โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มะเร็ง

ดัชนี มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

50 ความสัมพันธ์: กระดูกสันหลังกระดูกซี่โครงกระเพาะปัสสาวะการกลายพันธุ์การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็กการถ่ายภาพรังสีระนาบด้วยการปล่อยโพซิตรอนการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์การติดเชื้อการแบ่งเซลล์การแพร่กระจายการแพทย์ทางเลือกการแผ่รังสีมะเร็งลำไส้ใหญ่มะเร็งหลอดอาหารมะเร็งปอดมะเร็งปากมดลูกมะเร็งไส้ใหญ่และไส้ตรงแบบไม่มีติ่งเนื้อเมือกมากทางกรรมพันธุ์มะเร็งเม็ดเลือดขาวมะเร็งเต้านมมดลูกม้ามลำไส้วิทยามะเร็งศัลยศาสตร์สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกาสารก่อมะเร็งหลอดลมหลอดอาหารอะพอพโทซิสอัณฑะองค์การอนามัยโลกฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัสตับปอดปอดบวมปัสสาวะเป็นเลือดนักเลียนแบบผู้ยิ่งใหญ่น้ำเหลืองแผลเปื่อยโรคอ้วนไวรัสตับอักเสบบีไอ (อาการ)ไตเลือดเอออร์ตาเดอะนิวยอร์กไทมส์เต้านมเนื้องอกเนื้องอกต่อมไทมัสเนื้องอกไม่ร้าย

กระดูกสันหลัง

กระดูกสันหลัง มองจากด้านข้าง ส่วนต่างๆของแนวกระดูกสันหลัง ส่วนต่างๆกระดูกสันหลังหนึ่งชิ้น มองจากทางด้านข้าง กระดูกสันหลังส่วนคอ ชิ้นแรก มองจากทางด้านบน แนวกระดูกสันหลังส่วนคอตอนต้น แสดงกระดูกและเอ็นของข้อต่อบริเวณท้ายทอย กระดูกสันหลังส่วนอก มองจากทางด้านบน กระดูกสันหลัง (Vertebral column) ในกายวิภาคของมนุษย์ คือกระดูกแกนของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ตั้งแต่ส่วนต้นคอ ลงมาจนถึงส่วนก้น ภายในมีไขสันหลัง ซึ่งอยู่ในช่องไขสันหลังอีกทีหนึ่ง.

ใหม่!!: มะเร็งและกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกซี่โครง

กระดูกซี่โครง (Ribs) เป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกมนุษย์ที่อยู่ในบริเวณส่วนอก ซึ่งจะเชื่อมต่อระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic vertebral column) ทางด้านหลัง กับกระดูกอก (Sternum) ทางด้านหน้า และประกอบขึ้นเป็นโครงร่างของผนังช่องอกและช่วยในการป้องกันอวัยวะภายในของช่องอกที่สำคัญ เช่นปอดและหัวใจ โดยทั่วไปแล้วในผู้ใหญ่จะมีกระดูกซี่โครงทั้งหมด 12 คู่ หรือ 24 ซี่ ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย อย่างไรก็ตามในบางคนอาจมีจำนวนของกระดูกซี่โครงที่มากกว่าหรือน้อยกว่าปกติได้เล็กน้อ.

ใหม่!!: มะเร็งและกระดูกซี่โครง · ดูเพิ่มเติม »

กระเพาะปัสสาวะ

กระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) เป็นอวัยวะซึ่งเก็บปัสสาวะที่ไตขับถ่ายออกมาก่อนกำจัดออกจากร่างกายโดยการถ่ายปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยะยืดหยุ่นและเป็นกล้ามเนื้อแอ่ง อยู่ ณ ฐานเชิงกราน ปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะทางท่อไตและออกทางท่อปัสสาวะ ปริมาตรของกระเพาะปัสสาวะระบุไว้ระหว่าง 500 ถึง 1000 มิลลิลิตร เป็นอวัยวะที่อยู่ในช่องอุ้งเชิงกรานด้านหลังกระดูกหัวหน่าว มีลักษณะเป็นถุงกลวงยืดหยุ่นได้ ผนังของกระเพาะปัสสาวะมีกล้ามเนื้อเรียบ 3 ชั้น ที่คอของกระเพาะจะมีกล้ามเนื้อหูรูดทวารเบามัดใน (internal sphincter muscle) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อลายอยู่ด้วย กระเพาะปัสสาวะจะทำหน้าที่เป็นที่เก็บสะสมน้ำปัสสาวะ จนกระทั่งมีน้ำปัสสาวะเกิน 250 มิลลิลิตร ก็จะรู้สึกปวด อยากถ่ายปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะจะหดตัว ขับน้ำปัสสาวะออกมา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม การถ่ายปัสสาวะจะต้องประกอบไปด้ว.

ใหม่!!: มะเร็งและกระเพาะปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

การกลายพันธุ์

การกลายพันธุ์ (mutation) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงของยีน ทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาใหม่มีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มปกติ, วันที่สืบค้น 25 พฤษภาคม 2559 จาก www.thaibiotech.info.

ใหม่!!: มะเร็งและการกลายพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก

รื่องตรวจ MRI ภาพจากการตรวจด้วย MRI แสดงการเต้นของหัวใจ การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก หรือ การตรวจเอ็กซ์เรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ เอ็มอาร์ไอ หรือ nuclear magnetic resonance imaging (NMRI), or magnetic resonance tomography (MRT) คือเทคนิคการสร้างภาพทางการแพทย์ที่ใช้ในรังสีวิทยาเพื่อการตรวจทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของร่างกายทั้งในด้านสุขภาพและโรคต่างๆโดยเครื่องตรวจที่ใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุความเข้มสูงในการสร้างภาพเหมือนจริงของอวัยวะภายในต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะ สมอง หัวใจ กระดูก-กล้ามเนื้อ และส่วนที่เป็นมะเร็ง ด้วยคอมพิวเตอร์รายละเอียดและความคมชัดสูง เป็นภาพตามระนาบได้ทั้งแนวขวาง แนวยาวและแนวเฉียง เป็น 3 มิติ ภาพที่ได้จึงจะชัดเจนกว่า การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan ทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกายได้อย่างแม่นยำ การตรวจทางการแพทย์ด้วยเครื่องมือชนิดนี้ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ แก่ร่างกาย และไม่มีอันตรายจากรังสีตกค้าง.

ใหม่!!: มะเร็งและการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายภาพรังสีระนาบด้วยการปล่อยโพซิตรอน

รื่องตรวจโพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟีแบบทั่วไป โพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟี (Positron emission tomography; PET) หรือ การตรวจเอกซ์เรย์ด้วยโพสิตรอน เป็นเทคนิคทางการแพทย์นิวเคลียร์ที่ช่วยสร้างภาพทางการแพทย์ (medical imaging) ซึ่งแสดงผลเป็นภาพสามมิติและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการชีวเคมีของร่างกายหรือเมตาบอลิซึม (metabolism) ที่เฉพาะเจาะจง (metabolic information) เพื่อใช้วิเคราะห์ความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย และติดตามความก้าวหน้าของการรักษาทางการแพทย์ (therapy monitoring) นอกจากนี้ยังสามารถใช้เทคนิคนี้ในการช่วยศึกษาและติดตามกระบวนการชีวเคมีที่เฉพาะเจาะจงได้อีกด้ว.

ใหม่!!: มะเร็งและการถ่ายภาพรังสีระนาบด้วยการปล่อยโพซิตรอน · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์

รื่องตรวจ CT Scan แบบ 2 ชั้น ภาพจากการตรวจด้วยเครื่อง CT Scan การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือ (X-ray computed tomography) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ภาพรังสีเอกซ์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์ประมวลผลเพื่อสร้างภาพตัดขวาง (เหมือนกับว่า'ถูกหั่นออกเป็นชิ้นบางๆ') เฉพาะจุดของวัตถุที่ทำการสแกน, ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถเห็นภายในโดยไม่ต้องผ่าตั.

ใหม่!!: มะเร็งและการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

การติดเชื้อ

การติดเชื้อ หมายถึงการเจริญของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนร่างกายของโฮสต์ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดโรคได้ จุลชีพก่อโรคจะมีการพยายามใช้ทรัพยากรของโฮสต์เพื่อใช้ในการเพิ่มจำนวนของตัวเอง จุลชีพก่อโรคจะรบกวนการทำงานปกติของร่างกายโฮสต์ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรัง (chronic wound), เนื้อตายเน่า (gangrene), ความพิการของแขนและขา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ การตอบสนองของโฮสต์ต่อการติดเชื้อ เรียกว่า การอักเสบ (inflammation) จุลชีพก่อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมักจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งมีความหลากหลายเช่นแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา พรีออน หรือไวรอยด์ ภาวะพึ่งพิงซึ่งกันและกันระหว่างปรสิตและโฮสต์ซึ่งปรสิตได้ประโยชน์แต่โฮสต์เสียประโยชน์นั้นในทางนิเวศวิทยาเรียกว่าภาวะปรสิต (parasitism) แขนงของวิชาแพทยศาสตร์ซึ่งเน้นศึกษาในเรื่องการติดเชื้อและจุลชีพก่อโรคคือสาขาวิชาโรคติดเชื้อ (infectious disease) การติดเชื้ออาจแบ่งออกเป็นการติดเชื้อปฐมภูมิ (primary infection) คือการติดเชื้อหลังจากการได้รับจุลชีพก่อโรคเป็นครั้งแรก และการติดเชื้อทุติยภูมิ (secondary infection) ซึ่งหมายถึงการติดเชื้อที่เกิดขึ้นหลังหรือระหว่างการรักษาการติดเชื้อปฐมภูม.

ใหม่!!: มะเร็งและการติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

การแบ่งเซลล์

Three types of cell division การแบ่งเซลล์คือกระบวนการที่เซลล์ตั้งต้น (parent cell) แบ่งตัวออกเป็นเซลล์ลูก (daughter cell) จำนวนสองเซลล์ขึ้นไป ส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรเซลล์ หมวดหมู่:วัฏจักรเซลล์ หมวดหมู่:กระบวนการของเซลล์ หมวดหมู่:เทโลเมียร์.

ใหม่!!: มะเร็งและการแบ่งเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

การแพร่กระจาย

การแพร่กระจาย (metastasis) คือการที่มะเร็งได้แพร่ออกมาจากอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะเดิม ไปยังอวัยวะหรือส่วนของอวัยวะอื่น ที่ไม่ได้อยู่ติดกันกับส่วนเดิม หมวดหมู่:วิทยามะเร็ง.

ใหม่!!: มะเร็งและการแพร่กระจาย · ดูเพิ่มเติม »

การแพทย์ทางเลือก

การฝังเข็ม การแพทย์ทางเลือก (alternative medicine) เป็นศาสตร์เพื่อการวินิจฉัย การรักษาและการป้องกันโรคที่นอกเหนือจากศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบัน เป็นการปฏิบัติใดๆที่ถูกหยิบยกว่ามีผลในการรักษาโรคอะไรก็ตามที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ"หลักฐาน"ที่มีการเก็บรวบรวมโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ มันประกอบไปด้วยความหลากหลายของการดูแลสุขภาพ ผลิตภัณฑ์และการบำบัดรักษาต่างๆ ตัวอย่างเช่นการปฏิบัติทางการแพทย์แบบใหม่และดั้งเดิมเช่น การรักษาโรคด้วยโรคเดียวกัน (homeopathy) ธรรมชาติบำบัด (naturopathy) การจัดกระดูก (chiropractic) การแพทย์พลังงาน (energy medicine) รูปแบบต่างๆของการฝังเข็ม แพทย์แผน​​จีน อายุรเวท และการรักษาตามความเชื่อของคริสเตียน และการรักษาโดยวิธีการที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการดูแลสุขภาพแผนปัจจุบันบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และไม่ได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ผสมผสาน (complementary medicine) เป็นการแพทย์ทางเลือกที่ใช้ร่วมกับการรักษาพยาบาลแผนปัจจุบันตาม"ความเชื่อ"ที่ไม่ได้รับการพิสูจน์โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ มันช่วย"เสริม"การรักษ.

ใหม่!!: มะเร็งและการแพทย์ทางเลือก · ดูเพิ่มเติม »

การแผ่รังสี

ในทางฟิสิกส์ การแผ่รังสี (อังกฤษ: radiation) หมายถึงกระบวนการที่อนุภาคพลังงานหรือคลื่นเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางหรืออวกาศ รังสีสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ รังสีที่แตกตัวได้และรังสีที่ไม่ก่อให้เกิดการแตกตัวของประจุ อย่างไรก็ตาม คำว่า "รังสี" มักหมายถึงกัมมันตภาพรังสีเพียงอย่างเดียว (คือ รังสีที่มีพลังงานเพียงพอที่จะทำให้อะตอมเปลี่ยนเป็นไอออน) แต่ความเป็นจริงแล้วก็สามารถหมายถึงรังสีที่ไม่ก่อให้เกิดการแตกตัวของประจุด้วยเช่นกัน (เช่น คลื่นวิทยุหรือแสงที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า รูปแบบเรขาคณิตของการแผ่รังสีออกจากตัวกลาร่รร่คียยเมวังนำไปสู่ระบบของหน่วยวัดและหน่วยทางฟิสิกส์ที่สามารถใช้ได้กับรังสีทุกประเภท รังสีทั้งสองประเภทล้วนสามารถเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ) การแผ่รังสี สามารถนำไปใช้งานในงานทางด้านความร้อนต่าง ๆ เช่น แผ่นรองหัวเตาแก๊สอินฟาเรด การถ่ายเทความร้อนในอุปกรณ์ แลกเปลี่ยนความร้อน การแผ่รังสี หมวดหมู่:ฟิสิกส์ หมวดหมู่:หลักการสำคัญของฟิสิกส์.

ใหม่!!: มะเร็งและการแผ่รังสี · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (รู้จักในชื่อของมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งไส้ตรงหรือมะเร็งลำไส้) คือโรคมะเร็งที่เกิดในลำไส้ใหญ่หรือลำไส้ตรง (ส่วนของ ลำไส้ใหญ่) เกิดจากการเติบโตอย่างผิดปกติของเซลล์ซึ่งสามารถลุกลามหรือแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ สัญญาณและอาการของโรคอาจได้แก่การอุจจาระเป็นเลือด การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่เปลี่ยนแปลงไป น้ำหนักลดและมีอาการเหนื่อยอ่อนเพลียตลอดเวลา โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงส่วนใหญ่เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น รูปแบบการดำเนินชีวิตและอายุที่มากขึ้น รวมทั้งจากความผิดปกติที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแต่ปัจจัยนี้จะพบได้ในน้อยราย ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ การรับประทานอาหาร โรคอ้วน การสูบบุหรี่ และการขาดการออกกำลังกาย ปัจจัยที่เกี่ยวกับอาหารซึ่งจะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคคือ การรับประทาน เนื้อแดงและเนื้อที่ผ่านกระบวนการปรุงแต่ง และการดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งก็คือ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบซึ่งได้แก่ โรคโครห์นและลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง ภาวะของความผิดปกติที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงบางภาวะได้แก่ ติ่งเนื้องอกที่เกิดจากพันธุกรรม และ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบไม่พบติ่งเนื้อ อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ป่วยจากสาเหตุนี้มีน้อยกว่า 5% เมื่อเทียบกับกลุ่มสาเหตุอื่นๆ โดยทั่วไปในเบื้องต้นจะพบเนื้องอกชนิดไม่เป็นอันตรายซึ่งมักจะมีลักษณะเป็นติ่งเนื้อ เมื่อเวลาผ่านไปติ่งเนื้อนี้จะกลายเป็นมะเร็ง การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจทำได้โดยการตรวจชิ้นเนื้อตัวอย่างที่ตัดจากลำไส้ใหญ่ในระหว่างการส่องกล้องตรวจลำไส้ส่วนปลายหรือการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทั้งหมด แล้วตามด้วยขั้นตอนการฉายแสงเพื่อตรวจวิเคราะห์ว่ามีการแพร่กระจายหรือไม่ การคัดกรองหรือการตรวจหาโรคก่อนที่จะมีอาการเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อการลดโอกาสของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง จึงแนะนำให้มีการเข้ารับตรวจหาโรคเมื่ออายุ 50 ปีและรับการตรวจหาโรคต่อไปจนอายุ 75 ปี ระหว่างการส่องกล้องตรวจสำไส้ใหญ่ทั้งหมดจะมีการตัดติ่งติ่งเนื้อออก ยาแอสไพรินและยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ลดความเสี่ยงได้ แต่โดยทั่วไปไม่แนะนำให้ใช้ยาเพื่อวัตถุประสงค์นี้เนื่องจากมีผลข้างเคียง การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงอาจใช้วิธีการรักษาแบบผสมวิธีต่างๆ เหล่านี้ ได้แก่ การผ่าตัด การบำบัดด้วยรังสี เคมีบำบัดและการรักษาแบบมุ่งเป้า มะเร็งที่งอกอยู่ในผนังลำไส้ใหญ่อาจรักษาได้ด้วยการผ่าตัด แต่หากมีการกระจายของเชื้อมะเร็งไปทั่วแล้วโดยปกติไม่สามารถรักษาได้ด้วยการรักษาแบบเน้นที่การปรับปรุงคุณภาพของชีวิตให้ดีดีขึ้นและการบำบัดตามอาการ อัตรารอดที่ห้าปีในประเทศสหรัฐอเมริกามีอยู่ที่ประมาณ 65% อย่างไรก็ตามนี่ขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งได้ลุกลามไปมากน้อยเท่าไร ได้รับการผ่าตัดมะเร็งออกไปหรือไม่และสุขภาพโดยรวมของบุคคลนั้น มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเป็นอันดับที่สามโดยคิดเป็น 10% จากทั้งหมด ในปี 2012 พบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 1.4 ล้านคนและมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้จำนวน 694,000 ราย โรคนี้มักจะพบได้มากกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งคิดเป็นจำนวนที่มากกว่า 65% ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด และมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง.

ใหม่!!: มะเร็งและมะเร็งลำไส้ใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งหลอดอาหาร

มะเร็งหลอดอาหาร (esophageal cancer) เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นกับหลอดอาหาร มีชนิดย่อยหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นอะดีโนคาร์ซิโนมา (ประมาณ 50-80% ของมะเร็งหลอดอาหาร) และมะเร็งเซลล์สความัส มะเร็งเซลล์สความัสเกิดขึ้นมาจากเซลล์ที่บุผิวเยื่อเมือกส่วนบนของหลอดอาหาร ส่วนอะดีโนคาร์ซิโนมาเกิดขึ้นมาจากเซลล์แกลนดูลาร์ที่อยู่ที่บริเวณรอยต่อระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร เนื้องอกในหลอดอาหารมักทำให้มีอาการกลืนลำบาก (dysphagia) อาการเจ็บ และอาการอื่นๆ โดยจะต้องได้รับการวินิจฉัยด้วยการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา เนื้องอกที่มีขนาดเล็กและอยู่เฉพาะที่อาจรักษาหายได้ด้วยการผ่าตัด เนื้องอกขนาดใหญ่มักไม่สามารถผ่าตัดได้ซึ่งจะได้รับการรักษาด้วยการรักษาประทัง ซึ่งสามารถชะลอการโตของเนื้องอกได้ด้วยการใช้เคมีบำบัด รังสีรักษา หรือรักษาร่วมกัน ในบางกรณีการใช้เคบีบำบัดหรือรังสีรักษาอาจทำให้เนื้องอกมีขนาดเล็กลงจนสามารถผ่าตัดได้ก็ได้ พยากรณ์โรคขึ้นอยู่กับว่าโรคกระจายไปมากแค่ไหนและมีปัญหาทางการแพทย์อื่นๆ หรือไม่ แต่โดยส่วนใหญ่จะมีพยากรณ์โรคไม่ค่อยดี.

ใหม่!!: มะเร็งและมะเร็งหลอดอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งปอด

รคมะเร็งปอด (lung cancer) เป็นโรคซึ่งมีการเจริญของเซลล์ในเนื้อเยื่อปอดอย่างควบคุมไม่ได้ การเจริญนี้นำไปสู่การแพร่กระจาย มีการรุกรานเข้าไปในเนื้อเยื่อข้างเคียงและแทรกซึมเข้าไปในอวัยวะนอกปอด มะเร็งปอดส่วนใหญ่เป็นมะเร็งชนิดเยื่อบุ เจริญมาจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว มะเร็งปอดเป็นสาเหตุการตายของผู้เสียชีวิต 1.3 ล้านรายทั่วโลกใน..

ใหม่!!: มะเร็งและมะเร็งปอด · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งชนิดหนึ่งซึ่งเกิดที่ปากมดลูก เกิดจากการที่เซลล์มีการเจริญเติบโตผิดปกติและมีความสามารถที่จะแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียงหรือส่วนอื่นของร่างกาย ในระยะแรกมักไม่มีอาการ เมื่อมีอาการแล้วอาการที่พบบ่อยคือมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ปวดอุ้งเชิงกราน หรือเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ แต่บางครั้งก็อาจไม่มีอาการใดๆ จนลุกลามไปมากแล้วก็ได้ การรักษาส่วนใหญ่อาศัยการผ่าตัดในระยะแรกๆ และการใช้เคมีบำบัดและ/หรือรังสีรักษาในระยะที่เป็นมาก การตรวจคัดกรองโดยการใช้การทดสอบแปปสามารถตรวจหาความผิดปกติก่อนเป็นมะเร็งของเซลล์และเนื้อเยื่อปากมดลูกได้.

ใหม่!!: มะเร็งและมะเร็งปากมดลูก · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งไส้ใหญ่และไส้ตรงแบบไม่มีติ่งเนื้อเมือกมากทางกรรมพันธุ์

มะเร็งไส้ใหญ่และไส้ตรงแบบไม่มีติ่งเนื้อเมือกมากทางกรรมพันธุ์ (hereditary nonpolyposis colorectal cancer, ย่อ HNPCC) หรือกลุ่มอาการลินช์ (Lynch syndrome) เป็นภาวะทางกรรมพันธุ์แบบทายกรรมลักษณะเด่น (autosomal dominant) ซึ่งมีความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่สูง เช่นเดียวกับมะเร็งอื่นได้แก่ มะเร็งของเยื่อบุมดลูก (พบบ่อยสุดเป็นอันดับสอง) รังไข่ กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ทางเดินตับและน้ำดี ทางเดินปัสสาสวะส่วนบน สมองและผิวหนัง สาเหตุที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเหล่านี้เพิ่มขึ้นเนื่องจากการกลายพันธุ์ทางกรรมพันธุ์ซึ่งทำให้การซ่อมแซมการไม่เข้าคู่ของดีเอ็นเอบกพร่อง จัดเป็นกลุ่มอาการมะเร็งอย่างหนึ่ง หมวดหมู่:มะเร็งลำไส้ใหญ่.

ใหม่!!: มะเร็งและมะเร็งไส้ใหญ่และไส้ตรงแบบไม่มีติ่งเนื้อเมือกมากทางกรรมพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือที่นิยมเรียกกันว่า ลูคิเมีย (Leukemia, Leukeamia) เป็นมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือด ทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดชนิดผิดปกติออกมามากกว่าปกติ และจะไปรบกวนการสร้างเม็ดเลือดปกติ ทำให้จำนวนเม็ดเลือดที่ปกตินั้นมีจำนวนลดน้อยลง.

ใหม่!!: มะเร็งและมะเร็งเม็ดเลือดขาว · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งเต้านม

แมมโมแกรม: (ซ้าย) เต้านมปกติ (ขวา) เต้านมมะเร็ง มะเร็งเต้านม (Breast cancer) เป็นโรคมะเร็งที่พัฒนาจากเนื้อเยื่อเต้านม อาจมีอาการแสดง ได้แก่ มีก้อนในเต้านม มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงของเต้านม ผิวหนังมีรอยบุ๋ม มีสารน้ำไหลจากหัวนม หรือมีปื้นผิวหนังมีเกล็ดแดง ในผู้ที่มีการแพร่ของโรคไปไกล อาจมีปวดกระดูก ปุ่มน้ำเหลืองโต หายใจลำบาก มะเร็งเต้านมทั่วโลกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในหญิง โดยคิดเป็น 25% ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด ในปี 2555 โรคนี้มีผู้ป่วย 1.68 ล้านคน และผู้เสียชีวิต 522,000 คน พบมากกว่าในประเทศพัฒนาแล้ว และพบในหญิงมากกว่าชาย 100 เท.

ใหม่!!: มะเร็งและมะเร็งเต้านม · ดูเพิ่มเติม »

มดลูก

มดลูก (Uterus) คือส่วนบริเวณตรงกลาง มดลูก เป็นอวัยวะกลวง รูปร่างคล้ายลูกแพร์ มีผนังหนา วางตัวอยูในช่องเชิงกราน อยู่หลังกระเพาะปัสสาวะ อยู่หน้าลำไส้ใหญ่และ ช่องทวารหนัก โพรงของมดลูกติดกับโพรงของปีกมดลูกและโพรงของช่องคลอด สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนคือ fundus, body และcervix หมวดหมู่:อวัยวะ.

ใหม่!!: มะเร็งและมดลูก · ดูเพิ่มเติม »

ม้าม

ำลองภายในม้าม (Gray's Anatomy) ม้าม (spleen) เป็นอวัยวะในร่างกายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีรูปทรงเรียวรี คล้ายเมล็ดถั่ว เป็นอวัยวะที่ขจัดเชื้อโรคและเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ตายแล้วออกจากกระแสเลือด ม้ามจะอยู่บริเวณช่องท้องส่วนบน ใต้กะบังลมทางซ้าย และอยู่ใกล้กับตับอ่อน และไตซ้าย ถูกยึดติดไว้กับเยื่อบุช่องท้อง ม้ามมีขนาดแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยในวัยผู้ใหญ่ ม้ามจะมีความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร (ประมาณ 5 นิ้ว) และจะมีความกว้างประมาณ 10 เซนติเมตร (4 นิ้ว) และหนาประมาณ 3.8 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว) และมีน้ำหนักประมาณ 200 กรัม (7 ออนซ์) หลอดเลือดที่เข้าสู่ม้ามคือ หลอดเลือดสเปลนิกอาร์เตอร์รี่ (splenic artery) และเลือดจากม้ามจะไหลเข้าสู่ตั.

ใหม่!!: มะเร็งและม้าม · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้

thumb ในกายวิภาคศาสตร์, ลำไส้ เป็นส่วนหนึงในทางเดินอาหารต่อจากกระเพาะอาหารไปสู่ทวารหนัก ในมนุษย์และสัตว์ส่วนใหญ่ ลำไส้แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ลำไส้เล็ก และ ลำไส้ใหญ่ ในมนษุย์สามารถแบ่งลำไส้เล็กเป็นส่วนๆ ได้แก่ ลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum), ลำไส้เล็กส่วนกลาง (Jejunum), ลำไส้เล็กส่วนปลาย (Ileum) ส่วนลำไส้ใหญ่แบ่งได้เป็น ลำไส้ใหญ่ส่วนต้น (Cecum) และ ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Colon).

ใหม่!!: มะเร็งและลำไส้ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยามะเร็ง

วิทยามะเร็ง หรือ วิทยาเนื้องอก (Oncology) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาแพทยศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเนื้องอกหรือมะเร็ง และเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการเจริญ, การวินิจฉัย, การรักษา และการป้องกันมะเร็ง รากศัพท์ของคำว่า oncology มาจากภาษากรีก onkos (ογκος) หมายถึงก้อนหรือเนื้องอก และ -ology ซึ่งหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยามะเร็งนั้นจะเกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นกายภาพบำบัด, จิตบำบัดหรือการให้คำปรึกษา, พันธุศาสตร์คลินิก ในทางกลับกันแพทย์นั้นต้องประสานงานกับพยาธิแพทย์เพื่อให้เข้าใจถึงธรรมชาติของเนื้องอกเพื่อช่วยในการรักษา วิทยามะเร็งเกี่ยวข้องกั.

ใหม่!!: มะเร็งและวิทยามะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์

ัลยแพทย์ทรวงอกกำลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ศัลยศาสตร์ หรือ ศัลยกรรม (surgery) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้หัตถการหรือเครื่องมือในการผ่าตัดเข้าในร่างกายผู้ป่วยเพื่อสืบค้นอาการ และ/หรือรักษาความผิดปกติ เช่น โรค หรือการบาดเจ็บต่าง ๆ เพื่อช่วยในการแก้ไขการทำงานหรือรูปลักษณ์ของร่างกาย หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางศัลยศาสตร์ว่า ศัลยแพทย์ (surgeon) ศัลยแพทย์ในประเทศไทยต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาแพทย์ประจำบ้านด้านศัลยศาสตร์แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ ของแพทยสภา และเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไท.

ใหม่!!: มะเร็งและศัลยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา

มาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society; อักษรย่อ: ACS) เป็นองค์กรอนามัยระดับประเทศที่ทุ่มเทต่อการกำจัดโรคมะเร็ง โดยได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: มะเร็งและสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

สารก่อมะเร็ง

ัญลักษณ์เตือน"สารเคมีนี้อาจเป็นสารก่อมะเร็ง" สารก่อมะเร็ง (carcinogen) หมายถึง สาร วัตถุ นิวไคลด์กัมมันตรังสี หรือการแผ่รังสีใดๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเสถียรภาพของจีโนม หรือการรบกวนกระบวนการสร้างและสลายในระดับเซลล์ ธาตุกัมมันตรังสีบางชนิดก็ถูกจัดให้เป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งการกระตุ้นนั้นจะมาจากรังสีที่แผ่ออกมา อาทิ รังสีแกมมาหรืออนุภาคแอลฟา สารก่อมะเร็งอย่างหนึ่งที่รู้จักโดยทั่วไปคือ ควันบุหรี.

ใหม่!!: มะเร็งและสารก่อมะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

หลอดลม

หลอดลม (trachea) เป็นส่วนหนึ่งของระบบหายใจ มีหน้าที่หลัก คือ การนำส่งอากาศจากภายนอกร่างกายเข้าสู่ปอดเพื่อทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนเข้าสู่เลือด และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย หลอดลมของมนุษย์เริ่มตั้งแต่ส่วนที่ต่อจากกล่องเสียง (Larynx) ลงไปสิ้นสุดที่ถุงลม หลอดลม หลอดลม มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามขนาดและตำแหน่ง ได้แก.

ใหม่!!: มะเร็งและหลอดลม · ดูเพิ่มเติม »

หลอดอาหาร

หลอดอาหาร (อังกฤษ: oesophagus/esophagus/œsophagus; กรีก: οἰσοφάγος) เป็นอวัยวะของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เป็นท่อกลวงประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่อาหารจะผ่านจากคอหอยไปยังกระเพาะอาหาร ในมนุษย์ หลอดอาหารต่อเนื่องกับส่วนกล่องเสียงของคอหอย (laryngeal part of the pharynx) ที่ระดับของกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่ 6.

ใหม่!!: มะเร็งและหลอดอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

อะพอพโทซิส

ตัดขวางของตับหนูแสดงเซลล์ที่ตายแบบอะพอพโทซิส (ลูกศร) อะพอพโทซิส เป็นรูปแบบหนึ่งของการตายของเซลล์แบบที่มีการโปรแกรมไว้แล้ว (programmed cell death) ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีซึ่งทำให้เซลล์ตายอย่างมีลักษณะที่เฉพาะ หรือกล่าวอย่างจำเพาะคือเป็นชุดของปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่ทำให้เซลล์มีสัณฐานวิทยาเปลี่ยนแปลงหลายรูปแบบ เช่น การบวมของเซลล์ (blebbing), การเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุ้มเซลล์เช่นการเหี่ยวของเซลล์, นิวเคลียสแตกเป็นชิ้นส่วน, โครมาตินหนาตัวขึ้น, และดีเอ็นเอแตกเป็นท่อน กระบวนการกำจัดเศษซากเซลล์ก็จะไม่ทำให้เกิดการกระตุ้นให้เนื้อเยื่อข้างเคียงเกิดความเสียหายซึ่งต่างจากการตายแบบการตายเฉพาะส่วนหรือเนโครซิส (necrosis) อะพอพโทซิสเป็นการตายที่เกิดขึ้นตามปกติในกระบวนการเจริญพัฒนาของสิ่งมีชีวิต ซึ่งต่างจากการตายเฉพาะส่วนที่เกิดจากการบาดเจ็บของเซลล์แบบเฉียบพลัน อะพอพโทซิสเกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปร่างและอวัยวะของเอ็มบริโอ เช่นการเจริญของนิ้วมือและนิ้วเท้าเนื่องจากเซลล์ที่อยู่ระหว่างนิ้วอะพอพโทซิสไป ทำให้นิ้วทั้งห้าแยกออกจากกัน โดยเฉลี่ยแล้วในผู้ใหญ่จะมีเซลล์ราว 5 หมื่นล้านถึง 7 หมื่นล้านเซลล์ตายแบบอะพอพโทซิสทุกวัน และในเด็กอายุ 8-14 ปีจะมีเซลล์ตายราว 2 หมื่นล้านถึง 3 หมื่นล้านเซลล์ต่อวัน งานวิจัยเกี่ยวกับการตายแบบอะพอพโทซิสมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1990 ทำให้มีการค้นพบการตายแบบอะพอพโทซิสที่ผิดปกติในโรคต่างๆ หากอะพอพโทซิสเกิดขึ้นมากเกินไปจะทำให้เกิดการฝ่อของอวัยวะ เช่นในภาวะการขาดเลือดเฉพาะที่ (ischemic damage) ในขณะที่การตายแบบอะพอพโทซิสที่ไม่เพียงพอทำให้เกิดเซลล์ที่เพิ่มจำนวนอย่างควบคุมไม่ได้ เช่นมะเร็ง.

ใหม่!!: มะเร็งและอะพอพโทซิส · ดูเพิ่มเติม »

อัณฑะ

อัณฑะ (มาจากรากศัพท์ภาษาบาลีและสันสกฤต หมายถึง ไข่; testicle, testis) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชาย ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย นอกจากนั้นยังมีเซลล์ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนเพศชายอีกด้วย ในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า Testis ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน: testis แปลว่า พยาน อัณฑะ อยู่ภายในถุงอันฑะซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะในการสร้างอสุจิ ประมาณ 34 องศาเซลเซียส ถุงอัณฑะ ซึ่งอยู่ภายนอกร่างกาย มีผลดีคือทำให้ตัวอสุจิเจริญเติบโตตามปกติ เพราะอุณหภูมิในร่างกายสูงเกินไปไม่เหมาะต่อการสร้างอ.

ใหม่!!: มะเร็งและอัณฑะ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: มะเร็งและองค์การอนามัยโลก · ดูเพิ่มเติม »

ฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส

Human papillomavirus (HPV) เป็นไวรัสดีเอ็นเอในแฟมิลี papillomavidae ที่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ได้สายพันธุ์หนึ่ง เช่นเดียวกับไวรัสอื่นๆ ในกลุ่ม papillomavirus.

ใหม่!!: มะเร็งและฮิวแมนแพปพิลโลมาไวรัส · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: มะเร็งและตับ · ดูเพิ่มเติม »

ปอด

ปอด คำว่าปอดในภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า lung ในทางการแพทย์สิ่งที่เกี่ยวกับปอดใช้คำว่า Pulmonary นำหน้าสิ่งนั้น ๆ ในมนุษย์นั้นมีปอดอยู่ในทรวงอก มีสองข้าง คือขวาและซ้าย ปอดมีลักษณะนิ่ม ร่างกายจึงมีกระดูกซี่โครงคอยปกป้องปอดไว้อีกชั้นหนึ่ง ปอดแต่ละข้างจะมีถุงบาง ๆ 2 ชั้นหุ้มอยู่ เรียกว่า เยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มปอดที่เป็นถุงบาง ๆ 2 ชั้นนี้เรียกว่า เยื่อหุ้มปอดชั้นในและ เยื่อหุ้มปอดชั้นนอก เยื่อหุ้มปอดชั้นในจะแนบติดไปกับผิวของปอด ส่วนเยื่อหุ้มปอดชั้นนอกจะแนบติดไปกับช่องทรวงอก ระหว่างเยื่อหุ้มปอด 2 ชั้นบางๆนี้จะมีช่องว่าง เรียกว่า ช่องเยื่อหุ้มปอด ในช่องเยื่อหุ้มปอดจะมีของเหลวคอยหล่อลื่นอยู่ เรียกว่า ของเหลวเยื่อหุ้มปอด ของเหลวนี้จะช่วยให้เยื่อหุ้มปอดแต่ละชั้นสไลด์ไปมาระหว่างกันได้โดยไม่เสียดสีกัน และของเหลวเยื่อหุ้มปอดก็ยังช่วยยึดเยื่อหุ้มปอดทั้งสองชั้นไว้ไม่ให้แยกจากกันโดยง่าย ปอดข้างซ้ายนั้นมีขนาดเล็กกว่าปอดข้างขวา เพราะปอดข้างซ้ายต้องเว้นที่เอาไว้ให้หัวใจอยู่ในทรวงอกด้วยกันด้ว.

ใหม่!!: มะเร็งและปอด · ดูเพิ่มเติม »

ปอดบวม

รคปอดบวม (pneumonia) หรือ โรคปอดอักเสบ (pneumonitis) เป็นโรคของระบบหายใจอย่างหนึ่งซึ่งมีการอักเสบของปอด โดยเฉพาะของถุงลม ทำให้มีไข้ มีอาการทางปอด มีการสูญเสียของพื้นที่แลกเปลี่ยนก๊าซ ซึ่งเห็นได้จากการเอกซเรย์ปอด ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือพยาธิ เชื้อแบคทีเรียชื่อ "นิวโมคอคคัส" (Pneumococcal Disease) เป็นสาเหตุหลัก http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/31524 แต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่นได้รับสารเคมีหรือการกระทบกระเทีอนทางกายภาพได้เช่นกัน ผู้ป่วยโรคปอดบวมจะมีอาการโดยทั่วไปได้แก่ ไอ เจ็บหน้าอก มีไข้สูง และหายใจหอบ การวินิจฉัยจะกระทำโดยการถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดและการตรวจเสมหะ ปอดบวมบางชนิดมีวัคซีนป้องกัน ส่วนวิธีการรักษาจะขึ้นกับสาเหตุของโรค เช่น โรคปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรียจะรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ ในอดีตปอดบวมเป็นโรคที่ร้ายแรงมากจนเคยมีคำกล่าวว่าปอดบวมเป็น "นายของสาเหตุการตายของมนุษย์" (ศตวรรษที่ 19 วิลเลียม ออสเลอร์) แต่หลังจากที่มีการคิดค้นการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและวัคซีนในศตวรรษที่ 20 ทำให้ผลการรักษาปอดบวมดีขึ้นมาก อย่างไรก็ดีปอดบวมยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยอายุน้อย และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยในโลกที่สามด้ว.

ใหม่!!: มะเร็งและปอดบวม · ดูเพิ่มเติม »

ปัสสาวะเป็นเลือด

ปัสสาวะเป็นเลือด (hematuria) คือการที่มีเม็ดเลือดแดงปะปนอยู่ในปัสสาวะ มีทั้งแบบเห็นได้ด้วยตาเปล่า (gross hematuria) และแบบที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ต้องส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ (microscopic hematuria) หรือใช้ชุดตรวจทางห้องปฏิบัติการในการตรวจ เลือดที่ปะปนในปัสสาวะนี้อาจมีที่มาได้จากทุกส่วนของทางเดินปัสสาวะ ตั้งแต่ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก และท่อปัสสาวะ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ นิ่วไต หรือมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น.

ใหม่!!: มะเร็งและปัสสาวะเป็นเลือด · ดูเพิ่มเติม »

นักเลียนแบบผู้ยิ่งใหญ่

นักเลียนแบบผู้ยิ่งใหญ่ (The Great Imitator) หมายถึงโรคที่แสดงอาการแบบไม่จำเพาะและอาจสับสนกับโรคอื่นๆ ได้.

ใหม่!!: มะเร็งและนักเลียนแบบผู้ยิ่งใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำเหลือง

น้ำเหลือง (Lymph) คือของเหลวที่หมุนเวียนอยู่ในระบบน้ำเหลือง น้ำเหลืองเกิดขึ้นเมื่อสารน้ำแทรก (ของเหลวซึ่งมีอยู่ตามร่องของเนื้อเยื่อ) มารวมกันผ่านหลอดน้ำเหลืองฝอย แล้วถูกส่งต่อผ่านท่อน้ำเหลืองไปยังต่อมน้ำเหลืองก่อนที่ในท้ายที่สุดจะถูกผสมรวมกับเลือดที่บริเวณหลอดเลือดดำใต้กระดูกไหปลาร้าซ้ายหรือขวา องค์ประกอบของน้ำเหลืองจึงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ซึ่งทำให้เลือดและเซลล์ต่างๆสามารถแลกเปลี่ยนองค์ประกอบกับสารน้ำแทรก (ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายกับน้ำเลือดเพียงแต่ประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาว) ในกระบวนการแลกเปลี่ยนองค์ประกอบ น้ำเหลืองจะคืนโปรตีนและสารน้ำแทรกส่วนเกินไปยังกระแสเลือด น้ำเหลืองอาจจับพาแบคทีเรียไปยังต่อมน้ำเหลืองเพื่อกำจัด เซลล์มะเร็งเนื้อร้ายอาจถูกจับพาโดยน้ำเหลืองได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ น้ำเหลืองอาจจับพาไขมันจากทางเดินอาหารอีกด้ว.

ใหม่!!: มะเร็งและน้ำเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

แผลเปื่อย

แผลเปื่อย (ulcer) หรือแผล เป็นรอยโรคบนผิวหนังหรือเยื่อเมือก ร่วมกับมีการขาดตอนหรือการสลายของเนื้อเยื่อ แผลเปื่อยอาจส่งผลให้เสียชั้นหนังกำพร้าทั้งหมด และบ่อยครั้งรวมถึงหนังแท้บางส่วน หรือแม้กระทั่งไขมันใต้หนัง แผลเปื่อยพบมากที่สุดที่ผิวหนังของรยางค์ล่างและในทางเดินอาหาร แผลเปื่อยที่ปรากฏบนผิวหนังมักเห็นเป็นเนื้อเยื่ออักเสบที่มีบริเวณผิวหนังแดง แผลเปื่อยผิวหนังมักเห็นได้ในกรณีการสัมผัสความร้อนหรือความเย็น การระคายเคืองหรือมีปัญหาต่อการไหลเวียนโลหิต แผลเปื่อยยังอาจเกิดจากการขาดการเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้มีแรงกดต่อเนื้อเยื่อเป็นเวลานาน ความเครียดในระบบไหลเวียนโลหิตนี้ถูกแปลงเป็นแผลเปื่อยผิวหนัง ซึ่งทั่วไปเรียก แผลกดทับ แผลเปื่อยมักมีการติดเชื้อและเกิดหนอง หมวดหมู่:ตัจวิทยา.

ใหม่!!: มะเร็งและแผลเปื่อย · ดูเพิ่มเติม »

โรคอ้วน

รคอ้วนเป็นสภาวะทางการแพทย์ที่มีการสะสมไขมันร่างกายมากถึงขนาดที่อาจมีผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้มีการคาดหมายคงชีพลดลง และมีปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น หรืออย่างใดอย่างหนึ่งWHO 2000 p.6 การพิจารณาว่าบุคคลใดอ้วนนั้นพิจารณาจากดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งเป็นการวัด มีค่าเท่ากับน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลังสอง บุคคลที่มีดัชนีมวลกายเกิน 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรถือว่าเป็นโรคอ้วน โดยในช่วง 25-30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรนิยามเป็นน้ำหนักเกิน โรคอ้วนเพิ่มโอกาสการป่วยเป็นโรคหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจ เบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น มะเร็งบางชนิด และโรคข้อเสื่อม โรคอ้วนมีสาเหตุมาจากการรับพลังงานจากอาหารมากเกิน การขาดกิจกรรมทางกาย และความเสี่ยงทางพันธุกรรมร่วมกันมากที่สุด แม้ว่าผู้ป่วยน้อยรายจะเกิดจากยีน ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ยาหรือการป่วยจิตเวชเป็นหลัก สำหรับมุมมองที่ว่าคนอ้วนบางรายกินน้อยแต่น้ำหนักเพิ่มเพราะเมแทบอลิซึมช้านั้นมีหลักฐานสนับสนุนจำกัด โดยเฉลี่ยแล้ว คนอ้วนมีการเสียพลังงานมากกว่าคนผอมเนื่องจากต้องใช้พลังงานมากกว่าในการรักษามวลร่างกายที่เพิ่มขึ้น การจำกัดอาหารและการออกกำลังกายเป็นหลักของการรักษาโรคอ้วน สามารถปรับปรุงคุณภาพอาหารได้โดยการลดการบริโภคอาหารพลังงานสูง เช่น อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง และโดยการเพิ่มการรับใยอาหาร อาจบริโภคยาลดวามอ้วนเพื่อลดความอยากอาหารหรือลดการดูดซึมไขมันเมื่อใช้ร่วมกันกับอาหารที่เหมาะสม หากอาหาร การออกกำลังกายและยาไม่ได้ผล การทำบอลลูนกระเพาะอาหาร (gastric ballon) อาจช่วยให้น้ำหนักลดได้ หรืออาจมีการผ่าตัดเพื่อลดปริมาตรกระเพาะอาหารและความยาวลำไส้ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและลดความสามารถในการดูดซึมสารอาหาร โรคอ้วนเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ทั่วโลกที่สามารถป้องกันได้ โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ทางการมองว่าโรคอ้วนเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่ร้ายแรงที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 21 โรคอ้วนถูกระบุว่าเป็นปัญหาในโลกสมัยใหม่อย่างมาก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกตะวันตก) ทว่าในอดีต ความอ้วนถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งและความอุดมสมบูรณ์ และกระทั่งปัจจุบันก็ยังมีความเชื่อดังกล่าวในบางบริเวณของโลก ใน..

ใหม่!!: มะเร็งและโรคอ้วน · ดูเพิ่มเติม »

ไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบบี (hepatitis B virus, HBV) เป็นสปีชีส์ของไวรัสดีเอ็นเอสายคู่ชนิดหนึ่ง อยู่ในจีนัส Orthohepadnavirus แฟมิลี Hepadnaviridae ทำให้เกิดโรคตับอักเสบ บี หมวดหมู่:ไวรัส.

ใหม่!!: มะเร็งและไวรัสตับอักเสบบี · ดูเพิ่มเติม »

ไอ (อาการ)

อาการไอเป็นปฏิกิริยาตอบสนองอย่างหนึ่งของร่างกายที่มีขึ้นเพื่อกำจัดสารคัดหลั่ง สิ่งระคายเคือง สารแปลกปลอมอื่นๆ และจุลชีพออกจากทางเดินหายใจขนาดใหญ่ รีเฟลกซ์การไอประกอบด้วยสามระยะ ได้แก่ การหายใจเข้า การหายใจออกอย่างแรง ต้านกับกล่องเสียงที่ปิดอยู่ และการปล่อยอากาศออกจากปอดอย่างรวดเร็วพร้อมกันกับการเปิดกล่องเสียง ส่วนใหญ่มักทำให้เกิดเสียงไอร่วมด้วยเสมอ การไออาจเกิดจากความตั้งใจของคนคนนั้นเองหรือเกิดขึ้นเองโดยไม่ได้ตั้งใจก็ได้ หากมีอาการไอบ่อยครั้งมักบ่งชี้ว่ามีสาเหตุจากโรคบางอย่าง ไวรัสและแบคทีเรียหลายชนิดได้รับประโยชน์เชิงวิวัฒนาการจากการกระตุ้นให้โฮสต์มีอาการไอ ซึ่งจะช่วยแพร่กระจายเชื้อไปยังโฮสต์ใหม่ ส่วนใหญ่การไอมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อทางเดินหายใจแต่ก็อาจเกิดจากการสำลัก การสูบบุหรี่ มลพิษทางอากาศ โรคหอบหืด โรคกรดไหลย้อน เสมหะไหลลงคอ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หัวใจล้มเหลว และยาบางชนิดเช่น ACE inhibitor การรักษามักรักษาที่สาเหตุ เช่น เลิกบุหรี่ หยุดใช้ยา ACE inhibitor ผู้ป่วยบางรายอาจมีความกังวลว่าจะเป็นโรคร้ายแรง ซึ่งบางครั้งการให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดความสบายใจก็เป็นการเพียงพอ มักมีการสั่งยาแก้ไออย่าง codeine หรือ dextromethorphan อยู่บ่อยครั้ง แต่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีผลช่วยไม่มากนัก การรักษาอย่างอื่นมักรักษาที่การอักเสบของทางเดินหายใจหรือการกระตุ้นให้มีการขับเสมหะ เนื่องจากการไอเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายที่มีเพื่อป้องกันร่างกาย การยับยั้งอาการไอจึงอาจมีผลเสีย โดยเฉพาะหากอาการไอนั้นเป็นอาการไอแบบมีเสมห.

ใหม่!!: มะเร็งและไอ (อาการ) · ดูเพิ่มเติม »

ไต

ตเป็นอวัยวะรูปถั่วซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสำคัญหลายอย่างในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไตนำโมเลกุลอินทรีย์ส่วนเกิน (เช่น กลูโคส) ออก และด้วยฤทธิ์นี้เองที่เป็นการทำหน้าที่ที่ทราบกันดีที่สุดของไต คือ การขับของเสียจากเมแทบอลิซึม (เช่น ยูเรีย แม้ 90% ของปริมาณที่กรองถูกดูดกลับที่หน่วยไต) ออกจากร่างกาย ไตเป็นอวัยวะสำคัญในระบบปัสสาวะและยังมีหน้าที่ธำรงดุล เช่น การกำกับอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสมดุลกรด–เบส และการกำกับความดันเลือด (ผ่านการรักษาสมดุลเกลือและน้ำ) ไตทำหน้าที่เป็นตัวกรองเลือดตามธรรมชาติ และนำของเสียที่ละลายได้ในน้ำออก ซึ่งจะถูกส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในการผลิตปัสสาวะ ไตขับของเสีย เช่น ยูเรียและแอมโมเนียม และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ ไตยังผลิตฮอร์โมน เช่น แคลซิไตรออล อีริโธรพอยอิติน และเอนไซม์เรนิน ซึ่งเรนินออกฤทธิ์ต่อไตโดยอ้อมในการยับยั้งป้อนกลับ (negative feedback) ไตอยู่หลังช่องท้องในหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneum) ไตรับเลือดจากคู่หลอดเลือดแดงไต และเทเข้าสู่คู่หลอดเลือดดำไต ไตแต่ละข้างขับปัสสาวะสู่ท่อไต อันเป็นโครงสร้างคู่และเทเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ สรีรวิทยาไตเป็นการศึกษาการทำหน้าที่ของไต ขณะที่วักกวิทยา (nephrology) เป็นแพทยศาสตร์เฉพาะทางว่าด้วยโรคไต โรคของไตมีหลากหลาย แต่ผู้ที่มีโรคไตแสดงลักษณะพิเศษทางคลินิกบ่อยครั้ง ปัญหาทางคลินิกเกี่ยวกับไตที่พบบ่อย รวมถึงกลุ่มอาการไตอักเสบ (nephritic) และเนโฟรติก (nephrotic) ถุงน้ำไต ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วไต และการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ มีมะเร็งของไตหลายอย่าง มะเร็งของไตในผู้ใหญ่ที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเซลล์ไต มะเร็ง ถุงน้ำและปัญหาของไตอื่นบางอย่างสามารถรักษาได้ด้วยการตัดไต เมื่อการทำหน้าที่ของไต ซึ่งวัดได้โดยอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate) ต่ำอย่างต่อเนื่อง การแยกสารผ่านเยื่อและการปลูกถ่ายไตอาจเป็นทางเลือกการรักษา นิ่วในไตปกติไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดการปวด และการเกิดนิ่วซ้ำ ๆ เรื้อรังสามารถทำให้ไตเกิดแผลเป็น การนำนิ่วในไตออกเกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยอัลตราซาวน์เพื่อสลายนิ่วเป็นชิ้นที่เล็กลง ซึ่งจะผ่านทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการทั่วไปหนึ่งของนิ่วในไต คือ การปวดแปลบ (sharp) ถึงปวดจนรบกวนการใช้ชีวิต (disabling pain) ในตอนกลาง/ข้างของหลังส่วนล่างหรือขาหนี.

ใหม่!!: มะเร็งและไต · ดูเพิ่มเติม »

เลือด

ม่ ไม่รู้.

ใหม่!!: มะเร็งและเลือด · ดูเพิ่มเติม »

เอออร์ตา

อออร์ตา เป็นหลอดเลือดแดงที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ เริ่มต้นจากหัวใจห้องล่างซ้าย และนำเลือดที่มีออกซิเจนสูงไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในระบบการไหลเวียนเลี้ยงกาย (systemic circulation).

ใหม่!!: มะเร็งและเอออร์ตา · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: มะเร็งและเดอะนิวยอร์กไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เต้านม

ต้านม (breast) คืออวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายผู้หญิงอยู่บริเวณหน้าอกทั้งสองข้าง เต้านมของเด็กหญิงจะแบนราบ และจะพัฒนาขยายขึ้นในช่วงที่ผู้หญิงเริ่มเป็นวัยรุ่น เต้านมใช้สำหรับป้อนนมเด็ก โดยเมื่อผู้หญิงมีลูกเต้านมจะผลิตน้ำนม การแสดงเต้านมในที่สาธารณะจะถูกห้ามตามกฎหมายในขณะที่บางสถานที่จะสามารถแสดงได้ เต้านมหรือหน้าอก ยังเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงถึงความเป็นผู้หญิง ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบัน สามารถแก้ไขตกแต่งลักษณะภายนอกของเต้านมให้มีลักษณะตามต้องการได้ เช่น การศัลยกรรมหน้าอกให้ใหญ่ขึ้นหรือทำให้เล็กลง การเปลี่ยนรูปทรงให้สวยงามขึ้น การลดการหย่อนคล้อยลง ทั้งนี้การจะทำการศัลยกรรมหน้าอกนั้น จำเป็นต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น.

ใหม่!!: มะเร็งและเต้านม · ดูเพิ่มเติม »

เนื้องอก

นื้องอก (neoplasm, tumor) เป็นการเติบโตผิดปกติของเนื้อเยื่อ โดยส่วนมากมักเกิดเป็นก้อนเนื้อ ICD-10 จำแนกเนื้องอกเป็น 4 ประเภท แบ่งเป็น เนื้องอกไม่ร้าย (benign neoplasms) เนื้องอกเฉพาะที่ (in situ neoplasms) เนื้องอกร้าย (malignant neoplasms) และเนื้องอกที่มีพฤติกรรมไม่ชัดเจน เนื้องอกร้ายยังถูกเรียกว่ามะเร็งและเป็นสิ่งที่ถูกศึกษาในวิทยามะเร็ง ก่อนที่เนื้อเยื่อจะเติบโตอย่างผิดปกติ เซลล์มักมีรูปแบบการเติบโตที่ไม่ปกติ เช่น เมตาเพลเซีย (metaplasia) หรือ ดิสเพลเซีย (dysplasia) อย่างไรก็ตาม เมตาเพลเซียหรือดิสเพลเซียอาจไม่ได้พัฒนาเป็นเนื้องอกเสมอไป คำมีที่มาจากภาษากรีกโบราณ νέος- neo "ใหม่" และ πλάσμα plasma "การเกิดขึ้น การสร้างตัว".

ใหม่!!: มะเร็งและเนื้องอก · ดูเพิ่มเติม »

เนื้องอกต่อมไทมัส

เนื้องอกต่อมไทมัส (thymoma) เป็นเนื้องอกที่กำเนิดจากเซลล์เยื่อบุของต่อมไทมัส เนื้องอกต่อมไทมัสเป็นเนื้องอกที่พบไม่บ่อย ขึ้นชื่อที่สุดว่าสัมพันธ์กับโรคประสาทกล้ามเนื้อชื่อ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย (myasthenia gravis) เนื้องอกต่อมไทมัสพบในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย 20% เมื่อวินิจฉัยแล้ว เนื้องอกต่อมไทมัสอาจนำออกโดยการผ่าตัด ในกรณีเนื้องอกร้ายที่พบน้อย อาจใช้เคมีบำบัด หมวดหมู่:เนื้องอกอวัยวะน้ำเหลือง.

ใหม่!!: มะเร็งและเนื้องอกต่อมไทมัส · ดูเพิ่มเติม »

เนื้องอกไม่ร้าย

เนื้องอกไม่ร้ายคือกลุ่มของเซลล์เนื้องอกที่ไม่มีศักยภาพที่จะรุกรานเนื้อเยื่อข้างเคียงและไม่สามารถแพร่กระจายได้ คุณสมบัติเหล่านั้นถือเป็นคุณสมบัติของมะเร็ง เพราะฉะนั้นเนื้องอกไม่ร้ายจึงถือว่าไม่ใช่มะเร็ง ส่วนใหญ่แล้วเนื้องอกไม่ร้ายจะมีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้ากว่ามะเร็ง ตัวเซลล์ของเนื้องอกมักมีการพัฒนาประเภทไปมากกว่า (ใกล้เคียงกับเซลล์ปกติมากกว่า) ส่วนใหญ่มีเปลือกเนื้อเยื่อเกี่ยวพันห่อหุ้ม หรือยังคงอยู่ภายใต้ชั้นเยื่อบุปกติ ตัวอย่างที่พบบ่อยของเนื้องอกไม่ร้ายได้แก่ไฝและเนื้องอกกล้ามเนื้อเรียบมดลูก เป็นต้น หมวดหมู่:อภิธานศัพท์แพทย์ หมวดหมู่:เนื้องอกไม่ร้าย.

ใหม่!!: มะเร็งและเนื้องอกไม่ร้าย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

MalignancyMalignantMalignant neoplasmMalignant neoplasmsTumourโรคมะเร็งเนื้องอกร้ายเนื้องอกชนิดร้าย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »