โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มีซอน (อนุภาค)และแรงแม่เหล็กไฟฟ้า

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มีซอน (อนุภาค)และแรงแม่เหล็กไฟฟ้า

มีซอน (อนุภาค) vs. แรงแม่เหล็กไฟฟ้า

ในฟิสิกส์ของอนุภาค มีซอน (Meson) (หรือ) คืออนุภาคย่อยในกลุ่มแฮดรอนที่ประกอบด้วยควาร์ก 1 ตัวและปฏิควาร์ก 1 ตัว เกาะเกี่ยวอยู่ด้วยกันด้วยแรงอย่างเข้ม เนื่องจากมีซอนประกอบด้วยอนุภาคย่อย มันจึงมีขนาดทางกายภาพ ด้วยเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณหนึ่งเฟมโตเมตร(10−15 เมตร) ซึ่งมีขนาดประมาณ ของหนึ่งโปรตอนหรือหนึ่งนิวตรอน มีซอนทั้งหมดไม่เสถียร ที่มีอายุยืนที่สุดเพียงไม่กี่หนึ่งส่วนร้อยของหนึ่งไมโครวินาทีเท่านั้น มีซอนที่มีประจุจะสลายตัว (บางครั้งผ่านทางอนุภาคระดับกลาง) กลายเป็นอิเล็กตรอนและนิวทริโน มีซอนที่ไม่มีประจุอาจสลายตัวไปเป็นโฟตอน มีซอนไม่ได้เกิดจากการสลายให้กัมมันตรังสี แต่ปรากฏอยู่ในธรรมชาติเพียงแต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่อายุสั้นมากของปฏิสัมพันธ์พลังงานสูงมากในสสาร ระหว่างกลุ่มอนุภาคที่ทำจากควาร์ก ตัวอย่างเช่น ในปฏิสัมพันธ์ รังสีคอสมิก อนุภาคดังกล่าวเป็นโปรตอนและนิวตรอนทั่วไป มีซอนยังเกิดขึ้นบ่อยอีกด้วยโดยการสร้างขึ้นในเครื่องเร่งอนุภาคพลังงานสูงที่มีการชนกันของกลุ่มโปรตอน, กลุ่มปฏิโปรตอนหรืออนุภาคอื่น ๆ ในธรรมชาติความสำคัญของมีซอนน้ำหนักเบาก็คือการที่พวกมันเป็นอนุภาคสนามควอนตัมที่สัมพันธ์กันที่สามารถส่ง แรงนิวเคลียร์ แบบเดียวกับที่โฟตอนเป็นอนุภาคที่ส่งแรงแม่เหล็กไฟฟ้า มีซอนที่มีพลังงานสูงกว่า (มวลมากกว่า) ได้ถูกสร้างขึ้นเพียงชั่วขณะหนึ่งตอน บิกแบง แต่ไม่ถูกพิจารณาว่ามีบทบาทสำคัญในธรรมชาติวันนี้ อย่างไรก็ตามอนุภาคดังกล่าวจะถูกสร้างขึ้นอย่างสม่ำเสมอในการทดลอง เพื่อที่จะเข้าใจธรรมชาติของควาร์กชนิดหนักที่ประกอบกันขึ้นเป็นมีซอนชนิดที่หนักกว่า มีซอนเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวอนุภาค แฮดรอน และถูกกำหนดให้เป็นเพียงอนุภาคที่ประกอบด้วยสองควาร์ก สมาชิกอื่น ๆ ของครอบครัวแฮดรอนคือ แบริออน ที่เป็นอนุภาคย่อยที่ประกอบด้วยสามควาร์กแทนที่จะเป็นสองควาร์ก การทดลองบางอย่างแสดงหลักฐานของ มีซอนแปลกใหม่ ซึ่งไม่ได้มีเนื้อหาควาร์กที่มีวาเลนซ์แบบเดิมที่มีหนึ่งควาร์กและหนึ่งปฏิควาร์ก เพราะว่าควาร์กมีสปินเท่ากับ ความแตกต่างในจำนวนควาร์กระหว่างมีซอนและแบริออนเป็นผลให้เกิดมีซอนสองควาร์กทั่วไปกลายเป็น โบซอน ในขณะที่แบริออนเป็น เฟอร์มิออน แต่ละชนิดของมีซอนมีปฏิยานุภาคที่สอดคล้องกัน (ปฏิมีซอน) ซึ่งควาร์กจะถูกแทนที่ด้วยปฏิควาร์กที่สอดคล้องกันของมันและถูกแทนที่ได้ในทางกลับกัน ตัวอย่างเช่น ไพออน บวก (π+) ถูกสร้างขึ้นจากอัพควาร์กหนึ่งตัวและดาวน์ปฏิควาร์กหนึ่งตัว และปฏิยานุภาคที่สอดคล้องกันของมันคือ ไพออนลบ (π-) ถูกสร้างขึ้นจากหนึ่งอัพปฏิควาร์กและหนึ่งดาวน์ควาร์ก เพราะว่ามีซอนประกอบด้วยควาร์ก มันจึงมีส่วนร่วมทั้งใน อันตรกิริยาอย่างอ่อน และ อันตรกิริยาอย่างเข้ม มีซอนที่มีประจุไฟฟ้าสุทธิก็ยังมีส่วนร่วมใน แรงแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นกัน พวกมันจะถูกแยกประเภทตามเนื้อหาของควาร์ก, โมเมนตัมเชิงมุมรวม, เท่าเทียมกัน และคุณสมบัติอื่น ๆ อีกมากมายเช่น C-เท่าเทียมกัน และ G-เท่าเทียมกัน แม้ว่าจะไม่มีมีซอนที่เสถียรก็ตาม พวกที่มีมวลต่ำกว่าก็ยังเสถียรมากกว่ามีซอนทีมีมวลขนาดใหญ่ที่สุด และมีความง่ายกว่าที่จะสังเกตเห็นและศึกษาในเครื่องเร่งอนุภาค หรือในการทดลองรังสีคอสมิก พวกมันก็ยังมักจะมีมวลน้อยกว่าแบริออนอีกด้วย หมายความว่าพวกมันจะถูกผลิตขึ้นได้ง่ายกว่าในการทดลอง ดังนั้นพวกมันจึงแสดงปรากฏการณ์บางอย่างที่ให้พลังงานที่สูงกว่าได้อย่างรวดเร็วกว่าแบริออนที่ประกอบด้วยกลุ่มควาร์กเดียวกันจะสามารถทำได้ ยกตัวอย่างเช่น ชาร์มควาร์กถูกพบเห็นเป็นครั้งแรกใน J/Psi meson (J/ψ) ในปี 1974 และ บอตทอมควาร์ก ใน upsilon meson (ϒ) ในปี 1977. ทความนี้ควรนำไปรวมกับ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า ในวิชา ฟิสิกส์ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า คือแรงที่ สนามแม่เหล็กไฟฟ้า กระทำต่ออนุภาคที่มีประจุทางไฟฟ้า มันคือแรงที่ยึด อิเล็กตรอน กับ นิวคลิไอ เข้าด้วยกันใน อะตอม และยึดอะตอมเข้าด้วยกันเป็น โมเลกุล แรงแม่เหล็กไฟฟ้าทำงานผ่านการแลกเปลี่ยน messenger particle ที่เรียกว่า โฟตอน การแลกเปลี่ยน messenger particles ระหว่างวัตถุทำให้เกิดแรงที่รับรู้ได้ด้วยวิธีแทนที่จะดูดหรือผลักอนุภาคออกจากกันเพียงแค่นั้น การแลกเปลี่ยนจะเปลี่ยนคุณลักษณะของพฤติกรรมของอนุภาคที่แลกเปลี่ยนนั้นอีกด้ว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มีซอน (อนุภาค)และแรงแม่เหล็กไฟฟ้า

มีซอน (อนุภาค)และแรงแม่เหล็กไฟฟ้า มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อันตรกิริยาอย่างอ่อนอันตรกิริยาอย่างเข้มอิเล็กตรอนโฟตอนโปรตอน

อันตรกิริยาอย่างอ่อน

อิเล็กตรอนปฏินิวทรืโนอย่างละหนึ่งตัว ในฟิสิกส์ของอนุภาค อันตรกิริยาอย่างอ่อน (weak interaction) หรือบางครั้งเรียกกันทั่วไปว่า แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน (weak nuclear force) เป็นกลไกที่รับผิดชอบแรงอ่อนหรือแรงนิวเคลียร์อ่อน แรงนี้เป็นหนึ่งในสี่แรงพื้นฐาน่ของธรรมชาติที่รู้จักกันดีในการปฏิสัมพันธ์, แรงที่เหลือได้แก่อันตรกิริยาอย่างเข้ม, แรงแม่เหล็กไฟฟ้าและแรงโน้มถ่วง อันตรกิริยาอย่างอ่อนเป็นผู้รับผิดชอบต่อการสลายให้กัมมันตรังสีของอนุภาคย่อยของอะตอม และมันมีบทบาทสำคัญในปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ทฤษฎีของอันตรกิริยาอย่างอ่อนบางครั้งเรียกว่าควอนตัม flavordynamics (QFD), คล้ายกับ QCD และ QED, แต่คำนี้ที่ไม่ค่อยได้ใช้เพราะแรงอ่อนเป็นที่เข้าใจกันดีที่สุดในแง่ของทฤษฎีไฟฟ้าอ่อน (electro-weak theory (EWT)) ในแบบจำลองมาตรฐานของฟิสิกส์ของอนุภาค อันตรกิริยาอย่างอ่อนเกิดจากการปล่อยหรือการดูดซึมของ W และ Z โบซอน อนุภาคทุกตัวในตระกูลเฟอร์มิออนที่รู้จักกันแล้วมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันผ่านทางอันตรกิริยาอย่างอ่อน อนุภาคเหล่านั้นมีสปินครึ่งจำนวนเต็ม (หนึ่งในคุณสมบัติพื้นฐานของอนุภาค) พวกมันสามารถเป็นอนุภาคมูลฐานเช่นอิเล็กตรอนหรืออาจจะเป็นอนุภาคผสมเช่นโปรตอน มวลของ W+ W- และ Z โบซอน แต่ละตัวจะมีขนาดใหญ่กว่ามวลของโปรตอนหรือของนิวตรอนอย่างมาก สอดคล้องกับช่วงระยะทำการที่สั้นของแรงที่อ่อน แรงถูกเรียกว่าอ่อนเพราะความแรงของสนามในระยะทางที่กำหนดโดยทั่วไปจะมีขนาดเป็นเลขยกกำลังที่น้อยกว่าแรงนิวเคลียร์อย่างเข้มและแรงแม่เหล็กไฟฟ้ามาก ๆ ในช่วงยุคของควาร์ก แรงไฟฟ้าอ่อน (electroweak force) แยกออกเป็นแรงแม่เหล็กไฟฟ้​​าและแรงอ่อน ตัวอย่างที่สำคัญของอันตรกิริยาอย่างอ่อนได้แก่การสลายให้อนุภาคบีตา และการผลิตดิวเทอเรียมจากไฮโดรเจนที่จำเป็นเพื่อให้พลังงานในกระบวนการเทอร์โมนิวเคลียร์ของดวงอาทิตย์ เฟอร์มิออนส่วนใหญ่จะสลายตัวโดยอันตรกิริยาอย่างอ่อนไปตามเวลา การสลายตัวดังกล่าวยังทำให้การหาอายุด้วยวืธีเรดิโอคาร์บอน (radiocabon dating) มีความเป็นไปได้เมื่อคาร์บอน-14 สูญสลายผ่านอันตรกิริยาอย่างอ่อนกลายเป็นไนโตรเจน-14 นอกจากนี้มันยังสามารถสร้างสารเรืองแสงรังสี (radioluminescence) ที่ใช้กันทั่วไปในการส่องสว่างทริเทียม (tritium illumination) และในสาขาที่เกี่ยวข้องกับ betavoltaics ควาร์กเป็นผู้สร้างอนุภาคผสมเช่นนิวตรอนและโปรตอน ควาร์กมีหกชนิดที่เรียกว่า "ฟเลเวอร์" (flavour) ได้แก่ อัพ, ดาวน์, สเตรนจ์, ชาร์ม, ทอปและบอตทอม - ซึ่งเป็นคุณสมบัติของอนุภาคผสมเหล่านั้น อันตรกิริยาอย่างอ่อนเป็นหนึ่งเดียวในแง่ที่ว่ามันจะยอมให้ควาร์กสามารถที่จะสลับฟเลเวอร์ของพวกมันไปเป็นอย่างอื่นได้ ตัวอย่างเช่นในระหว่างการสลายตัวในอนุภาคบีตาลบ ดาวน์ควาร์กตัวหนึ่งสลายตัวกลายเป็นอัพควาร์ก เป็นการแปลงนิวตรอนให้เป็นโปรตอน นอกจากนี้อันตรกิริยาอย่างอ่อนยังเป็นปฏิสัมพันธ์พื้นฐานอย่างเดียวเท่านั้นที่ทำลายการสมมาตรแบบเท่าเทียมกัน และในทำนองเดียวกัน มันเป็นอย่างเดียวเท่านั้นที่ทำลาย CP-สมมาตร.

มีซอน (อนุภาค)และอันตรกิริยาอย่างอ่อน · อันตรกิริยาอย่างอ่อนและแรงแม่เหล็กไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

อันตรกิริยาอย่างเข้ม

นืวเคลียสของอะตอมฮีเลียม โปรตอนสองตัวมีประจุเท่ากัน แต่ยังคงติดอยู่ด้วยกันเนื่องจากแรงของนิวเคลียสที่เหลือค้างอยู่ ในฟิสิกส์ของอนุภาค อันตรกิริยาอย่างเข้ม เป็นกลไกที่รับผิดชอบต่อแรงนิวเคลียสอย่างเข้ม (หรือบางครั้งเรียกกันทั่วไปว่า แรงอย่างเข้ม, แรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม, หรือ แรงสี) ที่ดึงดูดอนุภาคควาร์กมากกว่าหนึ่งตัว ให้รวมกันอยู่ในรูปของโปรตอนและนิวตรอน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของอะตอมได้ อันตรกิริยาอย่างเข้มเป็นหนึ่งในสี่ของแรงพื้นฐานจากธรรมชาติที่รู้จักกันดี แรงที่เหลือได้แก่ อันตรกิริยาอย่างอ่อน, แรงแม่เหล็กไฟฟ้า และ แรงโน้มถ่วง ทั้ง ๆ ที่มันจะทำงานที่ระยะห่างเพียงหนึ่งเฟมโตเมตร (10-15 เมตร) มันก็เป็นแรงที่เข้มที่สุด คือประมาณ 100 เท่าของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า, หนึ่งล้านเท่าของอันตรกิริยาอย่างอ่อน และ 1038 ของแรงโน้มถ่วง มันสร้างความมั่นใจในความเสถียรของสสารทั่วไป โดยการควบคุมพวกควาร์กให้รวมตัวกันเป็นอนุภาคแฮดรอน เช่นเป็นโปรตอนและนิวตรอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดของมวลของสสารทั่วไป ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนใหญ่ของมวล-พลังงานของโปรตอนหรือนิวตรอนที่พบทั่วไปจะอยู่ในรูปแบบของพลังงานสนามแรงอย่างเข้ม นั่นคือควาร์กแต่ละตัวจะมีส่วนประมาณ 1% ของมวล-พลังงานของโปรตอนเพียงหนึ่งตัวเท่านั้น.

มีซอน (อนุภาค)และอันตรกิริยาอย่างเข้ม · อันตรกิริยาอย่างเข้มและแรงแม่เหล็กไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

อิเล็กตรอน

page.

มีซอน (อนุภาค)และอิเล็กตรอน · อิเล็กตรอนและแรงแม่เหล็กไฟฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

โฟตอน

ฟตอน (Photon) หรือ อนุภาคของแสง เป็นการพิจารณาแสงในลักษณะของอนุภาค เนื่องจากในทางฟิสิกส์นั้น คลื่นสามารถประพฤติตัวเหมือนอนุภาคเมื่ออยู่ในสภาวะใดสภาวะหนึ่ง ซึ่งในทางตรงกันข้ามอนุภาคก็แสดงสมบัติของคลื่นได้เช่นกัน เรียกว่าเป็นคุณสมบัติทวิภาคของคลื่น-อนุภาค (wave–particle duality) ดังนั้นเมื่อพิจารณาแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในลักษณะอนุภาค อนุภาคนั้นถูกเรียกว่า โฟตอน ทั้งนี้การพิจารณาดังกล่าวเกิดจากการศึกษาปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่โลหะปลดปล่อยอิเล็กตรอนออกมาเมื่อถูกฉายด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อย่างเช่น รังสีเอกซ์ (X-ray) อิเล็กตรอนที่ถูกปล่อยออกมาถูกเรียกว่า โฟโตอิเล็กตรอน (photoelectron) ปรากฏการณ์ดังกล่าวถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Hertz Effect ตามชื่อของผู้ค้นพบ คือ นาย ไฮน์ริช เฮิร์ตซ์ โฟตอนมีปฏิยานุภาค คือ ปฏิโฟตอน (Anti-Photon) ซึ่งมีสปินเหมือนอนุภาคต้นแบบทุกประการ โฟตอนจึงเป็นปฏิยานุภาคของตัวมันเอง.

มีซอน (อนุภาค)และโฟตอน · แรงแม่เหล็กไฟฟ้าและโฟตอน · ดูเพิ่มเติม »

โปรตอน

| magnetic_moment.

มีซอน (อนุภาค)และโปรตอน · แรงแม่เหล็กไฟฟ้าและโปรตอน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มีซอน (อนุภาค)และแรงแม่เหล็กไฟฟ้า

มีซอน (อนุภาค) มี 21 ความสัมพันธ์ขณะที่ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า มี 18 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 12.82% = 5 / (21 + 18)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มีซอน (อนุภาค)และแรงแม่เหล็กไฟฟ้า หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »