เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

มิดเดิลเอิร์ธและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มิดเดิลเอิร์ธและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

มิดเดิลเอิร์ธ vs. เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อันเป็นฉากหลังของเรื่องราวตำนานทั้งหลายในงานเขียนของโทลคีน ปกรณัมของโทลคีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมและครอบครองโลก (ในตำนานเรียกว่า "อาร์ดา") ซึ่งมีทวีปหลักชื่อว่า "มิดเดิลเอิร์ธ" เป็นที่อยู่อาศัยของพวก 'มรรตัยชน' (คือมนุษย์ที่รู้ตาย) เป็นสถานที่ตรงข้ามกับ "อามัน" หรือ 'แดนอมตะ' อันเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกวาลาร์ กับพวกเอลฟ์ คำนี้มีรากมาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า middel-erde ซึ่งพัฒนามาจากคำในภาษาอังกฤษเก่าว่า middangeard แก่นสำคัญของงานเขียนของโทลคีนคือเรื่องของการช่วงชิง ควบคุม และครอบครองอำนาจหรือของวิเศษ ทำให้เกิดสงครามขึ้นบนมิดเดิลเอิร์ธหลายครั้งหลายหน คือสงครามระหว่างเหล่าเทพวาลาร์ เอลฟ์ และพันธมิตรชาวมนุษย์ฝ่ายหนึ่ง กับเทพอสูรเมลคอร์กับบริวาร ได้แก่พวกออร์ค มังกร และมนุษย์ที่เป็นทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในตำนานยุคหลัง เมื่อเมลคอร์สิ้นอำนาจและถูกขับไล่ออกไปจากอาร์ดาแล้ว บทบาทการช่วงชิงนี้ก็ตกไปอยู่กับเซารอน สมุนเอกของเขา เหล่าเทพวาลาร์ได้ยุติบทบาทของตนลงหลังจากที่เมลคอร์สิ้นอำนาจ เพราะการสงครามระหว่างพวกพระองค์ครั้งนั้นได้ทำให้โลกพินาศเสียหายไปมาก อย่างไรก็ดีพวกพระองค์ก็ยังส่ง อิสตาริ หรือเหล่าพ่อมด เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการต่อต้านอำนาจของเซารอน อิสตาริที่มีบทบาทมากคือ แกนดัล์ฟพ่อมดเทา และซารูมานพ่อมดขาว แกนดัล์ฟได้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี โดยได้ช่วยเหลือชาวมิดเดิลเอิร์ธอย่างถึงที่สุดเพื่อโค่นอำนาจเซารอนลงให้ได้ แต่ซารูมานกลับพ่ายแพ้ต่อความคิดฉ้อฉลแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ ช่วงชิงอำนาจบนมิดเดิลเอิร์ธแข่งกับเซารอนเสียเอง สำหรับพลเมืองชาวมิดเดิลเอิร์ธพวกอื่นๆ ได้แก่ คนแคระ เอนท์ และฮอบบิท อันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในการสร้างสรรค์งานของโทลคีน เขาได้จัดทำแผนที่ของมิดเดิลเอิร์ธขึ้นเป็นจำนวนมาก แสดงถึงดินแดนและสถานที่ต่างๆ ที่ตำนานของเขาเอ่ยถึง แผนที่บางส่วนได้รับการตีพิมพ์ในช่วงชีวิตของเขา แต่ก็ยังมีแผนที่อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ตีพิมพ์เลยจนกระทั่งเขาเสียชีวิตไปแล้ว แผนที่ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในยุคที่หนึ่งเกิดขึ้นบนดินแดนที่เรียกชื่อว่า เบเลริอันด์ ดินแดนนี้ต่อมาได้จมลงสู่ทะเลหลังสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเทพวาลาร์กับเมลคอร์ คงเหลือแต่เทือกเขาสีน้ำเงินที่ปรากฏอยู่ทางขวาสุดของแผนที่ เป็นจุดเชื่อมต่อเดียวกันกับเทือกเขาสีน้ำเงินที่อยู่ทางด้านซ้ายสุดของแผนที่ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ดินแดนทางด้านตะวันออกของเทือกเขาสีน้ำเงินเป็นที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่สองและสาม โทลคีนบอกว่ามิดเดิ้ลเอิร์ธนั้นคือโลกของเรา เพียงแต่เป็นช่วงเวลาในอดีต โดยประมาณว่าปลายยุคที่สามคือช่วงระยะประมาณ 6,000 ปีก่อนยุคของโทลคีน เขายังบรรยายเขตแดนที่ฮอบบิทอาศัยว่าอยู่ที่ "ตะวันตกเฉียงเหนือของโลกเก่า ทางตะวันออกของทะเลใหญ่",เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์, บทนำ, หน้า 2 ซึ่งอ้างอิงถึงอังกฤษและเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปอย่างชัดเจน ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน ถูกแบ่งออกเป็นหลายยุค เรื่องราวที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และเรื่องราวใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เกิดขึ้นในราวปลายยุคที่สาม และนำไปสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่สี่ ในขณะที่เรื่องราวใน ซิลมาริลลิออน ซึ่งเป็นงานเขียนของโทลคีนเกี่ยวกับมิดเดิลเอิร์ธที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ยุคสร้างโลกและยุคที่หนึ่งเป็นส่วนใหญ. . อาร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มิดเดิลเอิร์ธและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

มิดเดิลเอิร์ธและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มี 44 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บิลโบ แบ๊กกิ้นส์พ.ศ. 2457ภาษาศาสตร์ภาษาอังกฤษภาษาอังกฤษเก่าภาษาซินดารินภาษาเยอรมันภาษาเควนยาภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน กษัตริย์คืนบัลลังก์ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน มหันตภัยแห่งแหวนลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน หอคอยคู่พิฆาตลูธิเอนศึกชิงแหวนวิเศษอาร์ดาอิงคลิงส์อิซิลดูร์อคัลลาเบธฮอบบิท (หนังสือ)ฮูริน ธาลิออนทูริน ทูรัมบาร์คริสโตเฟอร์ โทลคีนคาซัดดูมคณะพันธมิตรแห่งแหวนคนแคระ (มิดเดิลเอิร์ธ)ตำนานบุตรแห่งฮูรินตำนานแห่งซิลมาริลซี. เอส. ลิวอิสปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ...ปีเตอร์ แจ็กสันนูเมนอร์แกนดัล์ฟแอตแลนติสไชร์ (มิดเดิลเอิร์ธ)เบวูล์ฟเบเรนเมิร์ควู้ดเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)เทพปกรณัมนอร์สเทววิทยาเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (ภาพยนตร์ไตรภาค)Unfinished Tales ขยายดัชนี (14 มากกว่า) »

บิลโบ แบ๊กกิ้นส์

ลโบ แบ๊กกิ้นส์ (Bilbo Baggins) เป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในปกรณัมของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาปรากฏในนิยายเรื่องเดอะฮอบบิท และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ในฐานะผู้ครองแหวนคนที่ห้.

บิลโบ แบ๊กกิ้นส์และมิดเดิลเอิร์ธ · บิลโบ แบ๊กกิ้นส์และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2457

ทธศักราช 2457 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1914 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

พ.ศ. 2457และมิดเดิลเอิร์ธ · พ.ศ. 2457และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์

ษาศาสตร์ (linguistics) คือ การศึกษาเกี่ยวกับภาษามนุษย์ ผู้ที่ศึกษาในด้านนี้เรียกว่า นักภาษาศาสตร.

ภาษาศาสตร์และมิดเดิลเอิร์ธ · ภาษาศาสตร์และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ภาษาอังกฤษและมิดเดิลเอิร์ธ · ภาษาอังกฤษและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษเก่า

ษาอังกฤษเก่า (Ænglisc, Anglisc, Englisc; Old English ย่อว่า OE) หรือ ภาษาแองโกล-ซัคเซิน (Anglo-Saxon) เป็นภาษาอังกฤษยุคแรก ที่พูดกันในบริเวณที่ปัจจุบันคือแคว้นอิงแลนด์ อังกฤษและสกอตแลนด์ตอนใต้ ในระหว่าง กลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 นับเป็นภาษาเจอร์แมนิกตะวันตก ด้วยเหตุนี้ จึงมีความคล้ายคลึงกับภาษาฟริเซียนเก่า (Old Frisian) และภาษาแซกซันเก่า (Old Saxon) นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับภาษานอร์สเก่า (Old Norse) และเชื่อมโยงไปถึงภาษาไอซ์แลนด์ปัจจุบัน (modern Icelandic) ด้วย ไวยกรณ์ของภาษาอังกฤษเก่ามีความใกล้เคียงกับไวยกรณ์ของภาษาเยอรมันสมัยใหม่ กล่าวคือ คำนาม คำวิเศษณ์ คำสรรพนาม และคำกริยา มีการผันเปลี่ยนรูปข้างท้ายของคำอยู่หลากหลายแบบ และการลำดับคำในประโยคก็มีอิสระมากกว่า ตัวอักษรของภาษาอังกฤษเก่าแค่เดิมเป็นระบบอักษรรูน (runic system) แต่ถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินนับแต่ศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษเก่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีการใช้งานตลอดระยะเวลาประมาณ 700 ปี นับตั้งแต่ชนแองโกล-แซ็กซอนอพยพเข้ามายังเกาะบริเตน สร้างอิงแลนด์ขึ้น ในคริสต์ศวรรษที่ 5 จนถึงระยะเวลาหลังพวกนอร์มันบุกรุกเข้าไปเมื่อ ค.ศ. 1066 หลังจากนั้นภาษาอังกฤษก็เคลื่อนเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สำคัญ ในยุคแรกๆ นี้ ภาษาอังกฤษเก่าได้ผสมกลมกลืนเข้ากับภาษาอื่นๆ ที่มีการติดต่อด้วย เช่น ภาษาเคลติก (Celtic) และภาษาถิ่นสองภาษาของภาษานอร์สเก่า (บรรพบุรุษของภาษาแดนิชในปัจจุบัน) จากการบุกรุกของพวกไวกิงจากทางเดนมาร์ก ซึ่งเข้ามาครอบครองและปกครองอาณาเขตในอิงแลนด์ตอนเหนือและตะวันออก หลังจากชาวนอร์แมนยกทัพเข้าชิงอังกฤษจากกษัตริย์แซ็กซอนมาปกครองได้ ใรปี..

ภาษาอังกฤษเก่าและมิดเดิลเอิร์ธ · ภาษาอังกฤษเก่าและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซินดาริน

ษาซินดาริน (Sindarin) เป็นภาษาที่ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้นใช้ในนวนิยายของเขาในชุดมิดเดิลเอิร์ธ แรงบันดาลใจของการสร้างภาษานี้มาจากพื้นฐานของภาษาเวลช์ (Welsh) ซึ่งโทลคีนพบในการศึกษาโคลงโบราณ เขาได้ใช้เวลาประดิษฐ์ภาษานี้จนสมบูรณ์ใช้งานได้จริง เทียบเคียงกับภาษาเควนยา เดิมทีโทลคีนตั้งใจประดิษฐ์ภาษานี้ขึ้นเป็นภาษาของชาวโนลดอร์ แต่เปลี่ยนใจภายหลัง ภาษาซินดาริน ตามฉบับนิยาย เป็นภาษาของพวกเอลฟ์ ชาวเทเลริ ที่มิได้เข้าร่วมการเดินทางครั้งใหญ่ไปได้ตลอดรอดฝั่ง แต่ยังคงตกค้างอยู่บนมิดเดิลเอิร์ธ และตั้งถิ่นฐานขึ้นในแผ่นดินเบเลริอันด์ ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ธิงโกล และ เมลิอัน ไมอาเทวี ในอาณาจักรโดริอัธ เอลฟ์กลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า ชาวซินดาร์ หรือเอลฟ์แห่งสนธยา ภาษาของพวกเขาจึงเรียกว่า ภาษาซินดาริน ภาษาซินดารินมีกำเนิดมาจากคอมมอนเอลดาริน หรือภาษาดั้งเดิมของพวกเควนดิ จึงมีรากเดียวกันกับภาษาเควนยา ในยุคที่สาม ของโลกอาร์ดา คือเหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์นั้น ภาษาซินดารินเป็นภาษาที่พวกเอลฟ์ใช้กันแพร่หลายทั่วไป ดังนั้นภาษาเอลฟ์ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นชื่อคน ชื่อสถานที่ต่างๆ รวมทั้งอักขระที่จารึกบนประตูทางเข้าเหมืองมอเรีย ก็ล้วนเป็นภาษาซินดารินทั้งสิ้น.

ภาษาซินดารินและมิดเดิลเอิร์ธ · ภาษาซินดารินและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ภาษาเยอรมันและมิดเดิลเอิร์ธ · ภาษาเยอรมันและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเควนยา

ษาเควนยา (Quenya) เป็นภาษาหนึ่งซึ่ง เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้น และใช้ในนวนิยายของเขา คือในโลกมิดเดิลเอิร์ธ โดยเป็นภาษาของเอลฟ์ หรือชาวเควนดิ ซึ่งเป็นบุตรของมหาเทพอิลูวาทาร์ ภาษาเควนยานับได้ว่าเป็นภาษาแรกๆ ที่โทลคีนประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาษาฟินแลนด์ ซึ่งเป็นภาษาที่โทลคีนชอบมาก เขาศึกษาภาษาฟินนิชด้วยตัวเองเพราะต้องการจะอ่านมหากาพย์ คาเลวาลา ในต้นฉบับฟินนิช อันเป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง "โลกอาร์ดา" ของเขาในเวลาต่อมา โทลคีนสร้างตัวอักษรสำหรับภาษาเควนยา สร้างไวยากรณ์สำหรับภาษาเควนยา หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และโทลคีนได้กลับมาทำงานที่อ๊อกซฟอร์ดอีกครั้ง เขาได้ปรับปรุงแก้ไขภาษาเควนยาอย่างจริงจัง โดยใช้ภาษานี้ในการเขียนบันทึกประจำวัน แต่เนื่องจากโครงสร้างภาษายังไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ภายหลังโทลคีนเองก็สับสนและเลิกเขียนบันทึกด้วยวิธีนี้ เพราะลืมไปแล้วว่าขณะที่เขียนบันทึก เขาใช้โครงสร้างไวยากรณ์แบบไหน ช่วงแรกโทลคีนเรียกภาษานี้ว่า Qenya การสร้างภาษาเควนยา เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญจุดหนึ่ง (แม้จะมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบอีก) ที่ทำให้โทลคีนบังเกิดความคิดให้มีผู้คนที่ใช้ภาษานี้ขึ้นมาจริงๆ อันเป็นที่มาของเหล่าเอลฟ์ ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ตลอดช่วงชีวิตของโทลคีน เขาได้แก้ไขปรับปรุงโครงสร้างภาษานี้ จนกระทั่งมันสามารถใช้งานได้จริง สมบูรณ์ยิ่งกว่าภาษาประดิษฐ์อื่นๆ ของโทลคีน.

ภาษาเควนยาและมิดเดิลเอิร์ธ · ภาษาเควนยาและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธ

ในปกรณัมชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ทั้งทวีปมิดเดิลเอิร์ธ และทวีปอามัน ตลอดจนถึงดินแดนอื่นๆ ทั่วพิภพอาร์ดา มีเทือกเขาใหญ่น้อยมากมาย ต่อไปนี้เป็นรายชื่อภูเขาหรือเทือกเขาที่สำคัญ.

ภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธและมิดเดิลเอิร์ธ · ภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน กษัตริย์คืนบัลลังก์

ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ ตอนกษัตริย์คืนบัลลังก์ หรือ มหาสงครามชิงพิภพ (The Lord of the Rings: The Return of the King) เป็นภาคที่สามของนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน โดยภาคที่หนึ่งคือตอน มหันตภัยแห่งแหวน ส่วนภาคที่สองคือ หอคอยคู่พิฆาต.

มิดเดิลเอิร์ธและลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน กษัตริย์คืนบัลลังก์ · ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน กษัตริย์คืนบัลลังก์และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน มหันตภัยแห่งแหวน

ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ ตอนมหันตภัยแห่งแหวน หรือ อภินิหารแหวนครองพิภพ (The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring) เป็นนิยายภาคแรกของนิยายไตรภาคชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน โดยภาคที่สองคือตอน หอคอยคู่พิฆาต และภาคที่สามคือตอน กษัตริย์คืนบัลลังก.

มิดเดิลเอิร์ธและลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน มหันตภัยแห่งแหวน · ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน มหันตภัยแห่งแหวนและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน หอคอยคู่พิฆาต

ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ หอคอยคู่พิฆาต หรือ ศึกหอคอยคู่กู้พิภพ (The Lord of the Rings: The Two Towers) เป็นนิยายภาคที่สองของนิยายไตรภาคชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน โดยภาคแรกคือตอน มหันตภัยแห่งแหวน และภาคที่สามคือตอน กษัตริย์คืนบัลลังก.

มิดเดิลเอิร์ธและลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน หอคอยคู่พิฆาต · ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน หอคอยคู่พิฆาตและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ลูธิเอน

ลูธิเอน (Lúthien Tinúviel) เป็นเจ้าหญิงเอลฟ์ ในจินตนิยายเรื่อง ซิลมาริลลิออน ประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีชีวิตอยู่ในยุคบรรพกาลจนถึงยุคที่หนึ่งของมิดเดิ้ลเอิร์ธ ได้รับยกย่องว่าเป็นเอลฟ์ที่งดงามที่สุดเท่าที่เคยมีมาในโลกอาร์ดา นางถูกกล่าวถึงในบทประพันธ์เรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในฐานะที่เป็นเอลฟ์ผู้ยอมสละชีวิตอมตะเพื่อได้ใช้ชีวิตอยู่กับคนรักที่เป็นชาวมนุษย์ (คือเบเรน) เรื่องราวโดยละเอียดของนางถูกประพันธ์ไว้ใน ซิลมาริลลิออน.

มิดเดิลเอิร์ธและลูธิเอน · ลูธิเอนและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ศึกชิงแหวนวิเศษ

ึกชิงแหวนวิเศษ (J.R.R. Tolkien's The Lord of the Rings) เป็นภาพยนตร์แนวแฟนตาซี กำกับโดย ราล์ฟ บาคชิ ฉายในปี..

มิดเดิลเอิร์ธและศึกชิงแหวนวิเศษ · ศึกชิงแหวนวิเศษและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ดา

อาร์ดา (Arda) เป็นชื่อดินแดนในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งใช้ในความหมายแทนโลกของเราทั้งหมด อาร์ดาประกอบด้วยทวีปใหญ่ๆ ที่สำคัญคือ มิดเดิลเอิร์ธ อามัน และ กาฬทวีป มีมหาสมุทรหลายแห่ง ที่สำคัญคือ มหาสาคร (The Great Sea) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เบเลกายร์ ในทะเลเบเลกายร์นี้เคยมีเกาะนูเมนอร์ ซึ่งล่มจมสมุทรไปตั้งแต่ยุคที่สองของอาร์ดา ดินแดนส่วนอื่นๆ ในอาร์ดามิได้ถูกเอ่ยถึง ตามปกรณัมของโทลคีน อาร์ดาเป็นส่วนหนึ่งของ เออา (Ea) คือจักรวาลแห่งพิภพที่มหาเทพอิลูวาทาร์สร้างขึ้นในสุญญภูมิ ด้วยการบรรเลงบทเพลงมหาคีตา ซึ่งมีจิตวิญญาณแรกเริ่ม (หรือไอนัวร์) ช่วยในการสร้างด้วย การสร้างครั้งนั้นเรียกว่า มหาคีตาแห่งไอนัวร์ เมื่อเออาถือกำเนิดขึ้น ไอนัวร์บางส่วนได้ลงมาอยู่ในโลกนี้เพื่อปกปักรักษาและตระเตรียมสถานที่ไว้ให้พร้อมสำหรับบุตรแห่งอิลูวาทาร์ ไอนัวร์ที่ลงมายังอาร์ดา พวกที่มีพลังอำนาจสูง เรียกว่า วาลาร์ ส่วนพวกที่มีฤทธิ์น้อยกว่า เรียกว่า ไมอาร์ ไอนัวร์เหล่านี้บางครั้งเรียกรวมๆ กันว่า ปวงเทพ โลกอาร์ดาแต่ดั้งเดิมเมื่อเริ่มสร้างนั้นเป็นแผ่นดินแบนๆ ที่ล้อมรอบด้วยทะเลวัฏฏะ (Encircling Sea) มีชื่อเรียกว่า เอคไคอา (Ekkaia) ข้างใต้เป็นโถงถ้ำมากมาย ข้างบนเป็นเขตห้วงเวหามีชื่อว่า อิลเมน แผ่นดินดั้งเดิมเป็นทวีปเดี่ยวตั้งอยู่ตรงกลาง มีทะเลสาบอยู่ใจกลางทวีป และมีเกาะอยู่กลางทะเลสาบนั้น ชื่อว่า เกาะอัลมาเรน เป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าวาลาร์และไมอาร์ เมื่อเกิดสงครามระหว่างปวงเทพขึ้น ทำให้แผ่นดินเกิดวินาศวอดวาย แตกเป็นทวีปต่างๆ พวกวาลาร์และไมอาร์จึงย้ายถิ่นฐานไปอาศัยอยู่บนทวีปอามัน ซึ่งอยู่ทางสุดตะวันตกของอาร์ดา ส่วนทวีปมิดเดิลเอิร์ธที่อยู่บริเวณกึ่งกลางอาร์ดา ได้กลายเป็นถิ่นฐานที่อาศัยของบรรดาบุตรแห่งอิลูวาทาร์ คือพวกเอลฟ์ และมนุษย์ มีมหาสาครหรือเบเลกายร์ กั้นกลางระหว่างสองทวีปนี้ ในช่วงปลายยุคที่สอง เมื่อมนุษย์ชาวนูเมนอร์เหิมเกริมจะบุกรุกทวีปอามันเพื่อช่วงชิงความเป็นอมตะ ปวงเทพจึงจมเกาะนูเมนอร์เสีย และย้ายทวีปอามันออกไปเสียจากโลก บันดาลให้โลกกลายเป็นโลกกลม แม้แล่นเรือไปทางตะวันตกจนสุดหล้า ก็จะหวนกลับมายังจุดตั้งต้นได้อีกครั้ง การจะไปถึงทวีปอามันได้ต้องเดินทางผ่านเส้นทางมุ่งตรง ซึ่งจะไปได้โดยพวกเอลฟ์เท่านั้น.

มิดเดิลเอิร์ธและอาร์ดา · อาร์ดาและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

อิงคลิงส์

ผับ "The Eagle and Child" ในเมืองออกซฟอร์ด ซึ่งกลุ่มอิงคลิงส์ใช้พบปะสังสรรค์กันทุกคืนวันอังคาร ในช่วงปี ค.ศ. 1939 อิงคลิงส์ (Inklings) เป็นชื่อกลุ่มสังสรรค์ทางด้านวรรณกรรมอย่างไม่เป็นทางการในมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ในระหว่างช่วงทศวรรษ 1930 ถึง 1960 สมาชิกส่วนใหญ่เป็นอาจารย์หรือนักวิชาการในมหาวิทยาลัย ในจำนวนนี้มีสมาชิกคนสำคัญได้แก่ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (Tollers), ซี. เอส. ลิวอิส (Jack), โอเวน บาร์ฟิลด์, ชาร์ลส วิลเลียมส์, คริสโตเฟอร์ โทลคีน (ลูกชายของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน), วอร์เรน ลิวอิส (วอร์นี่ - พี่ชายของ ซี. เอส. ลิวอิส), โรเจอร์ แลนเซลีน กรีน, อดัม ฟ็อกซ์, ฮิวโก ดีสัน, โรเบิร์ต ฮาวาร์ด,.

มิดเดิลเอิร์ธและอิงคลิงส์ · อิงคลิงส์และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

อิซิลดูร์

อิซิลดูร์ (Isildur) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในหนังสือเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales ชื่อ 'อิซิลดูร์' หมายถึง 'ผู้รักใคร่ในดวงจันทร์' ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ อิซิลดูร์ถูกเอ่ยถึงในฐานะชาวดูเนไดน์แห่งนูเมนอร์ โอรสของกษัตริย์เอเลนดิล ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรอาร์นอร์และกอนดอร์ในช่วงเวลาสั้นๆ และทรงเป็นบรรพชนของอารากอร์น เอเลสซาร์ เรื่องราวโดยละเอียดของเขาจะปรากฏอยู่ใน ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales มากกว.

มิดเดิลเอิร์ธและอิซิลดูร์ · อิซิลดูร์และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

อคัลลาเบธ

อคัลลาเบธ (Akallabêth) เป็นเนื้อหาส่วนที่สี่ในหนังสือเรื่อง ซิลมาริลลิออน งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ใน ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์การล่มสลายของเกาะนูเมนอร์ในยุคที่สองของอาร์ดา ซึ่งเป็นอาณาจักรของมนุษย์ชาวเอไดน์ที่ได้รับเป็นของขวัญจากเทพวาลาร์ คำว่า อคัลลาเบธ เป็นคำในภาษาอดูนาอิก มีความหมายว่า การล่มสลาย (The Downfallen) ภาษาเควนยาเรียกว่า อทาลันเท (Atalantë).

มิดเดิลเอิร์ธและอคัลลาเบธ · อคัลลาเบธและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ฮอบบิท (หนังสือ)

อะฮอบบิท (ชื่อภาษาอังกฤษ "The Hobbit" หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "There and Back Again") เป็นนิยายแฟนตาซีสำหรับเด็ก ประพันธ์โดยเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในลักษณะกึ่งเทพนิยาย โทลคีนเขียนเรื่องนี้ในราวช่วงปลายทศวรรษที่ 1920 โดยเริ่มแรกเขาเพียงใช้เล่าเป็นนิทานสนุกๆ ให้ลูกฟัง กับใช้เล่นคำในภาษาต่างๆ ที่เขาสนใจ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเก่า นิยายเรื่องนี้ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 21 กันยายน..

มิดเดิลเอิร์ธและฮอบบิท (หนังสือ) · ฮอบบิท (หนังสือ)และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ฮูริน ธาลิออน

ฮูริน (Húrin) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในซิลมาริลลิออน งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ตามปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ฮูรินเป็นชาวมนุษย์ซึ่งมีชีวิตอยู่ในยุคที่หนึ่งของอาร์ดา เป็นทายาทตระกูลฮาดอร์ เจ้าแคว้นดอร์-โลมิน และเป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีสมญาว่า ธาลิออน (Thalion) ซึ่งเป็นคำภาษาซินดาริน แปลว่า ผู้มั่นคง ฮูรินเป็นบุตรคนโตของกัลดอร์แห่งตระกูลฮาดอร์ มีน้องชายหนึ่งคนคือ ฮูออร์ ผู้เป็นบิดาของทูออร์ บิดาของเออาเรนดิล เมื่อยังเด็ก ฮูรินกับฮูออร์เคยได้รับความช่วยเหลือจากพญาอินทรีโธรอนดอร์หนีพ้นจากพวกออร์ค ไปลี้ภัยอยู่กับกษัตริย์ทัวร์กอนในกอนโดลิน ได้เป็นที่รักใคร่ขององค์กษัตริย์มาก ต่อมาภายหลังจึงได้หวนคืนดอร์-โลมิน ฮูรินแต่งงานกับมอร์เวนแห่งตระกูลเบออร์ มีบุตรด้วยกันสามคนคือ ทูริน อัวร์เวน และนิเอนอร์ หมวดหมู่:ตัวละครในซิลมาริลลิออน หมวดหมู่:มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ).

มิดเดิลเอิร์ธและฮูริน ธาลิออน · ฮูริน ธาลิออนและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ทูริน ทูรัมบาร์

ทูริน ทูรัมบาร์ (Túrin Turambar) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในจินตนิยายชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือซิลมาริลลิออน และต่อมาได้เป็นตัวละครเอกในนิยายเรื่อง ตำนานบุตรแห่งฮูริน ทูรินเป็นตัวละครที่โทลคีนสร้างขึ้นในลักษณะ anti-hero แบบหนึ่ง คือเป็นวีรบุรุษในโศกนาฏกรรม เขาเป็นมนุษย์ ที่มีชีวิตอยู่ในยุคที่หนึ่งของอาร์ดา บิดาของทูรินคือ ฮูริน ประมุขของตระกูลฮาดอร์ เขาถูกมอร์กอธจับตัวไปได้หลังจากสงครามเนียร์นายธ์อาร์นอยดิอัด แต่ฮูรินไม่ยอมจำนนต่อมอร์กอธ ทำให้มอร์กอธสาปแช่งตระกูลของฮูรินทั้งตระกูลให้ประสบหายน.

ทูริน ทูรัมบาร์และมิดเดิลเอิร์ธ · ทูริน ทูรัมบาร์และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

คริสโตเฟอร์ โทลคีน

ริสโตเฟอร์ โรนัลด์ รูเอล โทลคีน (Christopher John Reuel Tolkien, 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 -) คือบุตรคนสุดท้ายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้เขียนลอร์ดออฟเดอะริงส์ เขาเป็นที่รู้จักกันดีจากการนำผลงานที่บิดาได้เขียนค้างไว้มาเรียบเรียงและตีพิมพ์ เขายังเป็นผู้วาดแผนที่ในเรื่องลอร์ดออฟเดอะริงส์ด้วย โดยได้ลงชื่อไว้ว่า C. J. R. T. The J. เมื่อเดือนเมษายน 2550 คริสโตเฟอร์ได้ตีพิมพ์นวนิยายที่บิดาได้เขียนเล่มใหม่ "ตำนานบุตรแห่งฮูริน (The Children of Húrin)" ซึ่งโทลคีนได้ทำการเขียนในช่วงปี..

คริสโตเฟอร์ โทลคีนและมิดเดิลเอิร์ธ · คริสโตเฟอร์ โทลคีนและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

คาซัดดูม

ห้องโถงใหญ่ในอาณาจักรดวาโรว์เดล์ฟ จากภาพยนตร์ไตรภาคลอร์ดออฟเดอะริงส์ คาซัด-ดูม (Khazad-dûm) เป็นชื่ออาณาจักรแห่งหนึ่งบนมิดเดิลเอิร์ธ ในนิยายแฟนตาซีเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน คำว่า คาซัด เป็นคำในภาษาคุซดุลที่เหล่าคนแคระใช้เรียกตัวเอง คาซัดดูม หมายถึง "เคหาของคนแคระ" ชื่อนี้ในภาษากลางของมิดเดิลเอิร์ธหรือภาษาเวสทรอน เรียกว่า ดวาโรว์เดล์ฟ (Dwarrowdelf) ส่วนคำว่า มอเรีย เป็นภาษาซินดาริน มีความหมายว่า "ปล่องเหวมืด" ซึ่งเป็นชื่อที่พวกเอลฟ์ใช้เรียกอาณาจักรแห่งนี้ ด้วยความรังเกียจเดียดฉันท์ คาซัดดูมตั้งอยู่ข้างใต้เทือกเขามิสตี้ มีทางเข้าออกเชื่อมต่อทั้งฟากตะวันออกและฟากตะวันตก เป็นเหมืองแร่มิธริลที่ใหญ่ที่สุดและเป็นอาณาจักรคนแคระที่ใหญ่ที่สุดในมิดเดิลเอิร์ธด้วย ในยุคที่สาม คาซัดดูมตกต่ำลงหลังจากขุดแร่ลึกเกินไปจนปลุกเอามฤตยูบัลร็อกตื่นขึ้น ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ปี 1981 ซึ่งบัลร็อกออกอาละวาดจนอาณาจักรต้องล่มสลายลงรวมถึงอาณาจักรใกล้เคียงเช่นลอริเอนด้วย หลังจากนั้นมีความพยายามฟื้นฟูคาซัดดูมขึ้นอีกแต่ไม่เป็นผล คณะพันธมิตรแห่งแหวนเคยเดินทางผ่านอาณาจักรร้างนี้ในช่วงปลายยุคที่สามในระหว่างภารกิจการนำแหวนเอกไปทำล.

คาซัดดูมและมิดเดิลเอิร์ธ · คาซัดดูมและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

คณะพันธมิตรแห่งแหวน

ณะพันธมิตรแห่งแหวน คณะพันธมิตรแห่งแหวน (The Fellowship of the Ring) เป็นชื่อของกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในเนื้อเรื่องครั้งแรกในภาคที่หนึ่ง คือตอน มหันตภัยแห่งแหวน คณะพันธมิตรแห่งแหวนประกอบด้วยสมาชิก 9 คน ซึ่งเป็นตัวแทนของเผ่าพันธุ์ต่างๆ อันเป็นอิสระชนแห่งมิดเดิลเอิร์ธ มีภารกิจเพื่อป้องกันคุ้มครองผู้ถือแหวน โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ ในการเดินทางเพื่อนำแหวนเอก ไปทำลายที่ใจกลางอาณาจักรมอร์ดอร์ การเดินทางของพวกเขาเริ่มต้นในวันที่ 25 ธันวาคม ในปีที่ 3018 ของยุคที่สาม หลังจากการก่อตั้งคณะพันธมิตรแห่งแหวนในที่ประชุมของเอลรอน.

คณะพันธมิตรแห่งแหวนและมิดเดิลเอิร์ธ · คณะพันธมิตรแห่งแหวนและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

คนแคระ (มิดเดิลเอิร์ธ)

นแคระ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างเล็กเตี้ย แต่ล่ำสันแข็งแรง ทรหดอดทน มีหนวดเครายาวเฟิ้ม เป็นชนเผ่าที่ชำนาญในการช่างมากที่สุด พวกเขาเป็นมิตรอย่างมากกับพวกฮอบบิท พวกคนแคระเรียกตัวเองว่า คาซัด อันเป็นชื่อที่เทพอาวเลตั้งให้กับพวกเขา แต่พวกเอลฟ์เรียกพวกเขาว่า เนากริม ซึ่งมีความหมายว่า ชนผู้ไม่เติบโตอีกต่อไป คนแคระมีบทบาทอยู่ในวรรณกรรมของโทลคีนหลายเรื่อง ได้แก่ เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซิลมาริลลิออน ตำนานบุตรแห่งฮูริน รวมถึงงานเขียนอื่น ๆ ของคริสโตเฟอร์ โทลคีนด้วย คือ Unfinished Tales และ ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร.

คนแคระ (มิดเดิลเอิร์ธ)และมิดเดิลเอิร์ธ · คนแคระ (มิดเดิลเอิร์ธ)และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานบุตรแห่งฮูริน

ตำนานบุตรแห่งฮูริน (The Children of Húrin) เป็นนวนิยายแฟนตาซีระดับสูงแบบมหากาพย์ที่บรรยายในลักษณะร้อยแก้ว ประพันธ์โดยเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งได้เริ่มโครงเรื่องไว้ตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1910 และได้ปรับแก้เนื้อหาหลายต่อหลายครั้ง จนกระทั่งโทลคีนเสียชีวิตในปี..

ตำนานบุตรแห่งฮูรินและมิดเดิลเอิร์ธ · ตำนานบุตรแห่งฮูรินและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานแห่งซิลมาริล

ตำนานแห่งซิลมาริล (The Silmarillion) เป็นนิยายจินตนิมิต แต่งโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (ผู้แต่งเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์) เริ่มประพันธ์โครงเรื่องตั้งแต่ปี..

ตำนานแห่งซิลมาริลและมิดเดิลเอิร์ธ · ตำนานแห่งซิลมาริลและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ซี. เอส. ลิวอิส

ลฟ์ สเตเปิลส์ ลิวอิส (Clive Staples Lewis; 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 — 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506) หรือรู้จักในนาม ซี.เอ.

ซี. เอส. ลิวอิสและมิดเดิลเอิร์ธ · ซี. เอส. ลิวอิสและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ

ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ (Middle-earth Legendarium) เป็นชุดงานเขียนขนาดยาวของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน นักประพันธ์ชาวอังกฤษ ว่าด้วยโลกแฟนตาซีในจินตนาการของเขาคือ โลกอาร์ดา ประกอบด้วยงานเขียนหลายชิ้นที่เขาใช้เวลาเขียนตั้งแต่มีอายุได้ 22 ปี ไปจนตลอดชั่วชีวิตของเขา คำว่า "Legendarium" นำมาใช้โดยโทลคีนและนักวิจารณ์อื่นๆ เกี่ยวกับงานเขียนชุดนี้โดยเฉพาะ เรื่องราวในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธเริ่มตั้งแต่กาลกำเนิดของพิภพจากการสร้างสรรค์ของมหาเทพอิลูวาทาร์ การกำเนิดปวงเทพ การกำเนิดมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ การกำเนิดดินแดนต่างๆ ได้แก่ อามัน รวมถึง มิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งกลายมาเป็นชื่อของชุดปกรณัมด้วย เหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่หนึ่ง ยุคที่สอง ยุคที่สาม และยุคที่สี่ของอาร์ดา รวมถึงงานเขียนที่กล่าวอ้างถึงสถานที่หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอยู่ในปกรณัม แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเรื่องนั้นเกิดขึ้นในยุคสมัยใด เช่น Smith of Wootton Major และ Roverandom เป็นต้น.

ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธและมิดเดิลเอิร์ธ · ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ

ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ (The History of Middle-earth) เป็นชื่อชุดหนังสือจำนวน 12 เล่ม ที่รวบรวมงานเขียนต้นฉบับต่างๆ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ที่เกี่ยวข้องกับปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ นำมาเรียบเรียงใหม่โดยคริสโตเฟอร์ โทลคีน ตีพิมพ์จำหน่ายในช่วงระหว่างปี..

ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธและมิดเดิลเอิร์ธ · ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ แจ็กสัน

ซอร์ปีเตอร์ โรเบิร์ต แจ็กสัน (Sir Peter Robert Jackson) เป็นชาวนิวซีแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม..

ปีเตอร์ แจ็กสันและมิดเดิลเอิร์ธ · ปีเตอร์ แจ็กสันและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

นูเมนอร์

นูเมนอร์ (Númenor) เป็นชื่อเกาะแห่งหนึ่งในโลกจินตนาการของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นแผ่นดินที่แยกต่างหากออกมาจาก มิดเดิลเอิร์ธ มีแนวคิดในการประพันธ์มาจากแผ่นดินจมสมุทรแอตแลนติส ชื่อนูเมนอร์มาจากภาษาเควนยา ว่า Númenórë ซึ่งมีความหมายว่า แผ่นดินตะวันตก โทลคีนเขียนไว้ว่า เมื่อแปลงจากคำภาษาเควนยาเป็นภาษานูเมนอเรียน ชื่อนี้ออกเสียงเป็น อนาดูเน (Anadûnê).

นูเมนอร์และมิดเดิลเอิร์ธ · นูเมนอร์และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

แกนดัล์ฟ

แกนดัล์ฟ (Gandalf) เป็นตัวละครในนิยายเรื่อง เดอะ ฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อ แกนดัล์ฟ เป็นคำในภาษาเวสทรอนที่มนุษย์แห่งมิดเดิ้ลเอิร์ธใช้เรียกเทพไมอาองค์นี้ ในขณะที่พวกเอลฟ์เรียกชื่อว่า มิธรันเดียร์ (Mithrandir) ชื่อเดิมของแกนดัล์ฟแท้จริงคือ โอโลริน (Olórin) เป็นหนึ่งในห้าไมอาร์ที่ปวงเทพส่งมาช่วยเหลือมิดเดิ้ลเอิร์ธในช่วงยุคที่สาม โดยเทพไมอาร์ทั้งห้าได้ใช้ร่างจำแลงมาในรูปชายชรา และเรียกตัวเองว่า อิสทาริ หรือ พ่อมด แกนดัล์ฟได้รับฉายาว่า พ่อมดเทา และได้เป็นพ่อมดขาวในตอนท้ายของเรื่อง แกนดัล์ฟบุคลิกลักษณะเป็นชายแก่ผมยาว หนวดยาวแต่แข็งแรง.

มิดเดิลเอิร์ธและแกนดัล์ฟ · เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนและแกนดัล์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

แอตแลนติส

แอตแลนติส (Ἀτλαντὶς) คือชื่อในภาษากรีกที่มีความหมายว่า "เกาะแอตลาส" เป็นอาณาจักรในตำนานที่ถูกกล่าวถึงโดยเพลโต ปราชญ์ของกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก กล่าวกันว่าอาณาจักรแอตแลนติส เป็นทวีปๆ หนึ่งที่อยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นที่อยู่อาศัยของพลเมืองผู้ทรงคุณธรรมและเทคโนโลยีที่สูงส่ง กำแพงเมืองเป็นทองคำและวิหารสร้างด้วยเงิน มีอุทยานหย่อนใจ และสนามแข่งม้า ทว่ามันถูกทำลายพังพินาศ ด้วยความพิโรธของเทพเจ้าผู้เนรมิตรมันขึ้นมา คำว่า แอตแลนติส มาจากแอตลาสบุตรของโพไซดอน แอตแลนติสอาจอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นักประดาน้ำบางคนพบขุมทองบริเวณนั้นนั่นเอง เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีกเขียนไว้เมื่อราว 300 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งยุคของเพลโต ห่างจากยุคของแอตแลนติสราว 9,000 ปี เพลโตเขียนถึงแอตแลนติสในหนังสือที่ชื่อว่า ทิเมอุส และ ครีทีแอซ โดยอ้างว่า โซลอน รัฐบุรุษคนหนึ่งของกรีกราวยุค 600 ปีก่อนคริสตกาล เป็นผู้นำมาเผยแพร่หลังจากรับทราบเรื่องราวของแอตแลนติสจากนักบวชชาวอียิปต์ท่านหนึ่ง มีการกล่าวว่า อารยธรรมโบราณหลายๆ แห่งของโลก ไม่ว่าจะเป็นอียิปต์ รวมถึงบรรดาวัฒนธรรมเมโสโปเตเมียทั้งหลาย ไปจนถึงวัฒนธรรมโบราณของชนเผ่าอินคา มายา และแอซแต็กในแถบอเมริกากลาง รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างที่มหัศจรรย์ ไม่ว่าจะเป็นสโตนเฮ้นจ์ หรือปิรามิดในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก ต่างก็เป็นมรดกจากชาวแอตแลนติสทั้งสิ้น.

มิดเดิลเอิร์ธและแอตแลนติส · เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนและแอตแลนติส · ดูเพิ่มเติม »

ไชร์ (มิดเดิลเอิร์ธ)

ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ไชร์ (Shire) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในนิยายแฟนตาซีเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และตำนานอื่น ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีป บนดินแดนอันกว้างใหญ่เอเรียดอร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอาร์นอร์ แคว้นไชร์ก่อตั้งขึ้นโดยชาวฮอบบิท และต่อมาพวกเขาก็พากันอพยพมาอยู่ที่ดินแดนนี้จนเกือบหมด ชื่อในภาษาเวสทรอนของแคว้นไชร์ คือ ซูซา (Sûza) หรือ ซูซัท (Sûzat) ส่วนชื่อในภาษาซินดารินคือ อิดรันน์ (i Drann).

มิดเดิลเอิร์ธและไชร์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนและไชร์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

เบวูล์ฟ

ต้นฉบับเก่าแก่ของบทกวี ''เบวูล์ฟ'' หน้าแรก เบวูล์ฟ (Beowulf) เป็นบทกวีมหากาพย์เกี่ยวกับวีรบุรุษยุคอังกฤษโบราณแต่งโดยผู้ประพันธ์หลายคนที่ไม่ทราบชื่อ งานวรรณกรรมภาษาแองโกลแซกซอนชิ้นนี้คาดว่าแต่งขึ้นในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (1958).

มิดเดิลเอิร์ธและเบวูล์ฟ · เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนและเบวูล์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

เบเรน

รน (Beren) เป็นชื่อตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในตำนานชุด ซิลมาริลลิออน ชื่ออื่นๆ ของเขาคือ เบเรน แอร์ฅามิออน (Beren Archamion) หมายถึง 'เบเรนผู้มีมือเดียว' บ้างก็เรียกว่า เบเรน คัมลอสต์ (Beren Camlost) หมายถึง 'เบเรน คนมือเปล่า' เบเรนเป็นมนุษย์ในยุคบรรพกาล หรือยุคที่หนึ่งของโลกอาร์ดา เป็นบุตรของบาราเฮียร์ ชนตระกูลเบออร์ เขามีชื่อเสียงอยู่ในประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธสองสถานะ หนึ่งคือเป็นผู้เข้าไปช่วงชิงดวงมณีซิลมาริลมาจากมงกุฎของมอร์กอธได้โดยลำพัง ด้วยความช่วยเหลือจากลูธิเอนเท่านั้น และสองคือเป็นมนุษย์คนแรกที่ได้วิวาห์กับชนเผ่าเอลฟ์ เป็นการวิวาห์ข้ามเผ่าพันธุ์ ระหว่างบุตรทั้งสองของอิลูวาทาร์เป็นครั้งแรก.

มิดเดิลเอิร์ธและเบเรน · เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนและเบเรน · ดูเพิ่มเติม »

เมิร์ควู้ด

มิร์ควู้ด (Mirkwood) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งของพวกเอลฟ์ ในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เมิร์ควู้ดเป็นป่าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำอันดูอิน แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า ป่าใหญ่กรีนวู้ด (Greenwood The Great) กินอาณาเขตกว้างไกลในดินแดนโรห์วานิออน ในยุคที่สาม เอลฟ์กลุ่มที่มาอาศัยอยู่ในเมิร์ควู้ดนี้ ส่วนใหญ่เป็นชาวซิลวัน และมีชาวซินดาร์เป็นบางส่วน ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ธรันดูอิล สภาพทั่วไปของป่า มีต้นไม้โบราณเก่าแก่และสูงใหญ่เป็นจำนวนมาก กิ่งก้านสาขาของแต่ละต้นแผ่ปกคลุมไปทั่ว จนแสงอาทิตย์สามารถผ่านเข้ามาได้เพียงน้อยนิด ในช่วงยุคที่สาม เซารอนกลับมาอย่างลับๆ และหลบซ่อนอยู่ในป่าเมิร์ควู้ด ได้สร้างหอคอยที่เรียกว่า โดลกุลดัวร์ (Dol Guldur) นับจากนั้นความมืดก็เข้าปกคลุมเมิร์ควู้ดแม้แต่ในเวลากลางวัน เหล่าปีศาจร้ายได้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่อาศัยเพื่อซ่อนตัวซึ่งรวมไปถึง แมงมุมยักษ์ (Great Spiders) ซึ่งเป็นลูกหลานของ ชีล็อบ ในหนังสือเรื่อง เดอะฮอบบิท บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ เคยเดินทางผ่านป่าแห่งนี้ และได้เข้าเฝ้า "กษัตริย์พราย" ซึ่งก็คือ ธรันดูอิลนั่นเอง จากเหตุการณ์ที่บิลโบได้เข้าเฝ้าคราวนี้ทำให้เราทราบว่า ธรันดูอิลมีผมสีทอง นอกจากนี้ในเมิร์ควู้ด เมื่อครั้งที่กอลลัมเดินทางผ่านป่าเพื่อตามหาแหวน กับบิลโบ แต่ถูก อารากอร์นพบเข้าและจับตัวได้ จึงนำเขามาขังเขาไว้ที่นี่ภายใต้การดูแลของพวกเอลฟ์แห่งเมิร์ควู้ด แต่เหล่าสมุนเซารอนสืบทราบและตามมาชิงตัว ระหว่างการต่อสู้ของพวกออร์คและพวกเอลฟ์ กอลลัมหนีไปได้ เลโกลัสจึงไปส่งข่าวการหนีไปของกอลลัม ในที่ประชุมของ เอลรอนด์ และเลโกลัสเจ้าชายแห่งป่าเมิร์ควู้ด ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก คณะพันธมิตรแห่งแหวน ต่อมาภายหลัง เอลฟ์จากลอธลอริเอน ได้เข้ามาโจมตีและทำลาย ปราการแห่งโดลกุลดัวร์ จากนั้นเมิร์ควู้ดจึงได้กลับคืนสู่สภาพเดิม ปราศจากเงามืดและความชั่วร้.

มิดเดิลเอิร์ธและเมิร์ควู้ด · เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนและเมิร์ควู้ด · ดูเพิ่มเติม »

เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)

อลฟ์ (elf) ตามความหมายในจินตนิยายชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ มีชีวิตยืนยาวเท่ากับอายุของโลก จึงเสมือนหนึ่งว่าเป็นอมตะ คำว่า 'เอลฟ์' (Elf) เป็นคำที่โทลคีนเลือกมาจากตำนานโบราณเพื่อใช้แทนคำศัพท์แท้จริงอันเป็นชื่อของชนเผ่านี้ คือ เอลดาร์ (Eldar) ซึ่งเป็นคำในภาษาเควนยา หมายถึง 'ประชากรแห่งแสงดาว'.

มิดเดิลเอิร์ธและเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนและเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมนอร์ส

ทพเจ้าธอร์เข้าณรงค์ยุทธกับเหล่ายักษ์ เทพปกรณัมนอร์สหรือเทพปกรณัมสแกนดิเนเวียเป็นเทพปกรณัมของชนเจอร์แมนิกเหนือ และเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาเก่าแก่ของชาวนอร์สซึ่งเป็นความเชื่อพหุเทวนิยม และยังคงเล่าสืบเนื่องกันมาแม้ภายหลังจากชาวสแกนดิเนเวียหันมานับถือศาสนาคริสต์ จนกลายมาเป็นคติชาวบ้านสแกนดิเนเวียแห่งสมัยใหม่ เทพปกรณัมนอร์สเป็นการกระจายขึ้นเหนือสุดของเทพปกรณัมเจอร์มานิก โดยประกอบด้วยนิทานเทวดา และวีรบุรุษต่าง ๆ จากแหล่งที่มาจำนวนมากทั้งก่อนและหลังยุคเพกัน ซึ่งรวมถึงวรรณกรรมของชาวไอซ์แลนด์ที่เขียนขึ้นในสมัยกลาง หลักฐานทางโบราณคดีและประเพณีพื้นบ้าน เทพเจ้าองค์สำคัญในเทพปกรณัมนอร์ส ได้แก่ ธอร์เทพสายฟ้าผู้มีค้อนใหญ่เป็นอาวุธ โดยเป็นเทพนักรบผู้พิทักษ์มนุษยชาติ ฯ โอดิน เทพเจ้าพระเนตรเดียว ผู้ทรงขวนขวายหาความรู้ในโลกฐาตุทั้งหลาย และพระราชทานอักษรรูนให้แก่มนุษย์; เฟรยา (Freyja) เทพสตรีผู้ทรงสิริโฉม ผู้ใช้เวทมนตร์ (seiðr) และทรงฉลองพระองค์คลุมขนนก ผู้ทรงม้าเข้าสู่สมรภูมิเพื่อเลือกเอาดวงวิญญาณในหมู่ผู้ตาย; สคาดดี (Skaði) ยักขินีและเทวีแห่งการสกี ผู้อาศัยอยู่ท่ามกลางฝูงหมาป่าบนภูเขาในฤดูหนาว; นโยร์ด (Njörðr) เทพเจ้าทรงฤทธิ์ผู้อาจปราบได้ทั้งทะเลและไฟและยังประทานความมั่งคั่งและที่ดิน; เฟรย์ (Freyr) ผู้นำสันติภาพและความเพลิดเพลินสู่มนุษยชาติ ผ่านทางฤดูกาลและการกสิกรรม; อีดุนน์ (Iðunn) เทพเจ้าผู้ทรงรักษาแอปเปิลที่ให้ความเยาว์วัยชั่วนิรันดร์; เฮม์ดาลร์ (Heimdallr) เทพเจ้าลึกลับผู้ประสูติแต่มารดาเก้าตน ทรงสามารถฟังเสียงหญ้าโต มีพระทนต์เป็นทองคำ และมีเขาสัตว์ที่เป่าได้ดังกึกก้อง; และโยตุนโลกิ ผู้นำโศกนาฏกรรมมาสู่ทวยเทพโดยวางแผนให้บัลเดอร์ (Baldr) พระโอรสแห่งเทพเจ้าฟริกก์ ต้องตาย เป็นต้น เทพปกรณัมนอร์สจัดเหล่าเทพเจ้าออกเป็นสองกลุ่ม คือ พวกอัสร์ (Æsir) ซึ่งมีรากคำเดียวกับ "อสูร" ในภาษาสันสกฤต ได้แก่ พวกเทพเจ้าองค์สำคัญๆในเทพวิหารของนอร์ส (เช่น โอดิน, ธอร์, ฟริกก์, บัลเดอร์ ฯลฯ) พวกหนึ่ง และ พวกวาเน็น หรือวานร์ อันเป็นเหล่าเทพที่มีความเกี่ยวพันกับความอุดมสมบูรณ์ ปัญญาเฉลียวฉลาด ธรรมชาติ และการรู้อนาคตอีกพวกหนึ่ง ทั้งสองพวกเข้าทำสงครามกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ จนในที่สุดรู้ว่าตนมีอำนาจเท่าๆกัน นอกจากนี้ในโลกยังมีสัตว์และเผ่าในเทพนิยายอยู่อีกนานับประการ (เช่น ยักษ์, คนแคระ, เอลฟ์, และภูตในแผ่นดิน) จักรวาลวิทยาของนอร์สประกอบด้วยโลกเก้าโลก ซึ่งขนาบอิกดระซิล ต้นไม้แห่งเอกภพ โลกมนุษย์ในจักรวาลวิทยานอร์สมีชื่อเรียกว่า มิดการ์ นอกจากนี้ยังมีภพหลังความตายอยู่หลายภพซึ่งมีเทพเจ้าพิทักษ์รักษาอยู่แตกต่างกัน ในตำนานของนอร์สมีตำนานสร้างโลกอยู่หลายแบบ มีการทำนายว่าโลกเหล่านี้จะกำเนิดใหม่หลังเหตุการณ์แรกนะร็อก เมื่อเกิดการยุทธ์มโหฬารระหว่างเหล่าทวยเทพและฝ่ายศัตรู และโลกถูกเพลิงประลัยกัลป์หุ้มเพื่อถือกำเนิดใหม่ ที่นั่น เทพเจ้าที่เหลือรอดจะประชุม แผ่นดินจะเขียวอุดม และมนุษย์สองคนจะเพิ่มประชากรโลกอีกครั้ง.

มิดเดิลเอิร์ธและเทพปกรณัมนอร์ส · เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนและเทพปกรณัมนอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

เทววิทยา

ทววิทยา (theology) ในความหมายอย่างแคบคือวิชาว่าด้วยพระเจ้าและความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ ความหมายอย่างกว้างคือการศึกษาเรื่องศาสนา อิทธิพลของศาสนา ธรรมชาติของความจริงทางศาสนา อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล หรือหมายถึงวิชาชีพที่มาจากการฝึกฝนเรียนรู้ทางด้านศาสนศึกษาที่มหาวิทยาลัย สำนักเทวศาสตร์ หรือเซมินารี.

มิดเดิลเอิร์ธและเทววิทยา · เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนและเทววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..

มิดเดิลเอิร์ธและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (ภาพยนตร์ไตรภาค)

นตร์ไตรภาค เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ประกอบด้วยภาพยนตร์สามเรื่องในแนวมหากาพย์แฟนตาซี ได้แก่ อภินิหารแหวนครองพิภพ (พ.ศ. 2544), ศึกหอคอยคู่กู้พิภพ (พ.ศ. 2545) และ มหาสงครามชิงพิภพ (พ.ศ. 2546) สร้างขึ้นจากนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้นบนโลกในจินตนาการ มิดเดิลเอิร์ธ เกี่ยวกับการเดินทางของฮอบบิทผู้หนึ่งชื่อ โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ และเพื่อนของเขา ที่จำเป็นต้องรับภารกิจในการทำลาย แหวนเอกธำมรงค์ เพื่อโค่นอำนาจของจอมมารมืดเซารอน พร้อมกันนั้น พ่อมดแกนดัล์ฟ และอารากอร์น ทายาทบัลลังก์กอนดอร์ ได้รวบรวมเหล่าอิสระชนแห่งมิดเดิลเอิร์ธเข้าร่วมในสงครามแหวน เพื่อเปิดทางให้โฟรโดสามารถปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จ เนื้อความในฉบับนิยายถูกดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์โดย ปีเตอร์ แจ็กสัน ร่วมกับ แฟรน วอลช์ และ ฟิลิปปา โบเยนส์ โดยมีนิวไลน์ ซีนีม่า เป็นผู้จัดจำหน่าย โครงการสร้างภาพยนตร์ไตรภาคชุดนี้ถือเป็นโครงการขนาดใหญ่มากที่สุดโครงการหนึ่งที่เคยเกิดขึ้น ด้วยทุนสร้างสูงถึง 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และใช้เวลาตลอดโครงการนานถึง 8 ปี โดยถ่ายทำภาพยนตร์ทั้งสามภาคไปในคราวเดียวกันทั้งหมด ที่ประเทศนิวซีแลนด์ บ้านเกิดของปีเตอร์ แจ็กสันเอง ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จทางด้านการเงินอย่างมาก โดยติดอันดับภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลในลำดับที่ 27, ที่ 20 และ ที่ 6 เรียงตามลำดับ และได้รับรางวัลออสการ์รวมทั้งสิ้น 17 รางวัล รวมถึงเสียงชื่นชมทั้งส่วนของนักแสดงและเทคนิคพิเศษ.

มิดเดิลเอิร์ธและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (ภาพยนตร์ไตรภาค) · เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (ภาพยนตร์ไตรภาค) · ดูเพิ่มเติม »

Unfinished Tales

ปก The Unfinished Tales วาดโดย Ted Nasmith Unfinished Tales เป็นหนังสือที่รวบรวมงานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เกี่ยวกับจักรวาลอาร์ดาและมิดเดิลเอิร์ธ ที่เขาเขียนไว้ยังไม่จบและยังไม่ได้ตีพิมพ์ เรียบเรียงขึ้นโดยบุตรชายคนที่สามของโทลคีน คือ คริสโตเฟอร์ โทลคีน ตีพิมพ์ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่นวนิยาย ที่ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวตลอดเล่ม เนื่องจากเป็นการรวบรวมงานเขียนชิ้นต่างๆ ของโทลคีนที่เขียนเอาไว้ตรงโน้นบ้าง ตรงนี้บ้าง ไม่ปะติดปะต่อกัน เนื้อหาหลายส่วนยังมีความขัดแย้งกันอยู่บ้างเนื่องจากยังไม่ได้แก้ไขเป็นบทสรุปสุดท้าย คริสโตเฟอร์ โทลคีน ได้รวบรวมส่วนที่เกี่ยวข้องกันมาไว้ด้วยกัน และแสดงหมายเหตุ หรือข้อสังเกตส่วนตัวเกี่ยวกับงานเขียนเหล่านั้น โดยพยายามเรียบเรียงให้ได้เนื้อหาที่ใกล้เคียงกับข้อสรุปสุดท้ายของโทลคีนให้มากที่สุด สิ่งที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้ คือรายละเอียดปลีกย่อยจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการตั้งชื่อตัวละคร หรือชื่อสถานที่ต่างๆ บนมิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งโทลคีนใส่ใจพิถีพิถันเป็นพิเศษ ทั้งในแง่ของความหมาย และความเป็นมา ถึงแก่ลงมือประพันธ์ประวัติศาสตร์ของชื่อสถานที่บางแห่ง ทำให้มีความสมจริงสมจังเป็นอย่างยิ่ง ข้อมูลในหนังสือ Unfinished Tales สามารถให้รายละเอียดเพิ่มเติมแก่ตัวละคร เหตุการณ์ หรือสถานที่บางแห่งที่ถูกกล่าวถึงเพียงย่อๆ ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ รวมถึงความเป็นมาของแกนดัล์ฟ และเหล่าพ่อมด (อิสตาริ) และเรื่องราวโดยละเอียดในการที่แหวนเอกสูญหายไปจากการรับรู้ของผู้คนบนมิดเดิลเอิร์ธในตอนต้นของยุคที่สาม นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดของเหตุการณ์ในยุคที่สอง โดยเฉพาะเรื่องราวของเกาะนูเมนอร์ ซึ่งไม่ใคร่ถูกกล่าวถึงมากนักทั้งใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะตีพิมพ์ออกมาหลังจากโทลคีนถึงแก่กรรมไปแล้วหลายปี แต่ก็ยังได้รับการตอบรับจากผู้อ่านอย่างดียิ่ง ทำให้คริสโตเฟอร์ โทลคีน มีกำลังใจที่จะเรียบเรียงงานชิ้นอื่นๆ ของบิดาออกมาอีก เกิดเป็นหนังสือชุด ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ จำนวน 12 เล่ม.

Unfinished Talesและมิดเดิลเอิร์ธ · Unfinished Talesและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มิดเดิลเอิร์ธและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

มิดเดิลเอิร์ธ มี 151 ความสัมพันธ์ขณะที่ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มี 175 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 44, ดัชนี Jaccard คือ 13.50% = 44 / (151 + 175)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มิดเดิลเอิร์ธและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: