โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มิดเดิลเอิร์ธ

ดัชนี มิดเดิลเอิร์ธ

แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อันเป็นฉากหลังของเรื่องราวตำนานทั้งหลายในงานเขียนของโทลคีน ปกรณัมของโทลคีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมและครอบครองโลก (ในตำนานเรียกว่า "อาร์ดา") ซึ่งมีทวีปหลักชื่อว่า "มิดเดิลเอิร์ธ" เป็นที่อยู่อาศัยของพวก 'มรรตัยชน' (คือมนุษย์ที่รู้ตาย) เป็นสถานที่ตรงข้ามกับ "อามัน" หรือ 'แดนอมตะ' อันเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกวาลาร์ กับพวกเอลฟ์ คำนี้มีรากมาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า middel-erde ซึ่งพัฒนามาจากคำในภาษาอังกฤษเก่าว่า middangeard แก่นสำคัญของงานเขียนของโทลคีนคือเรื่องของการช่วงชิง ควบคุม และครอบครองอำนาจหรือของวิเศษ ทำให้เกิดสงครามขึ้นบนมิดเดิลเอิร์ธหลายครั้งหลายหน คือสงครามระหว่างเหล่าเทพวาลาร์ เอลฟ์ และพันธมิตรชาวมนุษย์ฝ่ายหนึ่ง กับเทพอสูรเมลคอร์กับบริวาร ได้แก่พวกออร์ค มังกร และมนุษย์ที่เป็นทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในตำนานยุคหลัง เมื่อเมลคอร์สิ้นอำนาจและถูกขับไล่ออกไปจากอาร์ดาแล้ว บทบาทการช่วงชิงนี้ก็ตกไปอยู่กับเซารอน สมุนเอกของเขา เหล่าเทพวาลาร์ได้ยุติบทบาทของตนลงหลังจากที่เมลคอร์สิ้นอำนาจ เพราะการสงครามระหว่างพวกพระองค์ครั้งนั้นได้ทำให้โลกพินาศเสียหายไปมาก อย่างไรก็ดีพวกพระองค์ก็ยังส่ง อิสตาริ หรือเหล่าพ่อมด เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการต่อต้านอำนาจของเซารอน อิสตาริที่มีบทบาทมากคือ แกนดัล์ฟพ่อมดเทา และซารูมานพ่อมดขาว แกนดัล์ฟได้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี โดยได้ช่วยเหลือชาวมิดเดิลเอิร์ธอย่างถึงที่สุดเพื่อโค่นอำนาจเซารอนลงให้ได้ แต่ซารูมานกลับพ่ายแพ้ต่อความคิดฉ้อฉลแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ ช่วงชิงอำนาจบนมิดเดิลเอิร์ธแข่งกับเซารอนเสียเอง สำหรับพลเมืองชาวมิดเดิลเอิร์ธพวกอื่นๆ ได้แก่ คนแคระ เอนท์ และฮอบบิท อันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในการสร้างสรรค์งานของโทลคีน เขาได้จัดทำแผนที่ของมิดเดิลเอิร์ธขึ้นเป็นจำนวนมาก แสดงถึงดินแดนและสถานที่ต่างๆ ที่ตำนานของเขาเอ่ยถึง แผนที่บางส่วนได้รับการตีพิมพ์ในช่วงชีวิตของเขา แต่ก็ยังมีแผนที่อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ตีพิมพ์เลยจนกระทั่งเขาเสียชีวิตไปแล้ว แผนที่ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในยุคที่หนึ่งเกิดขึ้นบนดินแดนที่เรียกชื่อว่า เบเลริอันด์ ดินแดนนี้ต่อมาได้จมลงสู่ทะเลหลังสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเทพวาลาร์กับเมลคอร์ คงเหลือแต่เทือกเขาสีน้ำเงินที่ปรากฏอยู่ทางขวาสุดของแผนที่ เป็นจุดเชื่อมต่อเดียวกันกับเทือกเขาสีน้ำเงินที่อยู่ทางด้านซ้ายสุดของแผนที่ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ดินแดนทางด้านตะวันออกของเทือกเขาสีน้ำเงินเป็นที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่สองและสาม โทลคีนบอกว่ามิดเดิ้ลเอิร์ธนั้นคือโลกของเรา เพียงแต่เป็นช่วงเวลาในอดีต โดยประมาณว่าปลายยุคที่สามคือช่วงระยะประมาณ 6,000 ปีก่อนยุคของโทลคีน เขายังบรรยายเขตแดนที่ฮอบบิทอาศัยว่าอยู่ที่ "ตะวันตกเฉียงเหนือของโลกเก่า ทางตะวันออกของทะเลใหญ่",เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์, บทนำ, หน้า 2 ซึ่งอ้างอิงถึงอังกฤษและเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปอย่างชัดเจน ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน ถูกแบ่งออกเป็นหลายยุค เรื่องราวที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และเรื่องราวใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เกิดขึ้นในราวปลายยุคที่สาม และนำไปสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่สี่ ในขณะที่เรื่องราวใน ซิลมาริลลิออน ซึ่งเป็นงานเขียนของโทลคีนเกี่ยวกับมิดเดิลเอิร์ธที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ยุคสร้างโลกและยุคที่หนึ่งเป็นส่วนใหญ.

151 ความสัมพันธ์: บรีบัลร็อกบิลโบ แบ๊กกิ้นส์บุตรแห่งอิลูวาทาร์ฟิงโกลฟินฟินร็อดฟินเวพ.ศ. 2457พ่อมด (มิดเดิลเอิร์ธ)กษัตริย์อาเธอร์กอลลัมกอนดอร์กอนโดลินการอพยพครั้งใหญ่ของเอลฟ์กาลาเดรียลกิมลีภาษากรีกภาษาศาสตร์ภาษาอังกฤษภาษาอังกฤษเก่าภาษาซินดารินภาษาโรเฮียร์ริคภาษาเยอรมันภาษาเวสทรอนภาษาเควนยาภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธมหาสงครามชิงพิภพมอร์กอธมอร์ดอร์มังกร (มิดเดิลเอิร์ธ)มากลอร์มายดรอสมิธลอนด์มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)ยุคที่สองแห่งอาร์ดายุคที่สามแห่งอาร์ดายุคที่สี่แห่งอาร์ดายุคที่หนึ่งแห่งอาร์ดารายชื่อสัตว์ในมิดเดิลเอิร์ธรางวัลออสการ์ริเวนเดลล์ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน กษัตริย์คืนบัลลังก์ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน มหันตภัยแห่งแหวนลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน หอคอยคู่พิฆาตลอธลอริเอนละตินลูธิเอนวันยาร์วาลา (มิดเดิลเอิร์ธ)ศึกชิงแหวนวิเศษ...ศึกหอคอยคู่กู้พิภพสม็อกสวรรค์สงครามห้าทัพสงครามแหวนสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้ายสงครามแห่งเบเลริอันด์อภินิหารแหวนครองพิภพออร์ค (มิดเดิลเอิร์ธ)ออสซิริอันด์อามันอารากอร์นอาร์ดาอาร์นอร์อาวเลอิลูวาทาร์อิงคลิงส์อิซิลดูร์อคัลลาเบธอนาริออนฮอบบิทฮอบบิท (หนังสือ)ฮารัดฮูริน ธาลิออนจักรวาลวิทยาธรันดูอิลธิงโกลทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์ทัวร์กอนทูริน ทูรัมบาร์ดูเนไดน์คริสโตเฟอร์ โทลคีนคาซัดดูมคณะพันธมิตรแห่งแหวนคนแคระคนแคระ (มิดเดิลเอิร์ธ)ตำนานบุตรแห่งฮูรินตำนานแห่งซิลมาริลซารูมานซิลมาริลซินดาร์ซี. เอส. ลิวอิสปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธประวัติศาสตร์ลอร์ดออฟเดอะริงส์ประวัติศาสตร์อาร์ดาปีเตอร์ แจ็กสันนกอินทรี (มิดเดิลเอิร์ธ)นรกนาซกูลนูเมนอร์แกนดัล์ฟแม่น้ำในมิดเดิลเอิร์ธแหวนแห่งอำนาจแอตแลนติสแผนที่แซมไวส์ แกมจีโฟรโด แบ๊กกิ้นส์โรฮันโรโตสโคปโอโรเมโนกร็อดโนลดอร์ไชร์ (มิดเดิลเอิร์ธ)ไมอาไอนัวร์ไอเซนการ์ดเบวูล์ฟเบเรนเบเลกอสต์เบเลริอันด์เฟอานอร์เกมออนไลน์แบบเล่นตามบทบาทเมลิอันเมอร์ลินเมอเรียด็อค แบรนดี้บั๊กเมิร์ควู้ดเลโกลัสเอกธำมรงค์เอลฟ์เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)เอลรอนด์เออาเรนดิลเอนท์เอนดอร์เอไดน์เอเรบอร์เอเรกิออนเอเรียดอร์เอเลนดิลเจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเทพปกรณัมนอร์สเทววิทยาเทเลริเดลเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (ภาพยนตร์ไตรภาค)เซารอนเปเรกริน ตุ๊กUnfinished Tales ขยายดัชนี (101 มากกว่า) »

บรี

รี (Bree) เป็นชื่อเมืองหนึ่งในนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งเชื่อว่าโทลคีนได้แรงบันดาลใจมาจากแคว้นบัคคิงแฮมเชอร์ ที่เขามักเดินทางไปเที่ยวบ่อยๆ ระหว่างศึกษาอยู่ที่ออกซฟอร์ด ในนิยาย บรี เป็นเมืองเอกของแคว้น บรีแลนด์ ซึ่งอยู่ถัดจากเขาสุสานและป่าดึกดำบรรพ์ออกมาทางตะวันออก เมืองนี้ตั้งอยู่บนชุมทางของถนนสายตะวันออก และถนนเหนือใต้ (หรือ กรีนเวย์) กึ่งกลางแผ่นดินเอเรียดอร์ มีชุมชนมนุษย์ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่มานานแล้ว และการที่เมืองนี้ตั้งอยู่บนชุมทาง จึงเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ มนุษย์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่เป็นพวกที่ไม่ได้เดินทางไปสู่แผ่นดินเบเลริอันด์นับแต่ยุคบรรพกาล จึงเป็นคนละตระกูลกันกับชาวเอไดน์ นอกจากพวกมนุษย์ บรีแลนด์ยังเป็นแว่นแคว้นที่มีชาวฮอบบิทมาอาศัยอยู่ด้วยมากมาย เมืองบรีเป็นเมืองที่มนุษย์และฮอบบิทใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเพียงแห่งเดียวบนมิดเดิลเอิร์ธ การที่เมืองบรี เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าและการเดินทาง จึงมีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างเกิดขึ้นที่นี่ เช่น เป็นที่ซึ่งแกนดัล์ฟได้พบกับธอริน โอเคนชิลด์ กษัตริย์ชาวคนแคระ เป็นจุดเริ่มต้นของยุทธการเอเรบอร์ ซึ่งก็คือการผจญภัยในเรื่องเดอะฮอบบิท บรีมีโรงเตี๊ยมที่พักมากมาย หนึ่งในนั้นคือ "โรงเตี๊ยมม้าเต้น" (Prancing Pony Inn) ซึ่งเป็นจุดหมายเดินทางแรกของโฟรโดกับคณะเพื่อมาพบกับแกนดัล์ฟ แต่กลับได้พบกับอารากอร์นแทน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและบรี · ดูเพิ่มเติม »

บัลร็อก

ัลร็อก (Balrog) เป็นชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน คำว่า 'บัลร็อก' เป็นภาษาซินดาริน คำเควนยาเรียกว่า วาลาเราโค (Valarauko) มีความหมายถึงสิ่งมีชีวิตรูปร่างคล้ายมนุษย์ ผู้ควบคุมจิตวิญญาณแห่งไฟและเงามืด บัลร็อกไม่ได้สร้างกายหยาบจึงมีร่างกายเป็นเปลวไฟแต่บางทีก็คลุมกายด้วยความมืด อาวุธของบัลร็อกคือแส้ที่ทำด้วยเปลวไฟ ตามปกรณัมกล่าวถึงบัลร็อกว่าเป็นจิตวิญญาณที่ทรงพลังอำนาจสูงยิ่ง บ้างก็ว่าบัลร็อกเป็น ไมอาร์ (Spirit ซึ่งให้กำเนิดโดย Iluvatar) กลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นดวงจิตแห่งไฟ มีชีวิตอยู่มาตั้งแต่แรกเริ่ม เดิมทีนั้นเป็นฝ่ายดีต่อมาถูกความชั่วร้ายของเมลคอร์เข้าครอบงำกลายเป็นฝ่ายอธรรม มีความชั่วร้ายเป็นรองก็แต่เซารอนและติดตามเมลคอร์มาจากโลกภายนอกนับแต่อดีตกาลนานโพ้น บัลร็อกออกรบทำสงครามกับพวกเอลฟ์มาตั้งแต่ยุคที่หนึ่งของอาร์ดาและถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก ส่วนที่เหลือก็ซ่อนตัวอยู่ใต้ดิน แม่ทัพบัลร็อกคนสำคัญได้แก่ กอธม็อก (Gothmog) ซึ่งเป็นผู้สังหารกษัตริย์ฟิงกอน บัลร็อกยังได้ร่วมรบอยู่ในสงครามแห่งเบเลริอันด์หลายต่อหลายครั้ง ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ คณะพันธมิตรแห่งแหวนประจันหน้ากับบัลร็อกระหว่างการเดินทางผ่านเหมืองมอเรีย มีเพียงแกนดัล์ฟซึ่งเป็นไมอาร์เท่านั้นที่สามารถต่อกรกับบัลร็อกได้.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและบัลร็อก · ดูเพิ่มเติม »

บิลโบ แบ๊กกิ้นส์

ลโบ แบ๊กกิ้นส์ (Bilbo Baggins) เป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในปกรณัมของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาปรากฏในนิยายเรื่องเดอะฮอบบิท และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ในฐานะผู้ครองแหวนคนที่ห้.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและบิลโบ แบ๊กกิ้นส์ · ดูเพิ่มเติม »

บุตรแห่งอิลูวาทาร์

ในจินตนิยายชุด ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน บุตรแห่งอิลูวาทาร์ คือ เอลฟ์ และมนุษย์ ซึ่งเป็นสองเผ่าพันธุ์ที่กำเนิดจากอิลูวาทาร์ (พระผู้เป็นหนึ่ง) แต่เพียงองค์เดียว ต่างจากคนแคระเนื่องจากเผ่าพันธุ์คนแคระนั้นถูกสร้างโดยอาวเลเทพแห่งการช่าง โดยเผ่าพันธุ์เอลฟ์นั้นได้ชื่อว่า ผู้มาก่อน เนื่องจากเป็นเผ่าพันธุ์ที่ตื่นขึ้นก่อนมนุษย์ในยุคแห่งพฤกษา และยังมีอีกชื่อหนึ่งคือ เควนดิ (Quendi) หรือ ผู้สามารถพูดได้ เนื่องจากในยุคแห่งพฤกษานั้นมีเพียงเอลฟ์แต่เพียงผู้เดียวที่สามารถสื่อสารกันด้วยการพูด โดยความตั้งใจของอิลูวาทาร์นั้นคือให้เอลฟ์เป็นอมตะและมีชะตากรรมผูกพันกับโลกจนกว่าจะถึงวาระสุดท้ายของอาร์ดา เผ่าพันธุ์มนุษย์นั้นได้ชื่อว่า ผู้ตามมาทีหลัง เนื่องจากตื่นขึ้นในช่วงต้นของยุคที่หนึ่งแห่งอาร์ดา โดยได้รับพรแห่งมนุษย์นั่นคือความตาย ชะตากรรมของมนุษย์จึงไม่ถูกผูกพันไว้กับชะตากรรมของโลกใบนี้ตามประสงค์ของอิลูวาทร์ มนุษย์จึงได้อีกชื่อหนึ่งคือ ผู้รู้จักตาย หมวดหมู่:สิ่งมีชีวิตในตำนานของโทลคีน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและบุตรแห่งอิลูวาทาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟิงโกลฟิน

ตามปกรณัมชุด ซิลมาริลลิออน ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ฟิงโกลฟิน (Fingolfin) เป็นกษัตริย์ของชาวโนลดอร์พลัดถิ่นบนมิดเดิ้ลเอิร์ธ พระองค์เป็นโอรสองค์ที่สองของกษัตริย์ฟินเวกับพระนางอินดิส มีพี่ชายต่างมารดาคือ เฟอานอร์ และน้องชายร่วมมารดาเดียวกันคือ ฟินาร์ฟิน ฟิงโกลฟินมีโอรสธิดารวมสี่องค์คือ ฟิงกอน ทัวร์กอน อาเรเดล และอาราคาโน (ไม่ได้เอ่ยถึงในปกรณัม) ในปกรณัมกล่าวถึงฟิงโกลฟินว่า เป็นผู้มีร่างกายกำยำแข็งแรง จิตใจห้าวหาญ บางแห่งยกย่องว่าพระองค์เป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาบุตรแห่งอิลูวาทาร์ทั้งปวง ชื่อของพระองค์ในภาษาเควนยา คือ โนโลฟินเว (Nolofinwë) ซึ่งมีความหมายว่า 'บุตรแห่งฟินเวผู้เฉลียวฉลาด' ฟิงโกลฟินและฟินาร์ฟิน เป็นโอรสของกษัตริย์ฟินเวกับพระนางอินดิส ซึ่งอภิเษกหลังจากมีริเอล พระชายาองค์แรกและมารดาของเฟอานอร์สิ้นพระชนม์ ดังนั้นจึงมักมีเรื่องขัดเคืองกันระหว่างเฟอานอร์กับฟิงโกลฟินเสมอๆ เพราะต่างก็เป็นโอรสองค์ใหญ่ เหตุแห่งความขัดเคืองกันส่วนใหญ่มาจากการยุแยงของเมลคอร์ เทพอสูรที่ริษยาในความรุ่งเรืองของเหล่าวาลาร์และพวกเอลฟ์ ครั้งหนึ่งเกิดการวิวาทกันจนเฟอานอร์ชักดาบออกต่อหน้าฟิงโกลฟิน จนเป็นเหตุให้เฟอานอร์ถูกลงโทษ ให้เนรเทศออกจากนครทิริออน ทว่าหลังจากนั้น มานเวเทพบดีได้จัดงานเลี้ยงและไกล่เกลี่ยให้พี่น้องทั้งสองกลับคืนดีกัน แต่เมลคอร์และอุงโกลิอันท์ก่อเหตุร้าย ทำลายทวิพฤกษา สังหารกษัตริย์ฟินเว แล้วชิงซิลมาริลของเฟอานอร์ไปเสียจากท้องพระคลังที่ฟอร์เมนอส หลบหนีไปยังมิดเดิ้ลเอิร์ธ เฟอานอร์ประกาศตามไล่ล่ามอร์กอธ (หรือเมลคอร์) ประชาชนชาวโนลดอร์ส่วนใหญ่ก็เคียดแค้นและจะตามไล่ล่ามอร์กอธด้วย ฟิงโกลฟินจึงเป็นผู้นำชาวโนลดอร์ส่วนใหญ่ที่ติดตามเฟอานอร์กลับมายังมิดเดิ้ลเอิร์ธ หลังจากเฟอานอร์สิ้นพระชนม์ มายดรอส โอรสองค์ใหญ่ของเฟอานอร์สละสิทธิ์ในราชสมบัติ ฟิงโกลฟินจึงขึ้นเป็นจอมกษัตริย์ของชาวโนลดอร์พลัดถิ่นบนมิดเดิ้ลเอิร์ธ เขาเป็นผู้นำในการสงครามต่อสู้กับมอร์กอธหลายครั้ง จนกระทั่งมอร์กอธตีโต้ด้วยไฟ ในสงครามดากอร์บราโกลลัค ทำให้ฝ่ายกองทัพเอลฟ์ได้รับความเสียหายยับเยิน รวมทั้งโอรสสององค์ของฟินาร์ฟิน คืออังกร็อดและอายก์นอร์ สิ้นพระชนม์ในการศึกครั้งนี้ด้วย ทำให้ฟิงโกลฟินลุแก่โทสะ บุกเพียงลำพังพระองค์เดียวเข้าไปถึงที่มั่นของมอร์กอธในอังก์บันด์ ฟิงโกลฟินได้สู้รบกับมอร์กอธตัวต่อตัว และสร้างบาดแผลแก่มอร์กอธได้ถึงเจ็ดแผล (จนทำให้มอร์กอธต้องเดินเขย่งขามานับแต่นั้น) แต่ไม่มีผู้ใดสามารถสังหารมอร์กอธซึ่งเป็นหนึ่งในเหล่าวาลาร์ได้ สุดท้ายฟิงโกลฟินจึงถูกมอร์กอธสังหาร โธรอนดอร์พญาอินทรี นำร่างของฟิงโกลฟินออกมา ไปไว้ยังเขตเทือกเขาของกอนโดลิน ทัวร์กอนได้สร้างหลุมพระศพของฟิงโกลฟินในที่นั้น.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและฟิงโกลฟิน · ดูเพิ่มเติม »

ฟินร็อด

ตามปกรณัมชุด เดอะซิลมาริลลิออน ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ฟินร็อด เฟลากุนด์ (Finrod Felagund) เป็นเจ้าชายเอลฟ์ชาวโนลดอร์ ทรงเป็นโอรสองค์ใหญ่ของฟินาร์ฟิน ผู้เป็นโอรสของกษัตริย์ฟินเว จอมกษัตริย์องค์แรกของชาวโนลดอร์ทั้งมวล มารดาของพระองค์คือเจ้าหญิงเออาร์เวนแห่งอัลควาลอนเด ธิดาของกษัตริย์โอลเว ชาวเทเลริ ชื่อ 'ฟินร็อด' เป็นคำในภาษาซินดาริน ส่วนชื่อจริงของพระองค์เป็นภาษาเทเลริน คือ ฟินดาราโท (Findaráto) มีความหมายว่า 'ทายาทแห่งฟินเวผู้สูงศักดิ์' ซึ่งชื่อนี้ในภาษาเควนยาจะออกเสียงเป็น อาร์ทาฟินเด (Artafinde) ส่วนสมัญญานาม เฟลากุนด์ เป็นชื่อที่เหล่าคนแคระผู้ก่อสร้างอาณาจักรถ้ำแห่งนาร์โกธรอนด์ ตั้งถวายแด่พระองค์ มีความหมายว่า 'ผู้ขุดเจาะถ้ำ' นอกจากนี้พระองค์ยังมีอีกสมัญญาหนึ่งว่า โนม (Nóm) ซึ่งหมายถึง 'ผู้ทรงปัญญา' เป็นชื่อที่มนุษย์ในตระกูลเบออร์ตั้งถวายแด่พระองค์ ฟินร็อดเป็นโอรสของฟินาร์ฟินกับเออาร์เวน มีน้องชายคือ โอโรเดร็ธ อังกร็อด อายก์นอร์ และน้องสาวสุดท้องคือ กาลาเดรียล พระองค์เดินทางมายังมิดเดิลเอิร์ธเมื่อครั้งกบฏชาวโนลดอร์เดินทัพออกจากแผ่นดินอมตะ เพื่อไล่ตามล้างแค้นมอร์กอธ ทั้งที่ขัดต่อพระบัญชาของเหล่าวาลาร์ ฟินร็อดเป็นผู้ก่อตั้งหอคอยมินัสทิริธ ที่ช่องเขาแห่งซิริออน ภายหลังหอคอยนี้ตกไปอยู่ใต้อำนาจของมอร์กอธ และเป็นสถานที่ซึ่งฟินร็อดสิ้นพระชนม์ เนื่องจากพระองค์เป็นโอรสของเออาร์เวน เป็นนัดดาของกษัตริย์โอลเวชาวเทเลริ จึงได้รับอนุญาตให้เข้าไปยังอาณาจักรโดริอัธของกษัตริย์ธิงโกล ซึ่งเป็นเชษฐาของกษัตริย์โอลเว ฟินร็อดเป็นหลานรักของกษัตริย์ธิงโกล และได้รับคำแนะนำให้สร้างอาณาจักรนาร์โกธรอนด์ขึ้น ในลักษณะเดียวกันกับเมเนกร็อธ คือเป็นราชวังที่ขุดเจาะลงไปในถ้ำใต้พื้นดิน แล้วฟินร็อดจึงขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งนาร์โกธรอนด์ ทรงยกหอคอยมินัสทิริธให้อยู่ในความดูแลของโอโรเดร็ธพระอนุชา ในสงครามดากอร์บราโกลลัค ฟินร็อดตกอยู่ในวงล้อมของพวกออร์ค แต่ทรงหนีรอดออกมาได้ด้วยความช่วยเหลือของบาราเฮียร์ ทายาทแห่งตระกูลเบออร์ พระองค์จึงประทานแหวนซึ่งมีตราประจำราชสกุลฟินาร์ฟินให้แก่บาราเฮียร์ เป็นเครื่องระลึกถึงวีรกรรมครั้งนั้น (แหวนนี้ต่อมามีชื่อเรียกว่า แหวนแห่งบาราเฮียร์) พร้อมทั้งคำสัญญาจะให้ความช่วยเหลือแก่ทายาทของบาราเฮียร์อย่างเต็มกำลังหากพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ จากคำสัญญานี้ทำให้ฟินร็อดร่วมเดินทางไปกับภารกิจเสี่ยงภัยของเบเรน บุตรแห่งบาราเฮียร์ เพื่อไปชิงซิลมาริลจากมงกุฎของมอร์กอธตามบัญชาของกษัตริย์ธิงโกล พระองค์ปกป้องเบเรนจนถึงที่สุดเมื่อพวกเขาถูกเซารอนจับตัวได้ ระหว่างเดินทางผ่านช่องเขาซิริออน (ซึ่งเวลานั้นตกอยู่ใต้อำนาจของมอร์กอธแล้ว) พระองค์ต่อสู้กับปีศาจหมาป่าเพื่อปกป้องเบเรน จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ที่หอคอยมินัสทิริธซึ่งพระองค์เป็นผู้ก่อตั้งขึ้นมาเอง.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและฟินร็อด · ดูเพิ่มเติม »

ฟินเว

ฟินเว (Finwë) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมเรื่อง ซิลมาริลลิออน ของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาเป็นผู้นำของเอลฟ์ชาวโนลดอร์ ซึ่งได้เป็นตัวแทนไปเยือนทวีปอามัน แล้วกลับมาชักชวนพวกพ้องให้ยินยอมออกเดินทางจากมิดเดิลเอิร์ธไปสู่แผ่นดินอมตะ หลังจากชาวโนลดอร์เดินทางไปถึงอามันแล้ว ฟินเวได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ของชาวโนลดอร์ทั้งปวง ฟินเวเป็นจอมกษัตริย์แห่งโนลดอร์ พระองค์มีชายาองค์แรกนามว่า มีริเอล ทรงมีโอรสองค์หนึ่ง ชื่อว่า 'คูรูฟินเว' ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า 'เฟอานอร์' หลังจากเฟอานอร์ประสูติ มีริเอลก็สิ้นพระชนม์ ฟินเวจึงอภิเษกชายาอีกองค์หนึ่งนามว่า อินดิส ชาววันยาร์ มีโอรสธิดาสี่องค์คือ ฟิงโกลฟิน ฟินาร์ฟิน ฟินดิส และอิริเม เมื่อเมลคอร์พ้นจากการจองจำ เขาคิดแก้แค้นเหล่าวาลาร์และทำลายพวกเอลฟ์ ยุแยงจนทำให้เฟอานอร์ต้องถูกเนรเทศออกจากทิริออน เมืองหลวงของพวกเอลฟ์ ไปอยู่ที่นครฟอร์เมนอสทางเหนือของอามัน ฟินเวซึ่งรักลูกชายคนโตมากที่สุด จึงตามไปอยู่กับเฟอานอร์ที่นั่นด้วย แต่แล้วพระองค์ก็ถูกเมลคอร์สังหารที่ฟอร์เมนอส หลังจากที่เขาทำลายทวิพฤกษาและมาขโมยซิลมาริลที่นี่ ส่วนเอลฟ์คนอื่น ๆ ไปร่วมงานเลี้ยงที่ยอดเขาทานิเควทิลกันหมด การสิ้นพระชนม์ของฟินเวครั้งนี้เป็นเหตุผลสำคัญข้อหนึ่งที่ทำให้เฟอานอร์และชาวโนลดอร์จำนวนมากโกรธแค้นเมลคอร์ จนตั้งชื่อให้เขาใหม่ว่า 'มอร์กอธ' แล้วยกทัพออกตามล่าเขากลับมายังมิดเดิ้ลเอิร.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและฟินเว · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2457

ทธศักราช 2457 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1914 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและพ.ศ. 2457 · ดูเพิ่มเติม »

พ่อมด (มิดเดิลเอิร์ธ)

ในโลกแห่งจินตนาการของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน พ่อมด (Wizard) แห่งมิดเดิลเอิร์ธ เป็นชื่อเรียกกลุ่มของชายชราที่มีพลังอำนาจทางจิต คำว่า 'พ่อมด' แปลมาจากความหมายดั้งเดิมของคำว่า อิสทาร์ (Istar) ซึ่งเป็นภาษาเควนยา หมายถึง ผู้มีความรอบรู้ ผู้มีภูมิปัญญา รูปพหูพจน์ของอิสทาร์ คือ อิสทาริ (Istari) ส่วนในภาษาซินดารินจะเรียกว่า อิธรอน (Ithron) รูปพหูพจน์ว่า อิธริน (Ithryn).

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและพ่อมด (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

กษัตริย์อาเธอร์

รูปปั้นกษัตริย์อาเธอร์ ที่โบสถ์ Hofkirche, Innsbruck, ออสเตรีย ออกแบบโดย Albrecht Dürer และสร้างโดย Peter Vischer ผู้พ่อ ในคริสต์ทศวรรษ 1520Barber, Richard (2004), ''The Holy Grail: Imagination and Belief'', London: Allen Lane, ISBN 978-0713992069. กษัตริย์อาเธอร์ (King Arthur) เป็นกษัตริย์อังกฤษผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในตำนานเล่าขานในฐานะวีรบุรุษในยุคกลาง ซึ่งได้ปกป้องเกาะบริเตนจากการรุกรานของชาวแซกซันในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 รายละเอียดส่วนใหญ่เกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์ปรากฏอยู่ในเรื่องเล่าขาน ตำนานพื้นบ้าน และวรรณกรรมที่แต่งขึ้น นักประวัติศาสตร์ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่ากษัตริย์อาเธอร์มีตัวตนอยู่ในประวัติศาสตร์จริงหรือไม่Higham, N. J. (2002), King Arthur, Myth-Making and History, ลอนดอน: Routledge, ISBN 978-0415213059.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและกษัตริย์อาเธอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กอลลัม

กอลลัม (Gollum) เป็นตัวละครเอกในจินตนิยายเรื่อง เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นชนเผ่าฮอบบิท มีชื่อเดิมว่า สมีโกล ปรากฎตัวครั้งแรกในเดอะฮอบบิท และปรากฎตัวในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอนหอคอยคู่พิฆาต.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและกอลลัม · ดูเพิ่มเติม »

กอนดอร์

กษาขาว ดาวเจ็ดดวง และมงกุฎปีก กอนดอร์ (Gondor) คือชื่ออาณาจักรมนุษย์แห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในนวนิยายแฟนตาซีเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ก่อตั้งโดย อิซิลดูร์ และ อนาริออน โอรสของ เอเลนดิล เมื่อปีที่ 3320 ของยุคที่สองเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและกอนดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

กอนโดลิน

กอนโดลิน (Gondolin) เป็นชื่ออาณาจักรเอลฟ์แห่งหนึ่งในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน โดยปรากฏบรรยายอย่างละเอียดอยู่ในหนังสือ Book of Lost Tales และ ซิลมาริลลิออน ในชื่อตอนเดียวกันคือ การล่มสลายของกอนโดลิน เป็นหนึ่งในสาม "มหาตำนาน" ที่โทลคีนยกย่องไว้ (อีกสองเรื่องคือ "ตำนานของเบเรนและลูธิเอน" กับ "ตำนานบุตรแห่งฮูริน") ทัวร์กอนเป็นผู้สร้างนครกอนโดลินขึ้นตามคำแนะนำของเทพอุลโม เพื่อใช้เป็นที่มั่นสำหรับหลบซ่อนตัวให้พ้นจากการคุกคามของมอร์ก็อธ อาณาจักรนี้ตั้งอยู่ในที่ราบหุบเขาทุมลาเดนกลางวงล้อมของเทือกเขาวงแหวนหรือเอโคริอัธ เส้นทางเข้าออกผ่านเทือกเขาเป็นความลับ ส่วนบนฟ้าก็ไม่มีใครผ่านได้เพราะมีพญาอินทรีโธรอนดอร์กับบริวารคอยเฝ้าคุ้มครองอยู่ จึงไม่มีผู้ใดทราบที่ตั้งแน่ชัดของอาณาจักรแห่งนี้เลย อาณาจักรกอนโดลินเป็นอาณาจักรเอลฟ์ที่ยืนหยัดอยู่เป็นอาณาจักรสุดท้าย แต่ก็พินาศลงในที่สุดด้วยการทรยศของมายกลิน หลานของกษัตริย์ทัวร์กอนเอง ทำให้มอร์ก็อธสามารถยกทัพมาบุกโจมตีจนเมืองแตกได้ กษัตริย์ทัวร์กอนและมายกลินเสียชีวิตในคราวล่มนคร มีเพียงทูออร์ อิดริล และเออาเรนดิล กับพลเมืองติดตามอีกเล็กน้อยที่หนีออกไปได้ ด้วยการช่วยเหลือของเหล่าหัวหน้าตระกูลของกอนโดลิน เช่น กลอร์ฟินเดล และ เอคเธลีออน และไปสมทบกับเอลฟ์กลุ่มสุดท้ายที่เหลือบนแผ่นดินเบเลริอันด์ที่เมืองท่าปากแม่น้ำซิริออน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและกอนโดลิน · ดูเพิ่มเติม »

การอพยพครั้งใหญ่ของเอลฟ์

การอพยพครั้งใหญ่ หรือ การเดินทางครั้งใหญ่ ของพวกเอลฟ์ เป็นเหตุการณ์สำคัญในช่วงต้นของยุคสมัยในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ว่าด้วยเรื่องของโลกอาร์ดาและมิดเดิลเอิร์ธ กล่าวคือ เป็นการเดินทางออกจากริมทะเลสาบคุยวิเอเนน อันเป็นสถานที่ที่พวกเขาตื่นขึ้นเป็นครั้งแรก แล้วมุ่งหน้าไปสู่วาลินอร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการของเอลฟ์กลุ่มต่างๆ รวมถึงภาษาและวัฒนธรรมของชนชาติเหล่านั้น เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากการสงครามครั้งใหญ่ระหว่างปวงเทพวาลาร์ กับจอมมารเมลคอร์ ทำให้โลกมิดเดิลเอิร์ธส่วนใหญ่ตกอยู่ในสภาพพังพินาศ ปวงเทพจึงมีดำริให้ชักชวนเหล่าเอลฟ์ไปอยู่ด้วยกันที่ทวีปอามัน อย่างไรก็ดี มีเอลฟ์จำนวนหนึ่งที่ไม่ยินดีเข้าร่วมการอพยพครั้งนี้ เอลฟ์กลุ่มนี้ต่อมาเรียกว่า ชาวอวาริ ซึ่งหมายถึง "ผู้ไม่เต็มใจ" เทพโอโรเม เป็นผู้นำพาพวกเอลฟ์เดินทางไปสู่วาลินอร์ พระองค์พาพวกเขาเดินทางขึ้นไปทางเหนือของทะเลเฮลคาร์ ผ่านป่าใหญ่ไพศาล (ภายหลังคือป่าใหญ่กรีนวูด หรือ เมิร์ควู้ด) จนมาถึงแม่น้ำใหญ่อันดูอิน เอลฟ์ชาวเทเลริส่วนหนึ่งละทิ้งการเดินทางที่จุดนี้ ตั้งหลักปักฐานสร้างบ้านเรือนอยู่ในหุบเขาแห่งอันดูอิน เอลฟ์กลุ่มนี้ต่อมาเรียกว่า ชาวนันดอร์ เอลฟ์ที่เหลือเดินทางข้ามเทือกเขาฮิธายเกลียร์ไปได้ โดยข้ามช่องเขาที่ต่อมาเป็นที่ตั้งอาณาจักรริเวนเดลล์ เดินทางข้ามผ่านแผ่นดินกว้างใหญ่เอเรียดอร์ ตามเส้นทางถนนสายตะวันตก ข้ามเทือกเขาสีน้ำเงินหรือ เอเร็ดลูอิน เข้าไปสู่แผ่นดินเบเลริอันด์ อันเป็นแผ่นดินสุดท้ายทางฟากตะวันตกของมิดเดิลเอิร์ธ อยู่ริมมหาสมุทรใหญ่หรือทะเลเบเลกายร์ ที่แผ่นดินเบเลริอันด์นี้ เอลฟ์อีกจำนวนหนึ่งตกค้าง ตั้งถิ่นฐานขึ้นที่นี่ เนื่องจากมัวอยู่ติดตามหาธิงโกล ผู้นำของตน เอลฟ์กลุ่มนี้ต่อมาคือ ชาวซินดาร์ ชาววันยาร์และชาวโนลดอร์ รวมทั้งชาวเทเลริ อีกจำนวนหนึ่ง เดินทางข้ามทะเลเบเลกายร์ โดยขึ้นไปอยู่บนเกาะโทลเอเรสเซอา แล้วเทพอุลโม จึงเคลื่อนเกาะนั้นข้ามมหาสมุทรไป พวกวันยาร์และโนลดอร์เดินทางล่วงหน้าไปก่อน และได้ขึ้นฝั่งทวีปอามันจนหมดทุกคน แต่พวกเทเลริที่เดินทางข้ามไปทีหลัง ได้ร้องขอให้เทพอุลโมหยุดเกาะนั้นไว้ที่อ่าวเอลดามาร์ ด้วยเห็นแก่คำร้องขอของเทพออสเซ ชาวเทเลริกลุ่มนี้ตั้งถิ่นฐานอยู่บนเกาะโทลเอเรสเซอา ต่อมาภายหลังจึงได้ต่อเรือเดินทางไปจนถึงฝั่งทวีปอามันได้ และตั้งนครของพวกตนขึ้นที่ริมฝั่งเอลดามาร์ มีชื่อว่า อัลควาลอนเด ผลจากการอพยพครั้งใหญ่ของเอลฟ์ครั้งนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการแบ่งกลุ่มต่างๆ ของพวกเอลฟ์ ดังที่ปรากฏในเวลาต่อม.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและการอพยพครั้งใหญ่ของเอลฟ์ · ดูเพิ่มเติม »

กาลาเดรียล

กาลาเดรียล (Galadriel) เป็นตัวละครในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นเจ้าหญิงเอลฟ์ชาวโนลดอร์ (ลูกครึ่งเทเลริ) ที่เดินทางกลับมามิดเดิ้ลเอิร์ธนับตั้งแต่ยุคที่หนึ่ง ชื่อจริงของนางคือ แนร์เวน (Nerwen) อันเป็นชื่อมารดาตั้ง หมายถึง 'นางผู้เสมอชาย' (เนื่องจากนางมีร่างกายสูงใหญ่และมีพลังอำนาจมาก) ชื่อบิดาตั้งคือ อาร์ทานิส (Artanis) หมายถึง 'นางผู้สูงศักดิ์' ส่วนชื่อ 'กาลาเดรียล' เป็นคำในภาษาซินดารินของชื่อ อลาทาเรียล ซึ่งมีความหมายว่า 'นางผู้สวมมาลัยเศียรอันเรืองรอง' เป็นชื่อที่เคเลบอร์นตั้งให้แก่นาง เนื่องมาจากนางมีเส้นผมเป็นสีทองเหลือบเงินเปล่งปลั่งงดงาม.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและกาลาเดรียล · ดูเพิ่มเติม »

กิมลี

กิมลี เป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในจินตนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาเป็นคนแคระ ซึ่งเป็นบุตรหลานว่านเครือของ ดูริน เจ้าแห่งคนแคระผู้ยิ่งใหญ่ในยุคโบราณ.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและกิมลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาศาสตร์

ษาศาสตร์ (linguistics) คือ การศึกษาเกี่ยวกับภาษามนุษย์ ผู้ที่ศึกษาในด้านนี้เรียกว่า นักภาษาศาสตร.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและภาษาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษเก่า

ษาอังกฤษเก่า (Ænglisc, Anglisc, Englisc; Old English ย่อว่า OE) หรือ ภาษาแองโกล-ซัคเซิน (Anglo-Saxon) เป็นภาษาอังกฤษยุคแรก ที่พูดกันในบริเวณที่ปัจจุบันคือแคว้นอิงแลนด์ อังกฤษและสกอตแลนด์ตอนใต้ ในระหว่าง กลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 นับเป็นภาษาเจอร์แมนิกตะวันตก ด้วยเหตุนี้ จึงมีความคล้ายคลึงกับภาษาฟริเซียนเก่า (Old Frisian) และภาษาแซกซันเก่า (Old Saxon) นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับภาษานอร์สเก่า (Old Norse) และเชื่อมโยงไปถึงภาษาไอซ์แลนด์ปัจจุบัน (modern Icelandic) ด้วย ไวยกรณ์ของภาษาอังกฤษเก่ามีความใกล้เคียงกับไวยกรณ์ของภาษาเยอรมันสมัยใหม่ กล่าวคือ คำนาม คำวิเศษณ์ คำสรรพนาม และคำกริยา มีการผันเปลี่ยนรูปข้างท้ายของคำอยู่หลากหลายแบบ และการลำดับคำในประโยคก็มีอิสระมากกว่า ตัวอักษรของภาษาอังกฤษเก่าแค่เดิมเป็นระบบอักษรรูน (runic system) แต่ถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินนับแต่ศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษเก่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีการใช้งานตลอดระยะเวลาประมาณ 700 ปี นับตั้งแต่ชนแองโกล-แซ็กซอนอพยพเข้ามายังเกาะบริเตน สร้างอิงแลนด์ขึ้น ในคริสต์ศวรรษที่ 5 จนถึงระยะเวลาหลังพวกนอร์มันบุกรุกเข้าไปเมื่อ ค.ศ. 1066 หลังจากนั้นภาษาอังกฤษก็เคลื่อนเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สำคัญ ในยุคแรกๆ นี้ ภาษาอังกฤษเก่าได้ผสมกลมกลืนเข้ากับภาษาอื่นๆ ที่มีการติดต่อด้วย เช่น ภาษาเคลติก (Celtic) และภาษาถิ่นสองภาษาของภาษานอร์สเก่า (บรรพบุรุษของภาษาแดนิชในปัจจุบัน) จากการบุกรุกของพวกไวกิงจากทางเดนมาร์ก ซึ่งเข้ามาครอบครองและปกครองอาณาเขตในอิงแลนด์ตอนเหนือและตะวันออก หลังจากชาวนอร์แมนยกทัพเข้าชิงอังกฤษจากกษัตริย์แซ็กซอนมาปกครองได้ ใรปี..

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและภาษาอังกฤษเก่า · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซินดาริน

ษาซินดาริน (Sindarin) เป็นภาษาที่ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้นใช้ในนวนิยายของเขาในชุดมิดเดิลเอิร์ธ แรงบันดาลใจของการสร้างภาษานี้มาจากพื้นฐานของภาษาเวลช์ (Welsh) ซึ่งโทลคีนพบในการศึกษาโคลงโบราณ เขาได้ใช้เวลาประดิษฐ์ภาษานี้จนสมบูรณ์ใช้งานได้จริง เทียบเคียงกับภาษาเควนยา เดิมทีโทลคีนตั้งใจประดิษฐ์ภาษานี้ขึ้นเป็นภาษาของชาวโนลดอร์ แต่เปลี่ยนใจภายหลัง ภาษาซินดาริน ตามฉบับนิยาย เป็นภาษาของพวกเอลฟ์ ชาวเทเลริ ที่มิได้เข้าร่วมการเดินทางครั้งใหญ่ไปได้ตลอดรอดฝั่ง แต่ยังคงตกค้างอยู่บนมิดเดิลเอิร์ธ และตั้งถิ่นฐานขึ้นในแผ่นดินเบเลริอันด์ ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ธิงโกล และ เมลิอัน ไมอาเทวี ในอาณาจักรโดริอัธ เอลฟ์กลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า ชาวซินดาร์ หรือเอลฟ์แห่งสนธยา ภาษาของพวกเขาจึงเรียกว่า ภาษาซินดาริน ภาษาซินดารินมีกำเนิดมาจากคอมมอนเอลดาริน หรือภาษาดั้งเดิมของพวกเควนดิ จึงมีรากเดียวกันกับภาษาเควนยา ในยุคที่สาม ของโลกอาร์ดา คือเหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์นั้น ภาษาซินดารินเป็นภาษาที่พวกเอลฟ์ใช้กันแพร่หลายทั่วไป ดังนั้นภาษาเอลฟ์ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นชื่อคน ชื่อสถานที่ต่างๆ รวมทั้งอักขระที่จารึกบนประตูทางเข้าเหมืองมอเรีย ก็ล้วนเป็นภาษาซินดารินทั้งสิ้น.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและภาษาซินดาริน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาโรเฮียร์ริค

ษาโรเฮียร์ริค (Rohirric) เป็นภาษาประดิษฐ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ที่ปรากฏในนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในฐานะที่เป็นภาษาของชาวโรฮัน บางครั้งก็เรียกว่า ภาษาโรฮิเรียน หรือภาษาโรฮันนิส ในฉบับนิยาย โทลคีนเลือกใช้ภาษาแองโกล-แซกซอน มาแทนที่ภาษาโรเฮียร์ริค เนื่องจากโรเฮียร์ริคมีรากภาษาใกล้เคียงกันกับภาษาเวสทรอน ซึ่งโทลคีนเลือกใช้ภาษาอังกฤษไปแล้ว มีเพียงคำโรเฮียร์ริคโบราณไม่กี่คำที่โทลคีนตั้งไว้โดยไม่ใช้ภาษาแองโกล-แซกซอน เช่นคำว่า 'คูดดูคัน (kûd-dûkan)' ซึ่งเป็นคำเก่าแก่หมายถึง "ผู้อยู่ในโพรง" เป็นที่มาของคำว่า 'คูดุค' ชื่อที่ชาวฮอบบิทเรียกตัวเองในภาษาของพวกเขา แม้แต่คำว่า "ฮอบบิท" เอง ก็มีที่มาจากภาษาแองโกล-แซกซอนว่า 'โฮลบีตลา' หมายถึง "ผู้ขุดโพรง" คำโรเฮียร์ริคแท้ๆ อีกคำหนึ่งที่โทลคีนตั้งไว้ คือคำว่า "โล-" (lô–/loh–) ซึ่งพ้องกับคำในภาษาแองโกล-แซกซอนว่า "เอโอ" (éo) ใช้ในความหมายเกี่ยวกับม้า คำที่เกี่ยวข้องได้แก่ "โลกรัด" หมายถึง ดินแดนแห่งม้า/ผู้ขี่ม้า และคำว่า "โลทูร์" หมายถึงผองชนชาวอาชา ดังนั้นชื่อต่างๆ ที่ขึ้นด้วยคำว่า "เอโอ-" จึงเป็นชื่อที่ขึ้นด้วยคำว่า "โล-" ในภาษาโรเฮียร์ริคนั่นเอง ดังเช่น เอโอแมร์ เอโอวีน หรือชื่ออื่นๆ ของชาวโรฮัน (ข้อน่าสังเกตประการหนึ่งคือ คำในภาษาโรเฮียร์ริคที่หมายถึง ม้า คำนี้ ก็พ้องกับคำในภาษาฮังกาเรียนที่หมายถึง ม้า ด้วย คือคำว่า "โล" (ló)) นอกจากนี้ยังมีคำที่น่าสนใจอีกคำ คือคำว่า 'ทูรัค/ทูร์' (Tûrac/Tûr) ซึ่งถูกถอดภาษาเป็น "เธเอิด" (théod) มีความหมายถึง ผองชน,ดินแดน หรือราชันแห่งดินแดนและปวงชนก็ได้ ดังในคำว่า "โลทูร์" ที่ถอดภาษาไว้เป็น เอโอเธเอิด (Éothéod) หมายถึงชนชาวอาชา และในพระนามของกษัตริย์เธโอเดน (Théoden) ด้วยเช่นกัน อนึ่ง ภาษาของชาวโรห์วาเนียน ชาวเอสการ็อธ และชาวเดล (คือพลเมืองแดนเหนือในแผ่นดินโรห์วาเนียนทั้งหมด) ล้วนมีรากภาษาใกล้เคียงกับภาษาโรเฮียร์ริคทั้งสิ้น.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและภาษาโรเฮียร์ริค · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและภาษาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเวสทรอน

ษาเวสทรอน (Westron) เป็นภาษาประดิษฐ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ที่ใช้ในนิยายชุด มิดเดิลเอิร์ธ ในฉบับนิยายถือว่า ภาษาเวสทรอนเป็นเสมือน 'ภาษากลาง' ของโลกแห่งนั้น โดยเฉพาะในยุคสมัยในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ คำว่า "เวสทรอน" เป็นคำภาษาอังกฤษที่เลือกมาใช้ในการ 'แปล' ภาษานี้ (ตามที่โทลคีนว่า) มีที่มาจากคำว่า "ตะวันตก" (West) ซึ่งเป็นรากคำดั้งเดิมมาจากคำว่า อดูนิ (Adûni) ในภาษาอดูนาอิก ของชาวนูเมนอร์ ชื่อภาษาเวสทรอนในภาษาซินดารินเรียกว่า อันนูไนด์ (Annúnaid) หมายถึง ภาษาของชาวตะวันตก (Westron) บางครั้งก็เรียกว่า ฟาลาเธรน (Falathren) หมายถึง ภาษาชาวฝั่ง (Shore-language) ภาษาเวสทรอนพัฒนามาจากภาษาอดูนาอิกของชาวนูเมนอร์ หลังจากที่ชาวนูเมนอร์เริ่มบุกเบิกและติดต่อสมาคมกับมนุษย์ทางชายฝั่งตะวันตกของทวีปมิดเดิลเอิร์ธ จึงใช้ภาษานี้แพร่หลายทั่วไป แต่รากฐานดั้งเดิมของภาษานี้ก็มาจาก ภาษาของชาวเบออร์และฮาดอร์ ซึ่งเป็นชาวเอไดน์ บรรดามนุษย์ทางชายฝั่งตะวันตกเหล่านั้นก็มีบรรพบุรุษเดียวกันกับชาวเอไดน์ ในภายหลังชนเหล่านี้เป็นพลเมืองท้องถิ่นของอาณาจักรกอนดอร์ และอาร์นอร์ ภาษาเวสทรอนใช้แพร่หลายอยู่ตามแนวชายฝั่ง และตลอดทั่วทั้งเขตแคว้นเอเรียดอร์ แต่ดินแดนอื่นๆ เช่น โรห์วาเนียน ไม่ได้ใช้ภาษานี้ด้วย ชนพื้นเมืองที่เป็นมนุษย์ในหลายๆ ท้องถิ่นมีภาษาเป็นของตัวเอง เช่นชาวดันเลนดิง มนุษย์บนเทือกเขาขาว เป็นต้น ตามท้องเรื่องที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ โทลคีนบอกว่าเขาได้แปลเรื่องทั้งหมดจากภาษาเวสทรอน ออกมาเป็นภาษาอังกฤษ ตัวอย่างการถอดความที่สำคัญเช่น ชื่อของตัวละครต่างๆ เมอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก เป็นชื่อในภาษาอังกฤษที่แปลมาจากชื่อจริงของเขาว่า คาลิมัก บรันดากัมบา (Kalimac Brandagamba) ชื่อย่อว่า คาลิ (หมายถึง ความสนุกสนานรื่นเริง) ชื่อ เมอเรียด็อค และชื่อย่อ เมอร์รี่ จึงเป็นชื่อที่ถอดความมาจากภาษาเวสทรอนให้คงความหมายดั้งเดิมไว้ หรือชื่อ เปเรกริน ตุ๊ก กับชื่อย่อ ปิ๊ปปิ้น ก็มาจากชื่อจริงว่า ราซานัวร์ ทูค (Razanur Tûk) ชื่อย่อว่า ราซาร์ (หมายถึง แอ๊ปเปิ้ลผลเล็กๆ) ที่ถอดความมาให้ได้ความหมายใกล้เคียงกันนั่นเอง นอกจากนี้ยังมีชื่อสถานที่อื่นๆ ที่ตั้งชื่อไว้ในภาษาเวสทรอน เช่น "ริเวนเดลล์" (ภาษาซินดาริน เรียกว่า "อิมลาดริส" หมายถึง หุบเขาในร่องผา) มาจากชื่อจริงว่า "คาร์นินกุล" (Karningul) หรือ "แบ๊กเอนด์" มาจากคำว่า "ลาบิน-เนค" (Labin-nec) เป็นชื่อสถานที่ที่ตั้งตามชื่อนามสกุล "ลาบินกิ" (Labingi) หรือ "แบ๊กกิ้นส์" นั่นเอง คำในภาษาเวสทรอนต่างๆ ที่ยกมานี้ เป็นงานที่โทลคีนประดิษฐ์ขึ้นภายหลังการเขียนนิยายเป็นเวลาหลายปี แต่เขาไม่ได้สร้างภาษานี้ไว้ให้สมบูรณ์มากพอจะใช้งานได้ เหมือนอย่างภาษาเควนยา หรือภาษาซินดาริน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและภาษาเวสทรอน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเควนยา

ษาเควนยา (Quenya) เป็นภาษาหนึ่งซึ่ง เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้น และใช้ในนวนิยายของเขา คือในโลกมิดเดิลเอิร์ธ โดยเป็นภาษาของเอลฟ์ หรือชาวเควนดิ ซึ่งเป็นบุตรของมหาเทพอิลูวาทาร์ ภาษาเควนยานับได้ว่าเป็นภาษาแรกๆ ที่โทลคีนประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาษาฟินแลนด์ ซึ่งเป็นภาษาที่โทลคีนชอบมาก เขาศึกษาภาษาฟินนิชด้วยตัวเองเพราะต้องการจะอ่านมหากาพย์ คาเลวาลา ในต้นฉบับฟินนิช อันเป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง "โลกอาร์ดา" ของเขาในเวลาต่อมา โทลคีนสร้างตัวอักษรสำหรับภาษาเควนยา สร้างไวยากรณ์สำหรับภาษาเควนยา หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และโทลคีนได้กลับมาทำงานที่อ๊อกซฟอร์ดอีกครั้ง เขาได้ปรับปรุงแก้ไขภาษาเควนยาอย่างจริงจัง โดยใช้ภาษานี้ในการเขียนบันทึกประจำวัน แต่เนื่องจากโครงสร้างภาษายังไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ภายหลังโทลคีนเองก็สับสนและเลิกเขียนบันทึกด้วยวิธีนี้ เพราะลืมไปแล้วว่าขณะที่เขียนบันทึก เขาใช้โครงสร้างไวยากรณ์แบบไหน ช่วงแรกโทลคีนเรียกภาษานี้ว่า Qenya การสร้างภาษาเควนยา เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญจุดหนึ่ง (แม้จะมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบอีก) ที่ทำให้โทลคีนบังเกิดความคิดให้มีผู้คนที่ใช้ภาษานี้ขึ้นมาจริงๆ อันเป็นที่มาของเหล่าเอลฟ์ ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ตลอดช่วงชีวิตของโทลคีน เขาได้แก้ไขปรับปรุงโครงสร้างภาษานี้ จนกระทั่งมันสามารถใช้งานได้จริง สมบูรณ์ยิ่งกว่าภาษาประดิษฐ์อื่นๆ ของโทลคีน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและภาษาเควนยา · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธ

ในปกรณัมชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ทั้งทวีปมิดเดิลเอิร์ธ และทวีปอามัน ตลอดจนถึงดินแดนอื่นๆ ทั่วพิภพอาร์ดา มีเทือกเขาใหญ่น้อยมากมาย ต่อไปนี้เป็นรายชื่อภูเขาหรือเทือกเขาที่สำคัญ.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและภูเขาในมิดเดิลเอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสงครามชิงพิภพ

มหาสงครามชิงพิภพ (The Lord of the Rings: The Return of the King) เป็นภาพยนตร์ตอนที่สามซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ หลังจากสองภาคแรก ได้แก่ อภินิหารแหวนครองพิภพ และ ศึกหอคอยคู่กู้พิภพ กำกับโดย ปีเตอร์ แจ็กสัน จากงานเขียนต้นฉบับ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ออกฉายครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและมหาสงครามชิงพิภพ · ดูเพิ่มเติม »

มอร์กอธ

'''มอร์กอธ บาวเกลียร์''' มอร์กอธ บาวเกลียร์ (Morgoth Bauglir) เป็นตัวละครที่แต่งขึ้นโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในผลงานของโทลคีนเรื่อง ซิลมาริลลิออน และตำนานอื่นๆ ในยุคโบราณของปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ มอร์กอธเป็นชาวไอนัวร์ ซึ่งเป็นเทพเจ้าเฉกเช่นวาลาร์ ชื่อเดิมของเขาคือ เมลคอร์ แต่ต่อมาเป็นที่รู้จักทั่วไปในมิดเดิลเอิร์ธในชื่อของ มอร์กอธ หลังจากที่เจ้าชายเอลฟ์นามว่า เฟอานอร์ เป็นผู้ตั้งให้ ในประวัติศาสตร์ของมิดเดิลเอิร์ธ มอร์กอธมีบทบาทเป็นฝ่ายอธรรมผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่ง เซารอน เจ้าแห่งความมืดที่หลายคนรู้จักดีจากเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เคยเป็นข้ารับใช้ของเขา นาม มอร์กอธ บาวเกลียร์ ที่จริงแล้วเป็นชื่อฉายา ชื่อของเขาที่ปรากฏครั้งแรกในไอนูลินดาเล (เรื่องราวของการสร้างมิดเดิ้ลเอิร์ธ และเป็นบทแรกของ ซิลมาริลลิออน) มีชื่อว่า เมลคอร์ ซึ่งหมายถึง "ผู้ผงาดด้วยอำนาจ" ส่วนคำว่า มอร์กอธ สามารถแปลได้ว่า "ทรราชเจ้าแห่งความมืด" หรือ "ผู้กดขี่อันน่าสยดสยอง" คำนี้มีที่มาจากภาษาเควนยาซึ่งหมายถึง ศัตรูมืด หรือ ความมืดอันน่าหวาดหวั่น (รากศัพท์มาจาก มอร์ (mor) - สีดำ ความมืด เงามืด และ กอส/กอธ (goth) - น่ากลัวมาก ความสยองขวัญ) ส่วนคำว่า บาวเกลียร์ เป็นภาษาซินดาริน หมายถึง ทรราช หรือ ผู้กดขี่ (รากศัพท์ MBAW - บังคับ พลังอำนาจ กดขี่) ตัวละครนี้ไม่ได้ถูกเรียกว่ามอร์กอธจนกระทั่งเขาได้รับสมญานั้นจาก เฟอานอร์ แห่ง โนลดอร์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคที่หนึ่ง (First Age) หลังจากเมลคอร์หลบหนีออกจากวาลินอร์แล้ว และพวกเอลฟ์ก็เรียกแต่ชื่อนั้นของเขา แต่ก่อนหน้าเหตุการณ์นั้นเขาถูกเรียกเพียงว่า เมลคอร์ ระหว่างการพัฒนาการของตำนานของโทลคีน เขาได้เปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการแปรพักตร์ของไอนูองค์นี้ และเปลี่ยนชื่อของเขาด้วย นอกเหนือจากชื่อพิเศษของเขาซึ่งชาวโนลดอร์ตั้งให้ (มอร์กอธ) เขายังถูกเรียกในตำนานต่างๆ (ในหลากหลายรูปแบบ) ว่า'เมลโค' 'เบลคา' 'เมเลกอร์' และ 'เมเลโค' ชื่อของเขาในรูปซินดารินคือ 'เบเลกูร์' ซึ่งไม่เคยถูกใช้เลยนอกจากในคำที่แปลงรูปแล้วว่า 'เบเลกัวธ์' ซึ่งหมายถึง ’ความตายอันยิ่งใหญ่' หมวดหมู่:ตัวละครในซิลมาริลลิออน หมวดหมู่:ไอนัวร์.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและมอร์กอธ · ดูเพิ่มเติม »

มอร์ดอร์

มอร์ดอร์ จากภาพยนตร์ไตรภาค ลอร์ดออฟเดอะริงส์ มอร์ดอร์ (Mordor) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งในจินตนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งเป็นที่ตั้งอาณาจักรอันชั่วร้ายของ เซารอน คำว่า มอร์ดอร์ เป็นภาษาซินดาริน มีความหมายว่า 'แผ่นดินแห่งความมืด' มอร์ดอร์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของมิดเดิลเอิร์ธ ในกำบังของเทือกเขาเอเฟลดูอัธ และเอเร็ดลิธุย ข้างตะวันออกของแม่น้ำอันดูอิน จึงตั้งประชิดอยู่ทางตะวันออกของอาณาจักรกอนดอร์ ภายในมอร์ดอร์เป็นที่ตั้งของ บารัดดูร์ หอคอยทมิฬ ซึ่งเป็นที่อยู่ของเซารอน นอกจากนี้ยังมีเมาท์ดูม หรือ โอโรดรูอิน หรือภูมรณะ ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่เปิดสู่แหล่งลาวาใต้พิภพ เป็นที่ที่มีอัคคีความร้อนสูงที่สุดบนมิดเดิลเอิร์ธ เป็นสถานที่เพียงแห่งเดียวที่สามารถหลอมสร้างแหวนเอกธำมรงค์ และเป็นที่เดียวที่ทำลายมันลงได้ เมาท์ดูมคือจุดหมายในการเดินทางของโฟรโด แบ๊กกิ้นส์ และ แซมไวส์ แกมจี ในภารกิจทำลายแหวนเอกในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ การเข้าสู่มอร์ดอร์ สามารถเข้าได้จากทางทิศเหนือ ผ่านประตูดำแห่งมอร์ดอร์ ชื่อว่า 'โมรันนอน' ซึ่งตั้งอยู่ที่ช่องแคบเชิงเขาระหว่างเอเฟลดูอัธกับเอเร็ดลิธุย อีกทางหนึ่งคือผ่านช่องเขาบนเอเร็ดลิธุย ซึ่งมีเมืองปราการแห่งหนึ่งตั้งอยู่ ชื่อ มินัสมอร์กูล เมืองนี้แต่เดิมเป็นเมืองของชาวกอนดอร์ ซึ่งสร้างขึ้นสำหรับคอยเฝ้าระวังการเคลื่อนไหวของเซารอน ต่อภายหลังถูกพวกภูตแหวนยึดไปได้ และกลายเป็นที่อยู่ของวิชคิง หรือราชันขมังเวท ด้านหน้าประตูดำเป็นทุ่งราบกว้างใหญ่ ชื่อทุ่งดาร์กอลัด หรือ ทุ่งสมรภูมิ เป็นสถานที่ซึ่งเกิดสงครามครั้งยิ่งใหญ่ในช่วงปลายยุคที่สอง คือ สงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย เป็นที่สิ้นพระชนม์ของกิล-กาลัด และ เอเลนดิล ในยุคที่สามทุ่งกว้างใหญ่แห่งนี้กลายเป็นบึงน้ำเฉอะแฉะ เรียกกันว่า 'บึงมรณะ' ข้างใต้บึงเป็นหลุมศพของเอลฟ์และมนุษย์ที่เสียชีวิตในสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและมอร์ดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มังกร (มิดเดิลเอิร์ธ)

มังกร (dragon) เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทหนึ่งในจินตนิยายชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งสร้างขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อเรื่องมังกรในตำนานของยุโรป ตามปกรณัมของโทลคีน เผ่าพันธุ์มังกรถูกสร้างขึ้นโดยเทพอสูรมอร์กอธ ในยุคที่หนึ่งของอาร์ดา มังกรตัวแรกที่ปรากฏตัวออกมามีชื่อว่า เกลารุง (Glaurung) ในหนังสือตำนานบุตรแห่งฮูริน กล่าวถึงมังกรว่า เป็นจิตวิญญาณที่ทรงพลังอำนาจ จึงเป็นไปได้ว่า มังกรก็เป็นเหล่าเทพไมอาร์จำนวนหนึ่งที่แปรพักตร์ไปรับใช้มอร์กอ.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและมังกร (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

มากลอร์

มากลอร์ (Maglor) เป็นตัวละครในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในงานเขียนชุด ซิลมาริลลิออน เขาเป็นบุตรคนที่สองของเฟอานอร์ เจ้าชายเอลฟ์ชาวโนลดอร์ผู้รังสรรค์ดวงมณีซิลมาริล มากลอร์เป็นกวีและนักดนตรีที่เก่งฉกาจ ได้ชื่อว่าเป็นคีตกรผู้ยิ่งยงที่สุดแห่งมิดเดิลเอิร์ธไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยนที่สุดในบรรดาพี่น้องอันเป็นลักษณะของแนร์ดาเนลผู้เป็นมารดา มากลอร์ได้ให้คำสาบานต่อบิดาของตนเช่นเดียวกับพี่น้องคนอื่นๆ ในอันจะติดตามทวงคืนดวงมณีซิลมาริลมาให้ได้ ไม่ยอมให้ตกอยู่ในมือของผู้ใด คำสาบานนี้นำพาชะตากรรมสุดท้ายมาสู่ตัวเขากับพี่น้องและบรรดาผู้ติดตามทั้งหมด มากลอร์เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่พี่น้องฝาแฝด เอลรอนด์และเอลรอส ระหว่างที่กองกำลังของพวกเขาเข้าโจมตีที่มั่นสุดท้ายของพวกเอลฟ์ที่ปากแม่น้ำซิริออน ทำให้เด็กทั้งสองรอดชีวิตจากสงครามประหัตประหารญาติคราวนั้นมาได้.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและมากลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มายดรอส

มายดรอส (Maedhros) คือตัวละครในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในงานเขียนชุด ซิลมาริลลิออน Unfinished Tales และ ตำนานบุตรแห่งฮูริน มายดรอสเป็นตัวละครที่ทรหดอดทนมาก และเป็นแหล่งสร้างงานของศิลปินหลายคนเช่น เจนนี โดลเฟน และ อลัน ลี ตามปกรณัม มายดรอสเป็นโอรสองค์ใหญ่ของเฟอานอร์ เจ้าชายเอลฟ์ชาวโนลดอร์ผู้สร้างดวงมณีวิเศษซิลมาริลซึ่งเป็นแก่นหลักของตำนานแห่งมิดเดิลเอิร์ธ มายดรอสได้ให้คำสาบานต่อบิดาในการติดตามทวงคืนดวงมณีจากการช่วงชิงของผู้อื่น อันเป็นคำสาบานที่นำชะตากรรมมาสู่บุตรแห่งเฟอานอร์และผู้ให้คำสาบานทุกคน มายดรอสได้นำศึกเข้าต่อรบกับมอร์ก็อธหลายครั้ง ทั้งทำสงครามกับเอลฟ์ด้วยกันเองด้วยเพื่อชิงซิลมาริล ในที่สุดคำสาบานอันร้ายกาจก็นำความพินาศมาสู่ตัวเขาและน้องชายทุกคน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและมายดรอส · ดูเพิ่มเติม »

มิธลอนด์

มิธลอนด์ (Mithlond) หรือ เกรย์ฮาเวนส์ (Grey Havens) คือเมืองท่าเรือในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ตั้งอยู่ริมฝั่งอ่าวลูน (Lune) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปมิดเดิลเอิร์ธ เลยจากเขตแดนตะวันตกของแคว้นไชร์ คำว่า มิธลอนด์ แปลว่า ท่าเรือสีเทา หรือ เกรย์เฮเวนส์ เป็นท่าเรือที่พวกเอลฟ์ใช้แล่นไปสู่ตะวันตก มีเอลฟ์นายช่างต่อเรือนามว่า เคียร์ดัน เป็นผู้ปกครองดูแลเมือง แต่เดิมเมืองท่ามิธลอนด์เป็นเมืองที่อยู่ในเขตอาณาจักรลินดอน ซึ่งเป็นอาณาจักรเอลฟ์แห่งแรกในยุคที่สอง ปกครองโดยกิล-กาลัด กษัตริย์เอลฟ์องค์สุดท้.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและมิธลอนด์ · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ)

มนุษย์ ตามความหมายในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ โดยสร้างขึ้นภายหลังเผ่าพันธุ์เอลฟ์ จึงได้ชื่อว่าเป็น บุตรคนเล็กแห่งอิลูวาทาร์ เหตุการณ์ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นเหตุการณ์ในตอนท้ายของยุคสมัยอันรุ่งเรืองของพวกเอลฟ์ เมื่อพ้นจากยุคของเอลฟ์แล้ว เผ่าพันธุ์มนุษย์จึงรุ่งเรืองขึ้นและได้ครอบครองโลกทั้งหมดดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและมนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

ยุคที่สองแห่งอาร์ดา

ที่สอง แห่งอาร์ดา เป็นช่วงเวลาหนึ่งในจักรวาลของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เริ่มนับตั้งแต่การจับกุมคุมขังเทพอสูรมอร์กอธไว้ในสุญญภูมิ หลังจากการล่มจมสมุทรของแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นผลจากสงครามแห่งความโกรธา อันเป็นสงครามระหว่างปวงเทพแห่งแดนประจิมกับมอร์กอธ การรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักรนูเมนอร์ ไปจนถึงการปราบปรามเซารอนลงสำเร็จในสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย กินเวลายาวนานถึง 3,441 ปี เหตุการณ์ในยุคที่สองของอาร์ดา มิได้มีการบรรยายไว้โดยละเอียดเหมือนยุคที่หนึ่ง ซึ่งปรากฏเนื้อหาอยู่ในตำนานเรื่อง ซิลมาริลลิออน แต่ได้มีการบรรยายสรุปโดยย่ออยู่ในภาคผนวกของหนังสือเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และในตำนานอคัลลาเบธ อันเป็นตำนานว่าด้วยการรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักรนูเมนอร์ นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาจำนวนมากที่โทลคีนประพันธ์ค้างไว้ และคริสโตเฟอร์ โทลคีน ได้รวบรวมไว้ในหนังสือ Unfinished Tales.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและยุคที่สองแห่งอาร์ดา · ดูเพิ่มเติม »

ยุคที่สามแห่งอาร์ดา

ที่สามแห่งอาร์ดา เป็นช่วงเวลาหนึ่งในจักรวาลของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เริ่มนับตั้งแต่การพ่ายแพ้ของเซารอนต่อกองทัพพันธมิตรครั้งสุดท้ายของมนุษย์และพราย (สงครามตอนต้นเรื่องในภาพยนตร์) เอกลักษณ์ของยุคนี้คือความเสื่อมถอยของพวกพราย หรือ เอลฟ์ การเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมถอยของอาณาจักรกอนดอร์และอาร์นอร์ และการฟื้นอำนาจของเซารอน ยุคที่สามกินเวลา 3,021 ปี จนถึงความพ่ายแพ้อีกครั้งของเซารอน เมื่อแหวนถูกทำลาย เมื่อโฟรโด แบ๊กกิ้นส์, บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ และแกนดัล์ฟ เดินทางออกจากมิดเดิลเอิร์ธ จึงเริ่มนับเป็นยุคที่สี.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและยุคที่สามแห่งอาร์ดา · ดูเพิ่มเติม »

ยุคที่สี่แห่งอาร์ดา

ที่สี่แห่งอาร์ดา เป็นช่วงเวลาหนึ่งในจักรวาลในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ยุคที่สี่ เริ่มนับความพ่ายแพ้อีกครั้งของเซารอน เมื่อแหวนถูกทำลาย และเหล่าพรายเดินทางออกจากมิดเดิลเอิร์ธ ลักษณะสำคัญคือการฟื้นฟูของอาณาจักรนูเมนอร์ (กอนดอร์และอาร์นอร์) ความเสื่อมถอยของพราย และการเจริญรุ่งเรืองของเผ่าพันธุ์มนุษย์ โทลคีนไม่ได้เขียนถึงเหตุการณ์ในยุคที่สี่ไว้มากนัก (ยกเว้นเหตุการณ์ในช่วงต้นๆ) เขาเคยพูดไว้ว่าตามจินตนาการของเขานั้น ระยะห่างระหว่างสิ้นยุคที่สาม ถึงปัจจุบัน (ค.ศ. 2000) ประมาณ 6000 ปี ถ้านับยุคหนึ่งใช้เวลาใกล้เคียงกัน ปัจจุบันจะอยู่ในช่วงปลายยุคที่ห้า แต่เขายังบอกว่ายุคหลังๆ น่าจะมีช่วงเวลาที่สั้นลง อาจประมาณได้ว่าการล่มสลายของนาซีเยอรมัน ปี ค.ศ. 1945 คือจุดสิ้นสุดยุคที่หก และปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่เจ็.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและยุคที่สี่แห่งอาร์ดา · ดูเพิ่มเติม »

ยุคที่หนึ่งแห่งอาร์ดา

ในจินตนิยายชุด ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน คำว่า ยุคที่หนึ่ง มักหมายถึง ยุคที่หนึ่งของเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ส่วนใหญ่ที่ปรากฏในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ยุคนี้เริ่มต้นด้วยการตื่นขึ้นของเหล่าเอลฟ์ ที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน และจบลงด้วยการล้มล้างมอร์กอธ โดยกองทัพผสมระหว่างวาลินอร์กับเบเลริอันด์ ยุคที่หนึ่งกินเวลาหลายร้อยปีในวาเลียนศักราช และอีกเกือบ 590 ปีของยุคแห่งตะวัน หากคิดเวลารวมเป็นปีตะวัน อาจได้ช่วงเวลาประมาณ 4,902 ถึง 65,390 ปีตะวัน เนื่องจากวิธีการคำนวณปีวาลาร์เทียบกับปีตะวันในงานเขียนแต่ละชุดของโทลคีนมีความแตกต่างกัน ตัวเลขที่มากกว่าคิดเทียบจากข้อมูลในภาคผนวกของเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ส่วนเลขน้อยกว่าคิดจากงานเขียนในชุดแรกๆ ของเขา บางครั้งในงานเขียนอาจระบุถึง ยุคที่หนึ่ง ด้วยคำว่า ยุคบรรพกาล ด้วย มักมีความเข้าใจผิดกันว่า ยุคที่หนึ่ง เริ่มนับตั้งแต่ยุคแห่งตะวัน เพราะบางครั้งก็เอ่ยถึงว่า "ยุคที่หนึ่งแห่งตะวัน" ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่การกำเนิดของดวงตะวันเรื่อยไปจนถึงการสิ้นอำนาจของมอร์กอ.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและยุคที่หนึ่งแห่งอาร์ดา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสัตว์ในมิดเดิลเอิร์ธ

ีล็อบจาก ภาพยนตร์ไตรภาคลอร์ดออฟเดอะริง.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและรายชื่อสัตว์ในมิดเดิลเอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลออสการ์

รางวัลออสการ์ อะแคเดมีอะวอร์ด ("รางวัลสถาบัน") หรืิอ ออสการ์ เป็นรางวัลทางภาพยนตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก จัดโดยสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ (หรือ) เริ่มจัดครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและรางวัลออสการ์ · ดูเพิ่มเติม »

ริเวนเดลล์

ริเวนเดลล์ จากภาพยนตร์เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ริเวนเดลล์ (Rivendell) เป็นชื่ออาณาจักรแห่งหนึ่งของพวกเอลฟ์ ในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อในภาษาซินดารินเรียกว่า อิมลาดริส (Imladris) ซึ่งมีความหมายว่า 'หุบเขาลึก' บางครั้งถูกเอ่ยถึงด้วยชื่อ คฤหาสน์ลาสต์โฮมลี่เฮ้าส์ ในหุบเขาฟากตะวันตกของเทือกเขามิสตี้ อาณาจักรนี้ก่อตั้งขึ้นโดยเอลฟ์กึ่งมนุษย์ชื่อว่า เอลรอนด์ ตั้งแต่ยุคที่สองของโลกอาร์ดา (ประมาณ 4-5 พันปี ก่อนเหตุการณ์ในเรื่อง ลอร์ดออฟเดอะริงส์) ริเวนเดลล์ตั้งอยู่เชิงเขาทางฟากตะวันตกของฮิธายเกลียร์ หรือเทือกเขามิสตี้ ใกล้กับโตรกแคบของแม่น้ำบรุยเนน ซ่อนตัวมิดชิดอยู่ในหุบเขา เส้นทางเข้าออกสำคัญของอาณาจักรนี้คือทางข้ามแม่น้ำบริเวณที่เรียกว่า ฟอร์ดบรุยเนน ภูมิอากาศทั่วไปค่อนข้างเย็น มีช่วงฤดูร้อนที่อบอุ่นและหิมะเล็กน้อยในฤดูหนาว อาณาจักรริเวนเดลล์ก่อตั้งขึ้นในปีที่ 1697 ของยุคที่สอง ในระหว่างสงครามเมืองเอเรกิออน เมื่อกองทัพจากลินดอนที่กิล-กาลัดส่งมาช่วยเอเรกิออน นำทัพโดยเอลรอนด์ ต้องพาผู้ลี้ภัยที่หนีออกมาจากนครเอเรกิออนถอยขึ้นไปทางเหนือ ทัพของเซารอนปิดล้อมริเวนเดลล์อยู่ถึงสามปี จนกระทั่งกิล-กาลัดและทัพจากนูเมนอร์ส่งมาช่วย ทัพจากริเวนเดลล์ยกออกตีกระหนาบจนสามารถเอาชนะเซารอนในการศึกครั้งนั้นได้ ริเวนเดลล์ถูกทัพของวิชคิงปิดล้อมอีกครั้งในราวศตวรรษที่ 14 ของยุคที่สาม และสามารถขับไล่ทัพของวิชคิงไปได้เมื่อได้รับกำลังเสริมมาจากลอธลอริเอน ในเรื่อง เดอะฮอบบิท บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ มาแวะพักที่ริเวนเดลล์นี้พร้อมกับพวกคนแคระ ในระหว่างการเดินทางไปยังภูเขาโลนลี่ และยังแวะพักในขากลับระหว่างเดินทางกลับไชร์พร้อมกับแกนดัล์ฟ ในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ กับผองเพื่อนฮอบบิทของเขา เดินทางมายังริเวนเดลล์พร้อมกับอารากอร์น และได้ใช้เวลาพักฟื้นอยู่ที่นี่หลายเดือน ที่นี้ยังเป็นที่ชุมนุมเผ่าพันธุ์ต่างๆ ที่ยังเป็นอิสระชนแห่งมิดเดิลเอิร์ธ คือพวกเอลฟ์ มนุษย์ และคนแคระ ในที่ประชุมของเอลรอนด์ เผ่าพันธุ์ทั้งหลายได้ลงมติให้นำแหวนเอกไปทำลายเสียที่เมาท์ดูม โดย โฟรโด เป็นผู้รับอาสาทำหน้าที่นี้ เอลรอนด์ได้เลือกตัวแทนแต่ละเผ่าพันธุ์เข้าร่วมในคณะพันธมิตรแห่งแหวน เพื่อปฏิบัติภารกิจนี้ ครอบครัวของเอลรอนด์ทุกคนพำนักอยู่ที่ริเวนเดลล์ ได้แก่ เคเลบรีอัน ภรรยาของเขา เอลลาดาน และ เอลโรเฮียร์ บุตรชายฝาแฝด และธิดาคนสุดท้องคือ อาร์เวน นอกจากนี้เอลรอนด์ยังเลี้ยงดูทายาทวงศ์กษัตริย์มนุษย์ คือ อารากอร์น ในฐานะบุตรบุญธรรมของตนด้วย แต่เคเลบรีอันได้รับบาดเจ็บในระหว่างเดินทางข้ามเทือกเขามิสตี้ครั้งหนึ่งแล้วถูกพวกออร์คซุ่มโจมตี นางจึงเดินทางไปรักษาตัวที่แผ่นดินอมตะ ในระหว่างยุคสงครามแหวน เคเลบรีอันจึงมิได้อยู่ที่ริเวนเดลล์แล้ว ในช่วงต้นของยุคที่สี่ หลังจากอาร์เวนได้อภิเษกกับอารากอร์น ขึ้นเป็นราชา-ราชินีของอาณาจักรกอนดอร์แล้ว เอลรอนด์เดินทางออกจากริเวนเดลล์เพื่อกลับไปยังแผ่นดินตะวันตก คงเหลือแต่เพียงเอลลาดานและเอลโรเฮียร์พำนักอยู่ที่นี่ ต่อมา เคเลบอร์น ได้ละลอธลอริเอนและมาสมทบกับพวกเขาที่นี่ แต่ไม่มีบันทึกใดระบุว่า สุดท้ายแล้วพวกเอลฟ์อพยพออกจากริเวนเดลล์ไปจนหมดสิ้นเมื่อใ.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและริเวนเดลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน กษัตริย์คืนบัลลังก์

ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ ตอนกษัตริย์คืนบัลลังก์ หรือ มหาสงครามชิงพิภพ (The Lord of the Rings: The Return of the King) เป็นภาคที่สามของนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน โดยภาคที่หนึ่งคือตอน มหันตภัยแห่งแหวน ส่วนภาคที่สองคือ หอคอยคู่พิฆาต.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน กษัตริย์คืนบัลลังก์ · ดูเพิ่มเติม »

ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน มหันตภัยแห่งแหวน

ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ ตอนมหันตภัยแห่งแหวน หรือ อภินิหารแหวนครองพิภพ (The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring) เป็นนิยายภาคแรกของนิยายไตรภาคชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน โดยภาคที่สองคือตอน หอคอยคู่พิฆาต และภาคที่สามคือตอน กษัตริย์คืนบัลลังก.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน มหันตภัยแห่งแหวน · ดูเพิ่มเติม »

ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน หอคอยคู่พิฆาต

ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ หอคอยคู่พิฆาต หรือ ศึกหอคอยคู่กู้พิภพ (The Lord of the Rings: The Two Towers) เป็นนิยายภาคที่สองของนิยายไตรภาคชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน โดยภาคแรกคือตอน มหันตภัยแห่งแหวน และภาคที่สามคือตอน กษัตริย์คืนบัลลังก.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน หอคอยคู่พิฆาต · ดูเพิ่มเติม »

ลอธลอริเอน

ลอธลอริเอน จากภาพยนตร์ไตรภาคลอร์ดออฟเดอะริงส์ ลอธลอริเอน (Lothlórien) เป็นชื่ออาณาจักรแห่งหนึ่งของพวกเอลฟ์ ในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ตั้งอยู่ทางฟากตะวันออกของเทือกเขามิสตี้ เชื่อกันว่าอาณาจักรนี้ก่อตั้งขึ้นโดยเอลฟ์ชาวนันดอร์ ที่ละทิ้งการเดินทางครั้งใหญ่ ตั้งแต่ยุคที่หนึ่งของโลกอาร์ดา ลอธลอริเอน อยู่ใกล้ใจกลางมิดเดิลเอิร์ธ ชายแดนอาณาจักรนี้มักถูกพวกกอบลิน, วาร์กและอูรุกไฮ รุกรานอยู่เนืองๆ ป้อมปราการแห่งความมืดของโดล กุลดัวร์ก็อยู่ห่างเมืองนี้เพียงไม่กี่ไมล์ ส่วนอีกด้านก็มีประตูทิศตะวันออกของเมืองมอเรียบีบอัดอยู่ นักรบลอริเอนต้องคอยเฝ้ามองแม่น้ำที่คุ้มครองป่าอันศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขาอย่างระแวดระวัง เมื่อคณะพันธมิตรแห่งแหวนหนีจากเหมืองมอเรียมาขอพึ่งพิงที่ลอธลอริเอน ชาวลอธลอริเอนก็ต้อนรั.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและลอธลอริเอน · ดูเพิ่มเติม »

ละติน

ละติน หรือ ลาติน (Latin) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและละติน · ดูเพิ่มเติม »

ลูธิเอน

ลูธิเอน (Lúthien Tinúviel) เป็นเจ้าหญิงเอลฟ์ ในจินตนิยายเรื่อง ซิลมาริลลิออน ประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีชีวิตอยู่ในยุคบรรพกาลจนถึงยุคที่หนึ่งของมิดเดิ้ลเอิร์ธ ได้รับยกย่องว่าเป็นเอลฟ์ที่งดงามที่สุดเท่าที่เคยมีมาในโลกอาร์ดา นางถูกกล่าวถึงในบทประพันธ์เรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในฐานะที่เป็นเอลฟ์ผู้ยอมสละชีวิตอมตะเพื่อได้ใช้ชีวิตอยู่กับคนรักที่เป็นชาวมนุษย์ (คือเบเรน) เรื่องราวโดยละเอียดของนางถูกประพันธ์ไว้ใน ซิลมาริลลิออน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและลูธิเอน · ดูเพิ่มเติม »

วันยาร์

ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน ชาววันยาร์ (Vanyar) เป็นชื่อชนตระกูลหนึ่งในสามตระกูลใหญ่ของพวกเอลฟ์ ที่เดินทางไปยังทวีปอามัน ต้นตระกูลผู้รวบรวมผองชนวันยาร์คือเอลฟ์ที่ตื่นขึ้นเป็นคนแรกที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน นามว่า อิมิน (Imin) แต่ผู้นำของชาววันยาร์ซึ่งต่อมากลายเป็นกษัตริย์แห่งเอลฟ์ทั้งปวง คือ อิงเว (Ingwë) เขาเป็นผู้แทนของเอลฟ์หนึ่งในสามคนที่ได้ไปเยือนวาลินอร์เป็นครั้งแรกตามคำเชิญของเทพโอโรเม ก่อนที่พวกเอลฟ์จะอพยพครั้งใหญ่ออกจากคุยวิเอเนนไปยังทวีปอามัน คำว่า วันยาร์ เป็นคำภาษาเควนยา หมายถึง "ผู้งดงาม" ชื่อดั้งเดิมของชาววันยาร์คือ มินยาร์ (Minyar) ซึ่งหมายถึง 'ตระกูลที่หนึ่งของเอลฟ์' สำหรับเอลฟ์อีกสองตระกูลใหญ่คือ ชาวโนลดอร์ และชาวเทเลริ ชาววันยาร์มีรูปร่างสูง ผมเป็นสีทอง (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ วันยาร์ - ผู้งดงาม) พวกเขาพูดภาษาเควนด์ยา (Quendya) ซึ่งเป็นสำเนียงหนึ่งของภาษาเควนยา มีที่ใช้เฉพาะที่วาลินอร์เท่านั้น.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและวันยาร์ · ดูเพิ่มเติม »

วาลา (มิดเดิลเอิร์ธ)

วาลาร์ (Valar) เป็นชื่อเรียกชนชั้นสูงในชนเผ่า ไอนัวร์ (Ainur) ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีกล่าวถึงอยู่มากในตำนานเรื่องซิลมาริลลิออน ชนเผ่าไอนัวร์เป็นชนเผ่าที่ถือกำเนิดมาจากพระเจ้าสูงสุดในโลกอาร์ดา คือมหาเทพอิลูวาทาร์ เป็นพวกที่ช่วยมหาเทพสร้างพิภพต่างๆ และตระเตรียมสถานที่ให้พร้อมสำหรับเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร์ กล่าวคือเป็นผู้ช่วยสร้างโลกอาร์ดานั่นเอง ชาวมนุษย์มักเรียกเหล่าไอนัวร์ว่า "เทพ" คำว่า "วาลาร์" เป็นคำภาษาเอลฟ์ หมายถึง "พลังอำนาจแห่งพิภพ" รูปคำ วาลาร์ (Valar) เป็นพหูพจน์ คำเอกพจน์คือ วาลา (Vala).

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและวาลา (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

ศึกชิงแหวนวิเศษ

ึกชิงแหวนวิเศษ (J.R.R. Tolkien's The Lord of the Rings) เป็นภาพยนตร์แนวแฟนตาซี กำกับโดย ราล์ฟ บาคชิ ฉายในปี..

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและศึกชิงแหวนวิเศษ · ดูเพิ่มเติม »

ศึกหอคอยคู่กู้พิภพ

ึกหอคอยคู่กู้พิภพ (The Lord of the Rings: The Two Towers) เป็นภาพยนตร์ตอนที่สองของภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ กำกับโดย ปีเตอร์ แจ็กสัน และออกฉายครั้งแรกในปี..2002 ภาพยนตร์สร้างจากนิยายแฟนตาซีเลื่องชื่อ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน โดยมีชื่อตอนในภาษาอังกฤษเหมือนกันกับฉบับหนังสือ (แต่ฉบับหนังสือของไทยใช้ชื่อว่า หอคอยคู่พิฆาต) เนื้อหาต่อเนื่องกับเรื่องในตอนก่อนหน้า กล่าวคือ โฟรโดและแซมเดินทางแยกจากกลุ่มเพื่อไปสู่มอร์ดอร์เอง และได้พบกับกอลลัม อีกทางหนึ่ง อารากอร์น เลโกลัส และกิมลี ได้พบกับแกนดัล์ฟและเข้าช่วยเหลือการศึกแก่อาณาจักรโรฮัน ส่วนเมอร์รี่และปิ๊ปปิ้นหนีการจับกุมได้และไปพบทรีเบียร์ด สิ่งมีชีวิตรูปร่างสูงใหญ่เหมือนต้นไม้ ภาพยนตร์ได้รับคำชื่นชมในการดัดแปลงบทภาพยนตร์ได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกับภาคแรก และทำรายได้ทั่วโลกไปกว่า 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงกว่าภาพยนตร์ตอนแรกเสียอีก ได้เป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดตลอดกาลลำดับที่ 7 และได้รับรางวัลออสการ์ 2 รางวัล ได้แก่ เทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม และ ลำดับเสียงยอดเยี่ยม ดีวีดีชุดพิเศษของภาพยนตร์ (Special Extended Version) ออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน..2003.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและศึกหอคอยคู่กู้พิภพ · ดูเพิ่มเติม »

สม็อก

ม็อก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและสม็อก · ดูเพิ่มเติม »

สวรรค์

วรรค์ (स्वर्ग สฺวรฺค) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนายูดาห์ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามอันเป็นสถานที่ตอบแทนคุณงามความดีของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามห้าทัพ

งครามห้าทัพหรือสงครามห้าเหล่าทัพ เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ปรากฏในช่วงท้ายของฮอบบิทบทประพันธ์ประเภทวรรณกรรมเยาวชนของเจ.อาร์.อาร์.โทลคีน ในชุดปกรณัมมิดเดิ้ลเอิร์ธ ซึ่งปรากฏในบทที่17 เมฆหมอกปะทุขึ้น ซึ่งจัดได้ว่าเป็นหนึ่งในสองสงครามสำคัญในประวัติศาสตร์ช่วงปลายยุคที่3 (อีกสงครามคือศึกที่ทุ่งเพลานอร์).

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและสงครามห้าทัพ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามแหวน

งครามแหวน (The War of the Ring) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสงครามทั้งหมดที่ปรากฏในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในชุด มิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งเป็นสงครามระหว่าง เซารอน กับเหล่าอิสระชนแห่งมิดเดิลเอิร์ธ ในการชิงเป็นผู้ครอบครอง แหวนเอกธำมรงค์ ซึ่งเป็นแก่นของงานประพันธ์เรื่องนี้ นับแต่เซารอนสูญเสียพลังอำนาจไป เนื่องจากการสูญเสียแหวนเอกในสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย ในคราวสิ้นสุดยุคที่สองของโลกอาร์ดา เขาได้ฟื้นฟูพละกำลังขึ้นใหม่ และซุ่มซ่อนอยู่ในโดลกุลดัวร์ หอไสยเวททางตอนใต้ของป่าเมิร์ควู้ด การสู้รบเริ่มมีขึ้นประปรายระหว่างบริวารของเซารอนกับพวกเอลฟ์ เมื่อเซารอนหวนกลับมาบารัด-ดูร์ และฟื้นฟูอำนาจของตนขึ้นใหม่ที่มอร์ดอร์ รวมทั้งเริ่มต้นการค้นหาแหวนเอก สงครามแหวนก็เริ่มขึ้นนับแต่นั้น ไปจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามเมื่อโฟรโด แบ๊กกิ้นส์ สามารถทำลายแหวนเอกได้โดยโยนทิ้งไปในโอโรดรูอิน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและสงครามแหวน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย

ันธมิตรครั้งสุดท้ายของเอลฟ์และมนุษย์ (The Last Alliance of Elves and Men) เป็นชื่อเหตุการณ์สำคัญตอนหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เกิดขึ้นในปีที่ 3430 ปลายยุคที่สองของโลกอาร์ดา โดยความร่วมมือระหว่างทัพเอลฟ์, ทัพมนุษย์ ทั้งชาวดูเนไดน์และชาวแผ่นดินอื่น รวมถึงทัพคนแคระ เพื่อต่อต้านจอมมารเซารอน ลอร์ดมืดผู้คุกคามโลก สงครามครั้งนั้นจึงเรียกชื่อว่า สงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย (War of the Last Alliance) ซึ่งประกอบด้วย สมรภูมิทุ่งดาร์กอลัด และ การปิดล้อมหอคอยบารัด-ดูร.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามแห่งเบเลริอันด์

ในปกรณัมชุด ซิลมาริลลิออน ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีสงครามเกิดขึ้นหลายครั้งระหว่างพวกเอลฟ์ในแผ่นดินเบเลริอันด์ กับกองกำลังฝ่ายมารของมอร์กอธ ในระหว่างยุคที่หนึ่งของโลก สงครามเหล่านี้เรียกชื่อว่า สงครามแห่งเบเลริอันด์ หรือบางครั้งก็เรียกว่า สงครามแห่งอัญมณี เนื่องจากในการสงครามทั้งหมด เกิดขึ้นเนื่องจากการช่วงชิงอัญมณี ซิลมาริล สงครามแห่งเบเลริอันด์เกิดขึ้นทั้งสิ้น 6 ครั้ง คือ.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและสงครามแห่งเบเลริอันด์ · ดูเพิ่มเติม »

อภินิหารแหวนครองพิภพ

อภินิหารแหวนครองพิภพ (The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring) เป็นภาพยนตร์ตอนแรกสุดของภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ กำกับโดย ปีเตอร์ แจ็กสัน และออกฉายครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและอภินิหารแหวนครองพิภพ · ดูเพิ่มเติม »

ออร์ค (มิดเดิลเอิร์ธ)

ออร์ค (Orc) ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน หมายถึง สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างวิกลวิการ วิปริต จิตใจชั่วช้า เป็นสมุนของเทพฝ่ายมารนับแต่อดีต ได้แก่ มอร์กอธ และ เซารอน ความเป็นมาของออร์คนั้นไม่แน่ชัด แต่ตำนานหนึ่งเชื่อว่า นับแต่สมัยโบราณกาลในยุคที่หนึ่ง มอร์กอธแอบจับตัวพวกเอลฟ์ ไปทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ จนกลายสภาพเป็นสิ่งมีชีวิตที่วิปริต และดัดแปลงพันธุกรรมเสียใหม่ ด้วยความเคียดแค้นชิงชังในตัวพวกเอลฟ์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตแสนวิเศษที่ เอรู อิลูวาทาร์ทรงสร้างขึ้น พวกออร์คเรียกกันเป็นหลายชื่อ และยังมีเผ่าพันธุ์ย่อยอีกหลายเผ่าพันธุ์ ในเรื่อง เดอะฮอบบิท มักเรียกพวกออร์คว่า กอบลิน (Goblin) พวกเอลฟ์เรียกชนกลุ่มนี้ว่า อีร์ค (Yrch) แต่โทลคีนถอดความมาเป็นภาษาอังกฤษโดยเลือกใช้ชื่อสิ่งมีชีวิตโบราณในเทพนิยายมาใช้เป็น ออร์ค พวกออร์คส่วนใหญ่กลัวแสงแดด จึงมักหลีกเลี่ยงการเดินทางในเวลากลางวัน ในยามที่มอร์กอธหรือเซารอนต้องใช้กองทัพออร์คออกไปปฏิบัติการ จึงมักสร้างหมอกทึบเมฆดำปกคลุมผืนฟ้า เพื่อให้กองทัพออร์คเดินทางได้โดยสะดวก ในยุคที่สาม ซารูมานได้ผสมพันธุ์พวกออร์คขึ้นใหม่ ให้มีความทนทานต่อแสงอาทิตย์ และมีรูปร่างสูงใหญ่แข็งแรง มีชื่อเรียกว่า พวก อูรุก.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและออร์ค (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

ออสซิริอันด์

ออสซิริอันด์ (Ossiriand) เป็นชื่อดินแดนในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ถูกกล่าวอ้างถึงอยู่ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales มีชื่อเรียกอื่นๆ ว่า ดินแดนแห่งแม่น้ำทั้งเจ็ด หรือ ลินดอน ตั้งอยู่ทางฟากตะวันตกของเทือกเขาเอเร็ดลูอิน เป็นดินแดนส่วนหนึ่งในแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของพวกเอลฟ์ในยุคที่หนึ่งของอาร.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและออสซิริอันด์ · ดูเพิ่มเติม »

อามัน

อามัน (Aman) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งบนโลกอาร์ดา ในจินตนิยายชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น แผ่นดินอมตะ (Undying Lands) หรือ อาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ (Blessed Realm) เนื่องจากบนดินแดนแห่งนี้เป็นที่อยู่ของบรรดาอมตะชนทั้งสิ้น แต่เดิมโลกอาร์ดามีทวีปเดียว มีทะเลสาบกลางแผ่นดินและเกาะกลางทะเลสาบนั้นชื่อว่า อัลมาเรน เป็นที่ประทับของเหล่าพลังอำนาจ หรือปวงเทพ หรือคือเหล่าไอนัวร์ ที่จำแลงร่างลงมาอยู่ในโลก แต่หลังจากมอร์กอธทรยศและทำลายผืนพิภพจนวอดวาย แผ่นดินและผืนน้ำเปลี่ยนรูปทรงไปทั้งหมด จึงเกิดเป็นทวีปใหญ่น้อยมากมาย ทวีปอามันเกิดขึ้นจากเหตุการณ์นี้ โดยเป็นทวีปที่อยู่ทางฟากตะวันตกสุดของอาร์ดา คั่นตัวออกจากทวีปอื่นด้วยมหาสมุทรใหญ่ชื่อ เบเลกายร์ หลังจากนั้นปวงเทพก็ย้ายมาประทับอยู่บนทวีปนี้ ตั้งเมืองศูนย์กลางของปวงเทพขึ้นเรียกว่า วาลินอร์ ภูมิประเทศในใจกลางทวีปเป็นที่ราบ และผืนป่า ซึ่งเป็นไร่นาของเทพียาวันนา และเขตป่าของเทพโอโรเม ด้านตะวันตกจรดทะเลวัฏฏะ (เอคไคอา) ด้านตะวันออกจรดทะเลเบเลกายร์ โดยมีขุนเขาสูงใหญ่ขวางกั้นไว้ที่ชายทวีปด้านตะวันออก มีชื่อว่า เทือกเขาเพโลริ ยอดเขาสูงสุดของเพโลริคือ ทานิเควทิล อันเป็นที่ประทับของจอมกษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งปวง คือมานเวเทพบดี นครวาลินอร์ตั้งอยู่เชิงขุนเขาแห่งนี้ ด้านนอกนครเป็นเนินสูงใหญ่ชื่อ 'เอเซลโลฮาร์' บนเนินเป็นที่ตั้งของที่ประชุมมนตรีพิพากษา (คือที่ประชุมของปวงเทพวาลาร์ เมื่อต้องมีการพิจารณาเหตุการณ์สำคัญ) ใกล้เนินเอเซลโลฮาร์เป็นที่ตั้งของทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์ หลังจากชาวเอลดาร์เดินทางมายังอามัน ปวงเทพเห็นว่าพวกเขายังจำเป็นต้องได้รับกลิ่นไอจากมหาสมุทรใหญ่ และอากาศจากแผ่นดินเกิด จึงแหวกช่องเขาเพโลริให้แยกออกในช่วงกึ่งกลางของทวีป กลายเป็นช่องเขาคาลาเคียร์ยา ซึ่งเป็นที่ตั้งของนครทิริออน เมืองหลวงของพวกเอลฟ์ ชายหาดริมมหาสมุทรใหญ่ใกล้กับนครนี้ มีชื่อเรียกว่า อ่าวเอลดามาร์ หรืออ่าวนิวาสเอลฟ์ เป็นที่ตั้งของนครอัลควาลอนเด เมืองหลวงของชาวเทเลริ ในอ่าวเอลดามาร์มีเกาะใหญ่แห่งหนึ่งตั้งอยู่ เกาะนี้เดิมคือแผ่นดินใหญ่ที่เทพอุลโมใช้นำพาเหล่าเอลฟ์ออกจากทวีปมิดเดิลเอิร์ธมาสู่อามัน แต่เมื่อถึงการเดินทางครั้งสุดท้ายของเหล่าเทเลริ พวกเขาขอให้เทพอุลโมหยุดยั้งการเดินทาง พระองค์จึงหยั่งรากของเกาะลงยึดกับก้นมหาสมุทรกลายเป็นเกาะขนาดใหญ่ มีชื่อว่า 'โทลเอเรสเซอา' หรือเกาะเอกา (Lonely Isle) บางครั้งในปกรณัมเรียกชื่อว่า 'เอเรสเซอา' บนเกาะนี้เป็นที่ตั้งของนครอวัลโลเน พวกเอลฟ์โนลดอร์ที่ถูกเนรเทศไปยังมิดเดิลเอิร์ธ เมื่อได้รับอภัยโทษและกลับคืนสู่แผ่นดินอมตะ ก็จะมาได้เพียงเกาะโทลเอเรสเซอาแห่งนี้ อามันได้ชื่อว่าเป็นแผ่นดินอมตะ ก็เพราะผู้อยู่อาศัยบนแผ่นดินนั้นล้วนเป็นอมตะชน ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ไปอยู่บนนั้นจะมีชีวิตยืนยาว ตรงกันข้าม ถ้ามนุษย์ผู้ไม่ได้รับอนุญาตเหยียบลงบนแผ่นดินนั้น กลับจะยิ่งเสียชีวิตเร็วขึ้นเพราะไม่อาจทนรับสภาพอากาศของแผ่นดินอมตะได้ มนุษย์ผู้แรกที่ได้เหยียบย่างขึ้นบนแผ่นดินอมตะ คือ เออาเรนดิลจอมนาวิก ซึ่งเสี่ยงชีวิตเดินทางไปขออภัยต่อปวงเทพในฐานะตัวแทนของสองเผ่าพันธุ์ (เอลฟ์และมนุษย์) ในเหตุการณ์ตอนปลายของยุคที่หนึ่ง เขาได้รับพรพิเศษจากปวงเทพให้เลือกได้ว่าจะเป็นเอลฟ์หรือมนุษย์ เออาเรนดิลเลือกเป็นเอลฟ์ จึงได้รับมอบหมายให้อัญเชิญดวงมณีซิลมาริลไปบนนาวาวิงกิล็อท เพื่อส่องแสงสว่างแก่โลกตลอดไป เหตุนี้เขาจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เออาเรนดิลผู้ได้รับพร ในช่วงปลายยุคที่สอง อาร์-ฟาราโซน กษัตริย์นูเมนอร์ คิดเหิมเกริมด้วยถูกยุยงจากเซารอน หมายจะไปชิงความเป็นอมตะจากปวงเทพ จึงยกทัพเรือไปจะตีอามัน จากเหตุการณ์นี้องค์อิลูวาทาร์จึงบันดาลให้มหาสมุทรใหญ่เกิดหุบเหวลึก ดูดเอาเกาะนูเมนอร์จมสมุทร แล้วย้ายอามันออกไปจากพิภพอาร์ดา บันดาลให้โลกกลม ดังนั้นจึงไม่มีผู้ใดสามารถเดินทางไปถึงอามันได้อีกเลย นอกจากผู้ได้รับอนุญาติจากเหล่าเอลฟ์ เช่น บิลโบ และ โฟรโด ซึ่งเป็นผู้ถือแหวน ที่สามารถไปถึงได้โดยผ่านทาง เส้นทางมุ่งตรง เท่านั้น เพื่อไปใช้ชีวิตเป็นอมตะกับ ชาวอมตะที่เหลือ.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและอามัน · ดูเพิ่มเติม »

อารากอร์น

อารากอร์น (Aragorn) หรือ อารากอร์นที่สอง บุตรแห่งอาราธอร์นที่สอง เป็นหนึ่งในตัวละครที่สำคัญในเรื่อง ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ ของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาปรากฏตัวในช่วงกลางของหนังสือลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน มหันตภัยแห่งแหวน เมื่อเขาได้พบกับ โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ และคณะ เขามีเชื้อสายของ อิซิลดูร์ กษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักร กอนดอร์ และเป็นทายาทเพียงผู้เดียวที่หลงเหลืออยู่ หลังจากสิ้นสุดสงครามแหวน อารากอร์นได้รวมสองอาณาจักรแห่งอาร์นอร์และกอนดอร์ไว้ด้วยกัน และปกครองอย่างร่มเย็นต่อเนื่องมาจนจวบสิ้นอายุขั.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและอารากอร์น · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ดา

อาร์ดา (Arda) เป็นชื่อดินแดนในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งใช้ในความหมายแทนโลกของเราทั้งหมด อาร์ดาประกอบด้วยทวีปใหญ่ๆ ที่สำคัญคือ มิดเดิลเอิร์ธ อามัน และ กาฬทวีป มีมหาสมุทรหลายแห่ง ที่สำคัญคือ มหาสาคร (The Great Sea) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เบเลกายร์ ในทะเลเบเลกายร์นี้เคยมีเกาะนูเมนอร์ ซึ่งล่มจมสมุทรไปตั้งแต่ยุคที่สองของอาร์ดา ดินแดนส่วนอื่นๆ ในอาร์ดามิได้ถูกเอ่ยถึง ตามปกรณัมของโทลคีน อาร์ดาเป็นส่วนหนึ่งของ เออา (Ea) คือจักรวาลแห่งพิภพที่มหาเทพอิลูวาทาร์สร้างขึ้นในสุญญภูมิ ด้วยการบรรเลงบทเพลงมหาคีตา ซึ่งมีจิตวิญญาณแรกเริ่ม (หรือไอนัวร์) ช่วยในการสร้างด้วย การสร้างครั้งนั้นเรียกว่า มหาคีตาแห่งไอนัวร์ เมื่อเออาถือกำเนิดขึ้น ไอนัวร์บางส่วนได้ลงมาอยู่ในโลกนี้เพื่อปกปักรักษาและตระเตรียมสถานที่ไว้ให้พร้อมสำหรับบุตรแห่งอิลูวาทาร์ ไอนัวร์ที่ลงมายังอาร์ดา พวกที่มีพลังอำนาจสูง เรียกว่า วาลาร์ ส่วนพวกที่มีฤทธิ์น้อยกว่า เรียกว่า ไมอาร์ ไอนัวร์เหล่านี้บางครั้งเรียกรวมๆ กันว่า ปวงเทพ โลกอาร์ดาแต่ดั้งเดิมเมื่อเริ่มสร้างนั้นเป็นแผ่นดินแบนๆ ที่ล้อมรอบด้วยทะเลวัฏฏะ (Encircling Sea) มีชื่อเรียกว่า เอคไคอา (Ekkaia) ข้างใต้เป็นโถงถ้ำมากมาย ข้างบนเป็นเขตห้วงเวหามีชื่อว่า อิลเมน แผ่นดินดั้งเดิมเป็นทวีปเดี่ยวตั้งอยู่ตรงกลาง มีทะเลสาบอยู่ใจกลางทวีป และมีเกาะอยู่กลางทะเลสาบนั้น ชื่อว่า เกาะอัลมาเรน เป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าวาลาร์และไมอาร์ เมื่อเกิดสงครามระหว่างปวงเทพขึ้น ทำให้แผ่นดินเกิดวินาศวอดวาย แตกเป็นทวีปต่างๆ พวกวาลาร์และไมอาร์จึงย้ายถิ่นฐานไปอาศัยอยู่บนทวีปอามัน ซึ่งอยู่ทางสุดตะวันตกของอาร์ดา ส่วนทวีปมิดเดิลเอิร์ธที่อยู่บริเวณกึ่งกลางอาร์ดา ได้กลายเป็นถิ่นฐานที่อาศัยของบรรดาบุตรแห่งอิลูวาทาร์ คือพวกเอลฟ์ และมนุษย์ มีมหาสาครหรือเบเลกายร์ กั้นกลางระหว่างสองทวีปนี้ ในช่วงปลายยุคที่สอง เมื่อมนุษย์ชาวนูเมนอร์เหิมเกริมจะบุกรุกทวีปอามันเพื่อช่วงชิงความเป็นอมตะ ปวงเทพจึงจมเกาะนูเมนอร์เสีย และย้ายทวีปอามันออกไปเสียจากโลก บันดาลให้โลกกลายเป็นโลกกลม แม้แล่นเรือไปทางตะวันตกจนสุดหล้า ก็จะหวนกลับมายังจุดตั้งต้นได้อีกครั้ง การจะไปถึงทวีปอามันได้ต้องเดินทางผ่านเส้นทางมุ่งตรง ซึ่งจะไปได้โดยพวกเอลฟ์เท่านั้น.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและอาร์ดา · ดูเพิ่มเติม »

อาร์นอร์

ในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อาร์นอร์ (Arnor) หรือ อาณาจักรเหนือ เป็นอาณาจักรของมนุษย์ชาวดูเนไดน์ ในดินแดนแห่ง เอเรียดอร์ ในมิดเดิลเอิร์ธ ชื่อดังกล่าวน่าจะแปลว่า "ดินแดนแห่งกษัตริย์" มาจากภาษาซินดารินว่า อารา (Ara-) (แปลว่า สูงส่ง, เกี่ยวกับกษัตริย์) + (น)ดอร์ ((n) dor) (แปลว่า ดินแดน) ปรากฏอยู่ในนิยายทั้ง ซิลมาริลลิออน และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในช่วงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนั้น อาณาจักรอาร์นอร์แผ่กว้างไกลครอบคลุมดินแดนเกือบทั้งหมดของเอเรียดอร์ ตั้งแต่แม่น้ำบรุยเนน กวาโธล ไปจนถึงแม่น้ำลูห์น รวมทั้งดินแดนซึ่งต่อมารู้จักในนามว่า ไชร์ ด้วย ประชากรของอาร์นอร์ประกอบด้วยชาวดูเนไดน์ในดินแดนตะวันตกตอนกลางของอาณาจักร และชาวพื้นเมืองหรือลูกครึ่ง (รวมทั้งพวกต่อต้าน).

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและอาร์นอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาวเล

อาวเล (Aulë) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในงานเขียนเรื่อง ซิลมาริลลิออน โดยเป็นหนึ่งในเทพวาลาร์ ทรงเป็นเทพแห่งการช่าง เป็นผู้ลงแรงสร้างพิภพมากที่สุดองค์หนึ่ง และมีพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์เสมอด้วยหรืออาจสูงกว่าเมลคอร์เสียอีก เทพอาวเลเป็นผู้สร้างเผ่าพันธุ์คนแคระ และทรงเป็นอาจารย์ของเอลฟ์ชาวโนลดอร์ สองเผ่าพันธุ์นี้จึงสมัครรักใคร่กันดีในยุคแรกๆ ก่อนจะเกิดเหตุวิวาทกันด้วยสงครามชิงซิลมาริล เทพอาวเลทรงสร้างผลงานกระเดื่องหลายชิ้น เช่น ตรวนอังไกนอร์ ที่ใช้ล่ามจอมมารมอร์กอธ, มหาชวาลา อิลลูอิน กับ ออร์มัล ที่ส่องแสงสว่างให้แก่โลกก่อนแสงชนิดใดๆ ทั้งสิ้น, รวมทั้งนาวาแห่งดวงตะวันและเกาะแห่งจันทรา ที่ประดิษฐานแสงสุดท้ายของทวิพฤกษา กลายเป็นดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ส่องแสงให้แก่พิภพ เทพอาวเลอภิเษกกับเทพียาวันนา เทพีผู้ครองความอุดมสมบูรณ์ ผู้ดูแลพืชพรรณและสรรพสิ่งที่เจริญเติบโต การที่อาวเลสร้างคนแคระทำให้ยาวันนาไม่ค่อยพอใจ เพราะคนแคระนิยมใช้ขวานและชอบตัดต้นไม้ พระนางจึงไปทูลขอมานเวเทพบดี ให้ป่าไม้มีผู้คอยพิทักษ์รักษา เป็นกำเนิดของเหล่าพฤกษบาล หรือพวกเอนท์ หมวดหมู่:ตัวละครในซิลมาริลลิออน หมวดหมู่:ไอนัวร์ ja:ヴァラ#アウレ la:Ainur#Valar pl:Valar#Aulë sv:Valar (Tolkien)#Aulë.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและอาวเล · ดูเพิ่มเติม »

อิลูวาทาร์

อรู อิลูวาทาร์ เป็นชื่อภาษาเอลฟ์ของ "พระเจ้า" แห่งปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในฐานะเป็นพระผู้สร้างเพียงหนึ่งเดียว เป็นผู้สร้างเหล่าเทพไอนัวร์ เป็นผู้สร้าง เออา หรืออาร์ดา และสรรพชีวิตทั้งหลายบนโลกใบนั้น แม้จะเป็นตัวละครที่มีบทบาทสำคัญที่สุด แต่ก็มิได้ถูกเอ่ยถึงเลยในนิยายซึ่งสร้างชื่อเสียงฉบับแรกๆ ของเขา คือ เดอะฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (มีกล่าวถึงในภาคผนวกของ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เล็กน้อยด้วยคำว่า "พระผู้เป็นหนึ่ง") โทลคีนระบุในจดหมายหลายครั้งว่า งานประพันธ์ของเขาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับศาสนา อย่างไรก็ดี โทลคีนถือได้ว่าเป็นคาทอลิกผู้เคร่งครัด เห็นได้ว่าโทลคีนไม่สามารถสร้างโลกที่ "ปราศจากพระเจ้า" ได้ บทประพันธ์ชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของโทลคีน เป็นงานเขียนที่เขาจินตนาการว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตเมื่อนานแสนนานมาแล้ว และการตีความเรื่อง "พระเจ้า" ของผู้คนในอดีตกาล ก็ย่อมอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างออกไป ชื่อ 'อิลูวาทาร์' เชื่อว่าอาจได้รับแรงบันดาลใจมาจากชื่อเทพีแห่งสรวงสวรรค์ อิลมาทาร์ (Ilmatar) หนึ่งในจิตวิญญาณบริสุทธิ์ที่ปรากฏในมหากาพย์ คาเลวาล.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและอิลูวาทาร์ · ดูเพิ่มเติม »

อิงคลิงส์

ผับ "The Eagle and Child" ในเมืองออกซฟอร์ด ซึ่งกลุ่มอิงคลิงส์ใช้พบปะสังสรรค์กันทุกคืนวันอังคาร ในช่วงปี ค.ศ. 1939 อิงคลิงส์ (Inklings) เป็นชื่อกลุ่มสังสรรค์ทางด้านวรรณกรรมอย่างไม่เป็นทางการในมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ในระหว่างช่วงทศวรรษ 1930 ถึง 1960 สมาชิกส่วนใหญ่เป็นอาจารย์หรือนักวิชาการในมหาวิทยาลัย ในจำนวนนี้มีสมาชิกคนสำคัญได้แก่ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (Tollers), ซี. เอส. ลิวอิส (Jack), โอเวน บาร์ฟิลด์, ชาร์ลส วิลเลียมส์, คริสโตเฟอร์ โทลคีน (ลูกชายของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน), วอร์เรน ลิวอิส (วอร์นี่ - พี่ชายของ ซี. เอส. ลิวอิส), โรเจอร์ แลนเซลีน กรีน, อดัม ฟ็อกซ์, ฮิวโก ดีสัน, โรเบิร์ต ฮาวาร์ด,.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและอิงคลิงส์ · ดูเพิ่มเติม »

อิซิลดูร์

อิซิลดูร์ (Isildur) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในหนังสือเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales ชื่อ 'อิซิลดูร์' หมายถึง 'ผู้รักใคร่ในดวงจันทร์' ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ อิซิลดูร์ถูกเอ่ยถึงในฐานะชาวดูเนไดน์แห่งนูเมนอร์ โอรสของกษัตริย์เอเลนดิล ทรงเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรอาร์นอร์และกอนดอร์ในช่วงเวลาสั้นๆ และทรงเป็นบรรพชนของอารากอร์น เอเลสซาร์ เรื่องราวโดยละเอียดของเขาจะปรากฏอยู่ใน ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales มากกว.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและอิซิลดูร์ · ดูเพิ่มเติม »

อคัลลาเบธ

อคัลลาเบธ (Akallabêth) เป็นเนื้อหาส่วนที่สี่ในหนังสือเรื่อง ซิลมาริลลิออน งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ใน ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์การล่มสลายของเกาะนูเมนอร์ในยุคที่สองของอาร์ดา ซึ่งเป็นอาณาจักรของมนุษย์ชาวเอไดน์ที่ได้รับเป็นของขวัญจากเทพวาลาร์ คำว่า อคัลลาเบธ เป็นคำในภาษาอดูนาอิก มีความหมายว่า การล่มสลาย (The Downfallen) ภาษาเควนยาเรียกว่า อทาลันเท (Atalantë).

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและอคัลลาเบธ · ดูเพิ่มเติม »

อนาริออน

อนาริออน (Anárion) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในหนังสือเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales ชื่อของเขามีรากศัพท์มาจากคำภาษาเควนยา อนาร์ (Anar) ซึ่งหมายถึง 'ดวงอาทิตย์' อนาริออนเป็นโอรสองค์ที่สองของเอเลนดิล และเป็นน้องชายของอิซิลดูร์ พวกเขาทั้งสามคนพ่อลูกเป็นผู้นำกลุ่ม ผู้ศรัทธา หรือ Elendili ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวนูเมนอร์ผู้ภักดีต่อปวงวาลาร์ใช้เรียกขานตัวเอง ในยุคสมัยที่ อาร์-ฟาราโซน กษัตริย์นูเมนอร์ คิดเหิมเกริมท้าอำนาจของปวงเทพ เนื่องจากความยโสอวดดีและหลงเชื่อในคำยุยงของเซารอน อนาริออนได้หนีออกจากเกาะนูเมนอร์พร้อมกับพ่อและพี่ชายได้ทันในคราวล่มเกาะ เขาขึ้นฝั่งมิดเดิลเอิร์ธในทางตอนใต้พร้อมกับพี่ชาย และได้ร่วมกันก่อตั้งอาณาจักรกอนดอร์ขึ้น ขณะที่เอเลนดิล บิดาของพวกเขาขึ้นฝั่งทางเหนือ และก่อตั้งอาณาจักรอาร์นอร์ ใกล้กับอาณาจักรลินดอนของกิลกาลัดสหายเก่า อนาริออนและอิซิลดูร์ได้ร่วมกันพัฒนาอาณาจักรกอนดอร์ให้ยิ่งใหญ่ ทั้งสองสร้างหอคอยมินัสอะนอร์ และ มินัสอิธิล รวมถึงสะพานใหญ่ข้ามอันดูอินและนครออสกิเลียธ โดยที่ออสกิเลียธมีความหมายถึงดวงดาว ซึ่งเป็นความหมายของชื่อ 'เอเลนดิล' มินัสอะนอร์กับแคว้นอนอริเอนตั้งชื่อตาม 'อนาริออน' ขณะที่ มินัสอิธิลกับแคว้นอิธิลิเอนตั้งชื่อตาม 'อิซิลดูร์' เมื่อเซารอนหวนคืนมามิดเดิลเอิร์ธ ก็ยกทัพมาโจมตีกอนดอร์และยึดมินัสอิธิลไปได้ อิซิลดูร์หนีขึ้นเหนือไปขอความช่วยเหลือจากเอเลนดิล ขณะที่อนาริออนเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาเมืองออสกิเลียธและอาณาจักรกอนดอร์ไว้ ทำให้เซารอนต้องถอยไปตั้งหลักอยู่หลังแนวขุนเขา จนกระทั่งทัพใหญ่ของเอเลนดิลยกมาถึง พวกเขาทั้งสามได้เข้าร่วมในกองทัพพันธมิตรครั้งสุดท้ายของเอลฟ์และมนุษย์ อนาริออนได้เข้ารบในสมรภูมิทุ่งดาร์กอลัด และสงครามการปิดล้อมบารัด-ดูร์ แต่แล้วก็เสียชีวิตในระหว่างการปิดล้อมครั้งนั้นในปีที่ 3340 ของยุคที่สอง อนาริออนมีบุตรสี่คน บุตรคนที่สี่คือ เมเนลดิล ได้เป็นกษัตริย์องค์ที่สามแห่งกอนดอร์ ไม่มีข้อมูลอื่นกล่าวถึงบุตรสามคนก่อนหน้านั้น เมื่อสิ้นสุดยุคที่สอง อิซิลดูร์แต่งตั้งให้เมเนลดิลเป็นเจ้าผู้ครองกอนดอร์ ส่วนตัวพระองค์กับโอรสทั้งสามเดินทางขึ้นเหนือเพื่อไปครองอาณาจักรอาร์นอร์ต่อจากบิดา ซึ่งอิซิลดูร์เสียชีวิตในระหว่างการเดินทางคราวนั้นที่ทุ่งแกลดเดน สายวงศ์ของอนาริออนกับอิซิลดูร์ได้ร่วมเป็นสายเดียวกัน เมื่อทายาทคนหนึ่งในวงศ์อนาริออน คือเจ้าหญิงฟีริเอลแห่งกอนดอร์ ได้วิวาห์กับทายาทวงศ์อิซิลดูร์ คือเจ้าชายอาร์เวดุย แห่งอาร์เธไดน์ ซึ่งสืบสายโลหิตต่อมาจนถึงอารากอร์นที่ 2 ทำให้อารากอร์นมีศักดิ์และสิทธิ์ในการปกครองอาณาจักรทั้งสองรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและอนาริออน · ดูเพิ่มเติม »

ฮอบบิท

อบบิท (Hobbit) เป็นเผ่าพันธุ์สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือฮอบบิท และมีบทบาทสำคัญในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ฮอบบิทเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างคล้ายมนุษย์ แต่มีขนาดย่อมกว่า และไม่ล่ำบึกบึนเหมือนอย่างคนแคระ เนื่องจากฮอบบิทมีขนาดราวครึ่งหนึ่งของมนุษย์ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ฮาล์ฟลิง (Halfling) พวกเอลฟ์เรียกเขาว่า เพเรียนนัธ (Periannath) แต่พวกฮอบบิทเรียกตัวเองว่า คูดุค (Kuduk) ส่วนคำว่า ฮอบบิท มีที่มาจากคำในภาษาโรเฮียริคว่า โฮลบีตลาน (Holbytlan) ซึ่งหมายถึง ผู้อยู่ในโพรง ฮอบบิทมีภาษาพูดของตนเอง เรียกว่า ภาษาฮอบบิติช เป็นภาษาในตระกูลเดียวกันกับภาษาโรเฮียริค เนื่องจากถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวฮอบบิทกับชาวโรเฮียริมอยู่ใกล้เคียงกัน กอลลัม ในบทนำของเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ระบุว่า ฮอบบิทส่วนใหญ่มีความสูงประมาณ 2-4 ฟุต ความสูงเฉลี่ย 3 ฟุต 6 นิ้ว มีอายุเฉลี่ยราว 100 ปี (สูงสุดประมาณ 130 ปี) เท้าเป็นขนและเดินได้เงียบ ปลายหูแหลม อาศัยอยู่ในโพรง ชอบการกินอาหาร ชอบการละเล่นและความสนุกสนาน เป็นเผ่าพันธุ์ที่รักสงบ อายุยืนกว่ามนุษย์ธรรมดา ถ้าฮอบบิทอายุได้ 33 ปี จะเทียบกับมนุษย์ได้ 21 ปี เมื่อนั้นจึงจะถือว่าฮอบบิทคนนั้นเป็นผู้ใหญ่แล้ว ฮอบบิทกินอาหารถึงวันละ 7 มื้อ ได้แก่ มื้อเช้า, มื้อหลังเช้า, มื้อ 11 โมง, มื้อเที่ยง, มื้อน้ำชา, มื้อเย็น และมื้อดึก ทั้งนี้ไม่รวมของว่างเล็กๆ น้อยๆ ที่ทานได้ตลอดทั้งวัน ทานครั้งแรกถึง 6 มื้อ ฮอบบิททานอาหารได้ทุกประเภท แต่ที่โปรดปรานที่สุดคือ เห็ด ช็อคโกแล็ต และเหล้าเอล และ ฮอบบิท ชอบทำขนมเค็กด้วย เผ่าพันธุ์ฮอบบิทเป็นผู้ชำนาญการด้านยาสูบ ดินแดนของพวกเขาเป็นแหล่งผลิตยาสูบมวนกระดาษสีดำชั้นดีที่สุดของมิดเดิลเอิร์ธ และพวกฮอบบิทก็ชอบใช้กล้องสูบยาด้ว.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและฮอบบิท · ดูเพิ่มเติม »

ฮอบบิท (หนังสือ)

อะฮอบบิท (ชื่อภาษาอังกฤษ "The Hobbit" หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "There and Back Again") เป็นนิยายแฟนตาซีสำหรับเด็ก ประพันธ์โดยเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในลักษณะกึ่งเทพนิยาย โทลคีนเขียนเรื่องนี้ในราวช่วงปลายทศวรรษที่ 1920 โดยเริ่มแรกเขาเพียงใช้เล่าเป็นนิทานสนุกๆ ให้ลูกฟัง กับใช้เล่นคำในภาษาต่างๆ ที่เขาสนใจ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเก่า นิยายเรื่องนี้ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 21 กันยายน..

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและฮอบบิท (หนังสือ) · ดูเพิ่มเติม »

ฮารัด

รัด (Harad) คือชื่อดินแดนมนุษย์แห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ฮารัดเป็นดินแดนกว้างใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของมอร์ดอร์และกอนดอร์ใต้ มีลักษณะอากาศที่อบอุ่นและร้อนกว่าดินแดนทางเหนือ ดินแดนนี้ไม่ได้รวมเป็นอาณาจักรเดียวกันทั้งผืน แต่มีกษัตริย์ปกครองเป็นของตนเองไม่ขึ้นแก่กัน ชื่อ ฮารัด เป็นคำภาษาซินดาริน แปลว่า ใต้ ชาวฮารัดมักถูกเรียกว่าชาว ฮาราดริม (Haradrim) หมายถึงมนุษย์แห่งดินแดนใต้ พวกนี้เป็นคนป่า มีผิวสีเข้ม ผมและตาดำ ใช้ภาษาที่เป็นของตนเอง และจัดว่าเป็นศัตรูกับชาวกอนดอร์ มาตั้งแต่อดีต ในขณะเดียวกัน พวกฮาราดริมก็เป็นมิตรกับเซารอน นอกจากนี้ชาวฮาราดริม ยังมีพาหนะเป็นสัตว์ร้ายของกองทัพฮารัดอีกด้วย ซึ่งก็คือ มูมาคิล (Mumakil) หรือที่พวกฮอบบิทเรียกว่า โอลิฟอนต์ (Oliphaunt) มีลักษณะคล้ายช้าง แต่สูงเท่ากับตึกแปดชั้น มีงายาวสี่งา บนหลังของมูมาคิลสามารถบรรทุกพลรบได้ถึง 50 นาย ในช่วงสงครามแหวน พวกฮาราดริมได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับเซารอน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและฮารัด · ดูเพิ่มเติม »

ฮูริน ธาลิออน

ฮูริน (Húrin) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในซิลมาริลลิออน งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ตามปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ฮูรินเป็นชาวมนุษย์ซึ่งมีชีวิตอยู่ในยุคที่หนึ่งของอาร์ดา เป็นทายาทตระกูลฮาดอร์ เจ้าแคว้นดอร์-โลมิน และเป็นนักรบที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีสมญาว่า ธาลิออน (Thalion) ซึ่งเป็นคำภาษาซินดาริน แปลว่า ผู้มั่นคง ฮูรินเป็นบุตรคนโตของกัลดอร์แห่งตระกูลฮาดอร์ มีน้องชายหนึ่งคนคือ ฮูออร์ ผู้เป็นบิดาของทูออร์ บิดาของเออาเรนดิล เมื่อยังเด็ก ฮูรินกับฮูออร์เคยได้รับความช่วยเหลือจากพญาอินทรีโธรอนดอร์หนีพ้นจากพวกออร์ค ไปลี้ภัยอยู่กับกษัตริย์ทัวร์กอนในกอนโดลิน ได้เป็นที่รักใคร่ขององค์กษัตริย์มาก ต่อมาภายหลังจึงได้หวนคืนดอร์-โลมิน ฮูรินแต่งงานกับมอร์เวนแห่งตระกูลเบออร์ มีบุตรด้วยกันสามคนคือ ทูริน อัวร์เวน และนิเอนอร์ หมวดหมู่:ตัวละครในซิลมาริลลิออน หมวดหมู่:มนุษย์ (มิดเดิลเอิร์ธ).

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและฮูริน ธาลิออน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวาลวิทยา

ักรวาลวิทยา (cosmology) เป็นการศึกษาเอกภพโดยรวม ซึ่งนับว่าเป็นการศึกษาถึงสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นพื้นฐานที่สุดในเวลาเดียวกัน จักรวาลวิทยามุ่งเน้นที่จะศึกษาถึงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งทั้งหลายในเอกภพ พร้อมกับพยายามที่จะอธิบายความเป็นมาของเอกภพในอดีต และทำนายความเป็นไปของเอกภพในอนาคต เอกภพเป็นอย่างไร เอกภพมีขอบเขตจำกัดหรือไม่ เอกภพเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเหตุใดเอกภพจึงมีรูปร่างลักษณะอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และอนาคตข้างหน้าเอกภพจะเป็นอย่างไร ปัญหาเหล่านี้คือสิ่งที่นักจักรวาลวิทยาทั้งหลายสนใจ จักรวาลวิทยาในความหมายที่กว้างที่สุด จะหมายถึงการทำความเข้าใจเอกภพโดยอาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชา ไม่ว่าจะเป็น วิทยาศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา หรือศิลปะ แต่โดยทั่วไปในปัจจุบัน จักรวาลวิทยาจะหมายถึงการศึกษาเอกภพโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นสองเครื่องมือสำคัญในการใช้ศึกษาเอกภพ เป็นที่ยอมรับกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า ยิ่งเรามีความรู้ทางด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์มากขึ้นเท่าใด เราก็จะยิ่งมีความเข้าใจในเอกภพมากขึ้นเท่านั้น มโนทัศน์เกี่ยวกับเอกภพของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าเอกภพประกอบด้วยโลก คือ เทพเจ้าชื่อเก็บ ซึ่งถูกโอบล้อมด้วยท้องฟ้าคือ นัท ต่อมาเมื่อชาวกรีกโบราณศึกษาท้องฟ้าและการโคจรของดวงดาวมากขึ้น เขาก็สามารถสร้างแบบจำลองเอกภพที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการศึกษานั้น โดยให้โลกเป็นจุดศูนย์กลางของเอกภพ และมีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ รวมทั้งดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ทั้งหลาย โคจรอยู่รายล้อม แบบจำลองโลกเป็นศูนย์กลางนี้เป็นที่ยอมรับกันมานับพันปี ก่อนที่โคเปอร์นิคัสจะเสนอแบบจำลองใหม่ที่ให้ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ด้วยเหตุผลว่าแบบจำลองนี้ใช้การคำนวณที่ซับซ้อนน้อยกว่า (หลักการของออคแคม) จะเห็นว่าความรู้ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นนั้นทำให้มนุษย์มองโลกและเอกภพต่างออกไป การศึกษาเอกภพก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพราะในศตวรรษนี้มีทฤษฎีใหม่ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของเอกภพมากขึ้น เช่น ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป และควอนตัมฟิสิกส์ รวมทั้งมีการค้นพบหลายสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อวงการจักรวาลวิทยา เช่น การค้นพบว่าเอกภพกำลังขยายตัว หรือการค้นพบการแผ่รังสีคอสมิกไมโครเวฟเบื้องหลัง เป็นต้น ทั้งทฤษฎีและการค้นพบใหม่ ๆ เหล่านี้ทำให้ภาพของเอกภพในใจมนุษย์นั้นกระจ่างแจ่มชัดและใกล้เคียงความจริงยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามก็ต้องยอมรับว่าสิ่งที่มนุษย์รู้เกี่ยวกับเอกภพนั้นยังน้อยมาก และยังคงมีอีกหลายปัญหาในทางจักรวาลวิทยาที่ยังคงเป็นปริศนาอยู่ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและจักรวาลวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ธรันดูอิล

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและธรันดูอิล · ดูเพิ่มเติม »

ธิงโกล

อลู ธิงโกล (เควนยา) หรือ เอลเว ซิงโกลโล (ซินดาริน) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในวรรณกรรมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ปรากฏในหนังสือ ซิลมาริลลิออน และ ตำนานบุตรแห่งฮูริน ได้ชื่อว่าเป็นบุตรแห่งอิลูวาทาร์ที่สูงใหญ่และมีพลังอำนาจมากที่สุด เป็นรองแต่เพียงเฟอานอร์เท่านั้น ธิงโกลเป็นผู้นำของเอลฟ์ชาวเทเลริ เป็นตัวแทนผู้ได้รับเลือกจากเทพโอโรเมไปยังแผ่นดินอมตะเพื่อยลทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์ พร้อมกันกับอิงเว และฟินเว หลังจากนั้นผู้นำเอลฟ์ทั้งสามจึงกลับมาชักชวนพลเมืองของตนให้เดินทางออกจากทะเลสาบคุยวิเอเนนไปยังแผ่นดินอมตะ โดยที่ชาวเทเลริเดินทางอยู่ท้ายสุด เมื่อไปใกล้จะถึงริมฝั่งมหาสมุทรใหญ่ ธิงโกลได้ล่วงหน้าออกจากกลุ่มเพื่อไปเยี่ยมฟินเว กษัตริย์โนลดอร์ สหายของตน ระหว่างทางเขาได้พบกับเทพีเมลิอันในป่า แล้วทั้งสองตกอยู่ใต้มนตร์เสน่หาที่นั้น พลเมืองของธิงโกลค้นหาเขาไม่พบ จนไม่สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรใหญ่ไปกับเอลฟ์กลุ่มอื่นๆ ได้ หลังจากนั้น ชาวเทเลริที่ตกค้างอยู่จึงตั้งถิ่นฐานที่ริมมหาสมุทรใหญ่ ในแผ่นดินเบเลริอันด์ เอลฟ์กลุ่มนี้ได้ชื่อว่า ชาวซินดาร์ มีธิงโกลและเมลิอัน เป็นราชาและราชินี อาณาจักรของพวกเขาเรียกว่า โดริอัธ ธิงโกลกับเมลิอันมีธิดาด้วยกันหนึ่งองค์ คือ ลูธิเอน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและธิงโกล · ดูเพิ่มเติม »

ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์

"''Creation of the Two Trees''" ในปกรณัมของ เจ.อาร์.อาร์. โทลคีน ทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์ (Two Trees of Valinor) เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นโดยเทพียาวันนา ได้แก่ เทลเพริออน (Telperion) และ เลาเรลิน (Laurelin) อันเป็นพฤกษาเงินและทองซึ่งนำแสงสว่างมาสู่ดินแดนของ วาลาร์ ในโบราณกาล พวกมันถูกทำลายโดย เมลคอร์ และ อุงโกเลียนท์ แต่วาลาร์นำดอกไม้และผลสุดท้ายของพวกมันไปสร้างเป็น ดวงจันทร์ และ ดวงอาทิต.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและทวิพฤกษาแห่งวาลินอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทัวร์กอน

ทัวร์กอน (Turgon) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในปกรณัมเรื่อง ซิลมาริลลิออน ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน พระองค์เป็นเอลฟ์ชาว โนลดอร์ เป็นโอรสองค์ที่สองของฟิงโกลฟิน ซึ่งเป็นโอรสของฟินเว จอมกษัตริย์แห่งโนลดอร์ ทรงมีพี่ชายหนึ่งองค์คือ ฟิงกอน และน้องสาวหนึ่งองค์ คือ อาเรเดล ท่านหญิงขาว ชื่อ 'ทัวร์กอน' เป็นภาษาซินดาริน แผลงมาจากคำเควนยาว่า ทูรูคาโน (Turukáno) มีความหมายว่า 'เจ้าชายผู้กล้าหาญ'.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและทัวร์กอน · ดูเพิ่มเติม »

ทูริน ทูรัมบาร์

ทูริน ทูรัมบาร์ (Túrin Turambar) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในจินตนิยายชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือซิลมาริลลิออน และต่อมาได้เป็นตัวละครเอกในนิยายเรื่อง ตำนานบุตรแห่งฮูริน ทูรินเป็นตัวละครที่โทลคีนสร้างขึ้นในลักษณะ anti-hero แบบหนึ่ง คือเป็นวีรบุรุษในโศกนาฏกรรม เขาเป็นมนุษย์ ที่มีชีวิตอยู่ในยุคที่หนึ่งของอาร์ดา บิดาของทูรินคือ ฮูริน ประมุขของตระกูลฮาดอร์ เขาถูกมอร์กอธจับตัวไปได้หลังจากสงครามเนียร์นายธ์อาร์นอยดิอัด แต่ฮูรินไม่ยอมจำนนต่อมอร์กอธ ทำให้มอร์กอธสาปแช่งตระกูลของฮูรินทั้งตระกูลให้ประสบหายน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและทูริน ทูรัมบาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดูเนไดน์

ในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ดูเนไดน์ (Dúnedain; เอกพจน์ คือ ดูนาดาน (Dúnadan)) คือ เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ ผู้สืบสายเลือดจาก ชาวนูเมนอร์ ที่รอดจากการล่มสลายของอาณาจักรเกาะของพวกเขาและมายัง เอเรียดอร์ ในมิดเดิลเอิร์ธ นำโดย เอเลนดิล และบุตรชายของเขา คือ อิซิลดูร์ และ อนาริออน พวกเขายังถูกเรียกว่ามนุษย์แห่งตะวันตก (Men of the West) และ Men of Westernesse (แปลโดยตรงจากคำ ซินดาริน) พวกเขาตั้งรกรากส่วนใหญ่ใน อาร์นอร์ และ กอนดอร์ ชื่อภาษาเวสทรอน ของคำว่า ดูนาดาน เรียกง่าย ๆ ว่า อะดูน (Adûn) ซึ่งแปลว่า "ชาวตะวันตก" แต่ชื่อนี้มันถูกใช้น้อยมาก ชื่อนี้จะถูกรักษาไว้กับชาวนูเมนอร์ที่เป็นสหายกับพราย ส่วนพวกอื่นซึ่งเป็นศัตรูเหลือรอดจากการล่มสลายรู้จักกันในนาม ชาวนูเมนอร์ดำ.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและดูเนไดน์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสโตเฟอร์ โทลคีน

ริสโตเฟอร์ โรนัลด์ รูเอล โทลคีน (Christopher John Reuel Tolkien, 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 -) คือบุตรคนสุดท้ายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้เขียนลอร์ดออฟเดอะริงส์ เขาเป็นที่รู้จักกันดีจากการนำผลงานที่บิดาได้เขียนค้างไว้มาเรียบเรียงและตีพิมพ์ เขายังเป็นผู้วาดแผนที่ในเรื่องลอร์ดออฟเดอะริงส์ด้วย โดยได้ลงชื่อไว้ว่า C. J. R. T. The J. เมื่อเดือนเมษายน 2550 คริสโตเฟอร์ได้ตีพิมพ์นวนิยายที่บิดาได้เขียนเล่มใหม่ "ตำนานบุตรแห่งฮูริน (The Children of Húrin)" ซึ่งโทลคีนได้ทำการเขียนในช่วงปี..

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและคริสโตเฟอร์ โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

คาซัดดูม

ห้องโถงใหญ่ในอาณาจักรดวาโรว์เดล์ฟ จากภาพยนตร์ไตรภาคลอร์ดออฟเดอะริงส์ คาซัด-ดูม (Khazad-dûm) เป็นชื่ออาณาจักรแห่งหนึ่งบนมิดเดิลเอิร์ธ ในนิยายแฟนตาซีเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน คำว่า คาซัด เป็นคำในภาษาคุซดุลที่เหล่าคนแคระใช้เรียกตัวเอง คาซัดดูม หมายถึง "เคหาของคนแคระ" ชื่อนี้ในภาษากลางของมิดเดิลเอิร์ธหรือภาษาเวสทรอน เรียกว่า ดวาโรว์เดล์ฟ (Dwarrowdelf) ส่วนคำว่า มอเรีย เป็นภาษาซินดาริน มีความหมายว่า "ปล่องเหวมืด" ซึ่งเป็นชื่อที่พวกเอลฟ์ใช้เรียกอาณาจักรแห่งนี้ ด้วยความรังเกียจเดียดฉันท์ คาซัดดูมตั้งอยู่ข้างใต้เทือกเขามิสตี้ มีทางเข้าออกเชื่อมต่อทั้งฟากตะวันออกและฟากตะวันตก เป็นเหมืองแร่มิธริลที่ใหญ่ที่สุดและเป็นอาณาจักรคนแคระที่ใหญ่ที่สุดในมิดเดิลเอิร์ธด้วย ในยุคที่สาม คาซัดดูมตกต่ำลงหลังจากขุดแร่ลึกเกินไปจนปลุกเอามฤตยูบัลร็อกตื่นขึ้น ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ปี 1981 ซึ่งบัลร็อกออกอาละวาดจนอาณาจักรต้องล่มสลายลงรวมถึงอาณาจักรใกล้เคียงเช่นลอริเอนด้วย หลังจากนั้นมีความพยายามฟื้นฟูคาซัดดูมขึ้นอีกแต่ไม่เป็นผล คณะพันธมิตรแห่งแหวนเคยเดินทางผ่านอาณาจักรร้างนี้ในช่วงปลายยุคที่สามในระหว่างภารกิจการนำแหวนเอกไปทำล.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและคาซัดดูม · ดูเพิ่มเติม »

คณะพันธมิตรแห่งแหวน

ณะพันธมิตรแห่งแหวน คณะพันธมิตรแห่งแหวน (The Fellowship of the Ring) เป็นชื่อของกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในเนื้อเรื่องครั้งแรกในภาคที่หนึ่ง คือตอน มหันตภัยแห่งแหวน คณะพันธมิตรแห่งแหวนประกอบด้วยสมาชิก 9 คน ซึ่งเป็นตัวแทนของเผ่าพันธุ์ต่างๆ อันเป็นอิสระชนแห่งมิดเดิลเอิร์ธ มีภารกิจเพื่อป้องกันคุ้มครองผู้ถือแหวน โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ ในการเดินทางเพื่อนำแหวนเอก ไปทำลายที่ใจกลางอาณาจักรมอร์ดอร์ การเดินทางของพวกเขาเริ่มต้นในวันที่ 25 ธันวาคม ในปีที่ 3018 ของยุคที่สาม หลังจากการก่อตั้งคณะพันธมิตรแห่งแหวนในที่ประชุมของเอลรอน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและคณะพันธมิตรแห่งแหวน · ดูเพิ่มเติม »

คนแคระ

วาด ''Men hur kommer man in i berget, frågade tomtepojken'' (''ข้าจะกลับไปในภูเขาได้อย่างไร, คนแคระน้อยถาม'') ของ จอห์น บาวเออร์ คนแคระ (Dwarf) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏในตำนานปรัมปราในกลุ่มประเทศเจอร์แมนิก (สแกนดิเนเวียและเยอรมัน) ปรากฏในเทพนิยาย นิยายแฟนตาซี และเกมอาร์พีจีจำนวนมาก มักมีพรสวรรค์อันวิเศษโดยเฉพาะด้านเกี่ยวกับการเหมืองและการโลหะ แนวคิดเริ่มแรกเกี่ยวกับกำเนิดตำนานของคนแคระไม่สามารถระบุได้แน่ชัด แหล่งกำเนิดที่ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่สามารถค้นพบคือในตำนานปรัมปราของเจอร์แมนิกที่สืบทอดมาจากตำนานนอร์ส แต่กระนั้นก็หาหลักฐานได้ยากและมีรูปแบบหลากหลายมาก เรื่องราวที่ผิดเพี้ยนไปทำให้คนแคระดูน่าขบขันมากขึ้นและช่างเชื่อถือโชคลาง คนแคระมีลักษณะคล้ายมนุษย์ แต่เรื่องเล่าระบุถึงความสูงและชีวิตความเป็นอยู่แตกต่างกันไป บางเรื่องถึงกับบรรยายพวกเขาไปคล้ายกับพวกเอลฟ์ เมื่อพิจารณาจากแหล่งข้อมูลที่เก่าแก่ที่สุดและจากลักษณะตามธรรมชาติของคนแคระ เชื่อได้ว่าในยุคแรกๆ คนแคระมีความสูงพอกันกับมนุษย์นี้เอง บทบาทของพวกเขาในตำนานมักมีความผูกพันใกล้ชิดกับความตาย มีผิวกายซีด ผมสีเข้ม ชอบอยู่กับพื้นโลก มีประเพณีที่นิยมนับถือลัทธิภูตผี ซึ่งสอดคล้องกับความผูกพันกับความตาย บางครั้งมีลักษณะคล้ายคลึงกับพวก 'Vættir' หรือจิตวิญญาณแห่งธรรมชาติ เช่นพวกเอลฟ์ ตำนานปรัมปราเกี่ยวกับคนแคระที่พัฒนาการต่อมา มีข้อเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ พวกเขาดูน่าขบขันมากขึ้น มีความลึกลับมากขึ้น คนแคระเริ่มมีรูปร่างเตี้ยลงและน่าเกลียดมากขึ้นตามภาพลักษณ์ในยุคใหม่ รวมถึงภาพการใช้ชีวิตใต้พื้นดินของพวกเขาก็โดดเด่นยิ่งขึ้น คนแคระเป็นสิ่งมีชีวิตมหัศจรรย์ที่มีทักษะด้านการโลหะอย่างวิเศษ มีชื่อเสียงในการสร้างของวิเศษในตำนานมากมาย แนวคิดเกี่ยวกับคนแคระในตำนานนอร์สยุคหลังมีความแตกต่างจากตำนานดั้งเดิมมาก คนแคระในแนวคิดใหม่นี้ไปปรากฏในเทพนิยายและนิทานพื้นบ้านในยุคหลังมากขึ้น (ดูเพิ่มเติมใน นิทานพื้นบ้านเยอรมัน และนิทานพื้นบ้านดัตช์) พวกเขากลายเป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งมีเวทมนตร์ ไม่สามารถมองเห็นได้ เป็นเจ้าแห่งมนตร์มายา คำสาป และคำล่อลวง แฟนตาซีและวรรณกรรมยุคใหม่ช่วยกันถักทอความเจ้าเล่ห์แสนกลให้กับเหล่าคนแคระเพิ่มเติมไปยิ่งกว่าคนแคระดั้งเดิม คนแคระในยุคใหม่จึงมีลักษณะเฉพาะตัวคือ มีร่างกายเตี้ยแคระ ผมและขนดกหนา มีความสามารถในการทำเหมืองและการช่างโลหะอย่างพิเศษ อย่างไรก็ดีวรรณกรรมยุคใหม่ยังบรรยายภาพของคนแคระที่แตกต่างกันออกไปอีกตามแต่ตำนานและประวัติศาสตร์ของแต่ละท้องถิ่น วรรณกรรมแฟนตาซีหลายเรื่องประดิษฐ์คิดค้นอำนาจหรือภาพลักษณ์ของคนแคระขึ้นใหม่ ทำให้ "คนแคระ" ในตำนานยุคใหม่ไม่อาจมีคำจำกัดความที่ชัดเจนได้ แต่แนวคิดเรื่องคนแคระมีร่างเตี้ยดูจะเป็นประเด็นที่มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงมากที่สุด และคำว่า "คนแคระ" (dwarf) ก็ถูกนำมาใช้บรรยายถึงมนุษย์ร่างเตี้ยโดยทั่วไปไม่ว่าจะมีอำนาจเวทมนตร์หรือไม่ ดังนั้นคำจำกัดความสากลในยุคใหม่สำหรับคำว่า คนแคระ จึงหมายถึงสิ่งมีชีวิตร่างเตี้ย มีความเกี่ยวข้องกับเวทมนตร์ อยู่ในวรรณกรรมแฟนตาซีและเทพน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและคนแคระ · ดูเพิ่มเติม »

คนแคระ (มิดเดิลเอิร์ธ)

นแคระ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างเล็กเตี้ย แต่ล่ำสันแข็งแรง ทรหดอดทน มีหนวดเครายาวเฟิ้ม เป็นชนเผ่าที่ชำนาญในการช่างมากที่สุด พวกเขาเป็นมิตรอย่างมากกับพวกฮอบบิท พวกคนแคระเรียกตัวเองว่า คาซัด อันเป็นชื่อที่เทพอาวเลตั้งให้กับพวกเขา แต่พวกเอลฟ์เรียกพวกเขาว่า เนากริม ซึ่งมีความหมายว่า ชนผู้ไม่เติบโตอีกต่อไป คนแคระมีบทบาทอยู่ในวรรณกรรมของโทลคีนหลายเรื่อง ได้แก่ เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซิลมาริลลิออน ตำนานบุตรแห่งฮูริน รวมถึงงานเขียนอื่น ๆ ของคริสโตเฟอร์ โทลคีนด้วย คือ Unfinished Tales และ ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและคนแคระ (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานบุตรแห่งฮูริน

ตำนานบุตรแห่งฮูริน (The Children of Húrin) เป็นนวนิยายแฟนตาซีระดับสูงแบบมหากาพย์ที่บรรยายในลักษณะร้อยแก้ว ประพันธ์โดยเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งได้เริ่มโครงเรื่องไว้ตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1910 และได้ปรับแก้เนื้อหาหลายต่อหลายครั้ง จนกระทั่งโทลคีนเสียชีวิตในปี..

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและตำนานบุตรแห่งฮูริน · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานแห่งซิลมาริล

ตำนานแห่งซิลมาริล (The Silmarillion) เป็นนิยายจินตนิมิต แต่งโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (ผู้แต่งเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์) เริ่มประพันธ์โครงเรื่องตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและตำนานแห่งซิลมาริล · ดูเพิ่มเติม »

ซารูมาน

ซารูมาน (Saruman) เป็นตัวละครในนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อ ซารูมาน เป็นคำในภาษาเวสทรอนที่มนุษย์แห่งมิดเดิลเอิร์ธใช้เรียกเทพไมอาองค์นี้ พวกเอลฟ์เรียกเขาว่า คูรูเนียร์ ชื่อเดิมของเขาคือ คูรูโม เป็นหนึ่งในห้าไมอาร์ที่ปวงเทพส่งมาช่วยเหลือมิดเดิ้ลเอิร์ธในช่วงยุคที่สาม โดยเทพไมอาร์ทั้งห้าใช้ร่างจำแลงมาในรูปชายชรา และเรียกตัวเองว่า อิสทาริ หรือ พ่อมด ซารูมานได้รับฉายาว่า พ่อมดขาว เป็นผู้มีพลังอำนาจสูงสุดในหมู่พ่อมดทั้งห้.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและซารูมาน · ดูเพิ่มเติม »

ซิลมาริล

ในตำนานที่เขียนโดย เจ.อาร์.อาร์. โทลคีน ซิลมาริล (Silmaril) (มาจากภาษาเควนยา ว่า ซิลมาริลลิ) เป็นวัตถุศักดิ์สิทธิ์ในจินตนิยาย ประกอบด้วยอัญมณีสามชิ้นที่สุกสว่างดังดวงดาว ภายในบรรจุแสงอันบริสุทธิ์ของ ทวิพฤกษา ซิลมาริลทำมาจากวัสดุใสดังผลึกคริสตัลที่เรียกว่า ซิลิมา ประดิษฐ์โดย เฟอานอร์ เอลฟ์ชาวโนลดอร์ ในวาลินอร์ ในช่วงยุคแห่งพฤกษา งานเขียนชุด ซิลมาริลลิออน ของโทลคีน มีหัวใจหลักของเรื่องเกี่ยวข้องกับดวงมณีซิลมาริลนี้เอง ว่าด้วยเรื่องราวของผู้สร้าง การถูกช่วงชิง และการแก้แค้น ตลอดจนชะตากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้คนที่เกี่ยวข้องทั้งหม.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและซิลมาริล · ดูเพิ่มเติม »

ซินดาร์

ซินดาร์ (Sindar) คือชื่อเรียกเอลฟ์กลุ่มหนึ่งในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน คำว่า ซินดาร์ เป็นภาษาเควนยา ที่ชาวโนลดอร์พลัดถิ่นเรียกเอลฟ์กลุ่มนี้ มีความหมายว่า "ประชาชนสีเทา" เอกพจน์เรียกว่า ซินดา (Sinda) เอลฟ์กลุ่มนี้เป็นกลุ่มย่อยกลุ่มหนึ่งของเอลฟ์ในตระกูลเทเลริ ซึ่งเป็นตระกูลที่สามของพวกเอลฟ์ที่อพยพออกจากทะเลสาบคุยวิเอเนน บางครั้งก็เรียกชาวซินดาร์ว่า เกรย์เอลฟ์ หรือ เอลฟ์เทา เมื่อแรกเริ่ม ชาวซินดาร์ออกเดินทางจากทะเลสาบคุยวิเอเนนพร้อมกับเอลฟ์เทเลริกลุ่มอื่นๆ แต่เมื่อเดินทางมาเกือบจะถึงริมฝั่งมหาสมุทรใหญ่ ผู้นำของพวกเขาคือ เอลเว ซิงโกลโล หรือกษัตริย์ธิงโกล หลงทางหายไป พวกเขามัวแต่เฝ้าค้นหาติดตามผู้นำของตนอยู่ จนไม่ได้เดินทางข้ามมหาสมุทรไปพร้อมกับเอลฟ์กลุ่มอื่นๆ ในภายหลังจึงตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนริมมหาสมุทรใหญ่นั้นเอง แผ่นดินนั้นเรียกว่า เบเลริอันด์ และอาณาจักรของพวกเขามีชื่อว่า โดริอัธ ธิงโกลได้เป็นกษัตริย์ของพวกเขา โดยมีเทพีเมลิอัน ผู้เป็นเทพไมอาที่ตกหลุมรักธิงโกล อยู่เป็นราชินีของพวกเขา เนื่องจากเอลฟ์กลุ่มนี้ไม่ได้เดินทางไปสู่แผ่นดินอามัน จึงไม่มีโอกาสเห็นแสงแห่งทวิพฤกษา พวกเขาจึงไม่ใช่คาลาเควนดิ อย่างไรก็ดี พวกเขาก็ยังไม่ใช่พวกอวาริ เขาได้รับแสงสว่างจากแผ่นดินอมตะผ่านทางดวงพักตร์ของเทพีเมลิอัน จึงมีความเฉลียวฉลาดและมีวิทยาการสูงกว่าเอลฟ์พวกอื่นๆ บนมิดเดิลเอิร์ธ ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงถูกเรียกว่า เอลฟ์เทา หรือเอลฟ์แห่งสนธยา แต่ส่วนพวกเขาเองเรียกชื่อตัวเองว่า เอกลัธ (Eglath) ซึ่งหมายถึง ผู้ถูกทอดทิ้ง.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและซินดาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซี. เอส. ลิวอิส

ลฟ์ สเตเปิลส์ ลิวอิส (Clive Staples Lewis; 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 — 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506) หรือรู้จักในนาม ซี.เอ.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและซี. เอส. ลิวอิส · ดูเพิ่มเติม »

ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ

ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ (Middle-earth Legendarium) เป็นชุดงานเขียนขนาดยาวของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน นักประพันธ์ชาวอังกฤษ ว่าด้วยโลกแฟนตาซีในจินตนาการของเขาคือ โลกอาร์ดา ประกอบด้วยงานเขียนหลายชิ้นที่เขาใช้เวลาเขียนตั้งแต่มีอายุได้ 22 ปี ไปจนตลอดชั่วชีวิตของเขา คำว่า "Legendarium" นำมาใช้โดยโทลคีนและนักวิจารณ์อื่นๆ เกี่ยวกับงานเขียนชุดนี้โดยเฉพาะ เรื่องราวในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธเริ่มตั้งแต่กาลกำเนิดของพิภพจากการสร้างสรรค์ของมหาเทพอิลูวาทาร์ การกำเนิดปวงเทพ การกำเนิดมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตต่างๆ การกำเนิดดินแดนต่างๆ ได้แก่ อามัน รวมถึง มิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งกลายมาเป็นชื่อของชุดปกรณัมด้วย เหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่หนึ่ง ยุคที่สอง ยุคที่สาม และยุคที่สี่ของอาร์ดา รวมถึงงานเขียนที่กล่าวอ้างถึงสถานที่หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอยู่ในปกรณัม แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเรื่องนั้นเกิดขึ้นในยุคสมัยใด เช่น Smith of Wootton Major และ Roverandom เป็นต้น.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ

ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ (The History of Middle-earth) เป็นชื่อชุดหนังสือจำนวน 12 เล่ม ที่รวบรวมงานเขียนต้นฉบับต่างๆ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ที่เกี่ยวข้องกับปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ นำมาเรียบเรียงใหม่โดยคริสโตเฟอร์ โทลคีน ตีพิมพ์จำหน่ายในช่วงระหว่างปี..

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ลอร์ดออฟเดอะริงส์

ประวัติศาสตร์ลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The History of The Lord of the Rings) เป็นชื่อหนังสือชุด 4 เล่มที่เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือชุด ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ ซึ่ง คริสโตเฟอร์ โทลคีน ได้รวบรวมงานเขียนต้นฉบับเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ทั้งหมดไว้ หนังสือทั้งสี่เล่มอยู่ในชุด ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ ลำดับที่ 6 ถึง 9 ได้แก.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและประวัติศาสตร์ลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อาร์ดา

ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อาร์ดา ซึ่งหมายถึงโลกและห้วงหาวที่ห่อหุ้มทั้งหมด เหตุการณ์นั้นเริ่มต้นตั้งแต่การสร้าง เออา หรือจักรวาลของโลก เหล่าไอนัวร์เข้ามายังอาร์ดา และเริ่มสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ใน ไอนูลินดาเล ระยะเวลาในช่วงนี้นับด้วยวาเลียนศก หลังจากนั้นประวัติศาสตร์ของอาร์ดาแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ ที่มีการนับระยะเวลาแตกต่างกัน เรียกชื่อยุคทั้งสามว่า ยุคแห่งชวาลา ยุคแห่งพฤกษา และยุคแห่งตะวัน นอกจากนี้ยังมีการแบ่งแยกการนับศักราชแยกออกมาอีกเป็น ยุคของบุตรแห่งอิลูวาทาร์ โดยที่ยุคที่หนึ่งเริ่มนับตั้งแต่แรกที่พวกเอลฟ์ตื่นขึ้นที่ทะเลสาบคุยวิเอเนนระหว่างยุคแห่งพฤกษา และเรื่อยไปอีกประมาณหกร้อยปีในยุคแห่งตะวัน ยุคของเหล่าบุตรหลังจากนั้นเกิดขึ้นในยุคแห่งตะวันทั้งหมด เรื่องราวต่างๆ ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธส่วนใหญ่เกิดขึ้นในระหว่างสามยุคแรกของเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและประวัติศาสตร์อาร์ดา · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ แจ็กสัน

ซอร์ปีเตอร์ โรเบิร์ต แจ็กสัน (Sir Peter Robert Jackson) เป็นชาวนิวซีแลนด์ เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม..

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและปีเตอร์ แจ็กสัน · ดูเพิ่มเติม »

นกอินทรี (มิดเดิลเอิร์ธ)

ในจินตนิยายของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีนที่เกี่ยวกับมิดเดิลเอิร์ธนั้น นกอินทรี คือ สัตว์ปีกขนาดมหึมาที่มีความเฉลียวฉลาดและสามารถพูดได้ ในบางครั้งก็ถูกเรียกว่า พญาอินทรี พวกเขามักจะปรากฏตัวในฐานะตัวแทนของ เดวส์เอกส์มาคีนา หรือ "ผู้ที่ทำให้เรื่องราวต่างๆลงเอยด้วยดี" ในหลายๆตำนานของพวกเขา ทั้งจากเรื่องราวของตำนานแห่งซิลมาริลและเรื่องราวของนูเมนอร์ จนไปถึงเรื่องราวของเดอะฮอบบิทและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ก็เหมือนกับเอนท์ที่เป็นผู้พิทักษ์แห่งป่าไม้ พญาอินทรีก็เป็นผู้พิทักษ์แห่งเหล่าสรรพสัตว์ สิ่งมีชีวิตจำพวกนี้มักถูกมองว่าเป็นเหมือนกับนกอินทรีในชีวิตจริงแต่มีขนาดใหญ่กว่า ในตำนานแห่งซิลมาริล โธรอนดอร์ถูกเรียกขานว่าเป็นผู้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์ปีกทั้งหมด เมื่อกางปีกออกจะมีความกว้างถึง 180 ฟุต(หรือ 55 เมตร) นอกจากนั้นแล้วนกอินทรีแต่ละชนิดยังมีขนาดใหญ่แตกต่างกันไป.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและนกอินทรี (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

นรก

แสดงนรก วาดโดย Herrad von Landsberg นรก (สันสกฤต: นรก; บาลี: นิรย; อาหรับ: นารฺ, ญะฮีม, ญะฮันนัม, สะก็อร; อังกฤษ hell) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น อิสลาม, คริสต์, พุทธและยูดาห์ อันเป็นสถานที่ตอบแทนความชั่วของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลก.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและนรก · ดูเพิ่มเติม »

นาซกูล

นาซกูล หรือภูตม้าดำ นาซกูล (Nazgûl) เป็นชื่อของตัวละครกลุ่มหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏตัวในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ คำว่า 'นาซกูล' เป็นคำภาษาแบล็กสปีช มาจากคำว่า 'นาซ' (nazg) หมายถึง "แหวน" และคำว่า 'กูล' (gûl) หมายถึง "ดวงวิญญาณ หรือภูต" บางครั้งเรียกนาซกูลว่า ภูตแหวน หรือ ภูตม้าดำ คำในภาษาเควนยาของนาซกูล คือ อูไลริ (Úlairi) ส่วนคำในภาษาซินดาริน คือ อูไลอาร์ (Ulaer) นาซกูลมีทั้งหมดเก้าตน หัวหน้าของพวกนาซกูลคือ ราชันขมังเวทย์ หรือ วิชคิง แต่เดิมพวกเขาเป็นกษัตริย์หรือผู้นำของพวกมนุษย์บนมิดเดิลเอิร์ธที่หลงในอำนาจยศศักดิ์ซึ่งเซารอนสัญญาว่าจะยกให้ จึงยินยอมรับ แหวนแห่งกษัตริย์ หรือแหวนแห่งอำนาจเก้าวง เมื่อเวลาผ่านไปดวงจิตของพวกเขาก็ตกอยู่ใต้อำนาจของแหวนจนไม่สามารถถอนตัวคืนได้ และต้องกลายเป็นทาสรับใช้ของเซารอนและแหวนเอก นาซกูลออกรุกรานอาณาจักรของมนุษย์ครั้งแรก ในการบุกโจมตีอาณาจักรอาร์นอร์ และสามารถยึดอังก์มาร์ไปได้ ตั้งอาณาจักรแห่งอังก์มาร์ขึ้นเป็นอาณาจักรของตน (บางครั้งจึงเรียกหัวหน้าของพวกมันว่า 'วิชคิงแห่งอังก์มาร์') ต่อมาพวกนาซกูลเข้าโจมตีอาณาจักรกอนดอร์ และยึดเอาหอคอยมินัสอิธิลได้ เปลี่ยนหอคอยแห่งนั้นเป็น มินัสมอร์กูล เป็นฐานที่มั่นอีกแห่งหนึ่งของพวกตน การเข้ายึดมินัสอิธิลครั้งนั้นทำให้เซารอนได้ครอบครอง พาลันเทียร์ แห่งมินัสอิธิล ไปด้วย และได้ใช้พาลันเทียร์ดวงนี้ในการติดต่อกับซารูมาน และล่อลวงเดเนธอร์จนเสียสติ นาซกูลทั้งหมดถูกทำลายไปพร้อมกับการสิ้นสลายของแหวนเอก หมวดหมู่:ตัวละครในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ de:Figuren in Tolkiens Welt#Nazgûl (Ringgeister) simple:Middle-earth characters#Nazgûl.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและนาซกูล · ดูเพิ่มเติม »

นูเมนอร์

นูเมนอร์ (Númenor) เป็นชื่อเกาะแห่งหนึ่งในโลกจินตนาการของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นแผ่นดินที่แยกต่างหากออกมาจาก มิดเดิลเอิร์ธ มีแนวคิดในการประพันธ์มาจากแผ่นดินจมสมุทรแอตแลนติส ชื่อนูเมนอร์มาจากภาษาเควนยา ว่า Númenórë ซึ่งมีความหมายว่า แผ่นดินตะวันตก โทลคีนเขียนไว้ว่า เมื่อแปลงจากคำภาษาเควนยาเป็นภาษานูเมนอเรียน ชื่อนี้ออกเสียงเป็น อนาดูเน (Anadûnê).

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและนูเมนอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แกนดัล์ฟ

แกนดัล์ฟ (Gandalf) เป็นตัวละครในนิยายเรื่อง เดอะ ฮอบบิท และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อ แกนดัล์ฟ เป็นคำในภาษาเวสทรอนที่มนุษย์แห่งมิดเดิ้ลเอิร์ธใช้เรียกเทพไมอาองค์นี้ ในขณะที่พวกเอลฟ์เรียกชื่อว่า มิธรันเดียร์ (Mithrandir) ชื่อเดิมของแกนดัล์ฟแท้จริงคือ โอโลริน (Olórin) เป็นหนึ่งในห้าไมอาร์ที่ปวงเทพส่งมาช่วยเหลือมิดเดิ้ลเอิร์ธในช่วงยุคที่สาม โดยเทพไมอาร์ทั้งห้าได้ใช้ร่างจำแลงมาในรูปชายชรา และเรียกตัวเองว่า อิสทาริ หรือ พ่อมด แกนดัล์ฟได้รับฉายาว่า พ่อมดเทา และได้เป็นพ่อมดขาวในตอนท้ายของเรื่อง แกนดัล์ฟบุคลิกลักษณะเป็นชายแก่ผมยาว หนวดยาวแต่แข็งแรง.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและแกนดัล์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำในมิดเดิลเอิร์ธ

มิดเดิลเอิร์ธ (Middle-Earth) คือดินแดนในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ดินแดนนี้มีแม่น้ำสายต่างๆ มากมาย ต่อไปนี้เป็นรายชื่อแม่น้ำที่สำคัญในมิดเดิลเอิร์ธ โดยนับจากเทือกเขาเอเร็ดลูอินออกมาทางตะวันออก สำหรับแม่น้ำที่อยู่ทางตะวันตกของเทือกเขาเอเร็ดลูอิน ดูเพิ่มเติมใน แม่น้ำในแผ่นดินเบเลริอัน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและแม่น้ำในมิดเดิลเอิร์ธ · ดูเพิ่มเติม »

แหวนแห่งอำนาจ

333px แหวนแห่งอำนาจ เป็นแหวนในจินตนาการของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในนิยายชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริง.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและแหวนแห่งอำนาจ · ดูเพิ่มเติม »

แอตแลนติส

แอตแลนติส (Ἀτλαντὶς) คือชื่อในภาษากรีกที่มีความหมายว่า "เกาะแอตลาส" เป็นอาณาจักรในตำนานที่ถูกกล่าวถึงโดยเพลโต ปราชญ์ของกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก กล่าวกันว่าอาณาจักรแอตแลนติส เป็นทวีปๆ หนึ่งที่อยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นที่อยู่อาศัยของพลเมืองผู้ทรงคุณธรรมและเทคโนโลยีที่สูงส่ง กำแพงเมืองเป็นทองคำและวิหารสร้างด้วยเงิน มีอุทยานหย่อนใจ และสนามแข่งม้า ทว่ามันถูกทำลายพังพินาศ ด้วยความพิโรธของเทพเจ้าผู้เนรมิตรมันขึ้นมา คำว่า แอตแลนติส มาจากแอตลาสบุตรของโพไซดอน แอตแลนติสอาจอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นักประดาน้ำบางคนพบขุมทองบริเวณนั้นนั่นเอง เพลโต นักปราชญ์ชาวกรีกเขียนไว้เมื่อราว 300 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งยุคของเพลโต ห่างจากยุคของแอตแลนติสราว 9,000 ปี เพลโตเขียนถึงแอตแลนติสในหนังสือที่ชื่อว่า ทิเมอุส และ ครีทีแอซ โดยอ้างว่า โซลอน รัฐบุรุษคนหนึ่งของกรีกราวยุค 600 ปีก่อนคริสตกาล เป็นผู้นำมาเผยแพร่หลังจากรับทราบเรื่องราวของแอตแลนติสจากนักบวชชาวอียิปต์ท่านหนึ่ง มีการกล่าวว่า อารยธรรมโบราณหลายๆ แห่งของโลก ไม่ว่าจะเป็นอียิปต์ รวมถึงบรรดาวัฒนธรรมเมโสโปเตเมียทั้งหลาย ไปจนถึงวัฒนธรรมโบราณของชนเผ่าอินคา มายา และแอซแต็กในแถบอเมริกากลาง รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างที่มหัศจรรย์ ไม่ว่าจะเป็นสโตนเฮ้นจ์ หรือปิรามิดในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก ต่างก็เป็นมรดกจากชาวแอตแลนติสทั้งสิ้น.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและแอตแลนติส · ดูเพิ่มเติม »

แผนที่

231x231px แผนที่ คือ รูปภาพอย่างง่ายซึ่งจำลองบริเวณบริเวณหนึ่ง และมีการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น วัตถุ หรือบริเวณย่อย ๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้น แผนที่มักเป็นรูปสองมิติซึ่งแสดงระยะห่างระหว่างจุดสองจุดในบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้อย่างถูกต้องตามหลักเรขาคณิต ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้เรายังสามารถวาดแผนที่แสดงคุณสมบัติของบริเวณต่าง ๆ บนพื้นโลก เช่น ความหนาแน่นของประชากร ความสูงของพื้นที่ ดัชนีการพัฒนาของมนุษย์ในแต่ละประเทศ เป็นต้น.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและแผนที่ · ดูเพิ่มเติม »

แซมไวส์ แกมจี

แซมไวส์ แกมจี หรือ แซม (ยุคที่สาม 2983 - ยุคที่สี่ 62; S.R. 1383-1482) ตัวละครจากนิยายแฟนตาซีเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน แซมเป็นคนสวน และเป็นสหายที่ซื่อสัตย์ของโฟรโด แบ๊กกิ้นส์ และเป็นคนที่ซื่อสัตย์มากที่สุดในเรื่อง แซมดูเหมือนจะเป็นฮอบบิทธรรมดา แต่เขาหลงใหลเรื่องราวการผจญภัยในดินแดนนอกจากแคว้นไชร์ (ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากบิลโบ แบ๊กกิ้นส์ เจ้าบ้านแบ๊กเอนด์) ทำให้แซมดูเป็นคนประหลาดในสายตาของฮอบบิททั่วไป ความใฝ่ฝันของแซมคือการได้พบกับ เอลฟ์ สักครั้งหนึ่งในชีวิต ในตอนเริ่มเรื่อง แซมอาศัยอยู่กับพ่อ แฮมฟาสท์ แกมจี หรือรู้จักกันในชื่อ "พ่อเฒ่าแกฟเฟอร์" ที่แบ็กช็อตโรว์ ซึ่งอยู่ใกล้กับแบ๊กเอนด์ (ครอบครัวของเขาเป็นคนสวนประจำแบ๊กเอนด์มาตลอด) แม่ของแซมชื่อว่า เบล กู๊ดไชลด์ แซมมีพี่น้องอีก 5 คนได้แก่ แฮมสัน ฮัลเฟรด เดซี เมย์ และ มาริโกล.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและแซมไวส์ แกมจี · ดูเพิ่มเติม »

โฟรโด แบ๊กกิ้นส์

ฟรโด แบ๊กกิ้นส์ (Frodo Baggins) เป็นตัวละครในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน และเป็นตัวละครเอกในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เขาถูกกล่าวถึงครั้งแรกในนิยาย ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ตอน มหันตภัยแห่งแหวน โดยเป็น ฮอบบิทจากไชร์ในฐานะหลานและทายาทของบิลโบ แบ๊กกิ้นส์ โฟรโดได้รับสืบทอดแหวนเอกธำมรงค์จากบิลโบลุงของเขา และได้รับมอบหมายภารกิจในการนำแหวนเอกนี้ไปทำลายยังเขาเมาท์ดูมในดินแดนมอร์ดอร์ นอกจากนี้เขายังปรากฏในงานชิ้นอื่นของโทลคีนอีกอาทิ ตำนานแห่งซิลมาริล และ Unfinished Tales.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและโฟรโด แบ๊กกิ้นส์ · ดูเพิ่มเติม »

โรฮัน

รฮัน (Rohan) คือชื่ออาณาจักรมนุษย์แห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ บางครั้งถูกกล่าวถึงด้วยชื่อว่า ริดเดอร์มาร์ค (RidderMark) หรือ มาร์ค (Mark) ชาวโรฮันมีชื่อเรียกว่า "ชาวโรเฮียร์ริม" ซึ่งหมายถึง "ผองชนแห่งอาชา" พวกเขามีภาษาพูดเป็นของตัวเอง เรียกว่า "ภาษาโรเฮียร์ริค" แต่ก็สามารถใช้ภาษาเวสทรอน ในการติดต่อสื่อสารทั่วไป อาณาจักรโรฮันตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเทือกเขาเอเร็ดนิมไรส์ (เทือกเขาขาว) และทางใต้ของเทือกเขามิสตี้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้า เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงม้าพันธุ์ดีที่สุดบนมิดเดิลเอิร์ธ และชาวโรฮันยังเป็นผู้ชำนาญการรบบนหลังม้าที่สุดในโลกด้วย ตราสัญลักษณ์ของอาณาจักรโรฮันคือ ภาพอาชาสีขาวกระโจนบนพื้นหลังสีเขียว.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและโรฮัน · ดูเพิ่มเติม »

โรโตสโคป

วาดสิทธิบัตรของต้นฉบับโรโตสโคปแบบ Fleischer ศิลปินจะวาดภาพบนขาตั้งภาพที่ภาพยนตร์ฉายทอดภาพขึ้นไปบนจอขอขาตั้งภาพนั้นแบบเฟรมเดียว โรโตสโคป คือเทคนิคการสร้างภาพแอนิเมชันที่นักสร้างแอนิเมชันวาดตามภาพต้นฉบับฟิล์มต่อเฟรมเพื่อใช้ในฉากสมจริงและภาพยนตร์แอนิเมชัน แต่เดิม การบันทึกภาพยนตร์ฉากสมจริงจะฉายขึ้นแผ่นกระจกแข็งและวาดซ้ำโดยนักแอนิเมชัน เครื่องมือสำหรับการฉายภาพนี้ถูกเรียกว่าเครื่องโรโตสโคป อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยคอมพิวเตอร์ ในอุตสาหกรรมเอฟเฟคส์ภาพ นิยามของการทำโรโตสโคปยังหมายรวมถึงเทคนิคการสร้าภาพซ้อนด้วยมือสำหรับการสร้างองค์ประกอบบนฉากสมจริงและอาจหมายถึงการผสมภาพบนภาพพื้นหลังอื่นได้ด้ว.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและโรโตสโคป · ดูเพิ่มเติม »

โอโรเม

โอโรเม (Oromë) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน โดยเป็นหนึ่งในเทพวาลาร์ ชื่อในภาษาเควนยา มีความหมายว่า "ผู้เป่าแตรอันกึกก้อง" พระองค์มีแตรเขาสัตว์ประจำพระองค์ชื่อว่า วาลาโรมา (Valaróma) เทพโอโรเมเป็นเทพแห่งป่า ทรงมีชื่อในภาษาอื่นๆ และฉายามากมาย เช่น อะราว (Araw - ภาษาซินดาริน), อัลดารอน (Aldaron), อะรัม (Arum), เบมา (Béma), เทารอน (Tauron), อาราเม (Arāmē) พระองค์ได้รับสมัญญาว่าเป็น นายพรานแห่งเหล่าวาลาร์, นักขี่ม้าผู้ยิ่งใหญ่ และ เจ้าแห่งพนาไพร พระองค์เป็นเชษฐาของเทพีเนสซา และทรงอภิเษกกับเทพีวานา เทพโอโรเมมีม้าทรงสีขาวปลอดนามว่า นาฮาร์ (Nahar) ซึ่งเป็นชื่อที่พวกเอลฟ์เรียกตามเสียงร้องของมัน ในระหว่างยุคแห่งพฤกษาซึ่งเหล่าวาลาร์พากันไปประทับอยู่ที่วาลินอร์บนทวีปอามัน แต่เทพโอโรไมไม่ทรงละทิ้งมิดเดิ้ลเอิร์ธ พระองค์มักทรงม้าไปตามผืนแผ่นดินเพื่อกำราบเหล่ามาร พละกำลังของพระองค์เป็นรองเพียงแต่เทพทุลคัส แต่มีพระโทสะรุนแรงเหลือคณานับ การที่พระองค์ยังคงเที่ยวท่องอยู่บนมิดเดิ้ลเอิร์ธ จึงทรงเป็นวาลาองค์แรกที่ได้พบพวกเอลฟ์ตื่นขึ้นที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน และทรงตั้งชื่อให้แก่พวกนั้นว่า เอลดาร์ (Eldar) ซึ่งหมายถึง ผองชนแห่งแสงดาว (เพราะเวลานั้นบนท้องฟ้าของมิดเดิ้ลเอิร์ธมีแต่แสงดาวส่องสว่าง ส่วนดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ยังไม่ได้ถูกสร้างขึ้น) เมื่อโอโรเมทรงนำข่าวนี้กลับไปแจ้งเหล่าวาลาร์ ก็ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้เกลี้ยกล่อมพวกเอลฟ์ให้เดินทางไปยังทวีปอามัน ทรงเป็นผู้นำพาพวกเอลฟ์ในการเดินทางครั้งใหญ่ของพวกเขา หมวดหมู่:ตัวละครในซิลมาริลลิออน en:Vala (Middle-earth)#Oromë ja:ヴァラ#オロメ la:Ainur#Valar pl:Valar#Oromë ru:Валар#Оромэ sv:Valar (Tolkien)#Oromë.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและโอโรเม · ดูเพิ่มเติม »

โนกร็อด

นกร็อด (Nogrod) เป็นชื่ออาณาจักรของคนแคระ ในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ชื่อ โนกร็อด เป็นคำในภาษาซินดาริน ซึ่งในภาษาเวสทรอนจะเรียกว่า ฮอลโลว์โบลด์ สำหรับชื่อเรียกในภาษาคุซดุลของเหล่าคนแคระ เรียกชื่อนครของตัวเองว่า ทูมุนซาฮาร์ กษัตริย์คนแคระผู้ก่อตั้งนครนี้คือ หนึ่งในเจ็ดบรรพชนของคนแคระ เป็นต้นตระกูลคนแคระในสายวงศ์ ไฟร์เบียร์ด (Firebeard) ซึ่งเดินทางมาทางตะวันตกนับตั้งแต่ยุคที่หนึ่งของโลกอาร์ดา โนกร็อดตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของภูโดลเมด บนเทือกเขาเอเร็ดลูอิน เป็นนครคู่กันกับ เบเลกอสต์ ซึ่งเป็นอาณาจักรของคนแคระด้านทิศเหนือ อาณาจักรคนแคระทั้งสองแห่งนี้เป็นคู่ค้าสำคัญกับเหล่าเอลฟ์แห่งเบเลริอันด์ โนกร็อดมีชื่อเสียงด้านการช่างและการฝีมือมาก ด้วยเป็นที่พำนักของครูช่างคนสำคัญของเหล่าคนแคระ คือ เทลฅาร์ (Telchar) จนแม้ เอโอล เอลฟ์มืด ก็นิยมมาสมาคมกับเหล่าคนแคระแห่งโนกร็อดเสมอ เทลฅาร์ได้สร้างอาวุธและสิ่งมีค่าหลายประการ เช่น ดาบนาร์ซิล มีดอังกริสต์ หมวกเกราะมังกรแห่งดอร์-โลมิน และ สร้อยพระศอเนากลามีร์ ซึ่งได้ถวายเป็นของขวัญแด่กษัตริย์ฟินร็อด เฟลากุนด์ ในโอกาสเถลิงนครนาร์โกธรอนด์ สร้อยพระศอชิ้นนี้ในภายหลังได้ตกทอดมาถึงมือกษัตริย์ธิงโกลแห่งโดริอัธ พระองค์โปรดให้เหล่าคนแคระแห่งโนกร็อด (ซึ่งมีชื่อเสียงเลื่องลือด้านงานฝีมือ) แก้ไขปรับแต่งสร้อยพระศอเสียใหม่ โดยนำเอาดวงมณีซิลมาริล ที่เบเรนและลูธิเอนชิงคืนมาจากมงกุฎของมอร์กอธได้ดวงหนึ่ง เข้าประดับลงในสร้อยพระศอนั้นด้วย เมื่อเหล่าคนแคระทำงานสำเร็จ อำนาจแห่งดวงมณีก็บันดาลให้พวกเขาบังเกิดความโลภ คิดจะครองซิลมาริลไว้เอง จึงแสร้งอ้างสิทธิ์ในสร้อยพระศอเนากลามีร์ ที่พวกตนทำถวายแด่ฟินร็อด และว่าธิงโกลไม่มีสิทธิ์ในสร้อยนั้น ฝ่ายธิงโกลไม่ยินยอม และบันดาลโทสะด่าว่าเหล่าช่างของคนแคระ พวกคนแคระจึงสังหารพระองค์ แล้วชิงสร้อยพระศอพร้อมดวงมณีหนีกลับแผ่นดินของตน ฝ่ายเอลฟ์แจ้งข่าวไปยังเบเรน และดิออร์ บุตรของเขา ทั้งสองนำทัพเอลฟ์ไล่ติดตามเหล่าช่างของคนแคระไปจนถึงซาร์นอาธรัด เกิดการรบย่อยๆ ขึ้นที่นั่น โดยมีเหล่าเอนท์เข้าให้ความช่วยเหลือฝ่ายเอลฟ์ด้วย เหล่าคนแคระแห่งโนกร็อดถูกสังหารจนเกือบหมด ที่เหลือรอดนำข่าวกลับไปแจ้งยังนครของตนว่า กษัตริย์ธิงโกลผิดสัญญาไม่ยอมจ่ายค่าจ้าง และยังสังหารเหล่าช่างเกือบหมด ทัพโนกร็อดจึงยกมาหมายล้างแค้น แม้ทางเบเลกอสต์จะห้ามปราม ด้านโนกร็อดก็ไม่ฟัง เกิดเป็นสงครามระหว่างเผ่าพันธุ์เอลฟ์และคนแคระ ซึ่งสร้างรอยร้าวฉานอยู่ในความสัมพันธ์ของสองเผ่าพันธุ์มาตลอดจนถึงยุคที่สาม อาณาจักรโนกร็อดกลายเป็นเมืองร้างไปหลังจากเหตุการณ์วินาศในตอนปลายยุคที่หนึ่ง ในสงครามแห่งความโกรธา ซึ่งทำให้แผ่นดินเบเลริอันด์จมลงสู่มหาสมุทร เหล่าคนแคระพากันอพยพกลับไปยังคาซัดดูม.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและโนกร็อด · ดูเพิ่มเติม »

โนลดอร์

ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน ชาวโนลดอร์ (Noldor) เป็นชื่อชนตระกูลหนึ่งในสามตระกูลใหญ่ของพวกเอลฟ์ ที่เดินทางไปยังทวีปอามัน ต้นตระกูลผู้รวบรวมผองชนโนลดอร์คือเอลฟ์ที่ตื่นขึ้นเป็นคนที่สองที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน นามว่า ตาตา (Tata) ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกชนเหล่านี้ว่า 'ตระกูลที่สองของเอลฟ์' หรือ 'ตาชาร์' (Tatyar) สำหรับเอลฟ์อีกสองตระกูลใหญ่คือ ชาววันยาร์ และชาวเทเลริ อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาเมื่อเทพโอโรเมชักชวนเหล่าเอลฟ์ให้ส่งผู้แทนไปเยือนวาลินอร์ ผู้แทนของชาวโนลดอร์คือ ฟินเว ผู้ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกษัตริย์ของชาวโนลดอร์ทั้งมวล และได้นำพวกเขาเดินทางอพยพไปสู่แผ่นดินอมตะ ชาวโนลดอร์มีรูปร่างสูงใหญ่ มักมีดวงตาสีเทา ผมสีเข้ม (ยกเว้นโนลดอร์บางคนในตระกูลที่วิวาห์กับชาววันยาร์ เช่นราชสกุลฟินาร์ฟิน จะมีผมสีทองแบบชาววันยาร์) พวกเขาพูดภาษาเควนยา แต่ชาวโนลดอร์ที่นิวัติมายังมิดเดิลเอิร์ธในยุคที่หนึ่ง จะใช้ภาษาซินดารินในการเจรจาประจำวัน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและโนลดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไชร์ (มิดเดิลเอิร์ธ)

ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ไชร์ (Shire) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในนิยายแฟนตาซีเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และตำนานอื่น ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีป บนดินแดนอันกว้างใหญ่เอเรียดอร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอาร์นอร์ แคว้นไชร์ก่อตั้งขึ้นโดยชาวฮอบบิท และต่อมาพวกเขาก็พากันอพยพมาอยู่ที่ดินแดนนี้จนเกือบหมด ชื่อในภาษาเวสทรอนของแคว้นไชร์ คือ ซูซา (Sûza) หรือ ซูซัท (Sûzat) ส่วนชื่อในภาษาซินดารินคือ อิดรันน์ (i Drann).

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและไชร์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

ไมอา

มอาร์ (Maiar) เป็นชื่อเรียกดวงจิตชั้นรอง ซึ่งเป็นหนึ่งในเหล่า ไอนัวร์ (Ainur) ตัวละครในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีกล่าวถึงอยู่มากในตำนานเรื่องซิลมาริลลิออน ชนเผ่าไอนัวร์เป็นชนเผ่าที่ถือกำเนิดมาจากพระเจ้าสูงสุดในโลกอาร์ดา คือมหาเทพอิลูวาทาร์ เป็นพวกที่ช่วยมหาเทพสร้างพิภพต่างๆ และตระเตรียมสถานที่ให้พร้อมสำหรับเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร์ กล่าวคือเป็นผู้ช่วยสร้างโลกอาร์ดานั่นเอง ชาวมนุษย์มักเรียกเหล่าไอนัวร์ว่า "เทพ" เทพไมอาร์เข้ามายังโลกอาร์ดาก็เพื่อช่วยเหล่าวาลาร์ในการสร้างโลกนั่นเอง รูปคำ ไมอาร์ (Maiar) เป็นพหูพจน์ คำเอกพจน์คือ ไมอา (Maia).

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและไมอา · ดูเพิ่มเติม »

ไอนัวร์

อนัวร์ (Ainur) เป็นคำภาษาเควนยาสำหรับเรียกเหล่าชนผู้ศักดิ์สิทธิ์ในจินตนิยายเรื่อง ซิลมาริลลิออน ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ตามตำนานว่า พวกเขาถือกำเนิดจากมหาเทพอิลูวาทาร์ ซึ่งเป็นพระเจ้าสูงสุดผู้สร้างโลก เหล่าไอนัวร์ได้ช่วยอิลูวาทาร์สร้างโลก มีรายละเอียดแสดงอยู่ในตำนานไอนูลินดาเล (Ainulindale) ซึ่งหมายถึง มหาคีตาแห่งไอนัวร์ เมื่อสร้างโลกอาร์ดาเสร็จ เทพไอนัวร์จำนวนหนึ่งได้เดินทางเข้ามาในโลก เพื่อดูแลและจัดการสถานที่ให้พร้อมสำหรับเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร์ เทพเหล่านี้มีพลังอำนาจไม่เท่ากัน กลุ่มที่มีอำนาจมากเรียกว่า วาลาร์ กลุ่มที่มีอำนาจน้อยกว่า เรียกว่า ไมอาร์ คำว่า ไอนัวร์ (Ainur) เป็นรูปพหูพจน์ รูปเอกพจน์เรียกว่า ไอนู (Ainu).

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและไอนัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอเซนการ์ด

อเซนการ์ด (Isengard) เป็นชื่อของป้อมปราการแห่งหนึ่งในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเทือกเขามิสตี้ ในดินแดนระหว่างเทือกเขามิสตี้กับเอเร็ดนิมไรส์ ซึ่งอยู่ในอาณาเขตของอาณาจักรโรฮัน แต่เดิมป้อมปราการนี้สร้างขึ้นโดยชาวกอนดอร์ จนเมื่อมีการยกแว่นแคว้นโรฮันให้แก่ชาวโรเฮียริมแล้ว ไอเซนการ์ดจึงอยู่ในอารักขาของโรฮันด้วย ในยุคที่สาม เมื่อเหล่าอิสตาริ เดินทางมาถึงมิดเดิลเอิร์ธ ซารูมานพ่อมดขาว ได้เดินทางมายังไอเซนการ์ด เพื่อศึกษาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับแหวนเอก ชาวโรฮันจึงมอบไอเซนการ์ดให้ซารูมานใช้เป็นที่พำนัก ที่ไอเซนการ์ดมีหอคอยแห่งหนึ่งชื่อว่า ออร์ธังค์ หรือ หอคอยเขี้ยว ตั้งอยู่ใจกลางดินแดนวงแหวนแห่งนั้น หอคอยนี้เป็นที่เก็บรักษาเอกสารข้อมูลเก่าตั้งแต่ยุคสมัยเริ่มสร้างอาณาจักรกอนดอร์ ทำให้ซารูมานสืบทราบว่าแหวนเอกหายไปได้อย่างไร ช่วงปลายของยุคที่สาม เมื่อซารูมานแปรพักตร์ไปเข้ากับเซารอน เขาได้ผลาญทำลายออร์ธังค์และไอเซนการ์ด โดยตัดโค่นต้นไม้โดยรอบ และขุดพื้นดินลงไปเพื่อทำเหมืองและคลังสรรพาวุธ ในที่สุดไอเซนการ์ดถูกยึดกลับคืนมาได้ด้วยกองทัพเอนท์ นำโดยทรีเบียร.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและไอเซนการ์ด · ดูเพิ่มเติม »

เบวูล์ฟ

ต้นฉบับเก่าแก่ของบทกวี ''เบวูล์ฟ'' หน้าแรก เบวูล์ฟ (Beowulf) เป็นบทกวีมหากาพย์เกี่ยวกับวีรบุรุษยุคอังกฤษโบราณแต่งโดยผู้ประพันธ์หลายคนที่ไม่ทราบชื่อ งานวรรณกรรมภาษาแองโกลแซกซอนชิ้นนี้คาดว่าแต่งขึ้นในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (1958).

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเบวูล์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

เบเรน

รน (Beren) เป็นชื่อตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในตำนานชุด ซิลมาริลลิออน ชื่ออื่นๆ ของเขาคือ เบเรน แอร์ฅามิออน (Beren Archamion) หมายถึง 'เบเรนผู้มีมือเดียว' บ้างก็เรียกว่า เบเรน คัมลอสต์ (Beren Camlost) หมายถึง 'เบเรน คนมือเปล่า' เบเรนเป็นมนุษย์ในยุคบรรพกาล หรือยุคที่หนึ่งของโลกอาร์ดา เป็นบุตรของบาราเฮียร์ ชนตระกูลเบออร์ เขามีชื่อเสียงอยู่ในประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธสองสถานะ หนึ่งคือเป็นผู้เข้าไปช่วงชิงดวงมณีซิลมาริลมาจากมงกุฎของมอร์กอธได้โดยลำพัง ด้วยความช่วยเหลือจากลูธิเอนเท่านั้น และสองคือเป็นมนุษย์คนแรกที่ได้วิวาห์กับชนเผ่าเอลฟ์ เป็นการวิวาห์ข้ามเผ่าพันธุ์ ระหว่างบุตรทั้งสองของอิลูวาทาร์เป็นครั้งแรก.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเบเรน · ดูเพิ่มเติม »

เบเลกอสต์

ลกอสต์ (Belegost) เป็นชื่ออาณาจักรของคนแคระ ในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ชื่อ เบเลกอสต์ เป็นคำในภาษาซินดาริน ซึ่งในภาษาเวสทรอนจะเรียกว่า มิคเคิลเบิร์ก หมายถึง 'ปราการอันยิ่งใหญ่' สำหรับชื่อเรียกในภาษาคุซดุลของเหล่าคนแคระ เรียกชื่อนครของตัวเองว่า กาบิลกาโธล กษัตริย์คนแคระผู้ก่อตั้งนครนี้คือ หนึ่งในเจ็ดบรรพชนของคนแคระ เป็นต้นตระกูลคนแคระในสายวงศ์ บรอดบีม (Broadbeam) ซึ่งเดินทางมาทางตะวันตกนับตั้งแต่ยุคที่หนึ่งของโลกอาร์ดา เบเลกอสต์ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของภูโดลเมด บนเทือกเขาเอเร็ดลูอิน เป็นนครคู่กันกับ โนกร็อด ซึ่งเป็นอาณาจักรของคนแคระด้านทิศใต้ อาณาจักรคนแคระทั้งสองแห่งนี้เป็นคู่ค้าสำคัญกับเหล่าเอลฟ์แห่งเบเลริอันด์ กษัตริย์แห่งเบเลกอสต์ที่ปรากฏชื่อในนิยาย คือ อซากาล (Azaghâl) ทรงนำทัพคนแคระเข้าร่วมในทัพพันธมิตรแห่งมายดรอส ร่วมในการรบกับมอร์กอธ ซึ่งในที่สุดกลายเป็นสงครามเนียร์นายธ์อาร์นอยดิอัด ทัพคนแคระของอซากาลได้รับการขับขานอยู่ในบทลำนำการรบครั้งนี้ ด้วยเป็นทัพอันแข็งแกร่งที่สามารถต่อรบกับเกลารุง เจ้ามังกร บริวารของมอร์กอธ ได้อย่างแข็งขัน เพราะเหล่าคนแคระมักสวมหน้ากากในเวลาต่อสู้ ประกอบกับความทรหดอดทนของเผ่าพันธุ์คนแคระเอง จึงต้านทานเพลิงมังกรของเกลารุงได้ อซากาลยังสามารถใช้มีดจ้วงแทงเข้าที่ท้องของมังกร ทำให้เกลารุงได้รับบาดเจ็บจนหนีกลับไปอังก์บันด์ พาให้กองทัพของเกลารุงแตกตื่นหนีกลับไปด้วย เป็นวีรกรรมอันสำคัญยิ่งจนทำให้ ทูริน ทูรัมบาร์ คิดหาญสู้กับเกลารุงอีกครั้ง สำหรับความขัดแย้งระหว่างอาณาจักรโนกร็อดกับอาณาจักรโดริอัธ แม้ทางโนกร็อดจะแจ้งขอทัพเสริมจากเบเลกอสต์ด้วย แต่เบเลกอสต์ก็ไม่ได้ให้ความร่วมมือ ทั้งยังห้ามปรามทัพโนกร็อดด้วย แต่ไม่สำเร็จ อาณาจักรเบเลกอสต์กลายเป็นเมืองร้างไปหลังจากเหตุการณ์วินาศในตอนปลายยุคที่หนึ่ง ในสงครามแห่งความโกรธา ซึ่งทำให้แผ่นดินเบเลริอันด์จมลงสู่มหาสมุทร เหล่าคนแคระพากันอพยพกลับไปยังคาซัดดูม ในจำนวนนี้ปรากฏภายหลังว่า ไบเฟอร์ โบเฟอร์ และบอมเบอร์ สามคนแคระผู้เข้าร่วมในภารกิจเอเรบอร์ (เรื่องราวใน เดอะฮอบบิท) ก็เป็นคนแคระผู้สืบเชื้อสายแห่งบรอดบีมด้ว.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเบเลกอสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เบเลริอันด์

แผ่นดินเบเลริอันด์ เบเลริอันด์ (Beleriand) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งในโลกจินตนาการ มิดเดิลเอิร์ธ งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธ ทางฟากตะวันตกของเทือกเขาเอเร็ดลูอิน (หรือเทือกเขาสีน้ำเงิน ด้านตะวันตกของแคว้นไชร์ ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์) ติดกับมหาสาคร หรือเบเลกายร์ ปรากฏเป็นฉากหลังสำคัญอยู่ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน งานเขียนอื่นๆ ของโทลคีนที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินเบเลริอันด์ ได้แก่ The Lays of Beleriand, ตำนานบุตรแห่งฮูริน (The Children of Hurin), The Book of Lost Tales และอื่นๆ ในหนังสือชุด ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ อาณาเขตเบเลริอันด์ ด้านตะวันตกจรดทะเลเบเลกายร์ ด้านตะวันออกจรดเทือกเขาเอเร็ดลูอิน ทิศเหนือจรดทุ่งอาร์ด-กาเลน ทิศใต้แผ่ไปถึงผืนป่าเทาร์-อิม-ดุยนัธ มีแม่น้ำสายหลักอยู่สองสาย ได้แก่แม่น้ำซิริออน กับแม่น้ำเกลิออน แม่น้ำซิริออนเป็นแม่น้ำใหญ่กว่า ไหลผ่านกึ่งกลางแผ่นดินเบเลริอันด์ แบ่งพื้นดินออกเป็นเบเลริอันด์ตะวันออก และเบเลริอันด์ตะวันตก ส่วนแม่น้ำเกลิออนแม้จะแคบกว่า แต่ยาวกว่า ไหลผ่านเบเลริอันด์ตะวันออกเลียบไปกับแนวเทือกเขาเอเร็ดลูอิน ฟากตะวันออกของเกลิออนเป็นแผ่นดินที่เรียกว่า ออสซิริอันด์ มีแควสาขาอีกหกสายไหลจากเอเร็ดลูอินลงมาบรรจบกับเกลิออน ดังนั้นบางครั้งก็เรียกดินแดนนี้ว่า 'แผ่นดินแห่งแม่น้ำทั้งเจ็ด' หรือ 'ดินแดนสัตตนที' แผ่นดินเบเลริอันด์ถึงคราววิบัติจนล่มจมลงสู่ใต้มหาสมุทร เมื่อครั้งสงครามแห่งความโกรธา อันเป็นสงครามเทพ ระหว่างทัพของวาลาร์ กับมอร์กอธ เป็นอันสิ้นสุดยุคที่หนึ่ง คงเหลือแต่เพียงแผ่นดินซึ่งเป็นที่ตั้งหลุมศพของมอร์เวน ทูริน และนิเอนอร์ ที่ยังโผล่พ้นมหาสมุทรอยู่ เรียกว่า 'โทลมอร์เวน'.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเบเลริอันด์ · ดูเพิ่มเติม »

เฟอานอร์

ฟอานอร์ (Fëanor) เป็นตัวละครสำคัญที่มีบทบาทอย่างยิ่งในจินตนิยายเรื่อง ซิลมาริลลิออน ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาเป็นผู้สร้างอัญมณี ซิลมาริล อันเป็นแก่นของตำนานเรื่องนั้น ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในหมู่ชาวเอลดาร์ และเป็นผู้ที่มีทักษะฝีมือช่างเป็นเลิศที่สุดใน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเฟอานอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เกมออนไลน์แบบเล่นตามบทบาท

เกมออนไลน์แบบเล่นตามบทบาท หรือ Massive Multiplayer Online Role-Playing Game (MMORPG) เป็นเกมปืนอาร์พีจีที่ผู้เล่นหลายคนเข้ามาเล่นในเวลาเดียวกัน และเสมือนอยู่ในโลกเดียวกัน โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ และผู้เล่นแต่ละคนจะสวมบทบาทเป็นตัวละครตัวหนึ่งในโลกนั้นด้วย เช่นเกม World of Warcraft, Ragnorok Offline, Mu Offline เป็นต้น รวมถึงเกมที่อยู่ในสมาร์ทโฟนอีกด้วย หมวดหมู่:เกม.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเกมออนไลน์แบบเล่นตามบทบาท · ดูเพิ่มเติม »

เมลิอัน

มลิอัน หรือ เมเลียน (Melian) เป็นเทพีไมอาร์องค์หนึ่ง ปรากฏในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เรื่อง ซิลมาริลลิออน ตำนานบุตรแห่งฮูริน กวีนิพนธ์ชุดลำนำแห่งเลย์ธิอัน และกวีนิพนธ์ตำนานบุตรแห่งฮูริน มีบทบาทในฐานะผู้นำเชื้อสายแห่งเทพ (ไอนัวร์) มาสู่แผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธ และเป็นมารดาของลูธิเอน ทินูเวียล อำนาจของเมลิอันช่วยปกป้องอาณาจักรเอลฟ์จากการรุกรานของมอร์ก็อธได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ครั้นเมื่อนางจากไปอำนาจนั้นก็เสื่อมสลาย และเป็นอันสิ้นสุดอาณาจักรเอลฟ์ทั้งปวง.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเมลิอัน · ดูเพิ่มเติม »

เมอร์ลิน

มอร์ลิน ในจินตนาการของศิลปินในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เมอร์ลิน (Merlin) เป็นพ่อมดในตำนานของกษัตริย์อาร์เทอร์กับอัศวินโต๊ะกลม ในยุคของประวัติศาสตร์อังกฤษตอนต้น ราวประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 5 มีตำนานและวรรณกรรมเล่าขานถึงอภินิหารต่าง ๆ พ่อมดเมอร์ลินเป็นที่รู้จักกันมาก ในตำนานท่านเป็นผู้ที่พากษัตริย์อาร์เทอร์ไปหาดาบเอกซ์แคลิเบอร์ และเป็นผู้ที่รอบรู้มากซ้ำยังมีเวทมนตร์ที่แข็งแกร่ง ท่านมีลูกศิษย์คนหนึ่งซึ่งได้ทรยศท่านในภายหลังและท่านเป็นพ่อมดผู้ยิ่งใหญ่แห่ง.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเมอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

เมอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก

มอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก หรือชื่อเล่นในหมู่เพื่อนว่า เมอร์รี่ เป็นตัวละครในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นชาวฮอบบิท ในตระกูลใหญ่แห่งบั๊กแลนด์ เขาเกิดในปีที่ 2982 ของยุคที่สาม เป็นลูกชายคนเดียวของซาราด็อค แบรนดี้บั๊ก ผู้นำแคว้นบั๊กแลนด์ เขาจึงเป็นทายาทของผู้ครองแคว้น แม่ของเขาคือเอสเมอรัลดา ตุ๊ค น้องสาวของเธนพาลาดิน ตุ๊ค เมอร์รี่จึงเป็นลูกพี่ลูกน้องกับปิ๊ปปิ้น ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของเขาด้วย เมอร์รี่เป็นทั้งเพื่อนสนิทและญาติห่างๆ ของโฟรโด แบ๊กกิ้นส์ เขาชอบการพายเรือเล่น (เช่นเดียวกับชาวบั๊กแลนด์ส่วนใหญ่) และชื่นชอบการศึกษาแผนที่ เมอร์รี่ถูกกล่าวถึงหลายครั้งในหนังสือในแง่ของความเฉลียวฉล.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเมอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก · ดูเพิ่มเติม »

เมิร์ควู้ด

มิร์ควู้ด (Mirkwood) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งของพวกเอลฟ์ ในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เมิร์ควู้ดเป็นป่าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำอันดูอิน แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า ป่าใหญ่กรีนวู้ด (Greenwood The Great) กินอาณาเขตกว้างไกลในดินแดนโรห์วานิออน ในยุคที่สาม เอลฟ์กลุ่มที่มาอาศัยอยู่ในเมิร์ควู้ดนี้ ส่วนใหญ่เป็นชาวซิลวัน และมีชาวซินดาร์เป็นบางส่วน ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ธรันดูอิล สภาพทั่วไปของป่า มีต้นไม้โบราณเก่าแก่และสูงใหญ่เป็นจำนวนมาก กิ่งก้านสาขาของแต่ละต้นแผ่ปกคลุมไปทั่ว จนแสงอาทิตย์สามารถผ่านเข้ามาได้เพียงน้อยนิด ในช่วงยุคที่สาม เซารอนกลับมาอย่างลับๆ และหลบซ่อนอยู่ในป่าเมิร์ควู้ด ได้สร้างหอคอยที่เรียกว่า โดลกุลดัวร์ (Dol Guldur) นับจากนั้นความมืดก็เข้าปกคลุมเมิร์ควู้ดแม้แต่ในเวลากลางวัน เหล่าปีศาจร้ายได้ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่อาศัยเพื่อซ่อนตัวซึ่งรวมไปถึง แมงมุมยักษ์ (Great Spiders) ซึ่งเป็นลูกหลานของ ชีล็อบ ในหนังสือเรื่อง เดอะฮอบบิท บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ เคยเดินทางผ่านป่าแห่งนี้ และได้เข้าเฝ้า "กษัตริย์พราย" ซึ่งก็คือ ธรันดูอิลนั่นเอง จากเหตุการณ์ที่บิลโบได้เข้าเฝ้าคราวนี้ทำให้เราทราบว่า ธรันดูอิลมีผมสีทอง นอกจากนี้ในเมิร์ควู้ด เมื่อครั้งที่กอลลัมเดินทางผ่านป่าเพื่อตามหาแหวน กับบิลโบ แต่ถูก อารากอร์นพบเข้าและจับตัวได้ จึงนำเขามาขังเขาไว้ที่นี่ภายใต้การดูแลของพวกเอลฟ์แห่งเมิร์ควู้ด แต่เหล่าสมุนเซารอนสืบทราบและตามมาชิงตัว ระหว่างการต่อสู้ของพวกออร์คและพวกเอลฟ์ กอลลัมหนีไปได้ เลโกลัสจึงไปส่งข่าวการหนีไปของกอลลัม ในที่ประชุมของ เอลรอนด์ และเลโกลัสเจ้าชายแห่งป่าเมิร์ควู้ด ก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก คณะพันธมิตรแห่งแหวน ต่อมาภายหลัง เอลฟ์จากลอธลอริเอน ได้เข้ามาโจมตีและทำลาย ปราการแห่งโดลกุลดัวร์ จากนั้นเมิร์ควู้ดจึงได้กลับคืนสู่สภาพเดิม ปราศจากเงามืดและความชั่วร้.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเมิร์ควู้ด · ดูเพิ่มเติม »

เลโกลัส

ลโกลัส (Legolas) เป็นตัวละครในนิยายเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเป็นพระโอรสของกษัตริย์ธรันดูอิลเป็นหนึ่งในคณะพันธมิตรแห่งแหวนซึ่งรับหน้าที่นำแหวนเอกไปทำลายที่ภูมรณะ ในฐานะตัวแทนของเผ่าพันธุ์เอลฟ์ อีกทั้งยังมีการเพิ่มบทบาทของเลโกลัสลงใน ภาพยนตร์เดอะฮอบบิท ของ ปีเตอร์ แจ็คสัน อีกด้ว.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเลโกลัส · ดูเพิ่มเติม »

เอกธำมรงค์

แหวนเอกธำมรงค์ (The One Ring) หรือชื่ออื่นๆ ว่า แหวนเอก แหวนประมุข แหวนแห่งอำนาจ หรือ ยมทูตแห่งอิซิลดูร์ เป็นแหวนวิเศษในจินตนาการจากนิยายไตรภาค เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งเป็นนิยายที่เล่าเรื่องราวของภารกิจการทำลายแหวนวิเศษวงนี้ ผู้สร้างแหวนนี้คือ เซารอน ผู้เป็นจอมมาร สร้างขึ้นในยุคที่สอง โดยใส่พลังของตัวเองลงไปด้วย แหวนจะคอยทดสอบจิตใจทุกคนที่มันเห็น ผู้ที่ชนะใจตัวเองไม่ได้แหวนจะนำไปสู่ความตาย และทำให้คนดีอ่อนแอ แต่หากเป็นกลางจะเปลี่ยนเป็นปีศาจชั่วคราวแล้วกลับเป็นปกติก็จะมีอำนาจต้านแหวนได้ เนื่องจากเป็นแหวนที่มีอำนาจมากที่สุดในแหวนแห่งอำนาจ หลังจากสงครามที่เซารอนพ่ายแพ้ครั้งแรก แหวนตกไปอยู่ในมือของอิซิลดูร์, กอลลัม, บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ ก่อนที่โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ ผู้ถือแหวนคนสุดท้ายจะนำแหวนไปทำลายที่ภูเขามรณะ(แต่แท้จริงๆแล้วแซมไวส์ แกมจีเป็นผู้ถือแหวนคนสุดท้ายแต่อยู่ในระยะสั้นที่สุด เพราะหลังจากที่เข้าใจผิดว่าโฟรโดถูกแมงมุมยักษ์ชีล็อบฆ่าตาย แซมได้เอาแหวนเอกไปเพื่อไม่ให้ตกอยู่ในเงื้อมมือของเซารอน ต่อมาเมื่อช่วยโฟรโดแล้วก็เอาแหวนเอกมาคืนให้แก่โฟรโดตามเดิม).

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเอกธำมรงค์ · ดูเพิ่มเติม »

เอลฟ์

''Ängsälvor'' "เอลฟ์แห่งท้องทุ่ง" ภาพวาดของนิลส์ บลอมเมอร์ ในปี ค.ศ. 1850 เอลฟ์ (elf) คือสิ่งมีชีวิตอมนุษย์ในตำนานนอร์สและตำนานปรัมปราในกลุ่มประเทศเจอร์แมนิก (สแกนดิเนเวียและเยอรมัน) เมื่อแรกเริ่ม แนวคิดเกี่ยวกับพวกเอลฟ์คือ ชนเผ่าที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ ภาพวาดของชนเหล่านี้มักเป็นมนุษย์ทั้งชายและหญิงที่แลดูอ่อนเยาว์และงดงาม อาศัยอยู่ในป่า ในถ้ำ ใต้พื้นดิน หรือตามบ่อน้ำและตาน้ำพุ มักเชื่อกันว่าพวกเขามีชีวิตยืนยาวมากหรืออาจเป็นอมตะ รวมทั้งมีพลังเวทมนตร์วิเศษ แต่หลังจาก ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ผลงานอันโด่งดังของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏออกมา ภาพของเอลฟ์ก็กลายเป็นผองชนผู้เป็นอมตะและเฉลียวฉลาด ทั้งที่คำว่า เอลฟ์ ในวรรณกรรมของโทลคีนมีความหมายแตกต่างไปคนละทางกับตำนานโบราณโดยสิ้นเชิง.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเอลฟ์ · ดูเพิ่มเติม »

เอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ)

อลฟ์ (elf) ตามความหมายในจินตนิยายชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นโดยมหาเทพอิลูวาทาร์ มีชีวิตยืนยาวเท่ากับอายุของโลก จึงเสมือนหนึ่งว่าเป็นอมตะ คำว่า 'เอลฟ์' (Elf) เป็นคำที่โทลคีนเลือกมาจากตำนานโบราณเพื่อใช้แทนคำศัพท์แท้จริงอันเป็นชื่อของชนเผ่านี้ คือ เอลดาร์ (Eldar) ซึ่งเป็นคำในภาษาเควนยา หมายถึง 'ประชากรแห่งแสงดาว'.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเอลฟ์ (มิดเดิลเอิร์ธ) · ดูเพิ่มเติม »

เอลรอนด์

อลรอนด์ (Elrond) เป็นตัวละครในจินตนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เขาเป็นผู้ปกครองอาณาจักรเอลฟ์แห่งริเวนเดลล์ เป็นเอลฟ์ผู้ทรงอำนาจผู้หนึ่งที่มีชีวิตอยู่ต่อมาจนถึงยุคที่สาม ชื่อของเขามีความหมายว่า 'โดมดาว' (Star-dome) เอลรอนด์เป็นบุตรของเออาเรนดิลและเอลวิง และเป็นเหลนของลูธิเอน เขาเกิดในแผ่นดินเบเลริอันด์เมื่อ 58 ปีก่อนสิ้นยุคที่หนึ่ง ดังนั้นเมื่อถึงยุคสมัยในเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เอลรอนด์จึงมีอายุมากกว่า 6,000 ปีแล้ว เขามีพี่ชายฝาแฝดคนหนึ่งชื่อว่า เอลรอส ซึ่งเป็นกษัตริย์คนแรกของนูเมนอร์ เอลรอนด์มีกำเนิดเป็นมนุษย์กึ่งเอลฟ์ แต่ได้รับพรให้สามารถเลือกได้ว่า จะเป็นมนุษย์ หรือเป็นเอลฟ์ เนื่องจากความดีความชอบของบิดามารดาของเขา ซึ่งทำให้ครอบครัวของพวกเขาสามารถเลือกชาติพันธุ์เป็นเอลฟ์หรือมนุษย์ได้ตามประสงค์ เอลรอนด์เลือกที่จะเป็นเอลฟ์ เอลรอนด์เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้ทรงปัญญา เขามีพลังอำนาจมาก และเป็นผู้ธำรงรักษาความดีงามของโลก ในหนังสือ ซิลมาริลลิออน คริสโตเฟอร์ โทลคีน อธิบายถึงความสำคัญของบทบาทของตัวละครตัวนี้ไว้ในส่วนหนึ่งของคำนำว่า เอลรอนด์เป็นสัญลักษณ์ของภูมิปัญญาโบราณ ตระกูลของเขาเป็นตัวแทนของตำนาน ที่ปกปักรักษาความทรงจำอันน่าเคารพยำเกรงของประเพณีทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับความดี ความเฉลียวฉลาด และความงดงาม อาณาจักรของเขามิได้เป็นสถานที่กระทำการใดๆ เป็นแต่เพียงสถานที่ซึ่งสะท้อนสิ่งดีงามเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ สถานที่แห่งนี้จึงเป็นจุดที่ต้องมาเยือนทุกครั้งก่อนจะออกไปปฏิบัติภารกิจ หรือก้าวเข้าสู่ ‘การผจญภัย’ ทุกชนิด มันอาจเพียงบังเอิญอยู่บนทางผ่าน (เช่นที่ปรากฏในเดอะฮอบบิท) แต่แล้วการณ์กลับกลายเป็นความจำเป็นที่จะต้องเริ่มออกเดินทางจากที่นั่นโดยปราศจากความรู้คิดถึงเส้นทางที่จะไป ในเรื่อง ลอร์ด ออฟ เดอะ ริงส์ เมื่อบรรดาวีรชนหนีภยันตรายจากความชั่วร้ายที่คุกคามอยู่จักแหล่นไปสู่คฤหาสน์ของเอลรอนด์ พวกเขากลับต้องออกเดินทางจากไปสู่เส้นทางใหม่ที่แตกต่างไปจากความคิดเดิมอย่างสิ้นเชิง คือมุ่งเข้าหาอันตรายและประจันหน้ากับจุดกำเนิดของความชั่วร้าย'.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเอลรอนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เออาเรนดิล

ออาเรนดิลจอมนาวิก (Eärendil the Mariner) เป็นตัวละครหลักตัวหนึ่งในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในฐานะนักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้ขับนาวาของดวงดาวแห่งรุ่งอรุณ ตำนานของเขาแสดงอยู่ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน และมีการกล่าวขวัญถึงเขาในเรื่อง ลอร์ดออฟเดอะริงส์ ด้ว.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเออาเรนดิล · ดูเพิ่มเติม »

เอนท์

อนท์ (Ent) เป็นเผ่าพันธุ์สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เชื่อว่าคำนี้น่าจะมีที่มาจากคำว่า 'เอนท์' ในภาษาแองโกล-แซกซอน (เป็นภาษาหนึ่งที่โทลคีนถนัด) ซึ่งมีความหมายถึง 'ยักษ์' แต่ในปัจจุบันคำว่า 'เอนท์' มักเป็นที่รู้จักทั่วไปในความหมายที่เกี่ยวข้องกับผลงานของโทลคีน เช่นเดียวกับคำว่า 'ฮอบบิท' เอนท์ในปกรณัมของโทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตเก่าแก่ของโลกอาร์ดา ที่เกิดมาพร้อมๆ กันกับเหล่าเอลดาร์ โดยเอรู อิลูวาทาร์ เป็นผู้ทรงสร้างขึ้นตามคำขอของเทพียาวันนา เทพีแห่งพืชพรรณและความอุดมสมบูรณ์ หลังจากที่พระนางได้ทราบว่า เทพอาวเลทรงสร้างคนแคระผู้นิยมชมชอบตัดต้นไม้ นางจึงขอให้มีผู้พิทักษ์หมู่ไม้ หรือ 'พฤกษบาล' บ้าง เอนท์มีรูปร่างเหมือนกันกับต้นไม้ เพียงแต่สามารถเคลื่อนไหวและเจรจาได้ ภาษาของเอนท์เรียกว่า 'ภาษาเอนทิช' ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่มีใครเข้าใจ คำศัพท์แต่ละคำก็ยาว กว่าเอนท์จะพูดจบประโยคหนึ่งๆ ต้องใช้เวลายาวนานมาก ดังนั้นพวกเอนท์จึงไม่ค่อยพูด เอนท์ปรากฏตัวอยู่ในตำนานต่างๆ ของโลกอาร์ดาตั้งแต่ยุคที่หนึ่ง เช่นการช่วยเหลือกองกำลังของเบเรนในการไล่ล่าพวกคนแคระที่สังหารกษัตริย์ธิงโกล และชิงสร้อยพระศอเนากลามีร์กับซิลมาริล หนีข้ามเทือกเขาสีน้ำเงิน ในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ทรีเบียร์ด เอนท์ชราผู้หนึ่ง ก็เคยร้องเพลงให้เมอร์รี่กับปิ๊ปปิ้นฟัง ถึงเรื่องราวเมื่อยุคสมัยบรรพกาลที่เขาเคยเดินท่องอยู่ในแผ่นดินออสซิริอันด์ และดอร์โธนิออน แว่นแคว้นในเบเลริอันด์ ในยุคที่สอง ป่าไม้บนมิดเดิลเอิร์ธถูกทำลายลงอย่างมโหฬารด้วยน้ำมือของชาวนูเมนอร์ แผ่นดินเอเรียดอร์อันกว้างใหญ่ซึ่งเคยเป็นป่ารกทึบ ถูกชุดบุกเบิกของกษัตริย์ ทาร์-อัลดาริออน แผ้วถางจนกลายเป็นที่ราบดังเช่นที่ปรากฏในยุคที่สาม ทำให้เหล่าเอนท์ต้องอพยพหนีเข้าไปในแผ่นดินลึกมากขึ้น เมื่อถึงเหตุการณ์ในช่วงสงครามแหวน มีเอนท์หลงเหลืออยู่บนมิดเดิลเอิร์ธเพียงแถบป่าดึกดำบรรพ์ และป่าฟังกอร์น เท่านั้น.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเอนท์ · ดูเพิ่มเติม »

เอนดอร์

วงจันทร์ป่าดิบของเอนดอร์ หรือ ดวงจันทร์ดวงที่สองของเอนดอร์ เป็นดาวเคราะห์หนึ่งในเรื่องแต่งชุดสตาร์ วอร์ส เป็นฉากหลังของภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 6: การกลับมาของเจได เป็นที่อยู่ของชาวอีว็อก และเป็นสถานที่ก่อสร้างดาวมรณะดวงที่สอง นอกจากเป็นฉากหลังในภาพยนตร์แล้ว ยังมีการ์ตูนชุดเล่าเรื่องราวของเหล่าอีว็อก ซึ่งมีฉากหลังเป็นดวงจันทร์นี้อีกด้ว.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเอนดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอไดน์

อไดน์ (Edain) เป็นชื่อเรียกมนุษย์ กลุ่มหนึ่ง ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน กล่าวคือ เป็นมนุษย์กลุ่มที่เดินทางเข้ามาถึงแผ่นดินเบเลริอันด์จำนวนสามตระกูลแรก นับแต่ยุคที่หนึ่งของอาร์ดา และได้เป็นสหายเอลฟ์ คำว่า 'เอไดน์' เป็นภาษาซินดาริน รูปเอกพจน์คือ อดาน (Adan) เดิมเป็นคำที่หมายถึง มนุษย์ ซึ่งเป็นบุตรแห่งอิลูวาทาร์เช่นเดียวกัน มีความหมายว่า "ทุติยชน" หรือผองชนลำดับที่สอง เนื่องจากพวกเขา "ตื่น" ขึ้นภายหลังพวกเอลฟ์ ซึ่งเป็นปฐมชน หรือผู้เกิดก่อน ในภาษาเควนยาเรียกว่า อทานิ (Atani) รูปเอกพจน์คือ อทาน (Atan) สามตระกูลใหญ่ของเอไดน์ได้แก.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเอไดน์ · ดูเพิ่มเติม »

เอเรบอร์

อเรบอร์ (Erebor) เป็นอาณาจักรของพวกคนแคระ ในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อ เอเรบอร์ เป็นคำในภาษาซินดาริน ซึ่งเป็นชื่อเรียกภูเขาโลนลี่ เทือกเขาทางตะวันออกเฉียงเหนือของดินแดนโรห์วานิออน และยังเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำรันนิ่ง หรือแม่น้ำเคลดูอิน อาณาจักรเอเรบอร์ก่อตั้งโดยกษัตริย์ ธราอิน ที่ 1 ซึ่งนำพาชาวคนแคระจำนวนหนึ่งอพยพออกจากคาซัดดูมมาตั้งถิ่นฐานใหม่ พระองค์ยังเป็นผู้ค้นพบเพชรอาร์เคนสโตน ซึ่งกลายเป็นสมบัติตกทอดต่อมาในวงศ์กษัตริย์คนแคระ โอรสของธราอินคือ ธอรินที่ 1 ทรงนำคนแคระจำนวนหนึ่งไปบุกเบิกตั้งอาณาจักรอยู่แถบเทือกเขาสีเทา (Grey Mountain) แต่ภายหลังดินแดนนั้นถูกพวกมังกรเข้าโจมตี ธรอร์ โอรสของธอริน จึงนำพลเมืองหนีกลับมายังเอเรบอร์ ในยุคสมัยของธรอร์ เอเรบอร์เป็นอาณาจักรคนแคระที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีคนแคระเข้ามาอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก และมีชื่อเสียงเลื่องลือในการสร้างเครื่องเกราะและอาวุธ สันนิษฐานว่า เสื้อเกราะมิธริล ที่โฟรโด ได้รับจากบิลโบ ในเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ก็สร้างขึ้นโดยเหล่าคนแคระแห่งเอเรบอร์นี้เอง อาณาจักรเอเรบอร์ร่ำรวยมาก นอกจากนี้ แหวนวงหนึ่งของคนแคระ ก็เชื่อว่าตกอยู่ในความครอบครองของธรอร์ด้วย และแหวนวงนี้เองที่ดึงดูดให้เหล่ามังกร สมุนของมอร์กอธ ติดตามมารังควาน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเอเรบอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอเรกิออน

อเรกิออน (Eregion) คือชื่ออาณาจักรเอลฟ์ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในหนังสือ ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales ชื่อ 'เอเรกิออน' เป็นภาษาซินดาริน ซึ่งในภาษาเวสทรอนเรียกว่า ฮอลลิน (Hollin) เนื่องจากบริเวณนั้นมีต้นฮอลลี่อยู่มาก (ereg หมายถึง ต้นฮอลลี่ มีรากศัพท์จากคำว่า EREK- หมายถึงหนามแหลมคม) อาณาจักรเอเรกิออนก่อตั้งขึ้นโดยเอลฟ์ชาวโนลดอร์ หลังจากแผ่นดินเบเลริอันด์ล่มจมลงสู่ใต้สมุทรเมื่อสิ้นสุดยุคที่หนึ่ง ชาวโนลดอร์ที่หลงเหลือได้เดินทางข้ามเอเรียดอร์ และตั้งอาณาจักรแห่งนี้ขึ้นที่เชิงเทือกเขาฮิธายเกลียร์ ทางฟากตะวันตก ใกล้กับอาณาจักรมอเรียของเหล่าคนแคระ เมืองหลวงของเอเรกิออนชื่อว่า โอสต์-อิน-เอดิล (Ost-in-Edhil) ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงแห่งรัตนากร เนื่องจากเป็นแหล่งชุมนุมของช่างอัญมณีฝีมือดีของชาวโนลดอร์จำนวนมาก ในบันทึกงานประพันธ์ของโทลคีน ไม่มีส่วนใดระบุถึงกษัตริย์หรือผู้นำของชาวเอเรกิออน แต่อาจสันนิษฐานได้ว่า ผู้ปกครองเอเรกิออนน่าจะเป็น กาลาเดรียลกับเคเลบอร์น เนื่องจากกาลาเดรียลเป็นเชื้อพระวงศ์โนลดอร์ชั้นสูงเพียงคนเดียวที่เดินทางกลับมาจากอามันและยังมีชีวิตอยู่ หรือมิฉะนั้นก็อาจเป็น เคเลบริมบอร์ บุตรของคูรูฟิน หลานของเฟอานอร์ ซึ่งได้สืบทอดฝีมือช่างชั้นสูงมาจากเฟอานอร์ด้วย งานศึกษาวรรณกรรมของโทลคีนทั่วไปเชื่อว่า ผู้ปกครองเอเรกิออนคือ เคเลบริมบอร์ ในยุคที่สอง เซารอนในร่างแปลง 'อันนาทาร์' ได้เข้ามาร่วมสมาคมกับเหล่าช่างแห่งโอสต์-อิน-เอดิล และได้สอนให้พวกเขาสร้าง แหวนแห่งอำนาจ ขึ้น พวกเอลฟ์สร้างแหวนแห่งอำนาจขึ้นครั้งแรกจำนวน 16 วง หลังจากนั้นเซารอนแอบกลับไปยังมอร์ดอร์ และสร้างแหวนเอกธำมรงค์ขึ้นจากไฟใต้พิภพที่โอโรดรูอิน ระหว่างนั้น เคเลบริมบอร์ได้สร้างแหวนแห่งเอลฟ์ ขึ้นอีก 3 วง โดยที่เซารอนไม่ล่วงรู้ หลังจากเซารอนสร้างแหวนเอกสำเร็จ และสวมแหวนนั้น พวกเอลฟ์จึงได้รู้ว่าตัวตนที่แท้ของอันนาทาร์ คือใคร เคเลบริมบอร์รีบส่งแหวนเอลฟ์สามวงไปเสียให้พ้น ส่วนเซารอนก็ยกทัพออร์คมาโจมตีเอเรกิออนเพื่อแก้แค้นพวกเอลฟ.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเอเรกิออน · ดูเพิ่มเติม »

เอเรียดอร์

แผนที่เอเรียดอร์ เอเรียดอร์ (Eriador) เป็นชื่อดินแดนที่ปรากฏในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน หลายๆ เรื่อง เช่น เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เดอะฮอบบิท ซิลมาริลลิออน เป็นต้น คำว่า เอเรียดอร์ เป็นภาษาซินดาริน หมายถึง 'แผ่นดินร้าง' อาณาเขตของเอเรียดอร์สังเกตได้จากแนวเทือกเขาที่ขนาบอยู่ทางด้านตะวันตก คือเทือกเขาเอเร็ดลูอิน และด้านตะวันออก คือเทือกเขามิสตี้ หรือ ฮิธายเกลียร์ ดินแดนเอเรียดอร์ในยุคบรรพกาลหรือยุคที่หนึ่งของโลกอาร์ดา เป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยป่ารกทึบ เหล่าเอลฟ์ที่เดินทางออกจากทะเลสาบคุยวิเอเนนมุ่งสู่แผ่นดินตะวันตก ต้องใช้เวลาเดินทางข้ามดินแดนนี้อยู่นานนับปีกว่าจะสามารถข้ามเอเร็ดลูอินไปได้ ไม่ค่อยมีเอลฟ์อาศัยอยู่ในดินแดนนี้มากนัก หากไม่ตั้งถิ่นฐานลงทางฟากตะวันออกของเทือกเขามิสตี้ ก็มักจะเดินทางข้ามไปถึงเบเลริอันด์ได้จนหมด ในยุคที่สอง หลังจากแผ่นดินเบเลริอันด์ล่มสลายไปแล้ว เอลฟ์ที่หนีรอดมาได้ ได้ตั้งถิ่นฐานลงทางด้านใต้ของเทือกเขาเอเร็ดลูอิน (คือฟากตะวันตกสุดของเอเรียดอร์) เป็นอาณาจักรลินดอน อีกพวกหนึ่งบุกเบิกไกลออกไปทางตะวันออก และตั้งอาณาจักรเอเรกิออนที่เชิงเขาฮิธายเกลียร์ (คือฟากตะวันออกสุดของเอเรียดอร์) ดินแดนช่วงกึ่งกลางยังคงถูกทิ้งเป็นป่ารกทึบ เมื่อถึงสมัยของ ทาร์-อัลดาริออน กษัตริย์นักเดินเรือแห่งนูเมนอร์ ชาวนูเมนอร์ได้เดินทางมาบุกเบิกดินแดนบนมิดเดิลเอิร์ธ โดยสร้างท่าเรือที่ปากแม่น้ำเกรย์ฟลัด แล้วแผ้วถางผืนป่าในเขตเอเน็ดไวธ์ (Enedwaith) เรื่อยขึ้นไปจนถึงปากแม่น้ำฮอร์เวล แล้วตั้งเมืองขึ้นชื่อว่า เมืองธาร์บัด (เมืองนี้เมื่อถึงยุคที่สามได้กลายเป็นเมืองร้าง) ทำให้ผืนป่าเอเน็ดไวธ์กลายเป็นที่ราบกว้างใหญ่ดังที่ปรากฏในยุคที่สาม คงเหลือเขตป่าเพียงเล็กน้อยอันเป็นที่อยู่อาศัยของชาวดันแลนด์ ตอนกลางของแผ่นดินเอเรียดอร์ ถูกบุกเบิกโดยชาวฮอบบิทนักผจญภัยสองคน และต่อมาได้กลายเป็นอาณาจักรไชร์ มีถนนสายสำคัญตัดผ่านกลางเอเรียดอร์สองสาย ได้แก.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเอเรียดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอเลนดิล

อเลนดิล (Elendil) เป็นตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซิลมาริลลิออน และ Unfinished Tales เขาเป็นบิดาของอิซิลดูร์ และ อนาริออน เป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรอาร์นอร์และกอนดอร์ อาณาจักรของชาวดูเนไดน์บนมิดเดิ้ลเอิร์ธ เอเลนดิลเกิดในปีที่ 3119 ของยุคที่สอง เขาเป็นบุตรของอามันดิล เจ้าผู้ครองนครอันดูนิเอ และผู้นำเหล่า'ผู้ศรัทธา' ที่ยังมีสัมพันธไมตรีอันดีกับพวกเอลฟ์ ในยุคที่นูเมนอร์ภายใต้การปกครองของอาร์-ฟาราโซน แข็งข้อกับปวงเทพและเป็นอริกับพวกเอลฟ์ ชื่อของเอเลนดิลในภาษาเควนยา แปลได้สองความหมาย คือ 'สหายเอลฟ์' หรือ 'ผู้รักดวงดาว' เอเลนดิลกับบุตรทั้งสอง คืออิซิลดูร์และอนาริออน หนีรอดจากการล่มสลายของเกาะนูเมนอร์ แล้วมาก่อตั้งอาณาจักรมนุษย์ขึ้นใหม่บนแผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธ พวกเขานำสมบัติทรงคุณค่าหลายอย่างติดตัวมาด้วย เช่น พาลันเทียร์ หน่ออ่อนของนิมล็อธพฤกษาขาว และสมบัติประจำราชวงศ์อีกหลายอย่างเช่น แหวนของบาราเฮียร์ เป็นต้น เอเลนดิลปกครองอาณาจักรอาร์นอร์ ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่นครอันนูมินัส ขณะที่บุตรทั้งสองคืออิซิลดูร์และอนาริออนปกครองกอนดอร์ โดยสร้างเมืองหลวงที่ออสกิเลียธ และสร้างราชวังของแต่ละคนไว้ที่มินัสอิธิล และมินัสอะนอร์ ตามลำดับ ในช่วงปลายยุคที่สอง เอเลนดิลร่วมมือกับกิล-กาลัด จอมกษัตริย์โนลดอร์องค์สุดท้าย จัดตั้งกองทัพผสมระหว่างเอลฟ์กับมนุษย์ ทำสงครามกับเซารอน เรียกชื่อว่า สงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย เซารอนได้ออกมารบด้วยตัวเอง และสังหารทั้งเอเลนดิลและกิล-กาลัดสิ้นพระชนม์ในที่รบ ดาบนาร์ซิล ของเอเลนดิล แตกออกเป็นเสี่ยงๆ อิซิลดูร์คว้าดาบหักนั้นขึ้นมา และสามารถตัดนิ้วของเซารอนที่สวมแหวนเอกธำมรงค์ ทำให้เซารอนสิ้นอำนาจและพ่ายแพ้ไปในการศึกครั้งนั้น ตราประจำพระองค์ของเอเลนดิล คือภาพนิมลอธพฤกษาขาว มีดวงดาราเจ็ดดวง อันเป็นสัญลักษณ์แทนเรือเจ็ดลำที่บรรทุกพาลันเทียร์ขณะหนีออกจากการล่มสลายของนูเมนอร์ และสามารถหนีรอดมาถึงชายฝั่งมิดเดิ้ลเอิร์ธ ด้านบนสุดมีรูปมงกุฏปีก ตราสัญลักษณ์นี้ ภายหลังได้กลายเป็นตราสัญลักษณ์ของอาณาจักรกอนดอร.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเอเลนดิล · ดูเพิ่มเติม »

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

. อาร.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมนอร์ส

ทพเจ้าธอร์เข้าณรงค์ยุทธกับเหล่ายักษ์ เทพปกรณัมนอร์สหรือเทพปกรณัมสแกนดิเนเวียเป็นเทพปกรณัมของชนเจอร์แมนิกเหนือ และเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาเก่าแก่ของชาวนอร์สซึ่งเป็นความเชื่อพหุเทวนิยม และยังคงเล่าสืบเนื่องกันมาแม้ภายหลังจากชาวสแกนดิเนเวียหันมานับถือศาสนาคริสต์ จนกลายมาเป็นคติชาวบ้านสแกนดิเนเวียแห่งสมัยใหม่ เทพปกรณัมนอร์สเป็นการกระจายขึ้นเหนือสุดของเทพปกรณัมเจอร์มานิก โดยประกอบด้วยนิทานเทวดา และวีรบุรุษต่าง ๆ จากแหล่งที่มาจำนวนมากทั้งก่อนและหลังยุคเพกัน ซึ่งรวมถึงวรรณกรรมของชาวไอซ์แลนด์ที่เขียนขึ้นในสมัยกลาง หลักฐานทางโบราณคดีและประเพณีพื้นบ้าน เทพเจ้าองค์สำคัญในเทพปกรณัมนอร์ส ได้แก่ ธอร์เทพสายฟ้าผู้มีค้อนใหญ่เป็นอาวุธ โดยเป็นเทพนักรบผู้พิทักษ์มนุษยชาติ ฯ โอดิน เทพเจ้าพระเนตรเดียว ผู้ทรงขวนขวายหาความรู้ในโลกฐาตุทั้งหลาย และพระราชทานอักษรรูนให้แก่มนุษย์; เฟรยา (Freyja) เทพสตรีผู้ทรงสิริโฉม ผู้ใช้เวทมนตร์ (seiðr) และทรงฉลองพระองค์คลุมขนนก ผู้ทรงม้าเข้าสู่สมรภูมิเพื่อเลือกเอาดวงวิญญาณในหมู่ผู้ตาย; สคาดดี (Skaði) ยักขินีและเทวีแห่งการสกี ผู้อาศัยอยู่ท่ามกลางฝูงหมาป่าบนภูเขาในฤดูหนาว; นโยร์ด (Njörðr) เทพเจ้าทรงฤทธิ์ผู้อาจปราบได้ทั้งทะเลและไฟและยังประทานความมั่งคั่งและที่ดิน; เฟรย์ (Freyr) ผู้นำสันติภาพและความเพลิดเพลินสู่มนุษยชาติ ผ่านทางฤดูกาลและการกสิกรรม; อีดุนน์ (Iðunn) เทพเจ้าผู้ทรงรักษาแอปเปิลที่ให้ความเยาว์วัยชั่วนิรันดร์; เฮม์ดาลร์ (Heimdallr) เทพเจ้าลึกลับผู้ประสูติแต่มารดาเก้าตน ทรงสามารถฟังเสียงหญ้าโต มีพระทนต์เป็นทองคำ และมีเขาสัตว์ที่เป่าได้ดังกึกก้อง; และโยตุนโลกิ ผู้นำโศกนาฏกรรมมาสู่ทวยเทพโดยวางแผนให้บัลเดอร์ (Baldr) พระโอรสแห่งเทพเจ้าฟริกก์ ต้องตาย เป็นต้น เทพปกรณัมนอร์สจัดเหล่าเทพเจ้าออกเป็นสองกลุ่ม คือ พวกอัสร์ (Æsir) ซึ่งมีรากคำเดียวกับ "อสูร" ในภาษาสันสกฤต ได้แก่ พวกเทพเจ้าองค์สำคัญๆในเทพวิหารของนอร์ส (เช่น โอดิน, ธอร์, ฟริกก์, บัลเดอร์ ฯลฯ) พวกหนึ่ง และ พวกวาเน็น หรือวานร์ อันเป็นเหล่าเทพที่มีความเกี่ยวพันกับความอุดมสมบูรณ์ ปัญญาเฉลียวฉลาด ธรรมชาติ และการรู้อนาคตอีกพวกหนึ่ง ทั้งสองพวกเข้าทำสงครามกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ จนในที่สุดรู้ว่าตนมีอำนาจเท่าๆกัน นอกจากนี้ในโลกยังมีสัตว์และเผ่าในเทพนิยายอยู่อีกนานับประการ (เช่น ยักษ์, คนแคระ, เอลฟ์, และภูตในแผ่นดิน) จักรวาลวิทยาของนอร์สประกอบด้วยโลกเก้าโลก ซึ่งขนาบอิกดระซิล ต้นไม้แห่งเอกภพ โลกมนุษย์ในจักรวาลวิทยานอร์สมีชื่อเรียกว่า มิดการ์ นอกจากนี้ยังมีภพหลังความตายอยู่หลายภพซึ่งมีเทพเจ้าพิทักษ์รักษาอยู่แตกต่างกัน ในตำนานของนอร์สมีตำนานสร้างโลกอยู่หลายแบบ มีการทำนายว่าโลกเหล่านี้จะกำเนิดใหม่หลังเหตุการณ์แรกนะร็อก เมื่อเกิดการยุทธ์มโหฬารระหว่างเหล่าทวยเทพและฝ่ายศัตรู และโลกถูกเพลิงประลัยกัลป์หุ้มเพื่อถือกำเนิดใหม่ ที่นั่น เทพเจ้าที่เหลือรอดจะประชุม แผ่นดินจะเขียวอุดม และมนุษย์สองคนจะเพิ่มประชากรโลกอีกครั้ง.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเทพปกรณัมนอร์ส · ดูเพิ่มเติม »

เทววิทยา

ทววิทยา (theology) ในความหมายอย่างแคบคือวิชาว่าด้วยพระเจ้าและความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ ความหมายอย่างกว้างคือการศึกษาเรื่องศาสนา อิทธิพลของศาสนา ธรรมชาติของความจริงทางศาสนา อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล หรือหมายถึงวิชาชีพที่มาจากการฝึกฝนเรียนรู้ทางด้านศาสนศึกษาที่มหาวิทยาลัย สำนักเทวศาสตร์ หรือเซมินารี.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเทววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เทเลริ

ตามปกรณัมของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน ชาวเทเลริ (Teleri) เป็นชื่อชนตระกูลหนึ่งในสามตระกูลใหญ่ของพวกเอลฟ์ ที่เดินทางไปยังทวีปอามัน ต้นตระกูลผู้รวบรวมผองชนเทเลริคือเอลฟ์ที่ตื่นขึ้นเป็นคนที่สามที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน นามว่า เอเนล (Enel) เมื่อแรกชนเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า 'เนลยาร์' (Nelyar) ซึ่งหมายถึง 'ตระกูลที่สามของเอลฟ์' และต่อมาพวกเขาก็เรียกตนเองว่าชาว 'ลินได' หรือ 'ลินดาร์' อันแปลว่า 'นักร้อง' สำหรับเอลฟ์อีกสองตระกูลใหญ่คือ ชาววันยาร์ และชาวโนลดอร์ อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมาเมื่อเทพโอโรเมชักชวนเหล่าเอลฟ์ให้ส่งผู้แทนไปเยือนวาลินอร์ ผู้แทนของชาวเทเลริคือ เอลเว ผู้ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกษัตริย์ของชาวเทเลริแห่งเบเลริอันด์ เอลเวผู้นี้มักเป็นที่รู้จักกันในชื่อของกษัตริย์ ธิงโกล อันเป็นชื่อฉายาซึ่งหมายถึง 'เสื้อคลุมเทา' ชาวเทเลริส่วนใหญ่มีผมสีเข้ม รูปร่างสูงโปร่ง แลผิวเผินจะคล้ายกับชาวโนลดอร์ มีบ้างประปรายที่มีเรือนผมสีอ่อน เป็นสีขาวหรือเงินยวง ซึ่งมักเป็นพวกที่มีเชื้อสายเป็นเครือญาติกับ เอลเว ชาวเทเลริมีความเชี่ยวชาญอย่างยิ่งในด้านการดนตรี และความรู้เกี่ยวกับสรรพสิ่งที่เจริญเติบโตบนพื้นพิภพ ชาวเทเลริในเบเลริอันด์พูดภาษาซินดาริน ส่วนชาวเทเลริกลุ่มอื่นๆ อาจมีภาษาต่างๆ ของตัวเอง เช่น ภาษาซิลวัน หรือภาษานันดอริน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเทเลริ · ดูเพิ่มเติม »

เดล

เดล (Del) คือชื่อดินแดนมนุษย์แห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เดลเป็นอาณาจักรของมนุษย์ริมแม่น้ำเคลดูอิน (แม่น้ำรันนิ่ง) ตั้งอยู่ระหว่างภูเขาโลนลี่กับทะเลสาบลองเลค ปกครองโดยกิริออน จนกระทั่งมังกรสม็อกทำลายลงเมื่อปี 2770 ของยุคที่สาม หลังจากที่คนแคระฟื้นฟูอาณาจักรใต้ภูเขาโลนลี่แล้ว ชาวมนุษย์จึงกลับไปตั้งถิ่นฐานที่เดลอีกครั้ง เดลล่มสลายลงอีกครั้งในช่วงสงครามแหวนเมื่อถูกมอร์ดอร์และชาวอีสเตอร์ลิงรุกราน ชาวเดลลี้ภัยไปยังเอเรบอร์กับพวกคนแคระ กษัตริย์ดาอินที่ 2 แห่งเอเรบอร์ (ไอร์อ้อนฟุต) กับกษัตริย์แบรนด์แห่งเดลถูกสังหารในระหว่างการสัประยุทธ์แห่งเดล เมื่อเซารอนสิ้นอำนาจแล้ว เดลจึงได้ฟื้นฟูอาณาจักรอีกครั้ง หมวดหมู่:ดินแดนในตำนานของโทลคีน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเดล · ดูเพิ่มเติม »

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (ภาพยนตร์ไตรภาค)

นตร์ไตรภาค เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ประกอบด้วยภาพยนตร์สามเรื่องในแนวมหากาพย์แฟนตาซี ได้แก่ อภินิหารแหวนครองพิภพ (พ.ศ. 2544), ศึกหอคอยคู่กู้พิภพ (พ.ศ. 2545) และ มหาสงครามชิงพิภพ (พ.ศ. 2546) สร้างขึ้นจากนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้นบนโลกในจินตนาการ มิดเดิลเอิร์ธ เกี่ยวกับการเดินทางของฮอบบิทผู้หนึ่งชื่อ โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ และเพื่อนของเขา ที่จำเป็นต้องรับภารกิจในการทำลาย แหวนเอกธำมรงค์ เพื่อโค่นอำนาจของจอมมารมืดเซารอน พร้อมกันนั้น พ่อมดแกนดัล์ฟ และอารากอร์น ทายาทบัลลังก์กอนดอร์ ได้รวบรวมเหล่าอิสระชนแห่งมิดเดิลเอิร์ธเข้าร่วมในสงครามแหวน เพื่อเปิดทางให้โฟรโดสามารถปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จ เนื้อความในฉบับนิยายถูกดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์โดย ปีเตอร์ แจ็กสัน ร่วมกับ แฟรน วอลช์ และ ฟิลิปปา โบเยนส์ โดยมีนิวไลน์ ซีนีม่า เป็นผู้จัดจำหน่าย โครงการสร้างภาพยนตร์ไตรภาคชุดนี้ถือเป็นโครงการขนาดใหญ่มากที่สุดโครงการหนึ่งที่เคยเกิดขึ้น ด้วยทุนสร้างสูงถึง 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และใช้เวลาตลอดโครงการนานถึง 8 ปี โดยถ่ายทำภาพยนตร์ทั้งสามภาคไปในคราวเดียวกันทั้งหมด ที่ประเทศนิวซีแลนด์ บ้านเกิดของปีเตอร์ แจ็กสันเอง ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จทางด้านการเงินอย่างมาก โดยติดอันดับภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาลในลำดับที่ 27, ที่ 20 และ ที่ 6 เรียงตามลำดับ และได้รับรางวัลออสการ์รวมทั้งสิ้น 17 รางวัล รวมถึงเสียงชื่นชมทั้งส่วนของนักแสดงและเทคนิคพิเศษ.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (ภาพยนตร์ไตรภาค) · ดูเพิ่มเติม »

เซารอน

ซารอน (Sauron) เป็นตัวละครหลักฝ่ายอธรรมในนิยายเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เดิมเป็นเทพไมอา ซึ่งทำงานรับใช้จอมมารมอร์กอธ ภายหลังตั้งตัวเป็นใหญ่ เซารอนเป็นผู้หลอมสร้างแหวนเอก ซึ่งบรรจุพลังอำนาจมหาศาลเอาไว้ภายใน และสามารถบังคับควบคุมใครก็ตามที่สวมแหวนแห่งอำนาจวงอื่น.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเซารอน · ดูเพิ่มเติม »

เปเรกริน ตุ๊ก

ปเรกริน ตุ๊ก (Peregrin Took) หรือที่เพื่อนๆ ชอบเรียกชื่อเล่นว่า ปิ๊ปปิ้น เป็นตัวละครในนิยายเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปิ๊ปปิ้นเป็นฮอบบิทที่ได้ร่วมคณะพันธมิตรแห่งแหวน ร่วมเดินทางไปกับ โฟรโด แบ๊กกิ้นส์ เขาเป็นสหายอายุน้อยที่สุดของโฟรโด และยังเป็นญาติของโฟรโดด้วย ปิ๊บปิ้นเป็นลูกชายคนเดียวของพาลาดิน ตุ๊ก ที่สอง เธนแห่งไชร์ (คือตำแหน่งประมุขสูงสุดผู้ครองแคว้น) เขาจึงได้สืบทอดตำแหน่งเธนหลังจากบิดาถึงแก่กรรมในปีที่ 13 ของยุคที่สี่ ปิ๊บปิ้นมีพี่สาวอีกสามคนคือ เพิร์ล, พิมเพอร์เนล และเพอร์วินคา ตุ๊ก เพื่อนสนิทของปิ๊ปปิ้น คือ เมอเรียด็อค แบรนดี้บั๊ก (เมอร์รี่) ยังเป็นลูกพี่ลูกน้องกับเขาด้วย เพราะเมอร์รี่เป็นลูกชายของเอสเมอรัลดา แบรนดี้บั๊ก ซึ่งเป็นน้องสาวของเธนพาลาดิน.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและเปเรกริน ตุ๊ก · ดูเพิ่มเติม »

Unfinished Tales

ปก The Unfinished Tales วาดโดย Ted Nasmith Unfinished Tales เป็นหนังสือที่รวบรวมงานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เกี่ยวกับจักรวาลอาร์ดาและมิดเดิลเอิร์ธ ที่เขาเขียนไว้ยังไม่จบและยังไม่ได้ตีพิมพ์ เรียบเรียงขึ้นโดยบุตรชายคนที่สามของโทลคีน คือ คริสโตเฟอร์ โทลคีน ตีพิมพ์ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่นวนิยาย ที่ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวตลอดเล่ม เนื่องจากเป็นการรวบรวมงานเขียนชิ้นต่างๆ ของโทลคีนที่เขียนเอาไว้ตรงโน้นบ้าง ตรงนี้บ้าง ไม่ปะติดปะต่อกัน เนื้อหาหลายส่วนยังมีความขัดแย้งกันอยู่บ้างเนื่องจากยังไม่ได้แก้ไขเป็นบทสรุปสุดท้าย คริสโตเฟอร์ โทลคีน ได้รวบรวมส่วนที่เกี่ยวข้องกันมาไว้ด้วยกัน และแสดงหมายเหตุ หรือข้อสังเกตส่วนตัวเกี่ยวกับงานเขียนเหล่านั้น โดยพยายามเรียบเรียงให้ได้เนื้อหาที่ใกล้เคียงกับข้อสรุปสุดท้ายของโทลคีนให้มากที่สุด สิ่งที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้ คือรายละเอียดปลีกย่อยจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการตั้งชื่อตัวละคร หรือชื่อสถานที่ต่างๆ บนมิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งโทลคีนใส่ใจพิถีพิถันเป็นพิเศษ ทั้งในแง่ของความหมาย และความเป็นมา ถึงแก่ลงมือประพันธ์ประวัติศาสตร์ของชื่อสถานที่บางแห่ง ทำให้มีความสมจริงสมจังเป็นอย่างยิ่ง ข้อมูลในหนังสือ Unfinished Tales สามารถให้รายละเอียดเพิ่มเติมแก่ตัวละคร เหตุการณ์ หรือสถานที่บางแห่งที่ถูกกล่าวถึงเพียงย่อๆ ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ รวมถึงความเป็นมาของแกนดัล์ฟ และเหล่าพ่อมด (อิสตาริ) และเรื่องราวโดยละเอียดในการที่แหวนเอกสูญหายไปจากการรับรู้ของผู้คนบนมิดเดิลเอิร์ธในตอนต้นของยุคที่สาม นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดของเหตุการณ์ในยุคที่สอง โดยเฉพาะเรื่องราวของเกาะนูเมนอร์ ซึ่งไม่ใคร่ถูกกล่าวถึงมากนักทั้งใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะตีพิมพ์ออกมาหลังจากโทลคีนถึงแก่กรรมไปแล้วหลายปี แต่ก็ยังได้รับการตอบรับจากผู้อ่านอย่างดียิ่ง ทำให้คริสโตเฟอร์ โทลคีน มีกำลังใจที่จะเรียบเรียงงานชิ้นอื่นๆ ของบิดาออกมาอีก เกิดเป็นหนังสือชุด ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ จำนวน 12 เล่ม.

ใหม่!!: มิดเดิลเอิร์ธและUnfinished Tales · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มัจฉิมโลก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »