โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มาร์กาเรต แทตเชอร์และเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มาร์กาเรต แทตเชอร์และเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์

มาร์กาเรต แทตเชอร์ vs. เศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์

มาร์กาเรต ฮิลดา แทตเชอร์ (Margaret Thatcher) หรือยศขุนนางอังกฤษคือ บารอเนสแทตเชอร์ (ชื่อเดิม มาร์กาเรต ฮิลดา โรเบิตส์; 13 ตุลาคม พ.ศ. 24688 เมษายน พ.ศ. 2556) นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2533 และเป็นผู้นำพรรคอนุรักษนิยมตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ถึงปี พ.ศ. 2533 โดยเป็นผู้หญิงคนแรก ที่ดำรงทั้งสองตำแหน่งพร้อมกันในประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักร บารอนเนสแทตเชอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรเป็นเวลายาวนานที่สุดนับตั้งแต่สมัยของลอร์ดซอลส์เบอรี และอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันยาวนานที่สุดนับตั้งแต่สมัยของลอร์ดลิเวอร์พูล นายกรัฐมนตรีในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นสตรีคนแรกที่นำพรรคการเมืองเสียงข้างมากของสหราชอาณาจักร และเป็นสตรีคนแรกของเพียงสามคนที่ได้ดำรงหนึ่งในสี่ตำแหน่งสำคัญของประเทศ หลังจากการเกษียณตัวเองจากการเมืองในปี.. รษฐศาสตร์สำนักเคนส์ (Keynesian Economics) คือทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ที่มีพื้นฐานจากความคิดของจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ทฤษฎีนี้กล่าวว่าภาครัฐสามารถรักษาอัตราเจริญเติบโตและความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ในเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งทั้งภาครัฐและภาคเอกชนล้วนมีบทบาทที่สำคัญ เศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์เกิดขึ้นจากการหาคำตอบให้กับปัญหาความล้มเหลวของตลาดเสรี ซึ่งกล่าวว่าตลาดและภาคเอกชนจะดำเนินการได้ดีกว่าหากภาครัฐไม่เข้ามาแทรกแซง ทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ปรากฏครั้งแรกใน The General Theory of Employment, Interest and Money ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1936 ในทฤษฎีของเคนส์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับจุลภาคของบุคคลหรือบริษัทอาจรวมกันออกมาเป็นผลในระดับมหภาคที่ต่ำกว่ากำลังการผลิตที่แท้จริง นักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก ส่วนมากเชื่อใน กฎของเซย์ ซึ่งกล่าวว่าอุปทานสร้างอุปสงค์ ดังนั้นจะไม่มีทางเกิดภาวะสินค้าล้นตลาด แต่เคนส์แย้งว่า อุปสงค์รวม อาจจะมีไม่เพียงพอในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ จึงนำไปสู่อัตราการว่างงานที่สูงและการสูญเสียผลผลิต นโยบายของภาครัฐสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการเพิ่มอุปสงค์รวม ซึ่งเป็นการเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ลดการว่างงาน และช่วยแก้ภาวะเงินฝืด ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคของเคนส์นั้นเป็นผลสะท้อนจากการปัญหาการว่างงานอย่างรุนแรงในประเทศอังกฤษในทศวรรษที่ 1920 และ สหรัฐอเมริกาในทศวรรษที่ 1930 เคนส์เสนอวิธีการแก้ไขภาวะเศรษฐกิจตกต่ำโดยการกระตุ้น (จูงใจให้ลงทุน) ผ่านการใช้สองวิธีรวมกัน คือ การลดอัตราดอกเบี้ย และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นการอัดฉีดรายได้และส่งผลให้มีการใช้จ่ายมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะกระตุ้นให้มีการผลิตและการลงทุนมากขึ้น จนทำให้เกิดรายได้และการใช้จ่ายมากขึ้น และส่งผลวนเวียนต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จึงทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั้งหมดมีค่าหลายเท่าของการลงทุนครั้งแรก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มาร์กาเรต แทตเชอร์และเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์

มาร์กาเรต แทตเชอร์และเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มาร์กาเรต แทตเชอร์และเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์

มาร์กาเรต แทตเชอร์ มี 41 ความสัมพันธ์ขณะที่ เศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ มี 5 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (41 + 5)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มาร์กาเรต แทตเชอร์และเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »