน เช่น ในส่วนของผู้ป่วยนอก คลินิค หรือสำนักงาน, แผนกผู้ป่วยใน เกี่ยวกับเวชกรรมฟื้นฟู, ผู้ป่วยที่ทำการฟื้นฟูอยู่บ้าน, วงการการศึกษา หรือศูนย์วิจัย, โรงเรียน, สถานพักฟื้น,โรงงานอุตสาหกรรม,ศูนย์ฟิตเนส และ สถานการฝึกสอนนักกีฬา แพทย์อย่างเช่น ฮิปโปกราเตส และ เฮกเตอร์ เป็นผู้ที่ซึ่งเชื่อว่า เป็นบุคคลกลุ่มแรกที่ริเริ่มการรักษาทางกายภาพบำบัดในสมัยโบราณ ได้นำการรักษาโดยการนวดและการทำธาราบำบัด มาใช้รักษาผู้ป่วย ตั้งแต่ 460 ปีก่อนคริสตกาล หลักฐานในสมัยแรกสุดที่ถูกบันทึกไว้เกี่ยวกับกายภาพบำบัดจัดว่า กายภาพบำบัด คือกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลุ่มหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อย้อนไปในปี 1894 เมื่อพยาบาลสี่คนในอังกฤษ รวมตัวกันเพื่อจัดตั้ง ชมรมผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด ประเทศอื่นๆ ก็ได้ดำเนินการเช่นกันและเริ่มมีการทำหลักสูตรการสอนที่เป็นระบบ เช่นเมื่อปี 1913 ได้มีโรงเรียนกายภาพบำบัด ที่มหาวิทยาลัยโอทาโก ในนิวซีแลนด์, และในสหรัฐอเมริกา ในปี 1914 ที่ Reed College ในพอร์ทแลนด์ รัฐ ออริกอน งานวิจัยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพบำบัด งานวิจัยทางกายภาพบำบัดฉบับแรก ถูกตีพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา เมื่อ เดือนมีนาคม ปี 1921 ใน The PT Review ในปีเดียวกันนั้น แมรี่ แมคมิลลาน ได้ก่อตั้ง สมาคมกายภาพบำบัด (ปัจจุบันคือ สมาคมกายภาพบำบัดแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ APTA) ในปี 1924 มูลนิธิ Georgia Warm Spring ได้สนับสนุนองค์กรนี้ โดยกล่าวว่า กายภาพบำบัดคือการรักษาสำหรับโรคโปลิโอ การรักษา ในช่วงทศวรรษที่ 1940 มีหลักที่ประกอบไปด้วย การออกกำลัง การนวด และการดึง ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1950 วิธีการใช้มือกดหรือทำการเคลื่อนไหวโดยตรง (Manipulation) ลงบนกระดูกสันหลัง และข้อต่อของกระดูกระยางค์ ได้ถูกนำมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศเครือจักรภพอังกฤษ ในช่วง 10 ปีหลังจากนั้น นักกายภาพบำบัด ได้เริ่มมีบทบาทในโรงพยาบาล สำหรับผู้ป่วยนอก ในส่วนของคลินิคผู้ป่วยทางออโธปิดิกส์, โรงเรียนรัฐบาล, วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย, การดูแลผู้สูงวัย, ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู, โรงพยาบาล, และศูนย์การแพทย์ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสำหรับกายภาพบำบัดในสหรัฐอเมริกา เริ่มขึ้นในปี 1974 ในสาขาของ ออร์โธปิดิกส์ หน่วยงานใน APTA ก็ได้รวมตัวเพื่อนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่อง ออร์โธปิดิกส์ ในปีเดียวกัน ได้เกิด สหพันธ์ออร์โธปิดิกส์หัตถการนานาชาติ (the International Federation of Orthopedic Manipulative Therapy) ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับ หัตถการขั้นสูงนับตั้งแต่นั้นมา ในช่วงทศวรรษที่ 1980 เกิดการตื่นตัวทางทางด้านเทคโนโลยีและ คอมพิวเตอร์ ทำให้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆมากขึ้นสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพ จากผลของความก้าวหน้านี้ ก่อให้เกิดเครื่องมือการรักษาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องกำเนิดคลื่นเหนือเสียง หรือ Ultrasound, เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า, เครื่องผลักประจุไฟฟ้า iontophoresis, และล่าสุดคือ การรักษาด้วยเลเซอร์เย็น ซึ่งผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยา ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2002 ปัจจุบันในประเทศไทย นักกายภาพบำบัดสามารถใช้คำนำหน้านามว่า ก. นำหน้าชื่อสกุลได้.

ใหม่!!: มือและกายภาพบำบัด · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ คือ การเจริญของลูกตั้งแต่หนึ่ง ที่เรียก เอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ ในมดลูกของหญิง เป็นชื่อสามัญของการตั้งครรภ์ในมนุษย์ การตั้งครรภ์แฝดเกี่ยวข้องกับการมีเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนมากกว่าหนึ่งในการตั้งครรภ์ครั้งเดียว เช่น ฝาแฝด การคลอดปกติเกิดราว 38 สัปดาห์หลังการเริ่มตั้งท้อง หรือ 40 สัปดาห์หลังเริ่มระยะมีประจำเดือนปกติครั้งสุดท้ายในหญิงซึ่งมีความยาวรอบประจำเดือนสี่สัปดาห์ การร่วมเพศหรือเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทำให้เกิดการเริ่มตั้งท้อง เอ็มบริโอเป็นลูกที่กำลังเจริญในช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังเริ่มตั้งท้อง จากนั้นใช้คำว่า ทารกในครรภ์ จนกระทั่งคลอด นิยามทางการแพทย์หรือกฎหมายของหลายสังคมมีว่า การตั้งครรภ์ของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ไตรมาสเพื่อง่ายต่อการอ้างอิงช่วงการเจริญก่อนเกิด ไตรมาสแรกมีความเสี่ยงการแท้งเอง (การตายธรรมชาติของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์) สูงสุด ในไตรมาสที่สองเริ่มเฝ้าสังเกตและวินิจฉัยการเจริญของทารกในครรภ์ได้ง่ายขึ้น ไตรมาสที่สามมีการเจริญของทารกในครรภ์เพิ่มและการเจริญของแหล่งสะสมไขมันของทารกในครรภ์ จุดความอยู่รอดได้ของทารกในครรภ์ (point of fetal viability) หรือจุดเวลาที่ทารกในครรภ์สามารถดำรงชีวิตได้นอกมดลูก ปกติตรงกับปลายไตรมาสที่ 2 หรือต้นไตรมาสที่ 3 ทารกที่คลอดก่อนจุดนี้มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทางการแพทย์หรือตาย ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร 40% ของการตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ และระหว่าง 25% ถึง 50% ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจเหล่านี้เป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา หญิง 60% ใช้การคุมกำเนิดระหว่างเดือนที่เกิดการตั้งครร.

ใหม่!!: มือและการตั้งครรภ์ · ดูเพิ่มเติม »

การนวด

การนวด เป็นจัดระเบียบร่างกายรูปแบบหนึ่ง เพื่อการบำบัดและทำให้ร่างกายผ่อนคลาย โดยใช้ทักษะทางร่างกายและอุปกรณ์เสริมด้วยการ บีบ จับ คลึง รีดเส้น เหยียบ ยัน กดจุด ดัด หรือกระตุ้นด้วยการสั่น เพื่อกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อและต่อมต่างๆ ในบริเวณนั้นๆ ทำงานดีขึ้น.

ใหม่!!: มือและการนวด · ดูเพิ่มเติม »

การนวดแผนไทย

ท่ากดสะโพก ในการนวดไทย การนวดไทย หรือ นวดแผนโบราณ เป็นการนวดชนิดหนึ่งในแบบไทย ซึ่งเป็นศาสตร์บำบัดและรักษาโรคแขนงหนึ่งของการแพทย์แผนไทย โดยจะเน้นในลักษณะการกด การคลึง การบีบ การดัด การดึง และการอบ ประคบ ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ "นวดแผนโบราณ" โดยมีหลักฐานว่านวดแผนไทยนั้นมีประวัติมาจากประเทศอินเดีย โดยเชื่อว่าน่าจะมีการนำการนวดเข้ามาพร้อมกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และมีการนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน จากนั้นได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากันกับวัฒนธรรมของสังคมไทย จนเป็นรูปแบบแผนที่เป็นมาตรฐานของไทยและส่งทอดมาจนถึงปัจจุบัน การนวดไทยแบ่งเป็น 2 สาย คือ สายราชสำนักและสายเชลยศัก.

ใหม่!!: มือและการนวดแผนไทย · ดูเพิ่มเติม »

การไหว้

ทรีึ คู่สมรสขณะพนมมือไหว้ ''โรนัลด์ แมคโดนัลด์'' มาสคอตของแมคโดนัลด์ซึ่งตั้งหน้าร้านแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครในลักษณะไหว้ เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของไทย การไหว้ เป็นมารยาทไทยที่เป็นที่สืบทอดกันมาช้านาน การไหว้เป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะ และการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความหมายเพื่อการทักทาย การขอบคุณ/การขอบใจ การขอโทษ หรือการกล่าวลา โดยยกมือสองข้างประนม นิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจรดกัน ยกมือขึ้นในระดับต่าง ๆ ตามฐานะของบุคคล และเมื่อมีผู้ทำความเคารพด้วยการไหว้ ให้ทำการรับไหว้ทุกครั้ง คำที่มักกล่าวเมื่อไหว้ทักทายหรือลาคือ "สวัสดี" มาจากคำว่า "โสตฺถิ" sotthi ในภาษาบาลี และ คำว่า "สฺวสฺติ स्वस्ति svasti" ในภาษาสันสกฤต แปลว่า ความดีงาม ความเจริญรุ่งเรือง หรือความปลอดภัย พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ริเริ่มใช้ มีความหมายเชิงอำนวยพรให้เจริญรุ่งเรือง สืบต่อไป.

ใหม่!!: มือและการไหว้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามือ

ษามือของตัว A-Z สำหรับผู้พิการทางหู ''Preservation of the Sign Language'' (1913) ภาษามือ (อังกฤษ: sign language) เป็นการ เป็นอวัจนภาษาอย่างหนึ่ง ที่ประกอบด้วย การสื่อสารด้วยมือ, การสื่อสารด้วยร่างกาย และการใช้ริมฝีปากในการสื่อความหมายแทนการใช้เสียงพูด การสื่อสารจะใช้ลักษณะของมือที่ทำเป็นสัญลักษณ์ การเคลื่อนไหวมือ แขนและร่างกาย และการแสดงความรู้สึกทางใบหน้าเพื่อช่วยในการสื่อสารความคิดของผู้สื่อ ภาษาสัญลักษณ์ส่วนใหญ่มักใช้ในกลุ่มผู้พิการทางหู ซึ่งรวมทั้งผู้พิการทางหูเอง ผู้ตีความหมาย (interpreter) ผู้ร่วมงาน เพื่อน และครอบครัวของผู้พิการทางหูซึ่งอาจจะพอได้ยินบ้างหรือไม่ได้ยินเล.

ใหม่!!: มือและภาษามือ · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขา

ทือกเขาร็อกกี ภูเขา (mountain) เป็นลักษณะของพื้นโลกที่มีความสูงกว่าพื้นที่บริเวณโดยรอบ ภูเขา หรือเทือกเขาหมายถึง ลักษณะภูมิประเทศ ที่มีความสูงตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไปจากพื้นที่บริเวณรอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเนินเขา แต่ว่าเนินเขานั้น จะมีพื้นที่สูงจากบริเวณรอบ ๆ ประมาณ 150 แต่ไม่เกิน 600 เมตร ภูเขาสามารถแบ่ง เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้.

ใหม่!!: มือและภูเขา · ดูเพิ่มเติม »

มือ

มือ (Hand) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อแขน สำหรับจับ หยิบ สิ่งของต่าง.

ใหม่!!: มือและมือ · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: มือและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์

รายชื่อกล้ามเนื้อของร่างกายมนุษย์ โดยทั่วไปร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยกล้ามเนื้อโครงร่างประมาณ 640 มัด อย่างไรก็ตาม ตัวเลขจำนวนกล้ามเนื้อที่แน่นอนก็ยังไม่แน่ชัดเพราะแต่ละแหล่งข้อมูลก็มีการจัดกลุ่มกล้ามเนื้อแตกต่างกัน ทำให้จำนวนกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์มีตั้งแต่ 640-850 มัด ซึ่งตารางนี้มีรายชื่อกล้ามเนื้อประมาณ 320 มัด หน้าที่ของกล้ามเนื้อในตารางนี้เป็นหน้าที่มาตรฐานเมื่อร่างกายอยู่ในตำแหน่าค (anatomical position) ในตำแหน่งร่างกายอื่นๆ กล้ามเนื้ออาจมีหน้าที่ที่ต.

ใหม่!!: มือและรายชื่อกล้ามเนื้อในร่างกายมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดแดงอัลนา

หลอดเลือดแดงอัลนา (ulnar artery)เป็ยเส้นเลือดหลักที่นำเลือดที่มีออกซิเจนไปยังแขน ไปสิ้นสุดยังฝ่ามือ ซึ่งเชื่อมต่อกับหลอดเลือดแดงที่เรียงตัวเป็นรัศมี สามารถเห็นได้ชัดที่ข้อมือ มีเส้นเลือดดำชื่อเดียวกันนี้เรียกหลอดเลือดดำอัลน.

ใหม่!!: มือและหลอดเลือดแดงอัลนา · ดูเพิ่มเติม »

หอย

หอยเบี้ย (''Monetaria moneta'') ที่มนุษย์ในสมัยก่อนใช้แทนเงินตรา หอย เป็นชื่อสามัญในภาษาไทยของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมมอลลัสกา (Mollusca) อาศัยอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ มีจุดเด่น คือ มีเปลือกที่เป็นแคลเซียมแข็ง ใช้ห่อหุ้มลำตัว โดยปกติแล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 หรือ 3 จำพวกใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: มือและหอย · ดูเพิ่มเติม »

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ใหม่!!: มือและออกซิเจน · ดูเพิ่มเติม »

คลื่น

ผิวน้ำถูกรบกวน เกิดเป็นคลื่นแผ่กระจายออกรอบข้าง คลื่น: 1.&2. คลื่นตามขวาง 3. คลื่นตามยาว คลื่น หมายถึง เตอร์ ลักษณะของการถูกรบกวน ที่มีการแผ่กระจายเป็นลูกเห็บ เคลื่อนที่เข้าใกล้ ในลักษณะของการกวัดแกว่ง หรือกระเพื่อม และมักจะมีการส่งถ่ายพลังงานไปด้วย คลื่นเชิงกลซึ่งเกิดขึ้นในตัวกลาง (ซึ่งเมื่อมีการปรับเปลี่ยนรูป จะมีความแรงยืดหยุ่นในการดีดตัวกลับ) จะเดินทางและส่งผ่านพลังงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในตัวกลาง โดยไม่ทำให้เกิดการเคลื่อนตำแหน่งอย่างถาวรของอนุภาคตัวกลาง คือไม่มีการส่งถ่ายอนุภาคนั่นเอง แต่จะมีการเคลื่อนที่แกว่งกวัด (oscillation) ไปกลับของอนุภาค อย่างไรก็ตามสำหรับ การแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และ การแผ่รังสีแรงดึงดูด นั้นสามารถเดินทางในสุญญากาศได้ โดยไม่ต้องมีตัวกลาง ลักษณะของคลื่นนั้น จะระบุจาก สันคลื่น หรือ ยอดคลื่น (ส่วนที่มีค่าสูงขึ้น) และ ท้องคลื่น (ส่วนที่มีค่าต่ำลง) ในลักษณะ ตั้งฉากกับทิศทางเดินคลื่น เรียก "คลื่นตามขวาง" (transverse wave) หรือ ขนานกับทิศทางเดินคลื่น เรียก "คลื่นตามยาว" (longitudinal wave).

ใหม่!!: มือและคลื่น · ดูเพิ่มเติม »

ค้อน

้อน คือเครื่องมือสำหรับตอกหรือทุบบนวัตถุอื่น สำหรับการใช้งานเช่น การตอกตะปู การจัดชิ้นส่วนให้เข้ารูป และการทุบทลายวัตถุ ค้อนอาจได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานเฉพาะทาง และมีรูปร่างกับโครงสร้างที่หลากหลาย แต่มีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมือนกันคือด้ามจับและหัวค้อน ซึ่งน้ำหนักจะค่อนไปทางหัวค้อนมากกว่า แรงที่กระทบเป้าหมายจะมากเท่าใด ขึ้นอยู่กับมวลของค้อนและความเร่งของการตอก ดังนั้นเมื่อค้อนยิ่งหนักมากและหวดด้วยความเร่งมาก แรงที่ได้จากค้อนยิ่งมากตามไปด้ว.

ใหม่!!: มือและค้อน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: มือและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปลายแขน

ปลายแขน หรือ แขนท่อนปลาย (Forearm) เป็นโครงสร้างส่วนหนึ่งของรยางค์บน (upper limb) อยู่ระหว่างข้อศอกและข้อมือ ซึ่งจะต่างจากแขนหรือต้นแขน (arm หรือ upper arm) ที่ในทางกายวิภาคจะนับจากหัวไหล่ลงมาถึงแค่ข้อศอก.

ใหม่!!: มือและปลายแขน · ดูเพิ่มเติม »

นิ้วชี้

ผู้ชายกำลังชี้ไปที่ผู้หญิงคนหนึ่งในระหว่างการโต้แย้งทางการเมือง นิ้วชี้ (index finger; หรือชื่อเรียกอื่น forefinger, pointer finger, trigger finger, digitus secundus, digitus II และ ฯลฯ) เป็นนิ้วมือแรกในการนับจำนวนของมือมนุษย์ ซึ่งมีอยู่ระหว่างนิ้วมือแรกกับนิ้วมือที่สามคือนิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลาง ซึ่งเป็นนิ้วมือที่มีความคล่องตัวและมีความละเอียดอ่อนมากที่สุด แต่ไม่ได้เป็นนิ้วที่ยาวที่สุดเนื่องด้วยสั้นกว่านิ้วกลาง โดยที่อาจมีความสั้นหรือยาวกกว่านิ้วนาง เมื่อเทียบกับอัตราส่วนของนิ้วมือ "index finger" ในภาษาอังกฤษแท้จริงแล้วหมายถึง "นิ้วสำหรับชี้" จากภาษาละตินเช่นเดียวกับคำว่า indicate ซึ่งมีชื่อทางกายวิภาคคือ "นิ้วชี้" หรือ "นิ้วหลักที่สอง".

ใหม่!!: มือและนิ้วชี้ · ดูเพิ่มเติม »

นิ้วกลาง

นิ้วกลาง คือนิ้วที่สามบนมือของมนุษย์ อยู่ระหว่างนิ้วชี้และนิ้วนาง คนส่วนใหญ่จะมีนิ้วกลางเป็นนิ้วที่ยาวที่สุด แต่บางคนอาจยาวเท่ากับนิ้วชี้หรือนิ้วนาง ในทางกายวิภาคศาสตร์ นิ้วกลางอาจมีชื่อเรียกอื่นเป็นภาษาละตินเช่น digitus medius, digitus tertius, หรือ digitus III เป็นต้น นิ้วกลางมีส่วนช่วยให้จับสิ่งของได้ง่ายขึ้น เช่น ดินสอ ปากกา หรือตะเกียบ นอกเหนือไปจากนิ้วโป้งและนิ้วชี้ ถึงแม้ว่าบางคนอาจไม่ได้ใช้นิ้วกลางเลย มือกลหรือแขนเทียมมักจะมีสามนิ้วเพื่อเป็นตัวแทนของนิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง เพื่อให้จับได้ถนัดยิ่งขึ้นและไม่หลุดจากมือด้ว.

ใหม่!!: มือและนิ้วกลาง · ดูเพิ่มเติม »

นิ้วมือ

นิ้วมือ เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งประกอบไปด้วย กระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเลือด เอ็น และผิวหนังห่อหุ้ม มีตำแหน่งอยู่ตรงปลายสุดของแขนถัดจากมือ ซึ่งสามรถเคลื่อนไหวได้โดยการสั่งการของสมองและระบบประสาท.

ใหม่!!: มือและนิ้วมือ · ดูเพิ่มเติม »

นิ้วหัวแม่มือ

นิ้วหัวแม่มือ หรือ นิ้วโป้ง (Thumb) เป็นนิ้วแรกของมือในทั้งหมด 5 นิ้ว.

ใหม่!!: มือและนิ้วหัวแม่มือ · ดูเพิ่มเติม »

นิ้วนาง

นิ้วนาง นิ้วนาง คือนิ้วที่สี่บนมือของมนุษย์ อยู่ระหว่างนิ้วกลางและนิ้วก้อย หลายคนมีนิ้วนางยาวเท่ากับนิ้วชี้ ในทางกายวิภาคศาสตร์ นิ้วนางอาจมีชื่อเรียกอื่นเป็นภาษาละตินเช่น digitus medicinalis, digitus annularis, digitus quartus หรือ digitus IV เป็นต้น นิ้วนางไม่ค่อยมีบทบาทเด่นชัดมากนัก เพราะเมื่อหยิบจับสิ่งของก็ต้องใช้งานร่วมกับนิ้วอื่นหรือไม่ใช้เลย บางภาษาไม่มีชื่อเรียกเฉพาะสำหรับนิ้วนางด้วยซ้ำ สำหรับวัฒนธรรมตะวันตก การใส่แหวนที่นิ้วนาง โดยเฉพาะนิ้วนางมือซ้าย สื่อความหมายว่าผู้นั้นได้หมั้นหรือแต่งงานแล้ว ด้วยความเชื่อที่ว่า เส้นเลือดดำที่นิ้วนางมือซ้ายเชื่อมต่อโดยตรงเข้ากับหัวใจที่อยู่ข้างซ้ายเช่นกัน อันเป็นตัวแทนแห่งความรัก แต่สำหรับวัฒนธรรมยุโรป การใส่แหวนที่นิ้วนางมือซ้ายหมายถึงการหมั้น ส่วนนิ้วนางมือขวาหมายถึงการแต่งงาน ด้วยเหตุนี้หลายภาษาจึงเรียกนิ้วนางว่าเป็น นิ้วเพื่อสวมแหวน (ring finger).

ใหม่!!: มือและนิ้วนาง · ดูเพิ่มเติม »

โรคมือ เท้า และปาก

รคมือ เท้า และปาก (Hand, foot and mouth disease) เป็นโรคติดเชื้อในมนุษย์ เกิดจากไวรัสในแฟมิลีพิคอร์นาไวริดี ซึ่งสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคนี้ที่พบบ่อยที่สุดคือไวรัสคอกแซคกี เอ และ Enterovirus 71 เชื้อก่อโรคที่พบบ่อยที่สุดคือ ค็อกแซกกีเอชนิด 16 ซึ่งทำให้เกิดอาการที่ไม่รุนแรง และหายได้เองเป็นส่วนใหญ่ ที่พบน้อยแต่รุนแรงคือ ไวรัสเอนเทอโรชนิด 71 โรคมือ เท้า และปากส่วนใหญ่พบในเด็ก เป็นโรคที่พบได้บ่อย การติดต่อค่อนข้างง่ายผ่านทางการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย หรืออุจจาระของผู้ป่วย โรคนี้ส่วนใหญ่ติดต่อจากการกินอาหาร น้ำดื่ม การดูดเลียนิ้วมือ หรือของเล่นที่ปนเปื้อนเชื้อที่ออกมากับอุจจาระน้ำเหลืองจากตุ่มน้ำที่ผิวหนัง หรือละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย พบน้อยที่จะติดต่อโดยการสูดเอาละอองน้ำมูกน้ำลายที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด มักมีการระบาดเป็นกลุ่มเล็กในสถานเลี้ยงเด็กหรือโรงเรียนอนุบาล ส่วนใหญ่พบในช่วงฤดูร้อนหรือฤดูใบไม้ร่วง ระยะฟักตัวประมาณ 3-7 วัน โรคนี้พบน้อยในผู้ใหญ่ แต่ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจติดเชื้อได้ง่าย โรคนี้เป็นคนละโรคกับโรคเท้าและปาก (Foot-and-mouth disease) ซึ่งเกิดกับวัว แกะ แม้จะเกิดจากไวรัสในแฟมิลีพิคอร์นาไวริดีเหมือนกันก็ตาม.

ใหม่!!: มือและโรคมือ เท้า และปาก · ดูเพิ่มเติม »

โรคประสาท

รคประสาท (neurosis) เป็นความผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่งที่ไม่รุนแรง แสดงอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้จิตใจแปรปรวน อ่อนไหวง่าย มักมีความรู้สึกไม่สบายใจ วิตกกังวลอยู่เสมอ ไม่สามารถควบคุมความรู้สึกอารมณ์หรือพฤติกรรมให้เหมือนเดิมได้ อาการทางกายภาพแสดงออกได้ หลายรูปแ.

ใหม่!!: มือและโรคประสาท · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: มือและโลก · ดูเพิ่มเติม »

โครงกระดูก

ระบบโครงกระดูก (skeletal system) คือระบบทางชีววิทยาที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างสิ่งมีชีวิต แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ระบบโครงกระดูกภายนอก (exoskeleton) พบในสัตว์ประเภทแมลง หรือหอย เป็นโครงสร้างแข็งภายนอกปกป้องร่างกาย ระบบโครงกระดูกภายใน (endoskeleton) พบในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่นกระดูกมนุษย์ หรือกระดูกในสัตว์ประเภทปลาที่เรียกว่า ก้าง และ ระบบโครงกระดูกของเหลว (hydrostatic skeleton) เป็นระบบโครงสร้างที่ใช้ของเหลว เช่น เลือด เป็นส่วนประกอบ พบตามสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมงกะพรุน หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์ของสัตว์ หมวดหมู่:อวัยวะ คโครงกระดูก.

ใหม่!!: มือและโครงกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาทมีเดียน

เส้นประสาทมีเดียน (Median nerve) เป็นเส้นประสาทที่วิ่งลงมาตามแขนและปลายแขน นับเป็นหนึ่งในห้ากล้ามเนื้อที่มีต้นกำเนิดมาจากร่างแหประสาทแขน (brachial plexus) เส้นประสาทมีเดียนเกิดจากแลทเทอรัล คอร์ด lateral cord) และมีเดียล คอร์ด (medial cord) ของร่างแหประสาทแขน และต่อเนื่องลงมาตามแขนและเข้าสู่ปลายแขนร่วมกับหลอดเลือดแดงแขน (brachial artery) เส้นประสาทมีเดียนเป็นเส้นประสาทเพียงเส้นเดียวที่ผ่านเข้าในคาร์ปัล ทันเนล (carpal tunnel) ซึ่งอาจถูกกดได้ในกลุ่มอาการคาร์ปัล ทันเนล (carpal tunnel syndrome) ส้เนประสาทมีเดียน ส้เนประสาทมีเดียน.

ใหม่!!: มือและเส้นประสาทมีเดียน · ดูเพิ่มเติม »

เต้านม

ต้านม (breast) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายผู้หญิงอยู่บริเวณหน้าอกทั้งสองข้าง เต้านมของเด็กหญิงจะแบนราบ และจะพัฒนาขยายขึ้นในช่วงที่ผู้หญิงเริ่มเป็นวัยรุ่น เต้านมใช้สำหรับป้อนนมเด็ก โดยเมื่อผู้หญิงมีลูกเต้านมจะผลิตน้ำนม การแสดงเต้านมในที่สาธารณะจะถูกห้ามตามกฎหมายในขณะที่บางสถานที่จะสามารถแสดงได้ เต้านมหรือหน้าอก ยังเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงถึงความเป็นผู้หญิง ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบัน สามารถแก้ไขตกแต่งลักษณะภายนอกของเต้านมให้มีลักษณะตามต้องการได้ เช่น การศัลยกรรมหน้าอกให้ใหญ่ขึ้นหรือทำให้เล็กลง การเปลี่ยนรูปทรงให้สวยงามขึ้น การลดการหย่อนคล้อยลง ทั้งนี้การจะทำการศัลยกรรมหน้าอกนั้น จำเป็นต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น.

ใหม่!!: มือและเต้านม · ดูเพิ่มเติม »

เป่ายิ้งฉุบ

ป่ายิ้งฉุบ หรือ เป่ายิงฉุบ หรือ เป่า ยิง ฉุบ เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งที่นิยมกันมากในหมู่เด็ก ๆ หลายชาติหลายภาษาทั่วโลก อาศัยเพียงเสี่ยงมือระหว่างผู้เล่นสองฝ่ายเพื่อเอาชนะกัน การเสี่ยงมือทำได้ 3 แบบ คือ ค้อน (กำมือ), กระดาษ (แบมือ) และกรรไกร (ยื่นเฉพาะนิ้วชี้และนิ้วกลาง).

ใหม่!!: มือและเป่ายิ้งฉุบ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Handหัตถา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »