โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มัคท์แอร์ไกรฟุงและลัทธิมากซ์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มัคท์แอร์ไกรฟุงและลัทธิมากซ์

มัคท์แอร์ไกรฟุง vs. ลัทธิมากซ์

แผ่นกระดานชนวนระลึกถึงสมาชิกของไรชส์ทาค จำนวน 96 คน ซึ่งถูกกำจัดโดยพรรคนาซีหลังจากที่พรรคนาซีก้าวขึ้นสู่อำนาจในปี 1933 ณ กรุงเบอร์ลิน มัคท์แอร์ไกรฟุง (Machtergreifung) เป็นคำในภาษาเยอรมัน หมายความว่า "การยึดอำนาจ" คำคำนี้มักจะหมายถึง การขึ้นสู่อำนาจของพรรคนาซีในสาธารณรัฐไวมาร์ เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1933 ในตอนแรก คำว่า มัคท์แอร์ไกรฟุง เป็นคำที่พรรคนาซีกุขึ้นเองเพื่อพรรณนาถึงการขึ้นสู่อำนาจด้วยการใช้กำลัง (เหตุการณ์ดังกล่าวเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นาซิโยนาเลอแอร์เฮบุง (Nationale Erhebung) หรือ "กบฏแห่งชาติ" ตั้งแต่การขึ้นสู่อำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เป็นผลจากการใช้เล่ห์เหลี่ยมมากกว่าการปฏิวัติด้วยกำลัง นักประวัติศาสตร์จึงได้วิพากษ์วิจารณ์คำดังกล่าว และบางครั้งก็ได้เลี่ยงไปใช้คำว่า มัคท์อือเบอร์ทรากุง (Machtübertragung) หรือ "การกุมอำนาจ" และคำว่า มัคท์แอร์ชไลชุง (Machterschleichung) หรือ "การลอบกุมอำนาจ" แทน ส่วนอีกคำหนึ่งที่ใช้บรรยายถึงการขึ้นสู่อำนาจของพรรคนาซี คือ การปฏิวัติสีน้ำตาล หลังจากเหตุการณ์มัคท์แอร์ไกรฟุง ในปี ค.ศ. 1933 ได้เกิดเหตุการณ์ ไกลช์ชัลทุง ขึ้นตามมาในปี ค.ศ. 1934 ซึ่งเป็นการกำจัดศัตรูทางการเมืองซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามของพรรคนาซี ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มบุคคลผู้มีอิทธิพล อย่างเช่น สหภาพการค้าหรือพรรคการเมืองได้. ลัทธิมากซ์ (Marxism) หรือมักใช้ทับศัพท์ว่า มาร์กซิสต์ เป็นวิธีการวิเคราะห์สังคมและเศรษฐกิจซึ่งวิพากษ์ทุนนิยมผ่านกระบวนทัศน์การขูดรีด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นและความขัดแย้งทางสังคมโดยใช้การตีความพัฒนาการประวัติศาสตร์แบบวัสดุนิยม และทัศนะวิภาษวิธีการแปลงสังคม (social transformation) ถือกำเนิดจากนักปรัชญาชาวเยอรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 คาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์ ลัทธิมากซ์ใช้วิธีวิทยาที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์การพัฒนาของทุนนิยมและบทบาทของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจทั้งระบบ ตามทฤษฎีลัทธิมากซ์ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นเกิดในสังคมทุนนิยมอันเนือ่งจากความขัดกันระหว่างผลประโยชน์ทางวัตถุของชนกรรมาชีพที่ถูกกดขี่ ชนกรรมาชีพคือผู้ใช้แรงงานเอาค่าจ้างที่ชนชั้นกระฎุมพีว่าจ้างเพื่อผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งชนชั้นกระฎุมพีนี้เป็นชนชั้นปกครองที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและเอาความมั่งคั่งมาจากการจัดสรรผลิตภัณฑ์ส่วนเกิน (กำไร) ที่ชนกรรมาชีพผลิตขึ้น การต่อสู้ระหว่างชนชั้นนี้ซึ่งมักแสดงออกมาเป็นการกบฏของกำลังการผลิตของสังคม (productive force) ต่อความสัมพันธ์การผลิต (relation of production) ของสังคม ส่งผลให้เกิดวิกฤติระยะสั้นเมื่อชนชั้นกระฎุมพีประสบความลำบากในการจัดการความแปลกแยกของแรงงาน (alienation of labor) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นของชนกรรมาชีพ แม้ว่ามีความสำนึกเรื่องชนชั้น (class consciousness) ระดับมากน้อย วิกฤตนี้ลงเอยด้วยการปฏิวัติของชนกรรมาชีพและการสถาปนาสังคมนิยมในที่สุด ซึ่งเป็นระบบทางสังคมและเศรษฐกิจที่ยึดสังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต กระจายให้แต่ละคนตามการมีส่วนร่วมและการผลิตที่จัดระเบียบโดยตรงสำหรับการใช้ เมื่อกำลังการผลิตก้าวหน้าขึ้น มากซ์ตั้งสมมติฐานว่าสังคมนิยมสุดท้ายจะแปลงเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ หมายถึง สังคมไร้ชนชั้น ไร้รัฐ และมีมนุษยธรรมที่ยึดกรรมสิทธิ์ร่วมและหลักการพื้นเดิม "จากแต่ละคนตามความสามารถ ให้แต่ละคนตามความต้องการ" (From each according to his ability, to each according to his needs) ลัทธิมากซ์พัฒนาเป็นหลายแขนงและสำนักคิด แม้ปัจจุบันไม่มีทฤษฎีลัทธิมากซ์หนึ่งเดียว สำนักลัทธิมากซ์ต่าง ๆ เน้นแง่มุมบางอย่างของลัทธิมากซ์คลาสสิกต่างกัน และปฏิเสธหรือดัดแปลงแง่มุมบางอย่าง หลายสำนักคิดมุ่งรวมมโนทัศน์ลัทธิมากซ์กับมโนทัศน์ที่มิใช่มากซ์ ซึ่งมักนำไปสู่บทสรุปที่ขัดแย้งกัน ทว่า สมัยหลังมีขบวนการสู่การรับรองวัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์และวัสดุนิยมวิภาษวิธียังเป็นแง่มุมหลักของสำนักคิดลัทธิมากซ์ทุกสำนัก ซึ่งทำให้มีความเห็นตรงกันระหว่างสำนักต่าง ๆ มากขึ้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มัคท์แอร์ไกรฟุงและลัทธิมากซ์

มัคท์แอร์ไกรฟุงและลัทธิมากซ์ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มัคท์แอร์ไกรฟุงและลัทธิมากซ์

มัคท์แอร์ไกรฟุง มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ ลัทธิมากซ์ มี 10 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (9 + 10)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มัคท์แอร์ไกรฟุงและลัทธิมากซ์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »