โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มังกร (มิดเดิลเอิร์ธ)และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มังกร (มิดเดิลเอิร์ธ)และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

มังกร (มิดเดิลเอิร์ธ) vs. เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

มังกร (dragon) เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทหนึ่งในจินตนิยายชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งสร้างขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อเรื่องมังกรในตำนานของยุโรป ตามปกรณัมของโทลคีน เผ่าพันธุ์มังกรถูกสร้างขึ้นโดยเทพอสูรมอร์กอธ ในยุคที่หนึ่งของอาร์ดา มังกรตัวแรกที่ปรากฏตัวออกมามีชื่อว่า เกลารุง (Glaurung) ในหนังสือตำนานบุตรแห่งฮูริน กล่าวถึงมังกรว่า เป็นจิตวิญญาณที่ทรงพลังอำนาจ จึงเป็นไปได้ว่า มังกรก็เป็นเหล่าเทพไมอาร์จำนวนหนึ่งที่แปรพักตร์ไปรับใช้มอร์กอ. . อาร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มังกร (มิดเดิลเอิร์ธ)และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

มังกร (มิดเดิลเอิร์ธ)และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภาษาเควนยามิดเดิลเอิร์ธอาร์ดาฮอบบิท (หนังสือ)ทูริน ทูรัมบาร์คนแคระ (มิดเดิลเอิร์ธ)ตำนานบุตรแห่งฮูรินเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

ภาษาเควนยา

ษาเควนยา (Quenya) เป็นภาษาหนึ่งซึ่ง เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ประดิษฐ์ขึ้น และใช้ในนวนิยายของเขา คือในโลกมิดเดิลเอิร์ธ โดยเป็นภาษาของเอลฟ์ หรือชาวเควนดิ ซึ่งเป็นบุตรของมหาเทพอิลูวาทาร์ ภาษาเควนยานับได้ว่าเป็นภาษาแรกๆ ที่โทลคีนประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากภาษาฟินแลนด์ ซึ่งเป็นภาษาที่โทลคีนชอบมาก เขาศึกษาภาษาฟินนิชด้วยตัวเองเพราะต้องการจะอ่านมหากาพย์ คาเลวาลา ในต้นฉบับฟินนิช อันเป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง "โลกอาร์ดา" ของเขาในเวลาต่อมา โทลคีนสร้างตัวอักษรสำหรับภาษาเควนยา สร้างไวยากรณ์สำหรับภาษาเควนยา หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และโทลคีนได้กลับมาทำงานที่อ๊อกซฟอร์ดอีกครั้ง เขาได้ปรับปรุงแก้ไขภาษาเควนยาอย่างจริงจัง โดยใช้ภาษานี้ในการเขียนบันทึกประจำวัน แต่เนื่องจากโครงสร้างภาษายังไม่แน่นอน มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ภายหลังโทลคีนเองก็สับสนและเลิกเขียนบันทึกด้วยวิธีนี้ เพราะลืมไปแล้วว่าขณะที่เขียนบันทึก เขาใช้โครงสร้างไวยากรณ์แบบไหน ช่วงแรกโทลคีนเรียกภาษานี้ว่า Qenya การสร้างภาษาเควนยา เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญจุดหนึ่ง (แม้จะมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบอีก) ที่ทำให้โทลคีนบังเกิดความคิดให้มีผู้คนที่ใช้ภาษานี้ขึ้นมาจริงๆ อันเป็นที่มาของเหล่าเอลฟ์ ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ตลอดช่วงชีวิตของโทลคีน เขาได้แก้ไขปรับปรุงโครงสร้างภาษานี้ จนกระทั่งมันสามารถใช้งานได้จริง สมบูรณ์ยิ่งกว่าภาษาประดิษฐ์อื่นๆ ของโทลคีน.

ภาษาเควนยาและมังกร (มิดเดิลเอิร์ธ) · ภาษาเควนยาและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

มิดเดิลเอิร์ธ

แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อันเป็นฉากหลังของเรื่องราวตำนานทั้งหลายในงานเขียนของโทลคีน ปกรณัมของโทลคีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมและครอบครองโลก (ในตำนานเรียกว่า "อาร์ดา") ซึ่งมีทวีปหลักชื่อว่า "มิดเดิลเอิร์ธ" เป็นที่อยู่อาศัยของพวก 'มรรตัยชน' (คือมนุษย์ที่รู้ตาย) เป็นสถานที่ตรงข้ามกับ "อามัน" หรือ 'แดนอมตะ' อันเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกวาลาร์ กับพวกเอลฟ์ คำนี้มีรากมาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า middel-erde ซึ่งพัฒนามาจากคำในภาษาอังกฤษเก่าว่า middangeard แก่นสำคัญของงานเขียนของโทลคีนคือเรื่องของการช่วงชิง ควบคุม และครอบครองอำนาจหรือของวิเศษ ทำให้เกิดสงครามขึ้นบนมิดเดิลเอิร์ธหลายครั้งหลายหน คือสงครามระหว่างเหล่าเทพวาลาร์ เอลฟ์ และพันธมิตรชาวมนุษย์ฝ่ายหนึ่ง กับเทพอสูรเมลคอร์กับบริวาร ได้แก่พวกออร์ค มังกร และมนุษย์ที่เป็นทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในตำนานยุคหลัง เมื่อเมลคอร์สิ้นอำนาจและถูกขับไล่ออกไปจากอาร์ดาแล้ว บทบาทการช่วงชิงนี้ก็ตกไปอยู่กับเซารอน สมุนเอกของเขา เหล่าเทพวาลาร์ได้ยุติบทบาทของตนลงหลังจากที่เมลคอร์สิ้นอำนาจ เพราะการสงครามระหว่างพวกพระองค์ครั้งนั้นได้ทำให้โลกพินาศเสียหายไปมาก อย่างไรก็ดีพวกพระองค์ก็ยังส่ง อิสตาริ หรือเหล่าพ่อมด เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการต่อต้านอำนาจของเซารอน อิสตาริที่มีบทบาทมากคือ แกนดัล์ฟพ่อมดเทา และซารูมานพ่อมดขาว แกนดัล์ฟได้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี โดยได้ช่วยเหลือชาวมิดเดิลเอิร์ธอย่างถึงที่สุดเพื่อโค่นอำนาจเซารอนลงให้ได้ แต่ซารูมานกลับพ่ายแพ้ต่อความคิดฉ้อฉลแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ ช่วงชิงอำนาจบนมิดเดิลเอิร์ธแข่งกับเซารอนเสียเอง สำหรับพลเมืองชาวมิดเดิลเอิร์ธพวกอื่นๆ ได้แก่ คนแคระ เอนท์ และฮอบบิท อันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในการสร้างสรรค์งานของโทลคีน เขาได้จัดทำแผนที่ของมิดเดิลเอิร์ธขึ้นเป็นจำนวนมาก แสดงถึงดินแดนและสถานที่ต่างๆ ที่ตำนานของเขาเอ่ยถึง แผนที่บางส่วนได้รับการตีพิมพ์ในช่วงชีวิตของเขา แต่ก็ยังมีแผนที่อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ตีพิมพ์เลยจนกระทั่งเขาเสียชีวิตไปแล้ว แผนที่ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในยุคที่หนึ่งเกิดขึ้นบนดินแดนที่เรียกชื่อว่า เบเลริอันด์ ดินแดนนี้ต่อมาได้จมลงสู่ทะเลหลังสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเทพวาลาร์กับเมลคอร์ คงเหลือแต่เทือกเขาสีน้ำเงินที่ปรากฏอยู่ทางขวาสุดของแผนที่ เป็นจุดเชื่อมต่อเดียวกันกับเทือกเขาสีน้ำเงินที่อยู่ทางด้านซ้ายสุดของแผนที่ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ดินแดนทางด้านตะวันออกของเทือกเขาสีน้ำเงินเป็นที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่สองและสาม โทลคีนบอกว่ามิดเดิ้ลเอิร์ธนั้นคือโลกของเรา เพียงแต่เป็นช่วงเวลาในอดีต โดยประมาณว่าปลายยุคที่สามคือช่วงระยะประมาณ 6,000 ปีก่อนยุคของโทลคีน เขายังบรรยายเขตแดนที่ฮอบบิทอาศัยว่าอยู่ที่ "ตะวันตกเฉียงเหนือของโลกเก่า ทางตะวันออกของทะเลใหญ่",เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์, บทนำ, หน้า 2 ซึ่งอ้างอิงถึงอังกฤษและเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปอย่างชัดเจน ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน ถูกแบ่งออกเป็นหลายยุค เรื่องราวที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และเรื่องราวใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เกิดขึ้นในราวปลายยุคที่สาม และนำไปสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่สี่ ในขณะที่เรื่องราวใน ซิลมาริลลิออน ซึ่งเป็นงานเขียนของโทลคีนเกี่ยวกับมิดเดิลเอิร์ธที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ยุคสร้างโลกและยุคที่หนึ่งเป็นส่วนใหญ.

มังกร (มิดเดิลเอิร์ธ)และมิดเดิลเอิร์ธ · มิดเดิลเอิร์ธและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ดา

อาร์ดา (Arda) เป็นชื่อดินแดนในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งใช้ในความหมายแทนโลกของเราทั้งหมด อาร์ดาประกอบด้วยทวีปใหญ่ๆ ที่สำคัญคือ มิดเดิลเอิร์ธ อามัน และ กาฬทวีป มีมหาสมุทรหลายแห่ง ที่สำคัญคือ มหาสาคร (The Great Sea) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เบเลกายร์ ในทะเลเบเลกายร์นี้เคยมีเกาะนูเมนอร์ ซึ่งล่มจมสมุทรไปตั้งแต่ยุคที่สองของอาร์ดา ดินแดนส่วนอื่นๆ ในอาร์ดามิได้ถูกเอ่ยถึง ตามปกรณัมของโทลคีน อาร์ดาเป็นส่วนหนึ่งของ เออา (Ea) คือจักรวาลแห่งพิภพที่มหาเทพอิลูวาทาร์สร้างขึ้นในสุญญภูมิ ด้วยการบรรเลงบทเพลงมหาคีตา ซึ่งมีจิตวิญญาณแรกเริ่ม (หรือไอนัวร์) ช่วยในการสร้างด้วย การสร้างครั้งนั้นเรียกว่า มหาคีตาแห่งไอนัวร์ เมื่อเออาถือกำเนิดขึ้น ไอนัวร์บางส่วนได้ลงมาอยู่ในโลกนี้เพื่อปกปักรักษาและตระเตรียมสถานที่ไว้ให้พร้อมสำหรับบุตรแห่งอิลูวาทาร์ ไอนัวร์ที่ลงมายังอาร์ดา พวกที่มีพลังอำนาจสูง เรียกว่า วาลาร์ ส่วนพวกที่มีฤทธิ์น้อยกว่า เรียกว่า ไมอาร์ ไอนัวร์เหล่านี้บางครั้งเรียกรวมๆ กันว่า ปวงเทพ โลกอาร์ดาแต่ดั้งเดิมเมื่อเริ่มสร้างนั้นเป็นแผ่นดินแบนๆ ที่ล้อมรอบด้วยทะเลวัฏฏะ (Encircling Sea) มีชื่อเรียกว่า เอคไคอา (Ekkaia) ข้างใต้เป็นโถงถ้ำมากมาย ข้างบนเป็นเขตห้วงเวหามีชื่อว่า อิลเมน แผ่นดินดั้งเดิมเป็นทวีปเดี่ยวตั้งอยู่ตรงกลาง มีทะเลสาบอยู่ใจกลางทวีป และมีเกาะอยู่กลางทะเลสาบนั้น ชื่อว่า เกาะอัลมาเรน เป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าวาลาร์และไมอาร์ เมื่อเกิดสงครามระหว่างปวงเทพขึ้น ทำให้แผ่นดินเกิดวินาศวอดวาย แตกเป็นทวีปต่างๆ พวกวาลาร์และไมอาร์จึงย้ายถิ่นฐานไปอาศัยอยู่บนทวีปอามัน ซึ่งอยู่ทางสุดตะวันตกของอาร์ดา ส่วนทวีปมิดเดิลเอิร์ธที่อยู่บริเวณกึ่งกลางอาร์ดา ได้กลายเป็นถิ่นฐานที่อาศัยของบรรดาบุตรแห่งอิลูวาทาร์ คือพวกเอลฟ์ และมนุษย์ มีมหาสาครหรือเบเลกายร์ กั้นกลางระหว่างสองทวีปนี้ ในช่วงปลายยุคที่สอง เมื่อมนุษย์ชาวนูเมนอร์เหิมเกริมจะบุกรุกทวีปอามันเพื่อช่วงชิงความเป็นอมตะ ปวงเทพจึงจมเกาะนูเมนอร์เสีย และย้ายทวีปอามันออกไปเสียจากโลก บันดาลให้โลกกลายเป็นโลกกลม แม้แล่นเรือไปทางตะวันตกจนสุดหล้า ก็จะหวนกลับมายังจุดตั้งต้นได้อีกครั้ง การจะไปถึงทวีปอามันได้ต้องเดินทางผ่านเส้นทางมุ่งตรง ซึ่งจะไปได้โดยพวกเอลฟ์เท่านั้น.

มังกร (มิดเดิลเอิร์ธ)และอาร์ดา · อาร์ดาและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ฮอบบิท (หนังสือ)

อะฮอบบิท (ชื่อภาษาอังกฤษ "The Hobbit" หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "There and Back Again") เป็นนิยายแฟนตาซีสำหรับเด็ก ประพันธ์โดยเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในลักษณะกึ่งเทพนิยาย โทลคีนเขียนเรื่องนี้ในราวช่วงปลายทศวรรษที่ 1920 โดยเริ่มแรกเขาเพียงใช้เล่าเป็นนิทานสนุกๆ ให้ลูกฟัง กับใช้เล่นคำในภาษาต่างๆ ที่เขาสนใจ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเก่า นิยายเรื่องนี้ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 21 กันยายน..

มังกร (มิดเดิลเอิร์ธ)และฮอบบิท (หนังสือ) · ฮอบบิท (หนังสือ)และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ทูริน ทูรัมบาร์

ทูริน ทูรัมบาร์ (Túrin Turambar) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในจินตนิยายชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏตัวครั้งแรกในหนังสือซิลมาริลลิออน และต่อมาได้เป็นตัวละครเอกในนิยายเรื่อง ตำนานบุตรแห่งฮูริน ทูรินเป็นตัวละครที่โทลคีนสร้างขึ้นในลักษณะ anti-hero แบบหนึ่ง คือเป็นวีรบุรุษในโศกนาฏกรรม เขาเป็นมนุษย์ ที่มีชีวิตอยู่ในยุคที่หนึ่งของอาร์ดา บิดาของทูรินคือ ฮูริน ประมุขของตระกูลฮาดอร์ เขาถูกมอร์กอธจับตัวไปได้หลังจากสงครามเนียร์นายธ์อาร์นอยดิอัด แต่ฮูรินไม่ยอมจำนนต่อมอร์กอธ ทำให้มอร์กอธสาปแช่งตระกูลของฮูรินทั้งตระกูลให้ประสบหายน.

ทูริน ทูรัมบาร์และมังกร (มิดเดิลเอิร์ธ) · ทูริน ทูรัมบาร์และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

คนแคระ (มิดเดิลเอิร์ธ)

นแคระ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างเล็กเตี้ย แต่ล่ำสันแข็งแรง ทรหดอดทน มีหนวดเครายาวเฟิ้ม เป็นชนเผ่าที่ชำนาญในการช่างมากที่สุด พวกเขาเป็นมิตรอย่างมากกับพวกฮอบบิท พวกคนแคระเรียกตัวเองว่า คาซัด อันเป็นชื่อที่เทพอาวเลตั้งให้กับพวกเขา แต่พวกเอลฟ์เรียกพวกเขาว่า เนากริม ซึ่งมีความหมายว่า ชนผู้ไม่เติบโตอีกต่อไป คนแคระมีบทบาทอยู่ในวรรณกรรมของโทลคีนหลายเรื่อง ได้แก่ เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ซิลมาริลลิออน ตำนานบุตรแห่งฮูริน รวมถึงงานเขียนอื่น ๆ ของคริสโตเฟอร์ โทลคีนด้วย คือ Unfinished Tales และ ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร.

คนแคระ (มิดเดิลเอิร์ธ)และมังกร (มิดเดิลเอิร์ธ) · คนแคระ (มิดเดิลเอิร์ธ)และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

ตำนานบุตรแห่งฮูริน

ตำนานบุตรแห่งฮูริน (The Children of Húrin) เป็นนวนิยายแฟนตาซีระดับสูงแบบมหากาพย์ที่บรรยายในลักษณะร้อยแก้ว ประพันธ์โดยเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ซึ่งได้เริ่มโครงเรื่องไว้ตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1910 และได้ปรับแก้เนื้อหาหลายต่อหลายครั้ง จนกระทั่งโทลคีนเสียชีวิตในปี..

ตำนานบุตรแห่งฮูรินและมังกร (มิดเดิลเอิร์ธ) · ตำนานบุตรแห่งฮูรินและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..

มังกร (มิดเดิลเอิร์ธ)และเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มังกร (มิดเดิลเอิร์ธ)และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

มังกร (มิดเดิลเอิร์ธ) มี 24 ความสัมพันธ์ขณะที่ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มี 175 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 4.02% = 8 / (24 + 175)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มังกร (มิดเดิลเอิร์ธ)และเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »