โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มิดเดิลเวทและสมาคมมวยโลก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มิดเดิลเวทและสมาคมมวยโลก

มิดเดิลเวท vs. สมาคมมวยโลก

มิดเดิลเวท (Middleweight) เป็นพิกัดน้ำหนักมวยในระดับกลาง นักมวยที่จะชกในพิกัดนี้จะต้องมีน้ำหนักมากกว่า 154 ปอนด์ (69.853 กิโลกรัม) และไม่เกิน 160 ปอนด์ (72.576 กิโลกรัม) โดยรุ่นมิดเดิลเวทนี้ ได้ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1850 พร้อมกับพิกัดน้ำหนักไลท์เวท และเฮฟวี่เวท ด้วย ในแวดวงมวยสากลนั้นมีนักมวยในพิกัดมิดเดิลเวทนี้มากมาย จัดเป็นพิกัดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงกลางทศวรรษที่ 80 ใน ชูการ์ เรย์ เลียวนาร์ด, โธมัส เฮิร์นส์, โรแบร์โต้ ดูรัน และมาร์วิน แฮ็กเลอร์ ได้ชื่อว่าเป็น "สี่ทหารเสือแห่งรุ่นกลาง" โดยทั้ง 4 นั้นจะวนเวียนชกกันทั้งหมดในพิกัดนี้หรือใกล้เคียง นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีนักมวยอีกหลายรายที่มีชื่อเสียงที่ชกในพิกัดนี้ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ได้แก่ ร็อคกี้ กราเซียโน่, เจค ลาม็อตตา, กัง แซชุล, สมพงษ์ เวชสิทธิ์, สมเดช ยนตรกิจ, อภิเดช ศิษย์หิรัญ, รอย โจนส์ จูเนียร์, เบอร์นาร์ด ฮอปกินส์, ออสการ์ เดอ ลา โฮยา, เฟลิกซ์ ทรินิแดด, เกนนาดี้ โกลอฟกิ้น, มิเกล คอตโต เป็นต้น ในส่วนของมวยสากลสมัครเล่นของไทยนั้น ยังไม่มีใครประสบความสำเร็จถึงการคว้าเหรียญทองในระดับโอลิมปิก ที่ประสบความสำเร็จสูงสุด คือ สุริยา ปราสาทหินพิมาย ที่ได้รับเหรียญทองแดง ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ เมื่อปี ค.ศ. 2004. ำหรับ WBA ความหมายอื่น ดูที่: สโมสรฟุตบอลเวสต์บรอมวิชอัลเบียน สัญลักษณ์สมาคมมวยโลก เข็มขัดแชมป์โลกสมาคมมวยโลก สมาคมมวยโลก (World Boxing Association, ตัวย่อ: WBA; Asociación Mundial de Boxeo, ตัวย่อ: AMB) สถาบันที่ดูแลและควบคุมการชกมวยสากลในระดับโลก สมาคมมวยโลกก่อตั้งขึ้นในวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1962 โดยแยกตัวออกมาจากสถาบันสมาคมมวยแห่งชาติ (National Boxing Association - NBA) ของสหรัฐอเมริกา โดยกลุ่มผู้ร่วมก่อตั้งเป็นบุคคลในวงการมวยชาวอเมริกันและต่อมาจึงมีชาติในสมาชิกกลุ่มลาตินอเมริกาเข้าร่วมด้วยอีกหลายชาติ ปัจจุบัน สมาคมมวยโลก เป็นอีกหนึ่งสถาบันมวยสากลที่ได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานและได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก มี กิลแบร์โต เมนโดซา ชาวเวเนซุเอลาเป็นประธาน ที่ตั้งสถาบัน ตั้งอยู่ที่กรุงคารากัส ประเทศเวเนซุเอล.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มิดเดิลเวทและสมาคมมวยโลก

มิดเดิลเวทและสมาคมมวยโลก มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชูการ์ เรย์ เลนเนิร์ดมวยสากลโรเบร์โต ดูรันโธมัส เฮิร์นส์ไลท์เวทเฮฟวี่เวท

ชูการ์ เรย์ เลนเนิร์ด

การชกครั้งแรกระหว่าง เลนเนิร์ด กับ ดูรัน ซึ่งเลนเนิร์ดเป็นฝ่ายแพ้คะแนน 15 ยก เสียแชมป์โลกและเป็นการแพ้ครั้งแรก ชูการ์ เรย์ ลีโอนาร์ด (Sugar Ray Leonard) (มักจะอ่านผิดเป็น เลนเนิร์ด) ยอดนักชกชาวอเมริกันในทศวรรษที่ 80 เจ้าของตำแหน่งแชมเปี้ยนโลก 5 รุ่น มีชื่อจริงว่า เรย์ ชาเลส ลีโอนาร์ด (Ray Charles Leonard) เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1956 ที่เมืองวิลมิงตัน รัฐเซาท์แคโรไลนา ลีโอนาร์ดเริ่มการชกมวยจากมวยสากลสมัครเล่นมาก่อน จนได้เป็นตัวแทนทีมชาติสหรัฐอเมริกาชกโอลิมปิคที่มอนทรีออล ประเทศแคนาดา และชนะเลิศได้เหรียญทองในรุ่นไลท์เวลเตอร์เวท จากนั้นเลนเนิร์ดเริ่มต้นการชกมวยสากลอาชีพเป็นครั้งแรกในปีถัดมา จากการเทรนของ แองเจโล่ ดันดี เทรนเนอร์ระดับโลก อดีตเทรนเนอร์ของ มูฮัมหมัด อาลี จนได้ชิงแชมป์โลกครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 ในรุ่นเวลเตอร์เวทของสภามวยโลก (WBC) กับ วิลเฟรด เบนิเตซ นักมวยชาวเปอร์โตริกัน ที่ลาสเวกัส ผลการชกเลนเนิร์ดชนะคะแนน 15 ยก ได้เป็นแชมป์โลกรุ่นแรก และเลนเนิร์ดก็สามารถป้องกันตำแหน่งไว้ได้ 1 ครั้ง เมื่อชนะน็อก เดวีย์ กรีน ยกที่ 4 จากนั้น ก็เป็นฝ่ายแพ้คะแนน 15 ยก แก่ โรแบร์โต้ ดูรัน นักมวยจอมตะลุยชาวปานาเมียน เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1980 ที่มอนทรีออล แต่อีก 5 เดือนถัดมา เลนเนิร์ดก็เป็นฝ่ายเอาชนะดูรันแย่งแชมป์โลกกลับคืนมาได้ โดยที่ดูรันเป็นฝ่ายขอยอมแพ้เอง เลนเนิร์ดคว้าแชมป์โลกในรุ่นที่ 2 โดยการเอาชนะน็อกยก 9 อายุบ คาลูเล่ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1981 ได้เป็นแชมป์โลกรุ่นจูเนียร์มิดเดิลเวท ของสมาคมมวยโลก (WBA) แต่ไม่ได้ชกป้องกันตำแหน่งกับใครเลย เพราะเลนเนิร์ดต้องการที่จะชกกับ โธมัส เฮิร์นส์ อีกหนึ่งยอดนักชกที่กำลังมีฟอร์มร้อนแรงในขณะนั้น ซึ่งเฮิร์นส์เป็นเจ้าของแชมป์โลกเวลเตอร์เวท สมาคมมวยโลก จึงเป็นการล้มแชมป์เวลเตอร์สองสถาบัน ระหว่าง เลนเนิร์ด แชมป์ สภามวยโลก(WBC) สามารถชนะน็อกยก 14 เฮิร์นส์ได้ที่ซีซาร์ พาเลซ ลาสเวกัส ทำให้เลนเนิร์ดได้เป็นแชมป์โลกพร้อมกันถึง 2 สถาบัน จากนั้นเลนเนิร์ดก็ประกาศแขวนนวมไปเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 แต่แล้วในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1985 เลนเนิร์ดก็หวนกลับคืนสู่วงการมวยอีกครั้ง โดยการชนะน็อกยก 9 เควิน โฮเวิร์ด นักมวยรุ่นน้องชาติเดียวกัน แม้จะเอาชนะน็อกได้ แต่ในครั้งนี้เลนเนิร์ดได้ถูกหมัดของโฮเวิร์ดชกลงไปให้กรรมการนับก่อนเป็นครั้งแรกในชีวิตการชกมวยด้วย หลังจากการชกครั้งนี้ เลนเนิร์ดก็ประกาศแขวนนวมอีกครั้ง คราวนี้ยาวนานถึง 3 ปี แล้วจู่ ๆ เลนเนิร์ดก็กลับมาชกมวยอีกครั้ง โดยไม่ได้อุ่นเครื่องกับใครเลย และท้าชิงแชมป์โลกในรุ่นมิดเดิลเวท สภามวยโลก กับ มาร์วิน แฮ็กเลอร์ ยอดนักชกอีกคนหนึ่งในรุ่นกลางของทศวรรษที่ 80 การชกกันของทั้งคู่ดำเนินไปจนถึงยกสุดท้าย ผลการชกปรากฏว่ากรรมการรวมคะแนนแล้วตัดสินให้เลนเนิร์ดเป็นฝ่ายชนะคะแนนไปโดยไม่เอกฉันท์ ทำให้เลนเนิร์ดได้ตำแหน่งแชมป์โลกในรุ่นที่ 3 แต่มีหลายความเห็นเห็นว่าแฮ็กเลอร์น่าจะเป็นฝ่ายชนะมากกว่า หลังจากชกครั้งนี้ มาร์วิน แฮ็กเลอร์ ก็ได้แขวนนวมไปอย่างถาวร โดยที่ไม่กลับมาชกมวยอีกเลย สำหรับลีโอนาร์ดแล้ว ในครั้งต่อมาได้สร้างความประหลาดมากในวงการมวยโลก เมื่อขอขึ้นชกเดิมพันตำแหน่งแชมป์โลกพร้อมกันถึง 2 รุ่น กับ ดอน ลาดอนเด้ นักมวยชาวแคนาเดี้ยน โดยเป็นการชิงแชมป์โลกรุ่นซูเปอร์มิดเดิลเวท สภามวยโลกที่ว่างอยู่ และชิงแชมป์โลกรุ่นไลท์เฮฟวี่เวท สภามวยโลก ที่ลาดอนเด้เป็นแชมป์โลกอยู่ด้วย ซึ่งการชกในแบบนี้เป็นการชกในครั้งแรกและครั้งเดียวตราบจนถึงทุกวันนี้ของวงการมวยโลก ผลการชกปรากฏว่า เลนเนิร์ดเป็นฝ่ายเอาชนะน็อกยก 9 ลาดอนเด้ ไปได้ ซึ่งทำให้เลนเนิร์ดเป็นนักมวยคนที่ 2 ของโลกที่ได้แชมป์โลกถึง 5 รุ่น หลังการได้แชมป์โลกรุ่นซูเปอร์มิดเดิลเวท ขององค์กรมวยโลก (WBO) ของ โธมัส เฮิร์นส์ เพียง 3 วันเท่านั้น จากนั้นลีโอนาร์ดก็สละตำแหน่งแชมป์โลกไลท์เฮฟวี่เวท ในอีก 8 วันต่อมา และชกป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกซูเปอร์มิดเดิลเวท เอาไว้ 2 ครั้ง โดยเสมอกับ โธมัส เฮิร์นส์ 12 ยก ในแบบที่ลีโอนาร์ดน่าจะแพ้มากกว่า เพราะลีโอนาร์ดถูกเฮิร์นส์ชกลงไปให้กรรมการนับ 8 ถึง 2 ครั้ง และอีกครั้งเมื่อเอาชนะคะแนน โรแบร์โต้ ดูรัน ไปได้ ก่อนจะแขวนนวมอีกครั้งในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1990 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 ลีโอนาร์ดก็กลับมาชิงแชมป์โลกอีกครั้งในรุ่นซูเปอร์เวลเตอร์เวท สภามวยโลก กับ เทอร์รี่ นอริส นักมวยอันตรายรุ่นน้องร่วมชาติ คราวนี้ลีโอนาร์ดถูกนอริสถลุงอย่างหนัก และเป็นฝ่ายแพ้คะแนนไปอย่างขาดลอย และประกาศแขวนนวมอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ไม่มีใครคิดว่าลีโอนาร์ดจะกลับมาชกมวยอีกแล้วอย่างแน่นอน แต่เมื่อหลายปีผ่านไป ในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1997 ลีโอนาร์ดก็หวนกลับมาสู่สังเวียนมวยอีกครั้ง โดยครั้งนี้พบกับ เฮคเตอร์ คามาโช่ นักมวยจอมลีลาชาวเปอร์โตริกัน ซึ่งในขณะนั้นคามาโช่เองก็อยู่ในปลายๆ ชีวิตการชกมวยแล้วเหมือนกัน ผลการชกลีโอนาร์ดไม่อาจสู้อะไรได้กับคามาโช่เลย และถูกถล่มอยู่ฝ่ายเดียวจนแพ้น็อกไปในยกที่ 5 เท่านั้น ในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในชีวิต ซึ่งนี่คือการชกมวยครั้งสุดท้ายในชีวิตของลีโอนาร์ดอีกด้วย ชูการ์ เรย์ ลีโอนาร์ด (Sugar Ray Leonard) ได้ชื่อว่าเป็นยอดนักมวยในรุ่นกลางในทศวรรษที่ 80 ร่วมกับ โธมัส เฮิร์นส์, โรแบร์โต้ ดูรัน และ มาร์วิน แฮ็กเลอร์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักมวยที่ชกอย่างชาญฉลาด ลีโอนาร์ดไม่ใช่นักมวยประเภทหมัดหนักหรือบู๊ล้างผลาญ หากแต่เป็นมวยที่มีชั้นเชิงลีลา แต่ในหลายครั้งก็สามารถเอาชนะน็อกคู่ต่อสู้ได้อย่างเด็ดขาด ซึ่งชื่อหน้าคำว่า "ชูการ์ เรย์" นั้น ลีโอนาร์ดนำมาจากชื่อของ ชูการ์ เรย์ โรบินสัน ยอดนักมวยในรุ่นมิดเดิลเวทกลางทศวรรษที่ 50 ซึ่งในปี ค.ศ. 2005 ได้ถูกจัดให้เป็นนักมวยที่เก่งที่สุดในโลกตลอดกาล และในส่วนของลีโอนาร์ดนั้น เขาถูกจัดให้อยู่ในอันดับ 6 ด้วยเช่นกัน.

ชูการ์ เรย์ เลนเนิร์ดและมิดเดิลเวท · ชูการ์ เรย์ เลนเนิร์ดและสมาคมมวยโลก · ดูเพิ่มเติม »

มวยสากล

การแข่งขันมวยสากลระดับโลกระหว่าง รีการ์โด โดมิงเกวซ (ซ้าย) ฮุกซ้ายใส่ ออเรออน'ส ราฟาเอล ออร์ตีซ ที่แคลิฟอร์เนีย พ.ศ. 2548 มวยสากล (Boxing) เป็นศิลปะการต่อสู้ชนิดหนึ่งที่สู้กันด้วยหมัดทั้ง 2 ข้าง มีการแข่งขันตั้งแต่สมัยกีฬาโอลิมปิกยุคโบราณ และเป็นที่นิยมมาจนถึงปัจจุบัน มวยสากล จะกำหนดการให้คะแนน ถ้าไม่มีฝ่ายไหนแพ้ชนะน็อต จะตัดสินจากคะแนนรวมยกที่ 20 คือยกสุดท้.

มวยสากลและมิดเดิลเวท · มวยสากลและสมาคมมวยโลก · ดูเพิ่มเติม »

โรเบร์โต ดูรัน

การชกครั้งแรกระหว่างดูรันกับเลียวนาร์ด ในครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ. 1980 ซึ่งดูรันสามารถเอาชนะคะแนนไปได้ นับเป็นนักมวยรายแรกที่สร้างความปราชัยแก่เลียวนาร์ดได้และนับเป็นหนึ่งในการชกที่ดีที่สุดในชีวิตของดูรัน โรเบร์โต ดูรัน ซามาเนียโก (Roberto Durán Samaniego) วีรบุรุษนักชกแห่งปานามา และอดีตแชมป์โลก 4 รุ่น ดูรันถือได้ว่าเป็นยอดนักมวยขวัญใจชาวปานามา เช่นเดียวกับคูลีโอ เซซาร์ ชาเบซ ที่เป็นยอดนักมวยขวัญใจชาวเม็กซิโก ดูรันเกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1951 ที่เมืองกวาราเร ประเทศปานามา เริ่มชกมวยสากลอาชีพครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1967 ในรุ่นไลต์เวต ทำสถิติชนะรวดจนได้ชิงแชมป์โลกในรุ่นไลต์เวต สมาคมมวยโลก (WBA) กับ เคน บูชาแนน นักชาวสกอตแลนด์ ที่นิวยอร์กซิตี เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1972 ดูรันสามารถเอาชนะน็อกบูชาแนนไปได้ในยกที่ 13 จากนั้นดูรันได้ชกนอกรอบอีก 3 ครั้ง 2 ครั้งแรกสามารถเอาชนะน็อกนักมวยโนเนมได้เพียงยกแรก แต่ในครั้งที่ 3 ดูรันต้องพบกับความพ่ายแพ้ครั้งแรกในชีวิตแก่นักมวยชาวเปอร์โตริโก เอสเตบัน เด เฮซุส ซึ่งต่อมากลายมาเป็นคู่ปรับคนสำคัญอีกคนหนึ่งของดูรัน ดูรันป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกไลต์เวตของ WBA ไว้ได้ถึง 12 ครั้ง นับว่าเป็นสถิติการป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกสูงสุดของรุ่นไลต์เวตมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งครั้งสุดท้ายในการป้องกันตำแหน่งรุ่นนี้คือ การเดิมพันแชมป์ในรุ่นด้วยกันกับแชมป์โลกของสภามวยโลก (WBC) กับเอสเตบัน เด เฮซุส คู่ปรับเก่า ผลปรากฏว่าดูรันสามารถเอาชนะน็อกได้ในยกที่ 12 เมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1978 ต่อมา ดูรันสละแชมป์ไลต์เวต 2 สถาบันนี้ไป เพื่อก้าวขึ้นไปชกในรุ่นที่ใหญ่กว่า คือ เวลเตอร์เวต ซึ่งในขณะนั้น ชูการ์ เรย์ เลียวนาร์ด ยอดนักชกชาวอเมริกันเป็นเจ้าของตำแหน่งแชมป์โลกของสภามวยโลก และยังมีสถิติไม่เคยแพ้ใคร เมื่อทั้งคู่มาพบกัน ไม่มีใครคาดคิดว่ามวยบู๊อย่างดูรันจะเอาชนะมวยที่มีชั้นเชิงอย่างเลียวนาร์ดได้ แต่ทว่าดูรันก็ใช้ความแข็งแกร่ง ทรหดกว่า เดินบดเข้าหาเลียวนาร์ดตลอดการชกทั้ง 15 ยก จนในที่สุดก็สามารถเอาชนะคะแนนเลียวนาร์ดได้ ในวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1980 ที่มอนทรีออล ประเทศแคนาดา ได้เป็นแชมป์โลกในรุ่นที่ 2 อีก 5 เดือนต่อมา ทั้งคู่ได้มีโอกาสล้างตากันอีกครั้งที่นิวออร์ลีนส์ คราวนี้เลียวนาร์ดเตรียมตัวมาดีกว่าเก่า สามารถแก้ทางของดูรันได้ จนดูรันไม่สามารถทำอะไรได้เหมือนครั้งแรก จนดูรันเป็นฝ่ายขอยอมแพ้ไปเองดื้อ ๆ ในระหว่างพักยกที่ 7 ขึ้นยกที่ 8 โดยบอกเป็นภาษาสเปนว่า "No Más" (ไม่เอาแล้ว) เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่ดูรันก็สามารถชกต่อไปอีกได้ ต่อมาดูรันก็สามารถได้เป็นแชมป์โลกในรุ่นที่ 3 ได้ เมื่อเอาชนะน็อกยก 8 เดวี่ มัวร์ นักมวยชาวอเมริกัน เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1983 ได้แชมป์โลกในรุ่นจูเนียร์มิดเดิลเวต สมาคมมวยโลก ซึ่งก่อนหน้านั้นดูรันเกือบได้เป็นแชมป์โลกรุ่นที่ 3 มาแล้ว แต่เป็นฝ่ายแพ้คะแนน 15 ยก แก่ วิลเฟรด เบนิเตซ นักมวยชาวเปอร์โตริกัน เจ้าของตำแหน่งแชมป์โลกซูเปอร์เวลเตอร์เวต สภามวยโลก เมื่อปี ค.ศ. 1982 ในทศวรรษที่ 80 นี้ โรเบร์โต ดูรัน ถือได้ว่าเป็น 1 ใน 4 ยอดนักชกแห่งรุ่นกลาง (ตั้งแต่เวลเตอร์เวตจนถึงซูเปอร์มิดเดิลเวต-ประกอบไปด้วย ชูการ์ เรย์ เลียวนาร์ด, โรเบร์โต ดูรัน, ทอมัส เฮินส์ และมาร์วิน แฮ็กเลอร์ ซึ่งนักมวยทั้ง 4 นี้จะพบกันเองตลอด และผลัดแพ้-ผลัดชนะกัน) ต่อมา ดูรันได้ขึ้นชิงแชมป์โลกรุ่นที่ 4 กับ มาร์วิน แฮ็กเลอร์ เจ้าของตำแหน่งแชมป์โลกมิดเดิลเวต 3 สถาบันใหญ่ แต่เมื่อครบ 15 ยกแล้ว ดูรันเป็นฝ่ายแพ้คะแนนขาดลอย เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1983 ต่อมา ดูรันก็เป็นฝ่ายแพ้น็อกแค่ยก 2 แก่ทอมัส เฮินส์ ในการชิงแชมป์โลกซูเปอร์เวลเตอร์เวต สภามวยโลก ที่เฮิร์นส์เป็นแชมป์โลกอยู่อย่างชนิดที่สู้ไม่ได้เลย เพราะดูรันเป็นฝ่ายที่รับหมัดของเฮิร์นส์แต่เพียงฝ่ายเดียว เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1984 ที่ลาสเวกัส จากนั้นดูรันก็ไม่ได้ขึ้นเวตีอีกลย จนหลายฝ่ายคิดว่าเขาคงจะแขวนนวมไปแล้ว แต่ดูรันก็หวนกลับมาชกอีกครั้งในปี ค.ศ. 1986 ชนะทั้งหมด 7 ครั้ง มีสะดุดแพ้อยู่ครั้งเดียวเมื่อแพ้คะแนนต่อร็อบบี ซิมส์ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1989 ดูรันก็ได้ครองแชมป์โลกรุ่นที่ 4 เมื่อชนะคะแนน 12 ยก ต่อ ไอแรน บาร์กเลย์ นักมวยชาวอเมริกัน ได้เป็นแชมป์โลกในรุ่นมิดเดิลเวตของสภามวยโลกที่แอตแลนติกซิตี ครั้งถัดมา ดูรันพยายามที่จะเป็นแชมป์โลกรุ่นที่ 5 ให้ได้ โดยข้ามขึ้นไปชิงแชมป์โลกรุ่นซูเปอร์มิดเดิลเวต สภามวยโลก กับ ชูการ์ เรย์ เลียวนาร์ด อดีตคู่ปรับเก่า แต่ดูรันก็เป็นฝ่ายแพ้คะแนนไปอย่างขาดลอยอีก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1989 ที่ลาสเวกัส ด้วยอายุที่มากขึ้น แต่โรเบร์โต ดูรัน ก็ยังไม่มีความตั้งใจที่เลิกชกมวย เขายังคงพากเพียรขึ้นเวทีอีกเรื่อย ๆ จนกระทั่งทำฟอร์มชนะอีก 8 ครั้ง ก็ขึ้นชิงแชมป์โลกอีกครั้งในรุ่นซูเปอร์มิดเดิลเวต สถาบันเล็ก ๆ อย่าง IBC กับ วินนี่ ปาเซียนซ่า แต่ก็เป็นฝ่ายแพ้คะแนนไปอีกถึง 2 ครั้ง เมื่อปี ค.ศ. 1994 และ ค.ศ. 1995 รวมทั้งชิงแชมป์ในรุ่นเดียวกันนี้ กับสถาบันแห่งนี้ กับ เอกตอร์ กามาโช ยอดนักมวยจอมลีลาชาวเปอร์โตริกัน เมื่อปี ค.ศ. 1996 ก็เป็นฝ่ายแพ้คะแนน 12 ยกไปอีก ดูรันยังคงพยายามชิงแชมป์ต่อไป ในปี ค.ศ. 1998 ดูรันเป็นฝ่ายแพ้เคะแนน 12 ยก แก่ วิลเลียม จอปปี เจ้าของตำแหน่งแชมป์โลกมิดเดิลเวต สมาคมมวยโลก ชาวอเมริกัน ดูรันชกมวยเป็นครั้งสุดท้ายเป็นฝ่ายแพ้คะแนน 12 ยก แก่ เอกตอร์ กามาโช อีกครั้ง เมื่อปี ค.ศ. 2001 ที่เดนเวอร์ โคโลราโด โดยที่ดูรันมีอายุถึง 50 ปีแล้ว โรเบร์โต ดูรัน ถือได้ว่าเป็นวีรบุรุษนักชกชาวปานามา เป็นนักมวยที่มีสภาพร่างกายแข็งแกร่ง หมัดหนักทั้งซ้ายและขวา เป็นมวยในสไตล์ไฟเตอร์เดินหน้าเข้าชนกับคู่ต่อสู้ตลอด เป็นนักมวยที่ไว้หนวดทำให้หน้าตาดูดุดัน จนได้ฉายาในภาษาอังกฤษว่า "Hands of Stone" ในขณะที่แฟนมวยชาวไทยให้ฉายาว่า "มนุษย์หิน" ปัจจุบัน ดูรันได้รับการเกียรติให้ตั้งชื่อเป็นสนามกีฬาในร่ม ในกรุงปานามาซิตี ประเทศปานามา ชื่อ "โรเบร์โต ดูรัน อารีนา".

มิดเดิลเวทและโรเบร์โต ดูรัน · สมาคมมวยโลกและโรเบร์โต ดูรัน · ดูเพิ่มเติม »

โธมัส เฮิร์นส์

มัส เฮิร์นส์ (Thomas Hearns) หรือ ทอมมี่ เฮิร์นส์ (Tommy Hearns) แชมป์โลก 5 รุ่นคนแรกของโลก เจ้าของฉายา "The Hit Man" หรือ "Detroit Cobra".

มิดเดิลเวทและโธมัส เฮิร์นส์ · สมาคมมวยโลกและโธมัส เฮิร์นส์ · ดูเพิ่มเติม »

ไลท์เวท

ลท์เวท (Lightweight) ชื่อเรียกรุ่นมวยรุ่นเล็กรุ่นหนึ่ง โดยนักมวยที่จะชกในรุ่นนี้ต้องมีน้ำหนักมากกว่า 130 ปอนด์ (58.967 กิโลกรัม) และไม่เกิน 135 ปอนด์ (61.235 กิโลกรัม) โดยทุกสถาบันจะเรียกชื่อนี้เหมือนกันหมด สำหรับนักมวยไทยยังไม่เคยมีใครได้เป็นแชมป์โลกในรุ่นนี้ และยังไม่เคยประสบความสำเร็จในแบบมวยสากลสมัครเล่นระดับโลก เช่น กีฬาโอลิมปิก เป็นต้น สำหรับนักมวยต่างชาติที่มีชื่อเสียง ที่ชกในพิกัดนี้ ได้แก่ อเล็กซิส อาร์กูเอลโล่, คิม ดุ๊กกู, โรแบร์โต ดูรัน, เจฟฟ์ เฟเนค, อซูม่าห์ เนลสัน, มิเกล แองเจิล กอนซาเลซ, ฮูลิโอ ซีซาร์ ชาเวซ, ออสการ์ เดอ ลา โฮยา, แมนนี่ ปาเกียว, อาเมียร์ ข่าน เป็นต้น สำหรับประวัติศาสตร์ของรุ่นไลท์เวท ถือว่าเป็นพิกัดน้ำหนักมวย 3 รุ่นแรกของโลกด้วย โดยถือกำเนิดขึ้นมาในปี ค.ศ. 1850 พร้อมกับรุ่นมิดเดิลเวท และเฮฟวี่เวท.

มิดเดิลเวทและไลท์เวท · สมาคมมวยโลกและไลท์เวท · ดูเพิ่มเติม »

เฮฟวี่เวท

ฟวี่เวท (Heavyweight) เป็นพิกัดน้ำหนักการชกมวยสากลอาชีพที่จัดว่าเป็นรุ่นที่ใหญ่ที่สุด โดยนักมวยที่จะชกในรุ่นนี้ต้องมีน้ำหนักมากกว่า 200 ปอนด์ (90.900 กิโลกรัม) ขึ้นไป โดยความเป็นมาของพิกัดน้ำหนักรุ่นนี้ เป็นไปได้ว่ามีมาตั้งแต่ยุคศตวรรษที่ 17 เมื่อ เจมส์ ฟิกก์ นักมวยชาวอังกฤษผู้ประกาศว่าตนเป็นแชมป์โลกคนแรกของโลก ได้พัฒนาการชกมวยให้มีรูปแบบและกติกาที่ชัดเจน ซึ่งในศตวรรษต่อมา มาร์เควซแห่งควีนเบอร์รี่ ได้สนับสนุนให้มีการชกแบบ 12 ยก และได้ออกกติกาขึ้นมาชัดเจน ในชื่อว่า กติกาแห่งควีนเบอร์รี่ หรือ กฎมาร์เควซแห่งควีนเบอร์รี่ ที่กำหนดให้ในแต่ละยกต้องมี 3 นาทีชัดเจน และกำหนดให้นักมวยต้องสวมนวมขึ้นชก และแบ่งพิกัดน้ำหนักออกเป็นรุ่น ๆ ในปี ค.ศ. 1850 โดยแรกเริ่มมีเพียง 3 พิกัดเท่านั้นคือ ไลท์เวท, มิดเดิลเวท และเฮฟวี่เวท พร้อมกับศักราชของการชกมวยสากลในแบบสมัยใหม่ก็ได้เริ่มต้นขึ้น พิกัดน้ำหนักรุ่นเฮฟวี่เวทนี้ จัดได้ว่าเป็นรุ่นที่มีประวัติศาสตร์มากมาย ด้วยความที่เป็นรุ่นที่ใหญ่ที่สุด นักมวยที่ขึ้นชกแต่ละคนจะมีรูปร่างใหญ่โตเป็นส่วนใหญ่ จึงสามารถดึงดูดความสนใจของผู้คนได้เป็นอย่างมาก โดยนักมวยที่มีชื่อเสียงที่ได้ชกในพิกัดนี้ ได้แก่ จอห์น แอล. ซัลลิแวน ผู้ได้ชื่อว่าเป็นแชมป์โลกในแบบสวมนวมเป็นคนแรกของโลก, แจ๊ค จอห์นสัน นักมวยผิวดำคนแรกที่ได้แชมป์ในรุ่นนี้, แจ็ค เดมป์เซย์ นักมวยผิวขาวที่ได้รับความนิยมในช่วงทศวรรษที่ 19-20, ร็อคกี้ มาร์เซียโน่ นักมวยผิวขาวที่ได้ชื่อว่าเป็นแชมป์โลกคนเดียวจนถึงปัจจุบันนี้ ที่ไม่เคยแพ้ใครจนกระทั่งแขวนนวม, โจ หลุยส์ นักมวยผู้ทำสถิติการชกป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกได้มากครั้งที่สุดในโลก, มูฮัมหมัด อาลี นักมวยผู้ได้เหรียญทองกีฬาโอลิมปิกและเป็นแชมป์โลกถึง 3 ครั้ง ผู้เป็นตำนาน, จอร์จ โฟร์แมน, โจ ฟราเซียร์ ผู้เป็นคู่ปรับคนสำคัญของอาลี, ไมค์ ไทสัน แชมป์โลก 3 สถาบันคนแรกของรุ่นนี้ ผู้สร้างความตื่นตัวของรุ่นในทศวรรษที่ 80, อีแวนเดอร์ โฮลีฟิลด์ อดีตนักมวยสากลสมัครเล่นเหรียญทองแดงในกีฬาโอลิมปิก ตลอดจน วิตาลี คลิทช์โก และวลาดิเมียร์ คลิทช์โก นักมวยผิวขาวสองพี่น้องชาวยูเครน รูปร่างสูงใหญ่ ผู้ซึ่งเป็นแชมป์โลกและยังคงชกเคลื่อนไหวอยู่ในปัจจุบัน แต่สำหรับมวยสากลสมัครเล่น พิกัดเฮฟวี่เวทนี้ ยังไม่ถือว่าเป็นรุ่นที่ใหญ่ที่สุด หากแต่ยังมีรุ่น ซูเปอร์เฮฟวี่เวท ที่ใหญ่กว่านี้ กล่าวคือ น้ำหนักมากกว่า 201 ปอนด์ขึ้นไป.

มิดเดิลเวทและเฮฟวี่เวท · สมาคมมวยโลกและเฮฟวี่เวท · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มิดเดิลเวทและสมาคมมวยโลก

มิดเดิลเวท มี 28 ความสัมพันธ์ขณะที่ สมาคมมวยโลก มี 77 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 5.71% = 6 / (28 + 77)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มิดเดิลเวทและสมาคมมวยโลก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »