เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

มีแชล ฟูโก

ดัชนี มีแชล ฟูโก

มีแชล ฟูโก (Michel Foucault,; 15 ตุลาคม ค.ศ. 1926 – 25 มิถุนายน ค.ศ. 1984) เป็นนักปรัชญา นักประวัติศาสตร์ความคิด นักทฤษฎีสังคม นักนิรุกติศาสตร์ และนักวิจารณ์วรรณกรรมชาวฝรั่งเศส เคยดำรงตำแหน่ง "ศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์ของระบบความคิด" (Professor of the History of Systems of Thought) ที่วิทยาลัยฝรั่งเศส (Collège de France) และเคยสอนที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ สหรัฐอเมริกา ในฐานะนักทฤษฎีสังคม ฟูโกให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจกับความรู้ รวมถึงวิธีการที่สถาบันทางสังคมต่างๆ ใช้อำนาจและความรู้เป็นเครื่องมือในการควบคุมผู้คนในสังคม ฟูโกมักถูกมองว่าเป็นตัวแทนของญาณวิทยาแบบหลังโครงสร้างนิยมและเป็นตัวแทนของนักคิดยุคหลังสมัยใหม่ แต่ตัวเขาเองปฏิเสธเรื่องนี้มาโดยตลอด ฟูโกเลือกจะอธิบายว่าความคิดของเขาเป็นประวัติศาสตร์เชิงวิพากษ์ต่อความเป็นสมัยใหม่มากกว่า ความคิดของฟูโกมีอิทธิพลอย่างยิ่งทั้งในทางวิชาการและในทางการเคลื่อนไหวทางสังคม เช่น ในขบวนการหลังอนาธิปไต.

สารบัญ

  1. 13 ความสัมพันธ์: ญาณวิทยามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์อิมมานูเอล คานต์จริยธรรมธเนศ วงศ์ยานนาวาฆอร์เฆ ลุยส์ บอร์เฆสประเทศฝรั่งเศสปรัชญาปรัชญาการเมืองปรัชญาตะวันตกปัวตีเยเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลเซอเรน เคียร์เคอกอร์

  2. ทฤษฎีความรู้สร้างสรรค์ทางสังคม
  3. ทฤษฎีหลังสมัยใหม่
  4. นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส
  5. บุคคลจากปัวตีเย
  6. ศิษย์เก่าจากเอกอลนอร์มาลซูว์เปรีเยอร์

ญาณวิทยา

ญาณวิทยา หรือ ญาณศาสตร์ (epistemology) หมายถึงวิชาว่าด้วยความรู้ หรือทฤษฎีความรู้ ขอบเขตการศึกษาของญาณวิท.

ดู มีแชล ฟูโกและญาณวิทยา

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์

ในตัวมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (University of California, Berkeley.) เป็นมหาวิทยาลัยรัฐ ตั้งอยู่ในเมืองเบิร์กลีย์ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองซานฟรานซิสโก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยก่อตั้งในปี พ.ศ.

ดู มีแชล ฟูโกและมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์

อิมมานูเอล คานต์

อิมมานูเอิล คานท์ อิมมานูเอล คานต์ (Immanuel Kant; 22 เมษายน ค.ศ. พ.ศ. 2267 - 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2347) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมัน จากแคว้นปรัสเซีย ได้รับการยกย่องโดยทั่วไปว่า เป็นนักคิดที่มีอิทธิพลมากที่สุดของยุโรป และเป็นนักปรัชญาคนสำคัญคนสุดท้ายของยุคแสงสว่าง เขาสร้างผลกระทบที่สำคัญไปถึงนักปรัชญาสายโรแมนติกและสายจิตนิยม ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 งานของเขาเป็นจุดเริ่มของเฮเกล คานต์เป็นที่รู้จักเนื่องจากแนวคิดของเขา ที่เรียกว่าจิตนิยมอุตรวิสัย (transcendental idealism) ที่กล่าวว่ามนุษย์ใช้แนวคิดบางอย่างที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (innate idea) ในการรับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวในโลก เรารับรู้โลกโดยผ่านทางประสาทสัมผัสประกอบกับมโนภาพที่ติดตัวมานี้ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถล่วงรู้หรือเข้าใจใน "สรรพสิ่งที่แท้" ได้ ความรู้ต่อสรรพสิ่งที่เรามีนั้นจึงเป็นได้แค่เพียงภาพปรากฏ ที่เรารับรู้ได้ผ่านทางประสาทสัมผัสเท่านั้น ญาณวิทยา (epistemology) หรือทฤษฎีความรู้ของคานต์นั้น เกิดขึ้นเพื่อแก้ความขัดแย้งระหว่างปรัชญาสายเหตุผลนิยมที่กล่าวว่า ความรู้สามารถสร้างขึ้นได้ไม่จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ กับปรัชญาสายประสบการณ์นิยมที่กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารู้มีที่มาจากประสบการณ์ คานต์ได้เชื่อมแนวคิดที่ขัดแย้งกันทั้งสอง ดังคำกล่าวที่เขาเองเปรียบเปรยว่าเป็นการปฏิวัติแบบโคเปอร์นิคัส (Copernical Revolution) โดยสรุปคร่าวๆ ได้เป็นประโยคขึ้นต้นของหนังสือ บทวิพากษ์ของการใช้เหตุผล (Critique of Pure Reason) ว่า "แม้ว่าความรู้ทั้งหมดที่เรามีจะมีจุดเริ่มต้นจากประสบการณ์ แต่นั่นมิได้หมายความว่าความรู้ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นมาจากประสบการณ์" ใน Critique of Pure Reason ยังได้นำเสนอเนื้อหาของหลักทางศีลธรรม (จริยศาสตร์) ที่ยังคงมีอิทธิพลต่อแนวความคิดด้านจริยธรรมของโลกตะวันตกมาจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนอาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นบิดาแห่งแนวคิดเรื่องสหประชาชาติ ดังที่ปรากฏในความเรียงว่าด้วยเรื่องสันติภาพถาวรของเขาได้เสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศขึ้นเพื่อยุติความขัดแย้งและความโหดร้ายของสงคราม กระทั่งสันนิบาตชาติและตามด้วยสหประชาชาติได้เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน.

ดู มีแชล ฟูโกและอิมมานูเอล คานต์

จริยธรรม

ริยธรรม หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของวิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว มาจากคำ 2 คำคือ จริย กับธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม) จริยธรรม น.

ดู มีแชล ฟูโกและจริยธรรม

ธเนศ วงศ์ยานนาวา

นศ วงศ์ยานนาวา (เกิด 22 มิถุนายน พ.ศ. 2500) เป็นศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการชาวไทยที่มีความถนัดและผลงานทางด้านสังคมศาสตร์โดยเฉพาะด้านปรัชญาการเมือง ทฤษฎีสังคม ประวัติศาสตร์ความคิด โดยเฉพาะในเรื่องของแนวคิดหลังยุคนวนิยมหรือ โพสต์โมเดิร์น จนได้รับฉายาว่าเป็น "'เจ้าพ่อโพสต์โมเดิร์น'" คนหนึ่งของเมืองไทย นอกจากนี้เขายังมีความสนใจในเรื่องของวัฒนธรรมทางสังคมเช่น ดนตรี ภาพยนตร์ เพศและ อาหาร อีกด้วย ธเนศยังเป็นบรรณาธิการรัฐศาสตร์สารของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเขียนคอลัมน์เกี่ยวกับดนตรีและภาพยนตร์ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์โดยใช้นามปากกา "ธนา วงศ์ญาณณาเวช" ซึ่งเป็นคำผวนของชื่อจริงและนามสกุลของธเนศเอง นอกจากนี้ธเนศยังมีรายการ ทางช่องใน Youtube ทำร่วมกับแขกผู้ดำเนินรายการอื่นๆ และยังมีกลุ่ม ใน Facebook ที่ซึ่งสมาชิกจะสามารถถามคำถามต่างๆได้ตั้งแต่ก้อนขี้หมายันก้อนอุกาบาต โดยอาจารย์จะเข้ามาตอบคำถามเพื่อคลายข้อสงสัยนั้น.

ดู มีแชล ฟูโกและธเนศ วงศ์ยานนาวา

ฆอร์เฆ ลุยส์ บอร์เฆส

ฆอร์เฆ ฟรันซิสโก อิซิโดโร ลุยส์ บอร์เฆส (Jorge Francisco Isidoro Luis Borges; 24 สิงหาคม 1899 – 14 มิถุนายน 1986), หรือที่รู้จักกันในนาม ฆอร์เฆ ลุยส์ บอร์เฆส เป็นนักเขียนเรื่องสั้น กวี และนักแปลชาวอาร์เจนตินา เกิดที่กรุงบัวโนสไอเรส ผลงานที่โดดเด่นของเขาคือ Ficciones (1944) และ Aleph (1949) เป็นการรวบรวมเรื่องสั้นที่เชื่อมต่อด้วยแก่นเรื่องทั่วไป เช่น ความฝัน เขาวงกต ห้องสมุด กระจก นักเขียนบันเทิงคดี ปรัชญา และศาสนา ผลงานของเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับวรรณกรรมปรัชญาและบางส่วนก็มีจินตนาการและพลังวิเศษ ซึ่งนำไปสู่การเขียนบันเทิงคดีแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ หมวดหมู่:กวีชาวอาร์เจนตินา หมวดหมู่:บุคคลจากบัวโนสไอเรส.

ดู มีแชล ฟูโกและฆอร์เฆ ลุยส์ บอร์เฆส

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ดู มีแชล ฟูโกและประเทศฝรั่งเศส

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ดู มีแชล ฟูโกและปรัชญา

ปรัชญาการเมือง

ลิติก ในสมัยกรีกโบราณ ปรัชญาการเมือง (political philosophy) เป็นสาขาวิชาหนึ่งขององค์ความรู้ในวิชารัฐศาสตร์ ปรัชญาการเมืองเป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุดเนื่องจากเป็นวิชาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ราวศตววษที่ 5 ก่อนคริสตกาลในดินแดนคาบสมุทธเพลอพอนเนซุส หรือดินแดนของประเทศกรีซในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของวิชาปรัชญาการเมืองเกิดขึ้นในนครรัฐที่ชื่อว่าเอเธนส์ในช่วงที่เอเธนส์เริ่มเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบบอภิสิทธ์ชนธิปไตย (Aristocracy) มาเป็นประชาธิปไตยโบราณ (Demokratia).

ดู มีแชล ฟูโกและปรัชญาการเมือง

ปรัชญาตะวันตก

ปรัชญาตะวันตก ถือกำเนิดโดยเธลีสแห่งมิเลทัส เมื่อ 585 ปีก่อนคริสต์ศักราช วิธีการของเธลีสแตกต่างกับปรัชญาตะวันออกอย่างมาก คือ ปรับคำถามที่สลับซับซ้อนให้เป็นคำถามง่าย ๆ เป็นคำถามที่มีรากฐาน เธลีสเป็นบุคคลที่รักการขบคิดอย่างมาก ปัจจุบันมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเธลีสหลงเหลืออยู่ไม่มากนัก.

ดู มีแชล ฟูโกและปรัชญาตะวันตก

ปัวตีเย

ปัวตีเย (Poitiers) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส ในจังหวัดเวียนของแคว้นปัวตู-ชาร็องต์ ใจกลางเมืองเป็นเมืองที่น่าดูที่ยังคงมีสถาปัตยกรรมที่สำคัญทางประวัติศาสตร์หลงเหลืออยู่ โดยเฉพาะจากสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ ปัวตีเยมีบทบาทสำคัญในประวัติของยุคกลางตอนปล.

ดู มีแชล ฟูโกและปัวตีเย

เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล

กออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล (Georg Wilhelm Friedrich Hegel,;27 สิงหาคม ค.ศ. 1770 – 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1831) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันในช่วงปลายยุคภูมิธรรม เฮเกิลเป็นนักปรัชญาคนสำคัญของโลกตะวันตก งานเขียนหลายชิ้นของเขามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อปรัชญากลุ่มต่างๆ อาทิ ปรัชญาภาคพื้นทวีป (Continental Philosophy) ปรัชญาวิเคราะห์ (Analytical Philosophy) และลัทธิมากซ.

ดู มีแชล ฟูโกและเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล

เซอเรน เคียร์เคอกอร์

เซอเรน เคียร์เคอกอร์ เซอเรน โอบึย เคียร์เคอกอร์ (Søren Aabye Kierkegaard: 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1813 - 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1855) เป็นนักปรัชญาชาวเดนมาร์กในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถือกันโดยทั่วไปว่าเขาเป็นนักปรัชญาอัตถิภาวนิยมคนแรก แม้ว่างานวิจัยในชั้นหลัง ๆ จะแสดงว่าการเชื่อมโยงดังกล่าวอาจกระทำได้ยากกว่าที่เคยคิดกันก็ตาม ในด้านความคิดทางปรัชญานั้น เคียร์เคอกอร์ถือเป็นสะพานเชื่อมระหว่างปรัชญาแบบเฮเกิลกับปรัชญาที่จะคลี่คลายไปเป็นอัตถิภาวนิยมในภายหลัง เขาปฏิเสธอย่างแข็งขันทั้งปรัชญาแบบเฮเกิลที่กำลังเฟื่องฟูในสมัยนั้นและสิ่งที่เขาเรียกว่ารูปแบบอันว่างเปล่าของคริสตจักรเดนมาร์ก งานของเขาส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับปัญหาทางศาสนา เช่น ธรรมชาติของศรัทธา ความเป็นสถาบันของคริสต์ศาสนจักร และเรื่องจริยธรรมและเทววิทยาคริสเตียน เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ บางคนจึงจัดให้งานของเคียร์เคอกอร์อยู่ในประเภทของอัตถิภาวนิยมคริสเตียน งานของเคียร์เคอกอร์อาจยากแก่การตีความ เนื่องจากงานที่เขาเขียนในระยะแรกนั้นเขียนโดยใช้นามแฝงต่าง ๆ กัน และบ่อยครั้งที่งานที่เขาเขียนโดยใช้นามแฝงชื่อหนึ่งจะได้รับความเห็นหรือข้อวิจารณ์จากงานเขียนที่เขาใช้นามแฝงอีกชื่อหนึ่ง หมวดหมู่:นักปรัชญาชาวเดนมาร์ก หมวดหมู่:บุคคลจากโคเปนเฮเกน.

ดู มีแชล ฟูโกและเซอเรน เคียร์เคอกอร์

ดูเพิ่มเติม

ทฤษฎีความรู้สร้างสรรค์ทางสังคม

ทฤษฎีหลังสมัยใหม่

นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส

บุคคลจากปัวตีเย

ศิษย์เก่าจากเอกอลนอร์มาลซูว์เปรีเยอร์

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Michel Foucaultมิเชล ฟูโกต์ฟูโกต์