โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มอโนแซ็กคาไรด์และเคมีอินทรีย์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง มอโนแซ็กคาไรด์และเคมีอินทรีย์

มอโนแซ็กคาไรด์ vs. เคมีอินทรีย์

มอโนแซ็กคาไรด์ (ภาษาอังกฤษ: Monosaccharide) หรือ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เป็นรูปแบบ คาร์โบไฮเดรต ที่ง่ายที่สุด ประกอบด้วย หนึ่งโมเลกุลของ น้ำตาล ซึ่งอยู่ในรูปของ ผลึก ของแข็งไม่มีสี ละลายน้ำ ได้ดี มอโนแซ็กคาไรด์ บางตัวมี รส หวาน ตัวอย่างของมอโนแซ็กคาไรด์ มีดังนี้. มีอินทรีย์ (Organic chemistry) เป็นสาขาย่อยในวิชาเคมี ที่ว่าด้วยการศึกษาโครงสร้าง คุณสมบัติ องค์ประกอบ ปฏิกิริยา และการเตรียม (ด้วยการสังเคราะห์หรือด้วยวิธีการอื่น) สารประกอบที่มีธาตุคาร์บอนเป็นหลัก ไฮโดรคาร์บอนและอนุพันธ์ของพวกมันอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ สารประกอบเหล่านี้อาจมีธาตุอื่นอีกจำนวนหนึ่งด้วยก็ได้ เช่น ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน แฮโลเจน เช่นเดียวกับฟอสฟอรัส ซิลิกอนและซัลเฟอร์ สารประกอบอินทรีย์เป็นพื้นฐานกระบวนการของสิ่งมีชีวิตบนโลกแทบทั้งสิ้น (โดยมีข้อยกเว้นเล็กน้อยมาก) สารประกอบเหล่านี้มีโครงสร้างหลากหลายมาก ลักษณะการนำไปใช้ของสารประกอบอินทรีย์ก็มีมากมาย โดยเป็นได้ทั้งพื้นฐานของ หรือเป็นองค์ประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น พลาสติก ยา สารที่ได้จากน้ำมันปิโตรเคมี อาหาร วัตถุระเบิด และสี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง มอโนแซ็กคาไรด์และเคมีอินทรีย์

มอโนแซ็กคาไรด์และเคมีอินทรีย์ มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พอลิแซ็กคาไรด์สูตรเคมีหมู่ฟังก์ชันอะตอมคาร์บอนคาร์โบไฮเดรตคีโทนแอลดีไฮด์

พอลิแซ็กคาไรด์

พอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) เป็นโมเลกุลคาร์โบไฮเดรตสายยาวที่ประกอบด้วยหน่วยมอนอเมอร์ซ้ำ ๆ มาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคซิดิก โครงสร้างมีได้ตั้งแต่เส้นตรงไปจนถึงแตกกิ่งมากมาย พอลิแซ็กคาไรด์มักพบเป็นวิวิธพันธุ์ (heterogeneous) ซึ่งประกอบด้วยการดัดแปลงหน่วยซ้ำ ๆ เล็กน้อย โมเลกุลใหญ่เหล่านี้สามารถมีคุณสมบัติแตกต่างจากมอโนแซ็กคาไรด์ที่เป็นองค์ประกอบได้ ขึ้นอยู่กับโครงสร้าง เช่น อาจอสัณฐานหรือละลายน้ำไม่ได้ก็ได้ เมื่อมอโนแซ็กคาไรด์ในพอลิแซ็กคาไรด์เป็นชนิดเดียวกัน เรียกพอลิแซ็กคาไรด์นั้นว่า โฮโมพอลิแซ็กคาไรด์ หรือ โฮโมไกลแคน แต่เมื่อมีมอโนแซ็กคาไรด์มากกว่าหนึ่งชนิด จะเรียกว่า เฮเทอโรพอลิแซ็กคาไรด์ หรือ เฮเทอโรไกลแคน ตัวอย่างมีพอลิแซ็กคาไรด์สะสม เช่น แป้งและไกลโคเจน และพอลิแซ็กคาไรด์โครงสร้าง เช่น เซลลูโลสและไคติน พอลิแซ็กคาไรด์มีสูตรทั่วไปว่า Cx(H2O)y โดยที่ x มักมีค่าระหว่าง 200 กับ 2,500 เมื่อพิจารณาว่า หน่วยซ้ำ ๆ ในแกนพอลิเมอร์มักเป็นมอโนแซ็กคาไรด์หกคาร์บอน สูตรทั่วไปจึงอาจเขียนได้เป็น (C6H10O5)n โดยที่ 40≤n≤3000 หมวดหมู่:คาร์โบไฮเดรต.

พอลิแซ็กคาไรด์และมอโนแซ็กคาไรด์ · พอลิแซ็กคาไรด์และเคมีอินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

สูตรเคมี

ูตรเคมี (chemical formula) เป็นวิธีรวบรัดที่ใช้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับอะตอมที่อยู่ในสารประกอบเคมีนั้นๆ สูตรเคมีจะแสดงเอกลักษณ์ของธาตุเคมีต่างๆ โดยใช้สัญลักษณ์ธาตุ และจำนวนอะตอมของธาตุนั้นๆที่มีอยู่ในหนึ่งโมเลกุลของสารประกอบ จำนวนอะตอมถ้ามีมากกว่าหนึ่งจะแสดงเป็นตัวห้อย (subscript) คือส่วนล่างของบรรทัด ที่อยู่ด้านหลังสัญลักษณ์ธาตุ สำหรับสารประกอบที่ไม่เป็นโมเลกุล ตัวห้อยจะแสดงเป็นอัตราส่วนของธาตุในสูตรเอมพิริคัล (empirical formula) สูตรเคมีที่ใช้สำหรับสารประกอบที่เป็นกลุ่มซีรีส์ซึ่งมีความแตกต่างกันที่ค่าคงที่ค่าหนึ่ง เราเรียกว่า สูตรทั่วไป และกลุ่มซีรี่เราเรียกว่า โฮโมโลกัส ซีรีส์ (homologous series) และสมาชิกในกลุ่มเราเรียกว่า โฮโมลอกส์ (homologs).

มอโนแซ็กคาไรด์และสูตรเคมี · สูตรเคมีและเคมีอินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่ฟังก์ชัน

หมู่ฟังก์ชัน (functional groups) เป็นส่วนโครงสร้างย่อยของโมเลกุลที่มีองค์ประกอบและโครงสร้างเฉพาะตัว หมู่ฟังก์ชันมักเป็นตัวกำหนดการทำปฏิกิริยาและสมบัติทางเคมีอื่น ๆ ของโมเลกุลที่มีพวกมันเป็นส่วนประกอบ ตารางต่อไปนี้แสดงหมู่ฟังก์ชันนัลที่พบได้บ่อย ๆ ในวิชาเคมีอินทรีย์ สูตรโครงสร้างของหมู่ฟังก์ชันจะใช้สัญลักษณ์ R และ R' แทนกลุ่มของอะตอมใด ๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหมายถึงส่วนที่เหลือของโมเลกุลที่มีหมู่ฟังก์ชันนั้นเป็นส่วนประกอบ Functional groups การรวมชื่อฟังก์ชันนัลกรุป เข้ากับชื่อสารประกอบหลัก อัลเคน (alkane) จะทำให้มีน้ำหนักในระบบการตั้งชื่อสารเคมี (systematic name) เพื่อใช้ตั้งชื่อ สารประกอบอินทรีย์ อะตอมที่ไม่ใช่ไฮโดรเจนในฟังก์ชันนัลกรุป จะเชื่อมต่อซึ่งกันและกันแกบโมเลกุลที่ว่างด้วย โควาเลนต์ บอนด์ (covalent bond) แต่ถ้ากลุ่มของอะตอมเชื่อมต่อกับโมเลกุลว่างด้วยแรง ไอออนิก (ionic forces) กลุ่มของอะตอมนั้นจะถูกเรียกว่า พอลิอะตอมิก ไอออน (polyatomic ion) หรือ คอมเพล็ก ไอออน (complex ion) และทั้งหมดนี้จะถูกเรียกว่า อนุมูลทางเคมี (radical) หรือ อนุมูลอิสระ (free radical) คาร์บอนตัวแรกหลังคาร์บอนที่ติดกับฟังก์ชันนัลกรุปจะเรียกว่า แอลฟ่า คาร์บอน.

มอโนแซ็กคาไรด์และหมู่ฟังก์ชัน · หมู่ฟังก์ชันและเคมีอินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

อะตอม

อะตอม (άτομον; Atom) คือหน่วยพื้นฐานของสสาร ประกอบด้วยส่วนของนิวเคลียสที่หนาแน่นมากอยู่ตรงศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนที่มีประจุลบ นิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยโปรตอนที่มีประจุบวกกับนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า (ยกเว้นในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งเป็นนิวไคลด์ชนิดเดียวที่เสถียรโดยไม่มีนิวตรอนเลย) อิเล็กตรอนของอะตอมถูกดึงดูดอยู่กับนิวเคลียสด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า ในทำนองเดียวกัน กลุ่มของอะตอมสามารถดึงดูดกันและกันก่อตัวเป็นโมเลกุลได้ อะตอมที่มีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากันจะมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า มิฉะนั้นแล้วมันอาจมีประจุเป็นบวก (เพราะขาดอิเล็กตรอน) หรือลบ (เพราะมีอิเล็กตรอนเกิน) ซึ่งเรียกว่า ไอออน เราจัดประเภทของอะตอมด้วยจำนวนโปรตอนและนิวตรอนที่อยู่ในนิวเคลียส จำนวนโปรตอนเป็นตัวบ่งบอกชนิดของธาตุเคมี และจำนวนนิวตรอนบ่งบอกชนิดไอโซโทปของธาตุนั้น "อะตอม" มาจากภาษากรีกว่า ἄτομος/átomos, α-τεμνω ซึ่งหมายความว่า ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไป หลักการของอะตอมในฐานะส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสารที่ไม่สามารถแบ่งได้อีกต่อไปถูกเสนอขึ้นครั้งแรกโดยนักปรัชญาชาวอินเดียและนักปรัชญาชาวกรีก ซึ่งจะตรงกันข้ามกับปรัชญาอีกสายหนึ่งที่เชื่อว่าสสารสามารถแบ่งแยกได้ไปเรื่อยๆ โดยไม่มีสิ้นสุด (คล้ายกับปัญหา discrete หรือ continuum) ในคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 นักเคมีเริ่มวางแนวคิดทางกายภาพจากหลักการนี้โดยแสดงให้เห็นว่าวัตถุหนึ่งๆ ควรจะประกอบด้วยอนุภาคพื้นฐานที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกต่อไป ระหว่างช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักฟิสิกส์ค้นพบส่วนประกอบย่อยของอะตอมและโครงสร้างภายในของอะตอม ซึ่งเป็นการแสดงว่า "อะตอม" ที่ค้นพบตั้งแต่แรกยังสามารถแบ่งแยกได้อีก และไม่ใช่ "อะตอม" ในความหมายที่ตั้งมาแต่แรก กลศาสตร์ควอนตัมเป็นทฤษฎีที่สามารถนำมาใช้สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอะตอมได้เป็นผลสำเร็จ ตามความเข้าใจในปัจจุบัน อะตอมเป็นวัตถุขนาดเล็กที่มีมวลน้อยมาก เราสามารถสังเกตการณ์อะตอมเดี่ยวๆ ได้โดยอาศัยเครื่องมือพิเศษ เช่น กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ มวลประมาณ 99.9% ของอะตอมกระจุกรวมกันอยู่ในนิวเคลียสไอโซโทปส่วนมากมีนิวคลีออนมากกว่าอิเล็กตรอน ในกรณีของ ไฮโดรเจน-1 ซึ่งมีอิเล็กตรอนและนิวคลีออนเดี่ยวอย่างละ 1 ตัว มีโปรตอนอยู่ \begin\frac \approx 0.9995\end, หรือ 99.95% ของมวลอะตอมทั้งหมด โดยมีโปรตอนและนิวตรอนเป็นมวลที่เหลือประมาณเท่า ๆ กัน ธาตุแต่ละตัวจะมีอย่างน้อยหนึ่งไอโซโทปที่มีนิวเคลียสซึ่งไม่เสถียรและเกิดการเสื่อมสลายโดยการแผ่รังสี ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการแปรนิวเคลียสที่ทำให้จำนวนโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียสเปลี่ยนแปลงไป อิเล็กตรอนที่โคจรรอบอะตอมจะมีระดับพลังงานที่เสถียรอยู่จำนวนหนึ่งในลักษณะของวงโคจรอะตอม และสามารถเปลี่ยนแปลงระดับไปมาระหว่างกันได้โดยการดูดซับหรือปลดปล่อยโฟตอนที่สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ต่างกัน อิเล็กตรอนเหล่านี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณสมบัติทางแม่เหล็กของอะตอม แนวคิดที่ว่าสสารประกอบด้วยหน่วยย่อยๆ ไม่ต่อเนื่องกันและไม่สามารถแบ่งออกเป็นชิ้นส่วนที่เล็กไปได้อีก เกิดขึ้นมานับเป็นพันปีแล้ว แนวคิดเหล่านี้มีรากฐานอยู่บนการให้เหตุผลทางปรัชญา นักปรัชญาได้เรียกการศึกษาด้านนี้ว่า ปรัชญาธรรมชาติ (Natural Philosophy) จนถึงยุคหลังจากเซอร์ ไอแซค นิวตัน จึงได้มีการบัญญัติศัพท์คำว่า 'วิทยาศาสตร์' (Science) เกิดขึ้น (นิวตันเรียกตัวเองว่าเป็น นักปรัชญาธรรมชาติ (natural philosopher)) ทดลองและการสังเกตการณ์ ธรรมชาติของอะตอม ของนักปรัชญาธรรมชาติ (นักวิทยาศาสตร์) ทำให้เกิดการค้นพบใหม่ ๆ มากมาย การอ้างอิงถึงแนวคิดอะตอมยุคแรก ๆ สืบย้อนไปได้ถึงยุคอินเดียโบราณในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล โดยปรากฏครั้งแรกในศาสนาเชน สำนักศึกษานยายะและไวเศษิกะได้พัฒนาทฤษฎีให้ละเอียดลึกซึ้งขึ้นว่าอะตอมประกอบกันกลายเป็นวัตถุที่ซับซ้อนกว่าได้อย่างไร ทางด้านตะวันตก การอ้างอิงถึงอะตอมเริ่มขึ้นหนึ่งศตวรรษหลังจากนั้นโดยลิวคิพพุส (Leucippus) ซึ่งต่อมาศิษย์ของเขาคือ ดีโมครีตุส ได้นำแนวคิดของเขามาจัดระเบียบให้ดียิ่งขึ้น ราว 450 ปีก่อนคริสตกาล ดีโมครีตุสกำหนดคำว่า átomos (ἄτομος) ขึ้น ซึ่งมีความหมายว่า "ตัดแยกไม่ได้" หรือ "ชิ้นส่วนของสสารที่เล็กที่สุดไม่อาจแบ่งแยกได้อีก" เมื่อแรกที่ จอห์น ดาลตัน ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับอะตอม นักวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้นเข้าใจว่า 'อะตอม' ที่ค้นพบนั้นไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกแล้ว ถึงแม้ต่อมาจะได้มีการค้นพบว่า 'อะตอม' ยังประกอบไปด้วย โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน แต่นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันก็ยังคงใช้คำเดิมที่ดีโมครีตุสบัญญัติเอาไว้ ลัทธินิยมคอร์พัสคิวลาร์ (Corpuscularianism) ที่เสนอโดยนักเล่นแร่แปรธาตุในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซูโด-กีเบอร์ (Pseudo-Geber) หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า พอลแห่งทารันโท แนวคิดนี้กล่าวว่าวัตถุทางกายภาพทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดละเอียดเรียกว่า คอร์พัสเคิล (corpuscle) เป็นชั้นภายในและภายนอก แนวคิดนี้คล้ายคลึงกับทฤษฎีอะตอม ยกเว้นว่าอะตอมนั้นไม่ควรจะแบ่งต่อไปได้อีกแล้ว ขณะที่คอร์พัสเคิลนั้นยังสามารถแบ่งได้อีกในหลักการ ตัวอย่างตามวิธีนี้คือ เราสามารถแทรกปรอทเข้าไปในโลหะอื่นและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของมันได้ แนวคิดนิยมคอร์พัสคิวลาร์อยู่ยั่งยืนยงเป็นทฤษฎีหลักตลอดเวลาหลายร้อยปีต่อมา ในปี..

มอโนแซ็กคาไรด์และอะตอม · อะตอมและเคมีอินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บอน

ร์บอน (Carbon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ C และเลขอะตอม 6 เป็นธาตุอโลหะที่มีอยู่มาก มีวาเลนซ์ 4 และมีหลายอัญรูป.

คาร์บอนและมอโนแซ็กคาไรด์ · คาร์บอนและเคมีอินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์โบไฮเดรต

ร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) เป็นสารชีวโมเลกุลที่สำคัญที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด คำว่าคาร์โบไฮเดรตมีรากศัพท์มาจากคำว่า คาร์บอน (carbon) และคำว่าไฮเดรต (hydrate) อิ่มตัวไปด้วยน้ำ ซึ่งรวมกันก็หมายถึงคาร์บอนที่อิมตัวไปด้วยน้ำ เนื่องจากสูตรเคมีอย่างง่ายก็คือ (C•H2O) n ซึ่ง n≥3 โดยคาร์โบไฮเดรตจัดเป็นสารประกอบแอลดีไฮด์ (aldehyde) หรือคีโทน (ketone) ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl group, -OH) เกาะอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเรียกว่า สารประกอบโพลีไฮดรอกซีแอลดีไฮด์ (polyhydroxyaldehyde) หรือ โพลีไฮดรอกซีคีโทน (polyhydroxyketone) ซึ่งการที่มีหมู่ไฮดรอกซิลในโมเลกุลนั้น ทำให้เกิดการวางตัวกัน และยังสามารถทำปฏิกิริยาหรือสร้างพันธะกับสารอื่นๆได้ ดังนั้น คาร์โบไฮเดรตจึงมีความหลากหลายทั้งในด้านของโครงสร้างทางเคมี และบทบาททางชีวภาพอีกด้วย หน่วยที่เล็กทีสุดของคาร์โบไฮเดรตก็คือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือโมโนแซคคาร์ไร.

คาร์โบไฮเดรตและมอโนแซ็กคาไรด์ · คาร์โบไฮเดรตและเคมีอินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

คีโทน

หมู่คีโทน ในสารประกอบอินทรีย์ คีโทน (Ketone, alkanone) เป็นสารประกอบชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วย หมู่คาร์บอนิล (C.

คีโทนและมอโนแซ็กคาไรด์ · คีโทนและเคมีอินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

แอลดีไฮด์

แอลดีไฮด์ (Aldehyde) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่หมู่ฟังก์ชันเป็นหมู่คาร์บอกซาลดีไฮด์ (Carboxaldehyde: หรือ –CHO) มีสูตรทั่วไปเป็น หรือ RCHO หรือ CnH2nO เมื่อ R, R’ เป็นหมู่แอลคิลหรือหมู่แอริล.

มอโนแซ็กคาไรด์และแอลดีไฮด์ · เคมีอินทรีย์และแอลดีไฮด์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง มอโนแซ็กคาไรด์และเคมีอินทรีย์

มอโนแซ็กคาไรด์ มี 25 ความสัมพันธ์ขณะที่ เคมีอินทรีย์ มี 53 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 10.26% = 8 / (25 + 53)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง มอโนแซ็กคาไรด์และเคมีอินทรีย์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »