โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มังกรทะเลและมังกรทะเลใบไม้

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มังกรทะเลและมังกรทะเลใบไม้

มังกรทะเล vs. มังกรทะเลใบไม้

มังกรทะเล (Sea dragon) ปลากระดูกแข็งในสกุล Phyllopteryx ในวงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ (Syngnathidae) จัดเป็นปลาเฉพาะถิ่นที่พบได้ในท้องทะเลในประเทศออสเตรเลียเท่านั้น โดยจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับปลาจิ้มฟันจระเข้ (Syngnathinae) เดิมเคยเชื่อว่ามีเพียงชนิดเดียว แต่ในปี.. มังกรทะเลใบไม้ (Leafy seadragon) เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phycodurus eques อยู่ในวงศ์ Syngnathidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกันกับม้าน้ำ โดยถือเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Phycodurus พบทางตอนใต้และตะวันตกของทวีปออสเตรเลีย ถือเป็นปลาเฉพาะถิ่น มักอาศัยอยู่ในกระแสน้ำอุ่นในความลึกตั้งแต่ 3-50 เมตร มีจุดเด่นตรงที่มีครีบต่าง ๆ ลักษณะคล้ายใบไม้หรือสาหร่ายทะเล ทำให้ได้ชื่อว่าเป็นปลาที่มีความสวยงามที่สุดในโลก ซึ่งครีบเหล่านี้ไม่ได้มีไว้ว่ายน้ำแต่ใช้สำหรับอำพรางตัวจากศัตรูและยังใช้หาอาหารอีกด้วย มังกรทะเลใบไม้ใช้ครีบอกในการว่ายน้ำ ซึ่งครีบอกนั้นมีลักษณะใสโปร่งแสง และมองเห็นได้ยากมากเมื่อเวลาปลาเคลื่อนไหว ทำให้มังกรทะเลใบไม้ดูแลยากเมื่อแฝงตัวไปในหมู่สาหร่ายทะเล มีปากที่เหมือนท่อยื่นยาวออกมา ตอนปลายมีที่เปิด กินอาหารจำพวกแพลงก์ตอน, กุ้งและครัสเทเชียนขนาดเล็ก ๆ มีความยาวเต็มที่ได้ประมาณ 35 เซนติเมตร การผสมพันธุ์และวางไข่ เนื่องจากมังกรทะเลใบไม้ไม่มีถุงหน้าท้องเหมือนม้าน้ำ แต่ตัวเมียมีไข่ติดอยู่กับใกล้ส่วนหางซึ่งเต็มไปด้วยเส้นเลือดที่มีอยู่มากมายซึ่งพัฒนาขึ้นมาเฉพาะตัวผู้ในช่วงผสมพันธุ์เท่านั้น เมื่อผสมพันธุ์กันตัวเมียจะวางไข่บริเวณหางของตัวผู้ซึ่งจะม้วนงอเข้า ปริมาณไข่ราว 100-200 ฟอง หรือเต็มที่ 250 ฟอง ซึ่งช่วงการผสมพันธุ์วางไข่นั้นจะอยู่ระหว่างเดือนสิงหาคม-มีนาคม ของปีถัดไป ไข่ที่ยึดติดกับส่วนหางของตัวผู้จะได้รับออกซิเจนจากเส้นเลือดของหาง โดยใช้เวลาฟักเป็นตัวราว 4-6 สัปดาห์ เมื่อฟักออกเป็นตัวแล้วปลาตัวผู้จะไม่ดูแลไข่ โดยตัวอ่อนจะใช้เวลาประมาณหนึ่งปีที่จะโตเต็มจนถึงขนาด 20 เซนติเมตร และใช้เวลา 2 ปี ที่จะโตเต็มที่ เมื่อยังเป็นวัยอ่อนลำตัวจะใส ไม่มีสี มีอายุขัยประมาณ 6 ปี แต่ก็มีบางตัวที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาพบว่ามีอายุมากถึง 9 ปี นอกจากนี้แล้วผู้ที่ศึกษามังกรทะเลใบไม้พบว่าตำหนิหรือสีแต้มต่าง ๆ ของแต่ละตัวจะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และสิ่งเหล่านี้ส่งผ่านกันได้ตามพันธุกรรมWeird Creatures with Nick Baker: Leafy Seadragon, สารคดีทางแอนนิมอลแพลนเนต ทางทรูวิชันส์: วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มังกรทะเลและมังกรทะเลใบไม้

มังกรทะเลและมังกรทะเลใบไม้ มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำปลาจิ้มฟันจระเข้ปลาที่มีก้านครีบ

วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ

วงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ (Seahorse, Pipefish) เป็นวงศ์ปลาวงศ์หนึ่ง ในอันดับ Syngnathiformes ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Syngnathidae (/ซีน-แนท-อิ-ดี/) เป็นปลากระดูกแข็ง มีรูปร่างประหลาดไปจากปลาในวงศ์อื่น ๆ ทั่วไป กล่าวคือ มีรูปร่างเรียวราวคล้ายกิ่งไม้ มีเกล็ดลำตัวแข็งดูคล้ายเกราะ ลำตัวแบ่งเป็นปล้อง ๆ หางยาว จำนวนปล้องนี้จะเท่ากับข้อกระดูกสันหลัง ตัวผู้จะเป็นผู้ที่ดูแลไข่โดยจะฟักไข่ไว้ในถุงหน้าท้องหลังจากไข่จากตัวเมียได้รับการปฏิสนธิแล้ว จนกว่าไข่จะฟักเป็นลูกปลาขนาดเล็ก ดวงตามีขนาดเล็ก ไม่มีฟันและขากรรไกร ครีบทุกครีบมีขนาดเล็ก ไม่มีครีบท้องและครีบก้น ครีบหลังมีเฉพาะก้านครีบแขนง ไม่มีก้านครีบแข็ง ด้วยลักษณะทางสรีระเช่นนี้จึงทำให้ว่ายน้ำได้ช้า ๆ ปากยาวเป็นท่อ หากินโดยการดูดอาหาร จำพวก แพลงก์ตอนสัตว์และสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล โดยมากจะพบในทะเลมากกว่า มีพบในน้ำจืดและน้ำกร่อย ไม่กี่ชนิด แบ่งออกเป็น 2 วงศ์ย่อย คือ วงศ์ Hippocampinae มี 2 สกุล หรือ ม้าน้ำ กับ Syngnathinae หรือ ปลาจิ้มฟันจระเข้ มี 52 สกุล โดยพบทั้งหมดประมาณ 215 ชนิด ใน 2 วงศ์ย่อยนี้ พบได้ทั่วโลก จัดเป็นปลาขนาดเล็ก ที่มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ยเต็มที่ไม่เกิน 30 เซนติเมตร ประกอบกับรูปร่างที่แปลก จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ในตู้ปลาส่วนตัว หรือในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ อีกทั้งยังมีการนำไปปรุงเป็นยาสมุนไพรตามตำรับยาจีนอีกด้ว.

มังกรทะเลและวงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ · มังกรทะเลใบไม้และวงศ์ปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

มังกรทะเลและสัตว์ · มังกรทะเลใบไม้และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

มังกรทะเลและสัตว์มีแกนสันหลัง · มังกรทะเลใบไม้และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

มังกรทะเลและสปีชีส์ · มังกรทะเลใบไม้และสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ

อันดับปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ เป็นอันดับปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Syngnathiformes ปลาในอันดับนี้มีรูปร่างประหลาดไปกว่าปลาในอันดับอื่น ๆ กล่าวคือ มีรูปร่างที่เรียวยาวเหมือนหลอดหรือกิ่งไม้ เป็นปลาขนาดเล็ก ในปากไม่มีฟัน ไม่มีขากรรไกร แต่จะมีลักษณะคล้ายท่อดูด ไว้สำหรับดูดอาหารจำพวก แพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็กหรือสัตว์น้ำขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ มีขนาดโดยเฉลี่ยเต็มที่ไม่เกิน 30 เซนติเมตร พบได้ทั้งในน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล ซึ่งคำว่า "Syngnathiformes" นั้นมาจากภาษากรีก แปลว่า "ติดกับขากรรไกร" โดยมาจากภาษากรีกโบราณ คำว่า συν แปลว่า ด้วยกัน กับ γνάθος แปลว่า ขากรรไกร และ "formes" มาจากภาษาลาตินที่หมายถึง "รูปแบบที่คล้ายคลึงกัน".

มังกรทะเลและอันดับปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ · มังกรทะเลใบไม้และอันดับปลาจิ้มฟันจระเข้และม้าน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาจิ้มฟันจระเข้

ปลาจิ้มฟันจระเข้ (Pipefish) คือ ปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ย่อย Syngnathinae ในวงศ์ Syngnathidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับม้าน้ำและมังกรทะเล ปลาจิ้มฟันจระเข้ มีลักษณะและพฤติกรรมโดยรวมคล้ายกับปลาชนิดอื่นและสกุลอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน กล่าวคือ มีปากที่ยื่นเป็นท่อ ลำตัวหน้าตัดเป็นเหลี่ยม แต่ยาวเรียวมากดูคล้ายกิ่งไม้ ผิวหนังเป็นแผ่นแข็งเรียงต่อกันเป็นเหลี่ยมเป็นข้อ ครีบต่าง ๆ มีขนาดเล็ก ไม่มีครีบท้อง ตัวผู้ทำหน้าที่ฟักไข่โดยเก็บไว้บริเวณหน้าท้อง ลำตัวมักมีสีน้ำตาล อาจมีลายสีเข้มพาดขวางในบางชนิด หากแต่ปลาจิ้มฟันจระเข้ จะพบได้แม้ในน้ำจืดและน้ำกร่อยด้วย ซึ่งผิดไปจากปลาในวงศ์เดียวกันนี้ส่วนใหญ่ มีขนาดแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตรจนถึงฟุตกว่า ๆ ในชนิด ปลาจิ้มฟันจระเข้ยักษ์ (Doryichthys boaja) ที่พบในน้ำจืด เป็นต้น มีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการนำไปทำเป็นยาจีนเช่นเดียวกับม้าน้ำ และนิยมเลี้ยงไว้ในตู้ปลาเพื่อความเพลิดเพลิน อีกทั้งยังเป็นที่นิยมของนักดำน้ำอีกด้วย ในการถ่ายภาพใต้น้ำในแนวปะการัง เช่น ปลาจิ้มฟันจระเข้ลายด่าง (Corythoichthys haematopterus)เป็นต้น.

ปลาจิ้มฟันจระเข้และมังกรทะเล · ปลาจิ้มฟันจระเข้และมังกรทะเลใบไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ปลาที่มีก้านครีบและมังกรทะเล · ปลาที่มีก้านครีบและมังกรทะเลใบไม้ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มังกรทะเลและมังกรทะเลใบไม้

มังกรทะเล มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ มังกรทะเลใบไม้ มี 40 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 14.29% = 7 / (9 + 40)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มังกรทะเลและมังกรทะเลใบไม้ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »