ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มัสยิดซิวเลย์มานีเยและสุลัยมานผู้เกรียงไกร
มัสยิดซิวเลย์มานีเยและสุลัยมานผู้เกรียงไกร มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มัสยิดอิสตันบูลจักรวรรดิออตโตมันจักรวรรดิไบแซนไทน์ซินานประเทศตุรกีโดมแห่งศิลา
มัสยิด
มืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น มัสยิด (مسجد มัสญิด) หรือ สุเหร่า (Surau) เป็นศาสนสถานของชาวมุสลิม คำว่า มัสญิด เป็นคำภาษาอาหรับแปลว่า สถานที่กราบ ชาวมุสลิมในแต่ละชุมชนจะสร้างมัสยิดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา อันได้แก่การนมาซ และการวิงวอน การปลีกตนเพื่อบำเพ็ญตบะ หาความสันโดษ (อิอฺติกาฟ และ คอลวะหฺ) นอกจากนี้มัสยิดยังเป็นโรงเรียนสอนอัลกุรอาน และศาสนา สถานที่ชุมนุมพบปะ ประชุม เฉลิมฉลอง ทำบุญเลี้ยง สถานที่ทำพิธีสมรส และสถานที่พักพิงของผู้สัญจรผู้ไร้ที่พำนัก โดยที่จะต้องรักษามารยาทของมัสยิด เช่นการไม่คละเคล้าระหว่างเพศชายและหญิง การกระทำที่ขัดกับบทบัญญัติห้ามของอิสลาม (ฮะรอม) ทั้งมวล.
มัสยิดและมัสยิดซิวเลย์มานีเย · มัสยิดและสุลัยมานผู้เกรียงไกร ·
อิสตันบูล
อิสตันบูล (ตุรกี: İstanbul) เดิมชื่อ คอนสแตนติโนเปิล เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศตุรกี ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบบอสฟอรัส ซึ่งทำให้อิสตันบูลเป็นเมืองสำคัญเพียงเมืองเดียวในโลก ที่ตั้งอยู่ใน 2 ทวีป คือ ทวีปยุโรป (ฝั่ง Thrace ของบอสฟอรัส) และทวีปเอเชีย (ฝั่งอานาโตเลีย) ข้อมูลปี 2007 จังหวัดอิสตันบูลมีประชากรประมาณ 11,372,613 คน ในอดีต อิสตันบูลเป็นเมืองสำคัญของชนเผ่าจำนวนมากในบริเวณนั้น จึงส่งผลให้อิสตันบูลมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น ไบแซนไทน์, คอนสแตนติโนเปิล, สแตมโบล, อิสลามบูลเป็นต้น คำว่า อิสตันบูล มาจากภาษากรีก แปลว่า "ในเมือง" หรือ "ของเมือง".
มัสยิดซิวเลย์มานีเยและอิสตันบูล · สุลัยมานผู้เกรียงไกรและอิสตันบูล ·
จักรวรรดิออตโตมัน
ักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire, Osmanlı İmparatorluğu, โอสมานลือ อิมพาราโทรลู) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม จักรวรรดิออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก.
จักรวรรดิออตโตมันและมัสยิดซิวเลย์มานีเย · จักรวรรดิออตโตมันและสุลัยมานผู้เกรียงไกร ·
จักรวรรดิไบแซนไทน์
ักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน..
จักรวรรดิไบแซนไทน์และมัสยิดซิวเลย์มานีเย · จักรวรรดิไบแซนไทน์และสุลัยมานผู้เกรียงไกร ·
ซินาน
ซินาน หรือมีชื่อเต็มว่า โคกา มิมาร์ ซินาน อากา (Koca Mimar Sinan Agha - Ḳoca Mi‘mār Sinān Āġā (Ottoman Turkish: قوجه معمار سنان آغا) อีกชื่อที่เรียกกันคือ มิมาร์ ซินาน (15 เมษายน, ค.ศ. 1489 - 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1588) เป็น สถาปนิกหลวง (Chief architect) แห่งจักรวรรดิออตโตมัน ในสมัยสุลต่านเซลิมที่ 1, สุลต่านเซลิมที่ 2 และสุลต่านมูราดที่สาม ผลงานชิ้นสำคัญที่สุดของเขาคือ มัสยิดเซลิมที่เมืองเอเดอร์เน แต่งานที่ทำให้เขามีชื่อเสียงที่สุดคือ คือ มัสยิดสุไลมานในเมืองอิสตันบูล ซินานยังนับได้ว่าเป็น วิศวกรแผ่นดินไหวคนแรกของโลกอีกด้วย มัสยิด เซลิมี (Selimiye Mosque) สร้างโดย ซินาน ในปี ค.ศ. 1575 ที่เมืองเออร์ดี ประเทศ ตุรกี ภาพ ซินาน ใน ธนบัตรแบบเก่าของตุรกี มิมาร์เป็นชาวคริสต์โดยกำเนิด มาจากครอบครัวในอานาโตเลียที่เมืองเล็กๆ ชื่อ อากีร์นา(Ağırnas) ใกล้กับเมือง กีเซอรี (Kayseri) สันนิษฐานว่าครอบครัวมีสายเลือดกรีก หรืออาร์มีเนีย ในปี ค.ศ.1511 เขาได้ถูกครอบครัวส่งตัวมาตามธรรมเนียมการส่งลูกชายคนหัวปีเพื่อให้ไป รับใช้ในอาณาจักรผู้ปกครอง ให้มาใช้แรงงานใน อาณาจักรอ๊อตโตมาน ที่เมืองอิสตันบูล โดย ณ ที่นี้ เขาได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม มิมาร์ได้มีโอกาสรับใช้ขุนนางผู้ใหญ่ปาร์กาลิ อิบราฮิม ปาชาผู้เป็นมหาเสนาบดี (Grand Vizier İbrahim Paşa) และได้ถูกสนับสนันให้เล่าเรียนในสังกัดของขุนนางผู้นี้ และได้รับการตั้งชืออิสลามว่า "ซินาน" หลังจากนั้นเขาก็ได้รับการเล่าเรียนเกี่ยวกับการก่อสร้าง สามปีผ่านไปก็มีฝีมือแกร่งกล้าขึ้น จนได้เข้าร่วมกับกองทัพของสุลต่าน เซลิม ที่หนึ่ง ในช่วงแผนขยายดินแดนของอาณาจักร ซินานได้รับราชการทหารทำงานในกองวิศวกรรม (engineering corps) เมื่อครั้งอาณาจักรออตโตมัน เข้ายึดกรุงไคโรได้เป็นผลสำเร็จ ซินานได้รับการเลื่อนขั้นให้เป็นสถาปนิกเอก โดยรับหน้าที่รื้อถอนอาคารที่ไม่ตรงกับผังเมือง เขายังได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้บัญชาการกองพันทหารราบ (commander of an infantry division) แต่เขาก็ขอย้ายตัวเองไปอยู่กองสรรพาวุธแทน ในครั้งที่มีการทำสงครามกับอาณาจักรเปอร์เซีย ในปี 1535 ซินานรับผิดชอบในการสร้างกองเรือ ข้ามทะเลสาบ แวน เนื่องด้วยความชอบดังกล่าว ทำให้เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นราชองครักษ์ (Haseki'i หรือ Sergeant-at-Arms) ในองค์สุลต่าน ซึ่งเป็น ยศที่สูงมาก งานสถาปัตยกรรมชิ้นแรกของ ซินาน คือ มัสยิด เซเซด (Şehzade Mosque) สร้างในปี ค.ศ.1548 เขาได้ทำการก่อสร้าง มัสยิดสุไลมาน (Süleymaniye Mosque) ในปี ค.ศ.1550 สร้างเสร็จในปี ค.ศ.1557. ก่อนหน้านี้ ไม่มีอาคารมัสยิดแห่งใด้ที่สร้างด้วยหลังคา Dome on Pendentives โดยใช้หลักการเดียวกับ มัสยิด เฮเจีย โซเฟีย (Hagia Sophia)มาก่อน ซินานได้เขียน ประวัติชีวิตของตัวเอง ชื่อ “Tezkiretü’l Bünyan”, โดยได้กล่าวถึงงาน ส่วนตัว เกี่ยวกับ มัสยิดเซลิมี โดยมีส่วนหนึ่งในหนังสือ บันทึกไว้ว่า เมื่อครั้งหนึ่ง ซินานได้มีโอกาสพบปะกับสถาปนิกชาวคริสเตียน สถาปนิกคนนี้ได้กล่าวเยาะเย้ยซินานว่า "ท่านไม่มีทางที่จะสร้างโดมที่ใหญ่กว่าโดมของเฮเจีย โซเฟียได้ โดยเฉพาะในฐานะที่ท่านเป็นมุสลิม" คำพูดประโยคนั้น เป็นสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้ซินานสร้างมัสยิด เซลิมี ขึ้นมา และเมื่อโครงการสำเร็จลง ซินานได้บันทึกไว้ว่า มัสยิดเซลิมี มีโดมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทิ้ง เฮเจีย โซเฟียไปมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความสูงจากระดับพื้นของ มัสยิดเซลิมี นั้นไม่ได้สูงเท่า เฮเจีย โซเฟีย และ เส้นผ่าศูนย์กลางของโดมก็ใหญ่กว่าเพียงครึ่งเมตร (เทียบกับโดมที่อายุเก่าแก่กว่าถึงพันปีอย่าง เฮเจีย โซเฟีย) อย่างไรก็ตาม หากนับจากฐานของมัสยิดแล้ว เซลิมี ก็มีความสูงมากกว่า และมีคุณสมบัติของความเสถียรมากกว่า และมีการใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างที่มีความเรียบง่ายมากกว่า ในขณะที่ มัสยิดเซลิมี เสร็จลงนั้น ซินานมีอายุ 80 ปี ซินาน เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1588 ศพของเขาได้รับการฝังไว้ใน หลุมศพนอกกำแพงของ มัสยิดสุไลมาน (Süleymaniye Mosque) ในส่วนพื้นที่ทางเหนือ ตรงข้ามกับถนนชื่อ มิมาร์ ซินาน คาเดซิ (Mimar Sinan Caddesi) ซึ่งได้รับการตั้งชื่อให้เป็นเกียรติกับเขา นอกจากนี้ชื่อของเขายังได้รับการนำไปตั้งกับแอ่งบนดาวพุธ (crater on Mercury) อีกด้วย หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2032 หมวดหมู่:สถาปนิกชาวตุรกี หมวดหมู่:สถาปนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 16 หมวดหมู่:วิศวกรชาวตุรกี หมวดหมู่:ชาวตุรกี.
ซินานและมัสยิดซิวเลย์มานีเย · ซินานและสุลัยมานผู้เกรียงไกร ·
ประเทศตุรกี
ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..
ประเทศตุรกีและมัสยิดซิวเลย์มานีเย · ประเทศตุรกีและสุลัยมานผู้เกรียงไกร ·
โดมแห่งศิลา
quote.
มัสยิดซิวเลย์มานีเยและโดมแห่งศิลา · สุลัยมานผู้เกรียงไกรและโดมแห่งศิลา ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ มัสยิดซิวเลย์มานีเยและสุลัยมานผู้เกรียงไกร มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง มัสยิดซิวเลย์มานีเยและสุลัยมานผู้เกรียงไกร
การเปรียบเทียบระหว่าง มัสยิดซิวเลย์มานีเยและสุลัยมานผู้เกรียงไกร
มัสยิดซิวเลย์มานีเย มี 13 ความสัมพันธ์ขณะที่ สุลัยมานผู้เกรียงไกร มี 186 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 3.52% = 7 / (13 + 186)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มัสยิดซิวเลย์มานีเยและสุลัยมานผู้เกรียงไกร หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: